640502 การบ้าน อริยสัจ 4 (18/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านรวม 37 ท่าน 56 เรื่อง
- จิรานันท์ จำปานวน (2)
- จิตรา พรหมโคตร
- นางสาวนาลี วิไลสัก (4)
- รมิตา ซีบังเกิด (2)
- ชุติวรรณ แสงสำลี
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์ (2)
- นางสาวสันทนา ประวงศ์
- น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (4)
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
- นส.พวงผกา โพธิ์กลาง
- นางพรรณทิวา เกตุกลม (3)
- นปภา รัตนวงศา (4)
- ณ้ฐพร คงประเสริฐ
- นายเมธา ว่องวิวัฒน์ไวทยะ (นาบุญ)
- นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์
- นางสาวศิริรักษ์ พรเล็ก
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- สมศักดิ์ ทับเนียม (ทุ่งน้ำไท)
- มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)
- สุมา ไชยช่วย (2)
- Ruam Ketklom
- นางจิราภรณ์ ทองคู่ (2)
- นฤมล ยังแช่ม
- สำรวม แก้วแกมจันทร์ (2)
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู-เพียรเย็นพุทธ)
- นวลนภา ยุคันตพรพงษ์ (2)
- ศิริพร ไตรยสุทธิ์
- สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)
- ก้าน ไตรยสุทธิ์
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์
- น.ส จาริยา จันทร์ภักดี
- พรพิทย์ สามสี
- ประคอง เก็บนาค
- Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น
- เสาวรี หวังประเสริฐ
- ปิ่น คำเพียงเพชร



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 199
เรื่อง : มาปลูกพริกกันเถอะ
เหตุการณ์ : เราหว่านเมล็ดพริกไว้นานแล้ว รุ่นแรกเราได้ขยายพริกไปปลูกแล้ว แบ่งปันต้นกล้าพริกให้ป้าก็แล้ว แต่ยังเหลือต้นกล้าพริกอีกส่วนหนึ่ง ยังไม่ได้ขยายปลูกสักที เพราะมีมารตัวขี้เกียจมาบ่งการ มากินแรงอยู่
ทุกข์ : ขี้เกียจไม่อยากปลูกพริกเพิ่ม
สมุทัย : ชอบที่ไม่ต้องปลูกพริกเพิ่ม ชังที่ต้องปลูกพริกเพิ่ม
นิโรธ : ปลูกพริกเพิ่มด้วยความยินดี เต็มใจ สบายใจ
มรรค : เมื่อมารมาบ่งการให้ขี้เกียจ แรงกายก็หมด ได้แค่จับเสียมแล้วก็วาง ได้แต่เดินหนีเฉยๆ จนถึงคิวที่ต้องรดน้ำต้นพริกที่ปลูกไว้ก่อนหน้านี้ ก็ได้คุยกับมารค่ะ
มาร : ไม่ต้องปลูกพริกเพิ่มหรอก แค่นี้ก็มีพอได้เก็บกินแล้ว
เรา : ได้ไง ปลูกเพิ่มถ้าพริกเยอะก็เก็บแบ่งปันสิ
มาร : แต่ขี้เกียจรดน้ำจังเลย เนี่ยเห็นไหมขนาดมีเท่านี้ยังรดกว่าจะเสร็จ ถ้าไปปลูกอีกจะรดไหวรึ
เรา : ไหวสิ รดแค่นี้เองทำเป็นบ่น เวลาที่เธอดูดพลังงานเราไปเสพกิเลสยังเอาไปเลย อันนี้แค่รดน้ำเฉยๆ ไม่ได้ใช้แรงเยอะขนาดนั้นสักหน่อย
มาร : ถ้าจะปลูกเพิ่มต้องได้ดายหญ้าอีกนะ ขี้เกียจจังเลย ไม่ต้องปลูกหรอก ไปหาทำอย่างอื่นดีกว่า กล้าพริกที่ยังเหลืออยู่ก็ปล่อยทิ้งไว้เลย
เรา : จะขี้เกียจอะไรปานนั้นมารเอ๋ย คนไม่ทำงานก็เดียรัจฉานธรรมดานี่เอง เป็นคนไม่ใช่รึ ต้องรู้จักพึ่งตน รู้จักแบ่งปัน ในเมื่อเรามีพริกสำหรับพอกินในครอบครัวแล้ว เราปลูกเพิ่มแบ่งปันก็ไม่เห็นเป็นไรเลย ดีซะอีกได้ฝึกแบ่งปันแรงกายในการปลูกการดูแลต้นพริก ได้เป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนปลูกอยู่ปลูกกิน กินของที่ปลูก ปลูกของที่กิน อีกทั้งยังได้กินพืชผักที่ไร้สารพิษด้วยนะ
มาร : ก็จริงนะ ตกลงปลูกเพิ่มก็ได้
สรุป พอมารมาคิดแบบพุทธะ ใจก็โล่งสบาย มีแรงกายมาดายหญ้า ขุดหลุม ปลูกพริกเพิ่มจนเสร็จ พร้อมรดน้ำด้วย จากเหตุการณ์ก็ได้เห็นว่ามารมันกินพลังเราไปเยอะมาก เดินไปเจอต้นพริกทีไรก็ขี้เกียจ หมดแรง กลับลงมาไม่ได้ปลูกพริกสักที แต่วันนี้คุยกับมารชนะ แรงก็มาทันที ปลูกพริกเสร็จตอนสิบโมง แต่ยังเหลือพลังไปรดน้ำต้นมะขามเทศต่อได้อีก ก็เป็นอีก 1 วัน ที่ทำให้ได้ชัดว่า ถ้าเราไม่เอามารมาทำงานด้วยก็จะมีแรงใจ แรงกายเต็มบึ้มแบบนี้นี่เอง ตรงกับ บทธ ข้อ 4 ต้องกล้าในการทำสิ่งดี ละอาย และเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้ สาธุค่ะ
ไม่อยากไปงานศพ
พ่อบ้านกลับมาจากสวน เห็นข้าพเจ้าไม่ไปงานศพญาติน้องสะไภ้ก็ถามว่าไม่ไปงานศพเหรอ ข้าพเจ้าตอบว่าไม่ไปเพราะน้องสะไภ้ต้องรีบเอาของไปให้ที่งานศพก่อน ข้าพเจ้ายังไม่ได้เตรียมตัว พ่อบ้านดูสีหน้าไม่พอใจแล้วพูดว่า “ทำไมไม่ไปเป็นเพื่อนน้องสะไภ้เพราะระยะทางมันไกล” พอดีน้องสะไภ้ขับรถกลับมา แล้วบอกว่าไม่ต้องเอาของไปให้เขาแล้ว จะกลับมากินข้าวก่อน ข้าพเจ้าก็รีบไปอาบน้ำ แต่รู้สึกไม่พอใจที่พ่อบ้านเหมือนบังคับให้ไป เพราะไม่อยากไปงานศพ
ทุกข์: รู้สึกไม่พอใจที่พ่อบ้านเหมือนบังคับให้ไปงานศพ เพราะรู้ว่าถ้าไม่ไปต้องมีเรื่องกับพ่อบ้านแน่นอน
สมุทัย: อยากให้พ่อบ้านตามใจไม่บังคับให้ไปงานศพ ถ้าพ่อบ้านไม่มาบังคับให้ไปงานศพจะสุขใจ ถ้าพ่อบ้านบังคับให้ไปงานศพก็ทุกข์ใจ
นิโรธ: พ่อบ้านจะบังคับให้ไปงานศพหรือไม่บังคับให้ไปงานศพก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค: พิจารณา เปรียบเทียบความจริงความลวง ความลวงคือ พ่อบ้านบังคับให้ไป ความจริงคือ จริงๆมันเป็นหน้าที่เราที่ต้องไป ทำใจอุเบกขา ทำตามหน้าที่พี่สะใภ้ที่ดี ไปเป็นเพื่อนเขา พิจารณาแล้วการไปงานศพ ก็เป็นกุศล ไปให้กำลังใจเขา ได้ประโยชน์ทางโลก, ได้ไปเป็นเพื่อนน้องสะไภ้ พ่อบ้านก็จะได้ไม่ห่วง
24/4/2564
เรื่อง : โมโห
เหตุการณ์ : วันหยุดนี้ได้สอนวิชาคณิตศาสตร์ให้ลูกๆ ตามประสาของแม่ลูก พอตัวเองแก้บทเลขเป็นตัวอย่างให้ลูกแล้ว ลูกก็จะแก้ข้ออื่นๆ มาให้แม่ตรวจ ในนั้นมีบางข้อที่ลูกแก้ไม่ถูก ตัวเองก็เลยโมโห (บิดหูลูก)
ทุกข์ : เกลียดนิสัยตัวเองทุกครั้งที่ไปโมโหกับลูก
สมุทัย : ชอบถ้าตัวเองเป็นคนใจเย็นไม่มีอารมณ์โมโห ชังที่ตัวเองควบคุมอารมณ์โมโหยังไม่ได้
นิโรธ : ในเมื่อเราก็พยายามใช้ปัญญาเท่าที่มีอยู่ไปควบคุม กาย วาจา ใจ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่บางครั้งก็จะมีหลุดไปบ้าง เราก็รับได้ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พิจารณาที่เราไปโมโหกับลูก ก็เพราะกิเลสมันยึดว่า เวลาที่เราอธิบาย (แก้บทเลข) ลูกต้องตั้งใจฟังและแก้ตามเราได้ พอมารู้ตัวอีกครั้ง ก็ผิดศีลข้อที่ 1-5 ไปแล้ว เบียดเบียนทั้งตัวเองและลูกด้วย ทุกครั้งที่เราไปโมโหกับลูก มันโคตรทุกข์เลย ส่วนลูกก็ทุกข์ กลัวที่มีแม่เป็นคนโมโห หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ก็พาลูกๆ มานั่งคุยเรื่องกิเลสทั้งวันเลย ถ้าเรายังสะสมความโมโหแบบนี้ ต่อไปความโมโหจะกลายเป็นทรัพย์สมบัติของเรา และยังเหนี่ยวนำให้ลูกๆ เก็บเอาความโมโหของเราไปบันทึกไว้ในสัญญาของเขาด้วย ถ้าเรายังไม่เลิกโมโห เดี๋ยวลูกจะกลายเป็นคนขี้โมโหตามเราด้วย นี่คือผลที่จะได้รับจากความโมโห บอกกิเลสไปเลย ว่าโมโหทุกครั้ง กล้ามเนื้อก็จะเสียพลังไปเกร็งตัว สารอะดรีนาลีน+สารคอร์ติซอล จะหลั่งออกมาทำให้เราป่วยทางร่างกายและจิตใจ หนักไปกว่านั้นมันจะเป็นแรงเหนี่ยวนำ ทำให้คนในโลกโมโห โกรธ เกลียดกัน ฆ่า ฟัน รัน แทงกัน อันตรายมากเท่าไหร่ นับไม่ถ้วน แล้วมันจะถูกบันทึกไว้เป็นวิบากร้ายร่วมของเราและของโลก ตรงกับ บทธ ข้อ 50 อดีตที่ผิดพลาดให้สำนึก ปัจจุบันที่ผิดพลาดจากกิเลส หรือจากการประมาณที่ไม่พอเหมาะให้แก้ไข ตื่นเถิดกิเลส เลิกชั่ว เลิกบ้า ได้แล้วมันจะเสียชาติเกิด คนที่หมดความโกรธก็จะเหลือแต่ความปีติ อิ่มเอิบ เบิกบาน สารเอ็นโดรฟิน (สารแห่งความสุข) จะหลั่งออกมา ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และลดโรคได้ทุกโรค ร่างกายจะอ่อนเยาว์กว่าวัย ใครๆ อยู่ใกล้จะได้รับความอบอุ่น เป็นที่น่าคบของทุกคน
สรุป พอเราคุยกับกิเลสรู้เรื่อง ลูกๆ ก็เข้าใจเรื่องกิเลส และหายโกรธแม่ด้วย ใจเราก็เบาสบาย สารเอ็นโดรฟินหลั่งออกมา ความเกร็งค้างของกล้ามเนื้อก็ผ่อนคลาย จะขอสำนึกผิด ยอมรับผิด และจะเริ่มตั้งศีล เลิกเอาความโมโห มาเผาตัวเอง และคนอื่น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สาธุค่ะ
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง คนขโมยกล้วย
เหตุการณ์ : วันนี้ไปแปลงผักเพื่อรดน้ำ ก่อนหน้านี้วันเดียวสำรวจแล้วว่าอีก5วันจะตัดกล้วยของเพื่อนบ้านให้เขาเพราะกล้วยล้มเอนมาในแปลงผักของเราแต่วันนี้หายไปแล้ว
ทุกข์ : ขุ่นใจที่มีคนมาขโมยกล้วย
สมุทัย : ชอบที่ไม่มีคนมาขโมยกล้วย ชังที่มีคนมาขโมยกล้วย
นิโรธ : กล้วยจะถูกขโมยหรือไม่ ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : กล้วยเครือนี้ไม่ใช่ของเรา และเจ้าของกล้วยก็ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ากล้วยเขาแก่ตัดได้แล้วพอกล้วยหายไปรู้สึกขุ่นใจ ไม่พอใจที่มีคนมาโขมยตัดไปเสียก่อน แต่มาทบทวนอีกครั้งว่ากล้วยก็ไม่ใช่ของเราและเราก็ไม่ได้เป็นคนเอาไปจะขุ่นข้อง หมองใจไปทำไม คนที่โขมยของคนอื่นเขาก็ต้องได้รับวิบากเองจะมาคิดทำไมให้เสียเวลา พิจารณาแล้วตรงกับบททบทวนข้อที่ 72 ว่า “ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทุกข์ใจ ความทุกข์ใจ ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร มีแต่เพิ่มปัญหา สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จะทุกข์ใจไปทำไม เบิกบานแจ่มใสดีกว่า”
เมื่อได้ทบทวนเหตุการณ์แล้วพบว่าเราวางใจได้ ไม่ขุ่นใจ ไม่หวั่นไหว ใจมีความสุข สบายใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น
ชื่อเรื่อง จะตัดหรือจะต่ออะไรดีกว่ากัน
เนื้อเรื่อง ขณะทำงานเห็นหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลง กลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม มีปัญหาในการเก็บข้อมูลไม่ได้ และเครื่องจะพังจึงตรวจสอบดูว่ามีข้อมูลอะไรกินพื้นที่มากก็เห็นว่ามีบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ใช้พื้นที่มากอยู่ จึงคิดตัดข้อมูลบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ บันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ออกจากคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
ทุกข์ :ไม่สบายใจต้องตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้มีหน่วยความจำที่เก็บบันทึกข้อมูลเหลือน้อยลง
สมุทัย : เพราะชอบอยากให้ได้ดั่งใจหมายให้เก็บบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ไว้ในคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลเหลือมากคงอยู่ไว้ จะได้ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างสบายใจ
ชังไม่อยากตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ถ้าไม่มีอยู่ หายไป จะไม่สบายใจ ไม่สุขใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : ชอบอยากให้ได้ดั่งใจหมายให้เก็บบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ไว้ในคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลเหลือน้อยอยู่ ใจก็ยินดีได้อย่างสบายใจ
ยินดีได้ถ้าต้องตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกออกครั้งที่ ๑-๑๙ ถ้าไม่มีอยู่ หายไปดับไป ก็สบายใจ สุขใจได้
มรรค : เมื่อได้รับฟังธรรมะบรรยายจากอาจารย์หมอเขียว ในขณะที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์
เรื่องอินทริยภาวนาสูตร โดยย่อว่า
อินทรีย์ของพุทธะ การไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่ชอบ ไม่ชัง ได้ทุกผัสสะที่กระทบเข้ามา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทาง ทำใจ เป็นกลางให้ได้ทุกเหตุการณ์ เอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ ทำแต่ดีที่ทำได้ และก็เอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์
เข้าสู่อุเบกขาตัดในสิ่งที่ควรตัด ในสิ่งที่เป็นโทษ ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์
***หัวใจหลักมี ๓ ข้อ ***
๑.เข้าสู่ความเป็นกลางในทุกสิ่งทุกอย่าง
๒.เอาประโยชน์ได้ทุกอย่าง
๓.เข้าสู่ความเป็นกลางแล้ว จะตัดอะไรก็ตัดได้ เช่นตัดในสิ่งที่ควรตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ หรือว่าเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ จะตัดสิ่งใดก็ได้ เห็นโทษสิ่งใดก็ได้ และจะต่อประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ก็ได้
ดับด้วยวิราคะ คลายสุขลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์จริง ไม่มีสุขแล้ว ไม่ได้ดั่งใจหมาย สุขมันก็ดับ ทุกข์ก็ดับ เพราะเราไม่อยากได้ดั่งใจหมายแล้ว
เหตุการณ์ปัจจุบัน : เวลาเห็นเครื่องหมายเตือนแถบสีแดง ที่หน่วยความจำบันทึกข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลงใจเป็นทุกข์ หวั่นไหวเล็กน้อย มีความกลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม มีปัญหาในการเก็บข้อมูลใหม่ไม่ได้ แต่เมื่อได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ใช้พื้นที่มากอยู่ จึงคิดตัดออกจากคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
กิเลส : บอกให้เก็บข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ก่อน ไม่อยากตัดออกไป ใจรู้สึกเสียดาย เก็บมา ๔ ปีแล้ว กิเลสอยากยึดไว้ บอกว่าเป็นของมีค่า เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์จะอุ่นใจและ เป็นสิ่งที่หายาก จะตัดออกหลายครั้งแล้วแต่ทำใจตัดออกไม่ได้สักที มั่วแต่เสียเวลายึกยัก ๆ ยอมเสียเวลาลบโฟลเด้อร์อื่นๆออก ที่ละอันๆมันเสียเวลา มันช้า ได้พื้นที่กลับคืนมานิดหน่อย ได้แค่นี้ก็พอแล้ว ยังอยากยึดอาเก็บข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ต่อได้อีกกิเลสมันสุขใจ ที่ยังไม่ตัดออก มันมากี่ทีก็แพ้ทุกที เลยรู้สึกใจเราก็ยังไม่โล่ง ไม่โปร่ง
พุทธะ:ล้างกิเลสทีละตัวทีละคู่กิเลสตัวนี้คือมีเนื้อที่หน่วยความจำเพิ่มขึ้นทำงานได้ดีกว่ามีเนื้อที่หน่วยความจำน้อยลง อะไรดีกว่า
พิจารณาถึงถ้ายังเก็บข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ไว้มันเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำนะ มันเป็นโทษมากว่า ทำให้หน่วยความจำมีปัญหาเก็บงานอื่นๆ ไม่ค่อยได้แล้ว เราต้องเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ได้มากกว่าในการบำเพ็ญ มันมากี่ทีก็แพ้ทุกที เลยรู้สึกใจเราก็ยังไม่โล่ง ไม่โปร่ง แต่ในวันนี้เข้าใจธรรมะที่อาจารย์บรรยายแล้วสิ่งที่ควรทำคือ
ต้องเลือกว่าอะไรดีกว่าอะไร จะต่อกิเลสหรือตัดกิเลส ถ้าตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออกไป มันไม่ได้หายไปไหนหรอกมันอยู่ในถังขยะ แล้วค่อยกู้คืนบันทึกความจำมาไว้ที่อุปกรณ์เสริมอย่างอื่นก็ได้และปัจจุบันก็สามารถค้นหาได้ในยูทูป เราฟังธรรมะในปัจจุบันและนำมาปฏิบัติจริงได้มากกว่าทีละเล็กทีละน้อย จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรมแบบลืมตา ได้รับผัสสะตรงๆนั่นแหละ คือสาระธรรมที่ได้เห็นกิเลส ไม่เสพกิเลส ลดกิเลส ล้างกิเลสได้ หงายของที่คว่ำ ณ ปัจจุบันขณะนั่นเอง ทำให้ใจผ่องใส ใจไม่ทุกข์ ดีกว่าเก็บข้อมูลไว้แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็เหมือผู้ปฏิบัติธรรมลูบๆคลำๆ แบบหลับตา หลงยึดมั่นถือมั่น แต่ก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติและใจก็เป็นทุกข์อยู่ทุกครั้งที่เห็นสัญญาณเตือนว่าหน่วยความจำบันทึกข้อมูลเหลือน้อยลง ทำให้เสียพื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำเปล่าๆ เห็นไหมๆ ข้อมูลมันถูกคว่ำไว้อยู่แบบนั้น ก็เป็นแค่วัตถุ ที่เราเก็บไว้มีประโยชน์น้อยนิดเท่านั้นเอง จึงเลือกที่ตัดบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ด้วยความสบายใจได้ทันที ยินดีที่จะตัดเพื่อต่อประโยชน์ที่ได้อาศัยมากกว่า ยินดีได้ล้างความยึดมั่นถือมั่นว่าสำคัญที่สะสมมานานเป็นวิบากร้าย เป็นตัวขัดขวางความผาสุกของชีวิตทุกชีวิตออกไปได้ ใจเราก็มีสุข ใจก็โปร่ง ก็โล่ง สบายๆ
สรุปพิจารณาตามคำกล่าวอาจารย์หมอเขียวปฏิบัติด้วยปัญญา
พิจารณาเห็นโทษของกิเลส ความไม่มีกลางไม่เป็นอุเบกขา มีอาการสุขปลอมทุกข์จริง ชอบชัง ว่าไม่ใช่สุขมันเป็นทุกข์จริง ยึดสิ่งที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ สะสมมาตั้ง ๔ ปี มันเป็นความหลง ยึดดี เสียประโยชน์แล้วยังไม่เห็น เห็นทุกข์แล้วยังยึดอยู่ จะตัดออกหลายครั้งแล้วแต่ก็ตัดใจตัดออกไม่ได้เป็นโทษเป็นภัยต่อการทำงาน ออกอาการหลายครั้งแล้ว ยังยึดเก็บไว้เป็นสุขใจให้ได้ดั่งใจหมายไว้อยู่
เมื่อพิจารณาประโยชน์ต้องตัดรอบได้แล้ว เอาฉันทะประโยชน์ของอนัตตา เวลาไม่มีสุขลวงทุกข์จริง ไม่มีกิเลส มันไม่เที่ยง จะได้รับประโยชน์มากกว่าเลยตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออกได้ทันที ไม่ลังเลอีกเลย เห็นอาการใจมีสุข ผ่องใส ไร้กังวล เบิกบานแจ่มใสทันที เข้าใจชัดความไม่มีสุขลวงทุกข์จริงแทรกอยู่ จะไม่มีวิบากร้าย ทำให้เรามีพฤติกรรมใหม่ทำดีได้มาก เป็นสภาพที่ดีที่ควรยึดอาศัย ทำสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งดีไหนอาศัยได้ เกิดผลได้เท่าไหร่ก็พอใจ ยินดีได้ ปล่อยวางสิ่งที่เป็นรูปภพอาสวะที่ยึดข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ในจิต ใจหวั่นไหว เอาลงยากเพราะมันสะสมกิเลสมานานได้ดั่งใจทุกครั้ง ที่ยังยึดไว้ได้เป็นสุขแรง แต่ตอนนี้เอากิเลสลงฉันทะในดีที่มีทุกข์สุขแทรกอยู่ ตัดออกได้สำเร็จแล้ว
ทำให้ใจบริสุทธิ์ผ่องใส โปร่ง โล่ง ทันที เรากำจัดกิเลสได้ อุเบกขาได้ และเห็นวิมุติของการหลุดพ้นที่ไม่มีกิเลส เป็นวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าสู่ยินดีอุเบกขาสู่ความพ้นทุกข์ได้ตัดในสิ่งที่ควรตัด ในสิ่งที่เป็นโทษ ณ เวลานั้น ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ ณ เวลานั้นได้ทุกเหตุการณ์ เห็นวิบากดีที่ได้รับสภาพที่ดีจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้พื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้คืนมา ๘๐ กว่า GB จากที่เคยเหลือไม่ถึง ๑๐ GBทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเป็นสัปปายะในการบำเพ็ญงานได้อย่างราบรื่นต่อไป
เรื่อง เพลงอะไรไม่ทุกข์
สัปดาห์นี้มีการบ้านวิชาภาษาอังกฤษให้นักศึกษาวิชชารามฝึกร้องเพลงภาษาอังกฤษ ทำให้แม่บ้านรื้อฟื้นเอาเพลงเก่า ๆ ที่เคยชอบฟังออกมาฟังซ้ำอย่างเพลิดเพลิน เปิดฟังต่อเนื่องกันเป็นชั่วโมง ชักชวนให้เราฟังไปด้วยกัน แต่ในความรู้สึกของเรากลับไม่เคลิ้มไม่คล้อยตามเท่าไหร่ แม้จะเป็นเพลงที่เราเคยชอบมาก่อน แต่ตอนนี้เรารู้สึกเบื่อที่จะฟัง ขี้เกียจฟัง และรู้สึกว่าเสียงเพลงที่เปิดนั้นเข้ามาเบียดบังเวลาที่เราจะฟังธรรม แต่เหตุการณ์นี้ก็ดีเหมือนกัน คือมันทำให้เราเห็นชัดเจนว่าเราชอบฟังธรรมมากกว่าฟังเพลงจริง ๆ
ทุกข์ – เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ กับการฟังเพลง เหมือนถูกบังคับให้ต้องฟังเพลง
สมุทัย – ตัณหาคือความอยากฟังธรรม ความไม่อยากฟังเพลง ถ้าได้ฟังธรรมจะสุขใจ ถ้าต้องฟังเพลงจะทุกข์ใจ
นิโรธ – ดับตัณหา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ถ้าต้องฟังเพลงก็ไม่สุขไม่ทุกข์ใจ
มรรค – พิจารณาเรื่องกรรมให้แจ่มแจ้งว่า การที่เราต้องได้ยินได้ฟังเสียงเพลงทั้ง ๆ ที่ไม่อยากฟังแล้วนั้น เป็นวิบากกรรมของเราเอง เราก็เคยชอบเพลง เคยเปิดเพลงที่เราชอบให้คนอื่นฟังมาก่อนนับครั้งไม่ถ้วน เคยเป็นแรงเหนี่ยวนำให้ผู้คนหลงใหลในเพลงมามาก เวลานี้ก็ได้โอกาสที่จะชดใช้วิบากกรรม ดีแล้ว อดทนฟัง ๆ ไป วิบากก็จะลดน้อยลง ยินดีรับ ยินดีให้มันหมดไป
นอกจากนี้ก็พิจารณาปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นที่เหลืออยู่ ที่ยังติดอยู่ว่าถ้าต้องฟังเพลงแล้วจะทุกข์ใจ ยังเหลือความรู้สึกอึดอัด รำคาญใจอยู่ แม้เล็กน้อยก็เป็นทุกข์อริยสัจ เป็นความชังที่เราต้องล้างออกให้หมด ไม่ปล่อยให้มันสั่งสมเป็นกิเลสที่หนาขึ้น พิจารณาโทษของความยึดมั่นถือมั่นส่วนที่เหลืออยู่นี้ให้ชัดเจน แล้วพยายามกำจัดมันให้สิ้น ให้เกลี้ยง เราจะได้มีความผาสุกผ่องใสแม้ต้องได้ฟังเพลงโดยสถานการณ์มันบังคับก็ตาม รวมทั้งเสียงอื่น ๆ ที่เราไม่ชอบฟังก็เหมือนกัน ถ้าเราทำความยินดีในความไม่ชังต่อเสียงเหล่านั้นได้ เราก็จะมีความผาสุกยั่งยืนยิ่งขึ้น
เมื่อได้พิจารณาดังนี้แล้ว จึงได้ความรู้สึกแช่มชื่นเบิกบานมากขึ้น ความรู้สึกอึดอัด รำคาญกับเสียงเพลงอยู่บ้างนั้นก็เบาบาง จางคลายลงไป และเริ่มเห็นชัดขึ้นว่า ถ้าเราพากเพียรล้างความชังนี้ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดเราจะฟังเพลงทุกเพลงได้โดยไม่ทุกข์ รวมถึงเสียงทุกเสียงด้วย
เรื่อง : ตัดสะพาน ไม่ทอดสะพาน จะได้นิพพาน
เหตุการณ์ : ฟังเทศพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ โอ้ยโดนจริงๆ โดนใจ คำว่า ตัดสะพาน ไม่ทอดสะพาน จะได้นิพพาน เรามีสภาวะ เจ้าชู้ มั่ว ลำเอียง กับกิเลสการเสพกามอาหารที่ชอบ ถูกใจ ชอบมาก และทอดสะพานอยู่ตลอด ไม่เคยคิดจะตัดสะพานเลย ยังเจ้าชู้หลายใจ มั่ว ลำเอียงอยู่ตลอด เรามีตัณหาความอยาก เรื่องอาหาร ความอยากกินของชอบเยอะ และได้ไปผูกสายสัมพันธ์ความชอบที่คล้ายกันไว้กับคนโน้น คนนี้ก็เยอะ เห็นได้ว่า จากวัตถุอาหาร ไปสู่คน และเชื่อมโยงเป็นสายใยความผูกพันความห่วงหาอาลัยอาวรณ์ในคน ที่ได้ร่วมกินของชอบเหมือนกัน ชื่นชม ส่งเสริมสนับสนุน เติมเต็มการเสพกามความชอบ ความอร่อยกันและกัน และสะสมเป็นความยึดดี ยัดเยียดดีให้คนที่เรารักเราห่วงใยนั้น ต้องได้ดีดั่งใจเราหมาย ดีทำไมมาเอาๆ เป็นอัตตาตนตน ที่ใหญ่มากขึ้น
ทุกข์ : มีความทุกข์ใจ อยากให้คนที่เรารักเราห่วงใยได้รับสิ่งดีๆ
สมุทัย : เกิดจากตัณหาความอยาก กิเลสชอบ-ชัง อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตา ที่อยากให้เขาได้ดีดั่งใจเราหมาย
นิโรธ : ไม่อยาก ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เขาจะเป็นอย่างไร จะได้รับสิ่งดีๆ ไม่ได้รับสิ่งดีๆ เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาเรื่องกรรม เติมสัมมาทิฏฐิเชื่อชัดเรื่องกรรม สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา ทุกคนมีกรรมเป็นของของตน เขาทำมาอย่างไร เขาก็ต้องได้รับอย่างนั้น เราจะไปขโมยสิ่งดีๆ ไปให้เขาไม่ได้ มันผิดสัจจะความจริง ไม่ต้องห่วงใครในโลกใบนี้ทุกคนพ้นทุกข์ ตามวิบากดีร้าย ที่แต่ละคนทำมาเอง สาธุค่ะ
26/04/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : รำคาญแม่
เมื่อวานได้ล้างทุกข์เรื่องไม่ชอบที่แม่มาจ้ำจี้จ้ำไช วันนี้มาตลีเลยส่งบทเรียนมาทดสอบ เรื่องมีอยู่ว่า ในขณะที่ผู้เขียนกำลังยืนพ่นปุ๋ยน้ำให้ต้นไม้อยู่ แม่ของผู้เขียน(คู่กรณีเดิม) ก็มายืนบอกว่าฉีดต้นนั้นด้วยสิ ฉีดต้นนี้ด้วยสิ พอแม่มายืนบอกแบบนี้ก็ทำให้เกิดอาการรำคาญแม่อีกแล้ว
ทุกข์ : รำคาญที่แม่มายืนบอก
สมุทัย : ชอบใจถ้าแม่ไม่มาบอกให้ทำตามที่แม่สั่ง ไม่ชอบใจที่แม่มาบอก
นิโรธ : แม่จะบอกหรือไม่บอกก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : ในขณะที่แม่มายืนบอก กิเลสมันก็ทำงานทำ (มันชอบมาเอาตอนทีเผลอไม่ได้ตั้งตัว) ก็มีอาการรำคาญ ไม่ชอบใจแม่ที่ทำไมแม่ต้องมายืนบอกอยู่ได้ ( ไม่ถึงกับมีอารมณ์โกรธ) ทันใดทันก็ตอบแม่กลับไปว่า (นี่คือบทสนทนระหว่างผู้เขียนกับแม่)
มาร : เอาอีกแล้วนะแม่ ทำไมถึงได้ชอบมายืนบอกให้ทำยังนั้นอย่างนี้จัง
ทำไมแม่ไม่ให้อิสระในการทำงาน แต่ละคนเขาก็มีวิธีการทำงานของเขา จะให้เหมือนที่แม่ชอบทุก
อย่างมันเป็นไปไม่ได้
แม่ : ก็แม่เห็นเรายังไม่ได้ฉีดตรงใต้ต้นไม้เลย
มาร : แล้วแม่รู้ได้ไง ผู้เขียนยืนยันกับแม่ว่าฉีดแล้ว (มันยังไม่ยอมรับผิด)
แม่ : ก็แม่ยืนดูอยู่
เรา : เวลาแม่ทำงานทำไมเราไม่เคยไปบอกให้แม่ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เลยล่ะ แม่ก็ทำงานไม่ได้ละเอียดไปซะทุกเรื่อง เราก็เห็นข้อผิดพลาดหลายเรื่อง เรายังไม่เคยบอกแม่เลย แล้วทำไมแม่ต้องมายุ่งกับเราอยู่ได้ (มันยังไม่สำนึก)
พอพูดเสร็จก็นึกขึ้นมาได้ว่านี่เราเผลอตัวอีกแล้ว เราขาดสติอีกแล้ว นี่เราเคยตั้งใจไว้ว่าจะเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน พอข้ามวันเราก็กลับมาเป็นแบบเดิมอีกแล้ว พอนึกได้ก็หยุดไปสำนึกผิด แล้วก็ตอบกลับกิเลสไปว่า
เรา : คนที่ต้องถูกบอกว่า “เอาอีกแล้วนะ” คงต้องเป็นแกนะมาร ไม่ใช่แม่
เอาอีกแล้วนะ ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมถ่อมตน รับคำชี้แนะจากคนอื่น
แค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่นี้แกยังทนฟังใครไม่ได้เลย คงไม่ต้องไปหวังถึงเรื่องอื่นว่าแกจะอดทนให้
ใครมาเตือนมาตำหนิได้
อยากจะชั่วอยากโง่ ซ้ำซาก ก็ตามใจ
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 21 “ การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา แล้วทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ”
พิจารณาแบบนี้แล้วกิเลสมันยอม มันไม่อยากโง่ ไม่อยากชั่ว ไม่อยากทุกข์อีกแล้ว มันสำนึกผิดที่ทำไม่ดีกับแม่ แปรความปรารถนาดีของแม่เป็นความจ้ำจี้จ้ำไช พิจารณาแบบนี้แล้วใจโล่งเบาสบายขึ้น อยู่ความรำคาญได้เร็วขึ้น
ส่งการบ้านอริยสัจ4
เรื่อง. เก็บรากยางล้างกิเลส
เหตุการณ์.ช่วงนี้เป็นที่ตัวเองกำลังทำไร่ แล้วที่ดินตรงนี้เมื่อก่อนจะปลูกต้นยางพารา เมื่อไถแล้วจะมีรากยางเยอะมาก ต้องเก็บเก็บรากยางก่อนจะปลูกพืชผัก ขณะที่กำลังเก็บอยู่ด้วยก็คุยสนทนากับน้องและพี่สาวอยู่ด้วย เราก็เก็บได้เกินครึ่งแล้วแต่พี่สาวถามว่า ที่เหลือนั้นลองไม่เก็บจะได้มั้ย ทดลองปลูกแบบไม่ต้องเก็บดูว่าผลจะออกมาอย่างไร ตัวเองก็ตอบพี่สาวไปว่า
“แล้วคิดว่ากิเลสเราจะยอมเหรอ”พี่สาวก็หันไปพูดให้น้องบ่าวที่ทำงานอยู่ใกล้กันฟัง ว่าเราพูดแบบนี้ แล้วน้องก็มาถามซ้ำอีกครั้งว่า ตกลงที่เหลือทำใจไม่เก็บได้มั้ย ตอบว่าได้ค่ะ แต่ในใจยังค้านอยู่ เพราะกิเลสมันบอกว่า อยากเก็บให้หมด ไม่เป็นไรเราก็ว่างๆอยู่ก็ทำไปเรื่อยๆก็ได้ เก็บแล้วจะได้ปลูกพืชผักได้ง่าย ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ทุกข์.ทุกข์ใจไม่อยากทำตามที่พี่สาวและน้องบอก
สมุทัย.ยึดที่อยากจะทำตามใจตัวเอง ว่าต้องเรียบร้อยสมบูรณ์จะสุขใจ ถ้าดูแล้วยังไม่เรียบร้อยไม่สมบูรณ์จะไม่ชอบใจจะทุกข์ใจ
นิโรธ.วางใจว่าไร่จะออกมาดูไม่เรียบร้อยไม่สมบูรณ์ใจก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค. ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ให้เห็นถึงโทษของความยึดมั่นถือมั่นของความที่ใจอยากให้เป็นดั่งใจหมายของตัวเอง ณ.ขณะนั้นทำให้เราปัญญาดับ แพ้กิเลส ยอมเสียศีล ยอมผิดศีลเพื่อจะให้ได้สมใจกิเลสที่หลงไปยึดไว้ว่า ต้องเป๊ะต้องดูเรียบร้อยสมบูรณ์จึงจะสุขใจ
พิจารณาเห็นถึงประโยชน์ของการวางใจล้างความชอบชังความยึดมั่นถือมั่นความชอบชังได้ทำให้มีสติมีปัญญาเห็นกิลส ที่เราหลงยึดโดยไม่รู้ตัว คิดว่าเราทำได้ทำไปเรื่อยๆทำให้เสร็จให้เรียบร้อย คงไม่เป็นไร แต่เราหลงยึดเริ่มโง่กว่ากิเลส กิลสบอกว่าต้องเรียบร้อยสมบูรณ์ (มันเป็นสุขลวง) สุขที่แท้คือวางใจถ้าไม่ทำต่อแล้วจะสุขใจให้ได้ว่าไร่ไม่จำเป็นต้องเรียบร้อยสมบูรณ์ก็ได้ มันจะพร่องบ้างก็ได้ แต่มาดูใจเรา ต้องไม่พร่องไม่พลาดให้กับกิเลส
ตั้งจิตยอมรับความจริงตามความเป็นจริง สำนึกผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับโทษ ขอโทษ ขออโหสิกรรมต่อพระพุทธเจ้า ต่ออาจารย์ พี่น้อง พี่สาวและน้องที่เราเสียศีล ผิดศีล ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตลดกิเลสทำความดีให้มากๆช่วยเหลือผู้อื่นให้มากๆ
เรื่อง : ง่ายๆ ทำไมต้องโมโห
เหตุการณ์ : ปกติค่าไฟฟ้าที่อยู่ในบ้านจะใช้ประมาณเดือนละ 100 บาท บวก ลบ แต่พอบิลค่าไฟฟ้าเดือนนี้มา ปรากฏว่าค่าไฟฟ้าขึ้นเยอะมาก จนผิดปกติ(ประมาณ 30,000 บาท)น้องชายเห็นตัวเลขค่าไฟฟ้าเยอะ เขาก็ตกใจอย่างแรงเลยจนโมโหมาก คนในบ้านใครจะพูดอะไรก็ไม่ถูกใจเขาทั้งหมด แต่สำหรับตัวเองก็คิดว่า การคิดค่าไฟฟ้าเดือนนี้ต้องมีอะไรผิดปกติแน่ๆเลย เดี๋ยวเราเสนอไปทางผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับไฟฟ้า เขาจะแก้ไขเอง เราก็สบายๆ ไม่ต้องกังวลอะไรเลย เพราะว่ายังไงเรื่องนี้ก็ต้องได้รับการพิจารณาแก้ไขอย่างถูกต้องอยู่แล้ว
ทุกข์ : ขุ่นใจน้องชายทำไมต้องโมโหด้วย
สมุทัย : ชอบถ้าน้องชายเข้าใจเรื่องนี้อย่างที่เราเข้าใจและไม่โมโห ชังที่เห็นน้องชายกำลังทุกข์ใจและโมโห
นิโรธ : น้องชายจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้ เขาจะโมโหหรือไม่โมโหเราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : หันมาเทียบเคียงดูระหว่างเรากับน้องชายใครชั่วกว่ากัน ปรากฏว่า น้องชายไม่ได้ฟังธรรมะอย่างเรา เขาไม่มีครูบาอาจารย์ไม่มีหมู่มิตรดีคอยบอกคอยสอน และเขาไม่ได้ฝึกปฏิบัติธรรมอย่างเรา ฉะนั้นเวลาที่เขากระทบกับเหตุการณ์ต่างๆ เขาจะรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นๆ มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วๆ ไปแบบโลกๆ แต่ไอ้ที่ชั่วกว่าคือมารในใจเรานี่สิ ที่ไปเพ่งโทษถือสาน้องชาย พอมารเห็นน้องชายแสดงอาการโมโห มารก็บ่นทันทีเลย
มาร : เอ๊ะ…เรื่องง่ายๆ แค่นี้ ทำไมเขาต้องโมโหด้วยล่ะ เดี๋ยวภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็มาแก้ไขให้เรา ก็ไม่ได้จ่ายเงินเยอะตามนี้นี่ ไม่เห็นจะน่าโมโหเลย ทำไมน้องชายไม่เห็นคิดเหมือนเราเลยว่ะ
เรา : เบาๆ หน่อยสิมาร ไม่รู้สึกละอายแก่ใจบ้างรึ ที่เห็นเขาโมโหแล้วตัวเองก็ไปขุ่นใจเขาหน่ะ ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นนักปฏิบัติธรรม มีมิตรดีและครูอาจารย์ คอยบอกคอยสอนทุกๆ วันขนาดนี้แล้วเห็นเขาทุกข์ใจ ก็ยิ่งไปซ้ำเติมเขาแบบนี้ เรียกว่าโง่ซ้ำโง่ซ้อน ถ้ายังไม่เลิกเพ่งโทษถือสาเขา เดี๋ยวเขาจะให้แกไปเป็นซะเองเลย จะได้เรียนรู้ว่ามันทุกข์ยังไง แล้วจะออกยังไง
มาร : อ๋อ…คิดแบบนี้มันน่าอาย มันชั่ว งั้นเปลี่ยนจิตคิดแบบพุทธะสบายใจกว่า
สรุป ผลที่ได้รับจากการไปเพ่งโทษคนอื่น เราก็เลยโง่ไปโมโหลูกของตนเองในที่สุด ตรงกับ บทธ ข้อ 9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง ต่อเหตุการณ์นี้ตัวเองขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ด้วยใจที่เบิกบาน และ จะตั้งศีลเลิกเพ่งโทษคนอื่น สาธุค่ะ
ส่งการบ้านอริยสัจ4
เรื่อง. เก็บรากยางล้างกิเลส
เหตุการณ์.ช่วงนี้เป็นที่ตัวเองกำลังทำไร่ แล้วที่ดินตรงนี้เมื่อก่อนจะปลูกต้นยางพารา เมื่อไถแล้วจะมีรากยางเยอะมาก ต้องเก็บเก็บรากยางก่อนจะปลูกพืชผัก ขณะที่กำลังเก็บอยู่ด้วยก็คุยสนทนากับน้องและพี่สาวอยู่ด้วย เราก็เก็บได้เกินครึ่งแล้วแต่พี่สาวถามว่า ที่เหลือนั้นลองไม่เก็บจะได้มั้ย ทดลองปลูกแบบไม่ต้องเก็บดูว่าผลจะออกมาอย่างไร ตัวเองก็ตอบพี่สาวไปว่า
“แล้วคิดว่ากิเลสเราจะยอมเหรอ”พี่สาวก็หันไปพูดให้น้องบ่าวที่ทำงานอยู่ใกล้กันฟัง ว่าเราพูดแบบนี้ แล้วน้องก็มาถามซ้ำอีกครั้งว่า ตกลงที่เหลือทำใจไม่เก็บได้มั้ย ตอบว่าได้ค่ะ แต่ในใจยังค้านอยู่ เพราะกิเลสมันบอกว่า อยากเก็บให้หมด ไม่เป็นไรเราก็ว่างๆอยู่ก็ทำไปเรื่อยๆก็ได้ เก็บแล้วจะได้ปลูกพืชผักได้ง่าย ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ทุกข์.ทุกข์ใจไม่อยากทำตามที่พี่สาวและน้องบออก
สมุทัย.ยึดที่อยากจะทำตามใจตัวเอง ว่าต้องเรียบร้อยสมบูรณ์จะสุขใจ ถ้าดูแล้วยังไม่เรียบร้อยไม่สมบูรณ์จะไม่ชอบใจจะทุกข์ใจ
นิโรธ.วางใจว่าไร่จะออกมาดูไม่เรียบร้อยไม่สมบูรณ์ใจก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค. ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ให้เห็นถึงโทษของความยึดมั่นถือมั่นของความที่ใจอยากให้เป็นดั่งใจหมายของตัวเอง ณ.ขณะนั้นทำให้เราปัญญาดับ แพ้กิเลส ยอมเสียศีล ยอมผิดศีลเพื่อจะให้ได้สมใจกิเลสที่หลงไปยึดไว้ว่า ต้องเป๊ะต้องดูเรียบร้อยสมบูรณ์จึงจะสุขใจ
พิจารณาเห็นถึงประโยชน์ของการวางใจล้างความชอบชังความยึดมั่นถือมั่นความชอบชังได้ทำให้มีสติมีปัญญาเห็นกิลส ที่เราหลงยึดโดยไม่รู้ตัว คิดว่าเราทำได้ทำไปเรื่อยๆทำให้เสร็จให้เรียบร้อย คงไม่เป็นไร แต่เราหลงยึดเริ่มโง่กว่ากิเลส กิลสบอกว่าต้องเรียบร้อยสมบูรณ์ (มันเป็นสุขลวง) สุขที่แท้คือวางใจถ้าไม่ทำต่อแล้วจะสุขใจให้ได้ว่าไร่ไม่จำเป็นต้องเรียบร้อยสมบูรณ์ก็ได้ มันจะพร่องบ้างก็ได้ แต่มาดูใจเรา ต้องไม่พร่องไม่พลาดให้กับกิเลส
ตั้งจิตยอมรับความจริงตามความเป็นจริง สำนึกผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับโทษขอโทษ ขออโหสิกรรมต่อพระพุทธเจ้าต่ออาจารย์พี่น้องพี่สาวกับน้องที่เราเสียศีล ผิดศีล ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตลดกิเลสทำความดีให้มากๆช่วยเหลือผู้อื่นให้มากๆ
สรุป.เมื่อเราวางใจได้กิเลสก็ยอมแพ้ลงตามลำดับจากตอนแรกเห็นรากยางโพล่ๆอยู่ไม่ได้มันรู้สึกคันหัวใจอยากจะเก็บให้เรียบๆแต่ตอนนี้วางใจได้ประมาณ70%แล้วค่ะแล้วจะตั้งศีลพากเพียรสู้กิเลสให้ได้ตามฐานของตัวเองค่ะ
เรื่อง โชคดีอีกแล้ว
เนื้อเรื่อง ขณะกำลังนั่งฟังธรรม มาตลีก็เดินเข้ามาหา แล้วถามว่าทำไมไม่ทำแบบนี้ เราก็บอกท่านตามความรู้สึกของเราบวกมีกิเลส ว่าเราทำแบบนี้เพราะอะไร ท่านก็ถามซ้ำ ๆ เราก็พูดตามกิเลสว่า อย่าเอาความคิดหรือกิเลสของตัวเองมาตัดสินผู้อื่น เห็นอาการใจที่เต้นไม่ปกติ แต่ควบคุมไม่ได้ เชื่อกิเลสเมื่อไหร่ก็โง่เมื่อนั้น สร้างวิบากใหม่เรียบร้อย แต่ทุกอย่างตรงข้ามกับที่กิเลสพาเราคิดพูดทำ ท่านหวังดีกับเรา ท่านรู้ว่าเรามีกิเลสตัวไม่ยอม ท่านยิ่งอยากช่วย มันกลับทำให้เรายิ่งต้าน และได้กระแทกกิเลสเราออกมา ด้วยการพูดออกเป็นวจีกรรมที่ไม่เหมาะ กิเลสเราเขาจะหาเหตุผลที่จะปกป้องตัวเองเต็มที่เหมือนกัน ขอบคุณเหตุการณ์ครั้งนี้มาก อัตตาชนอัตตา
ทุกข์ ชังพฤติกรรมที่พยามยัดเยียดสิ่งที่ดีให้คนอื่น ไม่ประมาณโคต้าของตัวเอง ไม่ฟังมาตาลี ทุกข์นี้ตัวใหญ่มาก
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ยึดว่าความคิดแบบเราก็ได้ แบบท่านก็ได้ ไม่บังคับหรือยัดเยียดให้กันแม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดี
นิโรธ แม้ไม่ได้ดั่งใจเราหมาย เราก็ไม่ชอบไม่ชัง เป็นสุขใจได้ทุกสถานการณ์
มรรค สำนึกผิด ยอมรับผิด ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ ขออโหสิกรรม จะสังวรระวังกาย วาจา ใจให้มากกว่านี้ ขอบคุณเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราเห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบากรับแล้วก็หมดไปแล้วเราก็จะโชคดีขึ้น
เห็นวิบากกรรมที่ผิดศีลในครั้งนี้ ผลคือขณะที่เขียนทุกข์อริยสัจ คิดไม่ออกเขียนวนไปวนมา ตอนเขียนมรรค กว่าจะเรียบเรียงได้ใช้เวลาพอสมควร เชื่อชัดเรื่ิองวิบากกรรมทำให้ปัญญาดับจริงๆ ในปัจจุบันเทียว
เรื่อง โง่เพราะยึด
เหตุการณ์ : ทุกวันเสาร์มีเรียนภาษาอังกฤษทางซูมถึงเวลาเรียน ได้เตือนพ่อบ้านว่าถึงเวลาเรียนแล้วแต่พ่อบ้านยังทำงานในสวนตามปกติ
ทุกข์ : รู้สึก ขัดใจ ที่พ่อบ้านไม่เข้าเรียนตามเวลา
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นอยากให้พ่อบ้านเข้าเรียนตามเวลา ชอบใจ ถ้าพ่อบ้านเข้าเรียนตามเวลา แต่ถึงเวลาเรียนพ่อบ้านก็ยังไม่ได้เข้า รู้สึกขัดใจ ไม่ชอบใจ
นิโรธ : พ่อบ้านจะเข้าเรียนเมื่อไร ตามเวลา หรือ ผิดเวลา ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : รู้สึกขัดใจเมื่อพ่อบ้านยังไม่มาเข้าเรียน มารเร็วกว่าชิงมาก่อนบ่นในใจเสียยาวว่า ใจเย็นอยู่ได้ถึงเวลาเรียนแล้วยังไม่เลิกงานอีก ไม่ตรงเวลา ไม่รู้จักเวลาเลย แต่รู้ตัวทันรีบบอกมารว่า กำลังพาเราโง่ ทุกข์อยู่นะไม่เชื่อหรอก ออกไปเถอะมารเราเหนื่อยกับเธอมากแล้วนะ อย่ามากวนอีกเลย มารก็บอกว่ามารเหนื่อยเหมือนกันแล้วรีบออกไปเลย ตัวเองมาล้างใจให้ทุกข์สิ้นเกลี้ยงด้วย บทธ.ข้อ 141 ว่า”ความผิดความถูก อยู่ที่การยึดหรือไม่ยึด ถ้ายึด คือ ผิด ถ้าไม่ยึด คือ ถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่ เหตุผลใครเลิศยอดกว่าใคร ผิดถูกมันอยู่ที่ ยึดหรือไม่ยึด ยึด คือ ผิด ถ้าไม่ยึด คือ ถูก ยึด คือ ยึดมั่นถือมั่นตามความคิดของเรา เอาดีแบบเราหมาย จึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมาย จะทุกข์ใจ นี่แหละยึด นี่แหละกิเลส นี่แหละบาป” จริงที่สุด บาปมาก โง่ไม่เลิก ที่เราขัดใจเพราะเรายึดมั่นถือมั่นว่าพ่อบ้านต้องเข้าเรียนตามเวลาซึ่งเป็นกิเลสของเราเอง เราก็ทุกข์เอง เหนื่อยด้วยแล้วจะยึดทำไม ให้เขาตัดสินใจเองดีกว่า เราวางใจเถอะ
สุดท้ายความรู้สึกขัดใจก็จางคลาย หายไปใจกลับมาสุข สดชื่น ดังเดิม
เรื่องไฟโซล่าเซลล์
เหตุการณ์ ได้ติดแผงโซลาร์บนหลังคาเพื่อใช้ในบ้านและปั้มน้ำ มีน้องชายลูกของน้าที่เป็นธุระติดตั้งให้ ใช้งานได้อยู่ 5วันก็ใช้ได้ดี แต่วันนี้มีปัญหาเปิดแล้วไฟตัด น้องก็กลับบ้านไปแล้วก็เลยขุ่นๆใจที่มีปัญหาเร็วเกินไปแค่ 5วัน
ทุกข์ ขุ่นใจที่ระบบไฟโซล่าร์เซลล์มีปัญหา
สมุทัย ถ้าระบบไฟโซล่าเซลล์ใช้งานได้ดีจะสุขใจ ถ้าระบบไฟโซล่าเซลล์ใช้งานไม่ได้จะทุกข์ใจ
นิโรธ ระบบไฟโซล่าเซลล์จะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหาก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค มาพิจารณาความจริงในการได้ใช้ไฟโซล่าเซลล์ซึ่งเป็นก้าวใหม่ของบ้านที่ติดตั้งขึ้นมาใหม่ในพื้นที่มีใช้เป็นที่แรก และมีน้องชายที่จัดสรรเวลามาฝึกติดตั้งให้อย่างเต็มที่ด้วยความยินดี เต็มใจ ของและอุปกรณ์ต่างๆยอมจ่ายให้ก่อน และคิดค่าแรงถูกมาก ก็น่ายินดีพอใจอย่างที่สุดแล้ว ต้องขอบคุณน้องชายที่ยอมเสี่ยงชีวิตเป็นธุระจัดการให้ ถึงจะมีปัญหาบ้าง ก็ไม่ได้เสียหายอะไร ใช้ไฟของรัฐบาลมาตั้งหลายปีแล้ว ตอนนี้มีไฟโซล่าเซลล์มาแบ่งเบาภาระให้บ้างก็ดีมากแล้ว โชคดีได้เห็นการฝึกกว่าจะสำเร็จของเราเช่นในการฉีดยาให้คนไข้ฝึกแล้วฝึกอีก น้องชายก็ได้ฝึกฝนวิชาการติดตั้งเช่นกัน ให้โอกาสเขาแล้วเขาก็จะแกร่งขึ้น ส่วนเราก็ฝึกความใจร้อนอยากให้ได้ดั่งใจลง อดทน รอคอย น้องชายว่างมาช่วยดูให้วันไหนก็ไม่ทุกข์ใจ ในเมื่อวิบากดีร้ายสังเคราะห์กันแล้วยังไม่ใช่เวลาที่จะได้ใช้ก็ไม่ต้องใช้ ใช้บททบทวนธรรมข้อ 40 “วิธีแก้ปัญหาง่ายนิดเดียว อันไหนแก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้” ข้อ 56 ” ทุกเสี้ยววินาทีทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา”
สรุป หลังพิจารณาเชื่อและชัดเรื่องวิบากกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ให้โอกาสน้องชายได้ฝึก และที่สำคัญสุดให้เราได้ออกจากกิเลสตัวใจร้อนนี้ด้วย ฉะนั้นเมื่อยังไม่ใช่เวลาก็ไม่ต้องใช้เอาดีที่ 11 ดีกว่า ใจไร้ทุกข์..สาธุ
เรื่อง : ช่างตัดผมจำยอม
ผมเริ่มยาว หลังจากที่ตัดมาเป็นเดือนกว่า ในแต่ละเดือนจะมีโอกาสได้บำเพ็ญตัดผมให้พี่น้องจิตอาสา คุณแม่ ญาติพี่น้อง พ่อบ้าน ลูก ๆ ทุกคนที่ต้องการให้เราตัดให้ เวลาเราผมยาวเองก็ฝึกให้ลูกสาวคนเล็กตัดให้บ้าง บางครั้งถ้าไปตัดผมให้คุณแม่ ก็จะเป็นพี่สาวตัดผมให้เราแทนเราก็สลับกันตัดให้ท่าน รอบนี้ถึงเวลาตัดก็ไปบอกลูกสาวไว้ ถ้าว่างจากการเรียนออนไลน์และพร้อมจะตัดผมให้แม่เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น
ทุกข์ : ลำบากใจที่จะต้องไปขอให้ลูกตัดผมให้ รู้สึกรบกวนช่างตัดผมจำยอม
สมุทัย : ความโลภ อยากได้ดีจากลูก ยึดจะเอาดีจากลูก ยึดดีว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ลูกจะได้บำเพ็ญกุศลกับแม่ อยากให้ลูกกระตือรือร้นที่จะตัดผมให้แม่ ไม่อิดออดหรือผลัดวันไป เหมือนถูกบังคับให้ต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบทำ
นิโรธ : ลูกหรือใครจะตัดผมให้เราก็ผาสุกใจได้ แม้ได้หรือไม่ได้ตัดผมก็ผาสุกใจได้
มรรค : ลูกจะเห็นประโยชน์หรือไม่ก็เป็นส่วนกรรมของลูกเอง เราฝึกฝนที่เราล้างความโลภ ยึดดีที่เราอยากได้ดีจากลูก ล้างกิเลสตัวโลภพิจารณาโทษภัยของมันว่ามันเป็นทุกข์แท้ ๆ เป็นวิบากร้าย เหนี่ยวนำให้คนทั้งโลกมีความโลภตาม วางความยึดดีที่ทำให้ใจหม่นหมองลง ที่มีลง
เมื่อแจ้งให้ลูกรู้ว่าผมแม่ยาวแล้วน่าจะตัดผมได้แล้ว ถ้าลูกจะพร้อมมาตัดผมให้เมื่อไหร่ก็ยินดีได้ทุกเมื่อ แม้ลูกไม่ว่างตัดผมให้ก็ไม่เป็นไร วางใจ เป็นสุขได้ ยินดีรับกับโอกาสที่ใครจะยินดีจะบำเพ็ญตัดผมให้กับเราก็ได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นลูกเราที่เขาจะมีโอกาสบำเพ็ญกุศลตัดผมให้กับแม่ ใครก็ได้ และะเราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับทรงผมอะไร ที่พวกเราเรียกทรงจิตอาสาตัดตามใจผู้ตัดที่เห็นสมควร ให้ผมมันสั้นขึ้นดูแลทำความสะอาดได้ง่ายเท่านั้น ใจก็รู้สึกเบาสบาย ความลำบากใจหายไปสิ้นเกลี้ยง
ลูกจะว่างมาตัดผมให้แม่หรือไม่ก็ได้ หรือใครจะเป็นผู้มาบำเพ็ญตัดผมให้ก็ได้ ยินดีพอใจ ได้ตลอดเวลา เมื่อวางใจได้ รอบบำเพ็ญกุศลรอบนี้ก็เป็นพี่สาวที่เราได้มีโอกาสได้ไปธุระอย่างอื่นร่วมด้วยและได้บำเพ็ญสลับกันตัดผมกับพี่สาว และตัดผมให้หลานชายด้วยใจก็เบิกบานผาสุก
ได้ฝึกฝนยินดีในการเป็นผู้ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้ และยินดีรับแต่ของที่เขาให้ด้วยใจเป็นสุข วางได้จึงจะได้ในสิ่งที่ควรได้ ควรมี ควรเป็น ณ เวลานั้น ๆ และมีพลังที่จะเรียนรู้ฝึกฝนการตัดผมด้วยตนเองไปตามลำดับ
นายเมธา ว่องวิวัฒน์ไวทยะ
จิตอาสาสวนป่านาบุญ ๒
เรื่อง : หลงกลมาร ทำให้รู้สึกว่าเป็นจริง
เนื้อเรื่อง : ลูกชายได้ไปงานบวชเพื่อนสมัยเรียนมัธยมปลายมา พออีกวันก็มีเพื่อนของลูกชายโทรมาบอกตอนเที่ยงๆ ว่า พี่ชายพระเป็นผู้ป่วยโควิด ซึ่งก็ได้เดินรับแขกอยู่ในงานโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย ขอให้กักตัวกันก่อน แต่ตอนนั้นลูกชายก็ได้มานั่งกินข้าวแล้วคุยกันกับครอบครัวอยู่ ซึ่งผมก็ได้ร่วมอยู่ในวงนั้นด้วยครับ จึงจำเป็นต้องกักตัวตามไปด้วย แต่ก็ไม่ได้มีความทุกข์ใจใดๆ แถมได้บอกกล่าวความจริงที่เกิดขึ้นให้กับคนแถวบ้านทราบ โดยไม่กังวลว่าเขาจะคิดอย่างไรกับครอบครัวเรา จนวันที่ 26 เมษายน 2564 เจ้าหน้าที่ได้โทรมาแจ้งให้ลูกชายทราบว่าให้ไปรับการตรวจในวันที่ 28 นี้ ในส่วนตัวผมก่อนนอนในคืนที่ 27 จึงคิดว่าลูกชายไปตรวจพรุ่งนี้แล้วมีผลว่าติดเชื้อก็คงไม่เป็นไรเพราะลูกชายเป็นคนแข็งแรง แล้วผมก็ได้คิดต่อไปว่า ถ้าผมเกิดติดโควิดขึ้นมาคงจะแย่แน่ๆ เพราะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง เพราะเป็นโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก แถมหัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีประวัติเป็นโรคความดันสูงและโรคเบาหวานอีก แล้วก็นอนหลับไปในตอนห้าทุ่มกว่าๆ พอตื่นขึ้นมาตอนตีสอง รู้สึกว่าตัวร้อน หนาวสั่น และปวดเมื่อยไปทั้งร่างกาย
ทุกข์ : กลัวกังวลว่าจะติดเชื้อโควิดจากลูกชาย เพราะเราก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง
สมุทัย : กลัวกังวลว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ตามข่าวที่ออกมา
นิโรธ : จะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ จะตายหรือไม่ตาย เราก็ไม่กลัวไม่กังวล ไม่ชอบไม่ชังในสิ่งที่จะเกิดขึ้น
มรรค : ตอนที่ตื่นมาตอนตีสอง เรามีความรู้สึกทางกายว่าตัวร้อน หนาวสั่น และปวดเมื่อยไปทั้งร่างกาย จึงได้ใช้สติพิจารณาว่าตอนก่อนนอน เราได้มีจิตคิดกลัวคิดกังวล ว่าถ้าเราติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงอาจถึงตาย นี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเรารู้สึกอย่างนั้น เพราะเรามีความทุกข์ใจอยู่ เราจึงได้คุยกับมารว่า เธอ…แม้เราจะติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้ มันก็ไม่แปลกไม่ใช่เหรอ เพราะเราเคยเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นมานักต่อนัก ถึงแม้เราจะเป็นอะไรไป ก็ถือว่าเราได้ชดใช้กรรมที่เราเคยทำมา แล้วเราก็เชื่อในเรื่องผลของกรรมอย่างชัดเจนและมั่นคง พอมารได้ยินก็ยอมจำนนและเปลี่ยนเป็นพลังพุทธะ อาการตัวร้อน หนาวสั่น และปวดเมื่อยไปทั้งร่างกาย ก็หายไปในทันที มีแต่ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจเข้ามาแทน
27/04/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : อยากทำให้ได้หลายอย่าง
วันนี้ไปปลูกผักที่สวนตามปกติ พอไปถึงก็มีความคิดว่าเรามีอะไรต้องทำอยู่หลายอย่าง เช่น ขยายแปลงผักเพิ่ม ถางหญ้า เอาผักที่เพาะไว้มาปลูก เอาฟางมาคลุมแปลงผัก รดน้ำ ฯลฯ พอคิดว่ามีอะไรต้องทำมากมายขนาดนี้ ก็ทำให้รู้สึกเหนื่อย(ตั้งแต่ยังไม่ได้ทำอะไร) คิดไม่ออก ไม่รู้จะเริ่มจับต้นชนปลายอะไรก่อนดี แต่อยากทำให้เสร็จหมดทุกอย่าง
ทุกข์ : โลภอยากทำให้ได้หลายอย่าง
สมุทัย : ชอบใจถ้าได้ทำงานเสร็จทุกอย่างตามที่คิดไว้ ไม่ชอบใจถ้าทำไม่ได้อย่างที่คิด
นิโรธ : จะทำงานเสร็จได้อย่างที่คิดไว้ก็ได้ไม่เสร็จก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : ระยะหลังเวลาไปสวน เมื่อเห็นผลผลิตในสวนงอกงาม ก็เกิดกิเลสความได้ดั่งใจ ภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ ไม่คิดว่าตัวเองซึ่งไม่เคยทำกสิกรรมไร้สารพิษเลยจะทำได้ขนาดนี้(ดีกว่าที่คิดไว้) วันนี้พอคิดว่ามีอะไรบ้างที่ต้องทำ ก็เกิดความโลภอยากให้สำเร็จเสียทุกอย่าง แต่พอรู้ว่ามีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำ และอยากจะทำให้เสร็จภายในช่วงเช้านี้ ความเพลียก็เข้ามาเยือน ไม่รู้จะเริ่มต้นอันไหนก่อนดี ลืมประมาณตัวเองไปว่าตัวเองมีเพียง 2 มือ จึงบอกกับกิเลสไปว่า
มาร : เยอะไปหมด จะทำทันมั๊ยเนี่ย ?
เรา : รีบร้อนไปไหน จะตายมั๊ยถ้าทำทุกอย่างไม่เสร็จภายในช่วงเช้าวันนี้
มาร : ก็ไม่นะ แต่ถ้าทำได้ทุกอย่างก็จะดี
เรา : ดีจริง ๆ เหรอ ดีแล้วทำไมเหนื่อย ทำไมหมดแรง ทำไมทุกข์ล่ะ?
รีบร้อน อยากให้ได้ดั่งใจทุกอย่าง แล้วเป็นไงล่ะ โดนกินแรงไปเปล่า ๆ แรงหมดไปตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มงานเลย
มาร : เออ!!! จริง ๆด้วย
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 76 “ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือความสำเร็จของงาน ใจไร้ทุกข์ ใจยินดี ใจที่ยึดมั่นถือมั่นว่างานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จเมื่อเราได้พยายามเต็มที่แล้ว เพราะเราเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งแล้ว”
พิจารณาแบบนี้แล้ว กิเลสสลายไปเลย ใจเบาสบาย ลืมนึกกังวลเรื่องว่าจะต้องทำให้เสร็จ แต่ทำด้วยความยินดีเบิกบาน ทำไปเรื่อย ๆ ไม่เร่งรีบ ไม่เหนื่อย มารู้ตัวอีกทีคือ ทำงานไปได้มากแล้ว แม้ว่าทำไม่ได้ทั้งหมดที่คิดไว้ แต่ใจก็ไม่ทุกข์เหมือนตอนแรก
เรื่อง กลัวโควต้าโควิด
เหตุการณ์ : เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงมีการจัดตั้ง ร.พ.สนาม และจัดตารางเวรเวียนเพื่อไปอยู่ ร.พ.สนามตั้งแต่เช้าถึงประมาณ 2 ทุ่ม ได้มีน้องท่านหนึ่งโทร.มาเพื่อขอแลกให้ออกแทนหรืออยู่แทนต่อในช่วงค่ำเนื่องจากเขามีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเวลาการเข้านอน เราจึงเกิดความกังวลใจไม่ได้ตอบรับ ขอคิดดูก่อนและแนะนำให้เขาปรึกษาปัญหากับหัวหน้าดู
ทุกข์ : กังวลใจ ไม่อยากอยู่เวร ร.พ.สนามเกินโควต้าที่ต้องอยู่ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงกับโควิด กลัวเดือดร้อนต่อตนเองและครอบครัว
สมุทัย : ชอบถ้าได้อยู่เวร ร.พ.สนามตามโควต้าของตัวเอง ชังถ้าได้อยู่มากกว่าโควต้าตัวเอง
นิโรธ : จะได้อยู่เวร ร.พ.สนามตามโควต้าหรือมากกว่าก็ได้ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : ในความเป็นจริงการไป ร.พ.สนามถือได้ว่าเป็นโอกาสช่วยผู้ป่วย ผู้ที่กำลังเดือดร้อน แต่ใจเรากลับคิดตรงกันข้าม ไม่อยากได้โอกาสหรือโควต้านั้นเพิ่ม เพราะคิดเห็นแก่ตัว กลัวเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเอง เดือดร้อนครอบครัว ทำให้เกิดความกังวลใจขึ้น จึงได้นำบทธ.ข้อ 8 มาพิจารณาว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา ไม่ว่าจะเคยให้ความเสี่ยง ให้สิ่งที่ทำให้ผู้อื่นต้องลำบากใจ เดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเพ่งโทษอริยะซึ่งส่งผลให้เกิดวิบาก 11 ประการ เมื่อเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็เป็นโควต้าของเราก็ต้องยินดี เต็มใจรับ เต็มใจให้หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น และพิจารณาตามบทธ ข้อ 22 ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
1)สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
2)ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือขออโหสิกรรม
3)ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
4)ตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ
สรุปใจคลายความกังวลลงเมื่อได้พิจารณาเรื่องกรรมและวิบากกรรม
เรื่อง : ฟุ้งซ่านอยากให้ลูกประพฤติตนเป็นโสด
เนื้อเรื่อง : เนื่องจากตัวเองเคยแบกความทุกข์ทางร่างกาย และ จิตใจ ที่เจ็บปวด ทรมาน มามากแล้ว ตอนนี้ยังมีลูก (เด็กหญิง) 2 คน ก็เลยคิดอยากให้เด็กๆ เดินตามรอยของ พวธ จะได้มีโอกาสปลอดภัยจากนรกคนคู่ ด้วยการสร้างองค์ประกอบ (ฝึกปฏิบัติตน ตาม พวธ อย่างเคร่งครัด ตามภูมิของตนเอง) เพื่อให้เด็กๆ ได้ซึมซับในสิ่งที่เราทำ
ทุกข์ : ฟุ้งซ่านหดหู่ไม่อยากเห็นลูก ต้องใช้ชีวิตแบบโลกียะ เพราะสังคมในปัจจุบันเลวร้ายมาก
สมุทัย : ชอบถ้าลูกๆ มีฉันทะในการเดินทางโลกุตระธรรม ประพฤติตนเป็นโสด ชังถ้าลูกจะใช้ชีวิตแบบโลกียะ และต้องไปมีคู่
นิโรธ : ลูกๆ จะมีฉันทะในการเดินทางแห่งชีวิตของเขาแบบไหน จะไปมีคู่หรือเป็นโสด เราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พิจารณาดูเรื่องราวยังไม่ทันเกิดขึ้นเลยแต่มารพาเราปรุงจนฟุ้งซ่านไปเรื่อย
มาร : อยากให้ลูกเดินทางตามโลกุตระธรรม ลูกจะไม่ไปมีคู่กับเขา
เรา : ทำไม ต้องมีความอยากแบบนั้นด้วยล่ะ
มาร : ก็สงสารลูกน่ะ ไม่อยากให้ลูกไปใช้ชีวิตแบบเสพกิเลส ทำชั่ว ทำบาปเยอะๆ ถ้าลูกไปมีคู่ก็จะทุกข์มากเหมือนที่เราเคยทุกข์ไง
เรา : โอ้โห…มาร ยึดดีจังเลย ลูกจะเลือกเดินทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับวิบากดีร้ายของลูก เพราะแต่ละชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย บุคคลที่จะได้พึงอาศัยโลกุตระ ต้องเป็นคนที่มีบารมีมากพอ แต่ถ้าลูกไม่ทำตามที่มารอยาก ก็ยังจะทุกข์อีกใช่ไหม
มาร : ก็ทุกข์สิ ถ้าลูกต้องใช้ชีวิตแบบโลกๆ และไปมีคู่ด้วย มันก็จะเป็นการเพิ่มภาระวิบากให้เราอีกสิ เพราะเราจะต้องหาเงินเยอะๆ มาให้เขาใช้ จะได้จัดงานแต่งงานให้เขา สร้างบ้านให้เขา และจะได้ช่วยเขาเลี้ยงลูก เลี้ยงผัวให้เขาด้วย
เรา : ปัดโธ่…เอ้ยมาร ทีแรกทำเป็นเหมือนคนดี ห่วงลูกห่วงเต้าว่างั้น แต่พอฟังๆ มานี่ รู้สึกว่า มารจะเป็นห่วงตัวเองมากกว่า เป็นห่วงว่าตัวเองจะได้รับภาระเพิ่ม กลัวจะลำบากอ่ะดิ
มาร : ใช่ เท่าที่มีอยู่นี่ก็หนักแล้ว ถ้าเอามาเพิ่มอีก ก็ไม่ต้องไปไหนกันพอดีเลย
เรา : เฮ้ย…มาร ฟังให้ดีนะ คนทุกคนไม่มีใครอยากทุกข์หรอก ขนาดตัวเราเองยังเคยจมอยู่ในนรกคนคู่มาตั้งหลายปีเลย ส่วนลูกจะเลือกเดินทางไหน ก็แล้วแต่วิบากดีร้ายของเขา ส่วนเราก็มีหน้าที่สร้างองค์ประกอบที่ดีให้เขา ได้ซึมซับเข้าไปในจิตวิญญาณของเขา พอเราลดกิเลสได้มากๆ ล้างความอยากได้ มันจะเป็นแรงเหนี่ยวนำให้ลูกๆ ทยอยเดินตามรอยของเราได้ แต่ถ้าเขายังมีวิบากที่ต้องไปมีคู่ ก็ปล่อยให้เขาไปเรียนรู้ก่อน พอเขาเห็นทุกข์จึงเห็นธรรม พอถึงตอนนั้นจะเป็นโอกาสที่เราจะได้ช่วยเขาขึ้น ขนาดพระพุทธะเจ้าท่านยังพลาดไปมีคู่เลย ในที่สุดพระองค์ก็ได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย ตรงกับ บทธ ข้อที่ 110 ความเข้าใจ ความเชื่อ และ ชัด เรื่องกรรมเท่านั้น จึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้
สรุป เรื่องนี้ได้เขียนการบ้านมารอบหนึ่งแล้วแต่กิเลสลดลงประมาณ 70% ตัวเองก็มาพิจารณาต่อ และได้พลังปัญญาเพิ่มจากมิตรดี กลับมาเขียนรอบที่สอง กิเลสตัวนี้ตาย 100% ใจเบิกบานแจ่มใส สาธุค่ะ
28 เมษายน 2564
ชื่อ นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก ชื่อเล่น ป้าแต๋ว
ชื่อทางธรรม เกษตรศิลป์
จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง ความตระหนี่
เพื่อนข้างบ้านมาขอลูกมะพร้าว เพื่อเตรียมไว้จะแกงวันรุ่งขึ้น แต่เราจะใช้อยู่ด้วย จึงปฏิเสธเพื่อนไป เมื่อปฏิเสธแล้ว เราก็รู้สึกว่าตัวเองทำไม่ถูก
ทุกข์ ไม่สบายใจที่เพื่อนบ้านมาขอลูกมะพร้าว แต่เราปฏิเสธ
สมุทัย ชอบ ถ้าได้ให้ลูกมะพร้าวเพื่อนบ้าน ชัง ปฎิเสธ ไม่ให้ลูกมะพร้าวเพื่อนบ้าน
นิโรธ เราจะให้ หรือไม่ให้ก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : มาพิจารณาดูใจกัน
มาร : ถ้าเพื่อนไปซื้อน้ำกะทิที่เขาคั้นแล้ว ไม่สะดวกกว่าหรือ ส่วนเราจะใช้มะพร้าวอยู่เหมือนกัน ถ้าให้เขาไป เราก็ต้องซื้ออีก ให้เขาจ่ายเงินเสียบ้าง
เรา : แล้วเพื่อนจะคิดอย่างไร เขาจะเสียใจไหม ที่ขอแล้ว กลับถูกปฏิเสธ แล้งน้ำใจจริง ๆ นะเรา
มาร : เขามาขออยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะขาดเหลืออะไร เราก็ไม่เคยปฏิเสธ คราวนี้ลองปฏิเสธดูบ้างจะเป็นไรไป
เรา : เราเองนั่นแหละ ที่เคยบอกเพื่อนว่า ถ้าหากที่บ้านเรามีอะไร ก็ให้มาเอา ไม่ต้องไปซื้อ แบ่งปันกัน ไม่ต้องเกรงใจ แต่วันนี้เรามากลับคำเสียนี่ ช่างน่าประหลาดแท้นะใจเรา
มาร : ไม่เป็นไรหรอก ให้เขาจ่ายเงินเสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย
เรา : คิดแบบนี้ได้อย่างไร ไหนบอกว่ากำลังปฏิบัติธรรม ก็คำที่กล่าวไว้ว่า “ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” เราเผลอสติ คิดเห็นแก่ตัวอย่างนี้ไม่ดีแน่
เมื่อเวลาผ่านไป เราได้กลับมาใช้ปัญญา พิจารณาในเหตุและเรื่องราว จึงได้รู้ว่า แท้ที่จริง เพื่อนมาแสดงบทบาทให้เราเห็นความตระหนี่ (มัจฉริยะ) ที่เรายังล้างไม่หมดให้รีบแก้ไข จะได้พัฒนาจิตวิญญาณไปสู่สิ่งที่ดียิ่งขึ้น ๆ โดยใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 50 อดีตที่ผิดพลาดให้สำนึก ปัจจุบันที่ผิดพลาดจากกิเลส หรือจากการประมาณที่ไม่เหมาะสม ให้แก้ไข และบททบทวนธรรมข้อที่ 121 โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเราให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม
เมื่อได้พิจารณาอย่างนี้แล้ว ใจก็สดชื่น แจ่มใส และพร้อมที่จะแก้ไขฐานจิตของตัวเองเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณไปสู่สิ่งที่ดียิ่งขึ้นต่อไป
เรื่อง : กว่าจะขอบคุณ
เหตุการณ์ : ตอนหกโมงเช้าเราได้ยินเสียงเรียกให้ออกมาดูเมล็ดต้นรัง เราก็ออกไปดู พ่อก็ถามว่าจะให้ปลูกบริเวณไหน เราก็เลยเสนอว่า ปลูกบริเวณนี้เพราะต้นไม้ยังไม่เยอะ พ่อก็ตกลงแล้วก็เดินไป เราก็กลับเข้ามานั่งฟังธรรมต่อ นั่งไปสักพักก็รู้สึกไม่โล่งเหมือนลืมทำอะไรไปสักอย่าง
ทุกข์ : ขุ่นใจที่ไม่ได้ขอบคุณพ่อในตอนนั้น
สมุทัย : ชอบที่ได้ขอบคุณพ่อในตอนนั้น ชังที่ไม่ได้ขอบคุณพ่อในตอนนั้น
นิโรธ : จะได้ขอบคุณพ่อในตอนนั้น หรือไม่ได้ ก็สบายใจได้
มรรค : เมื่ออยู่ในสภาพที่ขุ่นใจ หัวตื้อๆ นั่งฟังธรรมก็ไม่มีสมาธิเท่าไหร่ ก็นั่งทบทวนดู
มาร : พ่อเดินลงไปแล้ว ไม่ต้องไปขอบคุณหรอก ลืมแล้วก็ลืมเลย
เรา : ได้ไงมาร พ่อทำดีมาร่วมด้วยช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว จะไม่ขอบคุณ ไม่ยินดี ไม่อนุโมทนาเลยรึ
มาร : ขี้เกียจตามลงไป กำลังฟังธรรมอยู่
เรา : ค่อยขึ้นมาฟังย้อนหลังก็ได้ เราลงไปขอบคุณก่อน ดูสิพ่อตั้งใจเดินมาหาเรา มาถามเราว่าปลูกตรงไหน พ่อนั่งเก็บเมล็ดต้นรังตั้งแต่เมื่อวานแล้ว และตอนนี้พ่อเอาลงไปปลูก ก็ยังจะไม่ไปขอบคุณอีก ใจดำชะมัดเลยมาร ไหนบอกว่าตั้งศีลแบ่งปันไง อันนี้ก็แบ่งปันคำขอบคุณไง
มาร : อย่างนั้นเหรอ การขอบคุณก็เป็นการแบ่งปัน ตกลงไปขอบคุณดีกว่า
สรุป พอมารเข้าใจ ใจก็สบาย พลังยินดีก็กลับมา อาการหัวตื้อหายไป จับได้รถจักรยานก็ปั่นตามลงไปขอบคุณ และเก็บภาพไปแบ่งปันต่อในเฟสบุ๊กด้วย ตรงกับ ข้อ 160 การให้หรือการแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ คือ ความเจริญของจิตวิญญาณที่งดงาม มีคุณค่า และผาสุกที่สุดในโลก สาธุค่ะ
เรื่อง เกือบพลาดโดนกิเลสหลอก
เหตุการณ์ ช่วงนี้ตั้งศีลกินข้าวมื้อเดียว วันนี้กินข้าวปั่นแต่พอดีตอนนี้มีกระเพราขาว 2ต้น สูงยาวมากต้นเริ่มเอน เลยตัดยอด จึงเอามาใส่ในผักปั่นด้วยเล็กน้อย แต่พอปั่นออกมา มีกลิ่นกระเพราเลยกินอาหารได้ 2ถ้วย ที่เหลือตัดใจเอาทำปุ๋ย พอช่วงเย็นกิเลสบอกว่า “หิว”กลางวันกินข้าวได้น้อย เดินเข้าครัวเปิดดูกับข้าว 2-3 รอบ กินเถอะวันนี้กินไม่พอ
ทุกข์ อยากกินนอกมื้อ
สมุทัย ชอบถ้ากินมื้อเดียว ชังถ้ากินนอกมื้อ
นิโรธ จะกินมื้อเดียวหรือกินเพิ่มมื้อก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ความวิปลาสให้เห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่นว่าจะกินข้าวมื้อเดียว ได้อย่างถูกตรงไม่ผิดพลาดขณะนั้นทำให้ปัญญาดับเกือบเสียศีล เกือบแพ้กิเลส แล้วจะทุกข์ใจไปทำไม ถ้าหิวจากร่างกายจริงก็กินได้ กินไม่เป็นมื้อมาตั้ง 50ปี และทำมาหลายภพหลายชาติ ตอนนี้มากินได้มื้อเดียวได้หลายวันก็ดีมากแล้วถ้าหลุดไปบ้างก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีพอใจให้ได้ ถึงจะเชื่อชัดว่ากินมื้อเดียวดีที่สุด เพราะลำบากกายน้อย สบาย เบากาย มีกำลัง อิ่มนาน แต่เมื่อทำไม่ได้ก็ไม่ทำทุกข์ทับถมตน ยินดีพอใจที่น้อมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้ในทุกสถานการณ์ ใช้บททบทวนธรรมข้อ 33 “ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น” พิจารณาไปซ้ำๆและได้พูดคุยกับหมู่มิตรดี ทำให้เชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เพิ่งมาฟังพากเพียรแบบพุทธะแค่ 5ปี ทำได้แค่นี้ก็ดีมากแล้ว
สรุป ไม่ได้กินนอกมื้อได้ด้วยใจเบิกบาน นอนหลับดี ตื่นมาด้วยความสดชื่น มาชชิ่ง ออกกำลังกาย ฟังธรรมะได้ดีกว่าทุกวัน กิเลสกลัวคนตั้งใจจริง..สาธุ
(แก้ไขการบ้าน อริยสัจ ๔ ๓๐ เมษายน ๖๔)
ชื่อเรื่อง จะตัดหรือจะต่ออะไรดีกว่ากัน
เนื้อเรื่อง ขณะทำงานเห็นหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลง กลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม มีปัญหาในการเก็บข้อมูลไม่ได้ และเครื่องจะพังจึงตรวจสอบดูว่ามีข้อมูลอะไรกินพื้นที่มากก็เห็นว่ามีบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ใช้พื้นที่มากอยู่ จึงคิดตัดข้อมูลบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกฯ ออกจากคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
ทุกข์ :ไม่สบายใจต้องตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไป
สมุทัย : เพราะชอบอยากให้ได้ดั่งใจหมายให้เก็บบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะได้ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างสบายใจ
ไม่อยากตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ออก ถ้าไม่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ หายไปแล้ว จะไม่สบายใจ ไม่สุขใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังยินดีเข้าสู่ความเป็นกลางอุเบกขาตัดในสิ่งที่ควรตัด ในสิ่งที่เป็นโทษ ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์
มรรค : ดับด้วยวิราคะ คลายสุขลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์จริง ไม่มีสุขแล้ว ไม่ได้ดั่งใจหมาย สุขมันก็ดับ ทุกข์ก็ดับ เพราะเราไม่อยากได้ดั่งใจหมายแล้ว ให้ออกไป สลายไป
พิจารณา เมื่อนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์มีผัสสะทางตามากระทบ
กิเลส : มันเห็นเครื่องหมายเตือนแถบสีแดง ที่หน่วยความจำบันทึกข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลงใจเป็นทุกข์ หวั่นไหว มีความกลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม แล้วมันก็ทุกข์ซ้อนไปอีก
ถึงสัญญาจำได้ตัวยึดที่ให้เก็บเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ไม่อยากตัดออกไป ใจรู้สึกเสียดาย เก็บมา ๔ ปีแล้ว กิเลสอยากยึดไว้ บอกว่าเป็นของมีค่า เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์จะอุ่นใจและ เป็นสิ่งที่หายาก จะตัดออกหลายครั้งแล้วแต่ตัดออกไม่ได้สักที ยอมเสียเวลายึกยัก ๆ เดี๋ยวทำท่าจะตัด เดี๋ยวก็เปลี่ยนใจไม่ตัด สุดท้ายก็ไม่ตัด ยอมเสียเวลาพลังกาย นั่งลบโฟลเดอร์อื่นๆออกทีละอันๆมันเสียเวลาช้ามาก และได้พื้นที่เก็บข้อมูลลับคืนมานิดหน่อย กิเลสบอกได้แค่นี้ก็พอแล้ว ยังอยากยึดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่
๑-๑๙ ไว้ต่อได้อีกกิเลสมันสุขใจ สมใจได้ดั่งใจที่ยังไม่ตัดออก
พุทธะ:ใจก็พิจารณาเห็นอาการของกิเลสความอยากกลับมาหลอกให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สำคัญต่อ
แต่ใจเราไม่เชื่อกิเลส ไม่อยากทำตามมันแล้ว จึงระลึกถึงอาจารย์นำธรรมะที่ท่านบรรยาย “อินทริยภาวนาสูตร”เข้าสู่ความเป็นกลางในทุกสิ่งทุกอย่างมาปฏิบัติ
เรื่องอินทริยภาวนาสูตร โดยย่อว่า
***หัวใจหลักมี ๓ ข้อ ***
๑.เข้าสู่ความเป็นกลางในทุกสิ่งทุกอย่าง
๒.เอาประโยชน์ได้ทุกอย่าง
๓.เข้าสู่ความเป็นกลางแล้ว จะตัดอะไรก็ตัดได้ เช่นตัดในสิ่งที่ควรตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ หรือว่าเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ จะตัดสิ่งใดก็ได้ เห็นโทษสิ่งใดก็ได้ และจะต่อประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ก็ได้
ดับด้วยวิราคะ คลายสุขลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์จริง ไม่มีสุขแล้ว ไม่ได้ดั่งใจหมาย สุขมันก็ดับ ทุกข์ก็ดับ เพราะเราไม่อยากได้ดั่งใจหมายแล้ว
พิจารณาใช้ปัญญาปฏิบัติต้องล้างกิเลสทีละตัวทีละคู่ คือตัดในสิ่งที่ควรตัดในสิ่งที่เป็นโทษ ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์อะไรดีกว่า ถ้าเราตัดออกจะได้เนื้อที่หน่วยความจำเพิ่มขึ้นทำงานอื่นๆได้ประโยชน์มากกว่าถ้ายังเก็บไว้อยู่มีเนื้อที่หน่วยความจำน้อยลงเป็นโทษเครื่องทำงานช้าลงด้วย ใจเริ่มเห็นความจริงตามความเป็นจริง ทุกข์จากการยึด ความผูกพันค่อยๆคลายลง ใจมันยอมละที่จะไม่ครอบครองเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ลดลง
กิเลส : แต่ยังกลัวการพลัดพราก เวลานี้ต้องตัดทิ้งไปจริงๆแล้วหรือ เรายังไม่ได้ฟังเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ยังฟังไม่ครบเลย
พุทธะ :ใช้ปัญญาพิจารณา เมื่อก่อนเรายังไม่มีความเป็นกลางไม่เป็นอุเบกขา มีอาการสุขปลอมทุกข์จริง ชอบชัง ว่าไม่ใช่สุขมันเป็นทุกข์จริง ยึดสิ่งที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ สะสม ติดดียึดดี เสียประโยชน์แล้วยังไม่เห็น เห็นทุกข์แล้วยังยึดอยู่ ยังยึดเก็บไว้เป็นสุขใจให้ได้ดั่งใจหมายไว้อยู่ได้สมอยากลดทุกข์ชั่วคราวมาตั้งนานแล้ว พอคราวนี้กิเลสตัวเก่ามาเจอใหม่ก็ทุกข์อีก มันมากี่ทีก็แพ้ทุกข์ทีเลยนะ ไม่ได้ๆตอนนี้ต้องตัดรอบได้แล้ว สะสางตัวตัณหาอุปทาน เอาฉันทะประโยชน์ของอนัตตาไม่ทุกข์ ไม่เที่ยง เวลาไม่มีสุขลวงทุกข์จริง ไม่มีกิเลส มันไม่เที่ยง จะได้รับประโยชน์มากกว่า ดีกว่า เลยตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออกได้ทันที ไม่ลังเลอีกเลย
เห็นอาการกิเลสสลายไปทันที ใจก็มีสุข ผ่องใส ไร้กังวล เบิกบานแจ่มใส เข้าใจชัดความไม่มีสุขลวงทุกข์จริงแทรกอยู่ จะไม่มีวิบากร้าย ทำให้เรามีพฤติกรรมใหม่ทำดีได้มาก เป็นสภาพที่ดีที่ควรยึดอาศัย ทำสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งดีไหนอาศัยได้ เกิดผลได้เท่าไหร่ก็พอใจ ยินดีได้ ปล่อยวางสิ่งที่เป็นรูปภพอาสวะที่ยึดข้อมูลเสียงไว้
วันนี้เป็นวันโชคดีของเราที่ฟังธรรมะเข้าใจชัดขึ้นหยุดเติมความอยากได้แล้วมันไม่มีวันเต็มหรอกมีแต่พอกพูนเวลาติดยาวเนิ่นนานมากขึ้น และทำดีได้น้อย ข้อมูลมันไม่ได้หายไปไหนหรอกมันอยู่ในถังขยะแล้วค่อยกู้คืนบันทึกความจำมาไว้ที่อุปกรณ์เสริมอย่างอื่นก็ได้และปัจจุบันก็สามารถค้นหาได้ในยูทูปหรือขอจากเพื่อนก็ได้
เราตั้งจิตตั้งมั่นป็นสมาธิรับฟังธรรมะในปัจจุบันและนำมาปฏิบัติจริงได้มากกว่าพากเพียรทำทีละเล็กทีละน้อย จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรมแบบลืมตา ได้รับผัสสะตรงๆนั่นแหละ คือสาระธรรมที่ได้เห็นกิเลส ไม่เสพกิเลส ลดกิเลส ล้างกิเลสได้ หงายของที่คว่ำ ณ ปัจจุบันขณะนั่นเอง ทำให้ใจผ่องใส ใจไม่ทุกข์ ดีกว่าเก็บข้อมูลไว้แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็เหมือผู้ปฏิบัติธรรมลูบๆคลำๆ แบบหลับตา หลงยึดมั่นถือมั่น แต่ก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติและใจก็เป็นทุกข์อยู่ทุกครั้งที่เห็นสัญญาณเตือนว่าหน่วยความจำบันทึกข้อมูลเหลือน้อยลงแต่ก็ยังหลงใหล ทำให้เสียพื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำเปล่าๆ เห็นไหมๆ ข้อมูลมันถูกคว่ำไว้อยู่แบบนั้น ก็เป็นแค่วัตถุ ที่เราเก็บไว้มีประโยชน์น้อยนิดเท่านั้นเอง แต่พอตัดออกเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ทิ้งไปได้โดยไม่ทุกข์ใจเลย เราชนะกิเลสแล้ว
ปัจจุบันตอนนี้ ไม่เสียพลังทางกายเพลิดเพลินเสพกิเลสที่เป็นอดีตอีกแล้ว ตอนนี้ได้รับพลังวิบากดีส่งผลได้รับสภาพที่ดีจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้พื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้คืนมา ๘๐ กว่า GB จากที่เคยเหลือไม่ถึง ๑๐ GBทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สรุป :อย่า อยู่ อย่าง อยาก ยินดีตัดออกเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ทิ้งไปได้อย่างยั่งยืน ยินดีดับตัณหาดับได้ล้างความอยาก ยินดีที่จะตัดด้วยความสุขใจยินดีที่จะต่อประโยชน์ที่ได้อาศัยมากกว่าด้วยความสุขใจ
ความยึดมั่นถือมั่นว่าสำคัญที่สะสมมานานหลายภพ หลายชาติปามุชชะเบิกบาน ยินดี ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ก็โปร่ง ก็โล่ง สบายๆทันที แล้วเข้าสู่ความเป็นกลางอุเบกขายึดในสิ่งที่ดีได้ และวางในสิ่งที่ดีได้ มีชีวิตชีวา ใจสดชื่นในทุกสิ่งทุกอย่าง
รู้ความจริงตามความเป็นจริง ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นวิบากร้าย เป็นตัวขัดขวางความผาสุกของชีวิตทุกชีวิตออกไปได้ ใจเราก็มีสุข เรากำจัดกิเลสได้ อุเบกขาได้สำเร็จ และเห็นวิมุติของการหลุดพ้นที่ไม่มีกิเลส เป็นวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าสู่ยินดีอุเบกขาสู่ความเป็นกลาง เข้าสู่ความพ้นทุกข์ได้ตัดในสิ่งที่ควรตัด ในสิ่งที่เป็นโทษ ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ ณ เวลานั้นได้ทุกเหตุการณ์ได้ ใจก็บริสุทธิ์ สะอาด สดชื่น เป็นกัมมัญญา เป็นสัปปายะในมีฉันทะการบำเพ็ญงานกุศลได้อย่างสะดวกราบรื่นต่อไป
เรื่อง : ไล่ผึ้ง
เหตุการณ์ : มีผึ้งมาทำรังในบ่อน้ำที่อยู่ติดกับบ้าน พอญาติและเพื่อนบ้านมาเห็น แล้วเขาก็หมายจะเอาไปกิน แต่ตัวเองไม่ยอมให้เขาทำร้ายผึ้ง และรู้สึกว่าผึ้งหมู่นี้ไม่สมควรจะอยู่ตรงนี้ เพราะมันไม่ปลอดภัยทั้งผึ้งทั้งคน และบ่อน้ำก็เหม็นใช้การไม่ได้ ตัวเองก็พยายามหาวิธีไล่ผึ้งออกไป ด้วยวิธีที่อ่อนโยนที่สุด เพื่อไม่ให้ผึ้งตายเยอะ จนเวลาผ่านไป 6 เดือน ก็เลยลงมือไล่ผึ้งตั้งหลายรอบแต่ผึ้งไม่ยอมหนี
ทุกข์ : กระวนกระวาย อยากให้ผึ้งหนีไปด้วยความปลอดภัย
สมุทัย : ชอบถ้าผึ้งหนีไปด้วยความปลอดภัย ชังที่ผึ้งไม่ยอมหนีกลัวจะมีคนมาทำร้ายผึ้ง
นิโรธ : เราปรารถนาดีแล้วแต่ผึ้งไม่ยอมออกไป ต่อให้ผึ้งต้องถูกทำร้ายมันก็เป็นวิบากของผึ้ง เราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พอเราคิดแบบมารก็โง่ฉับพลันเลย
มาร : ทำไมผึ้งพวกนี้ดื้อจังเลย ไล่เท่าไหร่ก็ไม่ยอมหนี
เรา : ก็ในเมื่อเราปรารถนาดีเต็มที่ และให้โอกาสผึ้งแล้ว แต่ผึ้งยังไม่พร้อมที่จะหนี เราก็ต้องปล่อยวาง ส่วนต่อไปจะมีญาติหรือเพื่อนบ้านคนไหน จะมาทำอะไรกับผึ้ง ก็ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของผึ้ง
มาร : ร้องไห้…สงสารผึ้งจังเลย เขาอุตส่าห์อาศัยที่บ้านของนักปฏิบัติธรรม กลับถูกไล่แล้วไล่อีก ถ้าเราถูกไล่บ้างล่ะ จะรู้สึกยังไง ถ้าคนอื่นมาไล่ผึ้งด้วยวิธีที่โหดร้ายล่ะ ผึ้งต้องตายเยอะแน่ๆ หรืออาจจะตายหมดเลย
เรา : โอ้โหมาร…มาทำเป็นร้องไห้สงสารผึ้ง แล้วแกเคยเป็นห่วงฉันบ้างไหม รู้ตัวอ่ะเปล่า ผิดศีลเบียดเบียนตัวเองนั่นหน่ะ ผึ้งเป็นสัตว์เล็กที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่เราต้องช่วยให้คนได้อยู่อาศัยวัตถุที่จำเป็นเหล่านี้ก่อน ไปเอาดีที่ 11 กุศลเยอะกว่า ก่อนที่จะช่วยผู้อื่น เราต้องช่วยตัวเองให้พ้นทุกข์ก่อน ถ้าเรายังไม่พ้นทุกข์ เราลงมือไปช่วยผู้อื่น รับรองกอดคอกันตายแน่ วิบากร้ายที่เราไล่ผึ้งเราก็ต้องเต็มใจรับอยู่แล้ว แต่ในเหตุการณ์นั้นเราก็ทำวิบากดี ด้วยการช่วยให้คนได้อยู่ได้ใช้ สิ่งที่จำเป็นในชีวิต และจะได้ทำประโยชน์แก่สังคมด้วย ตรงกับ บทธ ข้อ 17 เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่ง แต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่จะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น
สรุป พอเราได้ปัญญาจากหมู่มิตรดีมาคุยกับ มารรู้เรื่อง ใจก็สบาย ไร้กังวล ต้องขอบคุณผึ้งที่ยอมเสียสละมาเป็นผัสสะให้เราได้ล้างกิเลสตัวนี้ ในที่สุดเราวางใจได้ เราคุยกับผึ้งและให้โอกาสผึ้งได้ 4 วัน แล้วผึ้งก็ย้ายออกจากที่โดยไม่ต้องมีใครมาไล่เลย สาธุค่ะ
เรื่อง ใครสั่ง ใครกักตุน
ในตอนเช้ามีรถส่งของมาจอดที่หน้าบ้าน ถามคุณพ่อบ้านไปว่าคุณสั่งอะไรหรือเปล่า ท่านตอบว่าสั่งถั่ว เราเห็นแล้วว่าถั่วเรายังเหลือเยอะอยู่ แล้วทำไมสั่งมากักตุนไว้อีก เก็บไว้นานพลังงานชีวิตของเขาก็ลดลง เรามีความรู้สึกไม่ชอบใจ ที่พ่อบ้านชอบสั่งของมากักตุนเกินความจำเป็น
ทุกข์ ไม่ชอบใจ ไม่แช่มชื่น ไม่ยินดีที่เห็นพ่อบ้านสั่งของมากักตุน
สมุทัย ไม่อยากให้พ่อบ้านสั่งของมากักตุนเกินความจำเป็น ถ้าท่านไม่สั่งของมากักตุนเกินความจำเป็น จะสุขใจชอบใจ
นิโรธ พ่อบ้านจะสั่งของมากักตุนหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้ในทุกสถานการณ์
มรรค พิจารณาความอยากอย่างยึดมั่นถือมั่นเป็นความลวงของกิเลส เราเห็นพ่อบ้านสั่งของมากักตุนเกินความจำเป็น แล้วเราก็รู้สึกไม่ชอบใจ ไม่แช่มชื่น ไม่ยินดี เราโทษพ่อบ้านสั่งของ แต่เราโดนกิเลสสั่งให้โง่ไม่เห็น โง่ที่สุด เรากักตุนกิเลสโทษร้ายยิ่งกว่าพ่อบ้านสั่งของมากักตุนอีก พ่อบ้านสั่งของยังได้ของมากินมาใช้ ทีตัวเองโดนกิเลสสั่งแล้วได้อะไร นอกจากทุกข์ เพราะความยึดมั่นถือมั่นของเรา จิตที่เพ่งโทษถือสาผู้อื่น อยากให้ผู้อื่นทำอย่างที่ใจเราต้องการ ทำให้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นการผิดศีลข้อ 1 เป็นแรงเหนี่ยวนำที่ไม่ดี รู้สึกสำนึกผิด ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ ขอบคุณพ่อบ้านที่เป็นผัสสะให้ได้เห็นกิเลส และได้ล้างกิเลสที่กักตุนอยู่ในใจเรา จิตใจเราก็เบิกบานยินดี
สิ่งใดที่เหมือนจริงแต่คิดพูดทำตามแล้วทุกข์ แสดงว่าสิ่งนั้นไม่จริง แต่สิ่งใดที่เหมือนไม่จริงเมื่อคิดพูดทำตามแล้วพ้นทุกข์แสดงว่าสิ่งนั้นจริง จากบททบทวนธรรม ของ ดร.ใจเพชร กล้าจน(หมอเขียว)
เรื่อง ปวดเข่า
มีอาการปวดเข่าอย่างรุนแรง ปวดตามข้อต่อ ระลึกได้ว่าอดีตเป็นทหารอยู่กับเรือรบ ใช้ร่างกายหนัก ปวดเข่า
ทุกข์ : ทุกข์ใจจากอาการเจ็บป่วย ปวดเข่า มีวิตกกังวล มีจิตตก ฟุ้ง ต่อมาก็มีทุกข์อีกตัวตามมา รู้สึกว่าดูแลพ่อแม่ไม่เต็มที่
สมุทัย : อยากให้ร่างกายหาย ไม่ปวดเข่า อุปาทานยึดสภาพดี ๆ (อาการความอยากหาย คือตัณหา)
ชอบ ถ้าไม่ปวดเข่า ชังถ้าปวดเข่า ชอบอยากจะหาย
นิโรธ : แก้ที่ต้นเหตุ ทำที่ใจ ดับความอยาก ใจหมดความกังวล
มรรค : ทางกายก็ปรับสมดุล ใช้วิธีทั้งทางแพทย์แผนปัจจุบัน กินคอลลาเจน+งาดำ ร่วมกับยา9เม็ด ทำประมาณ 4-5 เดือน อาการเสียวน้อยลง ทำโยคะตอนเช้า เน้นที่ทางใจ เรียนรู้ ดูใจ แก้ที่ต้นเหตุ ยอมรับอดีตที่เคยใช้ร่างกายหนัก ยอมรับผล เวลาปรุง ฟุ้งก็เรียนรู้สัญญา อยู่กับปัจจุบันมากขึ้น และเรียนรู้-พิจารณารูป-นาม-ขันธ์ 5 พิจารณาประโยชน์ของอาการเจ็บป่วย เร่ง ทำกุศลมากขึ้น เรียนรู้เวทนา ใช้บททบทวนธรรม+ เรื่องวิบากกรรม มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ + มีสุขในปัจจุบันถ้าเราตัดความอยาก
จะเอาความเข้าใจจากคนอื่น
เรื่อง พ่อบ้านบอกว่า เราชอบบ่นเวลาที่เขาจะซื้อต้นไม้ แต่ในใจเราไม่ได้คิดอะไร รู้สึกอึดอัดทำตัวไม่ถูก ถ้าไม่พูด ก็จะหาว่าไม่สนใจ ถ้าพูด พ่อบ้านหาว่าบ่น ก็เลยถามพ่อบ้านตรงๆว่าจะให้ทำตัวยังไงดี เพื่อไม่ให้พ่อบ้านไม่เข้าใจผิด รู้สึกอึดอัด
ทุกข์ : ไม่พอใจพ่อบ้าน มีวจีกรรมออกไป ปะปนกับความเสียใจ โมโหที่พ่อบ้านไม่เข้าใจ
สมุทัย : ชอบถ้าพ่อบ้านเข้าใจเรา ไม่ชอบถ้าพ่อบ้านไม่เข้าใจ
อุปาทานคือ อยากให้พ่อบ้านเข้าใจ อยากได้ดังใจ
นิโรธ : พ่อบ้านจะเข้าใจหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาความอยากจะเอา มันไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพราะมันทำให้ทุกข์ รู้สึกตัวเองอึดอัด ไม่ชอบสภาพแบบนี้ อาการจะเอาให้ได้ แต่ไม่ได้ ยิ่งทุกข์ใหญ่ รู้สึกเหนื่อยเสียพลัง คิดกลับกัน ถ้าไม่อยาก ก็ไม่เห็นจะทุกข์เลย พ่อบ้านจะเข้าใจผิด เข้าใจว่าเราเป็นแบบนั้นก็ไม่เป็นไร ท่านจะเข้าใจผิดก็แล้วแต่ท่าน ทำดีไปเรื่อยๆ ไม่หวัง ไม่อยาก ไม่ทุกข์ หายจริง พอคิดได้ ก็รู้สึกเบาที่ใจ ไม่ทุกข์ไม่ฟุ้งซ่าน เรื่องความเข้าใจผิดเราก็เคยเข้าใจคิดอื่นผิดมาเยอะเหมือนกัน นับหนึ่งตัวเราดีกว่า, พิจารณา อันที่จริง ความไม่เข้าใจ ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย ใจจะไปทุกข์ทำไม
ความลวง พ่อบ้านไม่เข้าใจเราเลย เราอุตส่าห์พยายามพูดๆ ๆ ๆ
ความจริง ตัวเราเองไม่เข้าใจตัวเอง แต่พยายามคาดคั้นให้เขาเข้าใจเรา เราต้องเข้าใจตัวเองว่าตอนนี้ สมบัติที่เราได้มีแค่นี้
เรื่อง ยอมได้ไหม
เหตุการณ์ เราตัดสินใจจะออกจากงานแต่ยังมีทุกข์ใจกับพี่ที่ทำงาน มีเรื่องระหองระแหงเคยใช้ปากเป็นอาวุธกันมา ก็คิดว่าจะไม่บอกไม่ลาและไม่ขอโทษ แต่เมื่อคิดอย่างนั้นทีไรก็ไม่สบายใจทุกที เลยยอมนำเรื่องนี้ปรึกษาหมู่มิตรดี จึงได้รับแนะนำ
ทุกข์ อึกอัดใจถ้าไม่ได้กล่าวคำลาและขอโทษ
สมุทัย ชอบถ้าได้กล่าวคำลาและขอโทษ
ชัง ถ้าไม่ได้กล่าวคำลาและขอโทษ
นิโรธ จะได้กล่าวคำลาหรือขอโทษหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค คิดว่าจะไม่กล่าวคำลากับขอโทษขึ้นมาทีไรก็เกิดอาการไม่สบายใจ อึดอัดใจทุกที
มาร จะออกก็ออกมาเลยจะต้องไปบอกลาทำไมและไม่ต้องไปขอโทษด้วย
เรา คิดแบบแกทีไรทุกข์ทุกทีเลยใช่ไหม
มาร ก็ใช่น่ะ
เรา งั้นฉันจะไม่ทำตามแก การที่เรารู้ตัวว่าผิดยอมรับผิด ตั้งจิตขอโทษขออโหสิกรรมเพื่อชดใช้วิบากกรรมที่ทำมา เพราะสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมาทั้งนั้น การที่พี่เขาแสดงอาการแบบนั้นก็เพราะแกเป็นแรงเหนี่ยวนำให้พี่เขาทำแบบนั้นกับแกเหมือนกัน อยากได้สิ่งใดจงคิดสิ่งนั้นกับผู้อื่น จึงยินดีด้วยความเต็มใจที่จะกล่าวคำลาและขอโทษพี่เขาจากใจจริงๆผลปรากฏพี่เขาก็ขอโทษเราเหมือนกัน ทำให้เราดีใจมีความเบิกบานเหมือนยกภูเขาออกจากอกเลย เห็นไหมถ้าไม่เอาเรื่องนี้เข้าหมู่เราจะไม่ได้สภาพใจแบบนี้แน่นอนเพราะยังยึดมั่นถือมั่น และจะทุกข์ไม่รู้จบเลยถ้าคิดแบบแก
มาร คิดแบบฉันแล้วมันทุกข์นีน่า งั้นเปลี่ยนมาคิดแบบพุทธะดีกว่า
สรุป อาการไม่สบายใจอึดอัดใจก็หายไปหลังจากได้ขอโทษและลาพี่
บททบทวนธรรมข้อ68
ไม่คบไม่เคารพมิตรดี
ไม่มีทางพ้นทุกข์
บททบทวนธรรมข้อ84
ล้างความยึดมั่นถือมั่น
ของใจได้สำเร็จ
คือความสำเร็จที่แท้จริง
เรื่อง ไม่ได้ดั่งใจ
เหตุการณ์ ตั้งใจว่าวันนี้จะจัดการทำสต๊อกสินค้าและเช็คของให้เรียบร้อย แต่เด็กที่ช่วยเขาขอเลื่อนไปเป็นวันพรุ่งนี้ จริงๆมีงานหลายอย่างที่ต้องทำ
ทุกข์ กังวลใจกลัวงานไม่เสร็จทันเวลา
สมุทัย ชอบถ้าได้ทำงานตามที่วางแผนไว้ ชังไม่ได้ทำงานตามแผนที่วางไว้
นิโรธ ได้ทำงานตามแผนที่เตรียมไว้หรือไม่ได้ทำ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ได้ดั่งใจ อาการกังวล ร้อนใจก็เกิดขึ้นทันที รู้ว่ามารมาจึงพิจารณาทุกอย่างไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ ทุกคนย่อมมีเหตุผลของตนเองแตกต่างกันไปเราต้องรับความเป็นจริง ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่นแสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง งานจะเสร็จหรือไม่ ใจเราต้องไม่ทุกข์ ตรงกับ
บททบทวนธรรม39
วิธีแก้ปัญหาทุกปัญหาในโลก คือลดกิเลส เหตุแห่ง
ทุกข์ทั้งปวง ลดกิเลส ลด
ทุกปัญหา เพิ่มกิเลสเพิ่มทุกปัญหา
สรุปวางใจได้อาการกังวลร้อนใจก็จางคลาย
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : แมลงกินผัก
เหตุการณ์ : เดือนเมษายนตั้งแต่กลางเดือนมาฝนตกเกือบทุกวัน ทำให้มีหนอนและแมลงมากัดกินผักที่ปลูกไว้ ต้องรดหรือฉีดด้วยสมุนไพรและน้ำปัสสาวะบ่อยครั้ง บางต้นเกือบไม่เหลือให้รับประทานเลยก็มี
ทุกข์ : กลัวแมลงจะกินผักที่ปลูกไว้จนหมด
สมุทัย : ชอบใจที่แมลงไม่กินผักที่ปลูกไว้ ไม่ชอบใจที่แมลงกินผักที่ปลูกไว้
นิโรธ : แมลงจะกินผักที่ปลูกไว้หรือไม่ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : การปลูกผักไร้สารพิษ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีหนอนและแมลงมากัดกินผักที่ปลูกไว้ ถึงแม้เราจะใช้ความพยายามแล้วก็ตาม บางครั้งก็ไม่สามารถไล่ให้หมดได้ คิดเสียว่าผักที่เหลือจากหนอนและแมลงกินแล้ว เราก็สามารถเลือกมารับประทานได้ด้วยความสบายใจเพราะปลอดภัยจากสารเคมีทั้งปวง ดีกว่าผักสวยๆที่ไปซื้อมาจากตลาดเสียอีก ดังนั้นจะไปกลัว ไปทุกข์ใจ ไม่ชอบใจทำไม แบ่งๆกันกินก็ดีแล้วนี่ ได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 51 ว่า “ทำเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน”
หนอนและแมลงจะกินผักของเราจนหมดแปลง ไม่เหลือให้เราได้รับประทานก็ไม่เป็นไร ปลูกเอาใหม่ก็ได้เหลือเท่าไหร่เอาเท่านั้น เพราะเราทำเต็มที่แล้ว การได้กินผักไร้สารพิษชีวิตผาสุกจริงๆ ใจก็สบาย หายกลัว หายกังวลโดยสิ้นเชิง
เรื่อง ไม่สมหวัง
เหตุการณ์ : ตื่นเช้ามาตามปกติหลังทำภารกิจส่วนตัวเสร็จลงมาฟังธรรมะจากอาจารย์ร่วมกับพ่อบ้าน แต่วันนี้พ่อบ้านเปิดข่าวโควิด จึงออกไปนั่งหน้าบ้าน รู้สึกไม่สดชื่น เบิกบานอย่างเคย ได้ย้อนถึงกลางคืนที่สนทนาธรรมสรุปกาย สรุปใจคุยกันหลายเรื่องสุดท้ายได้บอกความรู้สึกว่าเวลาเราขอให้ทำอะไรให้ไม่ค่อยช่วยแต่กับคนอื่นช่วยดีมาก พ่อบ้านย้อนกลับว่า พูดผิดแล้ว ที่อยู่กันมาสามสิบปีนี้ไม่ช่วยเลยหรือแล้วที่ช่วยอยู่ทุกวันนี่หละ และไม่คิดหรือว่าเป็นเพราะวิบากตัวเอง
ทุกข์ : รู้สึกน้อยใจ คำพูดของพ่อบ้าน
สมุทัย : เราหวังว่าพ่อบ้านจะพูดอย่างที่เราอยากได้ยินแล้วสุขใจ แต่พ่อบ้านพูดอย่างนี้จึงน้อยใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : พ่อบ้านจะพูดอย่างที่เราอยากได้ยิน หรือ ไม่อยากได้ยิน พูดแบบไหนอย่างไร ก็ได้ ไม่สุข ไม่ทุกข์
มรรค : เมื่อรู้ตัวว่าน้อยใจ รู้ได้ทันทีว่าเชื่อมารอีกจนได้ มาร : พ่อบ้านพูดแบบนี้ไม่ดีเลย ไม่น่าฟัง น่าน้อยใจจริงๆ
เรา : ใช่หรือ พ่อบ้านก็พูดมีเหตุผลนะ เราต้องหันมาดูตัวเองสิว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
มาร : คนใกล้ชิดกันเขาไม่พูดแบบนี้หรอก
เรา : เจ้าฟังเราบ้างนะแต่ก่อนเราโง่ เป็นหัวขโมย อยากเอาดีจากเขาแค่คำพูดเล็กน้อยก็จะเอาขี้โลภชะมัด
มาร : ไม่โลภหรอกอยู่ด้วยกันต้องช่วยกันแถมพูดไม่ดีด้วยนะ เรา : แต่ตอนนี้เรามีปัญญาแยกแยะแล้ว เราต้องขอบคุณพ่อบ้านที่ช่วยงัดกิเลสใหัเราหายโง่ได้เห็นกิเลสที่ซ่อนอยู่ลึกอีกตัว ที่แท้จริงเพราะวิบากเราเองนี่แหละที่ดลใจให้พ่อบ้านพูดแบบนั้นอย่างเขาว่านั่นแหละ ไหนว่าจะลดกิเลส ไม่อยากทุกข์แล้วยังน้อยใจกับเรื่องแค่นี้ อัตตาของเราชัดๆไม่เห็นหรือไง
มาร : เข้าใจตามที่ว่ามาทุกอย่างเห็นด้วยนะ ขอออกแล้วกัน
เรามาล้างใจด้วยคำคมของอาจารย์ วันที่ 28 เมษายน 2564 มีความว่า”ไม่หวัง ไม่อยาก ไม่ทุกข์ สิ้นหวัง สิ้นอยาก สิ้นทุกข์ สุขสบายใจ ไร้กังวล ที่สุดในโลก”เมื่อคิดได้ตามนี้เราก็มาล้างความหวัง ความอยาก ความทุกข์ ออกได้ ความรู้สึกน้อยใจก็หายไป ใจกลับมาสดชื่น สุขสบาย ไร้กังวล
เรื่อง: กังวลใจทำไม
เหตุการณ์มีว่า: วิชาภาษาอังกฤษ อาจารย์มีการบ้านให้เลือกร้องเพลงเป็นภาษาอังกฤษคนละหนึ่งเพลง
ทุกข์: กังวลใจกลัวร้องเพลงภาษาอังกฤษไม่ได้
สมุทัย: ชอบใจถ้าร้องเพลงภาษาอังกฤษได้ ชังถ้าร้องเพลงภาษาอังกฤษไม่ได้
นิโรธ: จะร้องเพลงภาษาอังกฤษได้หรือไม่ ก็ไม่กังวลใจ
มรรค: ปล่อยวางความกังวลใจ แล้วลงมือฝึกร้องให้ดีที่สุด ส่วนผลงานจะออกมาดีหรือไม่ ก็ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของเรา และของโลก แต่เราก็ไม่กังวลใจ ตามบททบทวนธรรมข้อ76 “ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือความสำเร็จของงาน ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้ว เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่าแจ่มแจ้งแล้ว” ไม่มีอะไรเป็นของใคร เพราะ สุดท้ายทุกอย่างก็ดับไป จะทุกข์ใจไปทำไม ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจ เบิกบานแจ่มใสดีกว่า เมื่อได้พิจารณาดังนี้แล้ว ความกังวลใจก็หายไป ใจก็กลับมาโปร่งโล่ง เบาสบาย
(เรื่องงที่1 )
เรื่อง เพื่อนไม่ชอบให้เราเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดี ปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์
เนื้อเรื่อง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ได้ไปทำงานร่วมกับเพื่อน และเพื่อนได้เล่าให้เราฟังว่ามีจิตอาสาท่านหนึ่งมาพูดกับเขาว่าไม่ชอบที่ป้าจิเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดีปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์และไม่ชอบที่จิตอาสาอีกท่านหนึ่งเข้าร่วมรายการฝ่าวิกฤติโควิด 19 พอเราได้ฟังก็บอกเพื่อนไปว่าเรา ๆ เราทำมาทั้งนั้น แต่เราก็ยังมีอาการขุ่นใจ จึงคิดว่าเรื่องนี้ควรเปิดเผยให้เพื่อนในกลุ่มหมู่มิตรดีช่วยในวันนี้ เพื่อฆ่ากิเลสที่มันมาทำให้เรามีอาการขุ่นใจ เมื่อเราไปขอความช่วยเหลือกับเพื่อน เพื่อนก็ยินดีและให้โอกาสเรา บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าการที่เราเจอผัสสะเช่นนี้เพราะถึงเวลาที่เราต้องเลื่อนฐาน จึงทำให้เขามาพูดเช่นนี้ บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าแม้แต่อาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ยังมีคนไม่ชอบเลยแล้วเราจะเหลืออะไร บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่ามันเป็นวิบากกรรมที่เราทำมาจึงต้องมารับในครั้งนี้ รับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดีขึ้น สำหรับท่านที่มาว่าเรา ก็เป็นวิบากใหม่ของท่าน บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าเหตุการณ์นี้ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 123 เจอผัสสะไม่ดีได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะได้ออกฤทธิ์มากขึ้น พอเราได้ฟังเพื่อนแต่ละท่านแสดงความคิดเห็น เราก็รู้ได้ทันทีว่า เราเป็นคนหนึ่งที่โชคดีมาก ๆ ที่ได้พบสัตบุรุษ ได้มาอยู่กับหมู่มิตรดี มีศีล เราขุ่นใจเพื่อนก็ช่วยให้เราคลายใจได้ จะไปหาที่ไหนได้อีกในโลกใบนี้นอกจากพวธ. ของเราเราควรขอบคุณเขาที่เขาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ออกมาซึ่งพฤติกรรมนี้เราเคยทำมาก่อน เราแสบสุด ๆ มันก็ต้องรับสุด ๆ เราสำนึกผิดอย่างสุดซึ้ง อาการขุ่นใจก็หายไปโดยไม่เหลืออะไร จิตใจก็เบิกบานแจ่มใส ไร้ทุกข์ ไร้กังวล
ทุกข์ เมื่อมีเพื่อนจิตอาสาท่านหนึ่งไม่ชอบให้เราเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดี ปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์
สมุทัย ถ้าเพื่อนชอบให้เราเข้าร่วมรายการเราจะสุขใจ แต่ถ้าเพื่อนชังที่เราเข้าร่วมรายการเราจะทุกข์ใจ
นิโรธ เพื่อนจะชอบหรือชังเราก็สุขใจ
มรรค การเข้าหาหมู่มิตรดีดีที่สุดที่จะช่วยเราแก้ปัญหาได้ ทำให้เราเห็นแง่มุมต่าง ๆ ในการแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้อย่างแจ่มชัด ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 29 วิธีการ 5 ข้อ ในการแก้ปัญหาทุกปัญหาในโลกคือ 1. คบและเคารพมิตรดี 2. มีอริยศีล 3. ทำสมดุลร้อนเย็น 4. พึ่งตน 5. แบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ และข้อที่ 37 ปัญหาทั้งหมดในโลกเกิดจาก เรา…โง่…กว่ากิเลส เมื่อเราชัดเจนขึ้นความขุ่นใจก็หมดไปมีแต่ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ใจที่เบิกบานแจ่มใส ใจที่ยินดีพอใจกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
(เรื่องที่ 2)
เรื่อง ฝึกร้องเพลงภาษาอังกฤษ
เนื้อเรื่อง เมื่อวันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2564 คุรุเอ๋ได้มอบหมายการบ้านคือให้ฝึกร้องเพลงภาษาอังกฤษ เราก็เกิดความกังวลใจเพราะแม้แต่เพลงภาษาไทยก็ยังร้องได้เพียงบางส่วน แต่เราก็สู้ พากเพียรฝึกฝนตามคลิปที่คุรุจุ๊บจิ๊บส่งเข้าในไลน์กลุ่ม นักศึกษาวิชชาราม พยายามทำเต็มที่ เต็มความสามารถของตนเอง
ทุกข์ เกิดความกังวลใจ ว่าจะออกเสียงไม่ถูกต้องเมื่อร้องเพลงภาษาอังกฤษ
สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)เวลาร้องเพลงภาษาอังกฤษถ้าออกเสียงได้ถูกต้องจะสุขใจ แต่ถ้าออกเสียงได้ไม่ถูกต้องจะทุกข์ใจ
นิโรธ (สภาพดับทุกข์)เวลาร้องเพลงภาษาอังกฤษจะออกเสียงได้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็สุขใจ
มรรค(วิธีดับทุกข์) พิจารณาเรื่องกรรมและผลของกรรม เนื่องจากเมื่อก่อนเราเป็นครูเมื่อมอบหมายให้นักเรียนทำงานเราก็ต้องการงานที่ถูกต้อง พอเรามาเป็นนักเรียนเองเราก็อยากให้งานที่คุรุมอบหมายมานั้นถูกต้องเราจึงเกิดความกังวลใจ อย่างไรก็ตามเมื่อเราทำเต็มที่เต็มความสามารถแล้วผลจะออกมาอย่างไรเราก็ยินดีพอใจได้ ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจ ไม่มีอะไรต้องคาใจ เบิกบานแจ่มใสดีกว่า จิตก็หมดความกังวล
เรื่อง โชคดีอีกแล้ว (แก้ไข)
เนื้อเรื่อง มีจิตอาสาท่านหนึ่งที่เราศรัทธาเดินมาบอกให้ทำในแบบที่ท่านเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่กิเลสเราไม่ชอบเพราะรู้สึกว่าท่านกำลังให้สิ่งที่ดีแบบยึดมั่นถือมั่น
ทุกข์ มีความอยากให้ท่านวางความยึดมั่นถือมั่นถึงแม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ถ้าท่านวางความยึดมั่นถือมั่นเราชอบใจ แต่ถ้าท่านไม่วางความยึดมั่นถือมั่นเราทุกข์ใจ
นิโรธ ท่านจะวางหรือไม่วางความยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค พิจารณาเห็นความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น จึงวิราคะสละสละไปไม่พัวพันธ์ หมดอยากก็หมดทุกข์ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวเราของเรา มันไม่เที่ยง เป็นแค่มายากล ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งได ๆ สุดท้ายมันก็ดับไป
เรื่อง ยึดไม่ได้แม้แต่การฟังธรรม
ปกติเราจะชอบฟังธรรมเป็นประจำ ทั้งการแสดงธรรมของพ่อครู สมณะ สิกขมาตุ อาจารย์หมอเขียว รวมทั้งฟังพี่น้องจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมแบ่งปันสภาวธรรมด้วย แต่ช่วงที่มีงานยุ่ง ๆ เยอะ ๆ ทำให้เราพลาดโอกาสในการฟังธรรมบางรายการไป มีเวลาในการฟังธรรมน้อยลงกว่าแต่ก่อน ทีแรกก็รู้สึกเสียดายอยู่บ้างเหมือนกัน มีความกังวลนิดหน่อยว่าเราอาจจะพลาดเรื่องสำคัญ ๆ จากการแสดงธรรมของครูบาอาจารย์ไป แต่วันนี้ได้อ่านสรุปธรรมะของอาจารย์หมอเขียวเรื่อง “ฉันทะ ๘” จึงทำให้รู้ว่า ความรู้สึกนี้มันยังมีส่วนของการยึดดีอยู่ เป็นฉันทะในดีแบบมีทุกข์ และแม้แต่การฟังธรรมก็ยึดไม่ได้
ทุกข์ – ความรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ฟังธรรมจากรายการที่เคยฟังเป็นประจำ กลัวว่าจะพลาดเรื่องสำคัญที่ควรจะได้ฟังจากครูบาอาจารย์
สมุทัย – มีตัณหาคือความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า ถ้าไม่พลาดการฟังธรรมจะสุขใจ ถ้าพลาดการฟังธรรมจะทุกข์ใจ
นิโรธ – ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ถ้าได้ฟังธรรมก็สุขใจ ถ้าพลาดการฟังธรรมก็สุขใจ
มรรค – อันดับแรก พิจารณาตามคำสอนเรื่องฉันทะ ๘ ของอาจารย์หมอเขียว ที่บอกว่า “บางท่านมีความพอใจมากที่จะได้ฟังธรรม พอใจที่จะได้เข้ารายการสนทนาธรรม แต่มีเหตุปัจจัยให้เข้า Zoom ไม่ได้ ก็ทุกข์ใจ… ดูเหมือนพุทธะ แต่ไม่ใช่พุทธะ มีกิเลสแทรกเพราะมีทุกข์ …สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจะไม่ทุกข์เป็นไม่มี แม้แต่การฟังธรรมก็ยึดไม่ได้”
จากการอ่านทำให้เห็นส่วนที่เรายังยึดมั่นถือมั่นอยู่ มันก็ยังทุกข์อยู่ และถ้าไม่ล้างกิเลสส่วนนี้ออก ไม่ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นที่เหลืออยู่นี้เสีย มันก็จะสั่งสมเป็นกิเลสที่หนาขึ้นไปเรื่อย ๆ และกลายเป็นทุกข์ โทษ ภัยที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงควรทำใจในใจให้เห็นความลวง ความไม่เที่ยงของความสุขที่ได้ดั่งใจนี้ แล้วสอนมันให้คิดแบบพุทธะ ให้ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง และเอาสุขที่ยั่งยืนดีกว่า คือการไม่มีเงื่อนไขให้ใจเป็นทุกข์
นอกจากนี้ ก็พิจารณาเรื่องวิบากกรรมว่า เราจะได้ฟังธรรมมากหรือน้อย ได้ฟังเรื่องไหน พลาดเรื่องไหน ก็เป็นไปตามวิบากดีร้ายของเรา ช่วงที่วิบากดี เราก็สามารถอาศัยและยินดีไปกับการฟังธรรมได้ แต่เมื่อถึงคราววิบากร้ายมา ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะได้ฟังธรรม เราก็ยอมรับวิบากด้วยความยินดี รับแล้วมันก็จะหมดไป หรือลดน้อยลง เราก็จะโชคดีขึ้น ระหว่างที่ฟังธรรมไม่ได้ เราก็ทำหน้าที่อื่นที่ทำได้ให้ดีที่สุด เท่าที่ทำได้ ทำเต็มที่แล้วก็สุขใจได้แล้ว
เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ใจที่มันแอบกังวลว่าจะพลาดเรื่องสำคัญหากเราไม่ได้ฟังธรรมก็เบาบาง จางคลาย รู้สึกสบาย ๆ และปลอดโปร่งโล่งใจมากขึ้น และเล็งเห็นแล้วว่าถ้าเราสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นให้สิ้นเกลี้ยงได้ เราก็จะได้พลังความผาสุกเบิกบานผ่องใสที่เที่ยงแท้ยั่งยืนตลอดกาลนาน ดังนั้น หน้าที่เราก็มีแต่การพากเพียรชำระล้างกิเลสความยึดมั่นถือมั่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่เหลืออะไรให้ล้างแล้วเท่านั้นเอง
01/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : กลัวคนบ้า
เหตุการณ์:วันนี้ได้ทราบข่าวจากเพื่อนว่ามีพี่ที่รู้จักท่านนึงมีอาการเสียสติ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ต้องนำตัวส่งที่รพ.บ้า ทำให้รู้สึกทั้งสลดใจทั้งกลัวร่วมด้วย เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์ไม่ดีในวัยเด็กเกี่ยวกับคนบ้า
ทุกข์ : กลัวคนบ้า
สมุทัย : ชอบใจถ้าไม่ต้องได้พบเจอหรือยินเรื่องราวของคนที่เป็นบ้าเสียสติ ชังที่ต้องไปพบเจอหรือได้ยินเรื่องราวของคนบ้า
นิโรธ : จะพบเจอ/ได้ยินเรื่องราวของคนเป็นบ้าเสียสติหรือไม่ก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : ตอนสมัยเป็นเด็ก ผู้เขียนเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ญาติสนิทมีอาการป่วยทางจิต สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวผู้เขียน และคนอื่น ๆ เป็นอย่างมาก เห็นความทุกข์ยากของครอบครัวที่ต้องไปตามแก้ปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน ทำให้ผู้เขียนรู้สึกฝังใจกับคนที่มีอาการป่วยทางจิต เมื่อเห็นแล้วจะรู้สึกกลัวทั้งคนที่เป็นบ้า และกลัวว่าถ้าเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นกับตนเองบ้างจะทำอย่างไร สาเหตุที่กลัวเพราะ เห็นอาการของคนบ้าที่ไม่สามารถควบคุมสติได้ ทำให้แสดงความน่ากลัวและน่าเกลียดออกมาให้เห็น ดังนั้นเวลาพบเจอหรือได้ยินเรื่องราวของคนบ้า โดยเฉพาะถ้าเป็นคนที่เคยใกล้ชิดก็ทำให้สลดหดหู่ และจิตก็จะไปปรุงแต่งเชื่อมโยงกับเรื่องของตัวเองทันที
มาร : จะน่าอนาถขนาดไหนถ้าเราเป็นบ้าเหมือนพี่ท่านนั้น ถ้าเป็นแล้วจะน่ากลัวและสร้างความเดือดร้อนให้ครอบครัวและคนอื่นอย่างไร
พอกลัวแล้วจะทุกข์ แล้วหลอน อึดอัดใจแน่นที่หน้าอก เมื่อเห็นว่ากิเลสกำลังลวงให้เราทุกข์อยู่ จึงเข้าไปพิจารณาความกลัวอันนี้ว่า
เรา : ความบ้า/คนบ้าไม่ได้น่ากลัว
คนที่เป็นบ้าเขาก็ไม่รับรู้อะไร เขาอยู่ในภพของเขา เขาจึงไม่ทุกข์ไม่กังวลใด ๆ
แต่ตัวแกเองสิ( ตัวกิเลส) ที่น่ากลัว เที่ยวหลอกหลอนสร้างความรู้สึกเสมือนจริงจนเชื่อว่าคนบ้านั่นน่ากลัว กลัวแล้วได้อะไร??? คำตอบคือ ก็ได้แต่ความทุกข์ ก็ต้องสูญเสียพลัง
กลัวอะไรก็จะได้สิ่งนั้น จะเอามั๊ย????
ความกลัว คือ การเบียดเบียนตัวเอง
แม้แต่ตัวเองที่รักที่สุดก็ยังเบียดเบียนได้
ตอนนี้ ณ ปัจจุบันนี้ เรายังไม่บ้า แล้วเราจะไปกลัวล่วงหน้าให้ทุกข์ ให้โง่ทำไม?
เอาพลัง เอาเวลาไปคิด พูด ทำในสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นดีกว่ามั๊ย?
พิจารณาต่อไปอีกว่า คนบ้าเขาไม่ได้น่ากลัว เขาเป็นคนน่าเห็นใจ เราจะไปกลัวไปชิงชังรังเกียจทำไม เราควรที่จะปรารถนาดีอยากให้เขาใช้วิบากให้หมดแล้วพ้นทุกข์ไวๆ เขามาเตือนให้เราเห็นว่าเราต้องไม่ประมาท ต้องมีสติในการดำเนินชีวิต รู้เท่าทันกิเลส หากกลัวบ้า….ก็ต้องหมั่นพิจารณาล้างอัตตาความยึดมั่นถือมั่นให้ได้มาก ๆ
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 74 “ ให้ตรวจดูว่าในชีวิตเรา ยังมีเรื่องอะไรที่เกิดขึ้นหรือเสียหายแล้วทำให้ใจเราเป็นทุกข์ได้ ถ้ามีแสดงว่าเรายังมีกิเลส…เหตุแห่งทุกข์อยู่ ให้กำจัดกิเลสความยึดมั่นถือมั่นเสีย ” และข้อที่ 75 ” ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้”
พิจารณาแบบนี้แล้ว ใจโล่งขึ้น ความกลัวคนบ้า การเอาอาการเสียสติของคนอื่นมาเปรียบเทียบกับตัวเองก็คลายลง
30/04/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ปลูกมันมังกรหยก
เหตุการณ์:ญาติเอาต้นพันธุ์มันมังกรหยกมาให้ ตั้งใจจะปลูกให้เสร็จภายในวันรุ่งขึ้น แต่ผ่านมา 2 วันแล้วยังไม่ได้ปลูกเนื่องจากมีภารกิจอย่างอื่นต้องทำ คิดเอาไว้ในใจว่าวันพรุ่งนี้จะต้องไปปลูกให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ปลูกตามที่ตั้งใจ จึงไปฝากให้น้าช่วยปลูกให้(เพราะกลัวมันจะตาย) ซึ่งท่านก็รับปากเป็นอย่างดี มาทราบทีหลังว่าท่านได้เอาไปฝากน้าอีกคนช่วยปลูกให้ วันต่อมามีโอกาสเข้าสวนจึงไปถามน้าคนที่ 2 ที่รับต้นไม้ไป แต่ได้รับคำตอบว่าท่านก็ยังไม่ว่างจะปลูกให้ เมื่อได้ฟังคำตอบเช่นนี้จึงทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นเคืองขึ้นมาที่ทำไมฝากงานแค่นี้แล้วทำให้ไม่ได้ กว่าจะหาพันธุ์มาได้ก็ยากแสนยาก ในที่สุดผู้เขียนจึงเดินไปดูปรากฎว่าใบของต้นมันมังกรหยกเริ่มเหลืองเฉาอาการเหมือนใกล้ตายเต็มทีแล้ว
ทุกข์ : ไม่ได้ดั่งใจที่น้าไม่ยอมปลูกต้นไมให้ (กลัวมันจะตาย)
สมุทัย : ชอบใจถ้าน้าปลูกต้นไม้ให้เสร็จภายในวันเวลาที่รับปากไว้ ชังที่น้าไม่ยอมปลูกต้นไม้ให้
นิโรธ : น้าจะปลูกหรือไม่ปลูกต้นไม้ให้ตามที่รับปากไว้ก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : พอรู้ว่าน้าคนที่ 1 เอาต้นไม้ไปฝากไว้กับน้าคนที่ 2 ก็เริ่มเกิดอาการกังวลว่าต้นไม้จะรอดหรือไม่ กลัวน้าคนที่ 2 ที่รับไปยังไม่เอาไปปลูก และแล้วก็เป็นไปอย่างที่คิดไว้ คือน้ายังไม่ได้ปลูก จึงเกิดอาการไม่พอใจขึ้นมา กิเลสก็เริ่มทำงาน
มาร : ดูสิ!!! กว่าจะหาพันธุ์มาได้ เอามาปลูกเพื่อเป็นอาหารของคนทั้งครอบครัว ไม่ใช่ของส่วนตัวสักหน่อย ทำไมไม่ช่วยกัน??? ทำไมไม่ให้ความสำคัญกันบ้างเลย???
เวลาจะกินก็เห็นกินกันดีทุกอย่าง แต่เวลาทำ ทำไมไม่ช่วยกันบ้าง
ถ้ามันตายไปแล้วจะทำไง ญาติอุตส่าเอามาให้ แต่พวกเรากลับไม่ช่วยดูแลรักษาให้ดี
กิเลสมันมัวแต่เพ่งโทษคนอื่นจนลืมดูตัวเอง ในใจก็มีความขุ่นขึ้นมา จึงบอกมันไปว่า
เรา : มัวแต่ไปโทษคนอื่นว่าไม่ช่วยกันดูแล แล้วแกล่ะ ได้ของมาแล้วดูแลมันได้รึป่าว??
ก็เห็นตัวแกเองไม่ว่างภารกิจรัดตัว คนอื่นเขาก็มีภาระหน้าที่ของเขาเหมือนกัน
ตัวแกเองจะหาเวลาปลูกเองยังไม่ได้ แล้วไปโทษคนอื่นทำไม???เห็นแก่ตัวชัด ๆ จะเอาจากคนอื่นชัด ๆ
กิเลสมันเริ่มยอม แล้วก็บอกมันต่อว่า
เรา : เรามีความตั้งใจจะปลูกเต็มที่ แต่ยังหาจังหวะเวลาที่ลงตัวไม่ได้ แสดงว่านั่นยังไม่ใช่เวลา
จะพยายามยังไง จะไปคาดคั้นให้น้าหรือใคร ๆ ทำให้ ถ้ามันไม่ใช่เวลาของมันก็มีแต่จะเสียหาย
ตอนนี้พร้อมแล้ว ก็ไปทำสิ ได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 80 “ เมื่อได้มุ่งหมายให้เกิดดีและพยายมทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่ดีนั้นไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จดังใจหมาย กิเลสมันจะหลอกบอกว่า ถ้าไม่สมบูรณ์ ไม่สำเร็จจะเสียหาย จะไม่สบายใจ เป็นความลวง ให้ใช้ปัญญาหักลำกิเลส โดยบอกกับกิเลสวว่า ถ้าได้มากกว่านี้ ถ้าสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้จะเสียหาย เพราะในขณะนั้น…ยังไม่ใช่เวลาที่จะได้มากกว่านี้…ยังไม่ใช่เวลาที่สมบูรณ์ หรือสำเร็จกว่านี้…ในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่สำเร็จจะดีที่สุด ยุติธรรมที่สุด ตามกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง”
พิจารณาแบบนี้แล้วก็ทำให้คลายความขุ่นมัวในใจลงไปได้ จากนั้นจึงไปเอาต้นมันมังกรหยกที่พอจะเหลือรอดไปปลูก โดยทำใจไว้แล้วว่าจะรอดก็ได้ หรือหากจะตายก็ค่อยหามาปลูกใหม่ เราก็ทำเต็มที่แล้วได้เท่านี้ก็ไม่เป็น ผ่านมา 2 วันไปดูผลงาน ปรากฏว่าต้นมันที่เอาลงปลูกรอดตาย เริ่มแตกยอดออกมาให้เห็นแล้ว
แบบฝึกหัดข้อใหม่
มีโอกาสได้เป็นนักเรียนแอดมินฝึกหัด เป็นงานที่สนุกได้ทำรูป รายการอาหาร กสิกรรมไร้สารพิษชีวิตผาสก ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ในกลุ่มทุ่งนาก็จะมีก้อยกับปิ่นที่ทำงานร่วมกันบ่อย ๆ แต่อาทิตย์นี้ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ก้อยเงียบไป ส่งงานให้ก้อยตรวจแต่ข้อความที่ส่งไปไม่ถูกอ่าน สงสัยแต่ก็ไม่ได้ถาม จึงเริ่มทำงานในส่วนที่เป็นของตัวเองคือ อาหารและบททบทวนธรรม ได้ 2 งานอาทิตย์นี้ได้แค่นี้ก่อนก็ได้ แล้วเดี๋ยวไปเก็บงานเพื่อนที่โน้ตในห้องทุ่งนามาทำต่อ ระหว่างทำงานก็มีความรู้สึกเป็นห่วงก้อย คือเงียบผิดปกติ ถ้าโดยปกติแล้วก้อยจะส่งงานมาให้วันศุกร์ รอจนถึงวันเสาร์ก้อยก็ยังเงียบอยู่ เป็นอะไรหรือเปล่าหรือว่าไม่สบายไม่มีใครรู้ ในหัวเริ่มจะปรุงแต่งไปเป็นทุกข์แล้ว
ทุกข์ : มีความกังวลใจว่าน้องที่ทำงานด้วยกันเป็นอะไรหรือเปล่า แล้วไม่มีใครรู้(คิดไปเอง)
สมุทัย : ถ้าน้องส่งข้อความมาบอกว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร จะไม่กังวลใจ ถ้าน้องเงียบหายไปนานไม่ส่งข้อความมาบอกให้รู้เลยก็จะกังวลใจ
นิโรธ : น้องจะส่งข้อความมาบอกก็สุขใจ น้องไม่ส่งข้อความมาบอกก็สุขใจได้
มรรค : ได้เห็นอาการความคิดเป็นห่วงน้องเกิดขี้นมาระหว่างทำงาน จึงพิจารณาว่าถ้าน้องเป็นอะไรก็ต้องไปดีอยู่แล้ว แค่เปลี่ยนร่าง ตายก็ไปเกิดใหม่ไปทำดีต่อ อยู่ก็ทำดีต่อไป ทุกคนมีวิบากดีร้ายเป็นของตนเอง แล้วความคิดนี้เราก็เป็นคนปรุงขึ้นมาเป็นทุกข์เอง ละความคิดนั้นแล้วทำงานกลุ่มต่อไป เวลาต่อมาน้องที่เราเป็นห่วงก็ส่งข้อความเข้ามาในไลน์กลุ่มของพวกเรา แล้วน้องก็โทรมาหาบอกว่าทางประเทศเยอรมันนีมีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ดังนั้นทางรัฐบาลมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อความปลอดภัยของประชาขน และงานของน้องก็เพิ่มขึ้นเพราะได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหาร ประกอบกับโทรศัพท์มีปัญหาทำให้ขาดการติดต่อกับพวกเรา ทำให้เห็นว่าถ้าเราวางใจได้เราจะได้ในสิ่งที่เราควรได้ตรงกับบททบทวนธรรมมีความว่า “ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ จึงจะได้”
1/05/64
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “ตกใจ!..บัตรเอทีเอ็มถูกอายัด”
เหตุการณ์
เดินออกกำลังกายตามปกติ วันนี้ตั้งใจเดินไปตู้เอทีเอ็มกรุงไทย โอนเงินก่อนตีห้าครึ่ง รับใบเสร็จแล้ว ได้ยินเสียงว่า “กรุณารับบัตรด้วยค่ะๆ …………” ดังนาน 5-6 ครั้ง แต่ไม่มีบัตรออกมา มีข้อความว่า “อายัดบัตรแล้ว” งง ตกใจ! และกลัวเกิดปัญหาต่างๆ หันซ้าย-หันขวา คนรู้จักกำลังเดินผ่านมา จึงทักทาย ขอให้เขาช่วยแก้ปัญหา แต่แก้ไม่ได้ พยายามวางใจ ความตกใจ ความกลัว ลดลง รอคนที่เขามาใช้บริการรายต่อไป ต้องการรู้ว่า เครื่องเกิดขัดข้องอะไรหรือเปล่า มีคนมาทำรายการ 2 คน เขาทำรายการได้ แสดงว่าเครื่องปกติ นึกได้ว่าต้องถาม Google แล้วก็รีบยกโทรศัพท์ ขึ้นมา พิมพ์ข้อความถาม Google ว่า “ตู้เอทีเอ็ม อายัดบัตร ทำอย่างไร” อ่านคำแนะจาก Google ก็แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง ตรวจจิตลึกๆ ถามใจว่า ตกใจอะไร กลัวทำไม ทุกข์อีกหรือ พิจารณาแล้ว ยอมวางใจว่า “โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์” เพราะ “ทุกเสี่ยววินาที ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน ตลอดเวลา” คือ ต้องไปติดต่อกับธนาคารกรุงไทย เพื่อทำบัตรเอทีเอ็มใหม่ ก็เท่านั้นเอง ความตกใจ ความกลัวหายหายไป ไม่ทุกข์แล้ว สบายใจ ตัวเบา จึงเดินออกกำลังกายได้ เป็นปกติ
ทุกข์ : งง ตกใจ กลัว เพราะบัตรเอทีเอ็มถูกอายัด
สมุทัย : ยึดมั่นว่า โอนเงินเสร็จ ต้องได้รับบัตรคืน จะพอใจ แต่บัตรถูกอายัด ไม่พอใจ งง ตกใจ กลัว ไม่พอใจ ทุกข์
นิโรธ : บัตรเอทีเอ็มถูกอายัดหรือไม่ ก็เบิกบานได้ ใจไร้ทุกข์ เพราะทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่ต้องทุกข์กับวัตถุ
มรรค : พอรู้ว่าบัตรเอทีเอ็มถูกอายัดไปแล้ว ควบคุมสติไม่ได้ รู้สึกช็อกไปชั่วขณะ เกิดอาการ “กลัว ชั่ว ทุกข์ คือ โง่” ตรงกับบททบทวนธรรม ที่ 107 ตู้เอทีเอ็มอายัดบัตร? ตกใจ กลัว ไม่พอใจ ไม่ได้ดั่งใจ ขุ่น เพราะต้องรีบไปออกกำลังกาย คิดมาก ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ สับสน อึดอัด หนักตัว เดินไป-เดินมา หันซ้าย-หันขวา ขาดสติในพริบตา (เพิ่งรู้ตัวเมื่อมีสติดี ว่า ถูกกิเลสมารร้ายมันสะกดจิตเอาไว้ จน “โง่ฉับพลัน” ไม่มีใครช่วยแก้ปัญหาให้ได้ นานประมาณ 2-3 นาที พอตั้งสติได้ ทำใจ ยอมวางใจ เกิดปัญญาสว่างวูบขึ้นในใจลึกๆ สงบ-นิ่งได้ ไม่สับสนแล้ว จึงได้ทบทวนจากเหตุการณ์ พอจะสรุปได้ว่ามัน “เป็นอุบัติเหตุ” ก็หายตกใจ เป็นเพราะสัญญาณไฟฟ้าอาจไม่เสถียร หรือ กระแสไฟฟ้าตก ขณะทำรายการ หรือ อาจป้อนข้อมูลบางอย่างผิดพลาด-บกพร่องบางอย่าง จึงทำให้เครื่องเอทีเอ็ม error ไปชั่วขณะ หรือ บัตรอาจเก่า-ชำรุด หรือ จะอะไรก็แล้วแต่ ไม่โทษตัวเอง ไม่โทษวัตถุ สิ่งที่เราเคยยึดมั่นถือมั่นว่า เมื่อโอนเงินเสร็จ ต้องได้รับบัตรคืน แต่ครั้งนี้ ยอมรับว่า เป็นอุบัติเหตุ ต้องยอมเสียเวลา เสียเงินยอมไปติดต่อกับธนาคารเพื่อทำบัตรใหม่ มีฉันทะกับการยอม ยินดี พอใจ เต็มใจ ยอมวางได้ 95 เปอร์เซ็นต์ ตรงกับ บท ทบทวนธรรม ดังนี้ คือ
บทที่ 56 “ทุกเสี้ยววินาที ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน ตลอดเวลา” เพราะว่า
บทที่ 89 “ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น ที่เรากำหนดได้”
บทที่ 90 “วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง”
บทที่ 101 ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ “จึงจะได้”
ไปติดต่อกับธนาคารด้วยใจที่มีฉันทะ ยินดี พอใจ ได้ทำบัตรเอทีเอ็มใหม่ ณ ตอนที่เรายอม ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ “จึงจะได้” กิเลสตัวมารร้าย หายไป มารร้ายหาย หายโง่ทันที เกิดมีพลังปัญญาพุทธะมาแทน รู้สึกโล่งๆ ตัวเบา สบายใจ ตรวจใจลึกๆ ไม่กลัว ไม่ชั่ว ไม่ทุกข์ ด้วยความพอใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์แล้ว
1/05/64
ชื่อ นางสำรวม แก้วแกมจันทร์
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “เมื่อรู้ทันกิเลส จึงต้องสู้กับมัน”
เหตุการณ์
ฟังธรรมะจากยูทูปที่พ่อครูเทศน์ พร้อมทำกับข้าว ทำเสร็จประมาณหกโมง มีของกินอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น กล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง กล้วยฉาบ มะม่วงกวน และอื่นๆ กิเลสว่า “ชอบผลไม้ – อยากกิน” จ้องไปที่ของกินเหล่านั้น จะกินอะไรก่อน นั้นน่ากิน-นี่ก็น่ากิน พลังปัญญาของจิตที่บริสุทธิ์ รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของกิเลส รีบสู้กับมันทันที วันนี้ต้องตัดหัวกิเลสให้ได้ พูดคำขาดไปว่า “วันนี้กินมื้อเดียว” มันไม่ยอมๆ ชอบกินๆ อร่อยๆ อยากกินๆ มันดิ้นๆๆๆ เดินเวียนไป-เวียนมาหลายรอบ พิจารณาด้วยปัญญาเห็นว่า ร่างกายปกติดี มีแรงดี ยังไม่ถึงเวลากิน ยังไม่หิว แต่กิเลสมันอ้อนวอน ต่อรอง หลอกล่อให้ใจอ่อน ด้วยพลังปัญญาที่มี ทำให้รู้เท่าทันมัน ตั้งจิตมั่น ตั้งศีลสู้ทันทีว่า “วันนี้กินมื้อเดียว” แล้วเดินออกจากครัวไปทำงาน ยินดี พอใจกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง กวาดขยะ เก็บอัญชัน ชะอม เหลียง มะละกอ เก็บขาย-แบ่งปันเพื่อนบ้าน เก็บเมล็ดถั่วขอไว้ขยายพันธุ์ เก็บหมากทำหมากแห้ง เข้าบ้าน10 โมง เหนื่อยและหิว รีบอาบน้ำ เสร็จแล้ว เริ่มกินผลไม้ คือ มะละกอ กล้วย ก่อนกินข้าว เคี้ยวช้า กินฆ่ากิเลส กินนาน เสร็จ 11 โมงครึ่ง อิ่มพอดี อิ่มนาน ตอนเย็นก็ไม่หิว ผลไม้ยังมีเยอะ ไม่อยากกินแล้ว กิเลสมารถูกตัดหัวขาด หายไปแล้ว มันหายไปตอนไหนไม่รู้ วันนี้ตั้งศีล “กินมื้อเดียว” สู้กับกิเลสได้สำเร็จ
ทุกข์ : ชอบกิน อยากกิน ผลไม้อร่อย แต่ไม่ได้กิน
สมุทัย : ถ้าได้กินผลไม้ อร่อย ชอบ พอใจได้ดั่งใจ สมใจอยาก สุขใจ ไม่ได้กิน ชัง ไม่พอใจไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : ได้กินผลไม้ อร่อย-ไม่อร่อย หรือไม่ได้กิน ก็ยินดี พอใจ ไม่ชอบ-ไม่ชัง ไม่ทุกข์
มรรค : ทบทวนตัวเองว่า ปีนี้ที่ผ่านมา ตั้งศีลกินมื้อเดียว ทำได้บ้าง ล้มบ้าง สลับกัน บางครั้งล้มเพราะร่างกายป่วย ไม่สบาย ล้มแบบไม่กดข่ม เพราะร่างกายต้องการ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนมาตลอด ครั้งนี้ กิเลสเกิดจากตาผัสสะเห็นผลไม้หลายอย่าง มันปรุงว่า นั้นก็อร่อย นี้ก็อร่อย อยากกิน กิเลสชอบอร่อย จึงตั้งสติมั่นใช้พลังปัญญาพุทธะ เห็นว่าร่างกายปกติ แข็งแรงดี ไม่หิว ยังไม่ถึงเวลากิน เมื่อรู้ทันกิเลส จึงต้องตั้งศีลสู้กับมัน “วันนี้กินมื้อเดียว” พิจารณาโทษ-ประโยชน์ ก่อนกิน กินเอาประโยชน์ กินเป็นอาหาร กินเป็นยา กินรักษาโรค กินเพื่ออยู่ กินฆ่ากิเลส ด้วยความยินดี พอใจ ไม่ชอบ-ไม่ชัง ในรสชาติของอาหาร ใช้บททบทวนธรรม บทที่ 31 “ตัวชี้วัดว่า อาหารสมดุลร้อนเย็น เป็นประโยชน์ ทำให้มีโรคน้อย มีทุกข์น้อย คือ เบาท้อง สบาย เบากาย มีกำลัง” วันนี้ กินอิ่มพอดี อิ่มนาน ตอนเย็นก็ไม่หิว ผลไม้ยังมีเยอะ ไม่อยากกินแล้ว กิเลสมารถูกตัดหัวขาด หายไปแล้ว มันหายไปตอนไหนไม่รู้ วันนี้ตั้งศีล “กินมื้อเดียว” สู้กับกิเลสได้สำเร็จทำได้อย่างไม่กดข่ม เบิกบานใจ ไม่ทุกข์
วันหน้าไม่รู้ วันนี้สู้ไม่ถอย สามารถตัดหัวกิเลสมารได้สำเร็จ ชนะกิเลสแล้ว เย้!……
ชื่อเรื่อง:การคบมิตรดีสหายดีพาพ้นทุกข์
เนื้อหา:จากการสอบ(วบบบ.,วชร.)ทุกครั้งพอเฉลยข้อสอบ สังเกตุว่าตัวเองมักจะทำพลาดตอบผิดในข้อที่ไม่ควรผิดบ่อยๆ เช่นตีประเด็นคำถามไม่ออกทำให้ตอบไม่ตรงคำถาม หรือไม่ก็เข้าใจคำถามผิดเช่นคำถามๆว่าข้อใดผิดเราก็เข้าใจว่าถามว่าข้อใดถูก ทำให้ตอบผิด ทั้งที่ตัวเองก็คิดว่าตรวจสอบรอบคอบถี่ถ้วนดีแล้ว ก็ยังพลาด จึงคิดว่าตัวเองน่าจะทำผิดศีลเรื่องใดเรื่องหนึ่งแน่ ตรวจดูจิตตัวเองก็ไม่เจอแต่มันมีความรู้สึกว่ามันมีอะไรติดอยู่แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออกหาไม่เจอ จึงทำให้ตัวเองวนหาเหตุอยู่อย่างนั้นนานหลายวัน จนมีโอกาสคุยแลกเปลี่ยนสภาวะธรรมกับเพื่อน เพื่อนจึงให้สัมมาว่าปล่อยวางก่อนเพราะความอยากของเราเป็นตัวปิดกั้นปัญญาอยู่ไม่ให้เราได้รู้ความจริง ทำให้เรามีสติและวางใจลง พอรุ่งขึ้นอีกวัน จึงได้พบความจริงที่ทำให้ สภาพใจโล่งขึ้น
ทุกข์:รู้สึกอึดอัด ใจไม่ผ่องใส ใจหมองๆเมาๆ
สมุทัย:เพราะวนหาเหตูที่ทำให้เกิดความทุกข์ในใจไม่เจอ
นิโรธ:ความทุกข์ในใจ ความรู้สึกสงสัย คับข้องในใจ ความไม่แช่มชื่นในใจสลายไปแทบทันที ที่เกิดปัญญาระลึกได้ถูกเหตุ
มรรค:เพราะคุยสภาวะธรรมกับเพื่อนอยู่ๆก็ระลึกขึ้นมาได้เองจนหลุดปากออกมาว่า อ้อ เพราะระลึกได้ว่าเหตุที่ทำให้เราเกิดความผิดพลาดในการทำข้อบสอบหรือเรื่องอื่นๆทั้งที่เราคิดว่าเราพิจารณาดีแล้วนั้น น่าจะเป็นเพราะเราทำผิดศีลข้อนี้คือ เรายังล้างความชังในพฤติกรรมของผู้อื่นที่ชอบจู้จี้จุกจิก ชอบออกคำสั่งซึ่งเรามองและรู้สึกว่ารำคาญเพราะคิดว่าเป็นความละเอียดละออ จุกจิกเกินควร ซึ่งเป็นกิเลสตัวที่เรายังล้างได้ไม่หมด แต่ก็พยายามพากเพียรอยู่ซึ่งส่วนมากจะใช้สมถะกดข่มไว้เท่านั้น พอระลึกได้และเชื่อชัดจริงๆว่าเป็นวิบากจากการชังความละเอียดของเพื่อน เห็นว่าเป็นเรื่องจุกจิกน่ารำคาญนี่เองที่ทำให้เราเกิดความพลาดความพร่อง เหมือนขาดความรอบคอบถี่ถ้วนทั้งที่พยายามพิจารณาแล้ว จึงตั้งจิตขออโหสิกรรมต่อผู้ที่เราเคยไปเพ่งโทษท่านในเรื่องนี้และตั้งจิตว่าจะสำรวมในศีล ล้างความชังในเรื่องนี้ให้ได้เป็นลำดับต่อไป
เรื่อง เก็บถุงเจอกิเลส
เหตุการณ์ : เดินเก็บถุงพลาสติกในสวนยางที่คนกรีดทิ้งไว้รอบโคนต้น เดินเก็บทีละต้นเป็นแถวในแต่ละแถวได้เป็นกระสอบ เก็บไปเก็บมา เหมือนจะหมดแรงจึงหยุดพัก นึกดูจำได้ว่าเคยขอร้องคนกรีดให้ใช้จอกที่มีอยู่แล้วแทนการใช้ถุงพลาสติกจะดีไหม เขาบอกว่าใช้ถุงสะดวกกว่า
ทุกข์ : ขุ่นใจ ที่คนกรีดยางทิ้งถุงพลาสติกไว้
สมุทัย : ชอบถ้าคนกรีดยางไม่ทิ้งถุงไว้ แต่เขาทิ้งถุงไว้จึงชัง
นิโรธ : ไม่ชอบ ไม่ชัง แม้เขาจะทิ้งถุงไว้ หรือไม่ ใจก็ไร้ทุกข์
มรรค : เมื่อรู้สึกหมดแรง รีบหันมาดูที่ใจก่อนอื่น พบว่าไปขุ่นใจที่คนกรีดยางทิ้งถุงไว้นี่เอง พอรู้ว่าขุ่นใจ จึงปรับใจว่าเราจะไปขุ่นใจทำไม ในเมื่อเชื่อเรื่องวิบากกรรมว่าเราได้รับอะไรก็เราทำมาทั้งหมดแสดงว่านี่เป็นสมบัติของเราจริงๆ ต้องรับด้วยความยินดี เต็มใจ พอพิจารณาได้ดังนี้ ความขุ่นใจก็หายไปพร้อมความรู้สึกหมดแรง จากนั้นพลังก็กลับมามีแรงดังเดิม ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 42 ว่า”ยินดีในความไม่ชอบ ไม่ชัง ได้พลังสุดๆ ได้สุขสุดๆ ยินดีในความชอบชังเสียพลังสุดๆ ได้ทุกข์สุดๆ”เป็นจริงตามนี้เลย ที่หมดแรงเพราะไปขุ่นใจ ไปชังคนกรีดยางที่ทิ้งถุงไว้แต่เราได้เข้าใจเรื่องกรรมและวิบากแล้วยินดีรับด้วยใจที่ไม่ชอบ ไม่ชัง จริงๆ ความขุ่นใจก็หายไป
ในที่สุดใจก็ เบา โล่ง สบาย ไร้ทุกข์ และมีแรงเดินเก็บถุงพลาสติกได้ต่ออีกนาน
เรื่อง : ร้องเพลง
เนื้อเรื่อง : ปกติร้องเพลงไทยก็ว่ายากอยู่ แต่ก็เคยร้องค่ะแต่ไม่เพราะและไม่เคยให้ความสำคัญกับการร้องเพลงสรุปแล้วว่าเป็นคนไม่ชอบร้องเพลงแต่ถึงเวลาให้ร้องเพลงก็ร้องได้แต่ร้องไม่เพราะ เหมือนกับเราท่องบทอาขยานเลย แต่มา ณ วันนี้ต้องมาร้องเพลงภาษาอังกฤษ มันทำให้กดดันว่าจะร้องได้หรือไม่ได้ เมื่อถึงวันเสาร์ที่จะสอบนี้ค่ะ
ทุกข์ : ไม่แช่มชื่น ไม่เบิกบาน
สมุทัย : ใจไม่ชอบร้องเพลง เพราะร้องเพลงทีไรลิ้นก็แข็งพันกันทุกที ที่ไม่เป็นสำเนียงร้อง อดขำตัวเองไม่ได้ สนุกดี ยิ่งต้องมาร้องออกเสียงสำเนียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยแล้วยิ่งรู้สึกขำกลิ้งตัวเองค่ะ
นิโรธ : ร้องเพลงก็ได้ใจก็มีความสุข ไม่ร้องเพลงก็ได้ใจก็มีความสุข ไม่ทุกข์ที่จะร้องเพลง
มรรค : ยินดีร้องเพลงอย่างมีความสุข ไม่ร้องเพลงก็มีความสุข ไม่ชอบไม่ชัง ไม่กดดัน ในเหตุการณ์ที่จะเข้าห้องสอบร้องเพลงภาษาอังกฤษ พิจารณากดไตรลักษณ์ว่าการร้องเพลงก็ไม่เลวร้ายอะไร ก็เอาประโยชน์จากเขาให้ได้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จบจากนี้เราก็ได้ไปปฏิบัติบำเพ็ญตนเหมือนเดิม
โดนใจบททบทวนทำข้อที่ 4
“ต้องกล้าในการทำสิ่งดี ละอายเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่วชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้”
บททบทวนธรรมข้อที่ 149
“ความสุขแท้คือไม่ทุกข์ใจไม่ว่าจะเกิดอะไรในสถานการณ์ใด”
เจริญธรรมสำนึกดีมีใจไร้ทุกข์
ธรรมะพาพ้นทุกข์
เป็นปกติที่จะเปิดธรรมะพาพ้นทุกข์ในทุกเช้ามืด เริ่มจากการฟัง เพลงมาร์ชชิ่ง แพทย์วิถีธรรม ยังไม่จบเพลงดีได้ยินเสียงอาจารย์หมอเขียวพูดว่าแมลงเยอะ จากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับวูบที่จอมือถือพยายามหา ทั้ง 2 ช่องทางไม่ว่าจะเป็นหมอเขียวแฟนคลับกิจกรรมหมอเขียวหรือ YouTube ทีวีก็ไม่พบ
ทุกข์ : กังวลใจหารายการธรรมะพาพ้นทุกข์ไม่พบ
สมุทัย : สุขใจถ้าได้ฟังรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ได้เหมือนทุกวัน ทุกข์ใจถ้าไม่ได้ฟังธรรมะจากอาจารย์หมอเขียวเหมือนเช่นเคย
นิโรธ : สุขใจได้ไม่ว่าจะได้ฟังธรระพาพ้นทุกข์จากอาจารย์หมอเขียวหรือไม่ก็ตาม ไม่ทุกข์ใจเมื่อไม่ได้ฟัง วางใจหยุดการค้นหาช่องทางที่จะฟัง ทำกิจวัตรประจำวันด้วยอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์ เอาประโยชน์เปลี่ยนไปฟังธรรมะจากบุญนิยม แต่ซักพักก็ได้รับสัญญานเตือนจากหมอเขียวแฟนคลับถ่ายทอดสดจึงเปลี่ยนมาฟังธรรมะพาพ้นทุกข์ได้ตามปกติและเข้าใจแจ่มชัดในทุกขนิโรธคทมนีปฏิปทาว่าดับตัณหาความอยากได้ดังใจหมายไม่ว่านะด้านดีหรือชั่วได้ให้อยู่ในสภาพอนัตตาไม่ดูดไม่ผลักไม่ชอบไม่ชังไม่เสียพลังกับความอยากได้ดังใจหมายของเวทนา3แม้ความดีไม่ยึดก็ไม่ทุกข์ใจเข้าใจกุศลและอกุศลที่ได้รับณ.ขณะปัจจุบันรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงเมื่อฟ้าสว่างแมลงหายไป อาจารย์จัดรายการได้สัญญานก็ส่งมาให้ได้ฟังเอง
มรรค : หนทางดับทุกข์ด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ความไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ดังใจหมายด้วยสภาพอุเบกขาของอนัตตาเมื่อไม่เกิดตัณหาความอยากแม้ในความดีของขันธุ์5รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานว่าไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงย่อมเป็นทุกข์ดังอนัตตลักณสูตร พระไตรปิฎกเล่ม4/20-24/27-31 และข้อหลักธรรมปฏิจสมุปบาทตัดกิเลสให้จิตหลุดพ้นจนสิ้นชาติ พรหมจรรย์ได้ด้วยการเดินมรรคทั้ง7ด้วยสัมมาทิฐิกำกับความคิดที่ถูกตรงไม่ยึดแม้ความดีปฏิบัติกาย วาจา ใจถูกศีลทำกิจกรรมการงานที่ดีอย่างต่อเนื่องด้วยความพากเพียรแบบรู้พักรู้เพียรเกิดสมาธิตั้งมั่นพลังฌานเพ่งเผากิเลสทุกครั้งที่มีผัสสะมากระทบจนมีสติปัญญาตื่นเต็มที่จะทำแต่กุศล ละบาปอกุศลไม่ประพฤติตนเป็นขโมยรับแต่สิ่งที่เขาให้และเข้ากับบททบทวนธรรมข้อที่82หน้า49 จงฝึกอยู่กับความจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุกให้ได้
แม้ดีเมื่อไม่ยึดมั่นให้ได้ดีดั่งใจหมายวางดีด้วยความยินดี หาประโยชน์ได้ด้วยความคิดแบบพุทธะจนเป็นฉันทะชั้นที่8ได้เกิดสภาพอนัตตารักษาใจไม่สุขไม่ทุกข์หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาความอยากย่อมเกิดความเบิกบานได้ทุกเมื่อ
เย็นน้อมพุทธ
640430
ชื่อเรื่อง หวงของกิน
ได้มีโอกาสไปร้านขายของชำเอเชีย ซึ่งไม่ได้ไปนานมากกว่า 1 ปีแล้ว ครั้งนี้มีสายบัวขายด้วย จึงได้ซื้อสายบัว มะเขือเปราะ และผักชีราว เพื่อจะนำมาทำแกงอ่อมสายบัวผักรวม (ใส่ผักกาดขาวเพิ่มอีก) ที่ไม่ได้กินมานานแล้ว เมื่อทำเสร็จก็ได้ให้ลูกชายและพ่อของเขาลองกิน ทั้งสองบอกว่า รสชาติดี จึงได้กินอาหารเย็นร่วมกัน
ส่วนที่เหลือก็เก็บเข้าตู้เย็น
วันต่อมาช่วงเย็นที่เราพึ่งกินข้าวเสร็จ ลูกชายและพ่อของเขาได้แวะมาเอาของที่ลืมไว้ (ช่วงวันหยุด ลูกชายไปค้างบ้านพ่อ) เขาได้ถามเราว่า แกงสายบัวเมื่อวานยังมีอยู่ไหม เราก็ถามว่า ทำไมเหรอ อยากกินเหรอ เขาก็ตอบว่า ก็อร่อยดี ถ้ายังมีอยู่ก็จะขอกินอีก เราก็คิดในใจอยู่ครู่นึ่ง
ทุกข์ : กลัวอาหารจะหมด หวง อยากเก็บไว้กินเองคนเดียว เพราะนาน ๆ ทีจะได้กินแกงอ่อมสายบัวผักรวม
อาการทางกาย คิ้วขมวด มีอาการงงเล็กน้อยที่เขาอยากกินอีก
อาการทางใจ ใจเต้นแรงขึ้นเล็กน้อย
สมุทัย : ไม่อยากให้เขากิน ติดยึดกับของกินว่าเราจะได้กินอีกมื้อเป็นวันที่สาม
นิโรธ : แกงอ่อมจะเหลือไว้กินเองก็เป็นสุข ให้เขากินหมดก็เป็นสุขเช่นกัน
มรรค : ครั้งที่เราชวนเขากินแล้วเขาก็กินกับเราได้ เรามีความยินดี แต่พอเขามาถามกินเอง เรากลับเป็นทุกข์ ทำให้เห็นว่า คนเรานี้ก็แปลกดีเนอะ หวงสิ่งที่คิดว่าเป็นของของเรา ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งนั้น มันเป็นแค่ความรู้สึกนึกคิดของเราเอง เมื่อเห็นแบบนั้นก็บอกกับตัวเองว่า ยิ่งอยากเก็บไว้กินเองคนเดียวแบบนี้ กิเลสโตแน่ ๆ ได้ดั่งใจแน่ ๆ จึงตอบเขาไปว่า “อาหารยังมีอยู่ เธอจะกินมั้ย ฉันจะอุ่นให้” กิเลสความอยากได้ดั่งใจก็ลดลงไปทันที (ยังไม่หมดไปทีเดียว) ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และได้อุ่นแกงอ่อมสายบัวให้เขากิน แต่ก็ยังเหลือความรู้สึกที่ว่า เขาอาจจะกินไม่หมดก็ได้ อาจจะเหลือให้เรากินได้อีกมื้อ ผลปรากฏว่า เขากินหมดเกลี้ยงเลย พอเราเห็นแบบนั้นก็สามารถยิ้มด้วยใจที่เป็นสุขมากยิ่งขึ้น ในหัวมีบททบทวนที่ว่า เย่ เย่ ดีใจจัง ไม่ได้ดั่งใจ และบอกกับตัวเองต่อว่า ก็แค่แกงอ่อม ไว้ทำกินใหม่เมื่อไรก็ได้
เรื่อง ผิดศีลโดนเตือน
เหตุการณ์ ช่วงนี้ตั้งศีลเรื่องการเพ่งโทษ ให้ทุกคนทำไปตามฐานของแต่ละคน แต่ก็ผิดศีลพ่อบ้านให้ลูกออกไปซื้อลูกชิ้นปลาเพื่อทำอาหารมื้อเย็นทั้งๆที่มีอาหารมื้อเย็นแล้ว ได้พูดไปว่า ถ้าเกิดภัยพิบัติเมื่อก่อนจะมีผู้นำจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีอำนาจ และในช่วงนี้มีท่านอาจารย์หมอเขียวที่นำพาให้ตั้งศีลให้สูงขึ้นเป็นศีล5 ศีล 8 พ่อบ้านก็หน้าเจื่อนๆ เราก็รู้ว่าไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่เวลาที่จะพูดต่อ
ก็เข้าครัวทำกับข้าว โดนเขียงหล่นใส่นิ้วเท้า ปวดบวม เจ็บมาก
ทุกข์ ปวดนิ้วเท้าจากเขียงหล่นใส่กลัวจากการผิดศีล
สมุทัย ชังที่เกิดอุบัติเหตุจากการผิดศีล ชอบถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุจากการผิดศีล
นิโรธ จะเกิดอุบัติเหตุหรือไม่เกิดอุบัติเหตุก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าทุกอย่างราบรื่นไม่มีปัญหาก็จะสุขใจ ถึงแม้จะทำผิดศีล ทำผิดแต่ไม่อยากรับผิด วิปลาสไปแล้วทุกอย่างต้องเป็นไปตามกรรม โชคดีแค่ไหนแล้วที่มีมาตาลีมาเตือนเร็วไม่ให้โง่นาน ชั่วนาน ทุกข์นาน ก็เต็มใจรับด้วยความยินดีที่ผิดศีล ผิดปุ้บเตือนปั้บ
แต่กิเลสบอกว่า :ผิดนิดเดียวเองทำไมเตือนแรงจัง
เรา :ผิดนิดเดียวที่ไหน ผิดหลายเรื่อง หลายครั้งแล้วรวมๆกัน เยอะมากเลย เขาเตือนถูกต้องเหมาะสมตามวิบากดีร้ายของเราของโลกสังเคราะห์กันอย่างสมเหตุสมผลแล้ว ถูกต้องถูกที่ถูกเวลาณ.เวลานั้นแล้ว เขามาเตือนแค่นี้ ยังเดินได้ นิ้วไม่ได้ขาดเสียหน่อย มือก็ยังใช้ได้ ปากก็ยังกินได้ จะเอาอย่างไงอีกที่ทำร้ายสัตว์กินสัตว์มามากมายเขาตายเลยนะ นี่เจ็บแค่นี้เอง
มาร :แต่เจ็บมากเลยนะ บวม ปวดน้ำตาไหลเลย น่ากลัวจัง
เรา :ใช่ ผิดศีลมันน่ากลัว ท่านอาจารย์กล่าวว่าพระโพธิสัตว์จะยอมเสียชีพไม่ยอมเสียศีลเลยนะ ฉะนั้นตั้งศีลแล้วให้พึงระวัง และพากเพียรไปตามฐานจิตของเราให้ดีที่สุด ส่วนด้านร่างกายก็ดูแลไป ประคบน้ำเย็น แช่น้ำปัสสาวะ ปรับสมดุลย์ร้อนเย็น ที่สำคัญใจไร้ทุกข์
มาร :ได้ๆจะตั้งใจทำตามศีลที่ตั้งไว้ และเต็มใจรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
ต้องขอบคุณพ่อบ้านที่ขุดกิเลสตัวนี้ออกมาให้ได้ล้าง ขอสำนึกผิดยอมรับผิดขอโทษขออโหสิกรรมที่ทำผิดต่อครูบาอาจารย์ที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนยอมรับในวิบาก11ประการด้วยความเต็มใจ
สรุป ลูกชายก็ไม่ได้ออกไปซื้อของ จิตใจผาสุข ถึงแม้อาการปวดยังมีอยู่แต่ลดลงมากแล้ว จะพากเพียรตั้งศีลเรื่อง ไม่เพ่งโทษ ต่อไป..สาธุ
เรื่อง อยากกินผัดผักกับข้าวสวย
เหตุการณ์ ช่วงนี้ตั้งศีลมื้อเดียวกินข้าวแบบปั่นตามท่านอาจารย์หมอเขียวมาเกือบ 1เดือนแล้ว แต่มีบางวันที่เสริมข้าวสวยบ้าง วันนี้ทำอาหารให้ครอบครัวด้วยโดยใช้เต้าหู้จึงสามารถกินได้ด้วย วันนี้กิเลสอยากกินข้าวสวยกับผัดผัก ทั้งๆที่กินข้าวผักปั่นแล้ว
ทุกข์ อยากกินข้าวกับผัดผักเพิ่ม
สมุทัย ชอบถ้าได้กินข้าวกับผัดผักเพิ่ม ชังถ้าไม่ได้กินข้าวกับผัดผักเพิ่ม
นิโรธ จะได้กินข้าวหรือไม่ได้กินข้าวกับผัดผักเพิ่มก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ความยึดมั่นถือมั่นว่า การกินอาหารมื้อเดียวดีเพราะจะทำให้ร่างกาย สบาย เบากาย มีกำลัง อิ่มนาน และจำนวนที่กินก็ประมาณได้พอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะกินเกินเพราะกลัวจะหิว กลัวไม่ถึงอีกวัน กลัวทำไม่ได้ตามที่ตั้งศีลไว้ จึงกินเกินมาตลอด จนบางครั้งมีกินแล้วหลับคาจานข้าวก็มี
วันนี้อาหารที่ปั่นประมาณน้อยลงกว่าทุกวัน แต่เมื่อกินไปก็ยังอิ่มจนแน่นแสดงว่ายังเกินอยู่ แต่กิเลสมันยังจะกินข้าวกับผัดผักอีก มาดูลีลากิเลสกันค่ะ
มาร :กินข้าวสวยกับผัดผักหน่อย ทำแล้วยังไม่ได้กินเลย เมื่อเช้าได้เก็บผักมาด้วยนะ เดี่ยวก็เหี่ยวทิ้งอีก
เรา :ตอนนี้ยังแน่นไม่พอใช่ไหม? ถ้ากินเข้าไปอีก แย่แน่เลย ทุกข์ไม่พอใช่ไหมที่ร่างกายแข็งเกร็งค้างเพื่อขับพิษออก ผัดผักกับผักถ้าไม่มีใครกินก็ทิ้งเป็นปุ๋ยใช้ประโยชน์ได้
ได้ๆ ถ้าอยากกินก็จะกิน แล้วอย่ามาบ่นนะว่าแน่น ปวดเมื่อยตัว ปวดข้อมือข้อเท้ามากกว่าเดิม ช่วยหน่อย ช่วยระบายพิษให้หน่อย ไม่ช่วยนะช่วยตัวเองนะ
มาร :เดี่ยวๆ อย่าเพิ่งกิน ไม่ช่วยระบายพิษให้ใช่ไหม? ไม่กินก็ได้ จริงๆก็อิ่มมากแล้วละ555
เรา :ใช่อิ่มแล้ว กินพอแล้วก็ดีแล้ว ต่อไปก็ประมาณให้พอดีขึ้นไปอีก จะได้เหนี่ยวนำให้คนอื่นทำตามด้วยได้ช่วยตัวเอง ช่วยคน ช่วยโลก เสียชีพอย่าเสียศีล
ใช้บททบทวนธรรมข้อ 53 “ศีลคือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น”
สรุป หลังพิจารณาก็ไม่กินข้าวเพิ่ม ร่างกายไม่อึดอัดเพิ่ม จิตใจก็อิ่มเต็ม เบิกบาน แจ่มใส เข้าใจชัดแจ้งของอานิสงส์ของศีล อวิปปฏิสาร ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ปามุชชะ เบิกบาน ยินดี..สาธุ
เรื่อง
ไม่อยากแก้งานที่ทำสำเร็จ
เนื้อเรื่อง
ได้ปรึกษาหมู่เรื่องเก็บของใช้ที่บ้านพักใส่ถังพลาสติกและได้แจ้งขอเทปกาวมาปิดถังพลาสติกป้องกันมดหรือความชื้นเข้าไป แล้วก็ถูกหมู่ถาม เยอะ ก็รำคาญใจ
ทุกข์
ถามเยอะอึดอัดใจ
สมุทัย
ชอบที่หมู่ถามน้อยๆ
ชังที่หมู่ถามเยอะ
นิโรธ
ไม่ชอบไม่ชังหมู่จะถามเยอะถามน้อยก็สุขใจใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
มารก็มาเสี้ยมให้เราชังคนถามแบบ เยอะๆ
มาร
พี่เขาถามเยอะ ถามอยู่ได้ ก็เราไม่อยากแก้งานที่ทำสำเร็จแล้วไม่เข้าใจเราบ้างเลย มีแต่ถามไม่คิดถึงคนทำต้องแก้งานบ่อยๆมันเหนื่อยนะ
เรา
พี่เขา ละเอียดดีนะเราจะได้ฝึกตอบให้ตรงกับคำถามอย่างละเอียดแล้วก็จะได้แก้งานยอมทำตามพี่เขาจะได้ฝึกเป็นคนไม่ต้องเก่งงานแต่เก่งยอม
มาร เขาถามเร่งรีบจะเอาให้ได้เร็วๆจะเอาให้ได้ดั่งใจ เขาๆเขาเขาดื้อจังเลย
เรา
แล้วคำถามแบบนี้เราไม่เคยทำหรือไงไม่เคยเอาแต่ใจหรือไงทำมาน้อยซะเมื่อไหร่
ก็เราไม่ยอมท่านไม่ยอมที่จะแก้ไขงานที่ได้ทำ ได้สมหวัง ได้ดั่งใจ ถ้าพี่เขาให้แก้งานที่เราทำแล้วจะผิดหวังเสียใจทุกข์ใจ เป็นไงล่ะมีคนมาทำร้ายตัวได้ดั่งใจมันสิ้นหวัง กิเลสมันไม่ยอมพอนึกขึ้นได้ถ้าเราได้ดั่งใจตลอดเราจะชั่วจะโง่จะบ้ากิเลสก็จะเอาตัวได้ดั่งใจมาทำลายเราตลอดเวลา
พอพิจารณาแบบนี้ทำให้กิเลสตัวได้ดั่งใจคลายลง แล้วก็นั่งคิดพิจารณาว่าจะตอบกลับพี่เขาอย่างไรก็คิดออกว่าเราก็ขอบคุณพี่เขาที่ถามอย่างละเอียดทำให้เรากล้าที่จะตอบกลับด้วยความเต็มใจ ความอึดอัดใจก็ลดลงเพราะเราได้กำจัดมารข้างในใจเราให้ได้ก่อน ที่จะจัดการเหตุการณ์ข้างนอก
แก้ไขการบ้าน อริยสัจ ๔ ๒ พฤษภาคม ๖๔
ชื่อเรื่อง จะตัดหรือจะต่ออะไรดีกว่ากัน
เนื้อเรื่อง ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์เห็นสัญญาณเตือนหน่วยความจำภายในเครื่องเหลือน้อยลง กลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม มีปัญหาในการเก็บข้อมูลไม่ได้ และเครื่องจะพังจึงตรวจสอบดูว่ามีข้อมูลอะไรกินพื้นที่มากก็เห็นว่ามีบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ใช้พื้นที่มากอยู่ จึงคิดตัดข้อมูลบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกฯ ออกจากคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
ทุกข์ :ไม่ชอบใจที่เห็นสัญญาณเตือนหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลง
สมุทัย : เพราะชอบอยากให้ได้ดั่งใจหมายถ้าเห็นหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือมากอยู่จะสุขใจ
เพราะชังไม่อยากเห็นสัญญาณเตือนหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลง พอมันมาให้เห็นจะทุกข์ใจ
นิโรธ : ยินดีไม่ชอบไม่ชังเข้าสู่ความเป็นกลางอุเบกขา ถ้าเห็นหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือมากก็สุขใจ ถ้าเห็นสัญญาณเตือนหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยก็สุขใจ เอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์
มรรค : ดับด้วยวิราคะ คลายสุขลวง ทุกข์จริง พิจารณาไตรลักษณ์ ดับตัณหาความอยาก ความไม่เที่ยงความเปลี่ยนไปของสิ่งที่เห็นผิด ที่ยึดผิด ดับความเบื่อหน่ายเกลียดชัง ชอบใจและไม่ชอบใจ ใจไม่ทุกข์ ไม่มีสุขแล้ว ไม่ได้ดั่งใจหมาย สุขมันก็ดับ ทุกข์ก็ดับ เพราะเราไม่อยากได้ดั่งใจหมายแล้ว ไม่ยึดมั่นถือมั่นสลายไปได้ เข้าสู่ความเป็นกลางอุเบกขาเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องด้วยใจผาสุก เบิกบาน
เหตุการณ์ : เมื่อนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์มีผัสสะทางตามากระทบ
กิเลส : มันเห็นเครื่องหมายเตือนแถบสีแดง ที่หน่วยความจำบันทึกข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลงใจเป็นทุกข์ หวั่นไหว มีความกลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม แล้วมันก็ทุกข์ซ้อนไปอีก
ถึงสัญญาจำได้ตัวยึดที่ได้เก็บเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ไว้ไม่อยากตัดออกไป ใจรู้สึกเสียดาย เก็บมา ๔ ปีแล้ว กิเลสอยากยึดไว้ บอกว่าเป็นของมีค่า เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์จะอุ่นใจและ เป็นสิ่งที่หายาก จะตัดออกหลายครั้งแล้วแต่ตัดออกไม่ได้สักที ยอมเสียเวลายึกยัก ๆ เดี๋ยวทำท่าจะตัด เดี๋ยวก็เปลี่ยนใจไม่ตัด สุดท้ายก็ไม่ตัด ยอมเสียเวลาพลังกาย นั่งลบโฟลเดอร์อื่นๆออกทีละอันๆมันเสียเวลาช้ามาก และได้พื้นที่เก็บข้อมูลลับคืนมานิดหน่อย กิเลสบอกได้แค่นี้ก็พอแล้ว ยังอยากยึดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่
๑-๑๙ ไว้ต่อได้อีก กิเลสมันสุขใจ สมใจได้ดั่งใจที่ยังไม่ตัดออก
พุทธะ:ใจก็พิจารณาเห็นอาการของกิเลสความอยากกลับมาหลอกให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สำคัญต่อ
แต่ใจเราไม่เชื่อกิเลส ไม่อยากทำตามมันแล้ว วันนี้รับฟังธรรมะที่ท่านอาจารย์บรรยายด้วยจิตตั้งมั่น “เรื่องอินทริยภาวนาสูตร”เข้าสู่ความเป็นกลางในทุกสิ่งทุกอย่างมาปฏิบัติจะตัดอะไรก็ตัดได้ เช่นตัดในสิ่งที่ควรตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อหรือว่าเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ จะตัดสิ่งใดก็ได้ เห็นโทษสิ่งใดก็ได้ และจะต่อประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ก็ได้
ฉะนั้นใช้ปัญญามาปฏิบัติต้องล้างกิเลสทีละตัวทีละคู่ คือตัดในสิ่งที่ควรตัดในสิ่งที่เป็นโทษ ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์อะไรดีกว่า ถ้าเราตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออกจะได้เนื้อที่หน่วยความจำเพิ่มขึ้น ได้มากกว่าเสีย ถ้ายังเก็บไว้อยู่จะเสียมากกว่าได้ ถ้ามันเข้าถึงไม่ได้
ไม่ใช่เวลาที่จะฟังก็ต้องตัดรอบ ยอมตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออก ด้วยใจยินดีตัดเสียง
ออกได้ทันที ไม่ลังเลอีกเลย เห็นอาการกิเลสสลายไปทันที มีปัญญาใหม่ รู้โทษเราไม่ทำแล้ว กิเลสดับ รู้เกิดความไม่ทุกข์ ไม่เที่ยงเป็นอนัตตา หงายของที่คว่ำจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรมแบบลืมตา
ถ้าข้อมูลมันถูกคว่ำไว้อยู่แบบนั้น ก็เป็นแค่วัตถุที่ยังเข้าถึงไม่ได้ เ ใจในขณะปัจจุบันก็มีสุข ผ่องใส ไร้กังวล เบิกบานแจ่มใส เข้าใจชัดความไม่มีสุขลวงทุกข์จริงแทรกอยู่ จะไม่มีวิบากร้าย ทำให้เรามีพฤติกรรมใหม่ทำดีได้มาก เกิดรู้ความจริงตามความเป็นจริง ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นสภาพที่ดีที่ควรยึดอาศัยได้พื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้คืนมา ๘๐ กว่า GBจากที่เคยเหลือไม่ถึง ๑๐ GBทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สรุป : เมื่อเข้าสู่สภาพอุเบกขาปล่อยวางได้ อะไรควรตัด อะไรควรต่อ ก็ทำด้วยความยินดี อย่า อยู่ อย่าง อยาก ยินดีดับตัณหา ดับได้ล้างความอยากได้สภาพดีๆ หายไป แม้สภาพไม่ดีเกิดขึ้นก็ยินดีรับได้ ไม่ทุกข์ใจ จิตเกิดปามุชชะเบิกบาน ยินดี ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ก็โปร่ง ก็โล่ง สบายๆทันที อย่างมีชีวิตชีวา ใจสดชื่นในทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีวิบากร้าย ทำให้เรามีพฤติกรรมใหม่ทำดีได้มาก เป็นสภาพที่ดีที่ควรยึดอาศัย ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ ณ เวลานั้นได้ทุกเหตุการณ์ได้ เกิดผลวิมุตติญาณทัสสนะ ใจก็บริสุทธิ์ สะอาด สดชื่น เป็นกัมมัญญา เป็นสัปปายะในมีฉันทะการบำเพ็ญงานกุศลได้อย่างสะดวกราบรื่นต่อไปค่ะ
เรื่อง : ตั้งศีลพูดน้อย
เนื้อเรื่อง : อยากไป.ส.เรื่องของคนอื่นการตั้งศีล.กาย.วาจา.ใจ.จะพยายามไม่เบียดเบียนตัวเองคนอื่นสัวต์อื่น.เลยผิดศีลไป.ส.น้องคนหนึ่งเขาโมโหดาเราเจ็บมากเลย.เรา ๆ ก็แก้อะไรไม่ได้แล้วยอม ๆ พอทำโยคะเส็รจเลยไปขอโทษเขา ๆ ก็ไม่รับไหว้ ชังเขาอีก
ทุกข์ : เพราะฉันขอโทษแล้วนะเธอยังไม่ยกโทษอีก
สมุทัย : (เหตุแห่งทุกข์)
เราเคยทำมาแน่แต่ยังอยากได้คำขอโทษ เห็นว่าโง่ไม่เสร็จเคยด่าพ่อบ้านไม่ได้ดังใจด่าๆเขา.วิบากนัน้ำยืมเมือน้องมาทำให้เราทุกข์เขาก็มี.เราก็มีหนักเลย.คิดได้ว่ายังไม่ได้ขอโทษพ่อบ้านให้ถึงจิต.ยอมไม่จริงจึงต้องทำให่ม.อึ.ฮึ.ชัดมากยอมแล้วๆอัตตาสลาย.จะพยายาม.คิดก่อนพูด.ทุกข์ครั้งทำใหม่เริ่มเอาจริงพอแล้วทุกข์ยังไม่พออีกหรือ
นิโรธ(สภาพดับทุกข์)
ไม่ยุ่งคนอื่นทำตัวเอง.จำไว้ยอมที่เขาเป็นได้ไหม.ยอมให้เขาทำอย่างที่เขาอยากทำได้ไหม.เขาเป็นแบบไหนก็ไม่ทุกข์ใจ.เราเดินสายกลางล้างชอบ.ชังได้สุขใจทันที่
มรรค : (วิธีดับทุกข์)
สละๆไปไม่พัวพันโยนิมนสิการคิดแบบสัมมาทิฎฐิ.สุขลวง.ทุกข์จริง.ล้างชอบชังได้พลังสุดๆ.ผู้ที่เข้าใจและเชื่อ.และชัดเรื่องกรรม.อย่างแจ่มแจ้ง จะเอาทุกข์มาแต่ไหน
เรื่อง โชคดีอีกแล้ว (แก้ไข)
เนื้อเรื่อง มีจิตอาสาท่านหนึ่งที่เราศรัทธาเดินมาบอกให้ทำในแบบที่ท่านเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่กิเลสเราไม่ชอบเพราะรู้สึกว่าท่านกำลังให้สิ่งที่ดีแบบยึดมั่นถือมั่น
ทุกข์ มีความอยากให้ท่านวางความยึดมั่นถือมั่น
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ถ้าท่านวางควา ยึดมั่นถือมั่นเราชอบใจ แต่ถ้าท่านไม่วางความยึดมั่นถือมั่นเราทุกข์ใจ
นิโรธ ท่านจะวางหรือไม่วางความยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค พิจารณาเห็นความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น จึงวิราคะสละสละไปไม่พัวพันธ์ หมดอยากก็หมดทุกข์ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวเราของเรา มันไม่เที่ยง เป็นแค่มายากล ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งได ๆ สุดท้ายมันก็ดับไป
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เรื่อง ทำไมต้องผักบุ้ง
เมื่อวานเย็นระหว่างรดน้ำต้นไม้ พ่อบ้านว่าผักบุ้งโตได้ที่แล้ว พรุ่งนี้เช้าตัดมาทำกับข้าวได้เลยนะ เราก็ว่าโอเค เช้าวันรุ่งขึ้นเราสองคนไปตลาดเพื่อซื้อผลไม้มาเพิ่ม ระหว่างเดินจะกลับไปที่รถ ก็ผ่านร้านขายผัก พ่อบ้านก็พูดขึ้นมาว่าซื้อผักนะ เราก็มองไปเห็นผักที่ร้านนี้ขายอยู่ 4 อย่าง คือ ผักบุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว และผักเหมียง คิดว่าพ่อบ้านอาจจะอยากทานผักอื่นเพิ่มก็เลยบอกว่าเอาซิ จะซื้อผักอะไร พ่อบ้านก็ตอบว่า จะซื้อผักบุ้ง ตอนนั้นใจก็กระตุกขึ้นมา สมองก็คิดว่า อ๊ะ ซื้อผักบุ้งเนี่ยนะ ไหนเมื่อวานว่าจะตัดผักบุ้งที่บ้านไง
ทุกข์ ขุ่นใจที่พ่อบ้านจะซื้อผักบุ้ง ทั้งๆ ที่เมื่อวานว่าจะตัดผักบุ้งที่ปลูกเองที่บ้าน
สมุทัย ชอบถ้าพ่อบ้านจะซื้อผักอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผักบุ้ง ชังถ้าพ่อบ้านจะซื้อผักบุ้ง
นิโรธ พ่อบ้านจะซื้อผักอื่นๆ เราก็ไม่ชอบ พ่อบ้านจะซื้อผักบุ้งเราก็ไม่ชัง
มรรค พิจารณาโทษและผลของการชอบ-ชัง ว่าถ้าเรายึดว่าต้องไม่ซื้อผักบุ้งเพราะที่บ้านก็มีแล้ว และบอกพ่อบ้านออกไปทั้งที่ใจเราอยู่ใจสภาพขุ่นอยู่นิดๆ เราอาจจะโกรธกันได้ อีกอย่างเราก็ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมพ่อบ้านถึงให้ซื้อผักบุ้ง เค้าอาจจะมีเหตุผลของเค้า เราไม่ต้องไปคาดเดา เราต้องมองกลับมาที่ตัวเรา เราเองก็เคยเอาแต่ใจตัวเองแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของ ก่อนออกไปซื้อก็ว่าจะไม่ซื้อของโน่นนี่ แต่พอไปก็ซื้ออยู่ดีแม้ว่าที่บ้านจะมีของชิ้นนั้นอยู่แล้ว เพราะยึดดีเอาแต่ใจ มาครั้งนี้พ่อบ้านทำอาการเดียวกับเรา เค้าอยากจะซื้อของที่ที่บ้านมีอยู่แล้ว เค้ามาให้เราเห็นผัสสะ เห็นกิเลส เห็นอาการขุ่นใจของตัวเองนิดๆ เราต้องขอบใจเค้าที่มาเป็นกระจกสะท้อนตัวเราเองในอดีต จับกิเลสได้ ใจก็คลายลง เราก็หันไปถามพ่อบ้านว่าจะซื้อกี่กำ พ่อบ้านว่าเอา 2 กำ เราก็เลือกให้อย่างเบิกบานใจ ผักบุ้งที่บ้านก็เลื่อนวันตัดไปกินอีก 1 วัน ผักบุ้งไม่เสียหาย ใจเราก็ไม่เสียหายเช่นกัน
สรุป เราก็เลือกซื้อผักบุ้งให้พ่อบ้าน 2 กำด้วยใจที่เบิกบาน เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็เล่าสภาพใจตอนนั้นให้พ่อบ้านฟัง พ่อบ้านก็ตอบว่าลืมไปเลยว่าเมื่อวานพูดเรื่องตัดผักบุ้งที่บ้าน ตอนนั้นพ่อบ้านคิดแต่ว่ากับข้าววันนี้ยังไม่มีผักใบ เห็นว่าผักบุ้งร้านนี้เราเคยซื้ออยู่ ราคาไม่แพง ก็เลยบอกให้เราซื้อ พ่อบ้านว่าบอกได้เลยนะว่าที่บ้านก็มีผักบุ้ง แต่เราตอบไปว่าเราได้ประมาณดูแล้วว่าถ้าพูดไปตอนนั้น ผลลัพธ์อาจจะไม่สบายใจ ไม่เบิกบานด้วยกันทั้งสองคนแบบนี้ มาพูดตอนนี้ผลลัพธ์ได้สภาพคลายใจทั้งสองฝ่าย สภาพตอนนี้ คือ ดีแล้ว ใจไม่ทุกข์ ต่างฝ่ายต่างขอโทษกัน
ส่งการบ้านอาริยสัจ4
นส.จาริยา จันทร์ภักดี
จิตอาสาพวธ.สังกัดสวนป่านาบุญ 2 อ.ชะอวด จ.นครฯ
เรื่อง ละอาย
เหตุการณ์.ตอนเรียน วิชาฟันดีชีวีมีสุข นั่งนานปวดหลังเลยปิดกล้องสลับท่านอนบ้าง ลุกขึ้นบ้างคิดว่าได้ปิดกล้องแล้ว เผลอเปิดตอนไหนไม่ทันมอง เลย ได้ละอายที่ยกเท้าขึ้นยันฝาห้องค่ะ
ทุกข์ : ละอายพี่น้องในห้องเรียน
สมุทัย : ชังที่ท่านั่งไม่เรียบร้อยทำให้ละอาย
ชอบที่ท่านั่งเรียบร้อยไม่ทำให้ละอายพี่น้องในห้องเรียน
นิโรธ : จะนั่งเรียบร้อยเป็นระเบียบหรือไม่ก็ไม่ละอาย
มรรค : ปวดหลังเลยปรับมานอนฟังสลับกันนั่งบ้าง ก็ยอมรับวิบากทำความผาสุกที่ตนก่อน
ได้พิจรนาบททบทวนธรรมข้อที่53
“ศีล คือ ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น แล้วความละอายก็หายไป ทำให้เพิ่มความระวังให้มากขึ้นใจยินดีเบิกบานไร้ทุกข์สาธุค่ะ
2 อริยสัจส่งช่วง 26 เมษายน-2 พฤษภาคม2564
(แก้ไข)
เรื่อง เพื่อนไม่ชอบให้เราเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดี ปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์
เนื้อเรื่อง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ได้ไปทำงานร่วมกับเพื่อน และเพื่อนได้เล่าให้เราฟังว่ามีจิตอาสาท่านหนึ่งมาพูดกับเขาว่าเขาไม่ชอบที่ป้าจิเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดีปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์และไม่ชอบที่จิตอาสาอีกท่านหนึ่งเข้าร่วมรายการฝ่าวิกฤติโควิด 19 พอเราได้ฟังก็บอกเพื่อนไปว่าเรา ๆ เราทำมาทั้งนั้น และเราก็ได้ถามย้ำไปอีกว่าใช่เพื่อนในรายการหมู่มิตรดีปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์ไหม เพื่อนก็บอกว่าไม่ใช่ แล้วเราก็ถามต่อไปอีกว่า ใช่เพื่อนในรายการฝ่าวิกฤติโควิด 19 ไหม เพื่อนก็บอกว่าไม่ใช่ แต่เราก็ยังมีอาการขุ่นใจ จึงคิดว่าเรื่องนี้ควรเปิดเผยให้เพื่อนในกลุ่มหมู่มิตรดีช่วยในวันนี้เพื่อฆ่ากิเลสที่มันมาทำให้เรามีอาการขุ่นใจ เมื่อเราไปขอความช่วยเหลือกับเพื่อน เพื่อนก็ยินดีและให้โอกาสเรา บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าการที่เราเจอผัสสะเช่นนี้เพราะถึงเวลาที่เราต้องเลื่อนฐาน จึงทำให้เขามาพูดเช่นนี้ บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าแม้แต่อาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ยังมีคนไม่ชอบเลยแล้วเราจะเหลืออะไร บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่ามันเป็นวิบากกรรมที่เราทำมาจึงต้องมารับในครั้งนี้ รับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดีขึ้น สำหรับท่านที่มาว่าเรา ก็เป็นวิบากใหม่ของท่าน บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าเหตุการณ์นี้ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 123 เจอผัสสะไม่ดีได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะได้ออกฤทธิ์มากขึ้น พอเราได้ฟังเพื่อนแต่ละท่านแสดงความคิดเห็น เราก็รู้ได้ทันทีว่า เราเป็นคนหนึ่งที่โชคดีมาก ๆ ที่ได้พบสัตบุรุษ ได้มาอยู่กับหมู่มิตรดี มีศีล เราขุ่นใจเพื่อนก็ช่วยให้เราคลายใจได้ จะไปหาที่ไหนได้อีกในโลกใบนี้นอกจากพวธ. ของเราเราควรขอบคุณเขาที่เขาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ออกมาซึ่งพฤติกรรมนี้เราเคยทำมาก่อน เราแสบสุด ๆ มันก็ต้องรับสุด ๆ เราสำนึกผิดอย่างสุดซึ้ง อาการขุ่นใจก็หายไปโดยไม่เหลืออะไร จิตใจก็เบิกบานแจ่มใส ไร้ทุกข์ ไร้กังวล
ทุกข์ มีอาการขุ่นใจเมื่อมีเพื่อนจิตอาสาท่านหนึ่งไม่ชอบให้เราเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดี ปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์
สมุทัย เรายึดมั่นถือมั่นว่าถ้าเพื่อนชอบให้เราเข้าร่วมรายการเราจะสุขใจ แต่ถ้าเพื่อนชังที่เราเข้าร่วมรายการเราจะทุกข์ใจ
นิโรธ เพื่อนจะชอบหรือชังเราก็สุขใจ
มรรค การเข้าหาหมู่มิตรดีดีที่สุดที่จะช่วยเราแก้ปัญหาได้ ทำให้เราเห็นแง่มุมต่าง ๆ ในการแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้อย่างแจ่มชัด ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 29 วิธีการ 5 ข้อ ในการแก้ปัญหาทุกปัญหาในโลกคือ 1. คบและเคารพมิตรดี 2. มีอริยศีล 3. ทำสมดุลร้อนเย็น 4. พึ่งตน 5. แบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ และข้อที่ 37 ปัญหาทั้งหมดในโลกเกิดจาก เรา…โง่…กว่ากิเลส เมื่อเราชัดเจนขึ้นความขุ่นใจก็หมดไปมีแต่ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ใจที่เบิกบานแจ่มใส ใจที่ยินดีพอใจกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ธรรมะพาพ้นทุกข์
เป็นปกติที่จะเปิดธรรมะพาพ้นทุกข์ในทุกเช้ามืด เริ่มจากการฟัง เพลงมาร์ชชิ่ง แพทย์วิถีธรรม ยังไม่จบเพลงดีได้ยินเสียงอาจารย์หมอเขียวพูดว่าแมลงเยอะ จากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับวูบที่จอมือถือพยายามหา ทั้ง 2 ช่องทางไม่ว่าจะเป็นหมอเขียวแฟนคลับกิจกรรมหมอเขียวหรือ YouTube ทีวีก็ไม่พบ
ทุกข์ : กังวลใจหารายการธรรมะพาพ้นทุกข์ไม่พบ
สมุทัย : สุขใจถ้าได้ฟังรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ได้เหมือนทุกวัน ทุกข์ใจถ้าไม่ได้ฟังธรรมะจากอาจารย์หมอเขียวเหมือนเช่นเคย
นิโรธ : สุขใจได้ไม่ว่าจะได้ฟังธรระพาพ้นทุกข์จากอาจารย์หมอเขียวหรือไม่ก็ตาม ไม่ทุกข์ใจเมื่อไม่ได้ฟัง วางใจหยุดการค้นหาช่องทางที่จะฟัง ทำกิจวัตรประจำวันด้วยอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์ เอาประโยชน์เปลี่ยนไปฟังธรรมะจากบุญนิยม แต่ซักพักก็ได้รับสัญญานเตือนจากหมอเขียวแฟนคลับถ่ายทอดสดจึงเปลี่ยนมาฟังธรรมะพาพ้นทุกข์ได้ตามปกติและเข้าใจแจ่มชัดในทุกขนิโรธคทมนีปฏิปทาว่าดับตัณหาความอยากได้ดังใจหมายไม่ว่านะด้านดีหรือชั่วได้ให้อยู่ในสภาพอนัตตาไม่ดูดไม่ผลักไม่ชอบไม่ชังไม่เสียพลังกับความอยากได้ดังใจหมายของเวทนา3แม้ความดีไม่ยึดก็ไม่ทุกข์ใจเข้าใจกุศลและอกุศลที่ได้รับณ.ขณะปัจจุบันรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงเมื่อฟ้าสว่างแมลงหายไป อาจารย์จัดรายการได้สัญญานก็ส่งมาให้ได้ฟังเอง
มรรค : หนทางดับทุกข์ด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ความไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ดังใจหมายด้วยสภาพอุเบกขาของอนัตตาเมื่อไม่เกิดตัณหาความอยากแม้ในความดีของขันธุ์5รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานว่าไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงย่อมเป็นทุกข์ดังอนัตตลักณสูตร พระไตรปิฎกเล่ม4/20-24/27-31 และข้อหลักธรรมปฏิจสมุปบาทตัดกิเลสให้จิตหลุดพ้นจนสิ้นชาติ พรหมจรรย์ได้ด้วยการเดินมรรคทั้ง7ด้วยสัมมาทิฐิกำกับความคิดที่ถูกตรงไม่ยึดแม้ความดีปฏิบัติกาย วาจา ใจถูกศีลทำกิจกรรมการงานที่ดีอย่างต่อเนื่องด้วยความพากเพียรแบบรู้พักรู้เพียรเกิดสมาธิตั้งมั่นพลังฌานเพ่งเผากิเลสทุกครั้งที่มีผัสสะมากระทบจนมีสติปัญญาตื่นเต็มที่จะทำแต่กุศล ละบาปอกุศลไม่ประพฤติตนเป็นขโมยรับแต่สิ่งที่เขาให้และเข้ากับบททบทวนธรรมข้อที่82หน้า49 จงฝึกอยู่กับความจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุกให้ได้
แม้ดีเมื่อไม่ยึดมั่นให้ได้ดีดั่งใจหมายวางดีด้วยความยินดี หาประโยชน์ได้ด้วยความคิดแบบพุทธะจนเป็นฉันทะชั้นที่8ได้เกิดสภาพอนัตตารักษาใจไม่สุขไม่ทุกข์หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาความอยากย่อมเกิดความเบิกบานได้ทุกเมื่อ
เย็นน้อมพุทธ
640430
เรื่อง : ฟังเพลงที่ส่งเสริมกิเลส
ตื่นเช้าขึ้นมา พ่อบ้านก็จะเปิดเพลงทางวิทยุ
เปิดเสียเสียงดังเลยแหละ และเพลงที่ดีเจเอามาเปิดส่วนมากจะเป็น เพลงส่งเสริมกิเลส ที่เราจะเปิดเพลงของท่าน อาจารย์หมอเขียวฟัง ช่วงพ่อบ้านอยู่ก็เปิดเสียงดังไม่ได้ พ่อบ้านก็ว่าเราเปิด เพลงปลุกระดม เพลงของอาจารย์นี่แหละฟังแล้วได้ จิตวิณญาณ ดีนักแล
ทุกข์ : รำคาญเปิดแต่เพลงส่งเสริมกิเลส
สมุทัย : ชอบที่จะให้พ่อบ้านฟังเพลงที่ได้
จิตวิณญาณ ฐานจิตของพ่อบ้านจะได้ก้าวขึ้นไปบ้าง ชังเราเปิดเพลงได้สาระ ก็พ่อบ้านก็ว่าเป็นเพลง ปลุกระดม
นิโรธ : พ่อบ้านจะเปิดเพลงฟังแบบไหนก็ได้ ไม่ว่ากัน ยินดีในความไม่ชัง
มรรค : กิเลส : ฟังแต่เพลงส่งเสริมกิเลส
แล้วเมื่อไหร่จะลดความ ใจร้อน โมโหง่าย ทำงานเก่ง งานสำเร็จ แต่ใจไม่สำเร็จ
เรา : แกจะเอาอะไรจากเขา เมื่อก่อนแกก็เป็นแบบนี้ไม่ใช่หรือ ให้เวลาเขาหน่อย แกนั่นแหละดื้อ ไม่ใช่พ่อบ้านดื้อ แกจะเอาดีจากเขา
แล้วกิเลสก็ยอมฟังพุทธะ
บทธบทวนธรรม ข้อ ๓๓
ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน
ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่
ก็สุขใจเมื่อนั้น
เรามีหน้าที่ ทำตัวอย่างที่ดีให้เขาเห็น อดทน
รอคอย ให้อภัย ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ
เรื่อง : ใครดื้อ
เนื้อเรื่อง : วันนี้ต้องตรวจงานเอกสารให้น้องที่ทำงานเหมือนเช่นเคย มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผู้มีอำนาจลงนามนิดหน่อย อันเนื่องจากมีการประกาศผลการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรแล้ว น้องเขาก็ได้แก้ไขปรับเปลี่ยนตำแหน่งตามความเข้าใจของเขามารอบแรกก็ผิด เราอธิบายเพิ่มแติมให้ไปรอบสองก็ผิด รอสามเราชี้ให้ดูจุดที่ต้องแก้ไขตัวต่อตัวก็ยังทำมาผิดอีก จนมารอบสี่เราก็ว่าเราดูเราตรวจให้จนถูกต้องแล้วนะ แต่พอนำงานไปเสนอก็ยังผิดอีกจนได้ ซึ่งทั้งเราและน้องท่านนั้นก็มั่นใจในตัวเองสุด ๆ ว่าต่างฝ่ายก็ได้ตรวจตราถูกต้องแล้ว ซึ่งก็มีการแสดงความเห็นของแต่ละคนสลับไป ๆ มา ๆ จนน้องเขาบอกว่า เขายอมรับผิดเองก็ได้…เฮ้ย เป็นเราเองที่ผิด นี่เราหรือนี่ เราที่ไม่ยอมรับผิดยังไปเถียงน้องเขาอีกว่าตัวเองตรวจดีแล้ว อธิบายถูกแล้ว น้องเขาเองที่ผิดต่างหาก …ตอนนี้มองเห็นต้วเองชัดมาก ตัวเองที่ดื้อรั้น เอาแต่ใจ เถียงจะเอาชนะเขา ทั้งที่ตนเองนั่นแหละตรวจผิดเอง…
ทุกข์ : ไม่แช่มชื่นที่เห็นความดื้อรั้น เอาแต่ใจของตัวเอง
สมุทัย : อยากเห็นตัวเองและจับอาการดื้อรั้น เอาแต่ใจตนเองได้ไว
นิโรธ : จะจบอาการดื้อรั้น เอาแต่ใจตัเองได้ไว้หรือช้าก็สุขใจได้
มรรค : พิจารณาเห็นความดื้อ ความเอาแต่ใจของตนเองทันทีที่ได้ยินน้องเขาพูดยอมรับว่าผิดเอง ทั้งที่สาเหตุเกิดจากที่เราตรวจงานให้เขาผิดแท้ ๆ ซาบซึ้งกับความดื้อของตนเองจริง ๆ นี่เราเป็นได้ถึงขนาดนี้เลยหรือ ที่เคย ๆ ฟังครูบาอาจารย์สั่งสอนมาให้ฝึกเป็นผู้ยอม แม้จะต้องยอมให้คนอื่นเข้าใจผิด ให้ยอมรับในวิบากกรรมของตัวเอง ยอมรับฟัง ตั้งสติกับคำพูดของคนอื่น ๆ บ้าง …เชื่อแต่กิเลสมารที่มาทำให้อยากเถียงเอาชนะเขา เอาแต่ใจตัวเอง ดื้อรั้นไม่ฟังใคร ..ยอมให้กิเลสที่คิดว่าตัวเองเป็นหัวหน้า สั่งน้อง ๆ ได้หมด ผิดไม่เป็น ทำอะไรถูกต้องเสมอ เรารู้มากกว่า ทำงานมานานกว่า …วันนี้จึงได้สะดุด สะอึก กับคำพูดน้อง มีสติซาบซึ้งกับความชั่วของตนเองจริง ๆ …เหตุการณ์นี้ได้ด่ากิเลสมารไปแรง ๆ หลาย ๆ คำ (คงจะพิมพ์ออกสื่อไม่ได้) ..ต่อไปคงต้องสำรวมระวังเรื่องวาจาให้มาก ๆ กว่านี้ ไม่ว่าจะพูด จะคุยกับใคร การพูดต่อปากต่อคำ เถียงเอาชนะคงได้ลด ละ เลิกลงไปบ้างละ ..ขอบคุณน้องท่านนั้นจริง ๆ ขอบคุณเหตุการณ์นี้ที่มาเตือนสติให้เรา จะขอพากเพียรสำรวมกาย วาจา ใจ ต่อไป..
การบ้านอริยสัจ4
ชื่อ: สุรีนารถ ราชแป้น จิตอาสาสวนป่านาบุญ2 จ.นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง: เห็นผิดเป็นถูก
เหตุการณ์: พิมพ์การบ้านอริยสัจเสร็จไม่ได้อ่านทวนคำผิด ส่งให้พี่น้องในกลุ่มไลน์ช่วยตรวจ แก้ไข และปรับปรุง โดยที่ตนเองคิดว่าค่อยแก้ทีเดียวเผื่อต้องปรับปรุงเนื้อหาด้วย พอพี่น้องอ่านเสร็จก็บอกให้แก้หลายคำม ตัวเองก็ได้แก้ไขตามที่เขาบอกเท่าที่ตนเองเห็น ซึ่งก็ทวนหลายครั้ง แต่พี่น้องก็ยังบอกมาว่า ยังมีคำผิด ตรงคำว่าชื่อ ตนเองก็ได้มาดูทีละตัวอีกครั้ง ทุกคำที่เป็นคำว่าชื่อแต่ยังไม่เห็นว่าผิด ให้น้องที่ทำงานดูในโทรศัพท์ตัวเอง ให้ดูให้ทีว่าชื่อทั้งสองตัวที่ พี่น้องพิมพ์บอกว่าผิดนั้นผิดตรงไหนเผื่อว่าตัวเองตาไม่ดี น้องๆก็บอกว่าถูกแล้ว ตัวเองก็ยังไม่วางใจ ได้โทรบอกพี่อีกคนที่อยู่ในไลน์เดียวกันว่าช่วยดูให้อีกทีว่ามีผิดตรงไหนอีก พี่เขาก็บอกว่าหาไม่เจอเหมือนกัน ซึ่งขณะนั้นตัวเองก็ได้ดูหลายเที่ยว ประจวบกับต้องใส่แว่นอ่านนานๆด้วย และจากการเคร่งเครียดหา จึงเกิดอาการมึน ศีรษะ
ทุกข์:มึนศีรษะ ไม่เบิกบาน จากการหาจุดผิดของคำว่า ชื่อ ไม่เจอ
สมุทัย: ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้างานที่ทำไม่มีคำผิดจะชอบ เบิกบาน ถ้างานที่ทำเสร็จแล้วพร้อมส่งยังมีคำผิดอยู่จะไม่ชอบ ใจเป็นทุกข์
นิโรธ: งานที่ทำเสร็จแล้วพร้อมส่งจะมีคำผิดอยู่บ้าง หรือไม่มี ไม่ชอบ ไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค: จะเห็นได้ว่าจากการเคร่งเครียดหาคำผิดแล้วไม่เจอนั้น แต่ก็ไม่วางใจหาแล้วหาอีกยังไม่เจอ เป็นการยึดดีอยากให้ดีได้เกิดดั่งใจหมาย เมื่อไม่เกิดดีดั่งใจหมาย จึงเกิดกิเลส เกิดทุกข์ จากการยึดมั่นถือมั่น ทำให้ไม่เบิกบานและมึนศีรษะ เมื่อเห็นทุกข์จึงเห็นธรรมจึงได้บอกกับตัวเองว่ามันเป็นวิบากของเราที่ต้องได้รับเพราะพิมพ์คำผิดๆให้คนอื่นอ่าน จึงต้องใช้วิบากทันตาเห็นก็ดีแล้วใช้แล้วก็หมดไป (เป็นการใช้บททบทวนธรรมข้อที่แปดที่ว่า “สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา”)
และในตอนนั้นก็ได้วางความยึดดีวางความยึดมั่นถือมั่นบอกกับตัวเองว่าทำเต็มที่แล้วหาไม่เจอก็ไม่เป็นไรไม่หาแล้วส่งทั้งแบบนี้แหละ โดยใช้บททบทวนทำข้อที่ 78 “ ความสมบูรณ์หรือความสำเร็จของกิจกรรมการงานคือความลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์ ส่วนความสำเร็จของใจที่พ้นทุกข์ พ้นความยึดมั่นถือมั่นคือความจริง”
พอได้วางความยึดมั่นถือมั่นลง ใจก็คลายทุกข์ ความเบิกบานก็เข้ามาแทนที่ อาการมึนศีรษะก็หายไป
หลังจากได้วางความยึดมั่นถือมั่นลงก็มีวิบากดีเข้ามา โดยมีน้องที่อยู่ใน LINE ด้วยกัน ก๊อปปี้คำที่เขียนผิดมาให้ดู ถึงได้รู้ความจริง ว่าผิดอย่างไร ทั้งนี้เป็นเพราะระบบในโทรศัพท์ ที่เราไม่ได้พิมพ์ สระ วรรณยุกต์ ตามลำดับ แต่โทรศัพท์แปลผลเป็นถูก คือ พิมพ์ วรรณยุกต์ เอก ก่อนแล้วไปใส่สระ อือ ซึ่งคนอื่นจะเห็นเป็นจริงตามนี้ แต่ในระบบของเราจะเห็นเป็นสระอือ แล้ววรรณยุกต์ เอก เพราะฉะนั้นเราหาอย่างไรก็จะไม่เจอ
สรุป เมื่อเรามาใช้บททบทวนธรรมมาล้างกิเลสมาร ก็เกิดปัญญา ยินดีวางความยึดมั่นถือมั่นวางความติดดีลง ใจก็โล่ง โปร่งสบาย อาการทางกายที่มึนศีรษะก็หายไปวิบากดีก็เกิดขึ้น
เรื่อง ติดรสอาหาร
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาตั้งศีลรับประทานอาหารพลังพุธไม่ปรุงรส การปฏิบัติก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้างล้มก็ตั้งใหม่ จึงปรับเป็นทานอาหารงดเนื้อสัตว์และลดการปรุงทุกวันเสาร์ เมื่อวันเสาร์ก็เตรียมอาหารโดยไม่ปรุงรสไม่ใส่เนื้อสัตว์และนั่งทานร่วมกับลูกและสามีซึ่งทานอาหารปรุงรสและใส่เนื้อสัตว์
ทุกข์ : อยากรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงและงดเนื้อสัตว์ให้ได้
สมุทัย: เหตุแห่งทุกข์ชอบที่จะทานอาหารที่ไม่ปรุงและงดเนื้อสัตว์ชังที่ทำไม่ได้ตามที่ตั้งศีลไว้
นิโรธ:สภาพดับทุกข์ ทานอาหารด้วยใจที่ไม่ชอบไม่ชังในแต่ละมื้อ
มรรค:วิธีการดับทุกข์พิจารณาประโยชน์ของอาหารที่ไม่ปรุงที่มีต่อร่างกายช่วยลดโรคภัยไข้เจ็บร่างกายไม่ต้องทำงานหนักไม่มีพิษที่ต้องขับออกจากร่างกายทำให้
สบายเบากายมีกำลัง และพิจารณาขณะที่รับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับสามีซึ่งเป็นอาหารที่ปรุงรสและใส่เนื้อสัตว์ว่าเรายังมีความอยากหรือยึดติดในรสอาหารที่มีเนื้อสัตว์หรือไม่พิจารณาถึงโทษและพิษภัยที่เกิดจากการย่อยเนื้อสัตว์แล้วใจเราไม่เกิดความอยากทานเนื้อสัตว์ใจเราไม่ทุกข์ไม่กังวลหวั่นไหว ทำให้การทานอาหารในวันเสาร์ผ่านไปได้ตามที่ตั้งศีลด้วยใจที่เบิกบานร่างกายเบาสบาย
Comments are closed.