การบ้าน อริยสัจ 4 (ุ12/2564) [31:49]

640321 การบ้าน อริยสัจ 4 (12/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 15-21 มีนาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปสัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้าน 31 ท่าน 49 เรื่อง

  1. จิรานันท์ จำปานวน (10)
  2. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
  3. savitree manovorn (3)
  4. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  5. เสาวรี หวังประเสริฐ
  6. นางพรรณทิวา เกตุกลม (3)
  7. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  8. นฤมล ยังแช่ม
  9. นปภา รัตนวงศา (3)
  10. นางสุมา ไชยช่วย (2)
  11. นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก
  12. น.ส จาริยา จันทร์ภักดี
  13. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)
  14. ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
  15. นางจิราภรณ์ ทองคู่
  16. ณ้ฐพร คงประเสริฐ
  17. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน (ก๊อบ สื่อศีล)
  18. มงคลวัฒน์ รัตนชล เพชรไพรพุทธ
  19. สาคร รอดรัตน์(ป้าหนุ่ย)
  20. ศิริพร คำวงษ์ศรี
  21. ขวัญจิต เฟื่องฟู (2)
  22. ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
  23. สมทรง นาคแสงทอง
  24. ปิ่น คำเพียงเพชร
  25. นางสาวนาลี วิไลสัก
  26. ชลิตา แลงค์
  27. นส.รจรินทร์ อักขะโคตร (กิ๊บ ขวัญชวนไพร)
  28. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  29. นส.พวงผกา​ โพธิ์กลาง​
  30. พรพิทย์ สามสี
  31. โยธกา รือเซ็นแบร์ก

Tags:

45 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (ุ12/2564) [31:49]”

  1. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ล็อคกุญแจ
    เหตุการณ์ : จะเอาข้าวที่หุงไว้แต่ทานไม่หมดไปฝากตู้เย็นบ้านพักใหญ่ เดินไปถึงก็จะเอาลูกกุญแจไปเปิดประตู แต่ดันเจอกิเลส

    ทุกข์ : ชังที่เพื่อนล็อคกุญแจสูงเปิดยาก

    สมุทัย : ชอบที่เพื่อนล็อคกุญแจต่ำเปิดง่าย ชังที่เพื่อนล็อคกุญแจสูงเปิดยาก

    นิโรธ : เพื่อนล็อคกุญแจสูงหรือต่ำ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจใจกันทำไม ชังการล็อคกุญแจของเพื่อน
    มาร : อีกแล้ว ล็อคกุญแจสูงอีกแล้ว
    เรา : จะขุ่นใจทำไม
    มาร : ก็เวลาที่เพื่อนล็อคกุญแจสูง มันเปิดยาก
    เรา : เปิดยากแล้วไง
    มาร : ก็รีบไง เอาไปฝากตู้เย็นเสร็จก็จะได้รีบออกมา
    เรา : อีกแล้วรีบตลอดเลยทำอะไรก็รีบไปหมด รีบแล้วพ้นทุกข์ไหม รีบแล้วร่างกายก็เกร็งตัว ไม่สบายตัว
    มาร : ตกลงไม่รีบแล้วก็ได้ แต่ทำไมเพื่อนยังล็อคกุญแจสูงๆ อยู่นะไม่รู้หรือไง ว่าเราเปิดยาก
    เรา : เธอไม่เคยทำอย่างนั้นเหรอ ตอนที่อยู่บ้านพักหลังใหญ่ เธอก็ล็อคสูงๆ อย่างนั้นเพื่อความปลอดภัยไม่ใช่เหรอ
    มาร : ใช่ๆ
    เรา : ตัวเองทำมาแท้ๆ ยังจะไปเพ่งโทษเพื่อนอีก โง่จริงๆ เลยไอ้กิเลส หาเหตุผลมาให้เราทุกข์ตลอดเลย ตรงกับบททบทวนธรรม ข้อ 46 เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา
    สรุป กิเลสเข้าใจไม่เพ่งโทษเพื่อนแล้ว ไม่ชอบไม่ชังเพื่อนล็อคกุญแจสูงหรือต่ำก็ได้ สาธุค่ะ

  2. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    ชื่อเรื่อง:ไม่มีอะไรเที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง
    เนื้อหา:แต่ก่อนที่ยังทำงานอยู่ในที่ทำงานที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เรายังไม่ได้ตระหนักเรื่องขยะเท่าไร
    เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่คนเยอะ ขยะจึงเยอะตามเป็นธรรมดา และตัวเองก็เป็นคนไม่ค่อยมีขยะในชีวิตมากนักเพราะฝึกการใช้ถุงผ้ามาก่อน(บำเพ็ญอยู่ที่ภูผามาปีกว่ามีขยะส่วนตัวไปทิ้งในถุงส่วนรวมแค่3-4ครั้ง)
    จนกลับมาอยู่บ้าน(ช่วงก่อนมาบำเพ็ญที่ภูผา)ได้มาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเรื่องขยะในครัวเรือนของตัวเอง ทำให้เห็นปัญหาเรื่องขยะว่าเป็นเรื่องน่าตกใจ เป็นสิ่งที่คนในโลกต้องตระหนัก เพราะเห็นว่าแค่ครอบครัวของเราที่มีคนอยู่ไม่กี่คนยังสร้างขยะในแต่ละวันได้มากมายขนาดนั้น(ที่มากสุดคือถุงพลาสติก)
    ทุกข์(The truth of suffering:รู้สึกตกใจ และเกิดความกลัว ไม่สบายใจ
    สมุทัย(the truth of cause of suffering):กลัวว่าขยะจะล้นโลกเพราะเกินกำลังที่มนุษย์จะกำจัดได้ กลัวทุกข์ โทษ ภัยที่จะเกิดขึ้นในโลก(มีกิเลสตัวกลัวจะเกิดสิ่งเลวร้ายในชีวิต)
    นิโรธ(the truth to end of suffering):จิตนิ่ง สงบลงได้เพราะพิจารณาและทำใจในใจว่าทุกอย่างย่อมเป็นไปตามธรรม เรามีหน้าที่คือทำดีที่ทำได้ให้ดีที่สุดและทำใจให้ไร้ทุกข์ให้ได้เท่านั้น
    มรรค(the truth of the path to end of suffering):ลงมือทำด้านรูปธรรมโดยเริ่มที่ตัวเองก่อนเลยคือลดการสร้างขยะด้วยการใช้ตระกร้าหรือถง(ถุงผ้า)ในการไปจ่ายตลาดและแนะนำให้คนในครอบครัวทำด้วย และนำถุงพลาสติกที่คนในครอบครัวยังซื้อเข้ามา(เวลาที่เราไม่ได้ไปซื้อของด้วย) นำกลับมาล้างและตากให้แห้งแล้วนำกลับมาใช้ใหม่และพยายามพูดให้เขาได้ยินบ่อยๆถึงโทษ ภัยจากการใช้ถุงพลาสติกแต่เขาก็ทำบ้างไม่ทำบ้าง(ซึ่งที่ทำคงเพราะเกรงใจที่เห็นเราต้องคอยนำถุงพลาสติกมาล้างทำความสะอาดโดยที่เราไม่เคยแสดงความไม่พอใจหรือบ่นเลย) เพราะคงเคยชินกับการใช้ถุงพลาสติกว่าง่ายกว่า สะดวกกว่า
    เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่คิดว่าเขาทำได้แค่นั้นก็ดีมากแล้วดีกว่าเขาไม่ทำเลย และเราก็ตั้งใจว่าจะทำเป็นตัวอย่างให้เขาดูไปเรื่อยๆแล้วกัน สำคัญว่าใจเราต้องไม่ทุกข์และต้องมั่นคงที่จะทำในสิ่งดีนั้น สิ่งที่ได้จากที่เราคิดอย่างนั้นอันดับแรกเลยคือใจเราไม่ทุกข์เพราะไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเขาจะเอาหรือไม่เอาสิ่งดีที่เราอยากให้เกิด ด้านจิตใจเราก็พิจารณาว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกเป็นไปตามธรรม เรากำหนดไม่ได้เพราะทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง โลกจะเกิด หรือโลกจะดับ จะเกิดความเดือดร้อน วุ่นวายแค่ไหนอย่างไรขึ้นในโลกเราก็คงได้แต่ทำใจยอมรับความจริงและทำใจให้พร้อมที่จะรับสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นทุกอย่างให้ได้ และคิดว่าเรามีหน้าที่ทำความดีที่ทำได้ตามกำลังความสามารถของเราให้ดีที่สุด และทำใจเราให้ไร้ทุกข์ในทุกสถานการณ์ให้ได้ ซึ่งเมื่อเราได้อ่านบททบทวนธรรมที่อาจารย์ได้เพิ่มขึ้นมาในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้มันตรงกับสภาวะที่เกิดในใจเราตอนนั้นได้ชัดที่สุดคือบทที่ว่า “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ มีแต่ใจที่ไม่มีทุกข์ของเราเท่านั้นที่เรากำหนดได้”

  3. savitree manovorn

    13  มีนาคม  2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง  ไม่ชอบต้นไม้ที่ไม่มีประโยชน์
            ที่บ้านมีต้นมะพร้าวภูเขาและต้นบังสูรย์ ที่เราไม่ชอบเลย  เพราะมีหนามแหลม กิ่งใบก็แผ่ออกด้านข้าง เปลืองพื้นที่ ดอกผลก็ไม่มี  หาประโยชน์อะไรไม่ได้  (กิเลสว่าอย่างนั้น)  แต่พ่อบ้านเขาชอบของเขา ก็เลยเป็นเหตุให้โต้เถึยงกับพ่อบ้านอยู่หลายครั้งเพราะเราอยากให้เขาตัดต้นไม้ 2 ต้นนั้นทิ้ง

    ทุกข์   ไม่ชอบต้นไม้ที่ไม่มีประโยชน์
        
    สมุทัย  ชอบ ต้นไม้ที่มี        ประโยชน์
    ชัง  ต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้ว ไม่มีประโยชน์อะไร

    นิโรธ  ต้นไม้ จะมีประโยชน์ หรือไม่มี  ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค
          วันนี้ได้เดินออกมานอกบ้าน เจอต้นไม้ 2 ต้นนี้ คำว่า ” ไม่ชอบ ไม่ชัง” เข้ามาในจิตทันที  จึงพิจารณาต่อ ว่าหนามต้นไม้พวกนี้ ไม่เคยทิ่มตำใครให้เจ็บปวด ถ้าไม่ไปเข้าใกล้ เขาก็มีประโยชน์ของเขา    แต่กิเลสเรา ที่ชอบ ชัง สิ่งต่าง ๆ จนไปบังคับคนอื่นให้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ  นี่แหละ  คือหนามที่แท้จริง คอยทิ่มแทงใจ ให้เจ็บปวด ให้ทุกข์  กิเลส ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่โทษ จริง ๆ แล้ว กิเลสนี่แหละที่เราต้องกำจัดออกไปก่อน ไม่ใช่ต้นไม้เหล่านั้น

          พิจารณาอย่างนี้แล้ว   ไม่มีความรู้สึกชิงชังต้นไม้ทั้ง 2  แต่กลับโล่ง สบายใจ ที่พบว่าปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน วันนี้ ได้พบต้นตอ และได้กำจัดมันออกไปได้แล้ว

    บททบทวนธรรมที่นำมาพิจารณา
    ข้อ  37  ปัญหาทั้งหมดในโลก  เกิดจาก  คน…โง่…กว่ากิเลส

  4. savitree manovorn

    14  มีนาคม  2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง  ขุ่นใจพ่อบ้าน
            3 ทุ่มกว่า ได้เดินผ่านไปในครัว ไม่พบมันญี่ปุ่น ที่ตั้งใจเก็บไว้ให้น้องกินพรุ่งนี้เช้า กังวลใจขึ้นมาทันที รีบเดินไปถามพ่อบ้าน พ่อบ้านบอกว่า กินไปแล้ว เพราะไม่รู้ ว่าเราจะเก็บไว้ให้น้อง  รู้คำตอบแล้ว ขุ่นใจพ่อบ้านขึ้นมาทันที

    ทุกข์   ขุ่นใจที่พ่อบ้านกินของที่เตรียมไว้ให้น้อง
        
    สมุทัย  ชอบ พ่อบ้านไม่กินของ ที่เตรียมไว้ให้น้อง
         
    ชัง  พ่อบ้านกินของ ที่เตรียมไว้ให้น้องเสียแล้ว

    นิโรธ  พ่อบ้านจะกิน หรือไม่ กินของที่เตรียมไว้ให้น้อง   ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค
          กิเลส มันขุ่นเคืองว่า พ่อบ้านไปกินของที่น้องเราชอบ และเราได้เตรียมไว้ให้น้องกินตอนพรุ่งนี้เช้า  อย่างอื่นก็มี ทำไมไม่ไปกิน
          คุยกับกิเลสว่า 
         1. ก็พ่อบ้านเขาไม่รู้ ถ้ารู้เขาก็ไม่กินอยู่แล้ว  ที่ผ่านมา อะไรที่เป็นของเขา แล้วเราไปเอามากินมาใช้ เราไม่ได้ขออนุญาต ก็ไม่เคยเห็นเขาโกรธหรือว่าอะไรขนาดนี้
         2. พรุ่งนี้เช้า หาของอื่นให้น้องกินแทนก็ได้   ถ้าน้องรู้ว่า เราขุ่นเคืองพ่อบ้านด้วยเรื่องนี้ ก็คงไม่สบายใจ คนอื่นเขาไม่ได้เรื่องมากเหมือนแกหรอกนะกิเลส  ดู ๆ แล้วทั้งบ้าน แกนี่แหละเรื่องเยอะสุด
          3. เขากินมันได้  ก็ดีมากแล้ว เรายึดว่าต้องให้ใคร ข้อมูลต่างกัน พ่อบ้านเขาได้กินมันก็น่าจะยินดี มากแล้ว ดีกว่าเขาไปกินสัตว์ พุทธะ คือให้แล้วไม่คิดจะเอาอะไรจากใครให้ได้ นี่เรายึดจะแบ่งปันเจาะจง มันเสียหายมากรึที่พ่อบ้านกินมันเนี่ย  ขุดกืเลสเราออกมาอีกต่างหาก เราก็เคยไปหยิบของเขามากินไม่ขอ  ได้เห็นกิเลส ชดใช้วิบาก พ่อบ้านก็อิ่มท้อง กิเลสก็ตาย มีแต่ประโยชน์ทั้งนั้นเลย     
     
          พิจารณาอย่างนี้แล้ว   ความขุ่นเคืองได้ลดลงทันที และได้ตั้งจิตสำนึกผิด ขอโทษ   พ่อบ้าน

    บททบทวนธรรมที่นำมาพิจารณา
    ข้อ  83 ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิด ความพร่อง ความพลาด ความทุกข์ 

  5. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้าน อริยสัจ
    เรื่อง. เสียงแซรกดังกิเลสกระจาย
    เนื้อเรื่อง. เข้าฟังธรรมะในไลน์กลุ่มของทะเลธรรมที่ท่านสมณะเมตตามาย่อยธรรมะทุกวัน แล้วประมาณสองวันที่ผ่านมา กดเข้าไปฟังแล้วมีเสียงแซรกมาจากน้องจิตอาสาท่านนึงเสียงดังมากจนรบกวนการฟังของพี่น้องท่านอื่น จนมีพี่น้องอีกท่านส่งข้อความมาบอกน้องว่าเปิดไมล์อยู่เสียงดังมาก แต่น้องท่านนั้นไม่รู้ จึงตัดสินใจโทรไลน์ไปบอกน้อง สำหรับตัวเองไม่ได้รู้สึกเป็นผัสสะตรงนั้นเพราะเสียงที่ดังมาแซรกคือเป็นเสียงอาจารย์ ถือว่าโชคดีได้ฟังทั้งธรรมะจากท่านสมณะและอาจารย์ในเวลาเดียวกัน แต่สำหรับพี่น้องท่านอื่นกลับไปรบกวนเค้ารึเปล่า
    และคนที่ทำเสียงรบกวนนั้นเป็นน้องเราเอง
    ทุกข์. ทุกข์กลัวพี่น้องท่านอื่นจะเพ่งโทษน้อง
    สมุทัย.ชอบที่พี่น้องท่านอื่นจะไม่เพ่งโทษน้องไม่ชอบที่น้องตัวเองจะถูกเพ่งโทษ
    นิโรธ. วางใจผู้อื่นคนอื่นจะเพ่งโทษน้องหรือไม่เพ่งโทษน้องก็ไม่ทุกข์ไม่กังวลไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค.ตั้งศีลมาล้างกิเลส ล้างความกลัว ความชอบชังความหลงยึดมั่นถือมั่นในจิตวิญญาณที่เราหลงสะสมมา เมื่อเกิดผัสสะก็เลยได้เห็นทุกข์เห็นกิเลส มีความกลัวเกิดขึ้นมา ก็เลยมาพิจจารณาว่าความกลัวที่เกิดขึ้นมาคือกิเลสมันคือความลวง
    ความลวง :ความคิดของกิเลสเมื่อได้ยินเสียงเปิดขึ้นมาแล้วไม่ได้ปิดเสียงเสียงดังไปรบกวนท่านอื่นก็เกิดความกลัว กลัวเค้าจะไม่เข้าใจกลัวเค้าจะเพ่งโทษน้อง พอคิดแบบนั้นปุ๊บ ผลของมันคือไม่สบายใจทำให้ทุกข์ใจ
    ความจริง: เมื่อความไม่สบายใจแปลว่าคิดผิด ก็คิดใหม่ ใครจะมองจะคิดอย่างไร เค้าจะเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจผิดก็เป็นกุศลอกุศลของบุคคลนั้นๆน้องจะโดนเพ่งโทษ ก็เป็นวิบากของน้อง น้องได้รับแล้วก็หมดไปก็จะโชคดีขึ้น และเราก็ไม่ทุกข์ใจสบายใจให้ได้ และอีกส่วนหนึ่งคือ วิบากกรรม วิบากกรรมที่เราเคยพลาดทำอย่างนั้นมา เคยทำให้พี่น้องหรือคนอื่นที่เรารักเราเราผูกพันธ์ ให้เค้าเป็นห่วงมาก่อนเราจึงได้รับวิบาก เราก็ยินดีและเต็มใจยอมรับวิบากกรรม รับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดีขึ้น ส่วนคนอื่นก็เช่นกันใครจะได้รับสิ่งใดก็เป็นวิบากกรรมเค้า และการที่เรามาทำสิ่งดีร่วมกัน ได้มาฟังธรรม ทำเหตุแห่งวิมุต5 ร่วมกัน ก็จะได้เห็นว่าใครยังมีส่วนเหลืออยู่ใหม ใครมีส่วนเหลืออะไรแค่ไหนอย่างไรก็ได้ล้างส่วนนั้นของแต่ละท่านไป
    และเราก็ตั้งศีลปฏิบัติดีทำความดีตามฐานของตนเองเท่าที่ทำได้
    ได้พิจารณาตรวจความต่างจากเมื่อก่อนกับตอนนี้ว่าความกลัวในเรื่องแบบนี้ว่าเบาลงเยอะมากค่ะ สามารถวางใจลดความกังวลลงได้เยอะค่ะ

  6. เสาวรี หวังประเสริฐ

    เรื่อง อาหารสมดุลร้อนเย็น
    ทุกข์ :อยากรับประทานอาหารที่สมดุล
    สมุทัย:เหตุแห่งทุกข์ยึดมั่นในการรับประทานอาหารสมดุลร้อนเย็นชอบถ้าได้ทานอาหารสมดุลร้อนเย็นชังที่ทานอาหารไม่สมดุล
    นิโรธ:สภาพดับทุกข์ไม่ชอบไม่ชังที่ทานอาหารสมดุลร้อนเย็น ทานอาหารที่จัดหามาได้ด้วยใจไร้ทุกข์ไร้ความกังวลหวั่นไหว
    มรรค:พิจารณาอาหารที่จัดเตรียมไว้รับประทานว่าสิ่งใดควรรับประทานดูจากประโยชน์ที่จะเกิดกับร่างกายในช่วงเวลานั้นและตัดความกังวลเมื่อทานไปแล้วเกิดอาการไม่สมดุลในร่างกายก็พิจารณาแก้ไขวางใจและทบทวนธรรมบทที่ว่า”คนที่แพ้ไม่ได้พลาดไม่ได้พร่องไม่ได้ทุกข์ตายเลย โง่ที่สุด คนที่แพ้ก็ได้ชนะก็ได้พลาดก็ได้ไม่พลาดก็ได้พร่องก็ได้ไม่พร่องก็ได้สบายใจจริงฉลาดที่สุด”พิจารณาซ้ำๆช่วยให้ลดความยึดมั่นถือมั่นในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อทานอาหารได้ด้วยใจที่เป็นสุขไร้ทุกข์ไร้กังวล

  7. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ส่งหรือไม่ส่ง
    เหตุการณ์ : นึกถึงนิทานชาดก เรื่อง วารินทชาดก เข้ากับสภาวะที่พี่ท่านสอน ก็เลยพิมพ์ไว้ แต่พิมพ์เสร็จปุ๊บมารก็มาปั๊บเลย

    ทุกข์ : ลังเลใจจะส่งหรือไม่ส่งให้หมู่อ่าน

    สมุทัย : ชอบถ้าไม่ส่งนิทานชาดกสู้กิเลสให้หมู่อ่าน ชังถ้าส่งนิทานชาดกสู้กิเลสให้หมู่อ่าน

    นิโรธ : ส่งนิทานชาดกสู้กิเลสให้หมู่อ่านหรือไม่ส่ง ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจใจ ทำไมต้องลังเลใจด้วย
    มาร : ไม่ต้องส่งให้หมู่อ่านหรอก
    เรา : เพราะอะไรถึงไม่ส่งให้หมู่อ่านล่ะ
    มาร : อายหมู่
    เรา : อีกแล้ว คำนี้อีกแล้ว คำนี้แหละที่พาซวยมาตลอดเลย พาทุกข์ตลอดเลย จะอายไปถึงให้ คิดได้แค่นี้เหรอมาร เอะอะอะไรก็องก็อาย มิน่าหล่ะ คิดแบบเธอทีไรฉันทุกข์ทุกที ฉันซวยทุกที เคยฟังบททบทวนธรรมข้อ 4 ไหม
    มาร : อาจจะเคย แต่จำไม่ได้
    เรา : งั้นฟังนะ บททบทวนธรรมข้อ 4 ต้องกล้าในการทำสิ่งดี ละอายและเกรงกลัว ในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้ การที่ส่งนิทานชาดกให้หมู่อ่านเป็นสิ่งดีใช่ไหม ถ้าใช่เรามาส่งนิทานชาดกให้หมู่อ่านกัน
    มาร : ใช่ เป็นสิ่งดี
    เรา : ตกลงส่งนิทานชาดกให้หมู่อ่านอย่างสบายใจ
    สรุปมารตัวอายนี้มันมาหรอกเราตลอดเวลาเลย ทุกครั้งจะเห็นมันแต่ไม่จับมัน พอรู้ตัวอีกทีกิเลสโตมันก็มาลากเราออกจากหมู่ แต่ครั้งนี้เห็นมันปุ๊บจับมันปั๊บเลย สาธุค่ะ

  8. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง โถปั่นหลุด
    เหตุการณ์ : ทำอาหารปั่น พอจะปั่นรอบที่ 2 โถปั่นไม่เข้าล็อคสักที เราก็เลยหมุนไปหมุนมาให้ตรงล็อค แต่โถปั่นดันหลุดจากฐานโถปั่น ทำให้ข้าวกับผักต้มหกใส่ตัวเครื่อง กิเลสก็มาบ่นเลยทีนี้

    ทุกข์ : ชังที่โถปั่นหลุดจากฐานโถปั่น

    สมุทัย : ชอบที่โถปั่นไม่หลุดจากฐานโถปั่น ชังที่โถปั่นหลุดจากฐานโถปั่น

    นิโรธ : โถปั่นหลุดจากฐานโถปั่นไปแล้ว ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจดูใจที่ขุ่นๆ กิเลสมันมาบ่นอะไรเอ่ย
    มาร : เห็นไหมบอกแล้วว่า อย่าทำอาหารปั่น
    เรา : ทำไมเหรอถึงจะทำไม่ได้
    มาร : ก็มันยุ่งยากไง แค่ปั่นโถปั่นก็หลุดจากฐาน ข้าวกับผักต้มก็หก ต้องเสียเวลามาเก็บ มาเช็ดออกอีก
    เรา : ไม่ยุ่งยากเลยสักนิด ที่ยุ่งยากก็คือเธอ ไม่ได้เสียเวลาเลย คุ้มสุดคุ้มที่ได้เก็บ ที่ได้เช็ดกิเลสออกจากใจต่างหากล่ะ
    มาร : อ้าว ฉันเหรอที่หกเลอะเทอะ ยุ่งยาก เสียเวลา ให้เก็บให้เช็ด
    เรา : ก็ใช่นะสิ พึ่งจะรู้เหรอ นึกออกแล้วเคยไปเพ่งโทษแม่มา ว่าหมุนยังไงถึงได้หลุด ทีนี้เจอกับตัวเองแล้ว ตรงกับบททบทวนธรรมข้อ 8 สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
    สรุป ทำอาหารปั่นต่อไปอย่างเบิกบาน สาธุค่ะ

  9. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง ท้อแต่ไม่ถอย

    ช่วงนี้อยู่คนเดียว ต้องพึ่งตนหลายอย่างผ่านได้ด้วยดี พอถึงคิวฉีดน้ำหมักไล่แมลง ซึ่งต้องใช้ถังฉีดแบบสะพายหลังโดยใช้มือขวาฉีด มือซ้ายโยกและต้องทำพร้อมๆกัน ขณะโยกฝืดมากต้องใช้มือทั้งสองช่วยกันโยกยังเมื่อยจนแขนล้า

    ทุกข์ : รู้สึก ท้อแท้ ที่ถังฉีดโยกยาก

    สมุทัย : ชอบ ถังฉีดที่โยกง่ายๆ พอถังฉีดโยกยากจึงไม่ชอบ

    นิโรธ : ถังฉีดจะโยกง่ายหรือยาก ใจไร้ทุกข์ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : พอรู้ตัวว่ามารมาชวนให้ท้อแท้ ตั้งสติแล้วปรับใจให้เป็นพุทธะทันทีด้วยบททบทวนธรรมข้อ135 ที่ว่า”โลกนี้มีสิ่งดีให้เราได้อาศัย มีอุปสรรคให้เราได้ฝึกฝน มีอุปสรรคให้เราได้ใช้วิบาก มีอุปสรรคให้เราได้ล้างกิเลส” แล้วเราจะท้อแท้ทำไม ต้องสู้สิ เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้ฝึกฝนการอยู่แบบพึ่งตน ได้เรียนรู้อุปสรรคแล้วแก้ด้วยการใช้บัวรดน้ำหมักแทน ได้ใช้วิบากเพราะเราเคยสนใจที่จะเรียนรู้วิธีการใช้ถังฉีดเลยและที่สำคัญได้ล้างกิเลสคืออาการท้อแท้ในใจออกได้จนเบาใจ เบิกบาน แจ่มใส

  10. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ไม่ได้อุปกรณ์ตามวันที่คาดไว้
    เหตุการณ์ : มีพี่ที่ทำงานอาสาจะไปซื้ออุปกรณ์ให้ตั้งแต่วันศุกร์ บอกเราว่า วันจันทร์ก็ได้อุปกรณ์แล้ว พอมาถึงวันจันทร์พี่ท่านนั้นก็เดินมาบอกว่า เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านพี่ไม่ว่างเลยไม่ได้ไปซื้อให้ แต่พี่จะไปซื้อให้เย็นวันอังคารนะ

    ทุกข์ : อึดอัดใจที่ไม่ได้อุปกรณ์ตามวันที่คาดไว้

    สมุทัย : ชอบที่ได้อุปกรณ์ตามวันที่คาดไว้ ชังที่ไม่ได้อุปกรณ์ตามวันที่คาดไว้

    นิโรธ : ได้อุปกรณ์ตามวันที่คาดไว้ หรือไม่ได้อุปกรณ์ตามวันที่คาดไว้ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจดูใจกันทำไมมันรู้สึกผิดหวัง
    มาร : ก็ผิดหวังนะสิ คาดไว้แล้วว่าจะต้องได้อุปกรณ์ มาทำให้เสร็จก่อนวันจัดกิจกรรม
    เรา : นั่น ยึดอีกแล้วว่างานต้องสำเร็จตามที่มุ่งหมาย ยังไม่เข็ดอีกเหรอ ยึดทีไรใจก็ทุกข์ทุกที ร่างกายก็เกร็งตัวดันพิษออก
    มาร : ก็รับปากกับเราอย่างดี
    เรา : แสดงว่าเธอยังไม่เชื่อชัดเรื่องวิบากกรรมสินะ ไปเพ่งโทษคนอื่นอยู่ได้
    มาร : จะให้เชื่อได้อย่างไรล่ะ พี่คนนี้ก็เป็นแบบนี้ตลอด
    เรา : โอ๊ย ไปผิดทางแล้ว ที่เพ่งโทษไปใครทุกข์ ใครต้องรับวิบากร้าย เราเองไม่ใช่หรอ เพ่งโทษแล้วมันดีไหมล่ะ มันพ้นทุกข์ไหมล่ะ
    มาร : ไม่พ้นทุกข์เลย มีแต่ก่อวิบากเพิ่ม
    เรา : ดีแค่ไหนแล้วที่พี่เขาเอาภาระช่วยเหลืองานเรา ที่สำคัญงัดกิเลสมาเห็นด้วยเจ๋งไหมล่ะ
    มาร : ถ้าตัดสินใจไปซื้ออุปกรณ์เองตั้งแต่วันศุกร์ ป่านนี้งานก็คงเสร็จแล้ว
    เรา : งานจะสำเร็จดั่งใจตามที่คาดไว้หรือไม่ก็ได้ สบายใจได้หมด ตรงกับบททบทวนธรรม ข้อ 139 งานล้มเหลว
    หรือสลายแล้วอัตตาสลายได้ก็คุ้มเกินคุ้ม
    สรุปสบายใจ อุปกรณ์จะมาวันไหนก็ได้ จะทำทันก่อนวันจัดกิจกรรมหรือไม่ทันก็ได้ เพราะได้เห็นกิเลสตัวนี้จับมันทันก็คุ้มเกินคุ้มแล้ว สาธุค่ะ

  11. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง จะเอางานนอก หรือ งานใน

    ช่วงนี้ มีงานที่ให้ตัวเองได้เลือกที่จะบำเพ็ญเยอะมาก อยากจะบำเพ็ญหลายฐานงานเหมือนกัน แต่พอมาพิจารณาดู เวลา ความสามารถ และ ความเหมาะสมหลายอย่าง จึงเลือกที่จะบำเพ็ญ อยู่ 4 หน้างานหลัก ๆ ไม่รวมฐานงานที่เร่งด่วน หรือ งานจรที่เข้ามา เหมือนตัวเองจะบำเพ็ญเยอะหรือก็ไม่ใช่ เหมือนกับว่าช่วงนี้กำลังศึกษากับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองต้องเกี่ยวข้องในงานด้วย ทำให้งานบางชิ้นต้องเสียเวลาอยู่เกือบ 2 ชั่วโมง หรือเป็นวัน แต่พอได้เรียนรู้เทคนิคเหล่านั้นแล้ว ก็ทำให้ตัวเองทำงานได้เร็วและเป็นระบบยิ่งขึ้น

    ทุกข์ : โลภมากอยากให้งานสำเร็จทันเวลา

    สมุทัย : อยากให้งานเสร็จทันในเวลานั้น ๆ ชอบที่งานจะเสร็จทันเวลา จะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นต่อ ไม่ชอบที่งานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

    นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชัง หากงานที่วางไว้จะไม่เป็นไปตามนั้น ตัวเองก็จะเบิกบานได้

    มรรค : ท่านอาจารย์หมอเขียวบอกว่า “ความสำเร็จของงานคือความสำเร็จของใจ” ใจเราต่างหากที่ไม่ควรจะทุกข์ เลยมาพิจารณาดูว่าถ้าตัวเองทุ่มเทในการทำงานทุกอย่างเต็มที่ สุดความสามารถแล้วจริงแล้วงานนั้นไม่สำเร็จ นั่นละคือ ตัวเองต้องวางงานนั้นทันที เพราะเวลางานไม่ได้ตามที่ต้องการใจก็จะรุ่ม ๆ และเต้นเร็ว เลยได้คำตอบให้ตัวเองแล้วค่ะว่า เท่าที่บำเพ็ญงานอยู่ ณ ตอนนี้ตัวเองก็ถือว่าทำเต็มที่แล้ว ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นและจะหมั่นดูใจขณะทำงานเป็นหลัก ไม่โลภมากในงานและไม่เบียดเบียนตัวเอง พอคิดได้เช่นนี้ใจก็เบาสบายจะขอบำเพ็ญงานต่อไปด้วยใจที่เบิกบานทั้งงานนอกงานในก็จะขอทำไปพร้อม ๆ กันค่ะ สาธุ

  12. นฤมล ยังแช่ม

    ปรารถนาดีที่ผิดศีล

    เมื่่อวานไปเก็บลูกม่อนจากบ้านอาจารย์ที่ท่านเกษียรณอายุแล้ว ปลูกผลไม้ไว้หลายชนิด ่ท่านอนุญาติให้ไปเก็บมากินได้ เก็บลูกม่อนได้เยอะ วันนี้ก็เลยปั่นน้ำผลไม้ให้แม่กินดีกว่า พอให้แม่กิน แม่ก็กินคำ สองคำ แล้วแม่ก็เดินไปโน้นมานี่ ไม่ตั้งใจกินให้หมด สังเกตได้ว่ามันมีอาการขุ่นๆ ในใจ แล้วก็เดินไปบอกแม่ว่า แม่กินนะมีประโยชน์ พร้อมกับค้นน้ำปั่นในถ้วยให้แม่ด้วย แต่แม่ดูไม่สนใจกับคำเชิญชวนของเรา อาการของความไม่พอใจเพิ่มขึ้น จึงเดินไปหาถ้วยนั้นพร้อมกับมีความคิดในใจว่าเอาไปให้คนที่เขาอยากจะกินดีกว่า แม่ไม่อยากกินก็อย่าไปบังคับให้ท่านกิน รู้สึกได้ถึงอาการของกิเลสที่ทำให้ใจไม่ปกติ มีความไม่พอใจเกิดขึ้นจนสามารถจับอาการ และยังปรุงในใจอีกว่าท่านยังไม่เห็นประโยชน์ ท่านก็กินของที่พิษไปก่อน ล้างจานไปด้วยอธิบายให้กิเลสตัวที่ปรารถนาดีแต่ผิดศีลฟังไปด้วย รู้สึกว่าอาการไม่พอใจค่อยๆ จางลง แต่ยังไม่หมด แล้วก็ไปปอกมะละกอให้แม่กิน พร้อมกับแช่นมถั่วเหลือใส่ในตู้เย็นไว้ให้แม่กินอีก 1 กล่อง ก่อนมาทำงาน รู้สึกว่าอาการไม่พอใจค่อยๆจางลงไปเรื่่อยๆ

    ทุกข์ : ไม่พอใจที่แม่ไม่กินน้ำปั่นผลไม้ที่เราทำ

    สมุทัย : อยากให้แม่กินน้ำปั่นผลไม้เพราะดีมีประโยชน์ พอแม่กินของมีประโยชน์(ที่เราคิดเอง)ก็ไม่พอใจ

    นิโรธ : แม่จะกินน้ำปั่นผลไม้หรือไม่กินก็ได้ เราก็สุขใจได้ทั้งสองอย่าง

    มรรค : เห็นอาการไม่พอใจที่เกิดขึ้น มันทำให้เราเป็นทุกข์ใจ ทุกข์กาย ด้วย เห็นได้ว่าความปรถานาดี (ที่่เราคิดไปเองคนเดียว) เป็นความปราถนาดีที่ผิดศีลคือเบียดเบียนตัวเองก่อน เพราะคิดว่าสิ่งที่ตนเองทำเป็นสิ่งที่ดี แล้วก็ไปเบียดเบียนจิตวิญญาณแม่ต่อคือมีความยึดมั่นถือมั่นและมีเงื่อนไขที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ว่าแม่ต้องกินน้ำปั่นผลไม้นะ ถ้าท่านไม่กินเราก็ทุกข์คืออาการไม่พอใจ เป็นการทำดีที่ผิดศีล ท่านจะกินหรือไม่ก็ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของเราและแม่ ต้องเป็นคนยุติธรรมเชื่อในวิบากดีร้าย ถ้าได้ดีตอนนี้อาจจะเป็นดีที่ส่งผลเสียกับเราและแม่ได้ เราไม่ต้องห่วงใคร เพราะทุกคนในโลกนี้ก็จะพ้นทุกข์อยู่แล้ว เมื่อเขาทุกข์จนเกินทนก็จะมาทำแบบเรานี้แหละ นับ 1 ที่เรา เริ่มต้นที่เรา ทำที่เรานี้แหละ

  13. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง เสียดายอาหารหรือกิเลส
    ตอนนี้รับประทานอาหารปั่น ที่บ้าน และบ้านน้องชายมีผักโขม และผักอื่นๆเริ่มรับประทานได้ จึงได้ผักเพิ่มขึ้น จำนวนผักสด ผักลวก และข้าวที่ใช้ปั่นจึงมีปริมาณมากขึ้น หลังจากปรับสมุนไพรร้อนเย็นมา 2-3วัน ก็เริ่มจะปรับสมดุลย์ได้ถูกตรงขึ้นจะเอาจำนวนแต่ละอย่างปริมาณเท่าไหร่ รดชาดจึงไม่เป็นปัญหาอีก จำนวนผักปั่นจึงมีมากเกินจนกินไม่หมด ก็พยายามที่จะกิน กิน กินลงไป

    ทุกข์ เสียดายอาหาร ไม่อยากทิ้ง

    สมุทัย ชอบที่จะกินอาหารหมด ชังที่จะกินอาหารไม่หมด

    นิโรธ จะกินอาหารหมดหรือไม่หมดก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง
    ตามกฏไตรลักษณ์ วิปลาส4 คนเรานี้เอาทุกข์เข้าตัวเองได้ตลอดเวลาจริงๆ ร่างกายบอกแล้วปริมาณแค่นี้เหมาะสมแล้ว รับเข้าไปอีกอาการมันไม่ค่อยดี ไม่สบาย มันแน่นไป ต้านๆแล้วยังจะยัดเข้าไปอีก เสียดาย ๆ ไม่เชื่อร่างกายไปเชื่อหัวไอ้เรือง โง่จริงๆเบียดเบียนร่างกายทั้งตัวเองทั้งผู้อื่น แล้วยังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก ทำให้โรคมากและอายุสั้น อาจารย์ท่านบอกว่าตัดรอบไปบ้างก็ได้ เอาไปทำปุ๋ยบ้าง ให้มดให้แมงกินบ้างก็ได้ เลิกเบียดเบียนตัวเองเสียทีเถอะ และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่คนอื่นด้วย ก็ตัดรอบเอาไปทำปุ๋ยใช้ประโยชน์ต่อไป ทิ้งอาหารไปด้วยใจที่เป็นสุข ร่างกายก็อิ่มสบาย อิ่มนาน
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ 154 หมอที่ดีที่สุดในโลกคือ ตัวเราเอง
    สรุป อิ่มสบาย แรงเต็ม เบากาย มีกำลังเป็นอยู่ผาสุก ไม่ใช่อิ่มแทบตาย…สาธุ

  14. นางสุมา ไชยช่วย

    เรื่อง พูดไม่หยุดสักที

    เหตุการณ์ กำลังคุยกับพ่อบ้านอยู่ๆ พ่อบ้านก็พูดถึงคนที่ทำงาน เราก็ผสมโรงไปด้วยสองสามประโยคก็นึกขึ้นได้ว่าเราตั้งศีลจะไม่เสือกเรื่องชาวบ้าน และกำลังฟังธรรมะอาจารย์อยู่

    ทุกข์ พ่อบ้านพูดมากไม่หยุดสักที

    สมุทัย ชอบถ้าพ่อบ้านพูดแต่พอดี ชังพ่อบ้านพูดมาก

    นิโรธ พ่อบ้านจะพูดมากหรือพูดพอดีก็ไม่ชังไม่ชอบ

    มรรค รู้ว่าพลาดก็เลยตั้งจิตขอโทษขออโหสิกรรม เราจะไม่ทำอีก พ่อบ้านก็ยังพูดอีก เราก็เงบหน้ามองพ่อบ้าน โอ้โหลีลาเราเลยนี่หว่า มันขำขึ้นมาทันทีเลย แล้วรู้สึกโล่งใจ รับอีกแล้วหมดอีกแล้ว พ่อบ้านก็ยังพูดไม่หยุด เราก็ฟังธรรมะไม้รู้เรื่อง เสียงพ่อบ้านกลบหมด เอ๊ะแล้วเราจะฟังพ่อบ้านทำไมฟังแล้วทุกข์ เลยโอนใจไปฟังธรรมะอาจารย์แทน ปรากฏว่าลืมเสียงพ่อบ้านไปเลย
    ใช้บททวนธรรมที่25
    เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่อวร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาให้เราได้ชดใช้ ให้เร่าไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
    บททบทวนธรรม75
    ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้
    พิจารณาแล้วใจก็โล่งสบาย

  15. นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก

    16 มีนาคม 2564
    ชื่อ นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก ชื่อเล่น ป้าแต๋ว
    ชื่อทางธรรม เกษตรศิลป์
    จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง ไม่อยากเป็นคนผิดศีล
    หลายเดือนมาแล้ว กินอาหารมื้อเดียวอย่างตั้งใจ รู้สึกตัวว่าเบาสบายดีทั้งกายและใจ มีวันหนึ่ง เวลาประมาณทุ่มครึ่ง กลับมาจากไปช่วยงานตักทรายใส่กระสอบเพื่อทำฝายชะลอน้ำของหมู่บ้าน หลังจากญาติซึ่งมานั่งคุยกันที่บ้าน ได้แยกย้ายกลับบ้านไปแล้ว เราก็เริ่มจัดเก็บโต๊ะอาหารให้เรียบร้อย บังเอิญบนโต๊ะอาหารมีเห็ดหอมอบ เหลืออยู่นิดหน่อย ถ้าจะเก็บไว้พรุ่งนี้ก็น้อยเกินไป ถ้าจะทิ้งก็เสียดาย ตัดสินใจกินเสียเลย เพราะมีความรู้สึกเสียดายไม่อยากทิ้ง แถมยังกินขนมที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ อีกชิ้นหนึ่งด้วย เพราะญาติที่มานั่งคุย กินเหลือไว้
    ทุกข์ ไม่อยากเป็นคนผิดศีล
    สมุทัย ถ้าไม่ผิดศีล สุขใจ ผิดศีล ทุกข์ใจ
    นิโรธ เมื่อได้พลาดทำผิดศีลไปแล้ว ก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค : การกินอาหารที่เหลือเพราะรู้สึกเสียดาย เป็นข้ออ้างของกิเลส ถ้าอาหารที่เหลือเป็นอาหารที่เราไม่ชอบ เราคงทิ้งไปอย่างไม่รู้สึกเสียดาย แสดงว่าเรายังติดรสชาติอยู่ ยังอาลัยอาวรณ์อยู่ ยังมีปริเทวะอยู่ ชาติของรสอาหารยังตัดไม่ขาด ยังลบสัญญาความรู้สึกไม่ได้ ดีแล้วที่เรากินอาหารในครั้งนี้ เป็นการแสดงตัวของกิเลสในจิตวิญญาณของเราที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ยังห่วงหา อาลัยอาวรณ์อยู่ เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว เราจะได้มีสติไม่ทำผิดพลาดอีก การพิจารณาด้วยปัญญาจะทำให้เราไม่พลั้ง ไม่เผลอ ไม่พร่องอีกต่อไป โดยที่นำเอาธรรมะ 2 มาใช้ เพราะธรรมะย่อมมี 2 ด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือ เผลอกินอาหารเพราะรู้สึกเสียดาย ด้านหนึ่ง ให้รู้ว่า กิเลสเรื่องกินยังตัดไม่ขาด ต้องฆ่าให้ถูกตัว ถึงจะได้ผล และใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 82 “จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้” เมื่อคิดได้เช่นนี้ ก็ทำให้ใจเป็นสุข ใจได้พัฒนาขึ้น ใจได้มองเห็นกิเลสที่ละเอียดขึ้น เป็นสุขใจที่มองเห็นกิเลสมากขึ้น

  16. นางสุมา ไชยช่วย

    เรื่อง อึล้างใจ

    เหตุการณ์ เข้าห้องน้ำช่วงเช้าเห็นอึเลอะเทอะโถส้วม บ่ายเข้าอีกรอบก็เจออีกแต่ดีกว่าเมื่อเช้า

    ทุกข์ ขุ่นใจเจออึในโถส้วม

    สมุทัย ชอบถ้าโถส้วมสะอาด ชังโถส้วมเลอะเทอะ
    ด้วยอึ

    นิโรธ จะมีอึเลอะโถส้วมหรือไม่มีก็ไม่ชังไม่ชอบ

    มรรค รอบแรกเห็นเกิดความโมโห ใครน่ะนิสัยไม่ดีเลย พอคิดได้ว่าเราตั้งศีลว่าจะไม่โกรธ ไม่โมโห นี่เราผืดศีลนี่น่า จึงขอโทษขออโหสิกรรมจะไม่โมโหอีกก็ตักน้ำราดจนสะอาด เราทำมาๆแต่ใจยังไม่คลายรอบบ่ายเข้าห้องเจออีกแต่รอบนี้ไม่เลอะเทอะมาก ใจยิ้มได้ เราทำมาๆใช้ซะจะได้หมด นึกถึงอาจารย์เคยเล่าว่าไปเข้าห้องแล้วเจออึแห้งๆ อาจารย์ใช้เล็บเขี่ยๆออก โอ้โหเราสำนึกเลย ราดน้ำล้างอย่างมีความสุขเลย
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ10
    เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้นเมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น
    บททบทวนธรรมข้อ 8
    สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา

  17. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ทานอาหารปั่นตามเวลา
    เหตุการณ์ : ตั้งใจว่าจะต้องทานอาหารปั่นเวลานี้ เพราะจะทำให้เรามีเวลาทานเยอะ ไม่ต้องเร่งรีบไปทำงาน ทันใดนั้นก็มีพี่มาบอกว่าพาพี่ไปซื้อกระดาษหน่อย

    ทุกข์ : ยึดว่าต้องได้กินอาหารปั่นตามเวลาที่ตั้งไว้

    สมุทัย : ชอบที่ได้กินอาหารปั่นตามเวลาที่ตั้งไว้ ชังที่ไม่ได้กินอาหารปั่นตามเวลาที่ตั้งไว้

    นิโรธ : ได้กินอาหารปั่นตามเวลาที่ตั้งไว้ หรือไม่ได้กินอาหารปั่นตามเวลาที่ตั้งไว้ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาพิจารณาตรวจใจทำไมต้องยึด
    มาร : โอ๊ยๆๆ ทำไมพี่มาชวนเราไปซื้อกระดาษตอนนี้นะ ไม่รู้หรือไงว่าคนกำลังจะทานอาหารปั่นเวลานี้
    เรา : แล้วไง จะทานตอนนี้ก็ได้ จะทานอีก 1 ชั่วโมงก็ได้ หรือจะทานตอนไหนก็ได้ จะยึดทำไม ยึดแล้วใครทุกข์
    มาร : ฉันเองที่ทุกข์ใจ
    เรา : ก็ใช่ไง ทีนี้จะยึดอีกไหม พุทธะ ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา จำไม่ได้หรือไงบททบทวนธรรมข้อที่ 56
    มาร : จำได้แล้ว
    สรุป ยินดีที่ต้องออกไปซื้อกระดาษกับพี่ จะได้กินอาหารปั่นตอนกี่โมงก็ได้ ถ้าได้กินอาหารปั่นตามเวลาที่ตั้งไว้ก็คงไม่ได้เห็นกิเลส สาธุค่ะ

  18. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ป้ายโครงการ
    เหตุการณ์ : พี่ที่ทำงานทักมาถามว่า ร้านเอาป้ายโครงการมาส่งหรือยัง เราลืมไปเลยเพราะแบ่งงานให้พี่อีกคนรับผิดชอบป้ายโครงการไปแล้ว

    ทุกข์ : หวั่นไหวว่าป้ายโครงการจะเสร็จไม่ทัน

    สมุทัย : ชอบที่ป้ายโครงการเสร็จทัน ชังที่ป้ายโครงการเสร็จไม่ทัน

    นิโรธ : ป้ายโครงการจะเสร็จทันหรือเสร็จไม่ทัน ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจดูใจกัน ทำไมต้องหวั่นไหวด้วย
    มาร : แย่แล้วไม่ทันแน่เลย เมื่อวานก็ลืมถามพี่ ว่าร้านเอาป้ายโครงการมาส่งหรือยัง
    เรา : จะทันหรือไม่ทันก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ทันตอนเช้าก็เอาไปติดตอนเย็นก็ได้
    มาร : จะโดนพี่ๆ ว่าหรือเปล่า
    เรา : จะว่าก็ว่าเลย โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ ก็เกิดความพร่อง ความพลาดได้ทั้งนั้นแหละ เราก็ยอมรับและขอโทษสิ ตรงกับบททบทวนธรรม ข้อ 82 จงฝึกอยู่กับความจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้
    มาร : ตกลง ไม่หวั่นไหวแล้วก็ได้
    สรุป สบายใจขึ้นค่ะ โชคดีจังที่ได้เห็นเหลี่ยมมุมของกิเลสที่มาหรอกให้เราหวั่นไหว สาธุค่ะ

  19. น.ส จาริยา จันทร์ภักด

    เรื่อง รอเม็ดพันธุ์

    เรื่อง กลัวของหาย
    เหตุการณ์ มีพี่น้องจิตอาสาได้ส่งเม็ดพันธุ์ผักฟูหมักทางปณ.ธรรมดา 15 วันก็ยังไม่ได้รับได้คุยกับน้องถ้ายังไม่ได้รับฃองพันธุ์
    ผัก น้องเขาให้แจ้งที่อยู่ไปให้อีกครั้งเพื่อจะได้ส่งให้ใหม่
    ทุกข์ :กลัวพนักงานปณ.ทำซองเม็ดพันธุ์ตกหลุ่นหาย
    สมุทัย : ชอบถ้าพนักงานปณ.นำซองมาส่งโดยไม่หลุนหาย
    ชังถ้าพนักงานปณ.ทำซองเม็ดพันธุ์หลุนหาย
    นิโรธ : พนักงานปณ.ทำซองเม็ดพันธุ์หลุนหายหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : สงบใจได้โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยไม่กลัวกังวลได้ใช้บททบทวนธรรมข้อ 107 กลัว ชั่ว ทุกข์ คือ โง่ แล้วเราจะทุกข์อะไรเบิกบานแจ่ดีกว่า

  20. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    17/03/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : ทำอาหาร
    ระยะหลังอ.หมอเขียวมีนโยบายให้ทำอาหารปั่นทั้งผักผลไม้สดปั่น และผักลวกปั่น ซึ่งผู้เขียนก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ทำเพียงแค่อาหารปั่น สมาชิกที่บ้านก็บอกว่ายังไม่พอ บางหลายคนยังติดอาหารแบบที่ต้องเคี้ยวอยู่ ก็เลยต้องทำเมนูอาหารเพิ่ม งานในครัวจึงต้องมีเพิ่มขึ้นมาด้วย พอชวนให้สมาชิกเข้ามาช่วยทำก็พบว่าไม่มีใครว่างเลยต้องไปทำหน้าที่อย่างอื่น เมื่อได้รับการปฏิเสธก็รู้สึกขุ่นใจขึ้นมา

    ทุกข์ : อยากให้คนมาช่วยทำอาหาร
    สมุทัย : ชอบใจถ้ามีคนมาช่วยทำอาหาร ไม่ชอบใจถ้าต้องทำอาหารคนเดียว ทำคนเดียวช้าไม่ทันใจ
    นิโรธ : ใครจะช่วยหรือไม่ช่วยเราทำอาหารก็ได้ ทำคนเดียวก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: วันนี้ต้องทำหน้าที่เข้าครัวทำอาหาร ก็เลยคิดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทั้งเมนูอาหารปั่น และไม่ปั่น เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีกันอยู่หลายคน พอคิดออกมาแล้วได้หลายเมนู ก็มานั่งคิดว่าถ้าได้คนมาช่วยบ้างสักคนสองคนก็ยังดี งานจะได้เสร็จเร็ว งานในครัวดูเหมือนง่ายแต่ก็ไม่ได้ง่าย พอมีคนเดินเข้ามาก็ไปถามเขาว่าช่วยทำครัวได้มั๊ย? ถามไป 3 คนไม่มีใครว่างเลยสักคน ในใจก็เริ่มมีอาการเซ็งขึ้นมาแล้ว เริ่มบ่นในใจว่า ”มีแต่คนอยากกิน แต่ไม่มีคนอยากทำ” เพียงแค่คิดว่าต้องทำโน่น นี่ นั่น หลายเมนูคนเดียว ก็เริ่มมีอาการเหนื่อยขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มทำเลย กังวลกลัวว่าจะทำอาหารเสร็จช้า ใจเริ่มขุ่นเคืองใจที่ไม่มีใครมาช่วย
    กิเลส : อะไรก้นมี….แต่คนอยากกิน แต่ไม่มีคนอยากจะทำ ตั้งหลายเมนู จะทันมั๊ยเนี่ย หรือปล่อยให้อดกันไปเลย ไม่มีใครทำก็ไม่ต้องกิน……(ดูความร้ายของกิเลส)
    เมื่อได้สติว่ากิเลสมันเริ่มพาเราทุกข์อีกแล้ว ใจเริ่มขุ่นแล้ว ก็หันไปตอบกลับกิเลสไปว่า
    เรา : จะรีบไปไหนล่ะ??? รีบแล้วเป็นไง ยังไม่ทันจะเริ่มเลย หมดแรงเลยใช่มั๊ย?
    ไม่มีใครช่วยก็ทำคนเดียวสิ งานครัวเป็นงานเบาที่สุดแล้ว ไม่ได้จะต้องไปแบกหามเป็นกรรมกร
    ยังจะต้องให้ใครมาช่วยอีกรึ? งานง่าย ๆ แค่นี้ยังทำไม่ได้แล้วจะไปทำอะไร?
    ทำไปเรื่อย ๆ สิ ทำเท่าที่ทำได้ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น เสร็จเร็วก็ดี เสร็จช้าก็ให้เขารอ มันจะไป
    ยากอะไร”

    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 136 “ชีวิตที่ลงตัว คือชีวิตที่มีแต่ความเสื่อม ชีวิตที่ไม่ลงตัวคือชีวิตที่มีความเจริญ”
    พอบอกเหตุผลไป กิเลสมันเห็นจริงตามนั้นมันเลยยอม ใจก็โล่งสบายขึ้น
    สรุปคือ พอใจเราไม่เร่งรีบ ทำงานแบบสบาย ๆ ทำอาหารหลายเมนูแต่ปรากฎว่าเสร็จก่อนเวลาไม่ได้ช้าอย่างที่กิเลสมันหลอกเรา

  21. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง หนูกัดของหรือกัดใจ
    เหตุการณ์ ในสวนปลูกกระต็อบเล็กๆ จะมีหนูมากัดข้าวของเสียหาย ทั้งถุงเท้า หมวก สายไฟ และอื่นๆ ก็พยายามจะจัดห้องให้เป็นระเบียบสะอาด ไม่รก แต่ก็ยังมีหนูมาทำลายอยู่อีก พยายามบอกกล่าว ไปอยู่ที่อื่นได้ไหม เราก็ไม่อยากทำร้ายไม่อยากเบียดเบียนกัน จึงรู้สึกขุ่นใจ

    ทุกข์ ขุ่นใจมีหนูอยู่บนกระต็อบ

    สมุทัย ชังที่หนูกัดของ ชอบที่หนูไม่กัดของ

    นิโรธ จะมีหนูหรือไม่มีหนูมากัดของก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค พิจารณาความจริงตามกฎไตรลักษณ์ และวิปลาส 4 ทุกอย่างมันก็มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เราไม่เคยเกิดมาเป็นหนูหรืออย่างไร? ก็เคยเป็นมาแล้วทั้งนั้น เกิดมาแล้วก็ต้องหาของกินเพื่อจะมีชีวิตรอด ก็ต้องกัดกินไปมันก็ถูกต้องแล้ว เวลาที่เราไม่อยู่ ที่นั้นก็เป็นบ้านของเขา จะทุกข์ไปทำไมให้โง่ จะบ้าไปถึงไหน มาทำใจในใจเราให้ไม่ทุกข์ หนูจะกัดจะทำลายก็ไม่มีอะไรเสียหายถ้าใจเราไม่เสียหาย ได้ใช้วิบากที่ได้ใช้หอกปากทำร้ายคนอื่นมาตั้งมากมาย ต้องขอบคุณหนูพวกนี้ที่มางัดกิเลสตัวนี้ออกมาให้ได้ล้าง
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 37 ปัญหาทั้งหมดในโลก เกิดจากคน..โง่..กว่ากิเลส
    หลังพิจารณาไปใจก็ไร้ทุกข์ ไร้กังวล จะมีอะไรเสียหายก็ไม่ทุกข์ใจ…สาธุ

  22. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง ลืมได้ล้างใจ

    ทุกวันหลังเสร็จภารกิจการใช้ปั้มน้ำต้องปิดสวิทซ์ไฟ วันหนึ่งเกิดความไม่แน่ใจว่าได้ปิดหรือยังไม่ปิด จะเดินไปดูแต่ก็ไม่ได้ไป พอเช้าจึงไปดูสวิทซ์ไฟยังเปิดอยู่

    ทุกข์ : เจ็บใจที่ลืมปิดสวิทซ์ไฟ

    สมุทัย : ชอบถ้าได้ปิดสวิทไฟ ชังที่ลืมปิดสวิทซ์ไฟ

    นิโรธ : จะได้ปิดสวิทซ์ไฟหรือลืม ก็สุขใจ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : พอเห็นว่าลืมปิดสวิทซ์ไฟรู้สึกเจ็บใจ และทันทีนั้นมารพาให้ทุกข์ ให้โทษตัวเอง ตีตัวเองซ้ำ ว่าเห็นไหม? ไม่ยอมไปดูลืมจนได้ มารกำลังจะพาไปเรื่อย รีบกลับมาปรับใจด้วยบททบทวนธรรมข้อ136ที่ว่า”ชีวิตที่ลงตัว คือชีวิตที่มีแต่ความเสื่อม ชีวิตที่ไม่ลงตัว คือชีวิตที่มีแต่ความเจริญ”ควบคู่กับข้อที่133 คือ “อุปสรรคและปัญหา คือชีวิตชีวา” จริงแท้แน่นอน ถ้าไม่ลืมปิดสวิทซ์ไฟจะไม่ได้สัมผัสกับอุปสรรคและปัญหาจนทำให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาเลยเพราะทำให้ตื่นตัวที่จะไปดูปั้มน้ำ ดูท่อน้ำและอื่นๆที่เกี่ยวข้องว่ามีอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ หากมีจะได้เรียนรู้ปัญหาและแก้ไขเพื่อความเจริญต่อไป ถ้าไม่ลืมทุกอย่างลงตัวหมดจนทำให้เราประมาทไม่สนใจอยู่อย่างสบายๆ ไม่กระตือรือร้นจนเกิดความเสื่อมได้ พิจารณาเสร็จมารสู้ไม่ไหวรีบออกไปพร้อมกับอาการเจ็บใจ ในที่สุด ใจไร้ทุกข์ ก็กลับมา
    สรุป การที่เห็นและสู้กับอุปสรรคและปัญหาอย่างมีชีวิตชีวาที่ทำให้เราได้ชีวิตที่มีแต่ความเจริญเพราะเราได้ใจไร้ทุกข์กลับมานั่นเอง

  23. นางจิราภรณ์ ทองคู่

    เรื่อง หมู่มิตรดี

    เนื้อเรื่อง ช่วงนี้บำเพ็ญที่ภูผาฟ้าน้ำ มีวันหนึ่งพอตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าเหนื่อย ๆ เพลีย ๆล้า ๆ ไม่อยากไปทำงานเกษตรกับเพื่อน แต่ก็ฝืนใจไปทำช่วยเพื่อนจนงานเสร็จ จากนั้นก็มานั่งพักด้วยกัน และได้เล่าอาการที่ไม่สบายให้เพื่อนฟัง เพื่อนแนะนำว่าช่วงนี้ควรงดอาหารปรุงให้กินข้าวต้มกับเกลือ แล้วอาการจะดีขึ้นเร็ว เราก็เคยได้ยินอาจารย์สอนเช่นกันว่าเวลาเจ็บป่วยให้กินข้าวต้มกับเกือแล้วจะมีพลัง เราได้ปฏิบัติตามปรากฏว่าอาการเจ็บป่วยลดลงอย่างรวดเร็ว วันรุ่งขึ้นก็สามารถทำงานได้เป็นปกติ ต้องขอบคุณหมู่มิตรดีที่แนะนำและช่วยเหลือด้วยดีตลอดมา

    ทุกข์ มีอาการเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ ล้า ๆ

    สมุทัย ถ้าเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ ล้า ๆ จะทุกข์ใจ ถ้าไม่มีอาการเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ ล้า ๆ จะสุขใจ

    นิโรธ จะมีอาการเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ ล้า ๆ หรือไม่ก็สุขใจ

    มรรค นำคำสอนของอาจารย์มาพิจารณา คือหมู่มิตรดีปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์ แล้วนำไปปฏิบัติก็พบว่าพ้นทุกข์จริง

  24. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ระบบล่ม
    เหตุการณ์ : ได้รับมอบหมายให้เข้าไปกรอกคะแนนในระบบ กดเข้ายังไงก็เข้าไม่ได้สักที ระบบช้าขึ้น EOROR และแล้วกิเลสตัวใจร้อนก็โผล่หน้ามา

    ทุกข์ : ใจร้อนอยากกรอกคะแนนให้เสร็จเร็ว

    สมุทัย : ชอบถ้ากรอกคะแนนเสร็จเร็ว ชังถ้ากรอกคะแนนเสร็จช้า

    นิโรธ : จะกรอกคะแนนเสร็จเร็วหรือช้า ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจดูใจทำไมต้องใจร้อนด้วย
    มาร : ระบบก็อย่าล่ม อย่าช้าหลาย เดี๋ยวก็กรอกไม่ทันพอดี สักหน่อยก็จะว่าระบบปิดอีก
    เรา : ฮั่นแน่ มาอีกแล้วตัวใจร้อน จะรีบไปถึงไหน รีบตลอดเลย รีบในทุกเรื่องเลยนะ
    มาร : ก็ต้องรีบน่ะสิ เดี๋ยวงานใหม่ก็เข้ามาอีก ถ้าทำไม่เสร็จก็จะมีงานเยอะเป็นดินพอกหางหมูเลย
    เรา : แล้วจะให้ทำอย่างไรล่ะ ก็ในเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว คะแนนก็รวมเสร็จแล้ว แต่ระบบล่มเอง ส่งช้าก็ไม่เป็นไรหรอก
    มาร : ตอนเย็นมีการโทรไลน์กับหมู่ไม่ใช่เหรอ นั่นแหละยิ่งต้องทำให้เสร็จก่อนเลย
    เรา : ก็ใช่ เราก็จะวางงานก่อน เข้าไลน์ไปคุยกับหมู่ก่อน เราต้องทำสิ่งที่สำคัญก่อน พรุ่งนี้ค่อยมากรอกคะแนนต่อก็ได้ เคยได้ยินบททบทวนธรรมข้อนี้ไหม
    มาร : ข้อไหนอีกล่ะ
    เรา : ก็ข้อ 93 ไง ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่า“การดับทุกข์ใจ….ให้ได้” เพราะการเข้าหมู่จะทำให้เรามีพลังดับทุกข์ใจไง การงานก็วางไว้ก่อน แท้จริงแล้วการงานไม่เคยหมดไปจากโลกเลยนะ
    มาร : งั้นตกลงจ้า
    สรุป วางใจ สบายใจ ไม่ว่าการกรอกคะแนนจะเสร็จเร็วหรือช้า ไปเอาดีที่ดีกว่า คือ การเข้าหมู่ สาธุค่ะ

  25. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : พูดไมค์
    เหตุการณ์ : ทุกวันพฤหัสบดีจะต้องมีการพูดไมค์หน้าเสาธง ในเวรวันพฤหัสบดีก็จะมีหลายคนและเวียนกันพูดไปเรื่อยๆ แล้วก็เวียนมาถึงคิวตัวเอง กิเลสก็เวียนมาด้วย

    ทุกข์ : ไม่อยากพูดไมค์

    สมุทัย : ชอบถ้าไม่ได้พูดไมค์ ชังถ้าได้พูดไมค์

    นิโรธ : จะได้พูดไมค์หรือไม่ได้พูดไมค์ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาพิจารณาดูซิทำไมกิเลสเวียนมาแต่เช้าเลย
    มาร : โอ๊ยๆๆ ไม่อยากพูดไมค์เลยอ่ะ
    เรา : ทำไมถึงไม่อยากพูดแหละ
    มาร : ไม่รู้จะพูดเรื่องไร พูดไปจะมีคนฟังหรือเปล่า
    เรา : พูดเรื่องก๊อกน้ำสิ ช่วงนี้อากาศร้อนพากันไปเปิดปิดน้ำบ่อยก๊อกน้ำก็ชำรุดเร็ว จะมีคนฟังหรือไม่มีก็ได้จะคิดมากทำไมเนี่ย ในเมื่อสิ่งที่เราพูดเป็นสิ่งดี พูดสิ่งดีก็ไม่กล้าพูดอย่างนั้นเหรอ เธอนี่มันไม่เจ๋งจริงเลย ชอบนักนะพาเราคิดแบบทุกข์ๆ
    มาร : อ้าว สรุปคิดแบบฉันมันทุกข์เหรอ
    เรา : ก็ทุกข์น่ะสิ เสียเวลาคิดด้วย เปลืองพลังงาน เราเห็นเธอไม่กล้าพูดไมค์หลายสัปดาห์แล้วนะ เอาแต่หลบ เอาแต่เลี่ยง อ้างว่าติดงานนั้นงานนี้อยู่ สุดท้ายเธอก็โตจนได้ วันนี้แหละฉันจะพูดไมค์ ไม่กลัวอะไรทั้งนั้น ไม่ต้องมาสั่ง ไม่ต้องมาอ้างอะไรที่จะทำให้เราไม่ต้องพูดไมค์
    มาร : ก็ได้ ก็ได้ พูดไมค์ก็พูด
    สรุป สบายใจที่จะไปพูดไมค์ แกล้งกิเลสดูซิมันจะดิ้นตายแค่ไหนที่จะต้องออกไปพูดไมค์ สาธุค่ะ

  26. ณ้ฐพร คงประเสริฐ

    เรื่อง แม่ป่วยเข้าโรงพยาบาลบ่อย

    ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์โควิด-19 ระบาด ส่งผลให้การไปมาหาสู่ของลูกหลานน้อยลง ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่ง หลายอย่างรอบตัว รวมทั้งความเสื่อมถอยส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายของผู้คนทั่วโลก ต่อผู้อายุยาวทั้งหลาย แม่ก็เช่นกัน แม้ลูกหลานจะเวียนมาหาไม่ได้ขาด แต่ร่างกายที่เสื่อมถอยจิตใจที่หวั่นไหวก็ย่อมส่งผลกันไปมาไม่หยุดหย่อน

    ทุกข์ : ใจเรารู้สึกเป็นกังวลเล็กน้อย เป็นห่วงแม่ที่มีอาการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ

    สมุหทัย : เห็นความหวั่นไหวของใจที่กังวล ทุกข์ใจที่แม่ต้องเจ็บป่วยทรมานหนัก จนต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ ยึดมั่นว่าแม่จะป่วยแบบไม่ทรมานนัก ป่วยแบบพอเป็นพอไปเท่าที่ใจท่านและเรารับได้

    นิโรธ : ใจคลายจากความกังวลหวั่นไหว ไม่ทุกข์ใจได้แม้แม่จะป่วย จนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยขึ้น หนักขึ้นแค่ไหนก็ตาม

    มรรค : หมั่นพิจารณาทำใจในใจ ถึงสภาพที่ดีที่สุดจะเกิด สภาพที่แย่ที่สุดจะเกิดขึ้น ให้บ่อย ๆ ตรวจใจพิจารณาหาประโยชน์มาหักล้างความทุกข์ใจจากกิเลสออกไปให้ได้ตามลำดับ ๆ

    ช่วยเหลือเกื้อกูลท่านเต็มที่ เต็มกำลัง เท่าที่ทำได้ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ที่รู้กตัญญู ทำเต็มที่ ก็สุขเต็มที่ได้แล้ว แล้ววาง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ทุกชีวิตมีกรรมเป็นของ ๆ ตน

    เริ่มต้นที่เรา นับหนึ่งที่เรา ทำความดีที่เรา นี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ อธิศีลไปเรื่อย ๆ ช่วงเวลาดี ๆ แบบนี้ ช่างแสนสุขจริง ๆ เอากิเลสออก เอาประโยชน์แท้จริงให้ได้ ได้อยู่ใกล้ชิดแม่ ดูแลท่าน พาทำยา 9 เม็ด ให้แม่คลายความทุกข์ ความทรมานกายใจ ได้เท่าที่ได้

    พาท่านหมั่นฟังธรรม จาก พ่อครู จากอาจารย์หมอเขียว เช่น การวางขันธุ์วางร่าง จากครูบาอาจารย์ที่ท่านศรัทธา และพาน้อมนำมาปฏิบัติที่ใจ เท่าที่ได้ตามกำลัง

    ผลปรากฏว่า : ร่างกายจิตใจแม่ดีวันดีคืน ไม่เข้าโรงพยาบาลมาเกือบเดือนแล้ว เราก็จิตใจผาสุก สงบใจ ไม่กังวลหวั่นไหว ทำดีเต็มที่ ไม่หวังผลใด ๆ ชัดเจนเรื่องกรรม เห็นจริงแจ่มแจ้งขึ้นตามลำดับ ๆค่ะ

  27. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน (ก๊อบ สื่อศีล)

    เรื่อง หลงกลมาร

    เรื่องย่อ ระหว่างติดตามฟังธรรมะทางเฟสบุ๊ค ก็มีรายการอาหาร เกมโชว์ ท่องเที่ยว รีวิวขายของต่างๆ แนะนำมาให้เราดู มารบอกว่าดูนิดหน่อยไม่เป็นไร คลายเครียดบ้าง เราก็หลงไปดู ดูแล้วก็เพลิดเพลิน เรื่องนั้นจบก็ต่อเรื่องโน้นไปเรื่อยๆ หยุดไม่ได้ กิเลสโตขึ้นๆ(ผีเข้า) อยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากกิน อยากเที่ยว อยากหาเงิน อยากมีเงิน พอกิเลสโต แต่มาติดศีล คือเราตั้งศีลไม่กินเนื้อสัตว์ เราไม่มีเงิน เราไม่สามารถออกไปเสพกิเลสแบบที่เราดูได้ ก็ทุกข์ๆๆๆ หมองๆๆๆ หดหู่ เศร้าใจ ว่าวุ่นใจ หลายวัน ฝันร้าย จากอาการความอยากที่กิเลสดิ้น โชคดีที่เราอยู่ในหมู่มิตรดี เข้าซูม ฟังธรรมะ จึงดีขึ้นครับ

    ทุกข์ เศร้าใจ หดหู่ใจ ว้าวุ่นใจ

    สมุทัย กิเลสดิ้น อยากเสพกิเลสแต่เสพไม่ได้

    นิโรธ ไม่เสพกิเลสก็ไม่ทุกข์

    มรรค พิจารณาความจริงตามความเป็นจริงว่าเราเสพกิเลสมาตั้งแต่เด็กจนโต กินอาหารอร่อยมามากมายแล้วก็ไม่พ้นทุกข์ แถมต้องมาป่วยทรมานใช้วิบากอีก กิเลส ยิ่งให้อาหารยิ่งโต กว่าจะล้างออกแต่ละตัวก็แสนยากเย็น เราได้มาอยู่ในหมู่มิตรดี นับว่าโชคดีมากๆ ได้ตั้งศีล ได้ล้างกิเลส ได้เห็นโทษเห็นภัยจากกิเลส เห็นโทษเห็นภัยจากการใช้เฟสบุ๊คเสพกิเลส ทำให้กิเลสโต ทำให้เสียเวลาในการบำเพ็ญ ทำให้ต้องทุกข์ทรมานจากกิเลสดิ้น จากประสบการณ์ครั้งนี้ก็ทำให้เข้าใจ ที่อาจารย์สอนว่า กิเลสแม้น้อยก็เหม็นมาก เข้าใจความสำคัญของหมู่มิตรดี ขนาดเราเสพทางการดูเฉยๆ ถ้าไม่อยู่ในหมู่มิตรดี เราต้องพลาดท่าแน่นอน พอไปเสพแล้วก็ต้องมีวิบาก แล้วก็ติด อยากเสพเพิ่มอีก เหนี่ยวนำคนอื่นอีก และได้เข้าใจชัดว่ากิเลสโตแล้วต้องทุกข์ทรมานขนาดนี้ ครั้งต่อไปก็จะฉลาดขึ้น ไม่หลงกลมารง่ายๆอีกแล้วครับ สาธุครับ

  28. มงคลวัฒน์ รัตนชล เพชรไพรพุทธ

    เรื่อง ไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมกับเพื่อนที่เรียนคณะเดียวกันสมัยป.ตรี
    เหตุกาารณ์: มีการนัดหมายร่วมกิจกรรมของรุ่นประจำปีโดยช่วงเช้า 5:30 วิ่งที่อุทยานวิทย์ฯ(เขากลอยของมอ.) แล้วไปนั่งกินอาหารเช้าในเมือง เย็นไป บ่ายไปเที่ยวเมืองสงขลา และเย็นไปกินอาหารที่บ้านเพื่อนอีกคนที่บางกล่ำ ซึ่งได้รับปากว่าไป แต่บังเอิญ จิตอาสาอุบัติเหตุ และเราเพิ่งทราบและได้นัดหมายกันไปเยี่ยมกันและร่วมกับบำเพ็ญทำคลิปให้กับสื่อ ซึ่งไปแต่เช้า จึงเลือกที่จะไปร่วมบำเพ็ญกับจิตอาสาแทนแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่มาหลัง เพื่อนๆก็โทรมาตามมาแจ้งทุกช่วงกิจกรรม ก็ได้แจ้งให้เพื่อนๆว่าต้องมาเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุกับพี่น้องไม่สามารถไปร่วมสนุกได้ ขอโทษด้วย. (ไม่ได้มุสาคือรู้สึกว่าครอบครัวพวธ.เราคือครอบครัวใหญ่ ทุกคนคือญาติคือพี่น้องกันหมด)
    ทุกข์: เสียดายไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ กลัวว่าเพื่อนๆจะไม่เข้าใจนัดกันแล้วผิดนัด
    สมุทัย: อยากพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ ยึดว่าเพื่อนๆจะเข้าใจในเหตุการณ์ ถ้าเข้าใจไม่โกรธไม่โทษจะสุขใจ ไม่เข้าใจถือสาจะทุกข์ใจ
    นิโรธ: ไม่เสียดาย แม้ว่าไม่ได้ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ไม่กลัวเพื่อนโกรธไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด
    มรรค: พิจารณาว่าเราเลือกทำกุศลที่ดีกว่ามาก และเรามีโอกาสทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่ พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ก็สุขใจเมื่อนั้น(ข้อ83) ความเสียดาย ความกลัวก็จางลง มาเพิ่มด้วยข้อ๑คือ เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า ในชาตินี้หรือชาติหน้า หรือชาติอื่นๆสืบไป ความเข้าใจผิดนั้น ก็จะหมดไปเอง กิเลสเสียดาย กิเลสกลัวการเข้าใจผิด ก็ค่อยๆสลายไปได้ ความสุขก็เบิกบานใจจากการได้มาบำเพ็ญกับหมู่พี่น้องจิตอาสาเต็มๆครับ.

  29. สาคร รอดรัตน์(ป้าหนุ่ย)

    18/3/64
    การบ้าน
    นางสาคร รอดรัตน์ (ป้าหนุ่ย)จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ2
    เรื่อง: ไม่ได้ดั่งใจ จะเดินทางไปธุระต่างจังหวัดตอนเช้า กระจกรถยนต์เสียปรับขึ้นลงไม่ได้ด้านคนขับ จึงไปหาช่างเพื่อซ่อมจะได้สะดวกในการเดินทางไปไหนๆ ช่างบอกว่าต้องเสียเวลามากต้องรอนานนิดหนึ่ง ถ้ารีบให้ไปธุระก่อน มาวันหลังก็ได้

    ทุกข์ : กังวลใจที่ไม่ได้ซ่อมกระจกรถยนต์ในวันนี้ ตามที่ตั้งใจไว้

    สมุทัย: ชอบถ้าได้ซ่อมรถให้เสร็จ ชังที่ไม่ได้ซ่อมรถในวันนี้

    นิโรธ : จะได้ซ่อมกระจกรถก็ได้ ไม่ซ่อมวันนี้ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง ยินดีวางใจวันหลังก็ได้ มันยังไม่ถึงเวลา

    มรรค: ตั้งความหวังว่าจะได้ซ่อมกระจกเสียทีวันนี้ได้ออกมาข้างนอกแล้วทำธุระให้เสร็จไม่ต้องเสียเวลาอีก ถ้าได้ซ่อมรถจะสุขใจ ตรวจใจไม่ได้ซ่อมรถก็ไม่ทุกข์ ยินดีเฉยๆ วันหลังก็ได้ ร้านอื่นก็มี คิดว่ายังไม่ถึงเวลาเมื่อไหร่เมื่อนั้น ยินดีเบิกบานแล้วก็เบิกบาน ดีใจจังไม่ได้ดั่งใจ ได้ล้างวิบากร้ายในใจอีกแล้วด้วยความยินดีพอใจไร้กังวล/ ใช้บททบทวนธรรม
    ข้อ 58 เย่ๆๆดีใจจัง ไม่ได้ดั่งใจ(วิบากหมด กิเลสตาย ได้กุศล ) แย่ๆๆ ซวยแน่เรา เอาแต่ใจ(วิบากเพิ่ม กิเลสพอก งอกอกุศล ดข้อ 59 เย้ ๆ ๆไม่หวั่นไหว ใจเป็นสุข/ ขอบคุณที่ให้ได้ล้างกิเลส.

  30. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง มดเคลียร์กรรม

    ปกติรดน้ำผักทุกวันช่วงเช้าจะมีแมลงตอมหรือมดกัดวันนี้ก็เช่นกันรู้สึกเจ็บและคันตรงนั้นตรงนี้ จึงจับออกไปตัวแล้วตัวเล่าและต้องเพิ่มความถี่ขึ้นเรื่อยๆไม่มีทีท่าจะหยุดกัดกลับขยายพื้นที่ไปทั่วทั้งตัว

    ทุกข์ : เกิดความรำคาญมดที่กัด

    สมุทัย : ชอบถ้ามดไม่กัด เมื่อมดกัดจึงชัง

    นิโรธ : มดจะกัดหรือไม่ ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : พอมดกัดทั้งตัว ระลึกได้ถึงสิ่งที่ตัวเองทำมารู้สึกผิดรีบขอโทษ ยินดี เต็มใจรับโทษแล้วปรับใจด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 14 “ไม่มีชีวิตใดหนีพ้น อำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว” นี่คือความจริงที่หนีไม่พ้น การที่มดมากัดครั้งนี้น้อยกว่าที่ทำมามาก สืบเนื่องแต่สมัยเรียนมัธยมชอบชักชวนเด็กๆเอามือไปจับที่รังไก่ไรตัวเล็กๆจะไต่ตามมือเด็กแล้ว ตัวเองก็ช่วยจับตัวไรมาบี้ แต่เด็กมีหลายคนจับให้ไม่ทัน ตัวไรไต่ทั่วตัว ทำให้เด็กๆคันคะเยอกันทั่วหน้า ต้องอาบน้ำจึงหาย ตอนนั้นเราโง่กว่ากิเลสที่หลงทำผิดศีลบี้ตัวไรแถมเบียดเบียนเด็กๆด้วย ยังรำคาญมดที่กัดอีกหรือชั่วเกินไปจริงๆตามบททบทวนธรรมข้อที่ 43 ว่า”ทำร้ายเขามาตั้งมากมาย ยังมีหน้ามาโกรธมาเกลียดเขาอีก มันชั่วเกินไปแล้วเรา” พิจารณาแล้วรู้ซึ้งถึงผลของกรรมชั่วชัดเจนและตัวเองต้องพักการรดน้ำเพื่ออาบน้ำ มดจึงหมดไปจากตัว ความรำคาญก็หายไปเช่นกัน
    สรุป เมื่อรู้ตัวว่าผิด ยินดีเต็มใจ รับผิด พร้อมแก้ทั้งภายใน ภายนอกจนไม่เหลือความรำคาญมีแต่ใจที่ไร้ทุกข์

  31. ศิริพร คำวงษ์ศรี

    ชื่อเรื่อง : มาลดกินขนมกันเถอะ

    ช่วงนี้คุณป้าป่วยมีอาการอ่อนแรง เดินไม่ไหว ใช้แรงแม้แต่บีบขวดครีมอาบน้ำก็แรงไม่พอ ค่อยๆมีอาการมาเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว ทั้งๆที่คุณป้าออกกำลังเป็นประจำ และมีความศรัทธาในแพทย์แผนปัจจุบัน วันนี้จึงพาคุณป้ามาโรงพยาบาลใกล้บ้านตามนัดพบแพทย์เพื่อรับผลเอ็กซเรย์ ระหว่างเดินทาง เราก็ขับรถไป พูดไป ถามไป ชวนไป สอบถามว่าป้ามีเรื่องทุกข์เรื่องใดหรือไม่ ป้าก็เก่งมาก เห็นความทุกข์ในใจของตนเองพอสมควร จึงให้ป้าระลึกถึงคำสอนของพระเจ้าในเพลงธรรมะของชาวคริสต์ที่ว่า “ความสุขโลกนี้ ไม่มีเหมือนที่ตั้งใจ” แนะนำป้าให้ระลึกเพลงนี้ที่ป้าชอบไว้ เวลาทุกข์ใจ จากนั้นอยากชวนป้าลองลดกินขนมไปด้วยกัน เพราะลึกๆรู้ว่าการแพทย์วิถีธรรม คือ การปรับพฤติกรรมทั้งกายใจ ป้าและเราก็ยังติดขนม กินขนมเยอะมาก คุณป้าทานขนมมากกว่าข้าวเสียอีก คิดในใจว่า มาหาหมอนี้ แต่ถ้าไม่ปรับพฤติกรรม อาการคงไม่ดีขึ้น เลยอยากลดขนมเป็นเพื่อนป้า ป้าก็เงียบฟัง แต่พอมาถึงโรงพยาบาล ป้าบอกว่าอยากกิน “ขนมครก” จึงต่อลองให้ป้ากินกล้วยหักมุกที่ป้าชอบ แทนขนมครก แต่ถ้าป้าอยากกินจริงๆ ขอให้ไปกินขนมครก 2 ฝา ทำไปก็รู้สึกมันยังขุ่นๆในใจ แต่ป้าก็ไม่ได้เครียดอะไร

    ทุกข์ คือ อยากให้ป้ามาเข้าร่วมโครงการลดกินขนมกับเรา

    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ โลภอยากให้ป้าลดขนมตามที่เราเสนอทุกครั้ง เป็นห่วงป้าเพราะป้าจะมีอาการแย่ลง เป็นห่วงตนเอง เพราะกลัวป้านอนติดเตียง แล้วจะดูแลป้าไม่ไหว เพราะป้ามีน้ำหนักเยอะ และอ้วนมาก

    นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ยินดีในการตัดสินใจของป้า ว่าป้าจะเลือกลดกินขนมก็ได้ ไม่ลดก็ได้ ร่างกายเป็นของป้า ไม่ใช่หน้าที่ของเราในการเลือกแทน พอใจและเคารพในทางเลือกของป้า เพราะเราต้องการอิสระในการเลือกวิธีดูแลตนเองเหมือนกัน ใจไร้กังวล ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม ตามวิบากดีร้ายของป้าและเรา น้อมยอมรับผลของกรรม อยู่กับปัจจุบันด้วยใจที่ไม่ปรุงแต่งกับอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น

    มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ พิจารณาวิบากที่เรายังอ่อนแอในการยังเสพกิเลสกับขนมอยู่ ทำให้วิบากนี้เหนี่ยวนำคนรอบข้างของเราให้ไม่สามารถชนะใจตนเองในการลด ละ เลิกกินขนมได้ จนทำให้ร่างกายทรุด ไม่สามารถมีความผาสุกในการใช้ร่างกายสังขารนี้เพื่อทำประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ พิมพ์ไปก็เห็นกิเลสไปกว่า มันกลัวมาก ๆ ที่เราตั้งใจสละสะบัดมันทิ้ง เลยได้แต่ตั้งใจว่าจะพากเพียรลดขนมเพิ่ม พิจารณาโทษให้ต่อเนื่อง กิเลสตัวนี้ตัวใหญ่ หากใจร้อนเราจะตายก่อนกิเลส เพราะเคยใจร้อนมาแล้ว กลายเป็นพังกว่าเดิม กิเลสใจร้อนเกินฐาน ก็จะไปเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเร่งรีบใจร้อนเกินกำลังของพวกเขาอีก โลภกับผู้อื่นไม่พอ แน่นอนก็มาโลภกับตนเองให้ตนเองทำได้ไวๆ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่ามันยังไม่สามารถทำได้ กิเลสทุกตัวเป็นก้อนเดียวกัน พึงประมาณให้ดี ที่ทำได้อย่างผาสุกทั้งตนเองและผู้อื่น ยอมรับในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ก็ซ้อมคิดเตรียมใจไว้ว่า ถ้าป้าจะต้องนอนติดเตียงจริง ๆ เราก็จะได้ใช้วิบาก ได้ดูแลผู้มีพระคุณย่อมเป็นเรื่องดีงามและควรพึงทำ ได้พิจารณาร่างกายสังขารไม่เที่ยง แข็งแรงวันนี้ ก็ต้องป่วย แก่ เจ็บในวันนึง ก็เป็นธรรมดา หาเอาประโยชน์ในการเข้าใจสัจธรรมให้ได้ในทุกสถานการณ์ ย้อนกลับมาพิจารณาว่าตนเองนั้นก็ได้รู้ธรรมะและปัญญาพาพ้นทุกข์เรื่องโทษและวิบากกรรมของการเสพขนมมาจากครูบาอาจารย์ก็มากมายแล้ว ตนก็ยังไม่สามารถเลิกกินขนมได้มากกว่านี้เลย ประสาอะไรกับคุณป้าที่ยังไม่เคยได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมะ การที่ท่านยังทำไม่ได้ ย่อมเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจท่านได้ ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย พากเพียรทำเรื่องนี้ให้ได้ก่อน จึงค่อยลองเสนอให้ผู้อื่นทำตาม เมื่อมีปัญญาในการพาตนเองเลิกขนมได้ ก็จะมีปัญญามากพอในการแนะนำผู้อื่น

  32. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ฝากลูกด้วยนะ
    เหตุการณ์ : เพื่อนโทรมาแสดงความยินดีที่เราจะได้ย้ายกลับไปทำงานที่บ้าน และคำสุดท้ายที่เพื่อนบอกคือ ฝากลูกด้วยนะ กิเลสเราโผล่มาเลย

    ทุกข์ : กลัวจะดูแลลูกเพื่อนได้ไม่ดีตามที่เพื่อนบอกไว้

    สมุทัย : ชอบถ้าดูแลลูกเพื่อนได้ดีตามที่เพื่อนบอกไว้ ชังถ้าดูแลลูกเพื่อนได้ไม่ดีตามที่เพื่อนบอกไว้

    นิโรธ : จะดูแลลูกเพื่อนได้ดีหรือไม่ดีตามที่เพื่อนบอกไว้ ก็ไม่ชอบไม่ชัง สบายใจได้

    มรรค : มาพิจารณาตรวจใจดู

    มาร : โอ้โห ลูกเพื่อนเป็นเด็กพิเศษเราจะดูแลไหวไหมนี่ ดูน่ากลัวจัง
    เรา : กลัวอะไร กลัวทำไมมาร
    มาร : ก็กลัวว่าจะดูแลลูกเพื่อนได้ไม่ดีตามที่เพื่อนบอกไว้ไง
    เรา : เอาแล้ว คิดไปก่อนอีกแล้วมาร ฟุ้งซ่านชัดๆ เลย ยังไม่รู้เลยจะได้สอนชั้นไหน อาจจะได้สอนลูกเพื่อนก็ได้หรืออาจจะไม่ได้สอนก็ได้
    มาร : แต่ถ้าได้สอนลูกเพื่อนจริงๆ ล่ะ จะทำอย่างไรล่ะ
    เรา : ก็ไม่กลัว สอนเท่าที่เราสอนได้ ยินดีทำเต็มที่สุดความสามารถที่เราทำได้ตามองค์ประกอบเหตุปัจจัย เราจะไม่เอา คำว่า “ฝากลูกด้วยนะ” มากดดันตัวเอง เพราะมันสร้างทุกข์ สร้างชั่วให้กับตัวเองและผู้อื่น ใช่เลยมันเข้ากับบททบทวนธรรมข้อนี้เลย
    มาร : ข้อไหนล่ะ
    เรา : ข้อ 33 ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่ พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น
    สรุป เบาใจ โล่งใจ ลุยต่อไปทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง สาธุค่ะ

  33. ขวัญจิต เฟื่องฟู

    ตื่นเต้นที่จะพูดภาษาอังกฤษ

    วันนี้จะสอบภาษาอังกฤษ ได้เตรียมตัวสอบมาบ้างเเล้ว เเต่ยังรู้สึกว่าตัวเองยังตื่นเต้นอยู่ พอถึงเวลาพูดจริงๆใจเต้นเเรง เสียงหาย หน้าร้อน พูดติด ๆ ขัด ๆ มีอาการตันที่คอ

    ทุกข์ : กลัว ตื่นเต้น หน้าร้อน เสียงหาย

    สมุทัย : เพราะยึดว่าต้องพูดได้คล่อง ได้ดี ไม่ชอบที่พูดติดๆ ขัดๆ ชอบที่จะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง

    นิโรธ : เเม้จะพูดได้ดีหรือไม่ จะฝึกพูดต่อไปด้วยใจที่ไร้ทุกข์

    มรรค : ตั้งสติ รวบรวมความกล้า เเม้จะพูดติดๆขัดๆ ก็พูดต่อไปจนจบ เห็นความตื่นเต้น อาการหน้าร้อนค่อยจางหายไป เห็นความนิ่งเริ่มเข้ามาเเทนที่อาการที่เป็นอยู่ก่อน ความดีใจเข้ามาเเทนที่ ที่ตัวเองก้าวพ้นความกลัวเเละเห็นว่าตัวเองมีความมั่นใจเเละกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษมากขึ้นคะ

  34. ขวัญจิต เฟื่องฟู

    ไม่รู้คำตอบ

    วันนี้ได้ร่วมทำข้อสอบ ววป .ด้วย อ่านคำถามหน้าเเรกเเล้วงงเลย รู้สึกว่าตัวเองไม่เข้าใจเลย เเต่ก็ตอบมีทั้งเดาเเละซุ่มเอา หน้าที่สองยิ่งไปกันใหญ่ เป็นคำถามของท่านพ่อครูเทศน์ ไม่รู้เรื่องเลย ไม่สามารถตอบได้ เห็นใจที่มันบอกว่าจะทำต่อหรือออกจากห้องสอบดี

    ทุกข์ : ไม่เข้าใจข้อสอบ เห็นอาการมึนตึ๊บ กระอักกระอ่วนใจเพราะไม่รู้คำตอบ อยากเลิกสอบ

    สมุทัย : ยึดว่าต้องรู้เเละทำข้อสอบให้ได้ ชอบที่จะทำข้อสอบได้ ไม่ชอบที่จะตอบข้อสอบไม่ได้

    นิโรธ : ตั้งสติ ในเมื่อเราเข้ามาเเล้วก็ทำให้เสร็จ ในเมื่อตอบไม่ได้ก็คือตอบไม่ได้ เห็นว่าตัวเองอายเเละยังกังวลคิดว่า คุรุท่านตรวจข้อสอบเเล้ว ท่านจะคิดยังไงที่ไม่มีคำตอบ บอกกับตัวเองว่า เราเอาตามความเป็นจริง ได้เขียนตรงท้ายไปว่า ” ขออภัยลูกตอบไม่ได้ค่ะ ”
    ใจมันคลายความทุกข์ลง เเต่ยังไม่หมด พิจารณาต่อ ถ้าเราตอบได้หรือเดาสุ่มไป มันก็เป็นการโกหกต่อตนเอง ครูบาอาจารย์ ต่อพี่น้องหมู่กลุ่ม มันผิดศีล เราเอาความเป็นจริงนี่เเหล่ะตอบ ไม่รู้ก็คือไม่รู้ จะอายทำไม ยอมรับเสียเถอะว่าภูมิปัญญาของเรามีเเค่นี้ หลังจากทำเสร็จก็ได้ตรวจทานดูอีกครั้ง ตั้งใจที่จะส่ง เเม้จะตอบไม่ได้ก็ตาม
    ต้องขอบพระคุณการสอบในครั้งนี้ ที่ทำให้เห็นตัวตนของตัวเอง ได้เห็นกิเลสที่มันซ่อนอยู่อีกเยอะ อนุโมทนาสาธุกับพี่น้องที่ร่วมสอบคะ

  35. สมทรง นาคแสงทอง

    ชื่อเรื่อง : คิดดี พูดดี ทำดี ดีที่สุด

    ทุกข์ คือ กังวลในใจว่า จะสามารถขอลูกไปสวน ๙ ได้หรือไม่

    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ อยากไปบำเพ็ญที่สวน ๙ กลัวว่าลูกจะยังไม่ค่อยอยากปล่อยให้ไปไหนง่ายๆ เดาใจว่า ลูกเป็นห่วงเพราะเราอาการเพิ่งดีขึ้น หลังจากป่วย

    นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ยินดีจะได้ไปสวน ๙ ก็ได้หรือไม่ได้ไปก็ได้ พอใจในปัจจุบันที่บำเพ็ญที่ไหนก็ได้ ใจไร้กังวลปล่อยให้เป็นไปตามธรรม ก็น้อมยอมรับในผลที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่ได้ไปขอลูกแล้ว

    มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ พิจารณาการเดาใจ ว่าเป็นทุกข์ ทำให้กังวล แก้ไขด้วยการถามลูก และลองสนทนากับลูกด้วยเหตุและผล เปิดรับความคิดเห็นของลูกว่าเป็นอย่างไร ไม่กังวลกับอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น พากเพียรตั้งศีล คิดดี พูดดี ทำดี เป็นที่สุด เมื่อะไรจะเกิดก็น้อมรับ ด้วยกายวาจาใจ อย่างอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส

  36. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : ไม่วางโทรศัพท์สักที
    เหตุการณ์ : เพื่อนโทรมาหาตอนเวลา 18.05 น. เราก็รับโทรศัพท์เพื่อน และคุยกับเพื่อนไป เมื่อใกล้ถึงเวลา 18.30 น. เพื่อนก็ยังไม่วางสาย ทีนี้กิเลสก็โผล่มา

    ทุกข์ : อึดอัดใจที่เพื่อนไม่วางสายโทรศัพท์สักที

    สมุทัย : ชอบที่เพื่อนวางสายโทรศัพท์ เวลา 18.30 น. ชังที่เพื่อนไม่วางสายโทรศัพท์ เวลา 18.30 น.

    นิโรธ : เพื่อนจะวางสายโทรศัพท์ เวลา 18.30 น. หรือไม่วางสายโทรศัพท์ เวลา 18.30 น. ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาตรวจใจกัน
    มาร : ใกล้แล้วนะ ใกล้ถึงเวลาเข้ารายการกับพี่น้องแล้ว เมื่อไหร่เพื่อนจะวางสายโทรศัพท์เนี่ย
    เรา : เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นแหละ จะอึดอัดใจให้ทุกข์ทำไม เข้าทันก็ได้เข้าไม่ทันก็ได้
    มาร : ไม่ได้หรอก ต้องเข้าให้ทันหมู่ตอนเปิดรายการ มารก็กดเข้าไปในไลน์ว่าลิงค์เข้าซูมมาหรือยัง กดเข้าไปดูตั้งหลายครั้งก็ยังไม่เห็นลิงค์เข้าซูม
    เรา : เอ๊ะ หรือว่าวันนี้ไม่มีการเข้าซูมแล้วหรือ ตกลงงั้นวางใจคุยกับเพื่อนต่อ พอใจวางแล้วถึงทำให้รู้ว่าตัวเอง ไม่ได้เปิดสัญญาณอินเตอร์เน็ต ก็เลยไม่เห็นลิงค์เข้าซูม จากนั้นก็บอกเพื่อนตามตรงว่า เราขออนุญาตเข้าเรียนก่อนนะ ถ้าเสร็จแล้วเราจะโทรหาใหม่ เพื่อนก็เข้าใจ
    มาร : เป็นเพราะคิดแบบข้าเองหรือ ที่ทำให้เข้าซูมช้า ปาไปเกือบทุ่มหนึ่งเลย
    เรา : ใช่เลย ต่อไปก็อย่าทำอีก
    มาร : ตกลง
    สรุป กดเข้าซูมไปร่วมรายการกับพี่น้องอย่างสบายใจ สาธุค่ะ

  37. 21  มีนาคม  2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง  ตกใจกลัว หมาไล่กัด

     ขี่มอเตอร์ไซค์อยู่ในหมู่บ้าน
    แล้วโดนหมาไล่ ภาพที่หมาวิ่งตีคู่พร้อมเห่ากรรโชก ทำให้ยังตกใจกลัวไม่หาย กลับถึงบ้านด้วยความเพลีย กิเลสยังมาหลอกซ้ำอีกว่า กินอะไรซะหน่อยจะได้หายเพลีย

    ทุกข์  ตกใจกลัวหมาไล่กัด

    สมุทัย  ชอบ หมาไม่ไล่กัด     ชัง  โดนหมาไล่กัด

    นิโรธ   จะโดนหมาไล่ หรือไม่โดนหมาไล่  ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค  ในเหตุการณ์นี้ เห็นกิเลสหลายตัว  ตัวกลัวว่าจะถูกหมากัด  ตัวชิงชังหมาที่มาไล่เรา จนคิดไปถึงว่า น่าจะมีคนมากำจัดหมาตัวนี้ และกิเลสที่มาหลอกให้ไปผิดศีลกินมื้อค่ำ ด้วยเหตุผลว่า  เพลีย ต้องกินอะไรซะหน่อย

             ดีที่เห็นกิเลสทัน ว่าที่เพลียเพราะเสียพลังไปกับความตกใจกลัว ไม่ใช่เพราะขาดอาหาร จะหลอกให้เราผิดศีล  ส่วนเรื่องตกใจกลัวที่หมาไล่ ก็ถามกิเลสว่า แกไม่เคยทำรึยังงัย ที่อาละวาดโกรธคนโน้นคนนี้ จนทำให้เขาตกใจ เขาเครียดกันหนะ  โดนหมาไล่เห่าแค่นี้ก็ดีแค่ไหนแล้ว ส่วนเรื่องที่คิดจะให้มีคนไปกำจัดหมานั้น ก็เป็นความคิดที่เบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น เห็นแก่ตัว ผิดศีล  คนอื่นเขาขับรถผ่านไปผ่านมาตั้งเยอะแยะ ทำไมไม่โดน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่มันเลือกที่จะมาไล่กัดเรา
         เมื่อพิจารณาว่า เหตุการณ์นี้ทำให้เราได้ชดใช้วิบากร้ายที่เคยพลาดทำมาแล้ว ทำให้กิเลสความกลัว และความชิงชัง คลายลง อาการเพลียก็ลดลง
    หมาไล่เรา  เราไล่กิเลสได้ คุ้มสุดคุ้ม

    บททบทวนธรรมข้อที่ 10 “เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโขคดีขึ้น”

  38. นางสาวนาลี วิไลสัก

    เรื่อง : อยากกินข้าวปุ้นโหโล้ง
    เหตุการณ์ : เนื่องจากเราเป็นคนที่เคยติดอาหารเจที่ปรุงรสจัดอีกเมนูหนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารประจำท้องถิ่นของแขวงบ่อแก้ว (จังหวัดบ่อแก้ว) วันนั้นเราไปธุระที่แขวงบ่อแก้ว กิเลสก็ไปด้วยกับเรา
    ทุกข์ : อึดอัดใจจะต้องหาวิธีไปกินข้าวปุ้นโหโล้งให้สมดั่งใจอยาก
    สมุทัย : ชอบที่จะได้กินข้าวปุ้นโหโล้ง ชังที่ไม่ได้กินข้าวปุ้นโหโล้ง
    นิโรธ : จะกินข้าวปุ้นโหโล้ง หรือ ไม่ได้กินข้าวปุ้นโหโล้งก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : พิจารณาโทษของข้าวปุ้นโหโล้งเต็มที่แล้ว แต่ไม่ไหวเพราะกำลังของกิเลสแรงมาก
    มาร : เออ!! ก็นานแล้วที่เราไม่ได้กินข้าวปุ้นโหโล้งนะ วันนี้โอกาสดีจังเลย ที่ได้มาแขวงบ่อแก้วจะได้ไปกินข้าวปุ้นโหโล้ง ให้สมดั่งใจที่เรานึกถึงความอร่อยของมันมาตลอด
    เรา : ไม่ๆๆ!! เราจะไม่ไปกินข้าวปุ้นโหโล้ง เพราะมันเป็นอาหารที่ปรุงรสจัด กินทีไรก็ท้องเสียทุกทีเลย ไม่เอาดีกว่ากลัววิบากร้ายจะเข้า(อ้วกเขียวอ้วกเหลือง)
    มาร : เอ๊ย!!!อยากกินๆๆ มากๆๆอะ พาไปกินหน่อยเถอะ เมนูอาหารอย่างอื่นก็ตั้งศีลไว้หมดแล้ว ยังเหลือแค่เมนูนี้แหละที่ยังไม่ได้ตั้งศีล ไปกินเถอะข้าวปุ้นโหโล้ง อร่อยมากและไม่ผิดศีลด้วย…
    เรา : เรื่องอะไรเราจะไปทำตามแกล่ะมาร อยู่ที่บ้านของเราไม่มีอาหารเมนูนี้ เราไม่ได้เจอบ่อยๆก็เลยไม่ได้ตั้งศีลกับมันนั้นก็จริง แต่วันนี้เรามาที่ที่มีข้าวปุ้นโหโล้ง เราจะเริ่มตั้งศีลไม่กินข้าวปุ้นโหโล้ง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
    มาร : ไม่ยอมๆๆ!! จะต้องไปกินให้ได้ ไปแขวงบ่อแก้วแล้วไม่ได้กินข้าวปุ้นโหโล้ง ก็เท่ากับไม่ได้ไปแขวงบ่อแก้ว ขอร้องเถอะพาไปกินหน่อย ก็ไม่ได้กินบ่อยๆนี่ นานๆ ที 2-3 ปี จึงจะได้ไปแขวงนี้
    เรา : อย่าเลยมาร แกอย่ามางอแงอยู่นั่นแหละ วันนี้เรามาทำธุระส่วนตัว ไม่ได้มาทำธุระของแก เห็นไหมเดือนที่แล้วน่ะ แกสั่งให้เราไปซื้ออาหารรสจัด เรายอมทำตามแก แค่คิดจะไปซื้อเท่านั้นแหละ ยังไม่ได้ซื้อเลย ก็ยังเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางเลย ถ้าแกทนไม่ไหวก็ไปกินเองสิ แต่เราไม่ไปเพราะเราทำตามแกทีไร ก็ซวยทุกทีเลยไอ้มารตัวซวย
    มาร : เฮ๊ย!!!อะไรๆๆ ก็โทษแต่มารๆๆ ก็ในเมื่อก่อนเจ้าเป็นคนพาเราไปกินหนิ ตอนนี้ก็ต้องพาเราไปกินให้ได้สิ เพราะเราไม่กลัวอะไรแล้ว ตายก็ยอมตาย ต่อให้กินเสร็จตายคาร้านเราก็ยอม กินเสร็จอ้วกเขียวอ้วกเหลืองจนตายเราก็ยอม
    เรา : ในที่สุดเราก็ยอมพามารไปกินข้าวปุ้นโหโล้ง ในขณะที่ปรุงอาหาร เราก็ปรุงด้วยเกลืออย่างเดียว ปรุงเสร็จก็ให้มารชิม
    มาร : เอ่!! ไม่อร่อยอ่ะ เออ ต้องบีบมะนาวใส่แล้วก็ชิมอีกก็ยังไม่อร่อย ทำไมมันไม่อร่อยเหมือนเมื่อก่อนหว่า ไม่อยากกินแล้ว
    เรา : ก็แกบอกว่าอยากไปกิน เพราะมันอร่อยหนิ งั้นแก่ก็ต้องกินให้หมดไม่กินไม่ได้
    มาร : เอ!! จะทำไงน้อ ต้องนึกถึงเมื่อก่อน เรากินยังไงน้อ จึงจะอร่อย…เออ! นึกออกแล้วต้องกินไปด้วยชมบรรยากาศ คุยกับเพื่อนไปด้วย ก็ทำตามนั้น แต่ก็ยังกินไม่อร่อย ต้องกินไปเปิดมือถือฟังไปด้วย ทำตามนั้นก็ยังกินไม่อร่อย เอ!! จะทำยังไงอีกน้อคิดๆๆๆ เออต้องเปลี่ยนท่านั่ง ในที่สุดก็มาเปลี่ยนท่านั่งได้ 3 ท่าแล้วก็ยังหาความอร่อยในข้าวปุ้นโหโล้งไม่มี เฮ๊ยทำไมๆๆ มันไม่อร่อยเหมือนเมื่อก่อนหว่า ความอร่อยมันหายไปไหน ถ้าเป็นเมื่อก่อนได้มานั่งกินแบบนี้ ก็จะสุขแทบตาย อร่อยแทบตาย แต่วันนี้ความอร่อยไม่มีแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะไม่พูดถึงข้าวปุ้นโหโล้งอีกแล้วลาก่อนข้าวปุ้นโหโล้งบ๊ายๆๆ
    สรุป การพามารไปเข้าร้านวันนี้คุ้มมากๆ เลยเพราะมารตายคาถ้วยข้าวปุ้นโหโล้งเลย พอมารตายใจเราก็เบาสบายเลยค่ะ ตรงกับ บทธ ข้อ33 ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่ พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น

  39. ชลิตา แลงค์

    เรื่อง : เสียชีพ ไม่เสียศีล

    ข้าพเจ้าตั้งศีลไม่กินอาหารเย็นได้หลายวันแล้ว และก็ยินดีที่จะทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ แต่วันนี้มีโปรแกรม ทำงานเพิ่มมากขึ้น เลยตั้งศีลเผื่อเอาไว้ว่าถ้าหากหลังเลิกงานแล้วมีอาการเหนื่อยและหิวจะขอกินอาหารเย็น พอถึงบ้านก็ได้ตรวจดูตัวเองว่ามีอาการเป็นอย่างไร เค้าไม่เหนื่อยและไม่หิว แต่มีความรู้สึกว่าอยากกินอาหาร ในหัวก็นึกถึงเมนูอาหารต่าง ๆ ที่จะทำได้ กิเลสมันบอกว่ากินก็ได้นะวันนี้เราตั้งศีลเผื่อเอาไว้แล้ว ไม่น่าจะผิดอะไรหรอก ตัวกิเลสมันเชียร์ใหญ่เลย

    ทุกข์ : อยากกินอาหารเย็น

    สมุทัย : อยากกินอาหารเย็น ถ้าได้กินจะสุขใจ ถ้าไม่ได้กินจะทุกข์ใจ

    นิโรธ : หากมีเหตุจำเป็นต้องได้กินก็สุขใจหรือถ้าไม่ได้กินก็สุขใจได้

    มรรค : ตั้งสติพิจารณาดูร่างกายของตัวเอง จริง ๆ แล้วการกินข้าวหรือกินอาหารอะไรก็ตามเราจะกินเพื่อบำรุงให้ร่างกายมีกำลัง แต่ตอนนี้ร่างกายมีกำลังดีอยู่ ไม่มีอาการหิวเลย ท้องมันก็แน่น ๆ เต็ม ๆ อยู่ มิฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องกินอาหารเลย แล้วพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ถ้ากินก็จะทำให้ท้องแน่นเพิ่มขึ้นอีก แถมนอนหลับไม่สบายและไม่ได้รักษาศีลที่ตั้งไว้ ถ้าไม่กินท้องก็จะเบาสบายทำให้นอนหลับดีและยังได้รักษาศีลที่ตั้งไว้ด้วย ถ้ากินก็เป็นพวกกิเลส ไม่กินได้เป็นพวกพุทธะ เราไปอาบน้ำ หรือหาอะไรอย่างอื่นทำดีกว่า ข้าพเจ้าคิดแบบนี้สู้กับกิเลสอยู่สักพัก แล้วตัดสินใจไม่กินด้วยใจเป็นสุขค่ะ สาธุ

  40. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง เกือบโดนหลอก
    เนื้อหา ช่วงนี้ได้รับประทานอาหารปั่นมื้อเดียวมาได้ 1อาทิตย์แล้ว วันนี้ก็เช่นกัน เริ่มรับประทานอาหารปั่นไป 2 ถ้วย อิ่มพอดีแล้วมีเศษอาหารเหลือนิดหน่อยก็ทิ้งไปเป็นปุ๋ย กิเลสมันบอกว่าอยากกินข้าวกับกับข้าวเป็นชิ้นๆ เป็นคำข้าว มันดิ้นอยากกิน อยากกิน

    ทุกข์ อยากกินอาหารที่เคี้ยวเป็นคำข้าว

    สมุทัย ชอบถ้าได้กินอาหารเป็นคำข้าว ชังถ้าไม่ได้กินอาหารเป็นคำข้าว

    นิโรธ จะได้กินหรือไม่ได้กินอาหารเป็นคำก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค ดูสภาวะที่คุย
    กิเลส : กินข้าวเพิ่มหน่อยนะ กินแบบเคี้ยว เคี้ยวเป็นคำโตๆนะ
    เรา : ก็เพิ่งกินไปเมื่อตะกี้ ยังไม่ได้ล้างจานเลยแถมเททิ้งอีก กินเพิ่มอีกทำไม
    กิเลส : กินหน่อยเถอะ 2-3 คำก็ได้ จะได้สัมผัสการเคี้ยวไง
    เรา : จะบ้าหรือไง ไม่เคยเคี้ยวหรือไง ก็เคยเคี้ยวมาตลอดชีวิตแล้ว เคี้ยวจนฟันสึกจะหมดปากแล้ว ยังจะเคี้ยวอะไรอีก ตอนนี้หันไปดูสิท้องมันพอดีแล้ว กินมากกว่านี้จะแน่นไปนะ มากไปต้องใช้พลังในการขับออกนะ ขับออกเองนะ ฉันไม่ช่วยนะแถมผิดศีลด้วย ก็ตั้งศีลกินอาหารปั่นไม่ใช่หรือ
    กิเลส : ไม่เป็นไรหรอกนิดเดียวเอง ไม่มีใครเห็น ใครว่าหรอก
    เรา : ใครบอกว่าไม่มีใครเห็นใครว่า ฉันเห็นและว่าเธออยู่นี่ไง พาไปผิดศีลเรื่อยเลย อาจารย์พูดอยู่ทุกวัน เสียชีพอย่าเสียศีล ฟังอยู่ไม่ใช่หรือ
    กิเลส : ฟังอยู่ แต่ถ้าหิวจริงก็กินนะ
    เรา : ได้ ถ้าหิวจริงค่อยกินกัน
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ 91 คนโง่ไม่มีปัญญาที่พาพ้นทุกข์จะไม่มีศรัทธาและศีลที่ถูกตรง
    ส่วนคนที่มีศรัทธาและศีลที่ถูกตรง ก็จะมีปัญญาที่พาพ้นทุกข์
    และคนที่มีปัญญาที่พาพ้นทุกข์ก็จะมีศรัทธาและศีลที่ถูกตรง
    สรุป หลังพูดคุยกันก็เบิกบาน สดชื่น ไม่หิว เข้าซูมพูดคุยกับพี่น้องได้จนจบรายการ…สาธุ

  41. นส.รจรินทร์ อักขะโคตร (กิ๊บ ขวัญชวนไพร)

    นส.รจรินทร์ อักขะโคตร กิ๊บ ขวัญชวนไพร สวนป่านาบุญ 1 ส่งการบ้านค่ะ

    เรื่อง เหนื่อยจังเล๊ย กับการบีบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศตากแดดเนี่ย.

    ทุกข์
    บีบมะเขือเทศตั้งนาน ยุ่งยาก น้ำก็เยอะ หกเลอะเทอะอีก

    สมุทัย
    -ชังที่บีบมะเขือเทศตั้งนาน ก็ยังไม่เสร็จ
    -ชอบที่จะให้งานเสร็จเร็วๆ

    นิโรธ
    การบีบมะเขือเทศ จะเสร็จเร็วก็ได้ ช้าก็ได้ หรือไม่เสร็จก็ยังได้ ยังไงก็ได้ทั้งนั้น..

    มรรค
    ขณะที่กิ๊บกำลังบีบมะเขือเทศเพื่อตากเมล็ดพันธุ์ แล้วแจกแบ่งปันฟรีค่ะ แต่ว่า..

    กิเลส : บอกแล่วว่าอย่าทำ เห็นไหม เหนื่อยๆๆกว่าจะเสร็จ นี่ยังไม่ถึงไหนเลย

    กิ๊บ : เหนื่อยจริงด้วย เหนื่อยๆๆ (คล้อยตามกิเลสเชียว)

    กิเลส : โกรธจัง ทำแจกใครๆๆ นี้มันโคตรเหนื่อยเลยน้อ อยู่ดีไม่ว่าดี หาเรื่องให้ยุ่ง

    แน่ะๆๆ นั่นไง เจ้ากิเสโผล่มาตอนเหนื่อย ตอนนี้กิ๊บได้สติล่ะ

    กิ๊บ : เฮ้ยๆๆ เธอบอกว่าเหนื่อยงั้นรึ เจ้ากิเลส

    กิเลส : ใช่ โคตรเหนื่อยเลย จึงโกรธอยู่นี่ไง ทำอยู่ตั้งนานๆๆ ยังไม่เสร็จอีก

    กิ๊บ : คุ้มจริงๆ ที่บีบมะเขือเทศตากแดด แล้วเหนื่อยๆๆ เธอจึงโผล่มา หน๊อยแน่ หลอกกันให้หลงเหนื่อยตามเลยนะ

    กิเลส : เอ้า ก็เหนื่อยจริงๆ ไม่เห็นรึไง น๊าน..

    กิ๊บ : กิเลสเอ๋ย ทำงานเหนื่อย ก็เป็นเรื่องธรรมดา พักๆ ไม่นานก็หายเหนื่อยล่ะ แต่ที่บ่นว่าเหนื่อยๆๆ บ่นตลอดเวลานี่สิ อันเนี้ยะ หายไม่เป็น ไม่เคยหายเลยด้วย ฉันว่ามันเหนื่อยกว่าการใช้แรง
    งานอีกว่ะ เธอว่าไหม?

    กิเลส : แฮ่ๆๆ เห็นฉันแล้วรึ นี่อุตส่าห์คิดอุบายหลอกนะ ยังเห็นอีกรึ

    กิ๊บ : ขอบคุณความเหนื่อย ที่ทำให้เห็นเธอโผล่มา เธอยังจะเหนื่อยอีกไหม?

    กิเลส : ไม่เหนื่อยแล้วจ้า เพราะรู้ดีว่าสิ่งที่กำลังทำนี้ เพื่อแจกจ่ายใครๆ จะได้ปลูกมะเขือเทศกันทั่วประเทศ แบ่งปันกันทั่วหล้าจ้า..ใครๆ จะได้ไม่ขาดแคลนจ้า

    แล้วรอยยิ้มก็เกิดขึ้น ความเหนื่อยของร่าง ก็ยังมีอยู่ แต่ใจมันไม่เหนื่อยแล้ว จึงทำอย่างผาสุก เบิกบานค่ะ

    จบ..

  42. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #นอนไม่หลับ

    ปกติผมจะเป็นคนที่หลับง่ายแต่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (18/3/64) ผมนอนไม่หลับและไม่ว่าจะใช้วิธีอะไรที่เคยใช้ได้ผลเพื่อให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้นแต่พอมาในครั้งนี้ก็ไม่สามารถช่วยให้นอนหลับได้ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ชอบที่นอนไม่หลับ

    ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะไม่ชอบที่นอนไม่หลับ

    สมุทัย : จะทุกข์ใจถ้านอนไม่หลับแต่จะสุขใจถ้านอนหลับง่าย

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าจะนอนหลับหรือนอนไม่หลับก็ตาม

    มรรค : พยายามล้างความชอบชังในเรื่องนี้โดยการพิจารณาความจริงตามความเป็นจริงและทำใจในใจให้แยบคายโดยในกรณีนี้ได้นำวิบากกรรมมาพิจารณาว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้นอนไม่หลับก็เกิดมาจากวิบากกรรมไม่ดีที่ผมเคยได้ทำมาก่อนทั้งในชาตินี้และชาติก่อนหน้านี้ เพราะฉนั้นถ้ายอมที่จะรับวิบากกรรมด้วยความยินดีก็ถือว่าจะได้ล้างวิบากกรรมให้ลดไปอีกชุดหนึ่ง

    ตลอดจนนำเรื่องของการยึดมั่นถือมั่นมาร่วมพิจารณาด้วยเพราะแม้โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนที่หลับได้ง่ายแต่นั้นก็ไม่ได้สิ่งที่เที่ยงแท้ยั่งยืนแน่นอนเสมอไปเพราะในสักวันหนึ่งไม่เร็วก็ช้าไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้าก็ต้องมีสักวันหนึ่งที่ผมนอนไม่หลับบ้าง

    และก็ได้ใช้บททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณาเช่น บทที่ 46 “เกิดอะไรจงท่องไว้ กู เรา ฉัน ทำมา” บทที่ 56 “ทุกเสี้ยววินาทีทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน ตลอดเวลา”

  43. นส.พวงผกา​ โพธิ์กลาง​

    เรื่อง​ กระดาษข้อสอบ
    มีพี่น้องมาขอแรงบุญให้ช่วยแจกใบกระดาษคำถาม​คำตอบ แล้วขณะที่แจกก็มีคำถามขึ้นมาในใจว่า​ ทำไมไม่ปริ้นให้เสร็จทีเดียวแล้วค่อยแจกทีเดียวพร้อมกันเลย​ ทำไมไม่เตรียมพร้อมเลย ทำไมไม่แจ้งหมู่ว่าปริ้นไม่ทัน​ ถ้าคราวหน้าทำแบบนี้้มาขอแรงบุญจะบอกว่าไม่สะดวกช่วยค่ะ

    ทุกข์​ เพราะไม่ได้ดั่งใจที่เราคิดไว้

    สมุทัยเหตุแห่งทุกข์​ ไม่ชอบที่พี่เขาไม่เผื่อเวลาในการปริ้น​ ไม่เตรียมพร้อม​ เวลาเรามาช่วยก็งง​ ไม่รู้ว่าส่วนไหนอะไรบ้าง​ มีเวลาน้อยที่จะทำความเข้าใจก่อนจะแจกข้อสอบ เพราะเราไม่ถนัดในด้านนี้เลย

    นิโรธ พี่เขาจะปริ้นกระดาษข้อสอบช้าหรือเร็วใจก็ไม่ทุกข์​ จะแจกตอนไหนก็ได้ใจไม่ทุกข์​ จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก่อนแจกก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค​ ยอมรับโทษเต็มใจรับโทษสิ่งที่เราได้รับ​ และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์นี้เพราะเราเคยเป็นคนแบบนี้​ เราเป็นคนไม่เตรียมตัวให้พร้อม​ เป็นคนคิดอะไรไม่รอบ​ ไม่กว้าง​ คิดแบบตามภพตัวเอง​ ประมาทคิดว่าทำตอนไหนก็ได้เพราะงานนี้ตัวเองถนัด​ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเพื่อนที่จะเข้ามาร่วมทำด้วย​ เหตุการณ์ครั้งนี้สอนให้รู็ว่า​ ถ้าเราจะทำอะไรเราต้องมีการวางแผนร่วงหน้าก่อน ต้องมีการคุยกันกับผู้ที่จะมาร่วมงานกันก่อน​ แบบไม่ยึดมั่นถือมั่นว่างานจะออกมาดีหรือไม่ดีก็ได้แต่เรารู้ว่าเราได้ทำเต็มที่แล้ว​ เราก็จะไม่มีอะไรคาใจ

  44. พรพิทย์ สามสี

    เรื่อง : ขี้เกียจเอาไปให้
    พี่ผู้หญิงท่านหนึ่งโทรมาว่าช่วยซื้อ ข้าวหมกไก่ หรือ ก๋วยเตี๋ยว มาให้สามีเขาหน่อย สามีเขายังไม่ได้กินอะไร สามีเขาเป็นอัมพาต เราขายของอยู่ที่ตลาดนัด เราเสร็จจากตลาดก็ขับรถมาสวนกับพี่ผู้หญิง พี่ผู้หญิงว่าเองช่วยเอาของกินไปใหเได้ไหม เขาไม่ย้อยกลับไปแล้ว เขาจะไปทำงาน งานเขาก็เป็นงานอิสระ เราทั้งร้อนทั้งหิว เพราะในตลาดที่เราขายไม่มีอาหารมังขาย เราอยากรีบกลับบ้านไปทำอาหารมังกิน เราอยากเอาของกินไปให้สามีเขาตอนเย็นมากกว่า
    ทุกข์ : เขาน่าจะย้อนกลับมาเอาของกินให้สามีเขาด้วยตัวเอง
    สมุทัย : ชอบที่ไม่ไปแวะบ้านเขาก่อน ชังที่ต้องไปแวะเอาของกินให้
    นิโรธ : เขาจะขอช่วยให้ไปตอนไหนก็ได้ ยินดี เต็มใจ ที่จะทำ
    มรรค : มาร : มันบอกว่าเราก็หิว อากาศก็ร้อน แดดก็ร้อน เอาไปให่ตอนเย็นได้ไหม ช่วยมาหลายครั้ง หลายคราวแล้ว พี่เขาน่าจะย้อนกลับมาเอาไปให้เอง งานก็เป็นงานอิสระ
    เราเหนื่อยจากงานขายของมาแล้ว
    เรา : เอาไปให้เขาก่อนเถอะเขายังไม่ได้กินอะไร เขาเป็นอัมพาต บททบทวนธรนม ที่ ๓
    นับ ๑ ที่เรา เริ่มต้นที่เรา ทำความดีที่เรา
    นี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตน และช่วยคนให้พ้นทุกข์ บทธบทวนธรรม ๕ ชีวิตที่ไม่ได้หยุดชั่ว
    ไม่ได้ทำดี ไม่ได้ทำดี ไม่ได้ทำจิตใจให้ผ่องใส
    คือชีวิตที่ผิดพลาด คือชีวิตที่ขาดทุน
    คือชีวิตที่สูญเปล่า
    ขอขอบคุณบททดสอบบทนี้ ที่ทำให้เราคิดได้
    รู้จักตัวกิเลสชั่ว ที่สะสมมา ให้ออกไปเสียบ้าง
    ให้…
    แล้วคิดที่จะไม่เอา
    อะไรจากใครให้ได้ …

  45. โยธกา รือเซ็นแบร์ก

    ไม่เปิดใจ

    พี่น้องฝึกภาษาอังกฤษกัน อย่างสนุกสนาน แต่ฟังไม่รู้เรื่อง ตอนแรกๆก็นั่ง ดูใจ ไม่เป็นอะไรและภาวนาไป ผ่านไป 20 นาที มีความรู้สึกว่าใจอึดอัด แน่นๆในอกและมึนหัว ถามตัวเองว่าเรานี่มานั่งทำอะไร ก็นั่งฟังพี่น้องต่อ เมื่อเห็นว่าใจยิ่งแน่นและอึดอัดมากขึ้น จึงบอกพี่น้องว่ามันคงมากไปสำหรับพี่ คงจะเรียนไปไม่ได้ พี่น้องหยุดพูดกัน และหันมาบำเพ็ญชี้แนะ บอกกับข้าพเจ้าว่า อย่าปิดกั้นตัวเองและอย่าพูดว่าทำไม่ได้ ให้เปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆพี่น้องยกตัวอย่าง ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราเริ่มต้นมันยากทุกอย่างแหละ แต่พอเราฝึกซ้ำๆทำบ่อยๆก็จะทำได้ ถึงแม้จะฟังไม่รู้เรื่องและยังพูดไม่ได้แค่เข้ามาร่วมก็ดีแล้ว ฟังพี่น้องหมู่กลุ่ม พร้อมกับน้อมจิตคิดตามรับฟังมองเห็นความเป็นจริง เห็นใจว่าเพราะเรา ปิดใจไม่ยอมรับที่จะเรียนคิดแต่ว่ามันยาก จนทำให้ใจมันแน่นอึดอัดและปวดหัว ก็เริ่มปรับใจใหม่ ที่นิ่งฟังพี่น้องฝึกพูดกันไป ความอึดอัดแน่นในอกเริ่มคลายเบาลง จึงเริ่มจะถามพี่น้องว่าคำนี้ออกเสียงยังไงฝึกไปทีละคำ พอเราเปิดใจยินดีที่จะเรียน ก็เริ่มสนุกและกล้าจะพูดออกไปแม้จะยังไม่มั่นใจว่าถูกต้องหรือเปล่า แต่ก็เรียนกับพี่น้องด้วยสนุกสนาน

    ทุกข์ : ทางใจอึดอัด แน่นในอก ทางกายมึนหัว

    สมุทัย : ชอบ ที่จะไม่อึดอัด แน่นในอก ฟังรู้เรื่อง ไม่ชอบ ที่ใจอึดอัด แน่นในอก ฟังไม่รู้เรื่อง

    นิโรธ : แม้จะ ฟังไม่รู้เรื่องอึดอัดแน่นในอกก็ไม่ทุกข์ใจ ค่อยๆฝึกฝนเรียนรู้ไปไม่เร่งตัวเองว่าจะฟังรู้เรื่องและพูดได้ในเร็ววัน

    มรรค : พิจารณา เห็นใจเราไม่อยู่กับปัจจุบัน
    และสะกด ปิดกั้นตัวเองบอกว่า”ยาก /-ทำไม่ได้”มันมากเกินไปจึงทำให้ปิดหูปิดใจตัวเอง
    จนทำให้เกิดมีอาการทางกายแน่นในอก อึดอัด
    กราบขอโทษ ขออภัย ขออโหสิกรรมต่อตัวเอง
    และสะกดจิตตัวเอง ไม่ยอมเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ
    บอกตัวเองค่อยๆฝึกฝนไปอย่างช้าๆ ไม่เร่งผลไม่เปรียบเทียบกับใคร
    กราบขอบพระคุณพี่น้องที่มาชี้ขุมทรัพย์ทำให้มองเห็นอัตตาของตัวเอง เมื่อน้อมจิตตามจึงเห็นว่าความอึดอัด อาการแน่นๆในอกคลายเบาลง
    เปิดใจ ยินดีที่จะฝึกฝนไปพร้อมกับพี่น้องด้วยความยินดีและเบิกบานใจ
    ระลึกถึงบททบทวนธรรมข้อ 63 ยินดี พอใจ ไร้กังวล . ทำให้มี ความสนุกสนานกับการเรียนภาษาและเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเห็นผลชัดเจนในนาทีนั้นเลยและถ้าทำตรงกันข้ามไม่มีความยินดีไม่มีความพอใจมีแต่ความกังวลทำให้โง่ วิบากจึงปิดกั้นทั้งหู -ใจ
    ข้าพเจ้า ขอปรับใจใหม่ยินดีที่จะเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆ และทำเพื่อตัวเองด้วยความยินดี พอใจ ไร้กังวล.

    สรุปวิชาอังกฤษเป็นภาษาที่ข้าพเจ้ามองผ่านไม่เคยสนใจที่จะเรียน แต่พอข้าพเจ้าเปิดใจ มีความยินดี ที่เรียนรู้ฝึกฝนภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่น่าสนใจมาก จึงเรียนด้วยความยินดี เบิกบานใจ สาธุค่ะ

Comments are closed.