การบ้าน อริยสัจ 4 (ุ9/2564) [38:59]

640228 การบ้าน อริยสัจ 4 (9/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 22-28 กุมภาพันธ์ 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปมีผู้ส่งการบ้านสัปดาห์นี้ทั้งหมด 38 ท่าน 59 เรื่อง

  1. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  2. นางพรรณทิวา เกตุกลม (2)
  3. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ) (7)
  4. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
  5. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
  6. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  7. นปภา รัตนวงศา (3)
  8. นางจิราภรณ์ ทองคู่
  9. นางสาวนาลี วิไลสัก (3)
  10. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (6)
  11. นางศรีรวม มั่งมา
  12. สายใจ อ่อนแก้ว
  13. นางจีรวัลย์ วัฒนสิน Cheerawan Wattasin
  14. มงคลวัฒน์ รัตนชล เพชรไพรพุทธ
  15. สาวิตรี มโนวรณ์ (5)
  16. นาง สุมา ไชยช่วย (2)
  17. ประภัสสร วารี
  18. นางมัณฑนา ชนัวร์ เตี้ย ศีลประดับ
  19. จรัญ บุญมี(เพชรแผ่นดิน)
  20. จิรานันท์ จำปานวน
  21. จิตรา พรหมโคตร
  22. สุกัญญา มโนบาล ใจแสงธรรม
  23. บัณฑิตา โฟกท์ มุกแสงธรรม
  24. ขวัญจิต เฟื่องฟู
  25. พรพิทย์ สามสี
  26. sirikwun saelim
  27. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน (ก๊อบ สื่อศีล)
  28. นางโสภา หนำคอก
  29. ศิริพร คำวงษ์ศรี
  30. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  31. นส.พวงผกา โพธิ์กลาง
  32. Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น
  33. ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
  34. นายรวม เกตุกลม
  35. ประคอง เก็บนาค
  36. ชุติวรรณ แสงสำลี
  37. เสาวรี หวังประเสริฐ
  38. ปิ่น คำเพียงเพชร

Tags:

58 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (ุ9/2564) [38:59]”

  1. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง ไม่มีสติ

    เมื่อวันพุธ (17 กุมภาพันธ์) ที่ผ่านมาด้วยมือถือของตัวเองเหลือพื้นที่ในการบันทึกน้อย จึงได้ทำการลบภาพและข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง แม้กระทั่งอัลบั้มที่พี่น้องได้ส่งรูปภาพมาเก็บไว้ ซึ่งเป็นข้อมูลและผลงานของพวกเรา ตัวเองก็เข้าไปลบออกจนหมดเกลี้ยง ! พอสาย ๆ หน่อยก็เห็น ข้อความของพี่น้องท่านหนึ่งในกลุ่มส่งมา ท่านบอกว่า “ลบรูปภาพออกทำไม ไม่เก็บไว้ดูเหรอจ้ะ” พออ่านข้อความครั้งแรกก็ไม่ทันได้มีความรู้สึกใด แต่พออ่านรอบที่สอง จับอาการได้คือ ออกร้อนไปทั้งตัว เนื่องจากเลือกไหลจากปลายเท้า ส่งไปถึงยังสมองเลย เหงื่อเริ่มซึม รู้สึกได้ว่าหน้าร้อนวูบขึ้นมาทันที นึกในใจว่า ตายละซิทีนี้ งานเข้าแล้วพรพรรณ เอ้ย !

    ทุกข์ : รู้สึกผิดที่ไปพลาดลบอัลบั้มผลงานของกลุ่มออก

    สมุทัย : อยากให้ตัวเองมีสติให้มากกว่านี้ เพื่อจะได้ไม่ไปลบอัลบั้มรูปภาพ ที่พี่น้องได้อุตสาห์เก็บผลงานพวกเราทั้งหมดไว้ ไม่ชอบที่ตัวเองไม่มีสติและไปพลาดลบอัลบั้มงานของหมู่กลุ่มออก

    นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่ตัวเองไปพลาดลบอัลบั้มของหมู่กลุ่มออกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    มรรค : สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เราเป็นแค่คนธรรมดาที่กำลังจะมาฝึกลด ละ เลิกกิเลส ทำไมจะพลาดไม่ได้ พอได้สติก็ได้ขอโทษขออโหสิกรรมต่อตัวเอง และหมู่กลุ่มทันที เหตุการณ์เกิดขึ้นก็แก้ไขไม่ได้แล้ว ขอน้อมรับผิด และรับวิบากกรรมที่เกิดขึ้น ด้วยความเต็มใจ หมู่กลุ่มจะว่าเราอย่างไร ก็จะยอมรับทุกอย่าง หมู่กลุ่มท่านก็ให้กำลังใจ ไม่ต่อว่าอะไรตัวเอง สิ่งนี้มันก็เกิดขึ้นได้ และอัลบั้มรูปพี่น้องท่านก็จะนำมาลงให้ใหม่ได้ พี่น้องทุกท่านก็ให้กำลังใจ อย่ากังวลนะ พี่น้องบอก แต่ระยะเวลาที่ข้าพเจ้าทุกข์อยู่ประมาณครึ่งวันถึงหายไปในที่สุด ขอบพระคุณพี่น้องทุกท่านที่ให้กำลังใจ และ เป็นกำลังให้ข้าพเจ้าสู้กับกิเลสได้หายทุกข์ ได้อย่างเร็ว ดังคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียว จากหนังสือ บททบทวนธรรม ข้อ 25ว่าเมื่อเกิดทุกข์ ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ…ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก สาธุ

  2. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง ขอบคุณผู้มาเยือน

    เพื่อนท่านนี้มาทีไรจะพูดลักษณะเดิมๆทุกครั้ง เช่น มาเมื่อไรนี้ กล้วยเริ่มเหี่ยวแล้วนะ ใบยางร่วงเยอะเลย แล้วขอทุนยางแล้วยัง กล้วยสวนโน้นสวยดีนะ(สวนข้างๆ) ตอนแรกก็ได้แต่ยิ้มแล้ว ค่ะๆๆไปเรื่อย พอหลายๆเรื่อง มารเริ่มมาสะกิดบอกว่า น่ารำคาญนะ ตอนแรกไม่เชื่อมารหรอกแต่ยิ่งสนทนายิ่งมากขึ้น จึงรำคาญจริงๆ มารยิ้มเลยเพราะทำหน้าที่สำเร็จเราเชื่อจนได้ พอจับได้ว่ามารหลอกแล้ว รีบผลักมาร ล้างมารออกไปอย่างรวดเร็ว

    ทุกข์ : รำคาญ กับคำพูดของเพื่อน

    สมุทัย : ยึดว่า ถ้าเพื่อนพูดถูกใจจะชอบ เพื่อนพูดไม่ถูกใจจึงรำคาญ

    นิโรธ : เพื่อนพูดถูกใจหรือไม่ ก็ได้ ไม่รำคาญ ใจสบาย

    มรรค : พอล้างมารออกแล้วมาพิจารณาปรับใจด้วยบททบทวนธรรมข้อ 8 คือ” สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา”และข้อ 9 ที่ว่า “ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง”การที่เพื่อนมาพูดกับเราแบบนี้เพราะเราเคยพูดอย่างนี้มาไม่ชาตินี้ก็ชาติอื่นๆแค่เขามาให้เราได้รู้ว่าเรายังมีกิเลสอยู่นะ แล้วเรารำคาญเขาได้อย่างไรต้องเข้าใจเขาเพราะเขาไม่ทราบความจริงในเรื่องนั้นๆ ที่จริงที่เขาพูดก็ไม่ผิดแต่ไม่ถูกใจเราเท่านั้น เรามาทำใจเราดีกว่า พอปรับใจได้ก็เบาใจ สบายใจ
    สรุป เบาใจ สบายใจ เพราะเข้าใจชัดเรื่องกรรม อย่างแจ่มแจ้ง และขอบคุณเพื่อนที่คุ้ยมารตัวรำคาญให้เราเห็นแล้วล้างมันออกได้

  3. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง กลัวว่าจะรู้ภาษาไทยน้อย

    เนื้อเรื่อง ได้มาฝึกเขียนการบ้านวิชาราม ก็เบื่อที่จะเขียนภาษาไทย เพราะเขียนไม่ถูก งานเขียนเป็นงานที่เราไม่ชอบทำ เขียนด้วยความรีบเร่งรีบร้อนอยู่ ๆ จิตไม่ดีคิดว่า อายหมู่ (อยาก เอาแต่ใจ) เบื่อๆๆๆ ทำไมๆๆ เราหนักใจที่จะที่จะเขียนการบ้าน

    ทุกข์ น้อยใจที่เขียนภาษาไทยไม่ถูก

    สมุทัย ชังที่เขียนภาษาไทยไม่ถูก ชอบที่เขียนภาษาไทยถูก จะสุขใจชอบใจ

    นิโรธ ได้พยายามฝึกเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องอย่างเต็มที่แล้ว และได้ตรวจสอบก่อนส่งว่าถูกต้องแล้ว ก็สุขสบายใจไร้กังวลและไม่น้อยใจหมู่
    มรรค มาพิจารณาดูว่าเราอยากได้อะไรจากการเขียนภาษาไทย

    มาร ถ้าเขียนภาษาไทยถูกจะได้รับคำชม ถ้าเขียนผิด กลัวหมู่ว่าเขียนอะไร อ่านไม่ออก กลัวกังวลหวั่นไหว
    เรา ถ้าเราได้ตรวจสอบการบ้านก่อนส่งแล้วอาจจะมีผิดบ้าง และพยายามฝึกเขียนให้คนอื่นๆ อ่านรู้เรื่อง ด้วย และในช่วงการฝึกใหม่ๆ ก็ยอมรับความจริงว่าต้องฝึกอีกเยอะ ก็ยินดีเต็มใจที่จะถูกบอกให้ปรับการเขียนใหม่ น้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อเราจะได้เขียนภาษาไทยให้ได้ดีกว่านี้

    มาร การเขียนการบ้าน เป็นงานที่ลำบาก ไปหางานที่สบายๆ ทำดีกว่า จะได้ไม่อายหมู่

    เรา ยังมีกิเลสอยู่ ก็ต้องมาฝึกเขียนการบ้านให้มากๆ (เขียนให้กิเลสตาย การเขียนคือการสอนกิเลสสอนให้มากๆ) ทำให้มากกว่าพูด ขยันเขียนล้างกิเลสเราบ่อยๆ
    มาร เถียงอีกแล้ว พูดดีกว่าได้ดั่งใจ มีปากไว้พูด นะนะนะ อุตส่าห์หวังดี

    เรา จริงๆ เราโชคดีที่หมู่ให้โอกาสฝึก และได้มีโอกาสฝึกเขียนส่งการบ้าน ทำให้ได้เห็นว่างานทุกงานคือการให้โอกาสตนเองได้ฝึกชีวิตคือการมาฝึก ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ก็จะเขียนการบ้านดีขึ้นมาเรื่อยๆอยู่ แต่อาจจะช้า ไม่ได้ดั่งใจ เราบ้างจะได้ฝึกใจเย็น ฝึกเห็นใจคนที่ยังทำอะไรไม่เป็น ทำอะไรไม่เก่งเท่าเรา เช่นเราขับรถเป็น แต่ไม่เมตตาคนที่มาฝึกขับรถใหม่ ชังคนที่มาฝึกขับรถใหม่ ทำไมๆๆ เรื่องแค่นี้ก็ทำไม่ได้ ทำไม่เป็นเท่าเราดูถูกคนอื่น ตอนนี้เรามาเป็นซะเอง คือต้องมาฝึกเขียนภาษาไทยใหม่ ตรงกับบททบทวนธรรมข้อ๑๓ไม่มีใครทำดีกับเราได้ นอกจากตัวเรา
    เอง ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเราเอง เราเป็นทายาทของกรรม เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจะทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะได้รับผลของกรรมนั้น อย่างแน่นอน ไม่มีอะไรดลบันดาลสิ่งดีสิ่งร้ายให้เราได้ นอกจากวิบากดีร้ายของเราเท่านั้น ที่ดลบันดาลสิ่งดีสิ่งร้ายให้เราได้ เราทำดีก็ได้รับผลดี เราทำชั่วก็ได้รับผลชั่ว พอพิจารณาข้อดีของการได้ฝึกเขียนกิเลสลดลงมากครับ

  4. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)

    ส่งการบ้าน อริยสัจ
    เรื่อง. ต่อใบขับขี่
    เหตุการณ์. ไปต่อใบขับขี่ทำเสร็จเรียบร้อยและกำลังขับรถกลับจะถึงบ้าน มีเจ้าหน้าที่โทรมาบอกว่า ช่วยกลับไปที่สำนักงานขนส่งอีกครั้งได้มั้ยเพราะบัตรที่เราได้น่าจะมีปัณหาอะไรบ้างอย่าง จึงต้องขับรถกลับไปอีกครั้ง

    ทุกข์.ไม่อยากกลับไปอีกครั้ง

    สมุทัย.ถ้าไม่ต้องขับรถกลับไปอีกครั้งจะชอบใจสุขใจ ถ้าต้องกลับไปอีกครั้งจะไม่ชอบใจจะทุกข์ใจ

    นิโรธ. เราจะต้องกลับไปอีกครั้งหรือไม่ต้องกลับไปอีกครั้งก็วางใจไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค. เมื่อต้องกลับไปอีกครั้งก็ยินดีและวางใจให้ได้ว่านี่แหละสมบัติของเราเป็นวิบากของเราแม้กิเลสจะมาอ้างว่าเราไม่อยากกลับไปอีกครั้งเพราะตอนขับรถขาไปเรารู้สึกว่าการขับรถของเรามันเหมือนมีมาตลีมาเตือนตลอดเวลา เดี๋ยวก็มารถปาดหน้าบ้างนุ้นบ้างนี่บ้าง เปลืองน้ำมันบ้าง หรือเสียเวลาถ้าจะกลับไปอีกครั้งเพราะตอนนั้นเราไม่รู้ทันกิเลสมันบอกว่ามันไกลมากเลยนะที่จะกลับไปอีกครั้งนะ แต่เมื่อเรายินดีเต็มใจยอมรับที่จะกลับไปอีกครั้ง คิดว่าเรามาเสียเวลาแค่นี้ก็ดีแล้ว ถ้าเราขับรถกลับไปแบบมีกิเลสเราอาจจะต้องเสียเวลาหรือเสียเงินกับสิ่งอื่นมากกว่านี้ก็เป็นได้ เพราะความยึดมั่มถือมั่นการมีกิเลสจะดึงวิบากร้ายเข้าหาตัว แต่การวางใจทำให้วิบากร้ายเบาบางลงได้ และไม่ไปเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม และที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง คือเราไม่การเพ่งโทษถือสาเจ้าหน้าที่เลยเรากลับมองเข้าหาตัวเองว่าเป็นวิบากตามกุศลอกุศลของเรา พอวางใจได้ก็ขับรถกลับไปแก้ไขใบขับขี่แค่แป้บเดียว แล้วก็ขับรถกลับบ้านอย่างโล่งใจและการขับรถก็ไม่มีอุปสรรคตลอดจนถึงบ้านค่ะ
    และได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่13มาพิจารณา คือ การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา

  5. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    ชื่อเรื่อง:อ่านเวทนา
    เนื้อหา:ขอให้อาผู้ชายช่วยสอนการปรับต่อหัวสปริงเกอร์(ของเก่าที่ทำไว้แล้ว)เข้ากับสายยางใหม่เพื่อไปใช้ในแปลงผักที่ปลูกไว้ พอชุดแรกใช้ได้ก็เห็นว่ามีของเก่าอีกหลายตัวที่ถูกทิ้งไว้เฉยๆจึงนำมาให้อาอีกคนช่วยปรับใหม่อีก(อาคนแรกทำงาน)คนที่สองก็สอนการต่ออีกแบบที่เรารู้สึกว่าขั้นตอนจะเยอะขึ้น ยุ่งยากขึ้นแต่สามารถเก็บของไว้ใช้ได้ในคราวต่อไปง่ายกว่า เริ่มเห็นเวทนาในจิตที่มันเริ่มต้านวิธีของอาคนที่สองแล้ว เพราะขี้เกียจทำอะไรที่มันยุ่งยากหลายขั้นตอน มันชอบที่จะทำแบบง่ายๆ สบายๆ
    ทุกข์:มันรู้สึกไม่ชอบใจ รู้สึกฝืนๆที่ต้องทำตามวิธีที่มันดูเหมือนยาก
    สมุทัย:กิเลสมันถูกขัดใจ เพราะเขาขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไรที่ดูเหมือนยาก เขาชอบที่จะทำอะไรที่สบายๆ
    นิโรธ:มีความยินดีที่จะทำในสิ่งที่อาแนะนำเพราะพิจารณาเห็นประโยชน์ที่มากกว่า และเห็นแล้วว่ากิเลสของเราเขาขี้เกียจและกำลังเอาแต่ใจ
    มรรค:นึกถึงคำสอนของอาจารย์ที่เปรียบคนที่ชอบสบายก่อนเหมือนการกินอ้อยจากกก(คือส่วนที่หวานสุดก่อน)ไปใบ(ส่วนที่ไม่มีความหวานแล้ว) จึงถามกิเลสว่าเธอจะกินอ้อยจากไบไปกก(ตั้งตนอยู่บนความลำบากก่อนแล้วค่อยสบายทีหลัง)หรือเธอจะกินอ้อยจากกกไปใบ(สบายก่อนแล้วไปลำบากที่หลัง) คนมีปัญญาต้องรู้จักเลือกในสิ่งที่ดีกว่า เลือกในสิ่งที่มีประโยชน์สูงสุดสิ พิจารณาจนเขาลงได้ โดยที่ไม่ได้แสดงอาการออกมาภายนอกชัดเจนนัก เพราะสติเราเห็นเขาตั้งแต่เแรกแล้ว จึงค่อยๆพิจารณาว่าจะเอาเขาลงได้อย่างไร ก็ใช้วิธีพิจารณาประโยชน์ที่มากกว่าในสิ่งที่ทำ ทำให้เขายอม

  6. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    เรื่อง จะพูดยังไงให้เขาเข้าใจ

    เมื่อก่อนเวลาเราเห็นคนอื่นทำเรื่องที่เราคิดว่าไร้สาระ หรือทำเรื่องโง่ ๆ เราจะนึกดูถูกและวิพากษ์วิจารณ์เขาในใจอยู่เสมอ จนติดเป็นนิสัยมักดูถูกคน แต่ตอนนี้เราตั้งศีลไม่เพ่งโทษผู้อื่นแล้ว ทำใจในใจใหม่ว่า โลกนี้ไม่มีใครอยากโง่ แต่ที่เขายังทำสิ่งที่ดูว่าโง่อยู่ ก็เพราะเขาไม่รู้จริง ๆ ถ้ารู้แล้วเขาจะไม่ทำเด็ดขาด ดังนั้น เวลานี้เมื่อเราเห็นคนอื่นทำเรื่องที่เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ หรือเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ เราจึงมีความรู้สึกสงสาร อยากให้เขาได้รู้ตัวว่ากำลังเสียเวลาทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น อยากให้เขาเห็นอย่างที่เราเห็น แล้วเอาเวลาที่เสียไปกับเรื่องไร้สาระนั้นกลับคืนมา เอาเวลาไปทำเรื่องที่สร้างสรรค์กว่า ดีกว่า ได้ประโยชน์มากกว่า แต่ปัญหาก็คือ เราไม่มีปัญญามากพอที่จะพูดหรือแสดงให้เขาเข้าใจได้ว่า สิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นมันเสียเวลา มันคือความสูญเสียที่เขาไม่รู้

    ทุกข์ – อยากบอกให้เพื่อนเลิกเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ แต่ไม่รู้จะบอกยังไง

    สมุทัย – มีความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าช่วยให้คนที่ทำเรื่องโง่ ๆ อยู่ เลิกทำสิ่งนั้นได้ จะสุขใจ ถ้าช่วยไม่ได้จะทุกข์ใจ

    นิโรธ – สภาพปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ช่วยเขาได้ก็สุขใจ ช่วยไม่ได้ก็สุขใจ ยินดี พอใจ ไร้กังวล

    มรรค – พิจารณาให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่า แม้เราจะได้เปลี่ยนความคิดจากการดูถูกเพ่งโทษคนที่ทำเรื่องโง่ ๆ มาแล้ว และได้เปลี่ยนมาเป็นความเมตตา สงสาร อยากให้เขาหายโง่ อยากให้เขาได้ดี แต่เรายังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ เป็นอาการในใจที่ยังยึดอยู่ว่า ถ้าช่วยเขาให้หายโง่ได้จะสุขใจ ถ้าช่วยไม่ได้จะทุกข์ใจ ความคิดแบบนี้แหละที่เป็นกิเลสของเรา เป็นความโง่ของเราเอง แม้เราเองก็ยังโง่อยู่ แล้วจะมีปัญญาไปช่วยให้คนอื่นหายโง่ได้อย่างไร เราจึงต้องหันมาพิจารณาความโง่ของตัวเองก่อน เลิกคิดตามกิเลส เปลี่ยนมาคิดแบบพุทธะ ปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นมาจากความหลงผิด แล้วทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า แม้เราจะช่วยใครให้หายโง่ได้ เราก็จะสุขใจแค่ชั่วคราว มันเป็นความสุขที่ไม่เที่ยง แป๊บเดียวก็หายไป พอไปเห็นคนอื่นที่ทำเรื่องโง่ ๆ อีก เราก็จะกลับไปทุกข์ใจที่อยากช่วยเขาอีก ถ้าเป็นแบบนี้เราก็จะวนเวียนอยู่กับสุขกับทุกข์ไปเรื่อย ๆ อีกนานเท่านาน

    นอกจากนี้ เราก็พิจารณาเรื่องวิบากกรรมให้แจ่มแจ้งว่า การที่เขายังต้องทำเรื่องโง่ ๆ อยู่ โดยไม่รู้ตัว มันเป็นวิบากกรรมที่เขาต้องรับ ถ้ายังมีวิบากอยู่ ต่อให้ใครพูดอะไรยังไงเขาก็จะยังเข้าใจไม่ได้ จนกว่าวิบากนั้นจะเบาบาง หรือมีวิบากดีมาหนุน เขาจึงจะออกจากความโง่นั้นได้ แม้เราเองก็น่าจะมีเรื่องที่เรายังโง่อยู่เหมือนกัน แต่เราก็มองไม่เห็นเรื่องที่เราโง่อยู่ เพราะวิบากร้ายมาปิดกั้นไม่ให้เรารู้ สิ่งที่เราทำได้ก็มีแต่ อดทน รอคอย ให้อภัย ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ จนกว่าวิบากร้ายจะเบาบาง วิบากดีมีพลังมากขึ้น พอที่จะแหวกความโง่ที่ปิดกั้นอยู่ออกมาได้ เราจึงจะหายโง่ได้จริง ๆ

    สุดท้าย เราก็อาศัยบททบทวนธรรมมาตอกย้ำให้ตัวเองหายโง่อีกทีหนึ่ง ด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 130 ว่า “อย่าแบกชีวิตคนอื่น อย่าทำผิดหน้าที่ อย่าทำเกินหน้าที่ ถ้าเขาไม่ฟังเรา ให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็น ให้เขาทำอย่างที่เขาต้องการจะทำ ปล่อยวาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต ถ้าเราได้พยายามบอกแล้ว สอนแล้ว เตือนแล้ว แต่เขายังไม่ฟัง เราสอนเขาไม่ได้ แปลว่าการสอนเขาไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา หน้าที่เราคือ ทำเต็มที่เต็มแรง อย่างรู้เพียรรู้พัก แล้วปล่อยวาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต” เมื่อบอกตัวเองจนเชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็หายโง่ หายทุกข์ได้แล้ว

  7. นปภา รัตนวงศา

    ชื่อเรื่อง ช่วยบอกหมอให้หน่อย
    22 กพ 64
    เมื่อวานตอนบ่ายพ่อมีอาการหอบมากขึ้นอีก จนต้องมารพ.ที่ห้องฉุกเฉินหมอได้พ่นยา ฉีดยา ให้น้ำเกลือ เจาะเลือด เอกชเรย์ นอนรพ.เมื่อคืนนอนเฝ้ายังมีอาการหอบ ไอมีเสมหะเยอะ
    7.30น น้องสะใภ้มาเปลี่ยนกำลังจะถึงรถ พ่อโทรหา” ลูกกลับอยู่กับพ่อให้หมอตรวจก่อนได้ไหม จะได้บอกว่าพ่อมีอาการอย่างไร แล้วค่อยกลับ”
    ก็กลับมาอยู่ ดูแลพ่อต่อ อยู่รอจนเที่ยง หมอก็ยังไม่มาตรวจ มีอาการขุ่นๆพ่อ ให้เรารอทำไม น้องก็ดูพ่อมาตลอด สามารถบอกอาการพ่อได้

    ทุกข์ ขุ่นๆใจพ่อที่ให้อยู่รอหมอตรวจก่อนแล้วค่อยกลับบ้าน

    สมุทัย ถ้าพ่อให้รอพบหมอก่อนจะไม่ชอบใจ ถ้าพ่อให้กลับบ้านจะชอบใจ

    นิโรธ จะรอพบหมอตรวจพ่อก่อนหรือได้กลับบ้านก็ชอบใจ สุขใจ

    มรรค มองกลับมาพิจารณาตัวเอง นั่นตัวเราเอง ตัวเราชัดๆ แต่ก่อนก็เอาแต่ใจแบบนี้แหละ อยากได้อะไรก็ต้องได้ ถ้าไม่ทำตามก็โมโห ขว้างปาสิ่งของ แต่นี่พ่อพูดจาดี พูดขอร้องดีๆ ท่านเห็นว่าเราเป็นพยาบาลสามารถพูดคุยกับหมอแถมได้ดูแลรู้อาการมาทั้งคืน คงจะพูดได้ดีกว่า ดีเสียอีกได้ล้างกิเลส และได้ทำกุศลในการดูแลพ่อเพิ่มด้วย ต้องขอบคุณพ่อด้วยที่กระทุ้งกิเลสตัวนี้ออกมาอีกให้เราได้ล้าง
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ8 สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา ข้อ9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่นแสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง
    หลังพิจารณาแล้วใจลดความขุ่นลดลงประมาณ 80% ไม่เกลี้ยงแต่จะพากเพียรต่อไปค่ะ..สาธุ

  8. นปภา รัตนวงศา

    23 กพ 64
    ชื่อเรื่อง น้องพยาบาลล้างทุกข์
    เนื่องจากพ่อนอนรพ. คืนแรกได้นอนเฝ้าพ่อ ตอนเช้าพ่อให้อยู่ต่อ เพื่อจะได้คุยกับหมอก่อนค่อยกลับบ้าน ฟังธรรมะพ่อครู ตามด้วยของอาจารย์ไปเรื่อยๆ เที่ยงกว่าแล้วหมอยังไม่ขึ้นตรวจ ใจเริ่มขุ่นๆ ไปปรึกษาน้องพยาบาล ท่านแจ้งว่าหมอท่านนี้จะออกตรวจผู้ป่วยนอกก่อน ถึงจะเข้ามาตรวจผู้ป่วยในตึก มีคนไข้ที่ค้างตรวจ 5-6 คน

    ทุกข์ ขุ่นใจที่น้องพยาบาลไม่แจ้ง หมอขึ้นตรวจช้า

    สมุทัย ชอบใจถ้าน้องพยาบาลแจ้งเรื่องหมอ ไม่ชอบใจถ้าน้องพยาบาลไม่แจ้งเรื่องหมอ

    นิโรธ น้องพยาบาลจะแจ้งหรือไม่แจ้งเรื่องหมอก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค พิจารณาใหม่คิดใหม่ หันกลับมามองตัวเองอย่ามองไปเพ่งแต่คนอื่น เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาแท้ๆ ยังไม่เข้าใจวิชาชีพตัวเองอีก จะเอาอะไรหนักหนา เอามาจนเป็นโรครูมาตอย กล้ามเนื้อเกร็งค้าง ตอนนี้ก็ยังไม่หายสนิทจะเอาเพิ่มอีกใช่ไหม ไม่แล้ว ไม่เอาแล้ว
    ได้พูดคุยกับน้องพยาบาลปกติเขาก็แจ้งผู้ป่วยและญาติทุกครั้ง แต่วันนี้ลืม ก็เข้าใจในภาระงานของท่านที่ต้องรับผิดชอบ ไม่มีใครอยากพร่องอยากพลาด ตัวเองทำงานก็พร่องก็พลาดมาเยอะไปหมด ก็สำนึกผิดยอมรับผิด ขอโทษขออโหสิกรรมที่ไปเพ่งโทษน้องเขา ใช้บททบทวนธรรมข้อ46 เกิดอะไร จงท่องไว้ กูทำมา และขอบคุณที่ช่วยกระทุ้งกิเลสตัวนี้ออกมาให้
    และขอบคุณ คุณหมอที่เอาภาระงานเต็มที่ ตรวจผู้ป่วยนอกจนหมดเที่ยงกว่า แล้วมาตรวจผู้ป่วยในต่อ จนบ่ายโมงกว่าถึงได้ลงไปรับประทานอาหารเที่ยง เข้าใจและเห็นใจจริงๆ ตรงบททบทวนธรรมข้อ155 ถ้าสุขภาพพึ่งตนไม่ได้ หมอและคนไข้จะพากันป่วยตาย
    หลังพิจารณาใจเบิกบาน แจ่มใส..สาธุ

  9. นางจิราภรณ์ ทองคู่

    อริยสัจสี่ส่ง 23 กุมภาพันธ์ 2564

    เรื่อง ฝันร้าย

    เนื้อเรื่อง กลางคืนนอนหลับแล้วฝันว่ามีคนมากดที่ท้องทำให้กลัวและหายใจไม่สะดวกเหมือนจะขาดใจ จึงร้องให้คนช่วย แล้วเสียงเราก็ออกมาข้างนอกเต้น จนเพื่อนจิตอาสาได้ยิน และเดินมาหาเราและพูดว่าใคร ๆ เป็นอะไร เราก็รู้สึกตัวและตอบว่าพี่เอง เพื่อนก็ถามว่า เป็นอะไร ก็บอกไปว่าฝันไป หลังจากนั้นจึงเอาบัตรประชาชนมาวางไว้ใกล้ๆ เผื่อว่าเป็นอะไรไป เพื่อนจะไม่ลำบากหา แล้วก็นอนหลับต่อไป รุ่งขึ้นได้เล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็ถามว่าแล้วป้ากลัวตายไหม เราตอบว่าไม่ เพื่อนก็บอกว่าเราเคยกลัวซึ่งความกลัวนี้มันเก็บอยู่ในจิตใต้สำนึกมันจะออกมาเวลาไหนก็ได้ แล้วจะมาทำให้เราฝัน เพราะเราเคยกลัวมาหลายชาติ แต่เมื่อเรานึกย้อนอดีต เราเคยทำให้เด็ก ๆ กลัวเรามาก เมื่อเด็กเจอเราเขาจะวิ่งหนี วิบาก ที่สร้างขึ้นมาในครั้งนี้จึงทำให้เราฝันร้าย

    ทุกข์ ฝันร้าย

    สมุทัย ถ้าไม่ฝันจะสุขใจ ถ้าฝันจะทุกข์ใจ

    นิโรธ จะฝันหรือไม่ฝันเลยก็สุขใจ

    มรรค ความกลัวที่สะสมมาแต่อดีตซึ่งอยู่ใต้จิตสำนึกของเรา หรือไม่ก็เราเคยไปทำให้คนกลัวเรา ไปทำให้เขาตกใจกลัว เราจึงต้องมารับวิบากที่เราทำมา เราจึงตั้งจิตสำนึกผิด หรือยอมรับผิด ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีอันนั้น และตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ ยอมรับวิบากกรรมของเรา รับแล้วก็หมดไปแล้วจะโชคดีขึ้น

  10. นางสาวนาลี วิไลสัก

    23/2/64
    เรื่อง : ไปเยี่ยมเพื่อนที่ป่วย
    เหตุการณ์ : เมื่อวานมีนัดกับเพื่อนๆ ที่เป็นครูในโรงเรียนเดียวกันว่าจะเยี่ยมเพื่อนอีกคนที่ป่วยอยู่ แต่เรายังติดภาระที่ต้องไปรับลูกจากโรงเรียนมาเลยทำให้เราได้ตามเพื่อนไปทีหลัง
    ทุกข์ : กลัวจะไม่ได้ไปพร้อมกับเพื่อน
    สมุทัย : ชอบที่จะได้ไปพร้อมกับเพื่อน ชังถ้าไปไม่ทันเพื่อน
    นิโรธ : เราจะได้ไปพร้อมกับเพื่อน หรือ เพื่อนจะไปก่อนเราก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : หันมาคุยกับมารก่อน
    มาร : บ่นๆ…จะทำไงน้อบ่ายนี้เพื่อนๆ เลิกเรียนแล้วก็ต้องออกไปพร้อมกันหมด แต่เรายังต้องไปรับลูก คงไปไม่ทันเพื่อนแน่ๆ เลย แถมเราก็ไม่รู้ว่าบ้านของเพื่อนเป็นหลังไหนกันหว่า
    เรา : แหม!…เรื่องแค่นี้ไม่เห็นจะน่ากังวลเลย ถ้าไปไม่ทันเพื่อนก็โทรหาเพื่อนเขาจะบอกเราเอง เรื่องใหญ่กว่านี้เราก็เคยผ่านมาแล้วไม่เห็นจะเป็นไรเลย
    หลังจากไปรับลูกมาถึงบ้านเราก็มาพิจารณาว่าเอ!เราจะไปให้กำลังใจเพื่อนที่ป่วยแต่เรากลับป่วยใจอยู่ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็จะไปเติมความป่วยให้เพื่อนอะดิ งั้นเราขอรักษาให้ตัวเองหายป่วยก่อนจึงค่อยไปเยี่ยมเพื่อน ตรงกับ บทธ (ใจที่เป็นสุข สุขที่สุดในโลกใจที่เป็นทุกข์ ทุกข์ที่สุดในโลก) ถึงเราไปไม่ทันเพื่อนแต่เราทันมารก็คุ้มเกินคุ้ม ถ้าจะไปก็ไปด้วยใจเป็นสุข มาถึงตรงนี้มารสลาย เราก็ออกไปหาเพื่อนด้วยใจเบิกบานค่ะ

  11. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    24/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : เขียนการบ้าน
    มีความกังวลเรื่องการบ้านอริยสัจ 4 ถ้าเราเขียนการบ้านมากไป ยาวไปแล้วกลัวว่าเพื่อนจะรำคาญ
    ทุกข์: กลัวเพื่อนจะรำคาญ
    สมุทัย : ชังถ้าเพื่อนรำคาญ ชอบใจถ้าเพื่อนไม่รำคาญ
    นิโรธ : เพื่อนจะรำคาญหรือไม่รำคาญที่เราส่งการบ้านมากไปก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: ในการเขียนการบ้านแต่ละเรื่องผู้เขียนก็พบว่า แต่ละเรื่องก็มีกิเลสซ้อนกันอยู่หลายตัว ถ้าเราจะเขียนการบ้านเรื่องเดียวไปพร้อมกับการล้างกิเลสหลาย ๆ ตัว กลัวว่าการบ้านจะยาวไป มากไป แล้วเพื่อนจะรำคาญ กิเลสมันไม่ชอบใจสภาพที่เพื่อนรำคาญ มันไม่ชอบการถูกตำหนิ วันนี้เลยได้การชี้ขุมทรัพย์จากหมู่มิตรดีว่า แต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกัน เราจะทำอะไรให้ใครพอใจไปหมดทุกคนเป็นไปไม่ได้ ไม่เคยมีใครที่ไม่ถูกตำหนิ การเขียนการบ้านอริยสัจ 4 เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพราะนอกจากจะทำให้เราพ้นทุกข์แล้ว เพื่อนที่เข้ามาอ่านก็ได้ประโยชน์จากการล้างทุกข์ของเราด้วย ใครจะชอบใจหรือไม่ชอบใจมันเป็นเรื่องของเรา คนที่ได้ประโยชน์คือเรา พิจารณาแบบนี้แล้วรู้สึกโปร่งโล่งสบาย รู้สึกมีแรงที่จะทำความเพียรคือการทำการบ้านเพื่อล้างทุกข์ให้เพิ่มขึ้น

  12. นางศรีรวม มั่งมา

    การบ้านอริยสัจ4
    ชื่อเรื่อง ทุกข์ซ้ำซากจากขนม
    เมื่อวานมีงานอบรมอสม.เพื่อนร่วมงานขอให้สั่งขนมเบรคเราสั่งขนมถั่วแปบ แม่ค้าแถมอันที่แตกให้หังอาหารเช้าเรากิน3ชิ้น และมีคนมีคนมาพอกตาพอกเข่าแนวทางการแพทย์แผนไทยโดยนักการแพทย์แผนไทยจากรพ.สันทราย คนมาพอกเขาทำขนมวุ้นหน้ามะพร้าวมาแจกเขาให้เรา7ชิ้นบ่งให้เพื่อนร่วมงานไป5ชิ้น พอดีกลางวันเรารีบไปรับอุปกรณ์การแพทย์ที่นำไปสอบเทียบมาตรฐานกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มาเปิดให้บริการห่างที่ทำงาน5กม.เลยรีบกินข้าว
    พอกลับมารู้สึกเบาท้องกิเลสบอกว่ากินเสียซิส่วนของเธอ ใจมันอยากอยู่แล้วอีกใจบอกไ่ม่กิน ใจที่อยากินชนะแถมกล้วยหอมอีกใบ พอกลางคืนก็คันมีผื่นข้นที่เคยขึ้น ข้อเท้า หลัง ลำตัว ใจก็นึกรู้ทันที บอกไม่จำกินขนมใส่น้ำตาลไม่ได้ไม่รู้จักจำ
    ทุกข์ รำคาญจากอาการคันอดเกาไม่ได้โทษตัวเองที่อดไม่ได้ตามใจกิเลส
    สมุทัย ไม่ตั้งจิตพิจารณาถึงโทษพิษของสิ่งที่เคยกินแล้วให้โทษต่อร่างกาย
    ผิดศีลข้อ1เบียดเบียนตัวเอง
    นิโรธ ต้องตั้งมั่นในศีล และหลักอปัณหกธรรมข้อโภชเนมัตตัญญุตา
    มรรค ต้องตั้งจิตให้มั่นรักษาศีล(สังวรศีล)ไม่ผิดศีล๕ มีสติสัมโพชฌงค์พิจารณาแยกรูป นาม ผัสสะโทษจากการเกาขี้กลาก สัญญาวิปลาสที่จดจำรสอร่อยของขนม ของไม่ดีว่าเป็นของดี สุดท้ายต้องยึดตามทบทวนธรรมเพราะโรคภูมิแพ้ไม่หายง่ายแต่ก็ดีที่เขาคอยเตือนเราไม่ให้ผิดศีลคืออย่ากลัวโรค โรคไม่หายตอนเป็นก็หายตอนตาย เราสู้กับโรคเรามีแต่ชนะกับเสมอเท่านั้นต้องแก้โรคด้วยใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม รู้เพียรรู้พัก สมดุลร้อนเย็น ใช้ในสิ่งที่รู้สึกสบาย

  13. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    24/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : เขียนการบ้าน
    มีความกังวลเรื่องการบ้านอริยสัจ 4 ถ้าเราเขียนการบ้านมากไป ยาวไปแล้วกลัวว่าเพื่อนจะรำคาญ
    ทุกข์: กลัวเพื่อนจะรำคาญ
    สมุทัย : ชังถ้าเพื่อนรำคาญ ชอบใจถ้าเพื่อนไม่รำคาญ
    นิโรธ : เพื่อนจะรำคาญหรือไม่รำคาญที่เราส่งการบ้านมากไปก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: ในการเขียนการบ้านแต่ละเรื่องผู้เขียนก็พบว่า แต่ละเรื่องก็มีกิเลสซ้อนกันอยู่หลายตัว ถ้าเราจะเขียนการบ้านเรื่องเดียวไปพร้อมกับการล้างกิเลสหลาย ๆ ตัว กลัวว่าการบ้านจะยาวไป มากไป แล้วเพื่อนจะรำคาญ กิเลสมันไม่ชอบใจสภาพที่เพื่อนรำคาญ มันไม่ชอบการถูกตำหนิ วันนี้เลยได้การชี้ขุมทรัพย์จากหมู่มิตรดีว่า แต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกัน เราจะทำอะไรให้ใครพอใจไปหมดทุกคนเป็นไปไม่ได้ ไม่เคยมีใครที่ไม่ถูกตำหนิ การเขียนการบ้านอริยสัจ 4 เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพราะนอกจากจะทำให้เราพ้นทุกข์แล้ว เพื่อนที่เข้ามาอ่านก็ได้ประโยชน์จากการล้างทุกข์ของเราด้วย ใครจะชอบใจหรือไม่ชอบใจมันเป็นเรื่องของเเต่ละท่าน ไม่อาจเดาใจได้ แต่คนที่ได้ประโยชน์คือเรา พิจารณาแบบนี้แล้วรู้สึกโปร่งโล่งสบาย รู้สึกมีแรงที่จะทำความเพียรคือการทำการบ้านเพื่อล้างทุกข์ให้เพิ่มขึ้น

  14. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    24/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : เพื่อนทะเลากับสามี(2)
    เพื่อนเอาเรื่องที่ทะเลาะกับสามีมาเล่าให้ผู้เขียนฟังหลายครั้ง คราวที่แล้วก็ได้แนะนำวิธีการแก้ปัญหาไปแล้ว แต่เพื่อนก็ยังมาเล่าเรื่องเดิมซ้ำซาก เหมือนพายเรือวนอยู่ในอ่าง อยากจะให้ฟังเรื่องของตัวเอง ทำให้ผู้เขียนรู้สึกรำคาญที่ต้องฟังปัญหาที่ไม่ยอมแก้ไข
    เรื่องนี้มี 2 ประเด็นที่อยากล้างทุกข์คือ
    ประเด็นที่ 1
    ทุกข์: รำคาญเพื่อนที่เล่าเรื่องเดิมๆ
    สมุทัย : ไม่ชอบใจที่ต้องฟังเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ
    นิโรธ : เพื่อนจะเล่าเรื่องเดิม ๆ หรือไม่เล่าเรื่องเดิมก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค:ผู้เขียนมักจะแอบโทษเพื่อนคนนี้อยู่ในใจว่า เอาเรื่องเดิม ๆ แบบนี้มาเล่าอีกแล้ว เบื่อที่จะฟังแล้ว เพราะ ฟังแล้วหดหู่ใจ ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 8 “ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา” พิจารณาว่า เราเอง ก็เคยเป็นคนที่ชอบบ่นพร่ำเพรื่อแบบนี้จนเป็นที่รำคาญของคนอื่นมาก่อน ก็ต้องยอมรับผลกรรมอันนี้ เขาเห็นเราเป็นที่พึ่ง ขอบคุณที่เขาได้มาให้เราได้บำเพ็ญได้ช่วยเขาให้เขาได้สบายใจขึ้น

    ประเด็นที่ 2
    ทุกข์: อยากให้เพื่อนเชื่อเรา แก้ปัญหาตามที่เราแนะนำ
    สมุทัย : ทุกข์ใจที่เพื่อนไม่ยอมเชื่อเรา จะสุขใจถ้าเพื่อนเชื่อเรา ถ้าเพื่อนยอมแก้ปัญหาตามที่เราบอก
    นิโรธ : เพื่อนจะเชื่อเราหรือไม่เชื่อเราก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: ผู้เขียนเอาเรื่องของเพื่อนมาทุกข์ เหมือนเป็นเรื่องของตัวเอง พอเพื่อนไม่ทำตามที่แนะนำ กิเลสมันก็ไปดูถูกเพื่อนว่า”โง่” ไม่เข้าใจเพื่อนว่าทำไมทุกข์แล้ว ยังจะจมอยู่ในกองทุกข์ ทำไมไม่พาตัวออกมาจากปัญหา เราแนะนำสิ่งดีที่สุดไปแล้ว เรา ปรารถนาดีกับเขา เวลามีเรื่องก็มาเล่าให้เราฟัง แต่ไม่ยอมเชื่อเรา ยึดดีคิดว่าสิ่งที่เราแนะนำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เราอยากจะขโมยความดีจากเพื่อน เลยหันกลับไปด่ากิเลสว่า “ มึงไปเสือกกับเรื่องของเขาทำไม? มันใช่หน้าที่ของมึงมั๊ย? มึงนั่นแหละที่โง่ ไปเอาเรื่องเพื่อนมาทุกข์” ใช้บททบทวนธรรมข้อที่130 “ อย่าแบกชีวิตคนอื่น อย่าทำผิดหน้าที่ อย่าทำเกินหน้าที่ ถ้าเขาไม่ฟังเรา ให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็น ให้เขาทำอย่างที่เขาต้องการจะทำ ปล่อยวาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต ถ้าเราได้พยายามแล้ว บอกแล้ว สอนแล้ว เตือนแล้ว แต่เขายังไม่ฟัง เราสอนเขาไม่ได้ แปลว่า การสอนเขา ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา หน้าที่เราคือ ทำเต็มที่เต็มแรงอย่างรู้เพียรรู้พัก แล้วปล่อยวางให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต” พิจารณาว่า เราจะไปเอาดีให้เขาเชื่อและทำตามเราตอนนี้มันอาจจะยังไม่ใช่เวลา มันเป็นวิบากที่เพื่อนต้องรับ เขา จึงต้องชดใช้วิบาก เมื่อหมดวิบากแล้ว ก็จะดีขึ้นเอง พิจารณาแบบนี้แล้วใจก็เบาสบายขึ้น

  15. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง กลัวเพื่อนอึดอัดใจ

    เนื้อเรื่อง ช่วงนี้ได้มีโอกาสฝึกเขียน การบ้านทุกอริยสัจ๔ เพราะมีหมู่คอยสอนพิมพ์หนังสือ (สอน

    คอมพิวเตอร์ให้) เพื่อจะส่งการบ้านก็จะได้ฝึกพร้อมกันกับหมู่ไปด้วย แต่ก็เขียนยังไม่ดีพอ กลัวว่า

    ส่งออกไปหมู่จะอึดอัดใจ มีความกังวลใจ ตลอดเวลา แต่ว่าจะทิ้งโอกาสดีๆๆ แบบนี้ไปก็เสียดาย

    เวลาที่ถูกทิ้ง (โดยเปล่าประโยชน์) ไปทุกวันๆ

    เล็งเห็นประโยชน์ ของการได้ฝึก เขียนการบ้านเป็นการที่เราจะได้ฝึกใช้ภาษาไทยสื่อออกมาว่าเราได้อะไรจากธรรมะของ พระพุทธเจ้าและได้น้อมนำมาฝึกที่ตนเองอย่างไร แล้วสื่อออกมาทางการเขียนเป็นการบ้านทุกอริยสัจ๔ (จะขอฝึกให้กล้าแกร่งทั้งเรี่ยวแรงและวิญญาณ)

    ทุกข์ กลัวเพื่อนอึดอัดใจ
    สมุทัย ชังถ้าเพื่อนอึดอัดใจ ชอบใจถ้าเพื่อนไม่อึดอัดใจ
    นิโรธ เพื่อนจะอึดอัดใจหรือไม่ที่เราส่งการบ้านเยอะไปก็ได้ ใจไร้ทุกข์

    มรรค ในการฝึกเขียนการบ้านทุกอริยสัจ๔ ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลา (บางครั้งหลายวันกว่าจะได้แต่ละเรื่อง) คิดย้อนอดีต หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น  ว่ามีกิเลสกี่ตัว ออกมาเป็นตัวหนังสือ (สื่อสภาว

    ธรรมออกมาเป็นภาษาไทย) ผู้เขียนพบว่ามีกิเลสในการเขียนอยู่หลายตัว โลกธรรม กลัวถูกตำหนิ

    โอ้อวดว่าตนเขียนเก่ง (อดีตหลงว่าเขียนการบ้านจะได้อะไร) การเขียนการบ้าน  เป็นการแสดงตัว

    ตนของเราว่ามีกิเลสอะไรบ้าง ล้างได้เท่าไหร่ สื่อออกมา    เป็นภาษาไทย หมู่มิตรดีจะได้ช่วยเรา

    ได้ว่า เราปฏิบัติถูกหรือผิด จะได้เปิดเผยต่อหมู่มิตรดี    และช่วยกันเอาภาระบอกสอนกันด้วยความปรารถนาดีตามภูมิ ของแต่ละคน    คนที่เห็นประโยชน์จะมาฝึกตาม    ส่วนผู้เขียนยิ่งเขียนยิ่งพ้นทุกข์ตามลำดับ (อดีตเคยเพ่งโทษคนที่เขียน และส่งการบ้าน)

    การที่ครูบาอาจารย์และหมู่มิตรดี ได้จัดองค์ประกอบดีๆ ให้แล้ว ที่เหลือผมก็มาขอฝึก    พร้อมกับ

    หมู่สิ่งที่ได้คือ๑ ฝึกเป็นคนยอมหมู่ เคารพหมู่ ฝึกเป็นคนรู้จักอดทนต่อความลำบาก ส่วนเพื่อนที่

    อึดอัดใจก็ต้องเห็นใจกัน เราก็เคยอึดอัดใจคนที่เขียนการบ้าน เราก็เคยเข้าใจผิดเพื่อน ตอนนี้เรามา

    ใช้หนี้ที่เราเคยทำมา เคยไปตำหนิเพื่อนที่เขียนและส่งการบ้านว่าจะพ้นทุกข์ได้จริงหรือ เราก็ต้อง

    ทำใจเราให้เป็นสุข โดยการทำดีเต็มที่ ก็สุขเต็มที่ ทำดี ถูกแกล้งให้ได้ ถูกเข้าใจผิดก็ได้ ถูกทำไม่ดีตอบสารพัดให้ได้ (เข้าใจกรรมเรา เข้าใจ กรรมเขา เชื่อและชัดเรื่องกรรม) พอพิจารณาแบบนี้ทำให้ใจเบาสบายขึ้นคลายความกลัวความกังวลลงมากเลยครับ

  16. สายใจ อ่อนแก้ว

    เรื่อง. ไม่ได้ดั่งใจ
    ความว่า ป้าแต้วเป็นผู้รับเหมาทำงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสทิงพระ
    อำเภอสิงหนคร,อำเภอจะนะ
    และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสงขลา ( ในนามหจก.) ประเภทงานก็แบบเดียวกับการไฟฟ้า คือบริเวณไหนไฟฟ้าตก(ความหมายคือชาวบ้านใช้ไฟไม่พอกับความต้องการ) ก็ปรับปรุงให้ดีขึ้นบริเวณไหนชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ก็ไปขยายเขตให้ชาวบ้านมีไฟฟ้าใช้แต่ที่ไม่ได้ดั่งใจจนต้องเขียนเป็นการบ้านก็คือ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีงานเร่งด่วน ชาวบ้านมาขอใช้ไฟเพื่อจะเปิดแพปลา ภายในวันที่ 16. กพ. 64. ป้าแต้วได้งานมาจากการไฟฟ้าวันที่ 8 กพ 64 และไฟฟ้าขอร้องให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวันที่ไฟฟ้ารับปากกับผู้ใช้ไฟร้องขอ ( คือวันที่ 16
    กพ. 64 ) หจก.ป้าแต้ว ดำเนินการไปแล้วจนสามารถจ่ายไฟได้ แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรายการจ้างถึงทำให้จนถึงปัจจุบันการไฟฟ้ายังไม่สามารถดำเนินการจ้างให้ป้าแต้วได้ มาสอบถามกับการไฟฟ้าได้ความว่า ยังไม่เปลี่ยนแปลงรายการจ้างให้เรียบร้อย. จึงไม่สามารถจ้างได้
    ทุกข์ งานไม่ได้ตามเป้า
    สมุทัย ชอบถ้าไฟฟ้าทำงานจ้างให้เร็ว. ไม่ชอบไฟฟ้าจ้างงานช้า
    นิโรธ ไฟฟ้าจะจ้างเร็วหรือช้าก็ไม่ทุกข์ วางใจ
    มรรค สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา พิจารณาแล้ว สมัยก่อน(ชาติที่แล้ว) เราอาจะเคยทำงานกับการไฟฟ้ามา และเราคงเคยทำแบบนี้มาก่อนหลายๆๆๆ ครั้ง ส่งผลให้การกระทำในชาตินี้มีผลต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ทุกข์ใจหรือกระวนกระวายใจเหมือนเมื่อก่อน ถ้าเป็นสมัยก่อน ก่อนจะมาเป็นจิตอาสา
    เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้จะโวยวายและจะตำหนิการทำงานของพนักงานไฟฟ้าแล้ว แต่ปัจจุบัน สามารถทำงานท่ามกลางความขาดแคลนได้ และสามารถสื่อสารกับการไฟฟ้าอย่างมีเหตุผลโดยที่ใจเราไม่ทุกข์ได้

  17. นางจีรวัลย์ วัฒนสิน Cheerawan Wattasin

    การบ้าน 24/2/64
    เรื่อง ต้นไชยาถูกตัด
    ผู้เขียนออกไปทำธุระนอกบ้าน 2 วัน กลับมาต้นไชยาที่ปลูกไว้หน้าบ้านหายไป ถามพ่อบ้านว่าต้นไชยาหายไปไหน ได้ความว่าเพื่อนข้างบ้านได้ตัดทิ้งไปแล้ว ณ ตอนนั้นผู้เขียนรู้สึกไปพอใจคิดไปว่าทำไมไม่ถามเราสักคำเห็นอยู่ว่าเราเก็บมาใช้ประโยชน์อยู่กิเลสก็ปรุงไปเรื่อย แต่ก็มาคิดได้ว่าเราต้องเคยทำแบบนี้กับเขามาแน่ ๆ ก็วางใจ ไม่เป็นไรตัดแล้วก็ปลูกใหม่ได้ใจก็เบิกบานไม่รู้สึกเสียดายแล้ว
    ทุกข์ : เสียดายที่เพื่อนตัดต้นไชยาทิ้ง
    สมุทัย : ยึดว่าเพื่อนบ้านตัดต้นไชยาทิ้งไม่พอใจ ถ้าเพื่อนบ้านไม่ตัดต้นไชยาทิ้งจะพอใจ
    นิโรธ : เพื่อนจะตัดหรือไม่ตัดต้นไชยาก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค : วางใจ ในเมื่อต้นไชยาถูกตัดไปแล้วก็ปลูกใหม่ได้ไม่ทุกข์ พิจารณาด้วยบททบทวนธรรมข้อ 72 ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทุกข์ใจ ความทุกข์ใจ ไม่ได้แก้ปัญหา มีแต่เพิ่มปัญหา สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จะทุกข์ใจไปทำไม เบิกบานแจ่มใสดีกว่า สุดท้ายใจก็เบิกบานแจ่มใส
    สรุป พอวางความเสียดาย ไม่ถือสาเพื่อนที่ตัดต้นไชยาได้ ใจก็เบิกบาน

  18. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง พูดไร้สาระ
    เนื้อเรื่อง  ตั้งแต่ได้มาฝึกทำการบ้านวิชาราม  หรือทุกอริยสัจ๔ สิ่งที่ติดมากๆ คือพูดในสิ่งที่ตนเองทำยังไม่ได้ (อดีต) หลังๆ มานี้ไม่ค่อยมีเวลาพูด เพราะเสียเวลาฝึกอ่านการบ้าน (หมู่มิตรดี) เสียเวลาส่งการบ้าน ทำให้ลดกิเลสเรื่องพูดมาก มาสนใจหาข้อมูลเรื่องทำการบ้าน เป็นประโยชน์มากกว่า
    ทุกข์ พูดไร้สาระ
    สมุทัย    ชอบที่ได้พูดมีสาระ ชังที่พูดไร้สาระ
    นิโรธ    พูดในสิ่งที่ตนเองทำได้และมีสาระอย่างเบิกบานใจ
    มรรค    พิจารณาว่า ทำไมเราจึงติดอะไรในการพูด การเสนอความคิดของเรา คิดว่าตนพูดดีหลงตนเองมาหลายปี
    มาร    พูดเป็นเรื่องจำเป็นมาก รู้อะไรรีบพูด คนอื่นๆ จะได้รู้

    เรา พูดมากก็เหนื่อย    พูดแล้วก็กังวล จับอาการได้ว่า    พูดเยอะผิดศีลเยอะ (มีสัญญาณเตือน คือพูดแล้วเศร้าหมอง ) สงสัยจัง เอ..มีความกลัวในคำพูดของตนเอง    ที่ได้พูดออกไป คนอื่นเขาฟังเราด้วยความเกรงใจหรือเปล่าหนอ เอ..คิด..

    มาร ใครๆ เขาก็พูด ยิ่งเป็นธรรมะหาคนพูดได้น้อย

    เรา ได้ปรึกษาและก็ ฟังหมู่ที่มีประสบการณ์ เรื่องพูดแล้วไม่เพิ่มกิเลส (ลดกิเลสได้) ถ้าจำเป็นที่จะ

    พูด มีเวลา มีโอกาส และทำสิ่งนั้นๆ ได้ จึงพูดเท่าที่เป็น และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น หมู่ก็

    ให้ขุมทรัพย์ว่า    แก้ไขกิเลสในตัวเราได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้พูด (หมู่บอกว่ากิเลสเยอะคือพูด

    แล้วเพิ่มกิเลส) พยายามพูดในสิ่งที่ทำได้ และพูดให้น้อยลง ทำให้ตอนนี้พูดเท่าที่จำเป็น ตัดรอบ

    ในการพูดได้บ้าง จับอาการได้ว่ามีจิตที่อยากจะเสนอ อยากจะพูด มากๆๆ แต่ตอนนี้กิเลสตัวนี้ลด

    ลง เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยคิดว่าจะลดลงได้ ตั้งแต่ฝึกเขียนและส่งการบ้าน ความคิดที่ต้องการจะพูด

    มากๆๆๆ ลดลง พูดมีประโยชน์มากขึ้น (อดีตทุกข์มากกับคำพูดที่ไร้สาระของตนเอง) ผลของการที่

    ได้พิจารณา คำพูดของตน ทำให้ใจที่เคยยึดว่าเราพูดดีแน่ๆ ลดการพูดลงมาบ้างจับอาการได้ว่าผม

    ติดเสนอดี ติดในความคิดว่าสิ่งที่เสนอนั้นหมู่มิตรดีควรจะทำ ยึดติดในข้อมูลที่ตนเองมี (ที่อยาก

    เสนอหมู่เพราะต้องการทำงานที่ตนเองเสนอนั้นให้เกิดจะได้มีผลงานออกมาอวดอ้าง) แต่ตอนนี้รู้

    แล้วว่า ถ้าเราไม่เสนอดีก็จะมีคนอื่นเสนอดีแทนเรา (พูดแทนเรา) ทำได้ดีกว่าเราด้วยซ้ำไป ผลของการที่เราได้ฝึกพิจารณาบ่อยๆ ซ้ำๆๆๆ ตอนนี้ ใจเบาสบาย

  19. มงคลวัฒน์ รัตนชล เพชรไพรพุทธ

    24 กพ 64 ทำไมขับรถอย่างนี้
    เหตุการณ์: นัดกับเพื่อนไว้ 9.15 แต่มีเรื่องที่ต้องเตรียมหลายอย่างทำให้ช้า ต้องออก 9.00 น. ใจไม่อยากผิดนัดจึงขับรถเร็วขึ้นมาสักนิด แต่มาได้แป๊ปเดียวเจอว่ารถเลนขวาข้างหน้ากำลังขับช้าตีคู่กับรถเลนซ้ายไปเรื่อยๆ เราจะแซงซ้ายก็ไม่ได้ แซงขวาก็ไม่ได้รู้สึกอึดอัดขัดใจ ขึ้นมาแว้บทันทีว่าทำไมทำอย่างนี้ ขับรถไม่คิดถึงคนอื่น
    ทุกข์ : รำคาญใจว่าทำไมขับรถไม่คิดถึงคนอื่นขับช้าอยู่ได้
    สมุทัย : ยึดว่าจะทำได้ตามที่ตั้งใจ แต่มีเหตุมาขัดขวางให้ทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจทำให้ทุกข์ใจ
    นิโรธ : ได้หรือไม่ได้ตามที่ตั้งใจก็ไม่ทุกข์
    มรรค : พิจารณาว่าเราต้องเคยทำมา ขัดขวางคนอื่นโดยไม่เจตนาจึงต้องมาใช้วิบาก และได้เห็นกิเลสตัวยึดว่าเราทำได้เป็นสุข ทำไม่ได้เป็นทุกข์ชัดเจน และได้ล้างทุกข์ด้วยบททบทวนธรรม เราทำมา แทนทำไม? และ ใช้แล้วก็หมดไป และได้เห็นกิเลสที่ทำให้ทุกข์ใจและพิจารณาพอเห็นกิเลสชัดเจนเขาจะอายๆและหายไป

  20. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง ติดยึดในความคิดตนเอง

    เนื้อเรื่อง ได้มาทำงานกับหมู่มิตรดี ก็เห็นว่าบางงานบางเรื่อง เราต้องกล้าเสนอหรือแสดงความคิด

    เห็น ออกไป เพื่อจะได้เห็นกิเลสของเรา ที่ติดมากๆ ว่าทำไม ๆ เขาไม่เอาตามความคิดของเรา
    พอหมู่ไม่เอาตามที่เราเสนอ ก็ไม่อยากทำงานด้วย หมดพลัง กินแรงอย่างมากจน มึนหัวคิดอะไรไม่ออก
    ทุกข์ ติดยึดในความคิดตนเอง
    สมุทัย ชอบที่หมู่ทำตามความคิดเรา ชังที่หมู่ไม่ทำตามความคิดเรา
    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังหมู่จะทำตามความคิดเรา หรือไม่ทำตามความคิดเรา ก็สุขสบายใจไร้กังวล

    มรรค พิจารณาสิ่งที่หมู่คิดแล้วใจเรายึดอะไร (ขออนุญาตใช้ภาษาที่ถูกกับจริตผม กับกิเลสผม เป็นภาษาที่ตรงและแรง กิเลสผมมันไม่ยอมลงง่ายครับ)

    มาร ท่านคิดแล้วเสียเงิน เสียเวลา เสียแรงงาน ดูเขาทำซิ

    เรา กูว่ากูเสียเวลากับมึงมากกว่า ที่ยึดว่าจะต้องทำตามมึง (เอาแต่ใจกิเลส)

    มาร เสนอความคิดของเราออกไป แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นว่า เราคิดถูกที่สุดคนอื่นห้ามคิดต่างเป็นความคิดของ มาร แฮ่ๆ ความคิดเขาเอง (เวลาพูดหรือเสนออะไรออกไปจะปวดหัว คิดไม่ออกว่าได้พูดอะไรออกไป)

    เรา เสนอแล้วยึดในความคิดตนเอง ก็ถูกแล้วที่หมู่ไม่เห็นด้วย (ถ้าหมู่เห็นด้วย เราก็มีแต่ชั่วมีแต่โง่ เราก็ไม่เห็นกิเลส)

    มาร เออๆๆๆ เป็นความคิดเขาเองแหละ เวลาเสนออะไร เขาอยากได้มากๆ จนออกปากเสนอแล้วก็ตั้งภพไว้ว่า มันดีนะ (ต้องทำตามเท่านั้น) ถ้าเสนอแล้วก็ลุ้นๆ ว่าหมู่จะเอาด้วยไหม กลัวว่าหมู่ไม่เห็นด้วย หัวใจเต้นแรง ลุ้นๆๆ อยากๆๆๆ เสนอแล้วก็ไม่เอาด้วย

    เรา เห็นหรือยังว่าติดยึดในความคิดตนเอง (จะโง่จะชั่ว) จนแสดงผลออกมาทางร่างกาย คือหมดพลัง มึนหัวคิดอะไรไม่ออก

    พอพิจารณาแบบนี้บ่อยๆ กิเลสจะฟัง เชื่อข้อมูลจริงและจะยอมรับได้ เพราะมีข้อมูลที่มารเถียงไม่ได้ แต่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกตรงซ้ำๆ ให้มากๆ มารจึงจะสลาย
    มาร เออๆๆๆ เขาเอง ว่าแล้วมารก็ยอมสลาย ความคิดที่เคยยึดมั่นถือมั่น ในตัวมารลง
    ผลของการคลายความยึดมั่นถือมั่น ต่อไปก็จะกล้าที่จะเสนอดีสลายอัตตาในความคิดของตน และ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างได้ ด้วยความปรารถนาดีต่อหมู่มิตรดีตามภูมิ

  21. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง พอที่ใจ
    เนื้อเรื่อง ได้มาอยู่สวนป่านาบุญแล้วก็น่าจะยินดีพอใจ แต่กิเลสคือตัวไม่รู้จัก อิ่ม ไม่รู้จักเต็ม

    อยากจะให้แม่มาฝึกมีศีล ทำไมๆๆๆ แม่ไม่มาอยู่ด้วย คิดๆๆๆ แม่ได้มาอยู่ด้วยน่าจะดี มีแต่

    ความอยากๆๆ อยากที่แรงมากๆ อยาก ให้คนอื่นๆ ได้ดี (เห็นอะไรดีก็น่าจะบอกตนเองว่าเราควรจะฝึกหรือตั้งศีลอย่างไรดี) ไม่รู้จักยินดีพอใจในสิ่งที่ตนทำได้ (ถ้าเรามาฝึกแก้ไขที่ตนเองได้จะได้ช่วยผู้อื่นด้วย)

    ส่วนตัวแม่ก็เคยมาฝึก มาอยู่กับหมู่มิตรดี ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว และได้ติดตัวท่านไปแล้ว ส่วนตัวเราก็พากเพียรทำตัวอย่างที่ดี มีค่ามากกว่าคำสอน (สอนโดยการทำตัวเราให้มีศีลให้ดู) เป็นการตอบแทนบุญคุณแม่แล้ว แต่กิเลสผมก็ไม่ เข้าใจ แม่มาอยู่ด้วยซิ แล้วก็กังวลใจ

    ทุกข์ กังวลอยากให้แม่มาอยู่ด้วย
    สมุทัย ชอบที่แม่มาอยู่ด้วย ชังที่แม่ไม่มาอยู่ด้วย
    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังว่าแม่จะมาอยู่ด้วย ก็สุขใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล
    มรรค มาพิจารณาว่าเราอยากได้อะไรจากแม่
    มาร แม่มาอยู่กับหมู่ ผู้มีศีล แม่จะได้มีศีล
    เรา แม่มาก็ดี แต่ท่านก็ได้ฝึกกับหมู่มิตรดีแล้วท่านทำได้ เท่าที่ท่านมีแรงกาย แรงใจ แรงปัญญาเท่านี้ เราก็ยินดีเต็มใจกับท่านได้แล้ว

    มาร แม่ต้องมาอยู่กับหมู่ตลอด เดี๋ยวแม่จะลำบาก ถ้าวันนึง เราต้องกลับไปดูแลแม่ละ (เวลาแม่ป่วย)

    เรา เฮ้ย…กิเลส.. ที่ไหนได้ ปากบอกรักแม่แต่แท้ที่จริงแล้ว กลัวตัวเองลำบาก (กิเลสมันกลัวมันลำบากไว้ก่อน มันไม่ยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้น)

    กลัวว่าจะต้องกลับไปดูแลแม่ กิเลสในตัวเรานี้ร้ายสุดๆ ขนาดแม่แท้ๆ กิเลสยังจะเอาเปรียบแม่
    (คนไม่มีศีลนี้ร้ายสุดๆ)
    ถ้าเราไม่รู้จักพอที่ใจเราก็จะมีแต่ความโลภอยากได้ (เอาแต่ใจตนเอง) ไม่รู้

    จักอิ่มไม่รู้จักเต็มบทธ ข้อ๑๓๗ เวลาชีวิต มีน้อยนัก สั้นนัก อย่าปล่อยเวลาชีวิต ให้สูญเปล่า จง

    ละบาป บำเพ็ญกุศล และยินดี พอใจ เต็มใจ สุขใจ มีชีวิตชีวา ในทุกเสี้ยววินาทีของชีวิต

    พอพิจารณาแบบนี้ทำให้ เข้าใจเรื่องกรรมเรา กรรมแม่ เชื่อและชัดเรื่องกรรมเราที่จะต้องได้รับแน่ๆๆ เข้าใจเรื่องกรรมที่แม่ทำมาจะต้องได้รับแน่ๆๆ ที่คนเราทำชั่วมามากหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ทำให้ใจที่

    เคยกังวล เคยกลัวว่าแม่จะลำบาก ก็ทำให้ความพอใจมันอยู่ที่ใจผมไม่ไปอยากได้อะไรจากแม่ ผมก็ยินดีกับแม่ที่ท่านปล่อยให้ผมได้มีโอกาสมาฝึกกับหมู่มิตรดี เบาใจเห็นใจกันทุกคนอยู่ตามศีลของตน

  22. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    25/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง :หมามาขี้ตรงสนามหญ้า
    บ้านที่ผู้เขียนอยู่เป็นบ้านในชนบทที่ไม่มีรั้วกั้น หมาของเพื่อนบ้านชอบมาขี้ไว้ตรงสนามหญ้าหน้าบ้านเป็นประจำ รู้สึกไม่พอใจเพื่อนบ้านที่ไม่ยอมดูแลหมาตัวเอง
    ทุกข์: ขุ่นเคืองใจเจ้าของหมา
    สมุทัย : ไม่ชอบใจเพื่อนบ้านที่ไม่ดูแลหมาให้ดี
    นิโรธ : เพื่อนบ้านจะดูแลหมา หรือ ไม่ดูแลหมาก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: รู้สึกไม่พอใจเพื่อนบ้านที่อยากจะเลี้ยงหมา แต่ไม่ดูแลหมาให้ดี
    กิเลสมันบอกว่า “ อยากจะเลี้ยงหมากันดีนัก ชื่นชมแต่ความน่ารักของมัน แต่พอมันขี้แล้วไม่รับผิดชอบ ปล่อยให้มาขี้ที่บ้านคนอื่น คนจะเลี้ยงหมาควรจะศึกษานิสัยของสัตว์เลี้ยงให้ดี ว่าขี้ตอนไหน จะได้ไม่ปล่อยไปทำความเดือนร้อนให้คนอื่น เราไม่ได้อยากจะเลี้ยงหมา แต่ต้องมาเดินระวังขี้หมาที่เราไม่ได้เลี้ยงในบ้านของตัวเอง อยากจะไปบอก แต่ถ้าบอกไปแล้ว ก็อาจจะต้องผิดใจกัน เลยต้องเก็บความขุ่นเคืองไว้ในใจ ” กิเลสมันมีเหตุผลสารพัดที่มากล่าวโทษเขา
    ตอบกลับกิเลสไปว่า “ อยากจะให้คนอื่นทำดี เที่ยวไปกล่าวโทษคนนั้นคนนี้ ตัวเองดีแล้วรึ? เรื่องดี ๆ อยากได้ แล้วที่ทำชั่วมาตั้งมากมายทำไมไม่อยากรับ สมบัติของตัวเอง ตัวเองทำมาก็ต้องรับสิ สำนึกสิ”
    ใช้บททบทวนธรรม 3 ข้อ ข้อที่46 “เกิดอะไรจงท่องไว้ กู-เรา-ฉัน ทำมา” บทที่ 47 “เมื่อเราไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไมๆๆ ให้ตอบว่า ทำมาๆๆ และข้อที่ 123 “เจอผัสสะได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบากที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น”
    พิจารณาว่า เราเคยเบียดเบียนคนอื่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อนมามากจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ดังนั้นเราจึงต้องยอมรับผลบอกวิบากอันนั้นด้วยความยินดีพอใจให้ได้ ตั้งจิตขออโหสิกรรมที่เคยทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พิจารณาแบบนี้แล้ว ความไม่พอใจก็จางคลายลงไป

  23. นางสาวนาลี วิไลสัก

    เรื่อง : โทรหาลูกไม่ติด
    เหตุการณ์ : ช่วงบ่ายหลังเลิกเรียนเรามีธุระที่จะรีบไปแต่ก่อนไปธุระก็ต้องไปรับลูกก่อน
    ทุกข์ : อึดอัดจังเมื่อไหร่ลูกจะเลิกเรียนสักทีหว่า
    สมุทัย : ถ้าโทรหาลูกติดและลูกเลิกเรียนตามปกติจะสุขใจชอบใจ ชังที่โทรหาลูกไม่ติดและลูกเลิกเรียนช้าจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ
    นิโรธ : จะโทรหาลูกติดหรือไม่ติดและลูกจะเลิกเรียนเร็วหรือช้าเราก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ขณะที่รอลูกอยู่หน้าโรงเรียนมารมันดิ้นจัง
    มาร : ทำไมวันนี้ลูกนานเลิกจัง
    เรา : ใจเย็นๆ สิเดี๋ยวลูกก็ออกมาแหละ
    มาร : เฮ๊ย!! ปกติเด็กๆ จะเลิกเรียนตอน 15:30 น.นะ แต่ตอนนี้มันเลยไปถึง 16:00 น. แล้วแถมโทรก็ไม่ติดด้วย ฮึ…ออกมาจะด่าให้สมใจเลยนะ
    เรา : อย่าด่าลูกนะ ทางโรงเรียนเขาน่าจะติดงานจำเป็นอะไรบางอย่าง ส่วนที่โทรไม่ติดลูกก็น่าจะมีเหตุผลของเขา
    พอเด็กๆ ยิ้มและวิ่งมาหาเรามารก็รีบไปด่าเด็กๆก่อนเราเลย
    มาร : เด็กๆ ไม่ต้องมายิ้มเลยนะ ตอนนี้แม่ไม่มีอารมณ์จะยิ้มด้วย ไหนมือถือล่ะปิดเครื่องทำไมล่ะ
    พอเด็กๆ ยื่นมือถือให้ปรากฏว่าแบตหมด โอ้โห มารสลายไป 50% และยังรู้ว่าทางโรงเรียนเขามีงานนานด้วย แล้วคนอื่นไม่มีใครผิด ก็มีแต่มารนี่แหละผิดศีล โทษคนนั้นโทษคนนี้อยู่เรื่อย ตรงกับ บทธข้อที่ 9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่นแสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง พอพิจารณาแบบนี้มารอายเด็กๆ มันเลยตายคาที่ จนเราไม่มีอารมณ์โกรธลูกแล้ว ใจก็เบาสบายเลยค่ะ

  24. สาวิตรี มโนวรณ์

    26/02/64
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง ไม่ได้ดั่งใจ ที่ไม่ได้บอกความรู้สึกในใจ
    ช่วงค่ำของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมรับฟังการพูดคุยในกลุ่มไลน์โรงเรียนของหนู โดยมีน้องขวัญกับน้องกิ๊ฟช่วยแนะนำวิธีจัดการกับกิเลส ซึ่งเราก็ได้บอกน้องทั้งสองว่า”พี่กลัวหนอน” แต่ไม่ได้คิดจะล้างกิเลสตัวนี้เพราะไม่ได้ทำความลำบากให้มากมาย ถ้าเจอก็หนี หรือถ้าต้นไม้อะไรที่หนอนชอบไปอาศัยอยู่ ก็จะโค่นต้นไม้นั้นทิ้งเสีย น้องทั้สองก็เลยช่วยกันจัดการชำแหละกิเลสตัวกลัวซะชุดใหญ่ เราฟังไปก็จดบันทึกไปเพราะทั้งโดนใจ ทั้งขำ เช่น
    กิเลส : เรากลัว ขยะแขยง ที่มันตัวนิ่มๆ แล้วคลานกระดึ๊บๆ เจอหนอนก็เหมือนเจอศัตรู ต้องรีบหนีห่าง
    น้องทั้งสอง : ก็หนอนมันไม่มีขา ไม่มีปีก แล้วจะให้มันทำยังงัย มันก็ต้องคลานกระดึ๊บๆ อย่างนั้น, เขาน่าสงสารมากนะ บารมีเขามีแค่นี้กว่าจะพัฒนาชีวิตมาเป็นคนได้อย่างเรา ไม่รู้ต้องอีกนานเท่าไหร่, เราก็เคยเกิดเป็นหนอนมาแล้ว, หนอนคือครอบครัวเราในอดีตถ้ารังเกียจหนอนก็คือรังเกียจกำพืดตัวเอง เนรคุณ, ศัตรูของเราคือกิเลสที่กลัวหนอนนั่นแหละ, กิเลสในใจเราน่าขยะแขยงน่าเกลียดกว่าหนอนซะอีก, เราพยายามจับแต่หนอนข้างนอก แต่ไม่เคยจับหนอนในใจ จนมันออกลูกออกหลานเต็มไปหมด ชอนไชใจเราให้ทุกข์ ฯลฯ จนช่วงท้าย น้องขวัญถามว่าใครจะพูดอะไรคนละ 1นาที มีสมาชิกคนอื่นพูด แต่เราไม่พูดอะไร จนจบรายการไป

    การพูดคุยกันจบสิ้นไปแล้ว ความรู้สึกชิงชังตัวหนอน เปลี่ยนเป็นความสงสารแทน แต่ทำไมรู้สึกอึดอัด ไม่โล่ง

    ทุกข์ ไม่ได้ดั่งใจ ที่ไม่ได้พูดความรู้สึกในใจให้น้องทั้งสองได้รับรู้

    สมุทัย ถ้าได้พูดความรู้สึกในใจให้น้องทั้งสองรู้ฯ จะสุขใจ แต่ ถ้าไม่ได้พูดความรู้สึกในใจให้น้องทั้งสองรู้ จะทุกข์ใจ

    นิโรธ จะได้พูด หรือไม่ได้พูดความในใจให้น้องทั้งสองรู้ฯ ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : สำรวจใจ พบว่า
    กิเลสมันไม่ได้ดั่งใจที่เราไม่ พูดบอกความรู้สึกในใจให้น้องทั้งสองรู้ในช่วงท้ายรายการ ว่าสิ่งที่น้องทั้งสองกำลังทำ ช่วยลดทุกข์ของเราไปได้จริงๆ น้องเขาจะได้มีกำลังใจ
    เราจึงบอกกิเลสว่า
    ควรอนุโมทนากับน้องทั้งสอง ที่เป็นทัพหน้า พากเพียรลดกิเลส จนกลับมาบำเพ็ญแบ่งเบาภาระของครูบาอาจารย์ ช่วยหมู่กลุ่มขัดเกลาลดกิเลส
    น้องทั้งสองได้ทำทั้งบุญและกุศลที่ยิ่งใหญ่อยู่ตลอด กำลังใจเขามีมากมาย ไม่ต้องห่วงความรู้สึกน้องเขาหรอก ห่วงแต่ตัวมึงเถอะ ขยันหาเรื่องทุกข์ใจไม่เว้นแต่ละวัน
    พิจารณาไปเพียงเท่านี้ ได้สำรวจใจ พบว่าโล่ง ไม่รู้สึกว่ามีอะไรคาใจเหมือนตอนแรก

    บททบทวนธรรม ที่นำมาใช้ประกอบในการล้างกิเลสครั้งนี้

    ข้อ 67 สิ่งที่ดีที่สุดในโลก คือ
    คบและเคารพมิตรดีฯ
    ข้อ 83 “ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิด ความพร่อง ความพลาด ความทุกข์”

  25. นาง สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ช่วยไม่ได้
    เหตุการณ์ เข้าห้องน้ำดันไปเจอ แมลงสาบ หล่นในโถส้วม จึงรีบหยิบแปรงด้ามยาวที่ขัดส้วม มาให้แมลงสาบเกาะ จะได้ดึงขึ้นมา กำลังขึ้นได้ดันหล่นลงไปอีก ลังถึง 3 ครั้งนี้ 3 หล่นหายไปเลย เลยใช้แปรงอีกด้านแหย่ลงไป เพื่อจะอยู่แถวนั้น จะได้เกาะขึ้นมา ปรากฏว่าเงียบหายไปเลย แสดงว่าเรียบร้อยแน่

    ทุกข์ เศร้าที่ช่วยชีวืตแมลงสาบไม่ได้

    สมุทัย ชังที่ช่วยแมลงสาบไม่ได้
    ชอบถ้าช่วยได้

    นิโรธ ช่วยได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค เราพยายามทำเต็มที่แล้ว ที่จะช่วยชีวิตเขาๆคงไม่อยากตายเหมืนกับทุกชีวิต บนโลกใบนี้ แต่ช่วยไม่ได้ คงเป็นวิบากกรรมเขาที่จะต้องเสียชีวิตและเป็นวิบากกรรมเราที่ช่วยเขาไม่ได้ เราทำดีที่สุดแล้ว

    พิจารณาแล้ว ใจเบาลง

    ใช้บททวนธรรมข้อ32
    หลักการทำดีอย่างมีสุขมี 6ข้อ
    1 รู้ว่าอะไรดีที่สุด
    2 ปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด
    3 ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น แล้วลงมือทำให้ดีที่สุด
    4 ยินดีเมื่อได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว
    5 ไม่ติดไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ดีที่สุด
    6 นั่นแหละคือ สิ่งที่ดีที่สุด

  26. นรง สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ไม่กล้า
    เหตุการณ์ มีโทรไลน์กลุ่ม พูดคุยกันหลายเรื่องจนท่านจิตอาสาถามขึ้นว่า มีใครจะให้หมู่กลุ่มล้างกิเลสตัวไหนไหม หลายคนแจ้งไป ใจเราก็อยากแจ้ง แต่ไม่กล้าจนสุดท้ายขอโอกาสพูด ว่าเรากลัวและเกลียดคางคกมาก และเคยเผาคางคก 3ตัวโดยโยนเข้าเตาถ่าน แล้วจับมันออกมา ในใจคิดว่ามันคงจะตาย แต่ตอนเช้ามาดูอ้าวหายไปกันหมด แสดงว่าไม่ตาย ตอนนั้นยังเด็กอยู่เลย

    ทุกข์ ไม่กล้าเล่าความจริง

    สมุทัย ชังถ้าไม่ได้เล่าความจริง
    ชอบถ้าได้เล่าความจริง

    นิโรธ จะเล่าความจริงหรือไม่ได้เล่าก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค มาร ไม่ต้องไปเล่าให้เขาฟังหรอก อายเขาพูกก็ไม่เก่ง น้ำเสียงก็ไม่น่าฟังยังอยากจะพูดอยู่นั่นแหละ
    เรา ทำไมล่ะอย่างน้อยๆ ก็ชนะแกแล้วกัน ไม่เชื่อแกแล้ว มีบุญแค่ไหนที่ได้เข้ากลุ่มกับผู้มีศีลผู้
    ปฏิบัติธรรม ท่านจะพาเราพ้นทุกข์น่ะ มึงไม่อยากพ้นทุกข์เหรอ ที่ทำชั่วๆไปเยอะแยะมากมาย ก็เพราะ
    เชื่อแกไง เสี้ยมสอนแต่สิ่งชั่วๆ ทั้งนั้น เพราะฉันไม่รู้
    จักแกไง แต่ตอนนี้รู้จักแกแล้วน่ะ แกสั่งฉันเผาคางคก รู้ไหมมันเป็นวิบากกรรมชั่ว ที่ต้องชดใช้ ต่อ
    แต่นี้ฉันจะเผาแกแทน

    มาร ฮา

    พิจารณาแล้วใจเบา
    ใช้บททบทวนธรรม
    ต้องกล้า ในการทำสิ่งดี ละอายและเกรงกลัว
    ในการทำชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้
    ไม่มีชีวิตใดหนีพ้น อำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำ
    กรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วก็ได้รับผลชั่ว

  27. ประภัสสร วารี

    อริยสัจ 4 เรื่อง ชีสจ๋า ขอลาก่อน

    เรื่องย่อ : เห็นรูปชีสที่ทำจากถั่วเหลืองที่เพื่อนส่งมา จึงเกิดความอยากกินขึ้นมา นึกถึงแผ่นสี่เหลี่ยมสีเหลือง ๆ และรสชาติมัน ๆ ที่เคยกิน อยากกินมากจนต้องไปหาซื้อมากิน และเมื่อได้กินไปคำแรก รู้สึกเหมือนกินก้อนแป้งแข็ง ๆ ไม่อร่อยอย่างที่หวัง(สัญญาที่เคยจำได้ว่ารสแบบนี้) ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เห็นความจางคลายของกิเลส ต่อไปฉันจะไม่กินอีกแล้ว มันไม่อร่อย มันเป็นความลวง

    ทุกข์   : กระวนกระวายใจ ฟุ้งซ่าน อยากกินชีสที่ทำจากถั่วเหลือง

    สมุทัย  : หลงว่าได้กินแล้วจะสุขใจ  ถ้าไม่ได้กินจะทุกข์ใจ

    นิโรธ   : ไม่มีความรู้สึกอยากกินชีส  สุขใจที่ไม่ได้กิน 

    มรรค   :  เข้าใจว่าการกินชีสเป็นการเสพกิเลส  ต้องตั้งศีลลด ละ เลิก ชีสที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นของที่ผ่านกระบวนการผลิต คุณค่าทางอาหารเสื่อมสลาย แถมมีราคาแพง

    การกินอาหารที่เกินจำเป็น หรือไม่มีประโยชน์ เป็นการใช้ทรัพยากรเกินจำเป็น เท่ากับการขโมยจากโลก ผิดศีลข้อ 2 

    เมื่อลองได้เสพ หลังจากตั้งศีลและไม่ได้เสพมานาน ทำให้การลองกินครั้งนี้สามารถรับรู้ถึงความจางคลายของกิเลส  ต่อไปถ้ามีกิเลสอยากกินขึ้นมา จะได้นำความจำ(สัญญา)การเสพครั้งนี้มานึกถึงว่า มันทุกข์อย่างไร  ไม่ใช่สุขแท้ เป็นสุขลวง

  28. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    26/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : ความขี้กลัวกังวล
    สมัยเป็นเด็กผู้เขียนเป็นคนค่อนข้างซน ทะโมนเหมือนเด็กผู้ชาย แต่ก็เกิดมาในครอบครัวใหญ่ที่มีแต่ผู้หญิง นิสัยของผู้หญิก็เป็นที่รู้กันว่า จะค่อนข้างเจ้าระเบียบ ละเอียด กลัวกังวลง่าย ด้วยภาพลักษณ์ของความซุกซนของตนเอง เวลาที่ทำอะไรผู้เขียนจึงมักถูกผู้ใหญ่ดุ ถูกห้าม บ่อย ๆ กลัวเราไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักมารยาทการเข้าสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่พอใจเป็นอย่างมาก พอโตขึ้นผู้เขียนจึงได้เริ่มเข้าใจว่ามันคือความเขาหวังดีที่มีต่อเราในฐานะลูกหลาน แต่ในมุมกลับ พอถูกทัก ถูกห้ามมาก ๆ เข้าภาพที่ดูเหมือนเป็นคนกล้า มั่นใจในตัวเองก็จะแฝงด้วยความเป็นคนขี้กลัวกังวล ไม่มั่นใจอยู่ภายใน เวลาจะ ทำอะไร ก็ชอบคิดว่าจะทำแล้วกลัวไม่เหมาะสม กลัวไม่ดีพอ แต่ที่สุดของความกลัวกังวลเหล่านี้ผู้เขียนค้นเจอว่ามันคือ “การกลัวถูกตำหนิ” เพราะต้องพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ถูกใจผู้ใหญ่ที่บ้านถึงจะไม่ถูกดุถูกว่า มันเลยฝังลึกเข้าไปจนติดเป็นนิสัยที่ไม่ดี ที่ขัดขวางความก้าวหน้าของชีวิต
    ทุกข์: กลัวว่าจะถูกตำหนิ
    สมุทัย : ชอบใจถ้ามีคนชื่นชมต่อสิ่งที่เราคิด พูดทำ ชังถ้ามีคนตำหนิ
    นิโรธ : ใครจะชื่นชม หรือ ตำหนิ ก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: พอปฏิบัติธรรมมาระยะหนึ่งทำให้ผู้เขียนเริ่มเห็นว่าความกลัวกังวลต่าง ๆ แม้เพียงเล็กน้อย ถ้าไม่รีบล้างก็จะยิ่งเป็นปัญหา เราพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิตไปเพราะความกลัว กังวล คิดมากเกินไปนี้แหละ เวลาจะทำอะไร นอกจากความทุกข์จากการกลัวกังวลที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าที่ยังมาไม่ถึงแล้ว ยังต้องมาทุกข์กับการคิดว่า ถ้ามีใครสักคนมาตำหนิเราในด้านลบ บางครั้งถึงขนาดต้องหยุดทำภารกิจนั้น ๆ กลางคัน เพราะ หดหู่ ไม่มีแรงทำต่อ กิเลสมันเล่นงานเราเสียจนหมดแรง จนพลาดสิ่งดี ๆ ที่ควรจะได้เพียงเพราะเรื่องแค่นี้
    เรื่องที่เล่ามาข้างต้นมันเป็นเพียงเหตุการณ์ที่ผ่านมาของชีวิต แต่ความเป็นจริงในระดับวิบากกรรมคือ เป็น สิ่งที่เราทำมา “เรานี่แหละที่ชอบตำหนิคนอื่น” ว่าคนอื่นไว้เยอะ จึงต้องมารับผลวิบากจากเรื่องนี้ พิจารณาว่า เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เราจะให้คนทั้งโลกใบนี้คิดเหมือนกับเราทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครในโลกใบนี้ที่ไม่เคยถูกตำหนิ แม้แต่พระพุทธเจ้า อ.หมอเขียว ครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือมีบารมีขนาดนี้ยังเคยถูกตำหนิเลย แล้วนับประสาอะไรกับเรา ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 143 “ทำดีถูกด่าให้ได้ ถูกแกล้งให้ได้ ถูกนินทาให้ได้ ถูกว่าให้ได้ ถูกเข้าใจผิดให้ได้ ถูกทำไม่ดีสารพัดเรื่องให้ได้ เพราะเราทำมาทั้งนั้น” และข้อที่ 141 “ ความผิดถูกอยู่ที่การยึดหรือไม่ยึด ถ้ายึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่เหตุผลใครเลิศยอดกว่าใคร ผิดถูกมันอยู่ที่ยึดหรือไม่ยึด ยึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ยึดคือ ยึดมั่นถือมั่นตามความคิดของเรา เอาดีแบบเราหมายจึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมายจะทุกข์ใจ นี่แหละยึด นี่แหละกิเลส นี่แหละบาป” หากเรามองให้ลึกลงไป มันไม่ได้มีความน่ากลัวอะไรเลยในคำตำหนิ มันเป็นเพียงแค่มุมมอง ทัศนคติ เราจะได้เห็นแนวคิดที่หลากหลายที่คนอื่นมีต่อเรา เราจะได้ปรับปรุงแก้ไป ได้ล้างโลกธรรม มันเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่เหรอ??? คำตำหนิคือรางวัลของนักปฏิบัติธรรม คือขุมทรัพย์ที่มีค่า ที่นักปฏิบัติธรรมสมควรจะได้รับ เรา จะพลาดโอกาสดี ๆเพียง เพราะน้อยใจ หดหู่ใจ ที่ถูกตำหนิแค่นี้เองเหรอ? การได้เขียนทุกข์อริยสัจเรื่องนี้ ในขณะที่เขียนไปพลาง พิจารณาไปพลาง ทำให้มีความโล่ง เบาสบายใจ

  29. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง ตัดหญ้ามีฝุ่นเยอะ
    เนื้อเรื่อง ช่วงนี้ได้ปรึกษากับหมู่ว่าจะตัดหญ้าในแปลงนาก่อน จะได้ไถกลบหญ้า อากาศก็ร้อน ฝุ่นก็เยอะหายใจไม่ออก ต้องใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก ตอนทำงานก็กลัวว่าจะคัน มีกิเลเลสไม่อยากใช้รถไถตัดหญ้างานนี้ลำบาก
    ทุกข์ กลัวคันฝุ่นของหญ้า
    สมุทัย ชอบที่ฝุ่นของหญ้าไม่คัน ชังที่ฝุ่นของหญ้าคัน
    นิโรธ ฝุ่นของหญ้าจะคันหรือไม่คันก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค มาพิจารณาว่ากลัวอะไรในฝุ่นของหญ้า
    มาร อย่าไปตัดหญ้า ฝุ่นเยอะน่ากลัว
    เรา เอ็ง น่ากลัวกว่าฝู่น มาร ฝุ่นเยอะไม่เห็นน่ากลัวตรงใหนเลย
    มาร ถ้าคันละ ใครจะช่วย(กลัวเขาว่าเราป่วยบ่อย)
    เรา คันก็ดีจะได้กัวซา คันฝุ่นของหญ้าอาบน้ำก็หาย แต่ คันที่มีมารน่ากลัวกว่าอีก
    มาร เออ ไม่คันจริงๆ ฝุ่นของหญ้าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
    เรา มารไม่ช่วยก็หลบๆไปจะไปตัดหญ้าแบบไม่กลัวไม่กังวล ขับรถตัดหญ้าอย่างสบายกายและสบายใจ แล้วก็ไม่คันอย่างที่เคยคิดไว้

    พอพิจารณาอย่างนี้ทำให้เข้าใจว่า เราไม่อยากทำงานเพราะ ”ขี่เกียจทำตามมติหมู่”

    ( ทำงานที่เป็นความคิดของหมู่ที่เสนอมา อยากจะทำงานตามที่ตั้งภพไว้)
    ” ขยันเลวทำตามใจ” แต่อ้างว่ากลัวฝุ่น ทำให้มองเห็นอตีดเวลาจะทำงานจะบ่น (เบื่อทำงานที่หมู่เเนะนำ) แล้วก็ไม่มีแรงที่จะช่วยทำงานตามมติหมู่

    (กิเลสในตัวผมชั่วมากๆทำให้หมู่เข้าใจผิดกัน)
    ที่ผมคิดแบบนี้ได้เพราะหมู่เนะนำให้เขียนความจริงออกมาให้มากๆๆหมดๆๆไม่ต้องอาย กลัวใครว่า

  30. จรัญ บุญมี(เพชรแผ่นดิน)

    อริยสัจ 4 การบ้านวิชาราม.วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 จรัญ. บุญมี(เพชรแผ่นดิน) อริยะปัญญาโท. Petpandin1973@gmail.com
    ทุกข์ เพราะเครียด ปวดท้อง
    สมุทัย อยากได้งานดีดังใจ
    นิโรธ สบายๆงานจะได้แค่ไหนก็สบายๆ
    มรรค ทำงานไปรู้สึกปวดท้องแน่นๆ. ก็ตรวจดูว่าเหตุอะไร พบว่าด้วยงานนี้ทำยากเราจึงต้องพยายามมาก ลึกๆกิเลสมันแอบอยากได้งานดีสนใจ. จึงแก้ด้วยหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วสอนจิตมารว่าโลกนี้เอาอะไรไม่ได้เลยเราทำดีที่สุดแล้วได้เท่าไหร่เอาเท่านั้นจบ สอนมารซ้ำๆ ด้วยทบทวนธรรม 4-5 นาทีก็หายปวด ท้องโปร่งโล่งสบาย

  31. สาวิตรี มโนวรณ์

    27 กุมภาพันธ์ 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง เสียใจที่ไม่ได้ไปเยี่ยมญาติ
    ตรุษจีนของทุกปี จะมีญาติผู้ใหญ่ซึ่งอายุมากแล้ว (80 กว่าปี) แวะมาหาพ่อบ้าน ซึ่งจริงๆ บ้านก็ห่างกันเกือบ 20 กม. แรกๆ ก็ขี่มอเตอร์ไซค์มาเอง 2-3 ปีหลัง มากับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
    แต่ปีนี้ ไม่ปรากฎญาติท่านนั้นมาที่บ้าน เลยบอกพ่อบ้านว่า เราควรแวะไปเยี่ยมท่านนะ ถ้าหายไปอย่างนี้ต้องมีอะไรผิดปกติ พ่อบ้านฟังแล้วก็เฉย ไม่พูดอะไร ก็เลยลืมเรื่องนี้ไปเลย
    ตอนค่ำ ของวันนี้ทราบข่าวว่า ท่านเสียชีวิตแล้ว

    ทุกข์ เสียใจที่ไม่ได้ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ ก่อนท่านจะเสียชีวิต

    สมุทัย ได้ไปเยี่ยม จะสุขใจ ไม่ได้ไปเยี่ยม จึงทุกข์ใจ

    นิโรธ จะได้ไปเยี่ยม หรือไม่ได้ไปเยี่ยม ก่อนท่านจะเสียชีวิต ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : เมื่อรู้สึกตัวว่า มีกิเลสตัวเสียใจและรู้สึกผิดที่ไม่ได้ไปเยี่ยมท่านเกิดขึ้น ก็ได้พิจารณาว่า ทุกชีวิตก็ต้องตายทั้งนั้น การที่ไม่ได้ไปเยี่ยมก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม
    พิจารณาอย่างนี้แล้ว ได้สำรวจใจ พบว่า ความเศร้าใจลดลง และไม่รู้สึกผิดเหมือนตอนแรก

    บททบทวนธรรม ที่นำมาใช้ประกอบในการล้างกิเลสครั้งนี้

    ข้อ 82 จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิยตย์ อย่างผาสุกให้ได้

  32. สาวิตรี มโนวรณ์

    27 กุมภาพันธ์ 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง ไม่ชอบที่โดนตำหนิ

    ตอนบ่าย ๆ ของเมื่อวาน เจอพี่ที่ทำงานเดียวกัน ที่หน้าห้องน้ำ เล่าให้พี่เขาฟังว่า เมื่อวานไม่กล้าเข้าห้องน้ำ เพราะที่ทำงานมีงานใหญ่ เขาเกณฑ์คุณครูมาช่วยกันทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำ เลยเกิดความอายคุณครูว่า ห้องน้ำตัวเองต้องให้คนอื่นมาทำให้ เท่านั้นเอง พี่เขาตอบกลับทันทีว่า “ได้ยินพูดอย่างนี้กันหลายคนแล้ว ทำไมไม่คิดบ้างว่า เขามาสร้างกุศลความดี สำนักงานนี้ไม่ใช่ของเราคนเดียวซะเมื่อไหร่ เป็นของคุณครูเหมือนกัน ฯลฯ” คำพูด น้ำเสียง ลีลา ท่าทางของพี่เขา แทงใจดำกิเลสเรายิ่งนัก เพราะบ่งบอกว่าตำหนิคนที่คิดเช่นนั้นอย่างมาก ซึ่งก็หมายถึงเราด้วย

    ทุกข์ ไม่ชอบ ที่โดนตำหนิ

    สมุทัย ชอบที่เขาไม่ตำหนิ
    ชังที่ถูกตำหนิ

    นิโรธ จะโดนตำหนิ หรือไม่โดนตำหนิก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : เมื่อเห็นว่ากิเลสมันไม่ชอบ ต่อคำตำหนิ จึงพิจารณาว่า
    – คำตำหนิคือทรัพย์ที่ทำให้เราเจริญ คำชมคือภัยร้าย ยินดีกับคำตำหนิ เราจะเจริญ
    – ขอบคุณพี่เขา ที่ทำให้เราเห็นกิเลสตัวเอง
    สำรวจใจพบว่า กิเลสความไม่ชอบใจพี่เขาไม่เหลืออยู่แล้ว

    บททบทวนธรรม ที่นำมาใช้ประกอบในการล้างกิเลสครั้งนี้

    ข้อ 21 การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา

  33. สาวิตรี มโนวรณ์

    27 กุมภาพันธ์ 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง ไม่ชอบที่เขามาขอความช่วยเหลือ

    ก่อนออกไปทำงานทุกครั้ง ตั้งจิต “คิดดี พูดดี และทำดี”
    วันนี้ที่ทำงานมีบุคคลภายนอกและเหล่าบรรดาคุณครูมากันมากมาย ในฐานะเจ้าบ้าน ได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจต่าง ๆ งานสำเร็จเรียบร้อย แต่มีเพื่อนจากกลุ่มงานอื่น โทรมาขอความช่วยเหลือเรื่องโน้นเรื่องนี้อยู่ตลอด แรก ๆ ก็แช่มชื่น และสนุกสนานดี ขอความช่วยเหลืออะไรมา ก็จัดการให้ได้สำเร็จ แต่ตอนหลัง ชักจะถี่ขึ้น กิเลสมันเริ่มไม่สนุกด้วยแล้ว เรื่องที่ตั้งจิตก่อนออกจากบ้าน ไม่เหลืออยู่ในความทรงจำอีกเลย

    ทุกข์ ไม่ชอบที่เขาขอความช่วยเหลือ

    สมุทัย ชอบถ้าเขาไม่ขอความช่วยเหลือ ชังที่เขาขอความช่วยเหลือ

    นิโรธ เขาจะขอความช่วยเหลือ หรือไม่ขอความช่วยเหลือ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : กิเลสมันไม่ชอบใจ ไปตำหนิเขาว่า ทำงานไม่เตรียมการ แต่ละเรื่องกลายเป็นเราต้องไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ คนที่ขอความช่วยเหลือ ก็นั่งโทรอยู่ในห้องแอร์ ไอ้เรานี่ต้องวิ่งหาของให้เขาวุ่นวาย โดนแดดโดนลม ทั้งร้อนทั้งดำ
    พอรู้สึกตัวว่า กำลังโดนกิเลสเล่นงาน จึงรีบพิจารณาว่า
    – เราเองก็ขอความช่วยเหลือผู้อื่นบ่อย ๆ เลย เขาเดือดร้อน ช่วยกันได้ ก็ช่วยกัน เขาอุตส่าห์มาช่วยเราให้เห็นกิเลสถึงที่ ใยใจดำไม่ตอบแทนเล่า
    -เขามาช่วยเราโดยไม่ต้องขอ เราต้องช่วยเขาไม่ใช่ไปชังผู้มีพระคุณ
    พิจารณาดังนี้แล้ว สำรวจใจพบว่า อาการชังหายไป และได้ช่วยเหลือในสิ่งที่เขาร้องขอจนงานเสร็จ

    บททบทวนธรรม ที่นำมาใช้ประกอบในการล้างกิเลสครั้งนี้

    ข้อ 51 ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน

    ข้อ 102 ทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรทุกข์

  34. จิรานันท์ จำปานวน

    การบ้านอริยสัจ 4
    เรื่อง : รถโดยสาร

    เหตุการณ์ : เดินทางกลับบ้าน เมื่อมาถึงคิวรถโดยสาร ก็เกิดอาการขุ่นใจ

    ทุกข์ : อยากกลับถึงบ้านเร็วๆ

    สมุทัย : ชอบถ้ากลับถึงบ้านเร็วๆ ชังถ้ากลับถึงบ้านช้าๆ

    นิโรธ : จะกลับถึงบ้านเร็วหรือช้าก็สุขใจสบายใจ

    มรรค : พิจารณาทำไมต้องขุ่นใจด้วย
    มาร : อยากกลับถึงบ้านเร็วๆ จัง แต่ก่อนขึ้นรถโดยสารสีอะไรนะได้กลับเร็ว ออกตามเวลา
    เรา : อีกแล้วหรือ ยังจะคิดแบบนี้อีกแล้ว ยังไม่เข็ดใช่ไหม เวลาที่คิดแบบนี้ทีไรเป็นเรื่องทุกที คิดเลือกรถโดยสารว่าคันสีขาวหรือสีส้มจะออกก่อนกัน คันไหนจะออกตามเวลา และสุดท้ายก็เลือกผิด เพราะใจที่เร่งรีบอยากถึงบ้านเร็วๆ นี่แหละที่ทำให้ได้ขึ้นรถที่ไม่ออกตามเวลา แถมเจอคนขับรถที่ขับช้าๆ แล้วยังเปิดเพลงเสียงดังบนรถอีก
    มาร : ใช่ๆ เลือกเพราะใจเร่งรีบทีไรได้กลับช้าทุกที
    เรา : เอาอย่างนี้นะ วางใจจะได้กลับเร็วหรืกลับช้าก็ได้ ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 101 ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ “จึงจะได้” พอวางใจได้ก็ได้ขึ้นรถโดยสารสีส้มออกตามเวลา นั่งรถกลับบ้านอย่างสบายใจ ถึงบ้านเร็วมีเวลาไปกระโดดน้ำคลองก่อนค่ำ สาธุค่ะ

  35. จิตรา พรหมโคตร

    ไม่อยากให้เจ็บขา

    หลังจากทำข้อสอบ2ชั่วโมง ถึงเวลา7 โมง ที่ต้องไปทำภาระกิจ ขณะกำลังลุกขึ้นเนื่องจากนั่งทำข้อสอบที่พื้น รู้สึกเจ็บขาข้างขวาบริเวณข้อต่อขากับสะโพก ค่อยๆลุก เดินไปทำงานได้แต่เมื่อเดินหลายรอบก็รู้สึกเจ็บมาอีกครั้ง

    ทุกข์:มีความกังวลต่ออาการเจ็บขา

    สมุทัย:ยึดงานเกินไป จนไม่อยากให้มีอาการเจ็บขาเพราะถ้าเจ็บขาแล้วจะทำงานไม่ได้ ชอบถ้าไม่เจ็บขาแล้วจะสุขใจ ชังถ้าเจ็บขาก็ทุกข์ใจ

    นิโรธ:จะเจ็บขาหรือไม่เจ็บขาก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค:ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องทำงาน การทำงานก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ฝึกความขยันของการเกิดมาเป็นคน ซึ่งพ่อครูกล่าวเปรียบเทียบว่าคนไม่ทำงานเปรียบเหมือนกับสัตว์เดรัชฉาน แต่เมื่อเราเจ็บป่วยก็ต้องรู้จักพักรักษาร่างกายเพราะเอาแต่ใจไม่ดูร่างกายผิดศีลข้อ1คือเบียดเบียนตนเอง เป็นวิบากร้ายเป็นแรงเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม เมื่อคิดได้ก็สำนึกผิด ยอมรับผิดที่เอาแต่ใจ ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษกับจิตวิญญานของตัวเอง ตั้งศีลว่าต่อไปจะขยันดูแลตนเองเพราะขาดการทำโยคะมาเกือบ 1 เดือน เมื่อได้สำนึกผิดและได้ทบทวนพิจารณาสาเหตุมาจากการกระทำของเรา ก็รู้สึกผ่อนคลายความกังวลใจได้ 60% ซึ่งอีก40% ก็จะพากเพียรปฏิบัติต่อไป

  36. นปภา รัตนวงศา

    ยุ่งกับวิบากคนอื่น
    เหตุเกิดจาก พ่อบ้านเข้าแข็งขันกิฬา ฟุตบอลในกลุ่มอายุเกิน 60ปี เคยคุยกับท่านว่าการแข่งขันกิฬาเป็นอบายมุข ครั้งนี้ก็คุยกับท่านใหม่ มาเล่นกิฬาเพื่อออกกำลังกายดีกว่าไหม มันเป็นวิบากทั้งยังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก ทำให้เกิดเรื่องร้าย เกิดวิกฤตตามมามากมาย
    ท่านตอบว่า ท่านขอรับวิบาก
    ใจมันสดุ้ง กลัว ตกใจ ท่านไม่กลัววิบากเลยหรือ

    ทุกข์ ไม่สบายใจ พ่อบ้านเข้าแข่งกิฬาฟุตบอล

    สมุทัย ชอบที่พ่อบ้านไม่เข้าแข่งกิฬาฟุตบอล
    ชังที่พ่อบ้านไปแข่งกิฬาฟุตบอล

    นิโรธ พ่อบ้านจะไปแข่งกิฬาฟุตบอลหรือไม่แข่งกิฬาฟุตบอลก็สุขใจ ยินดี พอใจ

    มรรค พิจารณาความจริง ตอนอยู่ทางโลก ตัวเองก็ชอบการเล่นกิฬา การแข่งกีฬาเหมือนกัน นั่นตัวเรา ไม่ใช่เขา นั่นมันเรา แต่เมื่อรู้จักพวธ.ถึงได้เข้าใจ ก็ค่อยๆหยุดไป รวมถึงดูการแข่งขันด้วยก็ค่อยๆหยุดไป ท่านยังไม่ได้ศึกษาธรรมะที่ถูกตรงก็ให้เป็นไปตามวิบากดีร้าย คนจะรู้จักวิบากกรรมและทุกข์อริยสัจได้ต้องเอาศีลมาแลก แต่ท่านได้ข้อมูลไปแล้ว จะไปใช้ตอนไหน จะใช้ชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติอื่นสืบไป แต่ไม่ใช่ตอนนี้ เวลานี้ มันไม่ใช่เวลา อย่าทำเกินหน้าที่ อย่าทำผิดหน้าที่ เราจะผิดศีล พูดเพ้อเจ้อ ไปสอนเขาทั้งที่เขาไม่ได้ร้องขอ หันมาพิจารณาที่ใจเรามันทุกข์ไหม ไม่ทุกข์นะ จะทุกข์ทำไม วิบากตัวเองก็เยอะมากพอแล้ว จะไปทุกข์เพิ่มอีกทำไม โง่แล้ว บ้าแล้ว มาตั้งศีลเพิ่ม มาลดกิเลสตัวเองดีกว่า ใจก็ไร้ทุกข์เบิกบาน แจ่มใส
    และขอบคุณพ่อบ้านที่กระทุ้งผัสสะตัวนี้ออกมาให้ได้ล้าง
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ129 อย่าไปเสียเวลากับคนกิเลสหนาที่ขุนไม่ขึ้น เพราะถ้ามัวเสียเวลากับคนกิเลสหนาที่ขุนไม่ขึ้น มันเป็นวิบากร้าย ต่อตนเองต่อผู้อื่น…สาธุ

  37. สุกัญญา มโนบาล ใจแสงธรรม

    ร้องไห้ให้ตายก็กู้คืนไม่ได้

    เรื่องนี้อาจจะมีใครเคยเจอเหตุการณ์อย่างดิฉัน แต่คงไม่มีใครบ้า ยึดในสิ่งที่รู้ว่ามันไม่เที่ยงเหมือนดิฉัน ที่พลาดพลั้งให้กิเลสเล่นงานไปหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
    เรื่องมีอยู่ว่า ใช้เวลาเขียนบทความวิชาการอยู่นานสามอาทิตย์เต็มๆ เกือบเสร็จแล้ว ข้อมูลที่พิมพ์ไว้หายไป จากการขอให้คนช่วยลบตารางให้สามบรรทัด เทอมที่ ๒ของการเป็นนักศึกษาป.เอก เรียนไม่ค่อยหนัก สุกัญญา เขียนบทความมาแล้ว ๕ เรื่องส่งเมื่อสิ้นเดือนมกราคม ในขณะที่เพื่อนๆ เพิ่งเขียนได้คนละหนึ่งหรือ สองเรื่องเท่านั้น เพราะวางแผนจะกลับไทยเดือนเมษายน และจะสอบไล่เดือนมีนาคม เดือนกุมภาพันธ์จึงได้เขียนบทความวิชาการสำรองไว้ และยังไม่เสร็จเลย ข้อมูลหายไป ๑๖ หน้า สงสัยว่าข้อมูลหายได้อย่างไร ในเมื่อเราไม่ได้เป็นคนลบ แล้วคนช่วยเราก็บอกว่าเขาไม่ได้ทำ แค่นั้นแหละ กิเลสเล่นงาน ทำอะไรไม่ถูก เขาก็มาดูและทำเรื่องกู้ข้อมูลให้ แต่เราไม่ได้คำตอบในทันทีว่าจะกู้ได้หรือไม่ได้ ระหว่างรอจิตมันคิดโทษตัวเองว่าไม่น่าให้เขาลบให้เลย ทำไมเราไม่ทำเอง เขาฉลาดทำลบของเราแล้วไม่ขอโทษ ไม่ยอมรับว่าทำ ยิ่งเฉยมากเราก็ทุกข์มาก ร้องไห้เหมือนเด็กน้อย ออกไปนอกบ้านตะโกนใส่หิมะ เข้าไปห้องนอน นอนร้องไห้ ขาดสติ สับสน วุ่นวาย อัดอั้น อยากตาย มีคำถามว่า จะทำอย่างไร ๆๆๆๆๆๆ ถ้ากู้ไม่ได้ จะเขียนให้เหมือนเดิมได้อย่างไร สำนวนของเราที่แปลจากภาษาอังกฤษ เราทำไม่ได้อีกแล้ว เสียดายเวลา ๓อาทิตย์ ที่ตั้งใจทำมันเปล่าประโยชน์ ทำไมต้องเป็นเรา นี่แหละเพราะความโลภ ความประมาท ใจร้อนของเรา ก็ยิ่งโทษตัวเองหนักเข้าไปอีก

    ทุกข์ : เสียใจที่ข้อมูลหาย โทษทั้งตนเอง และ โทษคนที่ทำข้อมูลเราหาย

    สมุทัย : ถ้าสามารถกู้ข้อมูลได้จะสุขใจ ถ้ากู้ไม่ได้จะตาย และ ถ้าเขาแสดงความเสียใจและขอโทษจะพอใจ หากไม่ขอโทษจะทุกข์ใจ

    นิโรธ : จะกู้ข้อมูลได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ ต่อให้เขาแสดงความเสียใจหรือไม่ ก็ไม่ต้องการคำขอโทษ

    มรรค : เชื่อกรรม กทม. ไม่มีอะไรที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา ก็ขอขมาตัวเองหลังเวลาผ่านไปชั่วโมงครึ่ง หาเหตุให้เจอว่าที่ร้องไห้เพราะ จะเอาคำขอโทษ จะเอาความเห็นใจเหมือนเด็กๆ พอไม่เอาเสียได้ ก็ได้สติ และรู้สึกว่าที่ร้องจริง ๆ มันเป็นมายา เรียกร้องความสนใจ (น่าอายมาก) ตัวปรุงแต่ง ให้ซ้ำเติมตัวเอง ให้ชี้ความผิดไปที่คนอื่น เพราะมันไม่ยอมรับ แต่พอยอมรับได้ ก็ไม่กลัวว่าจะกู้ข้อมูลได้หรือไม่ และเขาก็กู้ไม่ได้จริง ๆ แล้วเราก็เย็นได้ วางใจเหลือเวลาอีกหนึ่งอาทิตย์กับข้อมูลที่หาย เป็นการทบทวน และฝึกทำใหม่ ที่เราเขียนไปแล้วฟ้าคงไม่ต้องการให้เราเผยแพร่ แล้วจะตั้งใจทำใหม่ให้ดี เสร็จก่อนสิ้นเดือนก็ได้ ไม่เสร็จก็ได้ สรุปว่า หลังจากนั้นไม่เสียดายเวลาที่เสียไป ๓ อาทิตย์เลย และสามารถเขียนบทความใหม่อีก ๕ วัน ก็เสร็จสมบูรณ์ ที่เคยคิดว่าเราทำไม่ได้ก็หายไป จริง ๆ แล้วเราก็ทำได้ เก็บข้อมูลใหม่ให้มีการบันทึกอัตโนมัติ ไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลจะหายอีก หรือถ้าหายก็กู้ใหม่ได้เพราะมีสำรองไว้แล้ว ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น มีภูมิคุ้มกัน ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกไม่ทุกข์อีกเพราะต่อให้ “ร้องไห้ให้ตายก็กู้คืนมาไม่ได้” ไม่ให้กิเลสหลอกได้อีกแล้วเรื่องแบบนี้.

  38. บัณฑิตา โฟกท์ มุกแสงธรรม

    โน๊ตบุ๊คตัวใหม่

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพี่น้องท่านหนึ่งรับปาก ว่าจะสั่งโน๊ตบุ๊คให้เรา วันนี้(26 ก.พ.2564) ตอนเช้าตรวจใจดูเห็นความรู้สึกรุ่ม ๆ ในใจเล็กน้อยที่อยากจะรู้ว่าพี่น้องท่านนั้นได้สั่งโน๊ตบุ๊ค ให้เราหรือยัง และเรารู้ว่าพี่น้องท่านนั้นมีงานเยอะ จึงน้อมจิตปฏิบัติอริยสัจสี่ดังนี้

    ทุกข์ : ใจรุ่ม ๆ เล็กน้อย ที่พี่น้องท่านนั้นไม่ส่งข่าวเรื่องสั่งโน๊ตบุ๊ค

    สมุทัย : อยากรู้ว่าพี่น้องท่านนั้นสั่งโน๊ตบุ๊คหรือยัง ชอบที่จะได้ยินข่าวและความคืบหน้า ชังที่ไม่ได้ยินข่าวและความคืบหน้า

    นิโรธ : วางใจได้ ไม่ชอบไม่ชัง แม้จะยังไม่ได้ยินข่าวและความคืบหน้าในการสั่งโน๊ตบุ๊ค

    มรรค : สงบใจพิจจารณา ว่าเรามีโน๊ตบุ๊คตัวเก่าที่ตอนนี้ใช้งานได้ตามที่เราต้องการแล้วและยังมีอะไรต้องทำและบำเพ็ญอีกมากโดยไม่จำเป็นต้องรีบใช้โน๊ตบุ๊คใหม่ จึงด่ากิเลสตัวที่มาทำให้ใจรุ่ม ๆ ว่า ” โอ๊ย ! ไม่ต้องมากวนใจเลย เวลาเรามีค่า เราจะรีบบำเพ็ญ ในส่วนที่เรามีอุปกรณ์และความสามารถที่เราทำได้ไปก่อน และ ถ้าพี่น้องท่านนั้นสะดวก ท่านจะส่งข่าวเองแหละและเราก็ได้คุยกันชัดเจนแล้ว เย็นใจ และวางใจไว้ก่อน ดีกว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม “เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ใจก็ คลาย สงบและเย็นลงได้ 95%และได้พิจารณาระลึกถึงศีลที่ตั้งมาปฏิบัติว่า เราจะใช้อุปกรณ์ที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ใจก็คลายลง วางใจได้แม้จะยังไม่ได้ยินข่าวและความคืบหน้าในการสั่งโน๊ตบุ๊คัวใหม่100% ภายในหนึ่งชั่วโมง สาธุ

  39. มัณฑนา ชนัวร์ร เตี้ย (ศีลประดับ)

    อริยสัจ 4

    เลี้ยวผิดซอย

    วันนี้ตอนเช้าได้ขับรถไปทำงาน ก่อนถึงที่ทำงานก็ได้แวะเอาของไปให้เพื่อน 2 คน และก็รู้สึกว่าตัวเองรีบเพราะทุกครั้งถ้าไปทำงานจะเข้างาน 10 นาที ก่อน8:00 น และก็ได้เปลี่ยนเส้นทางการขับรถ พอขับไปก็เลี้ยวเข้าซอยนึกว่าถึงซอยที่ทำงานแล้ว แต่พอเลี้ยวเข้าไปก็รู้ว่าผิดซอยและก็เห็นรถคันนึงกำลังจะสวนออกมาเราก็ได้จอดข้างทาง เพื่อที่จะให้เขาผ่านไป แต่พอรถมาใกล้เราก็เห็นผู้ชายที่ขับมาชี้นิ้วใส่หัว เราก็รู้สึกตกใจ อ้าวเราทำอะไรผิด เพราะสัญลักษณ์ที่ชี้นิ้วใส่หัว เป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่าบ้าๆบอๆ ก็นึกต่อว่า เราก็จอดหลบให้อยู่นะทำไมต้องชี้นิ้วใส่หัวด้วย ก็พิจารณาแล้วก็หันไปมองข้างหลังก็เห็นรถที่จอดอยู่ หันหน้าไปทางเดียวกันหมด และเราก็เอะใจสงสัยเขาให้ขับทางเดียวเราก็เลยถอยรถแล้วก็เลี้ยวออกจากซอยก็เห็นป้ายที่เขาเขียนไว้ว่าขับได้ทางเดียว

    ทุกข์ : ตกใจ ที่ผู้ชายขับรถสวนมา ชี้ใส่หัวแล้วมองหน้า

    สมุทัย: สงสัยว่าเราทำอะไรผิด เราก็ขับหลบๆให้แล้ว ชังที่ผู้ชายท่านนั้นชายท่านชี้นิ้วใส่หัวแล้วมองหน้าเรา

    นิโรธ : ถึงผู้ชายคนนั้นจะชี้นิ้วใส่หัวเป็นสัญลักษณ์อะไรก็ไม่ทุกข์ ดับความสงสัยและตั้งสติ

    มรรค :พิจารณาจากที่เห็นผู้ชายที่ขับรถผ่านไปชี้นิ้วใส่หัวแล้ว ก็พิจารณาซ้ำว่าเราทำอะไรผิดหรือเปล่า ตั้งสติหันมองข้างหลังก็เห็นรถที่จอดอยู่หันหน้าไปทางเดียวกันหมด แล้วก็เลยถอยรถแล้วกลับรถ ขับกลับออกไปทางเดิมก็ดูที่ป้าย เห็นที่ป้ายเป็นป้ายให้ขับได้ทางเดียวก็นึกขำตัวเองแล้วก็นึกถึงภาพผู้ชายคนที่ขับรถผ่าน ก็นึก
    ขอโทษขออภัยท่านที่เรามีคิดไปมั่งว่าทำไมแค่นี้ต้องถึงกับชี้นิ้วใส่หัว แต่ก็ตั้งจิตขอบคุณท่านนะเพราะถ้าท่านไม่ทำสัญลักษณ์อย่างนั้นเราก็คงจะขับเลยเข้าไปในซอยอีกก็พิจารณาถึงบทธรรมของท่านอาจารย์หมอเขียวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้บางครั้งอาจจะมองเป็นตรงกันข้ามแต่ถ้าใจเราไม่คิดอคติ คิดไปในทางที่ดีคือการเมตตา ก็เกิดผลตรงกันข้ามคือ เป็นอะไรที่ดี ถ้าไม่มีสิ่งที่ ไม่ดีเกิดขึ้นเราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ตั้งจิตขอโทษ ขออโหสิกรรมที่คิดไปว่าทำไมแค่นี้ต้องถึงกับชี้นิ้วใส่หัว ก็ตั้งจิตขอบคุณท่านนะคะถ้าท่านไม่ทำสัญลักษณ์อย่างนั้นเราก็คงจะขับเลยเข้าไปในซอยอีก ก็พิจารณาดูใจตัวเอง เบิกบานใจและมีความสุขใจถึงที่ทำงานอย่างปลอดภัย สาธุค่ะ

    ขอความเมตตาท่านคุรุช่วยลบ อันที่ส่งก่อนด้วนะค่ะแก้ใหม่ ขอบพระคุณมากค่ะ สาธุ

  40. ขวัญจิต เฟื่องฟู

    อริยสัจ 4

    เรื่อง น้อยใจเพื่อน

    วันเสาร์ที่ผ่านมาตรวจงานร่วมกับพี่น้อง งานของข้าพเจ้ามีความพร่องจึงต้องเเก้เยอะ เพื่อไม่เครียดจนเกินไป พี่น้องพูดเเซวงานของข้าพเจ้า ท่านอื่นพูดอะไรข้าพเจ้าก็ยังนิ่งได้ ไม่รู้สึกอะไร พอเพื่อนที่รู้จักกันนาน เเซว หัวเราะร่วมด้วย ทำให้เห็นใจตัวเองที่คิดว่าทำไมเพื่อนต้องหัวเราะร่วมด้วย ท่านไม่สมควรทำอย่างนั้น รู้สึกน้อยใจ งอนเพื่อน

    ทุกข์ : มีอาการน้อยใจ กระฟัดกระเฟียดขึ้นมาในใจ

    สมุทัย : เพราะยึดว่าเพื่อนต้องไม่ร่วมหัวเราะด้วย ชอบถ้าเพื่อนจะอยู่ข้างเรา (ในด้านนามธรรม) ไม่ชอบที่ที่เพื่อนร่วมหัวเราะด้วย

    นิโรธ : เเม้เพื่อนจะอยู่ข้างเรา หรือเพื่อนจะทำกริยาอย่างไร เราจะไม่ทุกข์ใจ

    สมุทัย : ระหว่างที่ตรวจงานไป ข้าพเจ้าดูใจของตัวเองไปด้วย บอกกับกิเลสว่าเพื่อนเขาไม่ได้ทำอะไรเลย ท่านไม่มีเจตนาจะทำให้เรารู้สึกไม่ดี เพื่อนมีข้อดีเยอะเเยะ ดูข้อดีของท่าน เเกต่างหากที่ปรุงให้ฉันทุกข์ เศร้าหมองไปเอง ไปดูอะไรคนอื่น มาดูที่ใจเรานิ พอคิดได้อย่างนี้ ใจก็คลายเบาลงในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นได้คุยให้พี่น้องฟังเเละมีท่านหนึ่งพูดขึ้นว่า ถ้าเพื่อนไม่มาทำกริยาอย่างนั้นให้เราเห็น เราก็จะไม่มีรู้ว่าเรายังติดอะไร ตรงไหน ให้ขอบคุณเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ได้ฝึกล้างตัวยึด ชอบ ชังที่มีอยู่ในใจเราให้เบาบางลงไป พอฟังท่านพูดจบ ใจก็เบาลงเก้าสิบเปอร์เซ็น เเละนึกได้ว่าเราก็เคยไปหัวเราะคนอื่นมาเหมือนกัน เราสิ่งที่เราได้คือสิ่งที่ ” กูทำมา” พอคิดถึงตรงนี้ใจก็เบาคลายลง ได้สารภาพเเละขออโหสิกรรมต่อเพื่อนด้วยคะ สาธุ

  41. สาวิตรี มโนวรณ์

    27 กุมภาพันธ์ 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้น สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง กังวลว่าเพื่อนเตรียมของให้ไม่ทัน

    บอกเพื่อนให้เก็บผักเหรียงไว้ให้ จะพาไปใช้งานศพญาติ พรุ่งนี้คงใช้ตอนสาย เดี๋ยวจะโทรมานัดหมายเวลาที่แน่นอนอีกครั้ง เสร็จแล้วก็ลืมไม่ได้โทรไปหาเพื่อน
    วันรุ่งขึ้น 9โมงกว่า โทรหาเพื่อนประมาณ 3 รอบ เพื่อนไม่รับสาย พ่อบ้านก็เร่งถามว่าผักพร้อมรึยัง เพราะเดี๋ยวจะมีญาติมารอเพื่อไปงานศพพร้อมกัน สำรวจใจว่ากังวลหรือทุกข์มั้ย หากเพื่อนเตรียมให้ไม่ทัน ก็เห็นว่า กังวลเล็กน้อย

    ทุกข์ กังวลว่าเพื่อนเตรียมของให้ไม่ทัน

    สมุทัย ชอบ เพื่อนเตรียมของทัน ชังถ้าเตรียมไม่ทัน

    นิโรธ เพื่อนจะเตรียมของให้ทัน หรือไม่ทัน ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : เมื่อเห็นความกังวล แม้ไม่มาก แต่ก็ได้พิจารณาว่า เพื่อนเตรียมผักให้ไม่ทันก็ไม่เป็นไร เพราะญาติที่มารอเขาก็พารถมาเอง ให้เขาไปก่อนก็ได้, เดี๋ยวเราไปหาเพื่อนที่บ้าน ถ้าเพื่อนเตรียมไม่ทัน ก็พาไปให้พรุ่งนี้ก็ได้ หรือแม้แต่ เพื่อนหาผักให้ไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ในงานเขาก็มีผักอย่างอื่นอยู่แล้ว

    พิจารณาได้อย่างนี้แล้ว สำรวจใจพบว่า หมดความกังวลใจ หลังจากนั้น ไม่ถึง 5 นาที เพื่อนโทรกลับมาว่า เตรียมผักให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

    บททบทวนธรรมที่นำมาใช้
    ข้อ 118 ทุกอย่างล้มเหลวได้ แต่ “ใจ” ล้มเหลวไม่ได้

  42. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    27/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : ผัสสะกับคนใกล้ตัว
    ช่วงโควิดต้องเก็บตัวอยู่บ้านนาน ๆ ก็มีบ้างที่จะต้องมีผัสสะกับคนใกล้ตัว โดยเฉพาะกับแม่ของผู้เขียนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร เป็นเพียงแค่ความไม่ได้ดังใจที่มีต่อกัน แล้วก็เอาเหตุผลมาโต้แย้งกัน เพื่อหวังจะเอาชนะกัน เพราะไม่ยอมใจเย็นและฟังกันให้มากขึ้น
    ทุกข์ : ขุ่นใจเวลามีผัสสะกับแม่
    สมุทัย : ชอบใจถ้าแม่จะใจเย็นและฟังให้มากขึ้น ไม่ชอบใจถ้าแม่ใจร้อนและไม่ยอมฟังเหตุผล
    นิโรธ : แม่จะใจเย็น/ใจร้อน จะฟังหรือไม่ฟังเหตุผลก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: ผู้เขียนเคยเขียนทุกข์อริยสัจ เรื่องที่มีผัสสะกับแม่ไปหลายครั้งแล้ว แต่ที่ผ่านมามันเป็นเรื่องไม่พอใจที่เกิดจากวัตถุเสียหายเสียเป็นส่วนใหญ่แล้วทำให้ใจเป็นทุกข์ มาวันนี้ผู้เขียนเริ่มเห็นว่าที่ทะเลาะกับแม่นั้น ลึก ๆ แล้วกิเลสในตัวมันไม่ชอบหลายสิ่งหลายอย่างที่แม่แสดงออกมาเวลาที่ท่านโกรธ เช่น น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง อารมณ์ ที่แข็งกร้าวไม่มีเมตตา รวมทั้งเหตุผลที่แม่ให้มานั้นมันไม่ถูกใจ รู้สึกว่าแม่ไม่ยอมรับผิดคิด คิดแต่จะแก้ตัว ใจจริงก็แค่อยากให้แม่ยอมรับผิด แต่ใครล่ะจะยอม เพราะต่างฝ่ายต่างก็ยึดว่าตนเองถูก กิเลสมันจะเอาดีจากแม่ และพอเห็นอาการต่าง ๆ ที่เราไม่ชอบใจ ตัวเราก็มักจะปกป้องตัวเองด้วยการตอบกลับด้วยสีหน้าท่าทาง คำพูด การกระทำแบบเดียวนั้นกลับไปทันที เราไม่ชอบอะไร เราก็ยังทำสิ่งนั้น แต่ก็ยังจะเรียกร้องให้แม่ทำดีกับเรา ดูความเลวของกิเลสสิ พอได้สติก็สวนกลับกิเลสไปว่า
    ผู้เขียน: – เวลาแกโกรธ แกเอาแต่ใจ แกไม่มีเหตุผล สิ่งที่แกแสดงออกมามันน่าดูนักรึ ?
    – เวลาทำผิด แล้วคนอื่นมาทัก แกไม่เคยแก้ตัวเลยใช่มั๊ย?
    -เหตุผลของแม่หรือของใคร ๆ ก็ไม่เคยถูกใจแกเลยสักที เหตุผลของแกถูกที่สุดรึไง?
    -สิ่งที่ทำอยู่นี่มันเห็นแก่ตัวเกินไปมั๊ย มันชั่วเกินไปมั๊ย??? สำนึกบ้างสิ
    จากที่กิเลสมันเคยคิดว่ามันคิดถูกมาตลอด มันเริ่มสำนึกผิด
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 141 “ ความผิดความถูกอยู่ที่การยึดหรือไม่ยึด ถ้ายึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่เหตุผลใครเลิศยอดกว่าใคร ผิดถูกมันอยู่ที่ยึดหรือไม่ยึด ยึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ยึดคือ ยึดมั่นถือมั่นตามความคิดของเรา เอาดีแบบเราหมายจึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมายจะทุกข์ใจ นี่แหละยึด นี่แหละกิเลส นี่แหละบาป” และบททบทวนธรรมข้อที่ 21 “การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา”
    พิจารณาต่อไปว่า เราอยากให้คนอื่นใจเย็น เราก็ต้องใจเย็นให้เขาเห็นก่อน เราอยากให้เขาเป็นแบบไหน เราก็ต้องทำแบบนั้นให้ได้ก่อน คนเราอยู่ใกล้ ๆ กันมันต้องมีผัสสะมากระทบกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ชีวิตจะได้มีสีสัน จะได้มีเรื่องให้เราได้ฝึกล้างทุกข์ ตั้งจิตสำนึกผิด ไม่มีใครรักและปรารถนาดีกับเราเท่ากับแม่อีกแล้ว ขอโทษขออโหสิกรรมกับสิ่งที่เคยทำไม่ดีกับแม่ พิจารณาแบบนี้แล้วใจโล่งขึ้นมาก

  43. พรพิทย์ สามสี

    เรื่อง : รำคาญนิดๆ
    เพื่อนชอบส่งลาย ธรรมะลัทธิหนึ่งมาให้ ส่งมาบ่อยๆ รู้สึกรำคาญ รู้แหละว่าเป็นความปราถนาดีของเพื่อน เราบอกขอบคุณเน๊าะ (เราได้เลือกแล้วที่จะเดินตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม
    เป็นธรรมะที่ถูกต้องถูกตรง สามารถทำให้เราลดกิเลส และลดทุกข์ลงได้ตามลำดับ)
    ทุกข์ : รำคาญ
    สมุทัย : ชอบที่จะไม่ให้เพื่อนส่งธรรมะลัทธินั้นมาให้อีก ชังที่เพื่อนคิดว่าถูกต้อง
    นิโรธ : เพื่อนจะส่งแบบไหนก็ได้ ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : มาร : เออแล้วที่แกคิดว่าถูกนะ ทำให้แกพ้นทุกข์ไหม เห็นอารมณ์เพื่อนก็เบอะขึ้นๆลง นี้หรือความถูกต้อง บอกมารต่อเขาจะคิดยังไงก็เรื่องของเขา แกไปเดาใจเขาแกผิดนะโวย เราก็คงเคยบีบคอคนอื่นมานั่นคือเงาของเรา เราสอนเขาไม่ได้ เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต
    เราก็ค่อยๆโล่ง เบิกบาน แจ่มใส ไร้กังวล

  44. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง ช่วยไม่ได้
    น้องที่รู้จักเข้ามาที่บ้านพูดคุยกันปกติ เขาเริ่มด้วยการร้องไห้แล้วพรั่งพรูเรื่องชีวิตลำเข็ญทั้งในอดีตและการใช้ชีวิตของเขามากมาย ยิ่งพูดยิ่งร้องไห้ เราทั้งปลอบ ทั้งอธิบาย ยกตัวอย่าง เรื่องกรรม ประสบการณ์ บททบทวนธรรม อ้างคำสอนครูบาอาจารย์ สารพัดดูแล้วไม่เป็นผลเพราะทุกอย่างที่พูด เขาจะมีเหตุผลมาแย้งทุกเรื่อง รู้สึกลำบากใจ ที่จะช่วยเขา

    ทุกข์ : ลำบากใจ

    สมุทัย : ยึดดีว่า ถ้าช่วยเขาได้จะสบายใจ พอช่วยเขาไม่ได้จึงลำบากใจ

    นิโรธ: จะช่วยเขาได้ หรือไม่ ก็ได้ ไม่ลำบากใจ ไม่สุข ไม่ทุกข์

    มรรค : พอรู้ว่าเราช่วยเขาไม่ได้ หันมาวางใจที่เราด้วยบททบทวนธรรมข้อ130 ที่ว่า “อย่าแบกชีวิตคนอื่น อย่าทำผิดหน้าที่ อย่าทำเกินหน้าที่ ถ้าเขาไม่ฟังเราให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็น ให้เขาทำอย่างที่เขาต้องการจะทำ ปล่อยวาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต ถ้าเราได้พยายามบอกแล้ว สอนแล้ว เตือนแล้ว แต่เขายังไม่ฟัง เราสอนเขาไม่ได้ แปลว่า การสอนเขา ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา หน้าที่ของเราคือ ทำเต็มที่ เต็มแรง อย่างรู้เพียรรู้พัก แล้วปล่อยวาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต” คู่กับข้อ10 คือ”เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราจะโชคดีขึ้น”หลังจากพิจารณาด้วยบททบทวนธรรมทั้งสองข้อมั่นใจว่าช่วยไม่ได้จริงเพราะเราได้ทำเต็มที่ เต็มแรง ด้วยปัญญาของเราแล้วอีกอย่างคือ เขามาให้เราได้ใช้วิบากที่เราเคยทำมา เราเองเคยพูดเรื่องอดีตให้คนอื่นฟังเหมือนกัน เราทำมามากกว่าด้วยซ้ำ พอเห็นชัดก็ปล่อยวางสุดท้าย ใจสบาย
    สรุป เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา และเขามาให้เราได้ใช้วิบาก จึงปล่อยวาง ความลำบากใจหายไป ใจสบายทันที

  45. เรื่อง กลัวไปทำงานสาย
    เหตุการณ์ : ขณะขับรถไปทำงาน รถติด อีก 5 นาที 8 โมง (สรุปสั้นๆ)

    ทุกข์ : ใจกังวลกลัวจะไปทำงานสาย

    สมุทัย: ชอบถ้าไปทำงานไม่สาย ชังถ้าต้องไปทำงานสาย

    นิโรธ : จะไปทำงานสายหรือไม่สาย สบายๆ ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค: มาฟังมารมาคุยด้วยตอนรถติด

    มาร: โอ้โห..รถติดขนาดนี้ไปทำงานสายแน่

    เรา:แล้วไง

    มาร:อ้าว..ข้าราชการไปทำงานสาย ไม่ดี

    เรา:แล้วไง

    มาร:เอ้า…ไม่กลัวเหรอ…เดี่ยวหัวหน้า เพื่อนว่าฯลฯ …

    เรา:ไม่….ไม่มีใครว่าตอนนี้มีแต่เรากับเธอ สายไม่สาย เป็นเรื่องที่ไม่มี

    มาร:อ้าว….ไรหว้า…เมื่อก่อนต้องรีบ เดี๋ยวนี้ไม่รีบแล้วเหรอ

    เรา:ไม่ …ทำเต็มที่ ทันก็ทัน ไม่ทันก็ทัน

    มาร:ไม่ทันก็ทัน อะไร …งง!!!!!

    เรา:ก็ทันแกไง ไม่สายเว้ย ทำงานทัน ทันแกนี่แหละ5555 แกชอบมาสั่งเรื่อย ชอบหาเรื่องให้ทุกข์ ไม่อ่ะ ไม่ทุกข์ไม่รีบ ไม่กลัว ไม่สน…สนแกนี่แหละว่าแกจะมามุมไหน

    มาร:แฮ่ๆๆๆๆ…..ไม่กลัว ไม่รีบ ไม่สน….ก็ได้ ….ไม่ก็ไม่….เออ…สบายดีเหมือนกัน ไม่รีบ ไม่กลัว ไม่ชั่วไม่ทุกข์ สบายจัง

    เรา:ดีแล้ว เข้าใจก็ดีแล้ว คิดแต่ให้ตัวเองทุกข์ถนัดนัก คิดใหม่ ทำใหม่ จะได้พ้นทุกข์
    เข้าใจไหมมาร

    มาร:เข้าใจ…ตกลง….ไม่กลัว…ไม่ชั่ว…ไม่ทุกข์ จบข่าว

    …..ว่าแล้วขณะคุยกับมารในชั่วพริบตา มารก็สลายไป …รถที่ติดก็ไม่ติด สรุปไปทำงาน7.59 น. ดูเหมือนคุยยาวนะคะ แต่ใช้เวลาเสี้ยวเดียว มารพูดมาก เราก็สอนมารมาก

  46. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน (ก๊อบ สื่อศีล)

    เรื่อง : อยากให้เพื่อนเข้าใจ

    เรื่องย่อ เมื่อวานเพื่อนเก่าทักไลน์มา ถามว่าเป็นยังไงบ้าง ผมก็บอกว่าปฏิบัติธรรมเหมือนเดิม เพื่อนก็เริ่มจะเห็นความจริง ว่าการมีครอบครัว มีลูก มีงานทำ มีเงินแล้วก็ไม่พ้นทุกข์ จึงคุยกับเพื่อนเรื่องธรรมะ แต่เพื่อนยังเข้าไม่ถึง ธรรมะแท้ๆ ยังคุยเรื่องการนั่งสมาธิแบบหลับตา ทำให้เราอึดอัดเล็กๆ เมื่อก่อนก็จะเถียงเพื่อนไปเลย แต่ตอนนี้ก็มีความรู้และประสบการณ์ว่า เถียงไปก็ไม่เกิดประโยชน์ จะทำให้เสียมากกว่าได้ เพื่อนยังติดอยู่ ก็ให้เ้ขาได้เจริญตามฐานของเขา ลด ละ เลิก กิเลส ตามลำดับ เท่าที่ทำได้ครับ

    ทุกข์ : รู้สึกอึดอัดเล็กๆ ที่คุยธรรมะกับเพื่อน

    สมุทัย : อยากให้เพื่อนเข้าใจธรรมะแบบที่เราเข้าใจ

    นิโรธ : เพื่อนจะเข้าใจได้แค่ไหนก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาการประมาณเรื่องฐานจิตว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน แต่ละชีวิตจะเจริญได้ตามลำดับๆ ก็พยายามส่งเสริมให้เขาลดกิเลส เห็นโทษเห็นภัยของกิเลส เท่าที่ทำได้ และมาปรับที่ใจเรา ว่าเราจะประมาณการคุยกับเพื่อน ที่ตัดขีด ที่ไม่กระทบกระทั่งเพื่อน ไม่พูดความจริง แต่ประมาณผิด ทำให้วิวาทะ ให้ความจริงเท่าที่จะให้ได้ นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แล้วทำใจที่เรา ขนาดเราเรียนธรรมะตลอด แต่กว่าจะเพิ่มศีลได้แต่ละข้อ ก็ล้มแล้วล้มอีก จึงต้องเมตตากัน ใช้พรหมวิหาร 4 ครับ สาธุครับ

  47. นางโสภา หนำคอก

    เรื่อง: ปั้มน้ำ มีเสียงดัง
    เหตุการณ์: มีเสียงดังรัวๆจากปั้มน้ำแสดงให้รู้ว่าต้องมีจุดรั่วของน้ำจึงเดินสำรวจรอบๆบ้าน พบท่อน้ำข้างบ้านรั่ว1จุด จึงทำการ ซ่อม เรียบร้อย น้ำหยุดรั่ว แต่เสียงปั้มน้ำยังดัง รัว เหมือนเดิม

    ทุกข์ : รำคาญเสียงดังของปั้มน้ำ

    สมุทัย : ยึดว่าถ้าไม่มีเสียงดังของ
    ปั้มน้ำแล้วจะชอบ เสียงดังแล้วไม่ชอบ รำคาญ

    นิโรธ : เสียงดังก็ได้ไม่ดังก็ได้ ไม่รู้สึกรำคาญ

    มรรค. : หลังจากได้เดินสำรวจทั่วบ้านเป็นรอบที่3แล้ว ยังไม่เจอจุดรั่วอื่น ของน้ำอีก ก็ได้พิจารณาใช้บททบทวนธรรมข้อ
    ที่40 “อันไหนแก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้”และข้อที่71 “ปัญหาและอุปสรรค ไม่เคยหมดไปจากโลกมีแต่ทุกข์ใจเท่านั้นที่หมดไปจากเราได้ “ พิจารณาแบบนี้แล้วก็วางใจ สบายใจ ไม่รู้สึก เดือดร้อนอะไรตั้งใจว่า ไม่ใช้น้ำ จากปั้มก็ได้ ไม่เห็นเป็นไรเลย ว่างๆค่อยไปหาคนอื่นมาช่วยดูให้ก็ได้ ทันใดนั้นก็เห็นว่า น้ำมันทะลัก ออกมาจากใต้ตัว
    ปั้มนั้นเอง

    สรุป :รอช่าง เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

  48. ศิริพร คำวงษ์ศรี

    ส่งการบ้านอริยสัจ ๔
    ประจำวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

    ชื่อเรื่อง : ไม่รักตัวเอง

    ระยะนี้ขี้เกียจออกกำลังกายมากๆ เป็นห่วงคนอื่น คอมใส่ใจความทุกข์ทั้งกายใจของผู้อื่น แต่แค่ออกกำลังเพื่อกายใจของตนเอง กลับไม่อยากทำ ไม่ยอมทำ ยอมไปทำงานหนักอย่างอื่น อะไรก็ได้ เพียงขอแค่ไม่ออกกำลังกาย จนรู้สึกร่างกายเริ่มไม่ค่อยแข็งแรง อ่อนเพลีย

    ทุกข์ คือ ร่างกายอ่อนแรง ไม่โล่ง ไม่สบายตัว ไม่สบายใจ กังวลเรื่องความทุกข์ของผู้อื่น แต่ไม่ใส่ใจทุกข์กายใจตนเอง ไม่ชอบตนเองที่เป็นแบบนี้ แต่ก็ดึงจิตไม่ได้
    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ กิเลสขี้เกียจออกกำลังกาย กิเลสอยากไปยุ่งชีวิตคนอื่น กิเลสขี้เกียจจัดการเรื่องตนเอง
    นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ยอมรับว่าตนเองมีกิเลสที่ขี้เกียจ ไม่ชอบไม่ชังการออกกำลัง ยินดีในการออกกำลังกาย พอใจในการดูแลใจกายของตนเอง ไร้กังวลเรื่องทุกข์ของผู้อื่น ปล่อยวางให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม รู้สึกโล่ง โปร่ง เบาสบายกายใจ
    มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ พิจารณาวิบากที่เคยเพ่งโทษเพื่อนสนิทที่ไม่ตื่นมาออกกำลังกายด้วยกัน อยากให้เพื่อนมาออกกำลัง จะได้แข็งแรงเหมือนเรา เพ่งทุกวัน มองทุกวัน จนตีกลับมาตอนนี้ทำไม่ได้ จึงทำให้ไปยุ่งกับความทุกข์ของผู้อื่น โดยที่ไม่พิจารณาในดีว่า เราควรน้อมจิตขอขมากรรมเพื่อนที่เราเคยเพ่งโทษ และการที่จะช่วยผู้อื่นได้อย่างแท้จริง เราจะต้องดูแลตนเองทั้งกายใจให้ดีก่อน เพื่อเป็นแรงเหนี่ยวนำอย่างดีที่สุด เอาแต่ใจมุ่งไปข้างนอก ไปที่ผู้อื่น เลยพร่องในการเฝ้ามองกิเลสของตนเอง ตั้งใจใหม่เราเปลี่ยนตนเอง เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ เราเปลี่ยนใครไม่ได้ พุทธะจะกลับมาหาตนเองเป็นหลัก จะโง่อีกนานไหม?

  49. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง ไม่อยากเปิดเผย
    เนื้อเรื่อง ได้โทรศัพท์ไปหาแม่และได้คุยกันก็มีคนมาใช้หนี้แม่
    (คนที่เอาเงินมาให้ก็พูดเรื่องซื้อหวย) ผมก็ฟังอยู่แต่แม่น่าจะลืมวางสายโทรศัพท์ทำให้ความจริงถูกเปิดเผย (ความลับไม่มีในโลก)

    ตรงกับที่พี่สาวก็ให้ข้อมูลว่าแม่เล่นหวยอยู่
    (อบายมุข๖)

    ผมเคยถามท่านแต่ท่านไม่ยอมเปิดเผย ว่ามีกิเลสเรื่องหวย(อดีตแม่) แต่แม่ซื้อหวยแล้วถูกหวยบ่อยๆ
    (ถ้าเราไปบอกแม่ว่าหวย

    ไม่ดีแม่ก็จะไม่เชื่อเพราะได้เงินจากการซื้อหวย หลงสุขลวง) กิเลสผมก็ออกมาว่า
    “คนที่กิเลสหนา  ที่ขุนไม่ขึ้น” เรื่องที่เกิดขึ้นกับแม่ผมหาข้อมูลเก่ามานานแล้ว
    (อดีตแม่ชอบเล่นหวยถูกหวย) ทำให้ผมเข้าใจคนอื่น

    และเก็บข้อมูลคนที่เราต้องการช่วยเหลือ (หรือคนที่เราอยู่ด้วย วิธีนี้หมู่แนะนำมาอีกที)
    เราจะช่วยท่านอย่างไร จะได้ประมาณถูก (จะได้เข้าใจท่าน และเข้าใจตนเอง)

    จะไม่ส่งเสริมให้ท่านไปในทางผิดๆ และเราได้เห็นกิเลสเราเอง

    ที่ไม่เปิดเผยกิเลสมันอายหมู่มิตรดีเหมือนกัน

    (อายคนที่มีศีล ถ้าบอกกิเลสก็จะตาย มันรู้ว่าบอกแล้วมันตายแน่ๆ)

    ผมมีเรื่องที่ไม่ดีก็ไม่กล้าบอกหมู่ ไม่บอกคนอื่นเราก็ไม่กล้าพูดเรื่องกิเลสตนเอง แต่จะเอาปากไปพูดถึงแต่กิเลสคนอื่น ทำซ้ำๆ บ่อยกิเลสเราก็โตเอาๆ แม่ท่านก็ไม่กล้าบอกหมู่เหมือนกัน

    เหตุการณ์นี้ทำให้เข้าใจแม่

    ทุกข์ขุ่นใจอยากให้แม่เปิดเผยข้อมูล
    สมุทัย ชอบที่แม่เปิดเผยข้อมูล ชังที่แม่ไม่เปิดเผยข้อมูล
    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังแม่จะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่เปิดเผยข้อมูลก็ได้ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล

    มรรค มาพิจารณาว่าจะมาแยกกรรมแม่ก็เป็นสิ่งที่แม่ทำจะต้องได้รับ
    ส่วนกรรมเราที่ไปมีกิเลสในตัวแม่ ก็จะถูกแยกออกมาให้เห็นชัดๆ

    จะไปขอแบ่งหุ้นชั่วกับท่านอีก แทนที่จะช่วยท่านกลับซ้ำเติมกันอีก
    (ไม่อยากให้แม่ปิดบังข้อมูล)ปัญหาของเราที่ไปกระทบกับแม่ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขให้ได้ก่อน
    ทำได้ก่อนเป็นอันดับแรกๆ อันดับต้นๆ (อดีตจะไปแก้ที่แม่ก่อน)

    มาร แม่ไม่เปิดเผยข้อมูล ทำให้เราลำบากต้องเก็บข้อมูลเอง

    เรา (อดีตทำมาน้อยหรือ) เวลาที่มีเรื่องไม่ดีเราก็ไม่ชอบเปิดเผยข้อมูลกับหมู่เหมือนกัน
    แต่ละคนก็จะเอาเวลามาแก้ไขตนเป็นหลัก เป็นแก่น หาข้อมูลที่จะได้ฝึกฝนตนเองให้ได้ก่อน

    (แต่ต้องมาเสียเวลากับเราที่กิเลสหนา  ที่ขุนไม่ขึ้นหันกลับมาใช้กับตนเองบ้างซิ)
    ทำให้หมู่ต้องไปเสียเวลามาหาข้อมูลของเรา (เราทำมา)

    มาร แม่ไม่อยากพ้นทุกข์หรือ ถ้าแม่บอกและยอมรับว่าเล่นหวยจะได้ประมาณถูก

    เรา ก่อนหน้านี้เราก็ไม่อยากพ้นทุกข์หรือและ (เดาใจหมู่มิตรดี จ้องจับแต่ข้อไม่ดีโดนจี้จนหายใจไม่ออก จับผิดเราจังเลย) ไม่ยอมรับว่า ตนเองมีกิเลสอะไรบ้าง (อายหมู่ แต่ใจลึกอยากออกจากทุกข์อยู่นะ)

    เนื่องจากเจอผัสสะจากแม่ทำให้เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม เห็นความจริงตามความเป็นจริง รู้แล้วเอามาแก้

    (มิใช่รู้แล้วก็ชัง หรือกลัว เอามาทำชั่ว ทำทุกข์ทับถมตนเอง อดีตทำมาแล้ว)

    (กรรมเราทำชั่วมาน้อยซะที่ไหน)
    พิจารณาแบบนี้ก็จะไม่ทุกข์ใจมากเท่าไหร่พอสู้กับกิเลสได้บ้างในตอนวิบากไม่เข้าแต่ตอนวิบากเข้าจะต้องพึ่งหมู่บ้าง แต่ก็ฝึก พึ่งใจตัวเองก่อนเป็นหลัก ใจเป็นประประธานของสิ่งทั้งปวง

  50. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #จัดการความไม่ได้ดั่งใจจากการทำงานด้วยหลักอริยสัจ 4

    เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาผมได้ไปร่วมถ่ายทำรายการเพื่อส่งเข้าค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรมออนไลน์ร่วมกับพี่น้องอีก 2 ท่าน ในวันนั้นถ่ายไปทั้งหมด 3 รายการ โดย 2 รายการแรกการถ่ายทำก็เป็นไปได้ด้วยดี แต่สำหรับรายการที่ 3 ที่ใช้เวลาในการถ่ายทำไปประมาณ 1 ชั่วโมง

    ปรากฎว่าเกิดเหตุบางอย่างขึ้นซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าเกิดมาจากสาเหตุอะไร (ถ้าเป็นสาเหตุทางเทคนิค) ส่งผลให้สามารถบันทึกมาได้ประมาณ 40 นาทีเท่านั้น ส่วนเนื้อหาคลิปในส่วนที่เหลือไม่ได้ถูกบันทึกไว้เลย

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงส่งผลให้ผมรู้สึกทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ได้ดั่งใจที่ไม่ไม่สามารถบันทึกเนื้อหาทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำไปได้

    ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะไม่ได้ดั่งใจที่ไม่สามารถบันทึกเนื้อหาทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำไปได้

    สมุทัย : จะทุกข์ใจถ้าไม่สามารถบันทึกเนื้อหาทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำไปได้ แต่จะสุขใจถ้าสามารถบันทึกเนื้อหาทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำได้

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าจะสามารถบันทึกเนื้อทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำมาได้หรือไม่ ถ้าได้พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้ว

    มรรค : หมั่นพิจารณาความจริงตามความเป็นจริงและทำใจในใจให้แยบคายโดยในสถานการณ์นี้ได้นำคำสอนในประเด็นของ “ความพร่อง” และ “การยึด” มาพิจารณา โดยคำสอนที่นำมาพิจารณา เช่น “โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ และเราทุกคนก็ล้วนเป็นองค์ประกอบพร่องๆ ของโลกใบนี้” และ “สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ทุกข์เป็นไม่มี”

    ตลอดจนนำบททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณา เช่น บทที่ 76 “ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือ ความสำเร็จของงาน ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้ว เพราเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง”

  51. นส.พวงผกา โพธิ์กลาง

    หมดพลัง
    ตั้งศีลกินข้าวมื้อเดียวมาเป็นเวลา 7 วันก็ทำมาได้ด้วยดี พอถึงวันที่ 8 รู้สึกหิวหมดแรงไม่มีสมาธิทำงาน รู้สึกสับสน งง ๆ ไม่รู้จะทำอะไรก่อนอะไรหลังดี

    ทุกข์ เพราะชังอาการที่เกิดขึ้น

    สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ พอเกิดอาการนี้ขึ้นมา พิจารณาแล้วกิเลสยังไม่ลง.รู้สึกหมดพลังไม่แช่มชื่น

    นิโรธ. ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์นี้จะสุขใจชอบใจ แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ

    มรรค พิจารณาว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอุปทาน ที่เราหลงยึดมานานเขามาเพื่อให้เราสำนึกให้เราชัดเจนว่า การกินข้าวมื้อเดียวดีกว่ากินข้าวหลายมื้อ เจ็บป่วยน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย เบาใจ มีพลังเป็นอยู่ผาสุก

  52. Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น

    ส่งการบ้าน: อริยสัจ4

    ชื่อ: sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น จอส สังกัด สวนป่านาบุญ2

    ชื่อเรื่อง: ได้ใช้วิบาก

    เหตุการณ์: มีหมอผ่าตัดท่านหนึ่ง อยากได้ดั่งใจหมายในการทำผ่าตัดคนไข้ให้เสร็จๆโดยมิได้ทำตามกฎ พอมีการท้วงติงจากทีมจึงมีอารมณ์โกรธ พูดจาเอะอะ โวยวายเสียงดัง ต่อหน้าผู้คนรวมทั้งผู้ป่วยที่รออยู่ในวันนั้น ตัวเองเลยบอกว่าไม่ต้องพูดเสียงดังโวยวาย เดี๋ยวผู้ป่วยที่อยู่จะคิดว่าเจ้าหน้าที่ทะเลาะกัน พวกเรารู้เรื่อง หมอก็ได้ทำ หมอท่านนั้นก็พูดสวนมาทันทีว่าผมพูดกับอีกคน พี่ไม่ต้องเสือก

    ทุกข์: ขุ่นใจที่ถูกต่อว่า (เสือก)

    สมุทัย:ชอบถ้าไม่โดนต่อวา
    ชัง ไม่ถูกใจที่โดนต่อว่า

    นิโรธ:โดนต่อว่าหรือไม่โดนต่อว่า ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค:เมื่อมีคำนี้มากระทบหู มีผัสสะกิเลสเร็วมากทำงานออกฤทธิ์ทันทีแต่สังเกตุเห็นว่าเบากว่าแต่ก่อนมาก ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะเกิดเหมือนทะเลาะวิวาท แต่รอบนี้ค่อยๆมาแบบหน้าร้อน มือตัว ค่อนข้างสั่นพอจับได้ ก็สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วบอกหมอว่า หมอพูดจาดีๆ เป็นหมอพูดให้น่าฟัง พี่เป็นผู้ร่วมงานไม่ใช่ลูกจ้าง หรือคนรับใช้ แต่ใจยังขุ่นๆหมองๆ กิเลสยังอยู่จึงหาวิธีเอาบททบทวนธรรมมาใช้ อย่างเช่นคิดเสียว่าสิ่งร้ายที่เราได้รับวันนี้คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา(ข้อที่8)นั่นคือเรา เรานี่แหละแสบสุดๆ คงทำมามากจึงต้องรับ พูดซำ้ๆใจเริ่มคลาย และได้พิจารณาต่อเพื่อให้ใจโล่งโปร่งให้ได้ดูเหมือนกิเลสหัวแข็งจึงใช้ข้อทบทวนธรรมข้อที่25 เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อให้เราชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก ต้องบอกตัวเองว่าโชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว โชคดีจังเลยที่มีหมอแบบนี้เราได้ฝึกได้ล้างกิเลส ซึ่งบางทีก็ต้องล้างซำ้ๆเมื่อเราได้พิจารณาได้แบบนี้ใจเราก็โล่ง ไม่ทุกข์ ไม่ขุ่น ขอบคุณจริงๆกับคำว่าเสือกของหมอ. และมาอธิศีลเรื่องการพูดจาให้ระมัดระวังกว่านี้

  53. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    28/02/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : ญาติสนิท
    มีญาติสนิทคนหนึ่ง ชอบอวดตัวว่าเรียนจบมาสูง รู้ดีไปซะทุกเรื่อง พอใครแนะนำอะไรก็จะบอกว่า “รู้แล้ว ไม่ต้องมาสอนฉัน ฉันเรียนสูงกว่าพวกเธอ” แต่ความรู้ที่สูงนั้นก็ไม่เคยแก้ปัญหาของตัวเองได้เลย เขาชอบไปทำงานเพื่อสังคม เพื่อสร้างภาพให้คนอื่นชื่นชมว่าเป็นคนดีเป็นคนเก่ง แต่เรื่องของครอบครัวตัวเองกลับปล่อยปละละเลยไม่ดูแล เป็นคนขี้เหนียวและขาดแคลน ต้องมาเบียนเบียนเอาจากครอบครัวผู้เขียนเสมอ ๆ ทุกครั้งที่มีปัญหาก็มักจะโยนความรับผิดชอบมาให้กับครอบครัวของผู้เขียนซึ่งเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดรับภาระ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบใจแต่ก็จำต้องฝืนรับไว้เพราะทนดูไม่ได้
    ทุกข์ : ชิงชังรังเกียจพฤติกรรมของญาติสนิท
    สมุทัย : ไม่ชอบใจที่เขาไม่มีสำนึก ชอบใจถ้าเขาจะมีสำนึกในหน้าที่ของตนมากกว่านี้
    นิโรธ : เขาจะสำนึกหรือไม่สำนึกก็ได้ ใจไร้ทุกข์
    มรรค: ผู้เขียนรู้สึกรังเกียจในพฤติกรรมของญาติสนิทคนนี้มาก ๆ ไม่ชอบในความอวดดี ความเห็นแก่ตัวของเขา ไม่พอใจที่ครอบครัวของผู้เขียนถูกเบียดเบียนจากเขาเป็นประจำ เวลาเจอกันจะรู้สึกหมั่นไส้ แทบจะไม่อยากมองหน้าเขาเลย ไม่อยากให้เขามาที่บ้าน เวลาเขาพูดอะไรผู้เขียนก็คิดย้อนแย้งคิดตำหนิเขาอยู่ในใจทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ได้พูดออกไปเพราะไม่อยากจะทะเลาะกัน ที่ผ่านมาเคยอดใจไม่ไหวถึงขั้นมีปากเสียงกันรุนแรง แต่ระยะหลังห้ามใจไว้ได้ ไม่อยากให้ญาติๆต้องทุกข์ใจที่ลูกหลานมาทะเลาะกัน สมาชิกในครอบครัวก็อึดอัดใจกับพฤติกรรมของเขา แต่ก็ทำได้เพียงอดทนเพื่อรักษาความเป็นครอบครัวเครือญาติไว้
    ผู้เขียนมาพบว่าการที่ผู้เขียนชิงชังรังเกียจเขา มีแต่จะนำความทุกข์ร้อนใจมาสู่ตัวเอง เวลาเห็นหน้าเขาแล้วใจเราก็ขุ่นมัว เสียพลัง ไม่เป็นสุข กิเลสของผู้เขียนมันยึดดี ว่าอยากให้เขาเลิกหลอกตัวเอง เลิกเบียดเบียนญาติ เลิกเอาภาระมาให้ อยากให้เขามีความสำนึกในหน้าที่ที่เขาควรรับผิดชอบมากกว่านี้ แต่เมื่อรู้ว่าสิ่งที่เราคิดมันคงเป็นไปไม่ได้ เราไปแก้ไขอะไรเขาไม่ได้ ยิ่งโกรธ ยิ่งชิงชังรังเกียจเขา ใจเราก็ยิ่งทุกข์ ดังนั้นหากไม่อยากจะจมอยู่กับกองทุกข์ในเรื่องนี้อีกแล้ว คงต้องหันกลับมาแก้ไขที่ตัวเอง ผู้เขียนใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 20 “เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา เราเท่านั้นที่ผิดต่อเรา คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น และเขาก็ต้องได้รับวิบากร้ายนั้นเอง เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง ถ้าเรายังเห็นว่าคนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา แสดงว่า เรานั่นแหละผิด อย่าโทษใครในโลกใบนี้ ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเราจะไม่มีทางบรรลุธรรม นี่คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะไม่เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น เมื่อรับผลดีร้ายจากการกระทำแล้ว ผลนั้นก็จบดับไป และสุดท้ายเมื่อปรินิพพานไป ทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร เพราะสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดังไป จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นกับอะไร” เชื่อและชัดในเรื่องกรรมว่า เราทำอะไรไว้ เราก็ต้องได้รับผลของกรรมอันนั้น เขาคือกระจกสะท้อนให้เห็นความเป็นเราในอดีต เราไม่ชอบอะไรในตัวเขา นั้นคือตัวเราที่เคยทำมาทั้งนั้น หากเราไม่ชอบถูกกระทำแบบนี้ เราก็จะต้องสำรวมระวังไม่ให้เป็นแบบนี้ แทนที่จะโกรธเกลียดเขาให้หันกลับไปเห็นข้อดีของเขาที่ทำให้ได้เห็นความชั่วของตัวเราเอง เลิกคิดที่จะขโมยความดี เลิกอยากให้เขาเปลี่ยนนิสัย ตั้งจิตยอมรับผิดต่อสิ่งที่เคยทำมา ขออโหสิกรรมที่เคยคิดไม่ดีกับเขา และตั้งใจไว้ว่าทุกครั้งที่คิดถึงหรือพบหน้าญาติคนนี้จะดับความเกลียดชังที่ใจ แล้วส่งกระแสความเมตตาไปให้เขา เท่าที่ระลึกรู้ได้ พิจารณาแบบนี้แล้วใจสงบลง คลายทุกข์ คลายความชิงชังรังเกียจเขาลงไปมาก

  54. นางสาวนาลี วิไลสัก

    เรื่อง : กลัวหนอน
    เหตุการณ์ : เก็บเสื้อผ้าที่ตากไว้ มาถึงห้องนอนก็พบว่า มีหนอนชนิดมีขนตกลงที่พื้น 1 ตัว กิเลสก็ตกใจเนื่องจากตนเองเป็นคนที่กลัวประเภทหนอนชนิดต่างๆ มาตั้งแต่เกิด ก็พยายามล้างแต่ยังล้างไม่หมด
    ทุกข์ : ตกใจเพราะกลัวหนอน
    สมุทัย : ชอบที่จะไม่ได้เจอหนอน ชังที่เห็นหนอนตกที่พื้นในห้องนอนกลัวกังวล
    นิโรธ : จะเจอหนอน หรือ ไม่เจอหนอนก็ไม่กลัวไม่กังวล
    มรรค : มาคุยกับมารดูสิจะตกใจทำไม
    มาร : อุ๊ย!!!…หนอนตัวใหญ่น่ากลัวจังเลย
    เรา : จะกลัวทำไม…หนอนก็เป็นเพื่อนสัตว์ร่วมโลกกับเรา ไม่น่ากลัวเท่ากับมารหรอก มีแต่เจ้านั่นแหละน่ากลัวที่สุดน่ารังเกลียดที่สุด
    มาร : โอ๊ยๆๆ!!…ขนยาวขนาดนี้ต้องคันแน่ๆ เลยทำไงดีหว่า
    เรา : ตั้งสติดีๆ…หนอนคันยังไม่ทำให้ใครตาย แต่ใจมารที่คันนี่สิ เคยทำให้คนตายมาเยอะแยะ
    มาร : อ้าว…ไม่กลัวแล้วเหรอ เมื่อก่อนถ้าเจอแบบนี้ก็ต้องร้องโวยวายเรียกคนมาช่วย
    เรา : เมื่อก่อนโง่ เพราะเจ้าไง ตอนนี้จัดการเองโว๊ย!! ในขณะที่คีบหนอนออก ก็ท่องว่าหนอนไม่น่ากลัว หนอนเป็นเพื่อนสัตว์ร่วมโลกๆๆๆๆ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือมารๆๆๆๆ
    สรุปเอาหนอนออกสำเร็จ มาตรวจใจยังมีความกลัวอยู่แต่ไม่กลัวมากเหมือนแต่ก่อน ใจก็สบายขึ้นค่ะ

  55. นายรวม เกตุกลม

    เรื่อง ไม่หลงกลมาร
    เนื้อหา มีผู้ป่วยมาให้บำเพ็ญหลายคน พอตกเย็นมีมารมากระซิบว่า วันนี้ใช้พลังไปมาก น่าจะกินอาหารมื้อเย็น เพื่อทดแทนพลังที่เสียไป ซึ่งช่วงนี้ตั้งศีลไว้กินอาหารมื้อเดียว ก็เลยบอกมารว่า ไม่กินหรอกไม่หิว ยังแข็งแรงดี ยังสมดุลดี ถ้ากินเข้าไป ก็จะทำให้ร่างกายเสียสมดุล เป็นการเพิ่มพิษ ไม่ได้กินมื้อเย็น ไม่ตายหรอก เพราะคอยไม่กินทั้งวัน ยังไม่ตายเลย ตรงกันข้ามกับรู้สึกเบาสบายมีกำลังเพิ่มขึ้นด้วย เราเลือกข้างที่จะอยู่กับพุทธ อยู่กับศีล สุดท้ายมารก็จากไป เราก็ชนะ พร้อมกับรางวัล คือกินอาหารทิพย์

    ทุกข์: ไม่เบิกบาน

    สมุทัย: ยึดว่า ถ้าได้กินข้าว ก็จะเบิกบานใจ แต่ถ้าไม่ไดกิน ก็จะไม่เบิกบานใจ

    นิโรธ: จะได้กินหรือไม่ เราก็จะเบิกบานใจ

    มรรค: ไม่ยอมเชื่อมาร แต่ยอมที่จะเชื่อพุทธ ไม่ได้กินข้าวเย็นวันเดียวไม่ตายหรอก เราเคยอดข้าวเป็นวันๆยังไม่ตายเลย ไม่ต้องมาหลอก เราไม่เชื่อเจ้าหลอกมาร เราจะไม่ยอมละเมิดศีลที่ตั้งไว้เป็นอันขาด นอกจากไม่ละเมิดแล้ว เรายังจะต้องอธิศีลขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเชื่อตามบททบทวนธรรมข้อ 52 ว่า เก่งอริยศีลเป็นสุข ไม่เก่งอริยศีลเป็นทุกข์ อยากเป็นสุข จงติเตียนการผิดอริยศีล จงยกย่องการถูกอริยศีล ช่วงเย็นร่างกายใช้พลังน้อย ไม่จำเป็นต้องเติมพลังงานให้ร่างกาย แต่เป็นร่างกายที่ต้องระบายพิษออก ถ้ากินมื้อเย็นเข้าไป ก็จะเป็นการเพิ่มพิษให้กับร่างกาย ถือว่าเป็นการเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ตามบททบทวนข้อ 53 ว่า ศีล คือ ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น และถ้าทำผิดศีลจะเพิ่มวิบากร้าย เราจะไม่ดื้อต่อศีล ตามบททบทวนธรรมข้อ 55 ว่าอย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด สรุป มารก็จากไป ยังคงรักษาศีล อาหารวันละมื้อได้ต่อไป ด้วยใจที่เบิกบาน แจ่มใส สาธุ

  56. ประคอง เก็บนาค

    เรื่อง : สิ่งที่เห็น คือเขาทำ หรือกรรมเรา

    เนื้อเรื่อง : ช่วงเย็นหลังเวลาเลิกงาน เรามักจะใช้เวลาเข้าสวนเป็นส่วนใหญ่ รดน้ำผัก พรวนดิน หรือทำรั้วไม้ไผ่กั้นผักที่ต้นสูงขึ้นเพื่อไม่ให้ต้นเขาหักหรือล้มลง ปกติก็จะนำโทรศัพท์เข้าไปฟังธรรมของท่านอาจารย์หมอเขียว หรือครูบาอาจารย์ท่านอื่น ๆ บ้าง เพราะระหว่างวันทำงานประจำอยู่จึงไม่ค่อยสะดวก สักพักพ่อบ้านตะโกนมาบอกว่ามีคนโทรเข้ามา จึงนึกขึ้นได้ว่าไม่ได้นำโทรศัพท์มาด้วย เราจึงบอกกลับไปว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวจะโทรกลับไปหาเขาเอง เวลาผ่านไปสักครู่ พ่อบ้านเดินถือโทรศัพท์มาส่งให้ ตอนนั้นเรากำลังรดน้ำต้นไม้มือเปียก ใจไม่อยากรับโทรศัพท์เลยตอนนั้น จึงบอกว่า คราวหน้าไม่ต้องนำมาให้นะมือเปียกเลอะเทอะไม่สะดวกรับสาย เดี๋ยวเสร็จจะโทรกลับเอง พ่อบ้านแสดงสีหน้าไม่ค่อยพอใจพร้อมกับบอกว่าก็เสียงโทรศัพท์ดังน่ารำคาญ เราก็ตอบกลับไปว่า ปิดเสียงก็ได้นะ พ่อบ้านจึงพูดด้วยเสียงไม่พอใจหนักขึ้นว่า คราวหน้าจะไม่ยุ่งด้วยแล้วเรื่องโทรศัพท์

    ทุกข์ : ไม่ชอบใจที่พ่อบ้านแสดงสีหน้าหรือน้ำเสียงไม่พอใจ

    สมุทัย : ยึดว่าพ่อบ้านควรแสดงสีหน้าหรือน้ำเสียงที่เป็นปกติ

    นิโรธ : พ่อบ้านจะสดงสีหน้าหรือน้ำเสียงแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาถึงเหตุที่พ่อบ้านนำโทรศัพท์มาให้เรา แม้เราจะบอกไปในครั้งแรกที่ท่านบอกเราแล้วเดี๋ยวเราจะโทรกลับไปหาคนที่โทรมาเอง แต่ท่านก็ยังนำโทรศัพท์มาให้เราอีก ด้วยความมีน้ำใจและหวังดีกับเรา ท่านอาจจะคิดว่าคงมีใครมีเรื่องด่วนอะไรที่ต้องติดต่อเราในตอนนั้น หรืออาจจะรำคาญเสียงโทรศัพท์ที่ดังรบกวนท่านที่กำลังดูโทรทัศน์อยู่ หรืออาจจะไม่พอใจที่เราแสดงกิริยาที่ไม่อยากรับโทรศัพท์ที่ท่านอุตส่าห์ตั้งใจนำมาให้ หรือรุู้สึกว่าเราไม่ให้ความสำคัญในความหวังดี ในการกระทำของพ่อบ้าน

    พิจารณาเห็นกิเลสของตัวเองที่รู้สึกไม่ชอบใจที่พ่อบ้านขัดใจเราที่ยังนำโทรศัพท์มาให้ทั้งที่เราบอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวจะโทรกลับเอง เพราะเราไม่อยากให้โทรศัพท์เปียกเพราะมือเราเปียกอยู่ รู้สึกไม่ชอบใจในสีหน้าและน้ำเสียงที่แสดงความไม่พอใจของพ่อบ้าน

    เหตุการณ์นี้ที่เกิดกับเรา มันสมเหตุสมผลกันแล้ว
    เรา : มีจิตรำคาญที่พ่อบ้านขัดใจเรา ไม่เชื่อฟังเรา ยังนำโทรศัพท์มาให้ ทั้งที่เราบอกว่าจะโทรกลับที่หลัง ความรู้สึกยังไม่อยากรับโทรศัพท์ตอนนี้
    พ่อบ้าน : มีจิตรำคาญเสียงโทรศัพท์ที่ดัง
    เรา : แสดงความไม่พอใจทางสีหน้าและคำพูด ตอนที่รับโทรศัพท์จากพ่อบ้าน เพราะไม่อยากให้โทรศัพท์เปียก
    พ่อบ้าน : แสดงความไม่พอใจทางสีหน้าและคำพูด เพราะเราไม่เห็นความสำคัญ ความหวังดีของท่านที่อุตส่าห์นำโทรศัพท์มาให้

    พิจารณาถึงเรื่องกรรมของแต่ละคน ทั้งกรรมของเราและพ่อบ้านที่ต่างคนต่างก็ต้องมาชดใช้ให้แก่กันและกัน มาชดใช้กรรมที่ตัวเองเคยทำมา จะหาประโยชน์อันใดถ้าเรายังคิด ยังรู้สึกชิงชังในพฤติกรรมของอีกฝ่าย หากเราเชื่อชัดเรื่องกรรมของแต่ละคน เราก็วางใจได้แล้ว จงเชื่อและสำนึกให้ถึงจิตเลยว่า หากเรายังยึด ยังอยากได้พฤติกรรม คำพูด สีหน้า ท่าทางที่ดี ๆ ของคนอื่นอยู่ ทั้งที่เราก็เคยทำ หรือยังทำพฤติกรรมนั้น แสดงว่าเรากำลังโกหกตัวเอง กำลังขโมยสิ่งที่เราไม่เคยมี ไม่เคยทำแบบนั้นมา หรือเราก็ยังทำสิ่งนั้นไม่ได้…ดังนั้นต่อไปควรตั้งจิตคิดดี พูดดี ทำดีกับคนอื่น ๆ เริ่มตั้งแต่บัดนี้ เมื่อเราอยากได้สิ่งใด จงคิดสิ่งนั้นกับผู้อื่น..ใจจึงคลายลงและได้ไปขอโทษพ่อบ้านในการกระทำและคำพูดที่เราแสดงออกไป ซึ่งท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร..

  57. ชุติวรรณ แสงสำลี

    ชื่อเรื่อง ล้างจาน ล้างใจ สู้ภัยหนาว

    เนื้อเรื่อง รู้สึกมีอาการนิ้วมือ เกร็ง แข็ง ฝืดๆขยับลำบากมา2-3วัน เพราะอากาศหนาวหรืออาจกินอาหารไม่สมดุล

    ทุกข์ : นิ้วมือ เกร็ง แข็ง ฝืดๆขยับลำบาก

    สมุทัย:ชอบที่มีสภาพนิ้วมือเป็นปกติ ชังที่มีสภาพนิ้วมือเกร็ง แข็ง ขยับลำบาก

    นิโรธ :ชอบที่มีสภาพนิ้วมือเป็นปกติ ไม่ชังที่มีสภาพนิ้วมือเกร็ง แข็ง ขยับลำบาก ไม่ว่านิ้วมือจะอยู่ในสภาพใดก็เป็นสุขใจ

    มรรค :♡ทำใจยอมรับความจริงตามความเป็นจริง กรรมในปัจจุบันสภาพที่เราอาศัยมีอากาศหนาวเย็นเลี่ยงไม่ได้ ก็เกิดอาการนิ้วมือติดขัดบ้าง ใจก็เป็นสุข ไม่ทุกข์ใจ นิ้วมือไม่ได้ดั่งใจก็เป็นสุขใจ
    ♡ ยอมรับความจริงในอดีตเราเคยทำวิบากกับสัตว์หรือคนให้เดือดร้อนมา ตอนนี้มาเป็นเองดีแล้วได้ชดใช้วิบาก รับแล้วจะหมดไป ใจก็เป็นสุข
    ♡ ช่วงเย็นเห็นมีภาชนะในอ่างจำนวนหนึ่งยังไม่ได้ล้าง ใจก็คิดว่าเราเดินมาแถวนี้พอดีเป็นโอกาสที่เราจะได้ทำกุศลล้างหน่อยดีกว่า
    ● กิเลสเข้ามาบอกว่าโอ้โห้!
    มีแต่ภาชนะชิ้นใหญ่ๆหนักๆทั้งนั้นเลย เราคงหยิบหยกไม่ไหวแน่ น้ำก็เย็น มือก็แข็งๆอยู่
    ♡♡พิจารณาโดยใช้ปัญญานี่ๆเจ้ากิเลสจอมขี้เกียจเรารู้ว่าเป็นเจ้าเราไม่กลัวหรอกอย่ามาหลอกซะให้ยาก เราทำใจชอบๆๆถาดใหญ่ก็น่าจับ หม้อใหญ่ก็
    น่าล้าง ภาชนะเหล่านี้เป็นวัตถุอุปกรณ์ที่คนดีมีศีลได้ใช้ประโยชน์ ใส่อาหารทิพย์ หล่อเลี้ยงกายให้คนดีมีจิตวิญญาณได้อาศัย ซึ่งก็ปราศจากเลือดเนื้อของสัตว์ที่ดีกว่า
    ดูซิน่าล้างน่าจับล้างง่ายๆแค่นี้เอง
    จับอาการกิเลสถ่วงน้ำหายแว๊บไปเลยเราได้ล้างภาชนะสำเร็จด้วยใจผาสุก และพลังกุศลดันวิบากร้ายออกมือเราหายเกร็ง แข็งเลย มือก็กลับมาเป็นปกติทันที
    ขอบคุณหมู่มิตรดีที่ได้ให้เรามีโอกาสได้บำเพ็ญล้างภาชนะในครั้งนี้.♡♡♡♡♡

  58. เสาวรี หวังประเสริฐ

    เรื่อง โชคดีอีกแล้ว
    วันมาฆบูชาปีนี้มีโอกาสได้เดินทางไปทำบุญกับหมู่มิตรดีที่ศาลีอโศกต.ไพศาลีจ.นครรสวรรค์โดยนัดหมายกันว่าจะออกเดินทางเวลา05.30น.พอถึงเวลานัดก็ยังไม่เห็นรถมารับจึงนั่งคุยกับพี่ที่มาด้วยกันสัก10นาทีอานุ่นโทรว่าเรามาหรือยังพี่ขับรถมารอตั้งแต่ตี5ไม่เห็นมีใคร
    ทุกข์ :กลัวพี่โกรธที่หาเราไม่เจอ
    สมุทัย :เหตุแห่งทุกข์ไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดในการนัดหมายยึดว่าการนัดหมายในครั้งนี้ต้องมารับตรงเวลาตามที่นัดกันไว้
    นิโรธ: สภาพดับทุกข์ไม่ชอบไม่ชังที่เกิดความผิดพลาดในการนัดหมายสถานที่รับในการเดินทางครั้งนี้
    มรรค :วิธีดับทุกข์พิจารณาเรื่องกรรมว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมาไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา และทำใจว่าโชคดีอีกแล้วร้ายหมดไปอีกแล้ว แม้จะมีการผิดพลาดในการนัดจุดรับขึ้นรถโดยผู้รับมารอก่อนเวลาและหาเราไม่พบจึงไปจอดรถอีกที่หนึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางในครั้งนี้เราก็สามารถวางใจไม่กลัวกังวลหวั่นไหวสามารถเดินทางร่วมกันจนถึงที่หมายด้วยใจเบิกบาน ใจไร้ทุกข์

Comments are closed.