ห้องเรียนออนไลน์ ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 18 ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลาประมาณ 12:00 น. – 14:00 น.
ตรวจการบ้านวิชาอริยสัจ 4
1. เรื่อง : เพื่อนไม่ชอบให้เราเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดี ปลูกปัญญา พาพ้นทุกข์
จิราภรณ์ ทองคู่
เนื้อเรื่อง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ได้ไปทำงานร่วมกับเพื่อน และเพื่อนได้เล่าให้เราฟังว่ามีจิตอาสาท่านหนึ่งมาพูดกับเขาว่าไม่ชอบที่ป้าจิเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดีปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์และไม่ชอบที่จิตอาสาอีกท่านหนึ่งเข้าร่วมรายการฝ่าวิกฤติโควิด 19 พอเราได้ฟังก็บอกเพื่อนไปว่าเรา ๆ เราทำมาทั้งนั้น แต่เราก็ยังมีอาการขุ่นใจ จึงคิดว่าเรื่องนี้ควรเปิดเผยให้เพื่อนในกลุ่มหมู่มิตรดีช่วยในวันนี้ เพื่อฆ่ากิเลสที่มันมาทำให้เรามีอาการขุ่นใจ เมื่อเราไปขอความช่วยเหลือกับเพื่อน เพื่อนก็ยินดีและให้โอกาสเรา บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าการที่เราเจอผัสสะเช่นนี้เพราะถึงเวลาที่เราต้องเลื่อนฐาน จึงทำให้เขามาพูดเช่นนี้ บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าแม้แต่อาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ยังมีคนไม่ชอบเลยแล้วเราจะเหลืออะไร บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่ามันเป็นวิบากกรรมที่เราทำมาจึงต้องมารับในครั้งนี้ รับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดีขึ้น สำหรับท่านที่มาว่าเรา ก็เป็นวิบากใหม่ของท่าน บ้างก็แสดงความคิดเห็นว่าเหตุการณ์นี้ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 123 เจอผัสสะไม่ดีได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะได้ออกฤทธิ์มากขึ้น พอเราได้ฟังเพื่อนแต่ละท่านแสดงความคิดเห็น เราก็รู้ได้ทันทีว่า เราเป็นคนหนึ่งที่โชคดีมาก ๆ ที่ได้พบสัตบุรุษ ได้มาอยู่กับหมู่มิตรดี มีศีล เราขุ่นใจเพื่อนก็ช่วยให้เราคลายใจได้ จะไปหาที่ไหนได้อีกในโลกใบนี้นอกจากพวธ. ของเราเราควรขอบคุณเขาที่เขาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ออกมาซึ่งพฤติกรรมนี้เราเคยทำมาก่อน เราแสบสุด ๆ มันก็ต้องรับสุด ๆ เราสำนึกผิดอย่างสุดซึ้ง อาการขุ่นใจก็หายไปโดยไม่เหลืออะไร จิตใจก็เบิกบานแจ่มใส ไร้ทุกข์ ไร้กังวล
ทุกข์ เมื่อมีเพื่อนจิตอาสาท่านหนึ่งไม่ชอบให้เราเข้าร่วมรายการหมู่มิตรดี ปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์
สมุทัย ถ้าเพื่อนชอบให้เราเข้าร่วมรายการเราจะสุขใจ แต่ถ้าเพื่อนชังที่เราเข้าร่วมรายการเราจะทุกข์ใจ
นิโรธ เพื่อนจะชอบหรือชังเราก็สุขใจ
มรรค การเข้าหาหมู่มิตรดีดีที่สุดที่จะช่วยเราแก้ปัญหาได้ ทำให้เราเห็นแง่มุมต่าง ๆ ในการแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้อย่างแจ่มชัด ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 29 วิธีการ 5 ข้อ ในการแก้ปัญหาทุกปัญหาในโลกคือ 1. คบและเคารพมิตรดี 2. มีอริยศีล 3. ทำสมดุลร้อนเย็น 4. พึ่งตน 5. แบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ และข้อที่ 37 ปัญหาทั้งหมดในโลกเกิดจาก เรา…โง่…กว่ากิเลส เมื่อเราชัดเจนขึ้นความขุ่นใจก็หมดไปมีแต่ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ใจที่เบิกบานแจ่มใส ใจที่ยินดีพอใจกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. เรื่อง : โชคดีอีกแล้ว
พวงผกา โพธิ์กลาง (ทิพย์)
เนื้อเรื่อง มีจิตอาสาท่านหนึ่งที่เราศรัทธาเดินมาบอกให้ทำในแบบที่ท่านเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่กิเลสเราไม่ชอบเพราะรู้สึกว่าท่านกำลังให้สิ่งที่ดีแบบยึดมั่นถือมั่น
ทุกข์ มีความอยากให้ท่านวางความยึดมั่นถือมั่น
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ถ้าท่านวางควา ยึดมั่นถือมั่นเราชอบใจ แต่ถ้าท่านไม่วางความยึดมั่นถือมั่นเราทุกข์ใจ
นิโรธ ท่านจะวางหรือไม่วางความยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค พิจารณาเห็นความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น จึงวิราคะสละสละไปไม่พัวพันธ์ หมดอยากก็หมดทุกข์ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวเราของเรา มันไม่เที่ยง เป็นแค่มายากล ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งได ๆ สุดท้ายมันก็ดับไป
3.เรื่อง : จะตัดหรือจะต่ออะไรดีกว่ากัน
ชุติวรรณ แสงสำลี (ไหม)
เนื้อเรื่อง ขณะทำงานเห็นหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลง กลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม มีปัญหาในการเก็บข้อมูลไม่ได้ และเครื่องจะพังจึงตรวจสอบดูว่ามีข้อมูลอะไรกินพื้นที่มากก็เห็นว่ามีบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ใช้พื้นที่มากอยู่ จึงคิดตัดข้อมูลบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ บันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ออกจากคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
ทุกข์ :ไม่สบายใจต้องตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้มีหน่วยความจำที่เก็บบันทึกข้อมูลเหลือน้อยลง
สมุทัย : เพราะชอบอยากให้ได้ดั่งใจหมายให้เก็บบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ไว้ในคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลเหลือมากคงอยู่ไว้ จะได้ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างสบายใจ
ชังไม่อยากตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ถ้าไม่มีอยู่ หายไป จะไม่สบายใจ ไม่สุขใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : ชอบอยากให้ได้ดั่งใจหมายให้เก็บบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ไว้ในคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลเหลือน้อยอยู่ ใจก็ยินดีได้อย่างสบายใจ
ยินดีได้ถ้าต้องตัดบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกออกครั้งที่ ๑-๑๙ ถ้าไม่มีอยู่ หายไปดับไป ก็สบายใจ สุขใจได้
มรรค : เมื่อได้รับฟังธรรมะบรรยายจากอาจารย์หมอเขียว ในขณะที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์
เรื่องอินทริยภาวนาสูตร โดยย่อว่า
อินทรีย์ของพุทธะ การไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่ชอบ ไม่ชัง ได้ทุกผัสสะที่กระทบเข้ามา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทาง ทำใจ เป็นกลางให้ได้ทุกเหตุการณ์ เอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ ทำแต่ดีที่ทำได้ และก็เอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์
เข้าสู่อุเบกขาตัดในสิ่งที่ควรตัด ในสิ่งที่เป็นโทษ ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์
***หัวใจหลักมี ๓ ข้อ ***
๑.เข้าสู่ความเป็นกลางในทุกสิ่งทุกอย่าง
๒.เอาประโยชน์ได้ทุกอย่าง
๓.เข้าสู่ความเป็นกลางแล้ว จะตัดอะไรก็ตัดได้ เช่นตัดในสิ่งที่ควรตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ หรือว่าเอาประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ จะตัดสิ่งใดก็ได้ เห็นโทษสิ่งใดก็ได้ และจะต่อประโยชน์ได้ทุกเหตุการณ์ก็ได้
ดับด้วยวิราคะ คลายสุขลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์จริง ไม่มีสุขแล้ว ไม่ได้ดั่งใจหมาย สุขมันก็ดับ ทุกข์ก็ดับ เพราะเราไม่อยากได้ดั่งใจหมายแล้ว
เหตุการณ์ปัจจุบัน : เวลาเห็นเครื่องหมายเตือนแถบสีแดง ที่หน่วยความจำบันทึกข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์เหลือน้อยลงใจเป็นทุกข์ หวั่นไหวเล็กน้อย มีความกลัวว่าความจำคอมพิวเตอร์จะเต็ม มีปัญหาในการเก็บข้อมูลใหม่ไม่ได้ แต่เมื่อได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีบันทึกเสียงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑-๑๙ ใช้พื้นที่มากอยู่ จึงคิดตัดออกจากคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
กิเลส : บอกให้เก็บข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ก่อน ไม่อยากตัดออกไป ใจรู้สึกเสียดาย เก็บมา ๔ ปีแล้ว กิเลสอยากยึดไว้ บอกว่าเป็นของมีค่า เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์จะอุ่นใจและ เป็นสิ่งที่หายาก จะตัดออกหลายครั้งแล้วแต่ทำใจตัดออกไม่ได้สักที มั่วแต่เสียเวลายึกยัก ๆ ยอมเสียเวลาลบโฟลเด้อร์อื่นๆออก ที่ละอันๆมันเสียเวลา มันช้า ได้พื้นที่กลับคืนมานิดหน่อย ได้แค่นี้ก็พอแล้ว ยังอยากยึดอาเก็บข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ต่อได้อีกกิเลสมันสุขใจ ที่ยังไม่ตัดออก มันมากี่ทีก็แพ้ทุกที เลยรู้สึกใจเราก็ยังไม่โล่ง ไม่โปร่ง
พุทธะ:ล้างกิเลสทีละตัวทีละคู่กิเลสตัวนี้คือมีเนื้อที่หน่วยความจำเพิ่มขึ้นทำงานได้ดีกว่ามีเนื้อที่หน่วยความจำน้อยลง อะไรดีกว่า
พิจารณาถึงถ้ายังเก็บข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ไว้มันเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำนะ มันเป็นโทษมากว่า ทำให้หน่วยความจำมีปัญหาเก็บงานอื่นๆ ไม่ค่อยได้แล้ว เราต้องเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ได้มากกว่าในการบำเพ็ญ มันมากี่ทีก็แพ้ทุกที เลยรู้สึกใจเราก็ยังไม่โล่ง ไม่โปร่ง แต่ในวันนี้เข้าใจธรรมะที่อาจารย์บรรยายแล้วสิ่งที่ควรทำคือ
ต้องเลือกว่าอะไรดีกว่าอะไร จะต่อกิเลสหรือตัดกิเลส ถ้าตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออกไป มันไม่ได้หายไปไหนหรอกมันอยู่ในถังขยะ แล้วค่อยกู้คืนบันทึกความจำมาไว้ที่อุปกรณ์เสริมอย่างอื่นก็ได้และปัจจุบันก็สามารถค้นหาได้ในยูทูป เราฟังธรรมะในปัจจุบันและนำมาปฏิบัติจริงได้มากกว่าทีละเล็กทีละน้อย จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรมแบบลืมตา ได้รับผัสสะตรงๆนั่นแหละ คือสาระธรรมที่ได้เห็นกิเลส ไม่เสพกิเลส ลดกิเลส ล้างกิเลสได้ หงายของที่คว่ำ ณ ปัจจุบันขณะนั่นเอง ทำให้ใจผ่องใส ใจไม่ทุกข์ ดีกว่าเก็บข้อมูลไว้แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็เหมือผู้ปฏิบัติธรรมลูบๆคลำๆ แบบหลับตา หลงยึดมั่นถือมั่น แต่ก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติและใจก็เป็นทุกข์อยู่ทุกครั้งที่เห็นสัญญาณเตือนว่าหน่วยความจำบันทึกข้อมูลเหลือน้อยลง ทำให้เสียพื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำเปล่าๆ เห็นไหมๆ ข้อมูลมันถูกคว่ำไว้อยู่แบบนั้น ก็เป็นแค่วัตถุ ที่เราเก็บไว้มีประโยชน์น้อยนิดเท่านั้นเอง จึงเลือกที่ตัดบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ด้วยความสบายใจได้ทันที ยินดีที่จะตัดเพื่อต่อประโยชน์ที่ได้อาศัยมากกว่า ยินดีได้ล้างความยึดมั่นถือมั่นว่าสำคัญที่สะสมมานานเป็นวิบากร้าย เป็นตัวขัดขวางความผาสุกของชีวิตทุกชีวิตออกไปได้ ใจเราก็มีสุข ใจก็โปร่ง ก็โล่ง สบายๆ
สรุปพิจารณาตามคำกล่าวอาจารย์หมอเขียวปฏิบัติด้วยปัญญา
พิจารณาเห็นโทษของกิเลส ความไม่มีกลางไม่เป็นอุเบกขา มีอาการสุขปลอมทุกข์จริง ชอบชัง ว่าไม่ใช่สุขมันเป็นทุกข์จริง ยึดสิ่งที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ สะสมมาตั้ง ๔ ปี มันเป็นความหลง ยึดดี เสียประโยชน์แล้วยังไม่เห็น เห็นทุกข์แล้วยังยึดอยู่ จะตัดออกหลายครั้งแล้วแต่ก็ตัดใจตัดออกไม่ได้เป็นโทษเป็นภัยต่อการทำงาน ออกอาการหลายครั้งแล้ว ยังยึดเก็บไว้เป็นสุขใจให้ได้ดั่งใจหมายไว้อยู่
เมื่อพิจารณาประโยชน์ต้องตัดรอบได้แล้ว เอาฉันทะประโยชน์ของอนัตตา เวลาไม่มีสุขลวงทุกข์จริง ไม่มีกิเลส มันไม่เที่ยง จะได้รับประโยชน์มากกว่าเลยตัดเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ออกได้ทันที ไม่ลังเลอีกเลย เห็นอาการใจมีสุข ผ่องใส ไร้กังวล เบิกบานแจ่มใสทันที เข้าใจชัดความไม่มีสุขลวงทุกข์จริงแทรกอยู่ จะไม่มีวิบากร้าย ทำให้เรามีพฤติกรรมใหม่ทำดีได้มาก เป็นสภาพที่ดีที่ควรยึดอาศัย ทำสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งดีไหนอาศัยได้ เกิดผลได้เท่าไหร่ก็พอใจ ยินดีได้ ปล่อยวางสิ่งที่เป็นรูปภพอาสวะที่ยึดข้อมูลเสียงบันทึกค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่๑-๑๙ ไว้ในจิต ใจหวั่นไหว เอาลงยากเพราะมันสะสมกิเลสมานานได้ดั่งใจทุกครั้ง ที่ยังยึดไว้ได้เป็นสุขแรง แต่ตอนนี้เอากิเลสลงฉันทะในดีที่มีทุกข์สุขแทรกอยู่ ตัดออกได้สำเร็จแล้ว
ทำให้ใจบริสุทธิ์ผ่องใส โปร่ง โล่ง ทันที เรากำจัดกิเลสได้ อุเบกขาได้ และเห็นวิมุติของการหลุดพ้นที่ไม่มีกิเลส เป็นวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าสู่ยินดีอุเบกขาสู่ความพ้นทุกข์ได้ตัดในสิ่งที่ควรตัด ในสิ่งที่เป็นโทษ ณ เวลานั้น ต่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเอาประโยชน์ ณ เวลานั้นได้ทุกเหตุการณ์ เห็นวิบากดีที่ได้รับสภาพที่ดีจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้พื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้คืนมา ๘๐ กว่า GB จากที่เคยเหลือไม่ถึง ๑๐ GBทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเป็นสัปปายะในการบำเพ็ญงานได้อย่างราบรื่นต่อไป
4. เรื่อง : ตั้งศีลพูดน้อย
นางก้าน ไตรยสุทธิ์
เนื้อเรื่อง : อยากไป.ส.เรื่องของคนอื่นการตั้งศีล.กาย.วาจา.ใจ.จะพยายามไม่เบียดเบียนตัวเองคนอื่นสัวต์อื่น.เลยผิดศีลไป.ส.น้องคนหนึ่งเขาโมโหดาเราเจ็บมากเลย.เรา ๆ ก็แก้อะไรไม่ได้แล้วยอม ๆ พอทำโยคะเส็รจเลยไปขอโทษเขา ๆ ก็ไม่รับไหว้ ชังเขาอีก
ทุกข์ : เพราะฉันขอโทษแล้วนะเธอยังไม่ยกโทษอีก
สมุทัย : (เหตุแห่งทุกข์)
เราเคยทำมาแน่แต่ยังอยากได้คำขอโทษ เห็นว่าโง่ไม่เสร็จเคยด่าพ่อบ้านไม่ได้ดังใจด่าๆเขา.วิบากนัน้ำยืมเมือน้องมาทำให้เราทุกข์เขาก็มี.เราก็มีหนักเลย.คิดได้ว่ายังไม่ได้ขอโทษพ่อบ้านให้ถึงจิต.ยอมไม่จริงจึงต้องทำให่ม.อึ.ฮึ.ชัดมากยอมแล้วๆอัตตาสลาย.จะพยายาม.คิดก่อนพูด.ทุกข์ครั้งทำใหม่เริ่มเอาจริงพอแล้วทุกข์ยังไม่พออีกหรือ
นิโรธ(สภาพดับทุกข์)
ไม่ยุ่งคนอื่นทำตัวเอง.จำไว้ยอมที่เขาเป็นได้ไหม.ยอมให้เขาทำอย่างที่เขาอยากทำได้ไหม.เขาเป็นแบบไหนก็ไม่ทุกข์ใจ.เราเดินสายกลางล้างชอบ.ชังได้สุขใจทันที่
มรรค : (วิธีดับทุกข์)
สละๆไปไม่พัวพันโยนิมนสิการคิดแบบสัมมาทิฎฐิ.สุขลวง.ทุกข์จริง.ล้างชอบชังได้พลังสุดๆ.ผู้ที่เข้าใจและเชื่อ.และชัดเรื่องกรรม.อย่างแจ่มแจ้ง จะเอาทุกข์มาแต่ไหน
5.เรื่อง : ร้องเพลง
พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู) เพียรเย็นพุทธ
เนื้อเรื่อง : ปกติร้องเพลงไทยก็ว่ายากอยู่ แต่ก็เคยร้องค่ะแต่ไม่เพราะและไม่เคยให้ความสำคัญกับการร้องเพลงสรุปแล้วว่าเป็นคนไม่ชอบร้องเพลงแต่ถึงเวลาให้ร้องเพลงก็ร้องได้แต่ร้องไม่เพราะ เหมือนกับเราท่องบทอาขยานเลย แต่มา ณ วันนี้ต้องมาร้องเพลงภาษาอังกฤษ มันทำให้กดดันว่าจะร้องได้หรือไม่ได้ เมื่อถึงวันเสาร์ที่จะสอบนี้ค่ะ
ทุกข์ : ไม่แช่มชื่น ไม่เบิกบาน
สมุทัย : ใจไม่ชอบร้องเพลง เพราะร้องเพลงทีไรลิ้นก็แข็งพันกันทุกที ที่ไม่เป็นสำเนียงร้อง อดขำตัวเองไม่ได้ สนุกดี ยิ่งต้องมาร้องออกเสียงสำเนียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยแล้วยิ่งรู้สึกขำกลิ้งตัวเองค่ะ
นิโรธ : ร้องเพลงก็ได้ใจก็มีความสุข ไม่ร้องเพลงก็ได้ใจก็มีความสุข ไม่ทุกข์ที่จะร้องเพลง
มรรค : ยินดีร้องเพลงอย่างมีความสุข ไม่ร้องเพลงก็มีความสุข ไม่ชอบไม่ชัง ไม่กดดัน ในเหตุการณ์ที่จะเข้าห้องสอบร้องเพลงภาษาอังกฤษ พิจารณากดไตรลักษณ์ว่าการร้องเพลงก็ไม่เลวร้ายอะไร ก็เอาประโยชน์จากเขาให้ได้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จบจากนี้เราก็ได้ไปปฏิบัติบำเพ็ญตนเหมือนเดิม
โดนใจบททบทวนทำข้อที่ 4
“ต้องกล้าในการทำสิ่งดี ละอายเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่วชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้”
บททบทวนธรรมข้อที่ 149
“ความสุขแท้คือไม่ทุกข์ใจไม่ว่าจะเกิดอะไรในสถานการณ์ใด”
เจริญธรรมสำนึกดีมีใจไร้ทุกข์
6.เรื่อง : หวงของกิน
ศิริพร ไตรยสุทธิ์ (ก้อย)
ได้มีโอกาสไปร้านขายของชำเอเชีย ซึ่งไม่ได้ไปนานมากกว่า 1 ปีแล้ว ครั้งนี้มีสายบัวขายด้วย จึงได้ซื้อสายบัว มะเขือเปราะ และผักชีราว เพื่อจะนำมาทำแกงอ่อมสายบัวผักรวม (ใส่ผักกาดขาวเพิ่มอีก) ที่ไม่ได้กินมานานแล้ว เมื่อทำเสร็จก็ได้ให้ลูกชายและพ่อของเขาลองกิน ทั้งสองบอกว่า รสชาติดี จึงได้กินอาหารเย็นร่วมกันส่วนที่เหลือก็เก็บเข้าตู้เย็น
วันต่อมาช่วงเย็นที่เราพึ่งกินข้าวเสร็จ ลูกชายและพ่อของเขาได้แวะมาเอาของที่ลืมไว้ (ช่วงวันหยุด ลูกชายไปค้างบ้านพ่อ) เขาได้ถามเราว่า แกงสายบัวเมื่อวานยังมีอยู่ไหม เราก็ถามว่า ทำไมเหรอ อยากกินเหรอ เขาก็ตอบว่า ก็อร่อยดี ถ้ายังมีอยู่ก็จะขอกินอีก เราก็คิดในใจอยู่ครู่นึ่ง
ทุกข์ : กลัวอาหารจะหมด หวง อยากเก็บไว้กินเองคนเดียว เพราะนาน ๆ ทีจะได้กินแกงอ่อมสายบัวผักรวม
อาการทางกาย คิ้วขมวด มีอาการงงเล็กน้อยที่เขาอยากกินอีก
อาการทางใจ ใจเต้นแรงขึ้นเล็กน้อย
สมุทัย : ไม่อยากให้เขากิน ติดยึดกับของกินว่าเราจะได้กินอีกมื้อเป็นวันที่สาม
นิโรธ : แกงอ่อมจะเหลือไว้กินเองก็เป็นสุข ให้เขากินหมดก็เป็นสุขเช่นกัน
มรรค : ครั้งที่เราชวนเขากินแล้วเขาก็กินกับเราได้ เรามีความยินดี แต่พอเขามาถามกินเอง เรากลับเป็นทุกข์ ทำให้เห็นว่า คนเรานี้ก็แปลกดีเนอะ หวงสิ่งที่คิดว่าเป็นของของเรา ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งนั้น มันเป็นแค่ความรู้สึกนึกคิดของเราเอง เมื่อเห็นแบบนั้นก็บอกกับตัวเองว่า ยิ่งอยากเก็บไว้กินเองคนเดียวแบบนี้ กิเลสโตแน่ ๆ ได้ดั่งใจแน่ ๆ จึงตอบเขาไปว่า “อาหารยังมีอยู่ เธอจะกินมั้ย ฉันจะอุ่นให้” กิเลสความอยากได้ดั่งใจก็ลดลงไปทันที (ยังไม่หมดไปทีเดียว) ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และได้อุ่นแกงอ่อมสายบัวให้เขากิน แต่ก็ยังเหลือความรู้สึกที่ว่า เขาอาจจะกินไม่หมดก็ได้ อาจจะเหลือให้เรากินได้อีกมื้อ ผลปรากฏว่า เขากินหมดเกลี้ยงเลย พอเราเห็นแบบนั้นก็สามารถยิ้มด้วยใจที่เป็นสุขมากยิ่งขึ้น ในหัวมีบททบทวนที่ว่า เย่ เย่ ดีใจจัง ไม่ได้ดั่งใจ และบอกกับตัวเองต่อว่า ก็แค่แกงอ่อม ไว้ทำกินใหม่เมื่อไรก็ได้