640131 การบ้าน อริยสัจ 4 (5/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 25 – 31 มกราคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านรวม 45 ท่าน 57 เรื่อง
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล) (2)
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- นปภา รัตนวงศา (5)
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
- นธกานต์ สุวรรณ
- SAYYAI ONKAEW (2)
- นางพรรณทิวา เกตุกลม
- samruai nakanon สำรวย นาคะนนค์ (2)
- น.ส นิรมล ทองชะอุ่ม
- น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (3)
- นางสาวลักขณา วรพงศ์พัฒน์(บุญแพงค่า ; เอ๊า)
- นางจิราภรณ์ ทองคู่
- sirikwun saelim
- นส.พวงผกา โพธิ์กลาง
- Anonymous
- โยธกา รือเซ็นแบร์ก
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์
- นายรวม เกตุกลม
- jariya junpukdee จาริยา จันทร์ภักดี (2)
- Kittima Promlek
- สำรวม แก้วแกมจันทร์ (2)
- น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
- น.ส ชาลี มากแก้ว ชื่อทางธรรม: พรเพียรดี
- นางโสภา หนำคอก(sopa nhumkok)
- สาคร รอดรัตน์(ป้าหนุ่ย)
- เพชรรัตน์ ราญคำรัตน์ (เพชรดินไพร)
- จรูญ สุยะ
- พรพิทย์ สามสี
- มัณฑนา ชนัวร์ร ศีลประดับ
- sompong khongrum
- จรัญ บุญมี(เพชรแผ่นดิน)
- นาง ศุทธินี พรมเล็ก (น้ำเพชรฟ้า)
- ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
- ประคอง เก็บนาค
- ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
- ขวัญจิต เฟื่องฟู
- Nilamon Thongchaom (2)
- นางจีรวัลย์ วัฒนสิน Cheerawan Wattasin
- ใจถึงศีล โพธิ์คำ
- อภินันท์ อุ่นดีมะดัน
- Sureenart. Ratchapan. สุรีนารถ ราชแป้น
- เสาวรี หวังประเสริฐ
- ชุติวรรณ แสงสำลี
- ปิ่น คำเพียงเพชร



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 401
ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ
เรื่อง.คำทักทายได้เห็นกิเลส
ตัวเองได้ออกไปทำธุระนอกบ้าน แล้วไปเจอคนรู้จักคนหนึ่ง ก็ได้พูดทักทายกัน อาท่านนั้นจึงถามเราต่อว่า”ไอ้บ่าว”มันไปอยู่ไหนช่วงนี้ไม่เห็นเลย”เราได้ยินแล้วจับ(เวทนา)ความรู้สึกได้ว่าไม่พอใจ รู้สึกปรี๊ด!ไม่พอใจมาก กิเลสก็ลวงต่อว่า
เอ้ย!เค้าน่าจะเรียกน้องเราเพราะๆหน่อยนะ น้องเราก็เคยบวชมาแล้วนะ ตอนอยู่ทางโลกน้องก็เคยเป็นครูนะ มีเหตุผลมาอ้างถึงความน่าจะเป็นเหมือนจริงเป๊ะ เหตุผลไม่ผิดเผี้ยนเลยแต่ที่ผิดเพี้ยนคือคิดแล้วเราทุกข์ แสดงว่าผิดทางพุทธะ เพราะเราไปให้ความสำคัญกับตัวบุคคล แล้วมาคิดใหม่ว่าเราจะไปทุกข์ทำไมเพราะเราไปเปลี่ยนพฤติกรรมของเค้าไม่ได้ ต้องมาเปลี่ยนที่เราเอง เราต้องไม่ไปให้ความสำคัญในตัวบุคคล รู้ชัดว่าใครจะได้รับสิ่งใดอย่างไรก็เป็นกุศลอกุศลของบุคคลนั้น ส่วนสิ่งที่เขาทำก็เป็นวิบากกรรมใหม่ของเขา
ทุกข์.ไม่อยากไม่ชอบที่เค้ามาพูดเรียกน้องด้วยศัทพ์นามที่เรารู้สึกว่ามันไม่สุภาพ
สมุทัย.ชอบที่จะให้เค้ามาพูดเพราะไม่ชอบเมื่อได้ยินเค้าพูดถึงน้องไม่ไพเราะไม่สุภาพ
นิโรธ.วางใจล้างความชอบชังปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ล้างความยึดความเป็นตัวตนในตัวบุคคล เขาจะพูดสุภาพหรือไม่สุภาพก็สุขใจไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค.พิจารณาเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่ามันคือวิบากกรรมเขาวิบากกรรมเราวิบากรรมคนที่เกี่ยวข้องวิบากของน้องที่น้องได้รับ พิจารณาใครได้รับอะไรก็เป็นของคนนั้น มันเป็นวิบากของน้องที่ให้เค้าเรียกน้องอย่างนั้น และขอโทษขออโหสิกรรมกับสิ่งที่เราทำมา เราก็เคยพูดไม่ดีพูดหยาบไม่สุภาพมา ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีที่เราพลาดทำมา แต่เมื่อปัจจุบันเราไม่ทำแล้วเราจึงชังที่คนอื่นทำที่เหลือเราก็ไปล้างชังให้สิ้นเกลี้ยง
และต้องขอบคุณวิบากกรรมเหตุการณ์นั้นที่ได้มากระแทกส่วนเหลือกิเลสของเรา ทำให้เราได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบากกรรม
และเมื่อเราล้างชอบชังได้ทำให้เบาลงได้ตามลำดับ ใจไร้ทุกข์ได้ค่ะ
ได้เอาบททวนธรรมข้อที่123 มาใช้ คือ
เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3ชั้น
คือได้เห็นทุกข์
ได้ล้างทุกข์
และได้ใช้วิบาก
ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี
ร้ายนั้นก็จะหมดไป
ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น
สาธุค่ะ
อริยสัจ 4 the four Noble truth
ชื่อเรื่อง :ประโยชน์จากความพลาดความพร่อง
เนื้อเรื่อง :จากการที่ได้ร่วมสอบเก็บคะแนนของวิชชารามประจำเดือนมกราคม ที่ผ่านมา รู้สึกว่าข้อสอบจะง่ายแต่ก็ยาก เพราะพอผลสอบออกมาเฉลี่ยแล้วได้ไม่ถึงครึ่งคือจาก 10 ข้อทำถูกไป 4 ข้อผิด 6 ข้อ(ปรนัย)
ทุกข์ (The Truth of suffering)
:มันยังมีความรู้สึกกวนใจอยู่ว่า เราน่าจะทำข้อสอบได้ดีกว่านั้นนะ แต่ความรู้สึกมันก็เหมือนมีอะไรกั้นๆอยู่ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าคืออะไร มันฝืดๆไม่โล่งยังไงบอกถูก
สมุทัย(The Truth of the cause of suffering) :น่าจะเป็นเพราะว่าประมาทคิดว่าเราน่าจะทำได้ดีกว่าการสอบครั้งแรก และคำถามก็ดูว่าไม่ยากคำตอบของเราไม่น่าจะผิด
นิโรธ(The Truth to end of suffering): จะตอบคำถามในข้อสอบถูกหรือไม่ถูก ก็ไม่เห็นมีอะไรต้องทุกข์ใจ เพราะเราก็ทำดีที่สุดแล้ว สิ่งที่เราทำออกมาได้ก็คือสิ่งที่เราเข้าใจคือความจริง ความจริงที่เราทำได้ความจริงที่ ทำให้เราได้รู้ว่าเราเข้าใจแค่ไหนในสิ่งที่อาจารย์สอน และได้รู้ว่าบางครั้งสิ่งที่เราคิดว่าถูกมันก็อาจผิด เราจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่น
มรรค(The Truth of the path to end of suffering): ใช้บททบทวนธรรมอาจารย์ที่ว่า เมื่อได้มุ่งหมายให้เกิดสิ่งดีและพยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่ดีนั้นไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จดังใจหมาย
กิเลสมักจะหลอกบอกว่าถ้าไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จจะเสียหาย จะไม่สบายใจ เป็นความลวง ให้ใช้ปัญญาหักลำกิเลสโดยบอกกับกิเลสว่า ถ้าได้มากกว่านี้ ถ้าสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้ จะเสียหายเพราะในขณะนั้น ยังไม่ใช่เวลาที่จะได้มากกว่านี้ ยังไม่ใช่เวลาที่จะสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้ ในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จจะดีที่สุด ยุติธรรมที่สุดตามกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญในความพลาดความพร่องก็ทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งที่เรารู้นั้นไม่ถูกต้อง เราจะได้รู้ในสิ่งที่ถูกต้องว่าคืออะไร เราต้องมองความพลาดความพร่องให้เป็นประโยชน์เอาประโยชน์ให้ได้ สุขใจให้ได้ในทุกสถานการณ์ มันทำให้นึกถึงคำพูดของอาจารย์ที่ว่าถ้าเราคิดว่าการลดกิเลสเป็นเรื่องง่ายมันจะทำได้ยากแต่ถ้าเรารู้ว่าการลดกิเลสเป็นเรื่องยากมันจะง่าย(เพราะเราจะไม่ท้อที่จะสู้เมื่อเรารู้ว่ามันทำยากเราก็จะมีความพากเพียรที่จะสู้และไม่ประมาท)
จะเอาอย่างไงดี
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มค 64นี้มีรายการที่ต้องเข้าร่วมพร้อมกัน คือ รายการอปริหานิยธรรมของสวน2 และ สอบเก็บคะแนนของ วบบบ.ใจก็ลังเลรักพี่เสียดายน้อง ใจก็วุ่นเล็กๆพี่น้องจะโทษไม่ให้ความสำคัญกับหมู่กลุ่มไหม? อยากเป็นศิลปินเดี่ยว ? ก่อนเข้าสอบก็แว็บเข้ามาในรายการอปริหานิยธรรม แล้วออกไปสอบ ทำข้อสอบสัก 30-40 นาทีก็เสร็จ ทำไม่ค่อยได้ อยู่ก็ไม่รู้จะตอบอะไรเพิ่ม ออกมาก็มาเข้ากลุ่มอปริหานิยธรรมอีกครั้ง
ทุกข์ ใจวุ่นๆ อยากเข้าทั้ง 2รายการ
สมุทัย ได้เข้าทั้ง 2 รายการจะสุขใจ ไม่ได้เข้าทั้ง2 รายการจะทุกข์ใจ
นิโรธ จะได้เข้าหรือไม่ได้เข้ารายการ ได้เข้า 1 รายการ หรือทั้ง 2รายการก็สุขใจ
มรรค มาพิจารณา ทำไมถึงจะเอาดีที่ไม่ได้ จะเอาทุกอย่าง มันไม่ใช่ของเราไม่ใช่สมบัติของเรา ก็อยากได้อยู่นั้นเเหละ ของดีมันมีอยู่จริง เอาที่มันมีประโยชน์สูงสุด สิ่งไหนที่คิดว่าดีที่สุดแล้วก็ทำไปด้วยใจไร้ทุกข์ นั่นแหละสำคัญที่สุด”ใจไร้ทุกข์”ไม่กลัวไม่กังวล เพราะถ้ามีจะมีพลังสันนิทานเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก แค่นี้ก็ทุกข์มากพอแล้วจะไม่เอามาเพิ่มอีกให้โง่
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 4 และ 33
ต้องกล้าในสิ่งที่ดี ละอายและเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์
ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน
ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น
ทำข้อสอบเสร็จ ออกมาเข้ากลุ่มด้วยใจที่เบิกบาน ตรวจเฉลยข้อสอบ ได้3/10 คะแนน คงได้ไม่ถึงครึ่งแต่ใจเบิกบาน…สาธุ
กิเลสขาด
เมื่อวานได้เข้าสวน ได้ปลูกต้นไม้กับลูกชาย ส่วนพ่อบ้านตัดหญ้า ชึ่งหญ้าขึ้นรกมาก และแปลงจะยาว พ่อบ้านตั้งใจจะตัดตามทางเดินให้ยาวตลอด 1ร่อง เพราะอาทิตย์หน้าไม่ได้กลับบ้าน พอท้ายแปลงคงเหนื่อยล้า คุมเครื่องได้ไม่ดีก็ไปตัดต้นหมากไป หมากปลูกมา 2ปี ต้นกำลังงาม ใจก็เสียดายนิดหนึ่ง
ทุกข์ ต้นหมากโดนตัด
สมุทัย ถ้าต้นหมากไม่ถูกตัดจะชอบใจ ถ้าต้นหมากถูกตัดจะไม่ชอบใจ
นิโรธ ต้นหมากจะถูกตัดหรือไม่ถูกตัดก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค พิจารณากิเลสตัวที่อยากได้ดั่งใจ ตัวนี้เยอะมากทำมามาก สั่งสมมามาก กิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นสิ่งที่คนโง่ คนชั่ว คนทุกข์ คนบ้าหวงแหนที่สุดในโลกจริงๆ โง่มากจริงๆอยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
พ่อบ้านก็พยายามทำเต็มที่แล้ว ไม่มีใครอยากทำลายข้าวของตัวเองหรอก เขาก็เสียใจกว่าต้นหมากจะโต ดูแลมาอย่างดี ตัวเราก็ทำมาเยอะ เขามาปลูก เรามาตัดกี่ครั้งกี่หน นับครั้งไม่ถ้วน รับไป รับแล้วก็หมดไป ก็จะโชคดีขึ้น
ขอบคุณที่หมากต้นนี้มาคุ้ยกิเลสตัวนี้ออกมา รู้ว่ามันยังไม่หมดก็มาทดสอบ แต่รู้สึกแป็บเดียว ก็หายไป ใจแช่มชื่น เบิกบานโชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดไปอีกแล้ว
ใช้บททบทวนธรรมข้อ 71 72
ปัญหาและอุปสรรคไม่เคยหมดไปจากโลก
มีแต่ทุกข์ใจเท่านั้นที่หมดไปจากเราได้
ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทุกข์ใจ ความทุกข์ใจไม่ได้แก้ปัญหา มีแต่เพิ่มปัญหา สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จะทุกข์ใจไปทำไม เบิกบาน แจ่มใสดีกว่า…สาธุ
อริยสัจ 4
เรื่อง สำนึกผิด
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่าน ข้าพเจ้าส่งงานในนามของกลุ่มรวงข้าว เพื่อนำเผยแพร่ผ่าน เวบไซด์ แต่งานของข้าพเจ้าไม่ผ่านเพราะรูปภาพที่ส่งไปไม่ชัดต้องเอากลับมาแก้ไข แต่ความเข้าใจของข้าพเจ้าคือ งานที่ส่งให้คุรุแล้วไม่ต้องแก้ไข ทำงานใหม่ในสัปดาห์ต่อไปได้เลย ซึ่งมันเป็นความเข้าใจผิดของข้าพเจ้าเอง จึงเป็นผลทำให้ งานของกลุ่มรวงข้าวชงัก เพราะต้องรองานของข้าพเจ้า กว่าจะมารู้ตัวว่าตัวเองเป็นสาเหตุให้งานล่าช้า ก็ปาเข้าไปเกือบ 1 สัปดาห์
ทุกข์ : ใจแป้วรู้สึกผิดเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นสาเหตุให้เพื่อนต้องเสียเวลา
สมุทัย : อยากให้ตัวเองเข้าใจคำพูดของคุรุให้ถูกต้องเหมือนพี่น้องท่านอื่นเข้าใจ ไม่ชอบที่ตัวเองไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านคุรุชี้แจง ชอบที่ตัวเองจะเข้าใจในทุกประโยคที่ท่านคุรุชี้แจง
นิโรธ : เรื่องการเข้าใจผิดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ถ้าวิบากกรรมไม่ดีแสดงผล ณ เวลานั้น แม้ข้าพเจ้าจะเข้าใจผิดที่ท่านคุรุได้ชี้แจงมาก็จะไม่ทุกข์ใจ ถึอว่าข้าพเจ้า และหมู่กลุ่มพวกเรามีวิบากร่วมกัน เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป กลุ่มพวกเราก็จะโชคดีขึ้น
มรรค : เกือบ 1 สัปดาห์ ที่พี่น้องสูญเสียพลังงานเพื่อที่จะแก้ไขงานของข้าพเจ้า แล้ววันที่ฟ้าเปิดก็มาถึง ทุกวันเสาร์เวลา 16.00 น. พวกเราจะประชุมกลุ่มเพื่อตรวจงานที่จะส่งในสัปดาห์ต่อไป พอพวกเราได้คุยส่วนงานของข้าพเจ้าว่าปัญหาคืออะไร ทำไมงานกลุ่มไม่ขยับเขยื้อน จึงได้รู้ว่าเป็นเพราะงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า รู้สึกผิด สำนึกผิด และได้ขอโทษหมู่กลุ่มทันที รู้สึกใจแป้วและสงสารและเห็นใจหมู่กลุ่มเป็นที่สุด เหตุการณ์ในครั้งนี้ เป็นอุทาหรณ์ให้ข้าพเจ้า ให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น และจะพากเพียรทำความดีสานพลังกับหมู่กลุ่มต่อไป กราบขอบระคุณท่านอาจารย์หมอเขียวและหมู่กลุ่มที่ได้ให้โอกาส ได้มาฝึกล้างกิเลสค่ะ สาธุ
เชื่อแล้ว ยอมแล้ว ไม่ทุกข์แล้ว
เมื่อก่อนผมจะมีเรื่องทุกข์อยู่เรื่องนึงที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ คือเวลาที่ขับรถไปไหน ๆ โดยมีแม่บ้านนั่งไปด้วย หลาย ๆ ครั้งที่ผมมักจะขับไปผิดทาง ส่วนใหญ่เป็นเพราะขับไปตามความเคยชินบนเส้นทางที่ต้องขับผ่านเกือบทุกวัน และไม่ทันได้นึกว่าวันนี้เราจะต้องขับไปอีกทางหนึ่ง บางครั้งก็คิดหรือพูดคุยจนลืมไปว่าต้องเลี้ยวตรงนั้นตรงนี้ บางครั้งก็จำทางไม่ค่อยได้เพราะเป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เกือบทุกครั้งที่มีแม่บ้านนั่งไปด้วยในรถ เขาก็จะคอยบอก คอยเตือนอยู่เสมอ แต่ผมกลับรู้สึกไม่ค่อยพอใจที่แม่บ้านคอยบอกคอยเตือน โดยเฉพาะในบางครั้งที่ผมยังไม่ได้ไปผิดทางเลยสักนิดแต่ถูกแม่บ้านพูดดักไว้ก่อน มันเหมือนคำตอกย้ำว่าเราชอบหลงทาง เราขับรถเอ๋อ ๆ อะไรทำนองนั้น ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นเรายังไม่ได้ออกนอกเส้นทางเลย ความรู้สึกในใจมันไม่ค่อยพอใจที่แม่บ้านไม่ยอมเชื่อใจ ไม่ไว้วางใจว่าเราจะไม่หลงทาง บางครั้งก็นึกอยากให้เขามาขับเองเสียให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย
ทุกข์ — ไม่พอใจที่แม่บ้านชอบระแวงว่าเราจะหลงทาง รำคาญที่แม่บ้านคอยพูดดักให้เราอย่าลืมเลี้ยวไปทางนั้นทางนี้ ไม่ชอบใจที่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนใกล้ตัว
สมุทัย — มีความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าแม่บ้านไม่ระแวงว่าเราจะหลงทางเราจะสุขใจ ถ้าระแวงว่าเราจะหลงทางเราจะไม่สุขใจ ชอบที่จะได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้าง ไม่ชอบถ้าไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้าง
นิโรธ — ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น แม่บ้านจะไว้วางใจในการขับรถของเราก็ได้ หรือไม่ไว้วางใจในการขับรถของเราก็ได้ เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค — พิจารณาหลายอย่างคือ
1) เรื่องกรรม แม้ว่าเราจะพยายามปรับปรุงแก้ไขตัวเองให้ขับผิดทางน้อยลงแล้วก็ตาม แต่กรรมที่เราเคยทำผิดพลาดไว้ในอดีตก็มีมาก ผลของกรรมจึงทำให้แม่บ้านยังไม่ไว้วางใจเป็นธรรมดา เราต้องยอมรับผลของกรรมและอดทน รอคอย ให้อภัย ปรับปรุงแก้ไขการขับรถของตนเองให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมากพอ วันใดวันหนึ่งข้างหน้าเขาก็จะไว้วางใจเราไปเอง
2) โทษของการยึดมั่นถือมั่น คือการที่เราหลงคิดไปว่าถ้าแม่บ้านไม่ไว้วางใจในการขับรถของเราแล้วเราจะต้องทุกข์ใจ อันนี้มันเป็นความคิดแบบกิเลส มันคือการเอาความสุขความทุกข์ในใจเราไปแขวนไว้กับความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจของผู้อื่น จึงเป็นเหตุให้เรากลัว กังวล หวั่นไหวอยู่เสมอว่าเขาจะไว้วางใจเรามั้ยน้อ เมื่อไหร่เขาจะเลิกระแวงเราในเรื่องนี้เสียทีน้อ ถ้าเลิกยึดมั่นถือมั่นได้ แล้วปล่อยวาง ยอมให้เขาระแวง ยอมให้เขาไม่ไว้วางใจได้ เข้าใจถึงเหตุปัจจัยที่เขาต้องระแวง ต้องไม่ไว้วางใจเรา เราก็จะยอมรับได้ โดยที่ไม่ต้องไปทุกข์ใจเรื่องนั้นเลย
3) ใช้บททบทวนธรรมในข้อที่ว่า “ใครเขาจะยึดหรือไม่ยึดไม่สำคัญ ใครเขาจะคิดกับเราอย่างไรไม่สำคัญ สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตเราต้องสูงก่อนจึงจะดึงจิตคนอื่นขึ้นสูงได้” (ข้อ 140) พิจารณาให้ชัดเจนว่า แม่บ้านเขาจะคิดกับเราอย่างไรก็ได้ แต่เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางให้เป็นไปตามความจริง ถ้าเขายังระแวงอยู่ก็แปลว่าเรายังมีวิบากอยู่ หน้าที่เราคือปรับปรุงจิตใจเราให้สูงขึ้น ลดละเลิกความคิดที่จะถือสาเพ่งโทษไปเรื่อย ๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้าเขาก็จะเลิกระแวงเราไปเอง
สรุปว่าทุกวันนี้ที่ผมยอมแล้ว เชื่อแล้วว่าเราทำมามากจริง ๆ ทำให้ผมทุกข์น้อยลงมากกับเรื่องนี้ และได้รับความไว้วางใจจากแม่บ้านมากขึ้นเรื่อย ๆ
640125
ชื่อ น.ส.นธกานต์ สุวรรณ
ชื่อทางธรรม แผ้วใจพุทธ
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ2ชะอวด อ.ชะอวด จ.นครศรีฯ
เรื่อง ของแจก ของขวัญ
เรื่องต่อเนื่องมาจากการได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่จังหวัดนครศรีฯในการแจกข้าวสาร ก็เลยได้ตั้งปณิธานกับตัวเองว่า ปีใหม่นี้จะแจกข้าวสารกับญาติและคนที่อยู่ในแถวบ้านตัวเอง ก่อนจะถึงปีใหม่ก็ได้ข้าวสารมาจากแพทย์วิถีธรรมที่จะแจกให้กับ ผู้ประสพภัยน้ำท่วมในของส่วนจังหวัดพัทลุง และที่อ.ป่าบอนก็มีคนถูกน้ำท่วมด้วย แล้วก็ให้พี่สาวที่เป็นอสม.สำรวจผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม ก็ได้มา15ครัวเรือน ตั้งใจจะให้ครัวเรือนละ5กิโล เลยได้รับอาสาเอาข้าวสารมาแจก แล้วก็ไปดำเนินการแจกข้าวสาร กว่าจะลงตัวมันไม่ได้ง่ายและไม่ได้ดั่งใจ แต่ในขณะเดียวกันที่เราได้ไปเอาข้าวสารให้กับเขาด้วยมือเราเอง และได้เห็นสภาพความเดือดร้อนของเขา การที่เรานำไปให้เกิดความรู้สึกมีปิติและความสุข ความเหนื่อยหรืออุปสรรคในขณะนั้นเราไม่เห็นมันแล้ว เพราะคนที่เราเอาข้าวสารไปให้เขายังทุกข์มากกว่าความเหนื่อยแค่เล็กน้อยของเรา และเราได้เห็นรอยยิ้มที่ได้มาช่วยบรรเทาทุกข์ให้เขา ถึงจะไม่มากก็ตามที
ทุกข์ :จะเอาให้ได้ดั่งใจ
สมุทัย :ชังที่ไม่ได้ดั่งใจ ชอบถ้าได้ดั่งใจ
นิโรธ :จะได้ดั่งใจหรือไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรได้ดั่งใจทุกอย่าง
มรรค: กิเลสชอบถ้าได้ดั่งใจ และกิเลสจะไม่ชอบถ้าไม่ได้ดั่งใจ การที่อสม.มาช่วยเรา เขาก็เสียสละในการทำภาระกิจของเราให้สำเร็จ พอได้เห็นเขาทำงานและได้ช่วยผู้ป่วยติดเตียง พวกเขายังเสียสละมากกว่าเรา เพราะเขาทำหน้าที่ตรงนี้มานานแล้ว แต่เรามาทำแค่วันเดียวกับ15ครัวเรือน ไม่ชอบไม่ชังได้พลังสุดๆ ชอบชังเสียพลังสุดๆ ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ สาธุค่ะ
เรื่อง ต้นทองพันชัง
เค้าโครงเรื่อง ต้นทองพันชั่งเป็นพืชสมุนไพร สรรพคุณคือ แก้โรคผดผื่นคันตามร่างกาย บนหนังศรีษะ กลากเกลื้อนและป้องกันเชื้อราบนผิวหนัง พอรู้สรรพคุณแล้ว ในสมองดริ่มทำงานคือเอาปลูกเพื่อว่า
จะเอาทำแชมพู และสบู่เหลว
เมื่อได้ประมาณสัก 3 เดือนต้นทองพันชั่งกำลังงาม(บอกว่างามมากแตกกิ่ง
ก้านและใบ กำลังสวย) พี่ก็ไปทำงานทุกวัน( จันทร์ – ศุกร์) พอกลับว่าตอนเย็นวันหนึ่งพบวว่าต้นทองพันชั่งที่พี่ปลูกโดยตัดเหลือแต่โคนแว็บแรกที่เกิดขึ้นกับพี่คือพี่โกรธคนที่มาตัดต้นทองพันชั่งของพี่มาก ความคิคพี่ทำไมไม่ถามก่อนตัดล่ะอุตสาห์ปลูกไว้ แต่พอพี่ที่อยู่ซอยเดียวกันบอกว่าคนที่ตัดต้นทองพัยชั่งของพี่เป็นคนที่เจ้าของดินข้างๆจ้างมาตัดต้นไม้ที่รกๆของเค้า แต่คนที่ตัดเค้าไม่รู้ว่าต้นทองพันชั่งที่พี่ปลูกไว้ ไม่ได้อยู่ในดินของคนที่จ้างเค้าและอีกเหตุผลคือเค้าว่ามันรกและไม่รู้ว่ามีประโยชน์
ทุกข์ ตัดต้นทองพันชั่งเหลือแต่โคน
สมุทัย ชอบถ้าต้นทองพันชั่งไม่โดนตัด ไม่ชอบที่ต้นทองพันชั่งถูกตัด
นิโรธ ต้นทองพันชั่งจะถูกตีดหรือไม่ถูกตัดก็ปล่อยวาง
มรรค วูบแรกที่มาเห็นต้นทองพันชั่งถูกตัดเหลือแต่โคน ความรู้สึกโกรธคนที่ตัดมาก ไม่ถามก่อนว่าตัดได้ไหม เราหรือขอมาจาก พัทลุงกว่าจะโตต้องดูแลและรดน้ำด้วย แต่เราลืมคิคไปว่าธรรมชาติของต้นไม้ถ้าไม่ขุดรากถอนโคนทิ้งเค้าก็จะแตกต้นขึ้นมาใหม่ได้ นี้ดีขนาดไหนแล้วที่คนที่ตัดเค้าเหลือโคนไว้ให้ เรา พอคิคได้ใจเราก็มีความสุขน่ะ แสดงว่าเราโง่มากที่เราไปโกรธคนตัด เราเริ่มดูแลต้นทองพันชั่งใหม่อีกครั้งจนปัจจุบันต้นทองพันชั่งเติบโตสวยงามกว่าเมื่อก่อนอีก ขอบคุณคนที่ตัดน่ะที่สอนให้เรารู้ว่า เราโง่มากที่เราโกรธคนที่เราไม่เคยเห็นและแม้แต่ชื่อเรายังไม่รู้เลย
เรื่อง พลาดไปแล้ว
ตั้งศีลไว้ว่า จะไม่กินของทอดแต่ได้พลาดไปกินของทอไปดในต้มจืดมะระ ตอนแรกไม่ได้พิจารณาพอกินแล้วกลับมาดูใหม่ ้ได้รู้ว่าเป็นเต้าหู้ทอดจึงหยุดกินทันทีแล้วสำนึกผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับโทษ ตั้งจิต ทำดีให้มากๆ ลดกิเลสให้มากๆพรัอมทั้งไม่โทษตัวเองที่ทำพลาดไปเพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่เคยทำพลาดมาเลย
ทุกข์:ไม่สบายใจ
สมุทัย:เพราะผิดศีลที่พลาดไปกินของทอด ยึดดีว่า ถ้าไม่พลาดไปกินของทอดจะสบายใจ ถ้าพลาดไปกินของทอดจะไม่สบายใจ
นิโรธ:จะพลาดไปกินของทอดหรือไม่พลาดก็ได้ ไม่สุข ไม่ทุกข์
มรรค:สำนึกผิด ยอมรับผิด ด้วยความยินดี ตามบททบทวนธรรมข้อ22และไม่โทษตัวเองซึ่งสอดคล้องกับบททบทวนธรรมข้อ48 ที่ว่า คนที่แพ้ก็ได้ ชนะก็ได้ พลาดก็ได้ ไม่พลาดก็ได้ พร่องก็ได้ ไม่พร่องก็ได้ สบายใจจริง”ฉลาดที่สุด”พร้อมตั้งจิต ควบคุมสติ เพิ่มอธิศีล ทำดีให้มากๆ ในที่สุดก็สบายใจ เบิกบาน แจ่มใส
ส่งการบ้านค่ะ
สำรวย นาคะนนท์
สวนป่านาบุญ๒
เรื่อง กลัวลูกแมว
มีแมวสีดำท้องโตเข้ามาอยู่ในศูนย์ พอเห็นกิเลสความชิงชังรังเกียจก็เกิดขึ้นทันที เพราะทุกข์ที่แมวมาเกิดในศูนย์ เหตุผลคือไม่ชอบกลัวลูกแมวเกิดใหม่
หลังจากนั้น3วันได้ยินเสียงลูกแมวร้อง ไม่ใช่บังเอิญแมวมาเกิดชั้นบนของศาลาห้องที่เรานอนด้วย อยู่ในกองที่คลุมผ้าทางเข้าข้างประตู ชังเสียงร้องของลูกแมว และกลัวจะเห็นลูกแมวออกมาเดิน เพราะกลัวลูกแมวตั้งแต่เด็กๆ
ทุกข์ :ชังเมื่อได้ยินเสียงลูกแมวร้อง กลังลูกแมวจะออกมาเดินให้เห็น
สมุทัย :ถ้าไม่ได้ยินเสียงลูกแมวร้อง หรือลูกแมวไม่ออกมาเดินให้เห็นจะพอใจ
นิโรธ :จะได้ยินเสียงลูกแมวร้อง หรือลูกแมวออกมาเดินก็ต้องรับให้ได้
มรรค :เรื่องนิดเดียวแต่ทุกข์กับเรื่องนี้มาหลายวันทำใจให้ไม่ชิงชังและเลิกกลัวไม่ได้ กิเลสมันลวงให้ยึดว่าลูกแมวน่ากลัว ยึดเพราะโง่ เลยขอช่วยให้เขาเอาลูกแมวไปไว้ที่อื่น พอไม่ได้ยินเสียงลูกแมวร้องรู้สึกพอใจ โล่งสบาย
แต่โล่งได้ไม่นานก็ได้รู้ว่ามีแมวมาเกิดอยู่ที่ครัวอีกตัวมีลูกแมว2ตัวอีก
สงสัยนาตาลีต้องการให้เห็นชัดว่าถ้ายังเชื่อกิเลสลวงให้ยึดก็โง่ต่อไปอีก มาวางใจได้เพราะหมู่มิตรดีช่วยตอนอปริหานิยธรรม ขอบคุณทุกท่าน ตอนนี้ไม่กลัวลูกแมวแล้ว
ขอโทษ ขออโหสิกรรมกับลูกแมวทุกตัวที่ต้องตา ยและเดือดร้อนเพราะเรา สำนึกผิดแล้วค่ะ
นางสาว นิรมล ทองชะอุ่ม
โทรศัพท์0858981266 088 ลำดับ 057 เลขประจำตัว 61 12008 057 รุ่น 10
เรื่องน้องสะใภ้เป็นหนี้
ทุกข์ น้องเป็นหนี้มากมายแล้วหนีไปไม่ทราบไปอยู่ใน
สมุทัย เกิดจากความรักความเป็นห่วง เกิดทุกข์ทางใจ
นิโรธ ก็คลายทุกข์ใจได้ สบายใจ
มรรค วิธีดับทุกข์ต้องวางใจช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็วาง
27/1/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ซักผ้า วางแผนไว้ว่าตอนกลางคืนตั้งใจเอาผ้าไปแช่น้ำยาซักผ้าไว้ เพราะผ้ามันเลอะ แช่วันคืนนึง แล้วพรุ่งนี้ออกไปทำธุระเสร็จจะกลับมาซัก พอถึงเวลาจะไปซักผ้า อ้าวผ้าไม่อยู่ที่เดิมแล้ว เดินวนหารอบบ้าน ปรากฏว่ามีคนหวังดีเอาผ้าไปซักให้ และตากให้เรียบร้อย แต่พอมาดูปรากฎว่าคราบเลอะนั่นยังไม่หายไป ผ้าซักไม่สะอาด รู้สึกไม่ชอบใจ ก็เลยไปถามว่าใครเอาผ้าไปซัก ได้คำตอบว่าแม่เป็นคนซักให้ ก็เลยบอกว่าทีหลังไม่ต้องซักให้นะ ตั้งใจจะแช่ไว้แล้วมาซักเอง ทำไมแม่ไม่ถามซะก่อน ไม่ได้อยากให้แม่ซักให้ เพราะแม่ซักไม่สะอาด แม่ ก็ทำหน้าไม่ค่อยดี แล้วตอบกลับด้วยน้ำเสียงดังว่า ก็คิดว่าเป็นของคนอื่น ถ้าไม่อยากให้ซักให้แล้วเอามาวางตรงนี้ทำไม ทำไมไม่เอาไปวางไว้ในห้อง พอแม่พูดแบบนี้ ตัวเราก็ปรี๊ดขึ้นมาเลย อ้าวเราแช่ผ้าไว้ในพื้นที่ซักล้าง ยังมาว่าเราอีก จะให้เราเอาไปไว้ในห้องนี่นะ มันเกินไปมั๊ย
ทุกข์ : ไม่ได้ดังใจ
สมุทัย: ไม่ชอบคำตอบของแม่ ยึดดีว่าแม่ไม่ควรตอบแบบนี้ อยากให้แม่ใช้คำพูดที่ดีกว่านี้
นิโรธ : แม่จะพูดดี ๆ ก็ได้ พูดไม่ดีก็ได้ ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์
มรรค: ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 5 สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา และ ข้อ 13 การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดังใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา พิจารณาว่า เรากับแม่คือคู่วิบากกัน ช่วงนี้หยุดอยู่บ้านหลายวัน ไม่ค่อยได้ไปไหน ก็จะมีผัสสะกันอยู่บ่อย ๆ เรื่องก็จะเป็นแบบเดิม ๆ คือ ทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง ตั้งจิตสำนึกผิดต่อแม่ และขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เห็นกิเลสในตัวเรา ตัวยึดดี ตัวจะเอาให้ได้ดังใจ อยากให้แม่พูดดี ๆ ด้วยคำพูดที่น่าฟัง แค่ แม่เพียงยอมรับผิดก็ยังดี เราจะเอาดีจากแม่ เรายังพูดดีไม่ได้เลย แล้วจะให้แม่พูดดีกับเราทุกเวลาจะเป็นไปด้วยอย่างไร สำนึกในความปรารถนาดีของแม่ที่เอาผ้าไปซักให้ เราจะได้ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ดีเหรอมีคนซักผ้าให้ แม่รักเราขนาดไหน
27/1/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง คนระมัดระวังตัว
เวลาอยู่ใกล้คนที่เขาคิดอะไรรอบคอบมาก ๆ ระมัดระวังตัวมากๆ (เกินพอดี) เวลาเขามาเสนอความคิดเห็นเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนั่นก็ไม่ได้ เรื่องนี่ ก็ไม่ควร คิดละเอียดรอบคอบ เป็นกังวลไปหมด จะทำให้รู้สึกอึดอัด เบื่อ ไม่มั่นใจ
ทุกข์ : อึดอัดใจ
สมุทัย: ไม่ชอบใจที่เขามาคอยเสนอแนะ จนทำให้เราขาดความมั่นใจ
นิโรธ : เขาจะเสนอแนะอะไรก็ได้ ไม่เสนอแนะก็ได ไม่ชอบ ไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค: ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 2 เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำ ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อนดีที่สุด ข้อที่ 26 ยินดีในความไม่ชอบไม่ชังได้พลังสุด ๆ ยินดีในความชอบชังเสียพลังสุด ๆ พิจารณาว่าการที่เขาเป็นคนที่ละเอียด รอบคอบ ระมัดระวังตัวเกินไป ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราจะได้เห็นแง่ มุมจากตัวเขา ที่เรายังมองไม่เห็น แล้วเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง เขาเป็นคนละเอียด รอบคอบ แต่เราขาดตรงจุดนี้ จะได้ช่วยเสริมในส่วนที่พร่องจะเป็นประโยชน์กับตัวเรามากที่สุด และขอบคุณในความปรารถนาดีของเขา เพราะเขารักและหวังดีเขาจึงคอยแนะนำ
นางสาวลักขณา วรพงศ์พัฒน์(บุญแพงค่า ; เอ๊า)
เรื่อง มะละกอล้างตัวหวง
640127 มะละกอฮอลแลนด์ขึ้นเองที่สวนหลังบ้านเป็นต้นแรกมีต้นเดียว มีผลเยอะและลูกใหญ่มาก คอยเฝ้าดูทุกวันมานานกว่า 4 เดือนว่าเมื่อไหร่จะสุก จนวันนี้ก็ได้เด็ดลูกแรกออกจากต้น ในใจก็ลังเลว่าจะให้ที่พ่อแม่ได้ทานก่อนเปิดปฐมฤกษ์ พอดีมีธุระจะไปหาเพื่อนก็เลยเอาไปเป็นของฝากเพื่อนจะดีกว่า เพราะบนต้นก็ยังมีอีกหลายลูก
ทุกข์ : หวงมะละกอ
สมุทัย : อยากให้พ่อแม่ทานมะละกอลูกแรกที่เราดูแล
ลังเล จิตหวง ไม่อยากให้คนอื่นก่อน
นิโรธ : จะให้หรือไม่ให้พ่อแม่ได้ทานมะละกอลูกแรกก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ไม่ยึด ไม่ทุกข์
มรรค : ได้ฝึกเสียสละ แบ่งปัน ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้มะละกอไร้สารพิษ ได้ล้างพิษในใจตน จะได้ล้างตัวหวงของ ตัวขี้โลภจะเอาไว้กินคนเดียว บนต้นก็ยังมีอีกเยอะ เก็บกิน เก็บแจก ได้ฝึกตัวยอม ตัวให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเราปลูกเราต้องได้กินก่อน ยิ่งให้ ยิ่งได้ล้างกิเลส
ยินดี พอใจ สุขใจ
อริยสัจส่งพฤ. 28 มกราคม 2564
เรื่อง ไม่มีสัญญาณเน็ต
เนื้อเรื่อง ตื่นแต่ตีสองตั้งใจจะสะสางงานเอกสารที่คั่งค้างให้เสร็จ พอพิมพ์เสร็จจะส่งเข้าเมลล์ก็ส่งไม่ได้เนื่องจากไม่มีสัญญาณเน็ตในบ้าน ทั้งๆ ที่เปิดเน็ตไว้ จึงหยุดงานเอกสารไว้อ้อ คงเป็นมาตาลีเทพสารถีมาเตือนให้เราพักเข้าห้องน้ำเตรียมตัวมาร์ชชิ่ง ทำกายบริหาร และฟังธรรมไปพร้อมกับหมู่กลุ่มทางภูผาฟ้าน้ำ เมื่อถึงเวลาได้เปิดเครื่องอีกทีปรากฏว่ามีสัญญาณเน็ตเฉยเลย มันเกิดอะไรขึ้น งง
ทุกข์ ไม่ได้ดั่งใจ
สมุทัย(เหตุแห่งทุกข์) ถ้ามีสัญญาณเน็ตจะสุขใจ ถ้าไม่มีสัญญาณเน็ตจะทุกข์ใจ
นิโรธ(สภาพดับทุกข์) มีสัญญาณเน็ตก็สุขใจ ไม่มีสัญญาณเน็ตก็สุขใจ
มรรค(วิธีดับทุกข์) มันยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะที่ควร เมื่อไม่มีสัญญาณก็หยุดทำถ้าทำจะเสียหายต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ เพราะไม่ได้มาร์ชชิ่ง ทำกายบริหารและฟังธรรมร่วมกับหมู่กลุ่ม
เรื่อง ขี้เกียจทำการบ้าน
เหตุการณ์ :พออาจารย์ให้ทำการบ้านให้ส่งการบ้าน กิเลสก็บ่น ทำไมอาจารย์ต้องให้ส่งการบ้านด้วย
ทุกข์:ขี้เกียจไม่อยากทำการบ้าน
สมุทัย:ชอบที่ไม่ต้องทำการบ้าน ชังที่ต้องทำการบ้าน
นิโรธ:ทำการบ้านด้วยความยินดี เต็มใจ ตั้งใจ สบายๆ
มรรค: มาคุยกับกิเลสหน่อยค่ะ
มาร:โอ้ยๆ ทำไมอาจารย์ต้องให้ส่งการบ้านเนี่ย ที่ผ่านมาก็หนีการทำการบ้าน วิชาการทำมามากแล้ว มาทางนี้ยังต้องมาเจอการทำการบ้านอีก อยากมาบำเพ็ญสบายๆอ่ะ
เรา:อยู่บนความสบาย สบายจริงเหรอ แล้วไม่ทำการบ้านพ้นทุกข์แล้วรึ
มาร:เอ่อ…เอ่อ…ก็….
เรา:ทุกข์อดิ ตอบไม่ออกอะดิ เวลาทำตามอาจารย์สอน แล้วเป็นไง พ้นทุกข์ไหม สิ่งที่ท่านสอนมีค่าไหม พาพ้นทุกข์ไหม ตอบมา!!!
มาร: แฮ่ๆ ท่านพาทำอะไร พอทำตามท่านก็พ้นทุกข์มาเป็นลำดับทุกที
เรา:นั่นดิ แล้วไม่เชื่อท่าน ก็เนรคุณ อกตัญญูต่อท่าน อกตัญญูต่อศาสนา ชั่วต้องเชื่อแกว่างั้น ไม่…เชื่อแกทีไรนรกทุกที NO!!!!!
มาร:เฮ้ย…อะไร แค่ไม่ทำการบ้าน ถึงขนาดนั้นเลยเหรอ
เรา:เออ ไม่ใช่แค่นะโว้ย ดูผิดแล้วเว้ย อริยสัจ4คือทางพ้นทุกข์ เกิดเป็นคนถ้าไม่ทำสิ่งนี้ก็เสียชาติเกดิ เกิดมาทำไมว่ะ เกิดมาชั่วต่อ อกตัญญูศาสนาเลย พอกกิเลสไปๆๆๆหนาขึ้น ดื้อ ดักดาน โง่ด้วย อยากไปนิพพานแต่ฐานพอกแต่กิเลส!!! ขี้เกียจๆๆเกรงใจอยู่นั่นแหละ ถึงไม่พ้นทุกข์สักที แหมๆๆๆที่ทำชั่วขี้เกียจ ไม่เห็นเกรงใจเลย พอจะพาพ้นทุกข์มาตอแหลเกรงใจ ปัดโธ่!!!เลยดักดาน ช้านี่ไงไอ้มารชั่ว ถ้าไม่ทำใครจะรู้จักเธอ ใครจะช่วยเธอได้มาร
มาร:โห…เออๆๆๆ ทำก็ได้ งั้นทำคนเดียว เขียนไว้เยอะๆ ส่งเลยไม่ต้องบอกหมู่นะ
เรา:โง่แล้วไง หมู่มิตรดีคือทั้งหมดของการพ้นทุกข์ ท่านไม่ได้สอนสักหน่อยว่าทำคนเดียวพ้นทุกข์ ท่านให้คบและเคารพหมู่ มึงทำคนเดียวเขียนคนเดียว ส่งคนเดียว 555 มึงโตอะดิ โง่ด้วย ซวยด้วย เรื่องไร ไปเติมพลังกับหมู่ดีกว่า ส่งเข้าหมู่ดีกว่า
มาร :เดียวเขาว่าเกรง ส่งบ่อย
เรา :ใครว่า มึงดิว่า คิดเองเออเอง เกรงใจ แหมๆๆๆ ตอแหลอีกแระ หาทางออกจากหมู่เรื่อย แกไม่ทำหลบไป ข้าจะทำการบ้านเว้ย
…จากนั้นมารตัวขี้เกียจ ตัวเกรงใจ ก็สลายไป ยิ่งทำการบ้านยิ่งได้ปัญญาพาพ้นทุกข์ค่ะ
น.ส.พวงผกา โพธิ์กลาง
เรื่อง ตั้งกล้องช้า
เนื้อเรื่อง ถึงเวลาเข้ารายการถ่ายทอดสด หน้าที่ ที่ทำอยู่คือตั้งกล้อง วันนี้รู้สึกไม่รีบเหมือนไม่เอาภาระ จึงได้รับวิบากคือพี่น้องที่ร่วมทำรายการปรึกษากันว่าพร้อมแล้วที่จะเปิดรายการ ซึ่ง ตอนนั้นยังตั้งกล้องไม่เสร็จเลย รู้สึกขุ่นๆในใจ จะแจ้งหมู่ก็ลังแลจะแจ้งหรือไม่แจ้งดีเพราะเกรงใจ หมู่เอาไงเอาตามนั้น
ทุกข์ เพราะชังไม่ชอบเหตุการ์แบบนี้
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ เพราะหมู่กลุ่มถามแล้วตัดสินใจเร็ว ซึ่งตอนนั้นเรายังทำหน้าที่ไม่เรียบร้อยเลย
นิโรจ หมู่กลุ่มจะตัดสินใจเร็วหรือช้า เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค ยอมรับวิบากด้วยความเต็มใจ เพราะสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา คราวหน้าเราต้องมาเตรียมจัดเก้าอี้ตั้งกล้องให้เร็วกว่านี้
กิเลสดีใจ
นาฬิกาปลุกตอน 3.30น ตื่นมาไฟดับ กิเลสแอบดีใจ แนะ! มันบอกว่าดีจังจะได้นอนต่อ อากาศหนาว ยังไม่ได้ห่มผ้าเลย นอนต่อดีกว่า ตื่นเช้ามาหลายวันแล้ว วันนี้ได้พัก เย้ๆ
ดูสิมันชั่วมากขนาดไหน หันกลับไปคุยกับมันคะ
: เฮ้ย! ไอ้ชั่ว ไอ้บ้า คิดแบบนั้นได้อย่างไง ยังมีคิดแบบนี้อีกหรือ ชั่วสุดๆเลย
ไม่ ไม่ ไม่ ฉันจะไม่หลับแล้ว
: มันมืดจะทำอะไรได้
: ฉันจะกดจุดในมุ้ง พร้อมกับฟังธรรมกับวิทยุก็ได้
กดจุดลมปราณ จุดเทียนไข ฟังธรรมะ พร้อมทำกับข้าวต่อ
: เฮ้ย!ทำไมครั้งนี้ไม่ทำตามนะ
: ทำตามมาหลายหลายปีแล้ว เห็นไหมทุกข์แทบตาย
ทุกข์ ตกใจที่ ใจที่คิดชั่ว
สมุทัย ใจคิดชั่วก็ทุกข์ใจ ใจคิดดีก็สุขใจ
นิโรธ ใจจะคิดดีหรือไม่ดีก็สุขใจ
มรรค วิปัสสนาเมื่อคิดแบบกิเลส มันทุกข์ ป่วย วุ่นวาย เยอะไปหมด มาคิดแบบพุทธะสิ อาจารย์ท่านยิ่งเน้นยิ่งย้ำเตือน อยู่ข้างนอกอยู่ห่างหมู่ระวังตัวดีๆนะ ทำคนเดียวไม่รอดนะ แล้วจะชักช้านอนอยู่อีกใช่ไหม ตอนนี้ต้องวิ่งมาราธอนแล้ว เริ่มต้นที่เรา นับหนึ่งที่เรา ทำเต็มที่ สุขเต็มที่ ตื่นเต็มฟังธรรมด้วยใจเป็นสุข กิเลสหายไปตั้งแต่เปิดฟังธรรมะแล้ว
ขอบคุณที่ไฟดับที่ทำให้เห็นกิเลสตัวนี้ สำนึกผิดจริงๆแต่ก่อนชอบนักเรื่องนอน เผลอไม่ได้เอาแต่นอนไม่ทำงาน ดีแล้วจะได้มีเวลามากขึ้น..สาธุ
ตัดสินใจผิด
พาแม่ไปรับยาที่โรงพยาบาล ปกติแม่กินยาขนาด 10 มิลลิกรัม เช้าและเย็น ความจำของแม่ไม่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้แย่ลง ยังสามารถที่จะทำกิจวัตรของตัวท่านเองได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ปุ้ยก็ไม่อยากจะไปโรงพยาบาลบ่อยๆ จึงขอยาคุณหมอ 3 เดือน ปุ้ยบอกกับหมอว่า ให้แม่กินยาเช้ากับเย็น ตอนครั้งแรกกินแค่เช้าอย่างเดียว แต่อาการของแม่ก็ยังไม่ดี ปุ้ยปรับให้แม่กินยา2 เวลา หมอก็เลยแนะนำว่าเอายาตัวนี้ไปซิ ปกติปุ้ยจะจ่ายเงินค่ายเม็ดละ 79 บาท 10 มิลลิกรัม 2 เม็ด ก็ 158 บาท หมอก็แนะนำว่าเอายาตัวนี้ไปกินแค่เช้าอย่างเดียวไม่ต้องกินเย็น เพราะเป็นยา 23 มิลลิกรัม ราคา 115.- บาท ถูกกว่าด้วย ปุ้ยก็เลยตกลงเอายาตัวใหม่มา คือไม่ได้ถามแม่ว่าแม่จะกินไหม ตัดสินใจแทนท่านทั้งหมด ระหว่างทางซื้อขนม ข้าว ให้แม่กินในรถ ถึงบ้านประมาณเกือบบ่ายโมง ปุ้ยให้แม่กินยาตัวใหม่ 23 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุกครั้งที่หมอให้ยาหมอก็จะถามว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวไหม ก็บอกหมอไปว่าไม่มีคะ ตอนประมาณ5 โมงเย็นปุ้ยกำลังตัตต่อข่าวให้ทางไพศาลี พ่อโทรมาบอกว่าแม่อาเจียน เวียนหัว จึงรีบกลับบ้าน ระหว่างทางก็ดูใจตัวเอง รู้สึกผิดที่ทำให้แม่เป็นแบบนี้ พาแม่ไปหาหมอที่ รพ.ใกล้บ้าน แม่พูดไม่เหมือนเดิม จำปุุ้ยไม่ได้ บางทีก็จำไม่ได้ ปุ้ยรู้สึกได้ถึงควาามกังวลในใจ หมอที่รพ.ฉีดยาแก้แพ้มาให้ รู้สึกแม่ดีขึ้น ระหว่างทางเปิดไลน์ห้องฟังชากดกและบททวนธรรมให้แม่ฟังด้วย แม่ท่องตามไปเป็นบางคำ แม่รู้สึกสดชื่นขึ้น ปุ้ยรู้สึกดีขึ้น
ทุกข์ใจ ไม่สบายใจที่ให้ยาตัวใหม่แม่กิน
สมุยทัย ถ้าแม่กินยาตัวเก่า แล้วแม่มสบายดีจะสุขใจ ถ้าแม่กินยาตัวใหม่แล้วไม่สบายก็ทุกข์ใจ
นิโรธ แม่จะกินยาตัวเก่าหรือตัวใหม่ก็สุขใจได้
มรรค ก็พิจารณาเรื่องวิบากกรรม สิ่งที่เราได้รับคือผลจากการกระทำ แม่แพ้ยาแค่นี้ก็ดีแล้ว ดีกว่าแม่ป่วยแบบอื่น เราเป็นกังวลแม่ก็ไม่ได้หาย แล้วเราจะทุกข์ไปทำไม ความกังวลของเราไม่ได้ทำให้แม่ดีขึ้นมีแต่จะทำให้ท่านแย่ลง ถึงแม้เราจะเลือกกินยาตัวเก่า ถ้าวิบากกรรมให้ผล แม่ก็ต้องไม่สบายในแบบอื่นอยู่ดี โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดไปอีกแล้ว ได้ชดใช้วิบากกกรมเก่า สิ่งดีก็จะเกิดขึ้นได้มาก
เจ็บแทนลูก
วันที่ 27 มค 64 ปกติวันพุธจะเป็นวันพักเข้าสวนของลูก แต่บังเอิญมีการขุดสระ ลูกเลยเข้ามาด้วยเพื่อความปลอดภัย ได้ซื้อมีดเคียวมาใหม่ ห่อมาอย่างดี ลูกใช้แรงดึงอย่างแรง หลุดออกพร้อมมีดบาดนิ้วผ่านถุงมือ เลือดเยอะมาก เห็นกระดูกขาว ใจหาย ตกใจ
ทุกข์ ลูกเจ็บโดนมีดบาดนิ้ว
สมุทัย ถ้าลูกไม่บาดเจ็บจะชอบใจ ลูกบาดเจ็บจะไม่ชอบใจ
นิโรธ ลูกจะบาดเจ็บหรือไม่บาดเจ็บก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง วิบากใครคนนั้นต้องรับ ลูกจะอยู่ที่บ้านอยู่ที่สวนหรืออยู่ที่ไหนๆถ้าวิบากมาก็ต้องรับทั้งสิ้น ไม่มีใครหนีพ้นได้แม้แต่พระพุทธเจ้า แล้วลูกเราเป็นใครที่จะไม่รับ รับแล้วก็หมดไป ก็จะโชคดีขึ้น รับเต็มๆหมดเต็มๆ
จริงๆลูกไม่กังวลเลย แม่ลูกไม่เป็นไรครับ เจ็บไม่มาก
: ถามเขาใช้วิธีของแม่ไหม?
: ลูกจะไปรพ.ก่อนแล้วค่อยมาใช้น้ำฉี่ได้ไหม
ไปโรงพยาบาล เย็บแผลมา 4เข็ม
ลูกยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่ เขาก็ต้องใช้แบบพุทธะเลยไม่ได้ ต้องเอาศีลมาแลก ก็เรายังใช้ทางแผนปัจจุบันตั้งนาน
เรื่องใจเมื่อเห็นลูกไม่กลัว พลังนั้นส่งมาถึงแม่เพิ่มอีกมหาศาลเลย เห็นพลังสันนิทานชัดเจน ใจไม่กังวลหายไปตั้งแต่ก่อนออกจากสวนอีก
ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจจริงๆ….สาธุ
ไฟเขียวตลอด
3 หลายเดือนไม่ได้ทำงานนอกบ้าน จึงมีเวลามากอยู่กับมือถือ คุยกันในไลน์ ,ซูมกับพี่น้องหมู่กลุ่ม เล่าสภาวธรรม, ทำการบ้านด้วยกัน ซึ่งพ่อบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร ตอนแรกก็มองซ้ายมองขวาอยู่บ้าง จนคิดว่าไฟเขียวตลอด วันอาทิตย์ที่ผ่านมาเข้าไปดูการทำงานแก้งานกับพี่น้องหลายชั่วโมง พ่อบ้านมาชวนออกไปเดินสูดอากาศ เราก็ไม่รีบวางทันทีเพราะกำลังจะเสร็จกันแล้ว เห็นท่านชำเลืองมองมาอีกจึงขอจบ.ออกไปเดิน และก็เพิ่งรู้สึกท่านอารมณ์ไม่ค่อยดี ท่านบอกว่าจะไม่ไปไกลนะเพราะหิมะตกเมื่อคืนกำลังละลายทางเดินแฉะต้องเดินระวังลื่น แต่ก็เดินคุยกันไป ประมาณ 30 นาที เริ่มหนาวแขน บอกว่าเย็นนะนี่ขนาดใส่เสื้อผ้าหนาแล้วนะ ท่านก็คิดว่าจะเราอยากกลับบ้านจึงตอบน้ำเสียงเปลี่ยนไป งั้นกลับบ้านก็ได้..ถ้าเธอหนาว (บอกให้ฟัง ) เดินต่อไป แต่การเดินไปต่อทำให้ท่านยิ่งอารมณ์มากกว่าเก่าอีก มีต่อภาค2 >>>
ทุกข์ :ใจไม่แช่มชื่นเล็กน้อย ที่เห็นอาการของพ่อบ้าน
สมุทัย : ไม่ชอบที่พ่อบ้านเข้าใจผิดว่าเราจะกลับบ้าน ชอบ-ที่พ่อบ้านจะไม่เข้าใจผิด
นิโรธ : วางใจ เบิกบานใจ ไม่ชอบ ไม่ชัง แม้พ่อบ้านจะเข้าใจผิด
มรรค : พิจารณา ไตร่ตรอง เรารู้ก็อยู่ว่าวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัวเป็นวันเดียวที่พ่อบ้านว่าง แต่เรายังเผลอลืมระวัง คิดว่าไม่เป็นไรเราก็อยู่ในบ้าน แต่ก็ไม่พูดคงจะเก็บไว้นานแล้ว วันนี้จึงได้เห็น แต่ว่าดีแล้วที่ท่านมีอาการออกมาบ้าง
ได้มาคุยกับลูก ๆ บอกว่าพ่อคิดว่าแม่อยากจะกลับมาอยู่กับมือถือ ก็ขอบคุณลูกที่บอกให้รู้ว่าท่านคิดอะไร แต่ไม่กล้าพูดตรงกับเรา จึงได้กราบขอโทษขออภัย ท่านก็ให้อภัย แต่บอกยังมีท่านอยู่ในบ้านด้วยนะ แต่ก็เข้าใจความรู้สึกพ่อบ้านอาการเช่นนี้เมื่อก่อนเราก็เคยเป็น .
ข้าพเจ้าน้อมรับมาปรับปรุงตัวใหม่ตอนเช้า -เย็น หรือวันอาทิตย์ ถ้าไม่จำเป็น จะไม่คุยกับพี่น้องจะมีเวลาให้พ่อบ้าน และไม่ถือสาท่านจะว่าอะไร เพราะยังมีวิบากคนคู่อยู่.
กราบสาธุค่ะ.
ทุกข์เพราะโดนทักว่าผอมลง
อาทิตย์ที่แล้วไปเจอเพื่อนมา เพื่อนทักว่าผอมและซูบลง เราก็รีบร้อนอธิบายเต็มที่ว่า กินเยอะแล้ว แต่งานยุ่งมากเลยน้ำหนักลงไป 2 กิโล ระหว่างที่ปากกำลังอธิบายอยู่ สมองก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า อ้าวไปอธิบายทำไม ก็มันผอมลงไปจริงๆ น้ำหนักลงไปภายใน 1 อาทิตย์ เพราะเราทำงานหนัก มีภาระงานเยอะต้องเคลียร์ให้เสร็จ เวลาพักผ่อนก็น้อยลง ก็ยอมรับซิ จะไปชังคำทักของเพื่อนทำไม
ทุกข์ กังวลกลัวที่เราผอมลงแล้วเพื่อนก็สังเกตเห็น พอเพื่อนทักก็ไม่สบายใจ
สมุทัย มีตัณหาอยากได้ดั่งใจ ชอบถ้าจะไม่โดนทักว่าผอมและซูบลง ชังถ้าโดนทักว่าผอมและซูบลง
นิโรธ จะโดนทักว่าผอม ก็ไม่ทุกข์ ไม่ต้องชอบ ไม่ต้องชัง
มรรค เพราะเราเห็นโทษของกิเลสที่มาหลอกให้เรากังวล รีบเร่งอธิบายออกไป ยังดีที่เราจะจับได้ทัน ว่ากิเลสมาปรุง มาทำให้ฟุ้ง เราต้องขอบใจเพื่อนคนนั้นที่มาทักเราด้วยซ้ำ ที่ทำให้เราได้เห็นกิเลส ได้ใช้วิบากกรรมที่เราเคยไปทัก ไปชังคนอื่นที่เค้าอ้วนหรือผอม และมาทำให้เราได้ปรับสมดุลร่างกายใหม่
เรื่อง ท่อน้ำหลุด
ตั้งใจดูดน้ำในสระมาใช้รดพืชผักในสวน แต่พอเปิดปั้มดูดน้ำ ท่อสำหรับส่งน้ำเกิดหลุด ทำให้ไม่สามารถส่งน้ำได้
เกิดอาการไม่ได้ดั่งใจ พอรู้ตัวก็ปรับใจใหม่ เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง ปรับวิธีการใหม่ เมื่อใช้ปั้มดูดไม่ได้ เราก็ปรับเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นๆ ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์
ทุกข์:ความไม่ดั่งใจ ทุกข์ใจ
สมุทัย:ยึดว่าปั้มต้องดูดน้ำขึ้น ถ้าปั้มดูดน้ำขึ้น ก็จะได้ดั่งใจ สบายใจ แต่ถ้าปั้มดูดน้ำไม่ขึ้น ก็จะไม่ได้ดั่งใจ ไม่สบายใจ
นิโรธ:ปั้มจะดูดน้ำขึ้นหรือไม่ขึ้น เราก็สบายใจ
มรรค:ปล่อยวางควมยึดมั่นถือมั่น แล้วลงมือทำให้ดีที่สุด ต้องพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยน เมื่อใช้ปั้มไม่ได้ เราก็ใช้วิธีอื่นๆเช่นใช้ถังฉีด ใช้บัวรดเป็นต้น ปัญหาและอุปสรรคไม่เคยหมดไปจากโลก แต่ทุกข์ที่อยู่ในใจเท่านั้นที่หมดไปจากเราได้(บททธ.ข้อ51) ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้”จึงจะได้”ทำความจริงที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรต้องทุกข์(บททธ.ข้อ75) ความยึดมั่นถือมั่นจะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์(บททธ.ข้อ76) จงเบิกบาน เบิกบาน และเบิกบาน จงเบิกบานอย่างเป็นอมตะธรรม(บททธ.ข้อ85) สาธุ
ส่งการบ้านอริยสัจ๔
น.ส.จาริยา จันทร์ภักดื
จิตอาสาสุราษฎร์ธานี สังกัดสวนป่านาบุญ๒ ชะอวดนครฯ
รหัสนศ.6012007003
เอาเสื้อดำให้ช่างใส่ซิบปรับเป็นเสื้อกั๊กอ.ส.ม.พร้อมปักโลโก้พร้อมกับจ่ายค่าแรงครบเวลาผ่านมา6-7เดือนยังไม่เส็จช่างอ้างว่าเสื้อหายหาไม่เจอ เค้าบอกว่าจะชื้อผ้าแทน เราเห็นใจช่าง เลยเอาเสื้อดำอีกตัวมาให้ทำใหม่ก็ทำไม่ทันอีกช่างเขาคืนผ้าให้เราไปทำที่ร้านอื่นส่วนค่าแรงเขายังไม่มีเงินที่จะใเรา เลยวางใจเราเคยมา เราทำมากกว่านี้
เรื่องเสื้อกั๊ก
ทุกข์ : ไม่ได้รับเสื้อตามกำหนด
สมุทัย : อยากให้ช่างทำเสื้อกั๊กทันกำหนด
ชังที่ช่างทำเสื้อไม่ทันเวลากำหนด
ชอบให้ช่างทำเสื้อใด้ตามกำหนด
นิโรธ : ช่างจะทำเสื้อกั๊กให้ทันกำหนดหรือไม่ทันกำหนดก็จะไม่ทุกข์ใจ เพราะได้ทำใจพร้อมปรับพร้อมเปรี่ยนไว้แล้ว
มรรค : วางใจได้โดยเราทำเต็มที่แล้ว ในเมื่อเสื้อกั๊ก เขาทำให้เราไม่ทันการณ์ เราก็ต้องทำใจ หน้าที่ไปร่วมคัดกรองโควิด19ที่แยกอ.บ.ต.เส้นทางนี้รถจะผ่านบ่อกุ้งเลยเป็นจุดคมเข้ม นับว่าโชคดีที่อจ.หมอเขียวพาลดกิเลสได้ตามลำดับเลยได้มีวิชา ดับทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจทุกครั้งให้ได้ แล้วมันจะมีทุกข์อะไรที่เราดับไม่ได้ เลยเบิกบานบนถนนท่ามกลางแดด ได้วิตามินดีและดำทำให้ร่างกายเข็งแรง สร้างภูมิ ตั้งตนอยู่บนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่งสาธุค่ะ
สังกัดสวนป่านาบุญ2
เรื่อง หม้อทำน้ำสกัดทะลุ
เหตุการณ์ ขณะต้มน้ำสกัดย่านางอยู่ที่ครัว ได้ไปบรรจุน้ำมันเขียวใส่ขวดอยู่ที่ร้านค้า จนลืมไปว่าต้มน้ำสกัดย่านางอยู่ พอนึกได้ก็รีบมาที่ครัว แต่ช้าไปกลิ่นไหม้ออกมาต้อนรับแล้วก็รีบปิดแก็ส รออยู่สักครู่เปิดหมอเอากากย่านางออกจากหม้อ คิดว่าหม้อหายร้อนแล้วลืมไปว่าสแตนเลสคายความร้อนช้าก็เอาน้ำใส่เพื่อขัดหม้อจะได้ต้มหม้อใหม่ต่อ แต่พอใส่น้ำก็ได้ยิเสียงว่าหม้อยังร้อนอยู่ก็ไม่ได้คิดอะไรขัดหม้อจนเกลี้ยง ก็ใส่น้ำเพื่อต้มใบย่านาง พอติดไฟก็ได้ยินเสียงน้ำหยดใส่ไฟก้มดูก็รู้ว่าหม้อทะลุ ก็รู้สึกเสียใจเพราะยึดว่าหม้อต้องไม่ทะลุ
ทุกข์ เสียใจที่ทำหม้อน้ำสกัดทะลุ เหลือหม้อเดียวจะทำได้ช้า ใบย่านางมีอีกเยอะ
สมุทัย ชังที่หม้อทำน้ำสกัดทะลุ ถ้าหม้อไม่ทะลุได้ทำพร้อมกัน2หม้อทำเสร็จเร็วจะพอใจ
นิโรธ หม้อจะทะลุไป1ใบ เหลือหม้ออีกใบก็ทำไปเรื่อยๆใจไม่ทุกข์
มรรค ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น เราไม่ได้ตั้งใจทำให้เสียหาย เราทำดีแล้วผิดพราดกันได้ หม้อใบนี้ใช้มาเกือบ10ปีแล้ว ไหม้มาหลายครั้งแล้ว อยู่รอดมาถึงวันนี้ก็ดีแล้ว ถึงเวลาซ่อมก็ต้องยอม ไม่ต้องเสียใจต้องทำทั้งงานนอกงานในทำด้วยใจเป็นสุขก็นึกถึงบททบทวนธรรมข้อ76ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงานความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของงาน ทำด้วยใจไร้ทุกข์ ทำด้วยใจยินดี มีผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา
สรุปว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น(ข้อ89)
เรื่อง ทุกข์ที่ไปยึด
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 รู้สึกว่าตัวเองผมยาวแล้ว ก็เลยไปร้านตัดผม ไปวันแรกร้านปิด
ก็เลยกลับบ้าน อีกวันไปใหม่ ร้านก็ปิดอีก คราวนี้เกิดทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย อยากตัดผมแล้วไม่ได้ตัดผม
ทุกข์ : ทุกข์ที่ อยากตัดผมแล้วไม่ได้ตัด
สมุทัย : อยากตัดผมแล้วไม่ได้ตัด เกิดความไม่ได้ดั่งใจ
นิโรธ : ในระหว่างที่กลับบ้าน วางใจได้ว่าไม่เห็นว่าต้องได้ตัด จะตัดวันนี้หรือวันไหนก็ได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าได้ตัดผมวันนี้แล้วเป็นสุข หรือ ไม่ได้ตัดผมวันนี้แล้วจะเป็นทุกข์
มรรค : หลังจากที่เราไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าจ จะได้ตัดผม หรือ ไม่ได้ตัดผมแล้ว ทำให้เรารู้สึกเบิกบานใจ ไร้กังวล
ถูกตำหนิ เพราะไม่ส่งการบ้าน
ตั้งแต่ธันวาคม ปี 63 นักศึกษาวิชชาราม ภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีการประชุมทางไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom ตกลงกันว่า “การบ้านอริยสัจ 4” ชวนกันทำเป็นทีม ใครถนัดด้านใด ช่วยกันตามความสามารถ แบ่งกันบำเพ็ญ จนถึงวันที่ 20 มกราคม 64 ผ่านไปประมาณกว่า 3 สัปดาห์ ทุกคนต่างก็มีฉันทะ วิริยะ ยินดี พอใจ ตั้งใจมุ่งมั่น ทุ่มเทเวลา เสียสละ แรงกาย แรงใจ เกิดความเจริญในธรรมของหมู่กลุ่มตามลำดับนั้นคือ ทุกคนได้ลดอัตตา ลดกิเลส สำหรับตัวเองทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน ช่วยตรวจและช่วยส่งการบ้านของเพื่อนๆ ให้ในไลน์กลุ่ม “โรงเรียนของหนู” เพื่อนๆ หลายคนต่างก็ช่วยกันตรวจการบ้าน ช่วยอ่าน ช่วยผ่าตัดกิเลสให้ได้เห็นกันชัดๆ ช่วยปรับแก้ ก่อนส่งผ่านระบบออนไลน์ มีคนเขียนได้ 10 เรื่อง/สัปดาห์ แต่ตัวเองมีความเกรงใจเพื่อนที่เห็นเขาตรวจการบ้านคนอื่นๆ ทั้งกลางวันกลางคืน จึงไม่ได้ส่งการบ้านให้เพื่อนช่วยตรวจ ก็เลยถูกตำหนิเต็มๆ หลายเรื่อง ถูกด่ากิเลสอย่างแรง จึงรู้สึกผิดมาก สำนึกผิด ขอโทษ ในที่สุดก็ได้ส่งการบ้านให้เพื่อนช่วยตรวจ เพียงเรื่องเดียว
ทุกข์ : ยึด เกรงใจ คิดเอาเอง กังวล กลัวว่า เพื่อนไม่มีเวลาตรวจการบ้านให้เรา
สมุทัย : ยึดติดกับความคิดที่ว่า ถ้ามีความเกรงใจ นั้นถูก นั้นดี ถ้าไม่เกรงใจ จะไม่ดี กังวล กลัวว่า เพื่อนไม่มีเวลา
นิโรธ : วางใจว่า ส่งการบ้านให้เพื่อนช่วยตรวจก็ได้ ไม่ต้องเกรงใจ ไม่ส่งก็ได้ สบายใจ ไร้กังวล ไม่ทุกข์
มรรค : พิจารณาใคร่ครวญทบทวนสิ่งที่เราทำมา ควร-ไม่ควร ถูก-ผิด เหมาะ-ไม่เหมาะ จึงนำคาถาดับทุกข์จากคำภีร์ชีวิตพาพ้นทุกข์ ที่อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน กลั่นออกมาจากพระไตรปิฏก บทททธ. บทที่ 8 คือ “สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา” เพราะเราเคยตำหนิคนอื่นๆ มามาก หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ททธ. บทที่ 22 “ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ เต็มใจรับโทษ ขออโหสิกรรม” ตั้งใจส่งการบ้านให้เพื่อนช่วยตรวจ ททธ.บทที่ 87 “ยึดแล้วโง่ ยึดทำไมโง่เท่าที่ยึด” ทั้งๆ ที่รู้ว่า “ความเกรงใจ” เป็นตัวกิเลสมารร้าย เกรงใจทำไม กังวลอะไร กลัวทำไม ตรงกับ ททธ. บทที่ 107 “กลัว ชั่ว ทุกข์ คือ โง่” กิเลสมันยังเถียงต่ออีกว่า การบ้านของเราไม่ต้องให้เพื่อนตรวจก็ได้ ให้โอกาสคนอื่นก่อน คิดเอง คาดเดาเอง ยังจะประมาณผิดอีก ถ้าไม่ถูกตำหนิตรงๆ แรงๆ เช่นนั้น ก็ยังโง่กว่ากิเลสเหมือนเดิม ขอบคุณเพื่อนมิตรดี ที่ช่วยขุดคุ้ย ดันกิเลสมารร้ายหลายตัวออกมา คือ ตัวยึด เกรงใจ กังวล กลัว กิเลสแต่ละตัว เมื่อถูกด่าแรงๆ มันก็ดิ้นๆ มันละอายจนมันทนไม่ได้ กระเด็นหายไปทันที ในที่สุดก็เกิดจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ขึ้น จึงรู้สึกว่า มีความ “ว่าง” เกิดขึ้นในจิตในใจทันที สว่าง ปลอดโปร่ง โล่ง เบา สบายใจ ไร้กังวล ไม่ทุกข์
เหตุการณ์ ได้ยินเสียงดังอยู่ข้างบ้านจำได้ว่าเป็นเสียงของตาน้องของย่าได้ยินเสียงพูดว่าจะเอานุ่นเอานี่เวลาเค้ามาก็จะเอาที่เอาได้กลับบ้านอยู่แล้วโดยส่วนใหญ่เราและน้องจะเป็นฝ่ายเอาให้เองอยู่แล้วถ้ามีอะไรที่พอจะแบ่งได้ได้ยินแบบนั้นเราก็นอนฟังไปยิ้มไปคิดว่าจะเอาอะไรก็เอาเลยเราก็นอนฟังไปเรื่อยๆจนได้ยินเสียงเรียกน้องเราเลยออกไปด้วยเห็นว่าเค้าหาเลื่อยจะตัดกิ่งท้อที่น้องตอนเอาไว้กิ่งท้อมีสองกิ่ง กิ่งหนึ่งไม่มีลูกอีกกื่งมีลูกเกือบจะสุกแล้ว
เค้าจะตัดกื่งที่มีลูกเพราะอีกกิ่งรากยังไม่แก่
ตอนนั้นรู้สึกไม่อยากให้ตัดเพาะเสียดายลูกท้ออยากให้สุกแก็บได้ก่อนแล้วค่อยตัด
ทุกข์ รู้สึกเสียดายลูกท้อถ้าตัดตอนที่ลูกยังไม่สุก
สมุทัย ถ้าเค้าตัดเราจะทุกข์ใจถ้าเค้าไม่ตัดเราจะสุขใจ
นิโรธ เค้าจะตัดหรือเค้าจะไม่ตัดเราก็ต้องสุขใจให้ไดั
มรรด เห็นความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นล้างวามยึดม่นถือมั่นเพราะกิเลสมันหลอกให้เราทุกข์ ไปยึดว่าต้องให้ลูกมันสุกก่อนแล้วค่อยตัดเพราะปกติเวลาลูกท้อสุกใครจะมาเก็บก็ได้ ในเมื่อจะให้อยู่แล้วเค้าจะเอาไปตอนใหนก็ไม่ต่างกันไม่ยึดก็ไม่ทุกข์
ชื่อ: น.ส ชาลี มากแก้ว ชื่อทางธรรม: พรเพียรดี จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2 เรื่อง : “แม่คับปู่ให้เล่น”
หน้าบ้านเป็นถนนลูกรังมีหลุม พอฝนตกแต่ละครั้งจะมีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด ในซอยนี้จะมีรถวิ่งเช้าออกอยู่ทุกๆวัน(รถส่งพัสดุ)จนหลุมเป็นขี้โคลนถ้าฝนไม่หยุดตกจะมีน้ำขังอยู่ตลอดเป็นอาทิตย์ พอน้องศีล(ลูกชายอายุ 4ขวบ)ก็จะเอารองเท้าโยนไปในหลุมแล้วก็ใช้ไม้เขี่ยรองเท้าบางหล๊ะ บางทีก็เอาขาแตะน้ำ บางวันก็จะลงไปยืนอยู่ในหลุม(อยากลงเล่นน้ำ) แม่ก็ห้ามตลอด บางวันขอเล่นน้ำในหลุม แม่ไม่อนุญาติให้เหตุผลว่า ขาเปื่อยอยู่และแผลใกล้จะหายแล้ว (มีแผลอยู่3แผลที่ขา)ถ้าลงไปเล่นน้ำแผลจะเป็นมากกว่าเดิม เค้าก็ยอมฟังเหตุผล พอเช้าวันถัดไปเดินลงมาจากบ้านไปกับปู่สร้างหายไปแม่ไปตามเห็นนอนเล่นอยู่ในหลุม พอเห็นแม่เดินไปหารีบตะโกนบอกทันทีว่า ” แม่คับปู่ให้เล่น”
ทุกข์: กลัวว่าขาน้องศีลกลับมาเปื่อยพุพองมากกว่าเดิมอีก
สมุทัย: จะรู้สึกสุขใจถ้าขาน้องศีลหายเปื่อย จะทุกข์ใจถ้าขาน้องศีลเปื่อยมากกว่าเดิม
นิโรธ: น้องศีลขาจะเปื่อยมากกว่าเดิมเราต้อง ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ยึด เปื่อยก็รักษากันต่อไปด้วยใจที่เบิกบาน
มรรค: รู้ตามหลักความเป็นจริงเด็กกับน้ำ มันของคู่กัน เรายิ่งห้ามเค้ายิ่งอยากทำ แวปแรกเห็นเค้านอนเล่นอยู่ในหลุมแบบสนุกสนานชอบใจ ทำให้เราตรวจจิตตัวเองทันทีที่จะเปล่งเสียงออกมาว่าหรือโกรธเค้า ล้างความยึดมั่นถือมั่นในใจของเรา ให้เค้าเรียนรู้ด้วยตัวเค้าเองเล่นให้เต็มที่ เราต้องอยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน อนาคตยังมาไม่ถึงไม่ต้องไปคิด ปล่อยวางถ้าจะเปื่อยอีกก็รักษากันต่อไปเต็มที่
แม่ก็ผาสุก น้องศีลก็นอนเล่นขี้โคลนอย่างสนุกสนาน จิตผ่องใสกันทั้งแม่และลูก..
ขอส่งการบ้านค่ะ@น้องขวัญ
ช่ีอ นางโสภา หนำคอก(sopa nhumkok) อายุ65ปี
จิตอาสาสวนป่านาบุญ2ชะอวด
อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
เรื่อง .ไฟดับ
เหตุการณ์ . ได้สั่งซื้อชุดโคมไฟโซล่าเซล2000W จากเพจหนึ่งมาจำนวน2ชุดในราคาชุดละ1239บาท นำมาทำการติดตั้งผลคือติดดีใช้งานได้จริงไฟสว่างในระดับหนึ่งเวลาผ่านไป1สัปดาห์ เหลือไฟที่ติดดีอยู่ชุดเดียวอีกชุด ดับสนิท น้องชายมาทัก ลูก มาทักบอกว่ามันคงเสียแล้วแหละ แต่ใจเราเฉยๆเพราะคิดว่าเดี่ยว มันคงติดเอง เพราะอีกชุดมันยังติดอยู่เลย ผ่านไปหลายวัน มันยังคงดับสนิทอยู่ ใจเริ่มสับสน ตกลงมันยังดีอยู่หรือเสียไปแล้วตามที่หลายคนทัก
ทุกข์. ใจเริ่มสับสน เพิ่งซื้อมาของยังใหม่ๆอยู่ เริ่ม โมโห โกรธ เพ่งโทษคนขาย
สมุทัย. ยึดว่า ถ้าไฟติดดีจะชอบ ไฟไม่ติดจะชัง
นิโรธ . ไฟจะติด หรือไม่ติด ก็สบายใจ ไม่ชอบไม่ชัง เพราะใจเรายังสว่างอยู่
มรรค. ปล่อยวางได้ เมื่อมาพิจารณาตามบท ทบทวนธรรม ว่าทุกอย่างในโลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ
ทุกอย่างมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ชีวิตคนเรายังเกิด ดับ เกิด ดับ ของใช้ทุกอย่าง ถ้ามันดีหมด ไม่มีเสียเลย ขยะคงล้นโลกไปแล้ว ทำใจยอมรับความจริง ตามจริง โล่งใจ ไม่คาใจ สุดท้ายส่งคลิปไปให้ทางร้านดู เขาส่งชุดใหม่ มาให้แทน พร้อมคำขอโทษ จบด้วยดีค่ะ(ความจริงมันจบตั้งแต่เราวางใจได้แล้ว)
การบ้าน สาคร รอดรัตน์(ป้าหนุ่ย) สังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ตั้งใจ ปิดสติ๊กเกอร์ เหตุการณ์ : รับงานช่วยปิด สติ๊กเกอร์ ขวดน้ำมันเขียว โดยเขียนลงวันที่ผลิตในแผ่นสติ๊กเกอร์ก่อน คิดว่าตั้งใจทำให้ดี มีสมาธินะอย่าเผลอ เขียนให้พอดีกับขวดจะได้ไม่เสียของ เสียเวลา จึงแยกไว้ กันเผลอ เหลือประมาณ เกือบร้อยขวด ได้เวลาไปทำกับข้าวกินก่อน ช่วงบ่ายรีบมาทำต่อให้เสร็จจะไปทำธุระอีก ไม่ทันดูให้ดีปิดขวดไปหกขวด วิบากร้ายเข้าผิดจนได้ ตั้งใจมากไป รีบจนไม่มีสติ
ทุกข์: ปิดสติ๊กเกอร์ผิด
สมุทัย: ชอบถ้าปิดสติ๊ก สติ๊กเกอร์ไม่ผิด ชังถ้าติดสติ๊กเกอร์ผิด
นิโรธ: จะปิดดสติ๊กเกอร์ผิดก็ได้ไม่ผิดก็ได้ วางใจ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค: สังวรไว้ว่า จะปิดสติ๊กเกอร์ ผิดก็ได้ไม่ผิดก็ได้ รีบไปก็ไม่มีประโยชน์ทำให้งานเสียหายต้องวางใจต้องปรับใจตัวเองให้มีสติมากกว่านี้ ทำดีเต็มที่
เหนือความเก่งคือวิบากร้ายจงอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุขให้ได้
ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ
เรื่อง ถอดเทป ถอดทุกข์
เนื่องจาก ตัวเองได้อาสาบำเพ็ญถอดเทป จากที่อาจารย์บรรยาย ประชาสัมพัน์หนังสือบททบทวนธรรมและหนังสือต่างๆ เราก็อาสาขอร่วมบำเพ็ญหนึ่งคลิป ก็ดูตอนแรกมีสองคลิปเราก็เลือกที่จะถอดเทปคลิปที่หนึ่ง ก็เลื่อนดู แต่พอจะกดไปทำเราไม่ได้ดูว่าเป็นคลิปที่เราเลือกรึเปล่า ตกลงว่าเราไปทำเอาอีกคลิปนึงที่ไม่ได้เลือกไปประมาณเกือบ 5 นาทีแล้ว
ก็เอะใจว่าคลิปนี้มันยาวอยู่นะ ก็ออกไปดูใหม่ตกลงว่าคนละคลิปกับที่เราเลือกที่จะทำจริงๆด้วย และกิเลสมันบอกว่า แหม..เสียดายจังทำมาตั้งเกือบ5 นาทีแล้ว เพราะกิเลสมันอ้างว่าการทำของเรามันอยากนะเพราะเราไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้แค่โทรศัพท์เครื่องเดียว ฟังแล้วจดใส่กระดาษแล้วค่อยเอามาพิมพ์ใส่โน๊ตอีกที
แล้วก็พูดกะพี่สาวว่าเราทำผิดหัวข้อนะ พี่สาวก็บอกให้เราส่งไปบอกพี่เค้าว่าเราต้องการเปลี่ยนหัวข้อเปลี่ยนเป็นอีกคลิปนึงที่เราถอดไว้แล้ว แต่เราก็นิ่งแล้วไม่พูดอะไร เพราะเรารู้ว่ากิเลสมันหลอกเราที่จริงมันก็ไม่ได้อยากอะไร อย่ามาหาข้ออ้างให้ใจเป็นทุกข์ ดีเสียอีกทำหลายครั้งหลายหัวข้อก็ดีได้ย้ำซ้ำทวนในสิ่งที่อาจารย์สอนให้มากยิ่งขึ้น แล้วก็เริ่มถอดเทปคลิปอีกคลิปที่เราเลือกอย่างวางใจและเบิกบานเพราะได้ทั้งเห็นกิเลส ได้ทั้งประโยชน์จากรายละเอียดที่ได้จากถอดเทปนั้นด้วย
ทุกข์.เสียดายที่ถอดเทปผิดคลิป
สมุทัย.ชอบใจถ้าถอดเทปถูกคลิปที่อาสาไว้ ไม่ชอบใจที่ถอดเทปผิดคลิป
นิโรธ.จะถอดเทปผิดหรือถูกคลิปก็สุขใจ วางใจไม่ชอบไม่ชัง
มรรค.พิจารณาโทษของความยึด ความชังที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ พิจารณาให้เห็นประโยชน์ของการไม่ยึดและวางใจทำดีที่ทำได้อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น
ใช้บททบทวนธรรม
ข้อที่ 83 ความยึดมั่นถือมั่นจะทำให้เกิด ความพร่อง ความพลาด ความทุกข์
ข้อที่ 82 จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์
ข้อที่ 135 โลกนี้มีสิ่งดีให้เราได้อาศัย มีอุปสรรคให้เราได้ฝึกฝน มีอุปสรรคให้เราได้ใช้วิบาก มีอุปสรรคให้เราได้ล้างทุกข์ใจ
เรื่อง ไม่อยากให้ลูกเที่ยวกลางคืน
เรื่องเดิม มีอยู่ว่า ลูกชายคนโตที่เรียนจบวิศวะไฟฟ้า จากม.ศรีวิชัย นั้น. ตอนกลางวันก็ต้องทำงานทุกวัน หยุดเฉพาะวันอาทิตย์ โดยเริ่มงาน เวลา 07.30 เลิก 17.00 น. ทุกวัน ( เป็นงานของครอบครัว) ในความคิดของแม่มีความรู้สึกว่า กลางวันก็ทำงานมาเหนื่อยแล้ว กลางคืนพักผ่อนให้เต็มที่ จะได้สดชื่นพร้อมรับงานใหม่ในวันรุ่งขึ้น. แต่ๆๆ พอกลับมาถึงบ้านสักพักเอาอีกแล้ว กิเลสเราคิด โทรศัพท์ดังอีกแล้ว แม่รับ เสียงตามสายพูดว่า. แม่ตงอยู่ไหม เดี๋ยวน่ะจะบอกตงให้. แม่พูดกลับไป กิเลสก็คิดต่ออีกว่า เอาอีกแล้วต้องชวนกันไปกินเบียร์อีกแล้ว ความรู้สึกของแม่นั้น
รู้แหละว่า ลูกต้องสังสรรค์กับเพื่อนๆบ้าง แต่ความเป็นแม่ ลูกถึงจะโตขนาดไหนก็ดูเหมือนว่าจะเป็นเด็กอยู่เสมอ
กิเลสคิดแต่ได้อย่างเดียว
เป็นห่วงว่าขับรถตอนกลางคืนน่ะไม่ค่อยจะปลอดภัย
แต่เราก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้ไป
น่ะเข้าใจดี (เพราะเมื่อก่อนเราก็เคยทำความปวดหัวให้พ่อแม่มาแล้ว)
ทุกข์ ไม่อยากให้ลูกออกเที่ยวกลางคืน
สมุทัย ชอบถ้าลูกไม่เที่ยวกลางคืน ชังลูกเที่ยวกลางคืน
นิโรธ ลูกจะเที่ยวกลางคืนหรือไม่เที่ยวกลางคืนก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค เพราะเราเคยทำมามากกว่านั้น รู้ดีว่า แม่กับพ่อเคยปวดหัวกับเรามาแล้ว ในสมัยก่อน บททบทวนธรรมแว็บเข้ามาในหัวเราเลย ว่า
สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา รับแล้วหมดไป แต่กรณีของเรายังไม่หมดไปเพียงแต่ทยอยน้อยลง ( หมายถึงว่าลูกชายไม่ได้ออกเที่ยวทุกคืน) เราพูดให้ฟังเค้าก็เชื่อ. แต่มีข้ออ้างตลอด ( กูทำมาๆๆๆ )
วางใจปล่อยวาง ไม่โกรธ น่ะ แต่ๆเป็นห่วงน่ะ จบแล้วค่ะ
ส่งการบ้านอริยสัจ 4 ครั้งที่ 5
25 ~ 31 มกราคม 2564
เรื่อง อะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกใบนี้
ตั้งใจและรับปากเพื่อนไว้ว่า
จะไปช่วยงานเพื่อนแน่นอน
(น้องสาวเพื่อนจะแต่งงาน
จะต้องไปช่วยจัดสถานที่)
แต่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นหลายอย่าง
จนไม่สามารถไปร่วมงานเพื่อนได้
ทุกข์..ความไม่สบายที่เกิดขึ้นในจิต
เป็นห่วงว่าเพื่อนจะเหนื่อยเกินไป
เพราะงานแต่งงานปกติ
ทีมหลักในการจัดสถานที่
จะต้องมีไม่น้อยกว่า 2 คน(2คนก็น้อยอยู่แล้ว)
แต่นี่เหลือเพื่อนเพึยงคนเดียว
เป็นห่วงกลัวว่าเพื่อนจะไม่สบาย
สมุทัย..เหตุแห่งทุกข์
อยากช่วยเพื่อนแต่ช่วยไม่ได้
นิโรธ..สภาพดับทุกข์
พิจารณาทุกอย่างตามความเป็นจริง
ว่าไปช่วยเพื่อนไม่ได้จริงๆแล้ว
ต่อให้ห่วงแค่ไหนก็ไปไม่ได้
เพราะเหตุการณ์บังคับ
~ทั้งต้องล็อคดาวน์ตัวเองจากโรคโควิด19
~งานแต่งงานญาติอีกคนที่พี่สาวจะต้องไปช่วย
ไม่มีใครอยู่กับพ่อแม่(พ่อกับแม่อยู่ลำพังสองคนไม่ได้ท่านแก่มากแล้ว)
~งานแต่งสองงานที่อยู่คนละจังหวัด
จัดงานวันที่21กุมภาฯพร้อมกัน(
จริงๆจัดคนละวันซึ่งวันไม่ตรงกัน
แต่เลื่อนวันเพราะเหตุโควิดระบาด
เลื่อนวันไปเลื่อนวันมาตรงกันซ๊ะงั้น)
……………….
เมื่อทุกอย่างปิดกั้นทุกทาง
ก็อ่านอาการฝืดฝืนในจิต
(อัตกิลมัตถะ)
ทำอย่างไรที่จะไม่เกิดวิบาก
การปิดกั้นทุกทาง
ไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก
มีบางอย่างบอกว่าเราไม่ควรดื้อ
ที่จะทำในยุคโควิดระบาดขนาดนี้
น้อมถึงคำตรัสของพระพุทธองค์ที่ว่า
สิ่งใดไม่ห้ามว่าไม่ควร
แต่สิ่งนั้นขัดกับสิ่งควร
สิ่งนั้นจึงไม่ควร
ทำให้เลิกคิดดึงดันที่จะไป
เมื่อทุกอย่างกั้นก็วางใจว่า
ฟ้าไม่ให้ทำ..รัฐบาลก็ห้าม…
พระโพธิสัตว์ก็เตือน
เราตัวนิดเดียวก็ไม่กล้าดื้อ
ไม่กล้าท้าทาย
ก็วางใจไม่ดึงดัน
มรรค..ทางดับทุกข์
เมื่อพิจารณาทุกอย่าง
ตามความเป็นจริง
อธิบายให้เพื่อนเข้าใจ
เป็นโอกาสที่เพื่อนจะได้เรียน
ทุกขอริยสัจไปพร้อมๆกัน
ไม่เอาแต่ใจว่าจะได้ทำดีดั่งใจหมาย
ทั้งๆที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เท่านั้น
ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง
นั้นไม่ดี…บททวนธรรมบทนี้ผุดขึ้นมา
เตือนสติให้อาการอยาก(อยากไปช่วยเพื่อน)
พอวางอยากลงได้(คือดับตัณหาได้)
มรรคก็คือความโล่งโปร่งเบาสบาย
ปัญญาก็เกิด
เมตตา กรุณา
คือยังช่วยอยู่แต่ช่วยเท่าที่ช่วยได้
(คือประดิษฐ์ของตกแต่ง
ส่งไปช่วย)
จึงเป็นไปตามมรรคดำรงอยู่ด้วยพรมวิหารธรรม
น้อมกราบนมัสการพ่อครู กราบพาวะคารวะอาจารย์หมอเขียว
ที่อบรมสั่งสอนค่ะ
เรื่อง:บำเพ็ญงาน
เรื่องย่อ:พอดีได้จังหวะและโอกาสขึ้นไปภูผาฟ้าน้ำ 4 วัน ได้เห็นหมู่มิตรดีรุ่นพี่ๆได้บำเพ็ญฐานงานต่างๆและอยู่บำเพ็ญประจำที่ภูผาฟ้าน้ำ จิตใต้สำนึกของเราก็แว๊บคิดขึ้นในใจว่า เมื่อไหร่หนอเราจักมีโอกาสบำเพ็ญอยู่ประจำแบบรุ่นพี่บ้างนะ แต่ขณะนี้เรามีบุญแค่ได้มาบำเพ็ญงานเป็นครั้งคราว 4-5 วัน เวลามันช่างรวดเร็วปานจรวดครบ 5 วันอีกละ พอนึกถึงคำที่อาจารย์เคยสอนไว้ว่าแม้จะอยู่ไกลถ้าเราปฎิบัติธรรมอยู่สม่ำเสมอก็เหมือนได้อยู่ใกล้อาจารย์ แต่ถ้าอยู่ใกล้อาจารย์ไม่ได้ปฎิบัติธรรมเลยก็เหมือนอยู่ไกลอาจารย์ พอนึกถึงคำที่สอนของอาจารย์ความอยากที่จะมาบำเพ็ญแบบอยู่ประจำก็ผ่อนคลายลง ก็ได้พิจารณาต่อว่าเรามีบุญแค่นี้ก็ดีแล้วขยันพากเพียรต่อไปตามฐานบุญของเรานี่คือวิบากร้ายของเราเนื่องจากเราได้มีคู่ครองก่อนที่จะมาพบกับอาจารย์ ต้องยืดอกรับวิบากร้ายและยินดีชดใช้ผลของกรรมอย่างเต็มใจรับเท่าไหร่หมดเท่านั้น สาธุครับ
ทุกข์:อยากร่วมบำเพ็ญแบบอยู่ประจำ
สมุทัย:ชอบใจถ้าได้ร่วมบำเพ็ญแบบอยู่ประจำ ไม่ชอบใจที่ได้มาร่วมบำเพ็ญเป็นครั้งคราว
นิโรษ:การได้มาร่วมบำเพ็ญแบบครั้งคราวก็พอใจและสุขใจ ถ้าร่วมบำเพ็ญแบบอยู่ประจำไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค:เรามาบำเพ็ญได้แค่นี้ก็ดีมากแล้ว
การได้มาบำเพ็ญแบบอยู่ประจำหรือแบบครั้งคราวก็ปล่อยให้วิบากดีร้ายจัดสรรให้เราเอง เรามีหน้าที่พากเพียรปฎิบัติชำระกิเลสต่อไป อดทน รอคอย ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ
หมดกันพอดี
2 วันนี้ได้ทำการขุดสระ ที่ขอไว้กับพัฒนาที่ดิน จังหวัด ที่บริการขุดให้ ชึ่งพื้นที่กว้างอย่างน้อย 16 ยาว 41 เมตร และต้องมีคันดินข้างละ 6เมตร ซึ่งพื้นที่จะขุดได้ปลูกต้นไม้ไว้ 2-3ปีแล้ว ต้นไม้กำลังงาม ช่วงแรกน่าจะเสียต้นไม้ไป 2แถว แต่พอขุดไปๆ ไม่ใช่เพราะดินเยอะมาก ดินต้องขยับมาถมต้นไม้เป็น 3แถว 4แถว ใจมันเริ่มหาย ทำไมดินเยอะจัง
ทุกข์ ต้นไม้ถูกถมหายไป 150 ต้น
สมุทัย ถ้าต้นไม้เสียหายน้อยก็ชอบใจ ต้นไม้เสียมากก็ไม่ชอบใจ
นิโรธ ต้นไม้จะเสียหายน้อยหรือมากก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค มาพิจารณาความจริง ก็ต้องการขุดสระเมื่อได้สระก็ต้องยอมเสียต้นไม้ไปบางส่วน เพราะดินมันเยอะมาก ก็ต้องยอมจะมาเสียดายทำไม ต้นไม้ตายไปก็ปลูกใหม่ได้ แต่น้ำสำคัญ อาจารย์ก็สอนทุกวัน น้ำต้องดี น้ำต้องมี ต้องเก็บต้องตุนน้ำไว้ เดี๋ยวจะไม่มีใช้ ก็เป็นการทดสอบครั้งใหญ่ ครั้งก่อนเสียต้นไม้ไปต้นเดียวทำเป็นเสียดาย มาทดสอบใหม่เสียไป 150ต้น ใจเป็นอย่างไง จะทุกข์ จะตายไหม?
ใช้บททบทวนธรรมข้อ 89 ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น
ข้อ 90 วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง ใจทุกข์แป็บเดียว ต้นไม้ตายได้แต่ใจต้องไม่ตาย ก็สดชื่น เบิกบาน มาเข้าสวนย้ายท่อน้ำด้วยใจที่เป็นสุข
ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
กายนี้มีไว้เพื่อดับทุกข์ใจเท่านั้น กิจอื่นนอกจากนี้ไม่มีจริงๆ….สาธุ
29/1/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ไปตลาด
เป็นคนมีนิสัยใจร้อน คิดเร็ว พูดเร็ว ทำอะไรเร็ว เลยตั้งศีลไว้ว่า จะทำอะไรให้ช้าลง จะไม่ใจร้อน จะเอาให้ได้เร็ว ๆ วันนี้มีเหตุการณ์มาทดสอบคือ วางแผนไว้ว่าจะทำโน่นทำนี่หลายอย่าง แต่ช่วงสาย มีนัดช่วง 9.30 o. ก็ทำอะไร ๆ เสร็จไปหลายอย่างแล้ว เหลือเวลาอีกครึ่งชั่วโมง ยังไม่ถึงเวลานัด เสียดายเวลาที่เหลือ ก็เลยจะไปซื้อของที่ตลาด ประมาณการณ์ไว้คร่าว ๆ ว่าน่าจะกลับมาทันเวลา(บ้านห่างจากตลาด 5 กม. ถนนโล่ง รถไม่ติด) ในระหว่างที่ขับรถอยู่ กิเลสก็บอกว่าขับเร็ว ๆ สิ เดี๋ยวไม่ทัน ครึ่งชั่วโมงไม่ได้ยาวนานนะ ใจก็ร้อนขึ้น การหายใจเร็วและสั้นขึ้น ขาก็เหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้น คือรู้สึกว่า ความเร่งของรถมันไปไม่ทันกับใจ ตัวยังอยู่ระหว่างทาง แต่ใจไปถึงตลาดแล้ว
ทุกข์ : ใจร้อน อยากได้เร็ว ๆ
สมุทัย : ถ้าได้เร็ว ๆ ก็จะสุขใจ ถ้าช้าก็ทุกข์ใจ
นิโรธ : จะเสร็จเร็วก็ได้ ช้าก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค: หลังจากที่ถูกกิเลสลวงให้โง่อยู่ประมาณ 1 นาที สติก็มา เตือนตัวเองว่า จะรีบไปทำไม เวลาครึ่งชั่วโมงเหลือเฟือ ตลาดก็อยู่ใกล้แค่นี้ รีบไปแล้วได้อะไร รีบมาก ๆ เหนื่อยมั๊ย ยิ่งรีบยิ่งช้า เสียพลังไปโดยใช่เหตุ ถ้ารีบมากเกินแล้วเกิดอุบัติเหตุมันคุ้มกันมั๊ย แล้วก็ลดคันเร่งลง ไม่ยอมเชื่อฟังกิเลส ขับไปช้า ๆ หายใจเข้าออกลึก ๆ ทำสวนทางกับที่กิเลสสั่ง พิจารณาแบบนี้แล้วใจก็สงบลง ไปเดินซื้อของได้แบบสบาย ๆ ได้ของตามต้องการ เสร็จแล้วขับรถกลับถึงบ้าน ยังมีเวลาเหลือเฟือไปเฉาะมะพร้าวกินได้อีกลูก
เรื่อง จะสู้ได้ตลอดไหมก็ไม่รู้
พ่อบ้านได้ขอทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเขาอนุมัติแล้ว ตั้งแต่เราได้ไปเยือนภูผาฟ้าน้ำและอาจารย์หมอเขียวได้พาทำกสิกรรมไร้สารพิษ
ทำให้เราชอบที่อยู่กับป่ามากขึ้น ที่ดินของเราสวยอยู่และเราก็ชอบ ตั้งอยู่กลางทุ่งนาแต่ทุ่งนารกร้างไปหมดแล้วไม่มีชาวบ้านไปทำนา เพราะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ สามจังหวัด ชายแดนใต้ และที่ดินสวนใกล้ๆกันเขาก็ทิ้งปล่อยให้รกร้าง มีก็แต่ของเราคนเดียวที่ขืนไปทำอยู่
ลูกได้พูดกับพ่อว่าปล่อยไว้แบบนั่นเถอะพ่อไม่ต้องไปทำแล้วสวน ถนนหนทางดีเหตุการณ์ดีแล้วค่อยว่ากันแต่พ่อก็ยังจะไปทำ ลูกและเราก็พูดกับพ่อว่างั้นปลูกไม้ ยางนา หรือไม้ พะยูง
เอาไว้ขายไม้ดีไหมเราไม่ต้องดูแลเขามาก ปลูกไม้ทางสงเคราะห์ก็จ่ายเงินเหมือนกันกับปลูกยาง
เราก็จำใจจำยอมต้องตามไปช่วยพ่อบ้านเป็นครั้งคราว พ่อบ้านจะล่วงหน้าไปก่อนเราตามไปทีหลัง
ทุกข์ # ต้องขี่มอเตอร์ไซดไปคนเดียวทางทั้งยากทั้งเปลี่ยว
สมุทัย # ชอบที่จะให้พ่อบ้านหยุดทำสวนตรงนั้นก่อนจนกว่าอะไรๆจะดีขึ้นแล้วค่อยมาว่ากันใหม่
นิโรธ # ต้องยินดีเต็มใจยอมรับวิบาก มาใช้บททบทวนธรรม ข้อ ๘๒ จงฝึกอยู่กับ
ความจริงของชีวิต
ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์
อย่างผาสุขให้ได้
เราก็ทำไปตามหน้าที่เอาความสุขทุกสถานะการณ์ให้ได้
มรรค # บททบทวนธรรม ๑๓๕
โลกนี้มีสิ่งดีให้เราได้อาศัย
มีอุปสรรคให้เราได้ฝึกฝน
มีอุปสรรคให้เราได้ใช้วิบาก
มีอุปสรรคให้เราได้ล้างใจ
เบิกบานแจ่มใสไร้ทุกข์ ไร้กังวลอย่างเป็นอมตะธรรม
ลูกสาวและอาหาร
วันนี้กลับจากทำงานก็รีบทำกับข้าวให้ลูก เพราะความรีบก็ทำให้อาหารออกมาไม่ค่อยสมบูรฌ์ และข้าวที่ก็เหมือนจะไม่สุขดีเพราะหุงเยอะเผื่อเพื่อนลูกสาวด้วย พอข้าวสุขก็ดูแต่ไม่ได้ชิมก็น่าจะใช้ได้นะ พอทุกอย่างเสร็จลูกๆก็มารับอาหาร สักพักเตรียมของตัวเองเสร็จ ก็เดินไปถามลูกสาวว่าเป็นไงบ้าง ลูกสาวก็บอกว่าเหมือนอาหารไม่สุขดีและข้าวก็แข็ง เราก็ถามจริงหรือค่ะก็หันไปถามเพื่อนลูกสาวว่าแล้วสำหรับหนูละเป็นไง ก็โอเคนะ เห็นใจตัวเองมีขุ่นนิดๆ เพื่อนก็ยังโอเคเลยหนู ลูกสาวก็บอกว่ามันไม่เหมือนทุกครั้ง และได้บอกลูกสาวว่าทีหลังให้หนูทำบ้างนะ พอตอบไปตัวเองก็มีสะดุด เราตอบลูกแบบประชดหรือเปล่า ก็พิจารณาและบอกลูกไปว่า ข้าวแม่คิดว่าแม่หุงเยอะและใส่น้ำน้อยไป ส่วนอาหารแม่รีบเพราะกลัวไม่ทันเวลาที่พวกหนูจะไปสอบ คาวหน้าจะระวังนะ ลูกสาวก็บอกโอเคค่ะ
ทุกข์ : ไม่ชอบคำตอบลูกสาว
สมุทัย:ลูกสาวตอบเยอะ
นิโรธ : ลูกสาวจะตอบเยอะหรือน้อย ก็สุขใจได้ และยอมรับความจริงได้
มรรค :พอได้ยินคำตอบจากลูกสาวก็เห็นใจตัวเองขุ่นๆ และได้ตอบกลับไปว่าทีหลังให้หนูทำบ้างนะ พอตอบไปก็มีสะดุดก็พิจราณาเราตอบลูกแบบประชดหรือเปล่า พิจารณานึกถึงบทธรรมของท่านอาจารย์หมอเขียว ” ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้ “และก็ได้บอกลูกสาวไปว่า ข้าวแม่หุงเยอะไปและใส่น้ำน้อยไป ส่วนอาหารแม่รีบเพราะกลัวไม่ทันเวลาที่พวกหนูจะไปสอบ คราวหน้าจะระวังนะ ก็พิจารณาอีกเห็นเพื่อนลูกกินอย่างมีความสุข เพราะเด็กเขาไม่รู้ลักษณะของอาหารและอาจจะเกรงใจเราก็ได้ ยอมรับความจริงก็ต้องยอมจริงๆ พิจารณาดูใจอีกครั้ง จากความขุ่นและความนอยก็คลายลงไปได้100% ก็ทานข้าวด้วยใจที่เบิกบานและผาสุข และมีพยานมาอีกลูกชายถือจานมาเก็บก็เห็นข้าวเหลือเหมือนเดิม ก็ถามว่าไม่กินข้าวหรือค่ะ นายตอบว่าวันนี้ไม่หิวเท่าไหร่ ข้าวแข็งไปนิดแต่อร่อยนะครับ โอเคจ้า ยอมรับความจริง ได้คำตอบทั้งใจและสิ่งของ กราบสาธุค่ะ
การบ้านทุกอริยสัจ4
ชื่อเรื่อง อยากได้ความเข้าใจจากหมู่
เนื้อเรื่อง เวลาทำงานด้วยกันผมจะทำไมทำงานรีบร้อน(เดาใจหมู่)มีข้อสงสัยถามอยู่เรื่อยๆจะเอาแต่ความสำเร็จของงานไม่ได้อ่านใจเรา ใจหมู่ ท่านเอาแต่ใจหรือเปล่าหนอลังเลสงสัยท่าน
ทุกข์ ทำงานกับหมู่ใจหดหู่ลังเลสงสัย
สมุทัย อยากทำงานกับหมู่แบบใจไม่หดหู่ลังเลสงสัยชังที่ทำงานแล้วใจหดหู่ลังเลสงสัย
นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังจะทำงานกับหมู่อย่างไม่ลังเลสงสัยเบาสบายใจไร้ทุกข์
มรรค กิเลสอยากๆๆขนาดอยู่กับตนเองยังไม่ถูกใจตนเองหาข้มูลจากหมู่ ทุกคนปรารถนาดีตามภูมิ(ศีลสูง)ภูมิสูงแต่ไอ้กิเลสมันดิ้นโหยหาเสี่ยมให้คนเข้าใจผิดกันจะเอาแต่ใจตรงกับบทธ.ข้อ7 หลัก 5 ข้อที่นำพาชีวิตคนจากนรกตลอดกาลลนาน
อย่าทายใจ ผู้อื่น อย่าใส่ร้ายผู้อื่น
อย่าโกหกผู้อื่น
อย่าชิงชังผู้อื่น
อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
หลังพิจาณา ทุกลดลงเป็นตามลำดับแต่ใจมันอยากลดลงเยอะ
ส่งการบ้านอริยสัจ 4
จรัญ บุญมี ชื่อทางธรรมเพชรแผ่นดิน สังกัดสวนป่านาบุญ 2 อายุ 47 ปี
เรื่อง ผัสสะหนักเราก็หนุก
ทุกข์ หดหู่ เสียดาย ยินร้าย
สมุทัย ไปสำคัญสมบัติโลกอยากได้ ดิน ไม้ ไปใช้ประโยชน์
นิโรจน์ โลกถล่มฟ้าทลาย อะไรจะเสียหาย เราก็จะสุข
มรรค อะไรจะเสียหาย ก็ไม่เท่าใจเราเสียหาย ยุคนี้เอาอะไรไม่ได้มากหรอก ความเสียหายเกิดมากมายเราจะไปเอาอะไร เราทำดีในหมู่มิตรดี อะไรจะเสียก็เสียไป ลุย!สู้สนุก ผัสสะหนักเราก็หนุก ก็ไม่เท่าใจเราเสียหาย กิเลสมันหลอกว่าถ้าได้มากกว่านี้จะดีจริงๆได้มากกว่านี้ก็จะเสียหาย
ส่งวันที่ 29 มกราคม 2564
รหัสนักศึกษาวิชาราม
ชื่อ นางศุทธินี พรมเล็ก ชื่อเล่น ป้าเนียร ชื่อทางธรรม ขวัญน้ำฟ้า อายุ 73 ปี สังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง ทุกข์เพราะโดนลูกดุ
เหตุการณ์ : วันนี้เดินไปแปลงผัก เพื่อนำเศษหญ้าที่ตัดไปคลุมผักที่ปลูกไว้ แต่ต้นไม้บางต้น เล็กเกินไปเรามองไม่เห็น ทำให้เกิดความเสียหาย ลูกไม่พอใจ และพูดเสียงดังกับเรา
ทุกข์ : เพราะโดนลูกดุ
สมุทัย : ชัง ที่ลูกพูดไม่ดี ชอบ ที่จะให้ลูกพูดดีๆ ไม่ดุ หรือตำหนิเรา
นิโรธ : ลูกจะพูดดีก็ได้ ดุก็ได้ ไม่ดุก็ได้ ตำหนิเราก็ได้ ไม่ตำหนิเราก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : บอกตัวเองว่า “เขาคือเรา นั้นคือเรา” เราจะได้เห็นตัวเราเอง เกิดสิ่งใด จงท่องไว้ “กูทำมา” ต้องยอมรับผิด ขอโทษ และขออโหสิกรรม ความไม่ยึดติด ความไม่น้อยใจ ไม่เสียใจ ใจเราก็ค่อยๆ คลายไปในไม่ช้า
#ทุกข์ใจเพราะกังวลเรื่องความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
เนื่องจากเมื่อวันที่ 25/1/64 ผมมีนัดทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจติดตามผลอาการเจ็บป่วยของตัวเอง แต่ในช่วงเย็นวันที่ 24/1/64 ได้เปิดดูรายการทีวีช่องหนึ่งซึ่งในขณะนั้นกำลังนำเสนอข่าวของผู้ป่วยท่านหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากความผิดพลาดจากการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์จนทำให้เป็นแผลฉกรรจ์อยู่พอดี เมื่อได้รับรู้ข่าวดังกล่าวผมจึงรู้สึกทุกข์ใจเพราะเผลอโง่กว่ากิเลสไปกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะมาเกิดขึ้นกับตัวเองบ้างเช่นกัน
ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหวว่าจะได้รับบาดเจ็บจากความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าได้รับบาดเจ็บจากความผิดพลาดในการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์และจะรู้สึกผาสุกใจถ้าไม่ได้รับบาดเจ็บจากความผิดพลาดในการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือไม่ได้รับบาดเจ็บและไม่ว่าจะเกิดความผิดพลาดในการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือไม่
มรรค : พยายามทำความเข้าใจความจริงตามความเป็นจริงและทำใจในในให้แยบคาย โดยในประเด็นนี้ได้นำเรื่อง “วิบากกรรม” มาพิจารณาว่า
ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนก็ล้วนเกิดมาจากวิบากกรรมของคนผู้นั้นเองและที่ผู้ป่วยท่านนั้นได้รับบาดเจ็บจากความผิดพลาดในการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ก็เป็นเพราะวิบากกรรมของเขาเอง
ส่วนการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ของตัวเองนั้น ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือไม่และไม่ว่าจะเกิดความผิดพลาดขึ้นหรือไม่ก็ล้วนเกิดมาจากวิบากกรรมของผมเองเช่นกัน
นอกจากนั้นก็พยายามที่จะหาประโยชน์จากทั้ง 2 เหตุการ์ให้ได้โดยคิดว่า ถ้าไม่เกิดความผิดพลาดจากการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ก็ดีเพราะจะได้ไม่ต้องบาดเจ็บ แต่ถ้าเกิดความผิดพลาดจนทำให้ได้รับบาดเจ็บก็ดีเพราะแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บแต่ก็จะได้ชดใช้วิบากกรรมไม่ดีของตัวเองให้หมดไปอีกชุดหนึ่ง
เรื่อง : กรรมใคร กรรมเรา
เนื้อเรื่อง : ให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งยืมเงินไปโดยกดเงินจากบัตรเครดิตของเรา โดยปกติเขาก็จะส่งเงินมาใช้ตามอัตราขั้นต่ำที่บริษัทเขากำหนด แต่พี่สาวเรามีเหตุต้องใช้เงินเพื่อไปจัดการเรื่องที่ดินที่ไปจำนองไว้ เราจึงขอให้เพื่อนคนนั้นนำเงินมาคืน เพื่อจะได้นำไปช่วยพี่สาว พอถึงกำหนดเวลาที่เขาสัญญาว่าจะใช้คืน เขากลับบกว่าหาเงินให้ไม่ได้นะ แต่ถ้าจะเอาเงินคืนจริง ๆ เขาจะตายให้เอง เพราะเขาทำประกันชีวิตไว้ ถ้าเขาตายก็คงจะมีเงินเหลือมาจ่ายคืนเราได้..
ทุกข์ : ไม่สบายใจที่เพื่อนไม่สามารถนำเงินมาคืนให้ได้
สมุทัย : อยากให้เพื่อนนำเงินมาคืน อยากช่วยพี่สาว
นิโรธ : เพื่อนจะนำเงินมาคืนหรือไม่ เราก็ควรยอมรับและไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาเห็นความรู้สึกในใจที่ตกใจ อึ้งกับคำพูดของเพื่อนที่พูดถึงเรื่องการตายใช้หนี้ ชีวิตคนเรามีค่ามากมายกว่าเงินมากนัก มีปัญหาหรือเหตุผลอะไรควรจะพูดกันดี ๆ ช่วยกันหาทางออก เมื่อสุดทางหาเงินไม่ได้จริง ๆ แต่ละคนก็ควรต้องรับสภาพ รับวิบากรรมที่ตัวเองต้องรับ ..เพื่อนก็ต้องรับวิบากการเป็นหนี้ต่อไป..พี่สาวก็ต้องรับวิบากที่อาจจะต้องโดนยึดที่ดินทรัพย์สิน ..เราเองก็ต้องรับวิบากหากเพื่อนไม่คืนเงินกลับมา เราก็ต้องเป็นหนี้ ชดใช้แทนเขา..แม้เพื่อนจะตัดสินใจฆ่าตัวตาย นั่นก็เป็นการตัดสินใจของเขาเอง ไม่ได้เป็นเพราะเรา เราจึงไม่ควรที่จะกดดัน ทำทุกข์ทับถมตน ..ก็พิจารณาเรื่อย ๆ ไปอีกหลายวัน กว่าจะวางใจให้แต่คนได้รับในผลกรรมของตนเอง แม้ไม่ง่ายนักกับการวางใจ แต่จะคิดให้ทุกข์ใจไปทำไมล่ะ …แต่ละชีวิตเกิดมาก็รอวันตายน่ะล่ะ สู้เรามาทำทุก ๆ วันให้มีคุณค่ากับตัวเองและผู้อื่นดีกว่า..
ชีวิตวุ่นวาย
เป็นช่วงสัปดาห์ที่มีงานหลายอย่างต้องทำ อาทิเช่น เก็บของที่ร้าน, ไปติดป้ายข้างนอก, งานประชุมเตรียมสอน ทำให้จัดเวลาไม่ลงตัว รู้สึกว่าวุ่นวายทำไม่ทัน งานเยอะไม่หมด
ทุกข์ : สับสนในใจ เนื่องจากจัดการเวลาไม่ลงตัว
สมุทัย : อยากให้เกิดสภาพที่ค่อยเป็นค่อยไป งานทะยอยมา จะได้จัดการตารางงานให้ลงตัว ไปยึดว่าให้เกิดสภาพที่ไม่วุ่นวาย
นิโรธ : การงานเป็นสิ่งภายนอก งานจะเป็นไปตามแผน เสร็จตามเวลาก็ได้ หรือจะมีงานใดมาแทรก จะไม่เสร็จตามเวลาก็ไม่ทุกข์ให้ได้
มรรค : พิจารณาว่าการมีงานทำก็ดีแล้ว ดีกว่าไม่มี จะมากจะน้อยก็ไม่เห็นจะต้องไปกังวลอะไร จะวุ่นวายก็วุ่นวายได้แค่มีเวลามีแรงทำแค่นั้น ทำให้เต็มที่ไปดีกว่า ดูองค์ประกอบที่ทำได้เวลานั้น มีอะไรสำคัญเร่งงรีบก็ทำสิ่งนั้นก่อน งานไหนรอได้ก็ค่อยตามไปทำที่หลังได้ งานจะเสร็จ จะสำเร็จก็ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องไปสุขหรือทุกข์อะไร ไปยึดอะไรไม่ได้เลย ใจที่ไม่ทุกข์ ไม่ยึดผลของงานสำคัญที่สุด พอพิจารณาแล้วก็ทำงานต่อ ตามเท่าที่ทำได้ ดูตามลำดับ พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยน รู้เพียรรู้พัก
อริยสัจ 4
เรื่อง ไม่ชอบเสียงที่ได้ยินมา
เมื่อวานข้าพเจ้าคุยโทรศัพท์เเละคุยกับเเม่ย่าด้วย ระหว่างที่ทำทั้งสองอย่างพร้อมกันเเละได้ยินเสียงที่มันเเปร๋นขึ้น เห็นใจที่มันไม่ชอบเเละชังเสียงนี้
ทุกข์ : ไม่ชอบเสียงที่มากระทบหู ใจต้านเสียงนี้
สมุทัย :อยากได้น้ำเสียงที่ไพเราะ ชอบเเต่เสียงที่มันราบรื่นหู ไม่ชอบเสียงเเปร๋น
มรรค : เเม้เสียงจะฟังรื่นหูหรือไม่ จะไม่ทุกข์ใจ ฟังให้ได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงเเบบไหน
นิโรธ : ขณะที่ฟังเสียงนั้นมากระทบหู เห็นอาการที่ชอบใจเกิดขึ้น เเต่ก็ได้บอกตัวเอง ว่าท่านนั้นคงไม่ตั้งใจที่จะทำน้ำเสียงนั้นใส่เรา ไม่เป็นไรอย่าเสียเวลา อย่าไปติดกับเเค่เสียงนั้นเลย ได้พิจารณาเพิ่มขึ้นอีกว่า เราก็เผลอทำน้ำเสียงเเบบนี้บ่อยทั้งที่ตั้งใจเเละไม่ตั้งใจ เสียงที่เราได้ยินนั้นดีเเล้ว เราได้ใช้วิบากเก่าที่เราเคยทำมาเเละไม่สร้างวิบากเพิ่มด้วยการไปถือสาในเสียงนั้น เราเก็บอารมณ์ที่ขุ่นมัวที่มันค้างนี้ไว้ทำไม พิจารณาซ้ำๆอยู่อย่างประมาณสิบนาที ความขุ่นเคืองในใจก็ได้จางหายไป
เรื่อง โกรธน้องชายไม่ทำความสะอาดบ้าน
ทุกข์ น้องชายไม่ทำความสะอาดบ้าน
สมุทัย โกรธที่น้องชายไม่ทำความสะอาดบ้าน
นิโรธ น้องไม่ทำความสะอาดบ้านก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค ถ้าเราไม่เข้าคนอื่นแสดงว่าเราไม่เข้าใจตนเอง ถ้าเราไม่อยาก ก็ไม่ทุกข์ เราทุกข์ก็เพราะอยาก ใจก็ไม่ทุกข์
เรื่อง ไม่พอใจที่เขายัดเยียดให้เรา
ทุกข์ ค่าเน็ตอัตโนมัติ
สมุทัย เราไม่พอใจ(ชัง)ที่เขายัดเยียดให้เรา เกิดจากการที่เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เขาก็ยังเข้าให้
นิโรธ เขาเข้าให้ก็ได้ ไม่เข้าให้ก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ส่วนมรรค ป้าคิดยังไงกับเกตุการณ์นี้แล้วทุกข์ใจเป็นไงค่ะป้าเขียนต่อลองดูค่ะ มรรค พิจารณาว่า เงินมีอยู่ 310 เขาหัก200เหลือ110บาท เดือนหน้าหักไม่พอก็จบใจไม่ทุกข์ค่ะเบิกบานใจ
การบ้านค่ะ
จากเหตุการณ์เมื่อ 3-4วันที่ผ่านมาเข้าครัวเตรียมจะทำทอดมัน ตั้งกระทะบนเตาใส่น้ำมันเรียบร้อยรอให้น้ำมันร้อน ขณะเดียวกับลูกสะใภ้เดินเข้ามาหาหน้าตาไม่พอใจบอกว่ามีปัญหากับคนที่มาเช่าบ้าน แล้วก็พากันไปนั่งคุยกันอีกห้อง(ลืมไปเลยว่าตั้งกระทะอยู่บนเตา) ให้ลูกเล่าเรื่องราวจนจบ แทนที่จะเตือนลูกให้ใจเย็น ๆ ให้ยอมเขา กลับลายเป็นยุส่ง “อย่างนี้ยอมไม่ได้นะต้องโทร.ไปคุยให้รู้เรื่องเอาเปรียบกันเกินไป”(กิเลสตัวโตมาเยือนแล้ว ลืมหมดเลยว่าตัวเองได้ตั้งศีลว่าจะไม่โกรธไม่โทษใคร) กำลังนั่งปรึกษากันหันไปเห็นมีควันฟุ้งมาจากในครั้ว นึกได้ว่าตัวเองตั้งกระทะน้ำมันบนเตา เดินเข้าไปดูปรากฎว่าไฟลุกท่วมกระทะแล้ว นึกได้ทันทีว่าตัวเองผิดศีลแล้วก็พูดกับตัวเองว่าขอโทษผิดไปแล้วเพ่งโทษผู้อื่น ยอมรับผิด ยอมรับโทษ ขออโหสิกรรม แต่วิบากยังไม่ยอม ขณะที่เดินไปหยิบกระทะซึ่งไฟกำลังลุกเพื่อมาดับไฟ น้ำมันร้อน ๆ ในกระทะก็หกราดบนหลังเท้าตัวเองปวดแสบปวดร้อนมาก ก็ตะโกนบอกลูกสะใภ้ว่าแม่ขอโทษนะ ลูกก็งง ๆ ถามว่าแม่ขอโทษหนูทำไมก็เล่าให้ลูกฟังว่าแม่ตั้งศีลจะไม่โกรธไม่เพ่งโทษผู้อื่น แต่แม่ก็ผิดศีลจนได้ถึงทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ลูกก็บอกว่าถ้างั้นลูกจะไม่โทร.หาเขาแล้วนะลูกยอมแล้วลูกจบแล้ว แม่ดีใจนะที่ลูกคิดแบบนี้ถือว่าลูกได้ใช้หนี้วิบากกรรมที่เคยทำกับเขามาไม่รู้ชาติไหน ในที่สุดก็เบิกบานทั้งคู่
เรื่อง เอาแค่เบิกบานทั้งคู่ก็พอ
ทุกข์ : ไม่พอใจที่ลูกสะใภ้โดนเอาเปรียบ
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าคนเช่าไม่เอาเปรียบลูกสะใภ้จะชอบ แต่ถ้าคนเช่าเอาเปรียบลูกสะใภ้จะไม่ชอบ
นิโธ : คนเข่าจะเอาเปรียบลูกสะใภ้หรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พอรู้ตัวว่าผิดศีลที่ไปเพ่งโทษผู้อื่นและส่งเสริมให้ลูกทำผิด จึงสำนึกผิดหรือยอมรับผิด ขอรับโทษเต็มใจรับโทษ หรือขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 22 มาพิจารณา ในที่สุดทั้งแม่และลูกเบิกบาน
สภาวธรรม
เรื่อง :- ปวดเหงือก
อริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
1-ทุกข์ คือ เกิดสภาพของความลำบากทางกายที่มีอาการปวดเหงือก และสภาพทางใจ ที่
เผชิญอยู่ก็คือ เกิดจากสาเหตุทางกาย
2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เนื่องจากขบเตี้ยวผลไม้แห้ง เนื่องจากหิวในช่วงนั่งทำงาน
หน้าคอมพิวเตอร์ หลังจากที่กลับมาจากการทำงานตามอาชีพนอกบ้าน
3. นิโรธ คือ ได้เข้าใจสาเหตุแห่งปวดเหงือกในครั้งนี้นั้น เกิดจาการปวดเหงือกนั้นก็เพราะขบ
เคี้ยวผลไม้แห้ง ซึ่งทำให้ความหวานของผลไม้แห้งเกาะติดที่ผนังของเหงือก
4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มรรคมีองค์ 8 หรือ
วิธีการดับทุกข์ทั้งปวงนั้นมีอยู่ 8 ประการนั่นเอง
มรรค 8 ประกอบด้วย :-
……….1. สัมมาทิฏฐิ คือ ได้เข้าใจถูกต้องแล้วว่าสาเหตุที่เกิกการปวดเหงือกนั้น เกิดจากการ
ขบเคี้ยวผลไม้แห้งในเวลากลางคืน ที่ไม่ควรขบเคี้ยวอาหารหรือ
ขนมใดๆทั้งสิ้น
……….2. สัมมาสังกัปปะ คือ ได้ตระหนักแล้วว่า การขบเคี้ยวผลไม้แห้งซึ่งต้องถือว่าเป็นขนม
ชนิดหนึ่งนั้น จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้
……….3. สัมมาวาจา คือ ควรต้องปรารภกับตัวเอง หรือ บอกกล่าวกับตัวเอง ตักเตือนตัวเอง
ให้ได้ว่า ไม่ควรที่จะขบเคี้ยวอาหารหรือขนมใดๆ ในเวลากลางคืน
โดยเด็ดขาด
……….4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้องนั้น ต้องงดเว้นการกินหรือขบเคี้ยวอาหารหริอ
ขนมใดๆในเวลากลางคืน โดยเด็ดขาด
……….5. สัมมาอาชีวะ คือ ต้องดำรงชีพที่ถูกต้องให้ได้ด้วยการงดเว้นการกินอาหารและขบ
เคี้ยวขนมในเวลากลางคืน โดยเด็ดขาด
……….6. สัมมาวายามะ คือ ตั้งมั่นพากเพียรถูกต้องให้ได้ ด้วยการงดเว้นการกระทำดังกล่าว
……….7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง อยู่เสมอๆว่า การกินอาหารหรือขบเคี้ยว
ขนมในเวลากลางคืนนั้น จึงทำให้เกิดอาการปวดเหงือกดังกล่าวขึ้นมา
……….8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง ด้วยการเลิกกินอาหารหรือขบเคี้ยวขนมในเวลา
กลางคืนให้ได้
ปรับสภาวธรรม ด้วยการตั้งมั่นด้วยบททบทวนธรรม –
ข้อที่ 8.สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่ไม่เคยทำมา
การกินอาหารและขบเคี้ยวขนมในเวลากลางคืน จึงทำเกิดอาการปวดเหงือก
ข้อที่ 11. สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิต คือ วิบากกรรม
ข้อที่ 15. มาตลีเทพสารถี คือ วิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต
-เราทำดี มาตลีเทพสารถี ก็จะพาไปสวรรค์ คือ สุข สงบ เบา สบาย
ได้สิ่งดี กล่าวคือ ไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน เจ็บปวดเหงือก
-เราทำชั่ว มาตลีเทพสารถี ก็จะพาไปนรก คือ ทุกข์ เร่าร้อน เดือดเนื้อ
ร้อนใจ ได้สิ่งร้าย กล่าวคือ ต้องทนทรมานต่ออาการปวดเหงือก
จนกว่าอาการปวดเหงือกจะทุเลาลงหรือหาย
ข้อที่ 16 มาตลีเทพสารถี คือ วิบากดีร้ายที่สร้างสิ่งดีร้ายให้ชีวิต เป็นสิ่งเตือนสิ่ง
บอกว่า อะไรเป็นกิเลสเป็นโทษ ให้ลดละเลิก อะไรเป็นบุญกุศล เป็น
ประโยชน์ ให้เข้าถึงอะไรเป็นโทษ ให้เว้นเสีย กล่าวคือ การกินอาหาร
หรือขบเคี้ยวขนมในเวลากลางคืนที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งนั้น
เป็นกิเลส เป็นโทษ ที่ทำให้ร่างกายของเราต้องเผชิญกับการปวด
เหงือก และต้องเตือนตัวของเราให้ ลด ละ เลิก สิ่งที่กระทำนั้นๆ
ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้
ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
1.สำนึกผิด หรือยอมรับผิด กล่าวคือ สำนึกในการกินอาหารหรือขบเคี้ยว
ในเวลากลางคืน
2.ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม กล่าวคือ ยินดีรับโทษ
เต็มใจรับโทษ ด้วยการต้องทนทรมานต่อการปวดเหงือก
3.ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น กล่าวคือ ตั้งจิตหยุดกินอาการหรือขบเคี้ยว
ขนมในเวลากลางคืนให้ได้
4.ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ กล่าวคือ ตั้งจิตไม่กินอาหารหรือขบเคี้ยวขนม
ในเวลากลางคืนให้ได้
คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ
ข้อที่ 25. เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต
เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท
ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
ข้อที่ 26. การพิจารณาเพื่อปราบมาร คือ ความกลัว เวลาเจ็บป่วย หรือ
พบเรื่องร้าย จะทำให้ดับทุกข์ใจ ทุกข์กาย และเรื่องร้าย ได้ดีที่สุด
คือ ทำใจว่า
โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว
รับเต็ม ๆ หมดเต็ม ๆ
เจ็บ…ก็ให้มันเจ็บ
ปวด…ก็ให้มันปวด
ทรมาน…ก็ให้มันทรมาน
ตาย…ก็ให้มันตาย
เป็นไงเป็นกัน รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น
เรา…แสบ…สุดๆ
มัน…ก็ต้องรับ…สุดๆ
มัน…จะได้หมดไป…สุดๆ
เรา…จะได้เป็นสุข…สุดๆ
เพราะสุดท้ายทุกอย่างก็ดับไป ไม่มีอะไรเป็นของใคร
จะทุกข์ใจไปทำไม ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจ
“เบิกบาน แจ่มใส ดีกว่า”
ข้อที่ 27 โดยสรุป เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว คือ อย่าโกรธ อย่ากลัวเป็น
อย่ากลัวตาย อย่ากลัวโรค อย่าเร่งผล อย่ากังวล
และยังมีข้อปฏิบัติตามบททบทวนธรรมอีกมากมาย แต่ในประเด็นนี้ นำมาเสนอเพียงเท่านี้
สาธุ ไม่โทษใคร มีใจไร้ทุกข์ ซึ่งงเมื่อได้ทำการพิมพ์ข้อความทั้งหมดจนกระทั่งมาถึง ณ.
ช่วงนี้ อากรปวดเหงือก ก็ได้ทุเลาลงกว่าที่เคยปวดวันที่ผ่านๆมาและจะขอตั้งมั่น เลิกกิน
อาหารและขบเคี้ยวขนมในเวลากลางคืนโดยเด็ดขาด
มาตลีเทพสารถี มาช่วยได้ทัน!…
เนื้อเรื่อง
ผู้รับใช้มอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการในรายการ “อริยสัจ ขจัดมาร” ของสวนป่านาบุญ 2 เพื่อที่จะช่วยเหลือให้เพื่อนนักศึกษาวิชชาราม ทำการบ้าน “อริยสัจ 4” ส่งในห้องไลน์โรงเรียนของหนูโดยให้แต่ละคนเขียนเล่าสภาวธรรม เรื่อง การลด ละ เลิก กิเลส จึงรับด้วยความยินดีพอใจว่า “ได้ค่ะ จะได้ฝึกพูดบ้าง” แต่ในใจลึกๆ ยังติดยึดว่า ไม่อยากพูดเป็นผู้นำดำเนินรายการ กิเลสมันอ้างว่าไม่มีประสบการณ์ ถ้าคนที่ถนัดและมีประสบการณ์มาพูดแทนก็จะดีกว่า ได้ต่อรองคุยกับกิเลสว่า ถ้าไม่มีใครแทน คิดวางใจได้ทันทีว่า “ไม่เป็นไร ได้ ก็ดี ไม่ได้ ก็ดี”ได้ฝึกการวางใจ ด้วยใจที่ไม่ชอบ-ไม่ชัง พอถึงเวลา พลังงานที่มองไม่เห็น สร้างสิ่งที่มองเห็น คือ พอเริ่มพูดปรากฏว่า เสียงที่พูดเบามาก ทั้งๆ ที่เราพูดเสียงดังเต็มที่แล้ว เพื่อนที่ฟังอยู่หลายคนบอกว่า เพิ่มเสียงให้ดังอีก เบามาก เสียงอู้อี้ๆไม่ชัดเจน ขาดๆ หายๆ (ปัญหาลำโพงของโน้ตบุ๊ก) เพื่อนเสนอว่า ถ้าไม่สะดวก มีปัญหา เสียงไม่ดังไม่ชัด จะเกิดผลเสียมากกว่า ควรจะเปลี่ยนคนอื่นทำหน้าที่แทน ไม่น่าเชื่อว่า “มาตลีเทพสารถี มาช่วยไว้ได้ทัน!.” มีผู้ที่ถนัดและมากด้วยประสบการณ์ ยินดีอาสาพูดแทน เป็นความมหัศจรรย์อย่างลงตัวเกิดขึ้น “ไม่อยากได้ จึงได้” เพราะ ณ เวลานั้น ไม่ใช่เวลาของเรา เราจะต้องพากเพียรบำเพ็ญ ทำดีต่อไป ด้วยใจที่เบิกบาน
ขอบคุณ “มาตลีเทพสารถี” สาธุ
ทุกข์ : ยึดว่าไม่อยากพูดดำเนินรายการ ชังที่จะต้องพูด
สมุทัย : ยอมรับ ว่า ชอบที่จะพูดดำเนินรายการ ด้วยความยินดี พอใจ สุขใจ ถ้ายังยึดว่า ชัง ไม่อยากพูด จะทุกข์ใจ
นิโรธ : ยินดีวางใจได้ ว่าง เปล่า เบา โล่ง สบายใจ ไร้กังวล สุข สงบ
มรรค : พิจารณาซ้ำๆ ใช้บททบทวนธรรม (ททธ.)หลายๆ บท หาสาเหตุแห่งทุกข์ว่ากิเลสตัวไหนบ้างที่ทำให้ทุกข์ ค้นหาให้เจอ แล้วนำคาถาดับทุกข์จากคัมภีร์ชีวิตพาพ้นทุกข์ ว่าตรงกับบทบทวนธรรมข้อไหนบ้าง จำไม่ได้ก็เปิดหนังสือหาเจอแล้วอ่านทันที (พกติดตัวไว้) จึงรู้ว่ามีหลายบทคือ บทที่ 42,83,84,87,29,54,56,19,57,15,58 มาใช้ล้างกิเลสมารร้าย ตัวยึดติด ตัวชอบ-ชัง แต่ละบทเชื่อมร้อยสอดคล้องกันหมด สามารถลดกิเลส ลดทุกข์ได้จริง
เริ่ม ททธ.บทที่ 42 ยินดีในความไม่ชอบไม่ชังได้พลังสุดๆ พิจารณาซ้ำๆ “อยากได้ จะไม่ได้ ไม่อยากได้ จะได้”
พิจารณาต่อไป บทที่ 83 “ความยึดมั่น ถือมั่น ทำให้เกิดความพร่อง ความพราด ความทุกข์”
บทที่ 84 “ล้างความยึดมั่น ถือมั่น ของใจได้สำเร็จ คือ ความสำเร็จที่แท้จริง”
บทที่ 87 “ยึดเท่าที่โง่ โง่เท่าที่ยึด” “ไม่ยึดเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่ยึด”
บทที่ 29 แก้ปัญหา ด้วยการคบและเคารพมิตรดี นำปัญหาไปปรึกษาเพื่อน มีอริยศีล ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ปรับร่างกาย-อารมณ์ จิตใจ ให้สมดุลกัน พึ่งตน และแบ่งปันด้วยใจบริสุทธิ์
บทที่ 54 ตั้งอริยศีล เลิกในสิ่งที่ชอบ แบบยึดมั่น ถือมั่น ล้างตัวชอบ ที่จะไม่พูด เป็นกิเลสตัวยึดติด ชอบในสิ่งที่ชังแบบยึดมั่นถือมั่น ล้างตัวชัง ที่ไม่อยากพูด จึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์ขึ้น ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน คือ
บทที่ 56 “ทุกเสี้ยววินาที ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่น ถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน ตลอดเวลา”
เชื่อมโยงต่อไปอีก ตรงกับ
บทที่ 19 “สิ่งที่มองไม่เห็น สร้างสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่เป็นอยู่ทุกอย่างในชีวิต..คือพลังวิบากดีร้าย ที่เกิดจากการกระทำ ทางกาย หรือวาจา หรือใจ ของผู้นั้นในอดีตชาติ และชาตินี้ สังเคราะห์กันอย่างละหนึ่งส่วน”
บทที่ 57 พร่องแต่ทันการณ์ เกิดพลังงานที่มองไม่เป็น สามารถสร้างสิ่งที่มองเห็นได้ ในที่สุด ตรงกับ
บทที่ 15 มาตลีเทพสารถี มาช่วยไว้ได้ทัน เป็นพลังวิบากดี ที่เราเคยทำมา มาช่วยดันวิบากร้ายที่เราเคยพลาดทำมา ช่วยได้ทันเวลา ไม่ให้เกิดความเสียหาย “ไม่อยากได้ จึงได้” คือ ได้ความผาสุก สงบ เบา สบาย ไร้กังวล ไม่ทุกข์
บทที่ 58 เย่!ๆๆ ดีใจจังไม่ได้ดั่งใจ วิบากหมด กิเลสตายได้กุศล ยอมวางแบบไม่ยึด ไม่ชอบ-ไม่ชัง พูดก็ดี ไม่พูดก็ดี จึงเกิดเป็นความว่าง เปล่า เบา โล่ง สบายใจ ผาสุกได้
แม้ว่าจะติดยึด ยึดติดกับ ชอบ-ชัง มากแค่ไหน นานแค่ไหน แต่พอวางใจ ยอมได้จริง ใจไม่ทุกข์แล้ว
วันหน้าไม่รู้ วันนี้สู้ไม่ถอย สู้อย่างรู้เพียรรู้พัก
ตั้งอธิศีลเพิ่มใหม่ว่า จะลด ละ ความไม่ชอบ-ไม่ชัง ด้วยการ “เคี้ยวอาหารให้ละเอียดยิ่งขึ้น” ด้วยใจที่ไม่ทุกข์
ส่วนเพิ่มเติม เรื่อง :- ปวดเหงือก
นอกจากการปฏิบัติตัวตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
ข้อ 8 ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญกุศล คบมิตรสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี(อริยศีล)
ข้อ 9 รู้เพียร รู้พัก ให้พอดี
เป็นหลักแล้ว ยังได้ใช้สมุนไพร ในตัวของเราเอง(น้ำปัสสาวะสดและ ยาพลัง 5×100) อมเอาไว้ในปาก เพื่อรักษาและระงับอาการปวดเหงือก ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
หมายเหตุ ยาพลัง 5×100 ประกอบด้วย
1-น้ำปัสสาวะเก่าหมักเปลือกมังคุดแห้ง
2-น้ำสมุนไพรสกัด
3-น้ำปัสสาวะใหม่(ในช่วงเวลาที่ทำการผสม)
4-ผงถ่านหุงข้าว
5-น้ำมันเขียวประมาณ 4 หยด ต่อขวดน้ำขนาด 500 มิลลิลิตร
ซึ่งเป็นขนานเดียวกันกับการใช้รักษาอาการโควิด 19
เรื่อง : ชอบทำงานคนเดียว
ทุกข์ : ไม่แช่มชื่น เวลาทำงานกับคนอื่น หงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจ เวลาที่หมู่เสนอไม่ตรงกับความคิดเรา
สมุทัย : ยึดว่าถ้าทำงานได้ดั่งใจจะสุขใจ ถ้าไม่ดั่งใจที่ตัวเองคิดจะทุกข์ใจ
นิโรธ : ทำงานกับหมู่หรือทำงานคนเดียวก็สุขใจ งานสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็สุขใจ
มรรค : พิจารณาประโยชน์ของการทำงานกับหมู่มิตรดี ทำให้เราได้มีผัสสะ ได้อ่านเวทนา ได้เห็นกิเลสของตัวเอง เป็นประโยชน์ในการล่อกิเลสออกมาจัดการ และการทำงานที่ไม่ตามใจตัวเอง ทำให้ได้ลดกิเลส ทำให้ลดอัตตา การได้ดั่งใจ จากการทำงานสำเร็จ อาจารย์สอนว่า ความได้ดั่งใจจากงานสำเร็จ เป็นสุขลวง แป๊บเดียวก็หมด ละลายเร็วกว่าไอติมอีกครับ และทำให้ได้ใช้วิบาก ถึงแม้ว่างานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ในเมื่อเราได้เสนอดีเต็มที่ และทำเต็มที่แล้ว ดีที่เราคิดจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม สิ่งนั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว อาจารย์สอนว่า ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน แต่ความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของงานเป็นแค่กุศลเล็กแต่ความสำเร็จของใจ ใจที่ไม่ยึดถือมั่น คือมหากุศล เป็นสิ่งที่จะพาให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริงครับ ผมขอขอบคุณอาจารย์และหมู่มิตรดีที่ทำให้ผมได้ปฏิบัติธรรม ได้เดินทางสู้ความพ้นทุกข์ครับ สาธุครับ
ส่งการบ้านอริยสัจ๔
น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี
จิตอาสาพ.ว.ธ.สุราษฏร์ธานี สังกัดสวนป่านาบุญ๒ อ.ชะอวดจ.นครฯ
ระหัสนศ. 6012007003
เรือง.น้ำไหลช้า
เหตุการณ์.ช่วงนี้แดดแรง ทำกสิกรรมเพิ่มขึ้น ต้องรดน้ำเพิ่มทำให้ใช้เวลานานมากน้าใหลช้า ต้องรอให้ดินชุ่ม แดดแรงเลยต้องคอยเรื่องน้ำใหลช้า
ทุกข์ : ต้องรอใช้เวลานานในการรดน้ำในแปลงผ้กที่ปลูกไว้
สมุทัย :แดดแรงทำให้ต้นไม้แห้งมาก ต้องรดน้าเพิ่มขึ้นยึดวต้องการให้น้ำมาเร็วทันใจ
ชังที่น้ำใหลช้าชอบถ้าน้ำใหลเร็วสักนึดก็ดี
นิโรธ : น้าจะใหลช้าหรือใหลเร็วเราก็ไม่ทุกข์
มรรค : น้ำใหลช้าก็ดีเหมือนกัน มันจะได้ชึมทีละที่ละนึด ถ้าน้ำมาแรงเร็วน่าจะเหมือนกับเอาน้ำราดคนศีษะโล้นจะไม่ค่อยชุ่มน้ำ ได้ลดกิเลิกตัวใจร้อนได้ไม่เอาแต่ใจสาธุค่ะ
แก้ไข
สงการบ้านอริยสัจ ๔
น.สจาริยา จันทร์ภักดี
จิตอาสาพ.ว.ธ.สุราษฏร์ธานีสังกัดสวนป่านาบุญ ๒ อ.ชะอวด จ.นครฯ รหัส นศ.6012007003
เรื่อง.น้ำไหลช้า
เหตุการณ์. ช่วงนี้ แดดแรง ทำกสิกรรมเพิ่มขึ้น ก็ต้องรดน้ำเพิ่ม ทำให้ใช้เวลานานมาก น้ำไหลช้าต้องรอรดให้ดินชุ่ม เลยต้องคอย
ทุกข์. น้ำไหลช้าต้องรอใช้เวลานานในการรดน้ำในแปลงผักที่ปลูกไว้
สมุทัย. ชังที่น้ำไหลช้า
ชอบที่น้ำไหลเร็ว
นิโรธ . น้ำไหลช้าหรือน้ำจะไหลเร็วก็ไม่ทุกข์
มรรค . น้ำไหลช้าก็ดีเหมือนกัน น้ำจะได้ซึมทีละนิด จะอุ้มน้ำดีกว่า ถัาน้ำแรงเร็ว น่าจะเหมือนกับเอาน้ำราดคนที่ศรีษะโล้นจะไม่ค่อยชุ่มน้ำ ได้ลดกิเลส ตัวใจร้อนได้ไม่เอาแต่ใจเลยรดน้ำได้อย่างเบิกบานสาธุค่ะ
การบ้าน:อริยสัจ4
ชื่อ sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น ชื่อเล่น จุก
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ2
ชื่อเรื่อง : ถูกเอาคืน
เหตุการณ์:เรื่องมีอยู่ว่า หัวหน้างานแจ้งมาว่าในวันพรุ่งนี้ให้ข้าพเจ้าและน้องอีกคนสมมุติว่า(A)ไปประชุมของหน่วยงานและฝากแจ้งน้องAให้ด้วย ตัวเองก็เลยติงหัวหน้าไปว่าเอาคนอื่นแทนดีมั้ยเพราะตัวเองใกล้เกษียณแล้ว เขาก็บอกว่าไม่เป็นไรไปตามคิว ตัวเองก็ได้โทรบอกน้องA ไปตามที่เล่ามาข้างต้น
แต่พอสักพักหัวหน้าก็ได้โทรมาแจ้งใหม่ว่าเปลี่ยนจากน้องAเป็นน้องB ตัวเองก็ได้แจ้งน้องAใหม่ว่าไม่ต้องไปแล้วน้องBไปแทน พอเราบอกไปแบบนั้นน้องAก็ถามว่าไม่ใช่พี่จุกไปบอกหัวหน้าเหรอว่าเขาไม่ต้องไป ตัวเองก็ตอบไปว่าไม่ได้บอก ตอนนั้นเราก็ยังรู้สึกเฉยๆกับคำถามนี้ แต่พออีกสักพักน้องได้ถามคำถามเดิมอีกครั้ง ตัวเองก็ยังตอบเหมือนเดิม หลังจากนั้นในใจแว้บขึ้นมาทันทีรู้สึกไม่สบายใจกับคำถามครั้งที่สอง เหมือนว่ากล่าวหาว่าเราบอก หรือไม่เชื่อในคำพูดเรา คิดอยู่สักพักก็เลยอยากรู้อย่าให้ความไม่สบายใจค้างอยู่
จึงถามไปว่าที่พูดออกมานั้นคิดแบบนั้นจริงหรือจึงถามพี่ถึงสองครั้ง เขาก็ตอบแบบหัวเราะว่าไม่มีอะไรหรอก หยอกเล่นอย่าคิดอะไรมาก
ทุกข์ : ไม่สบายใจที่ถูกกล่าวหาไม่เชื่อในคำพูดของเรา
สมุทัย: ชอบ สบายใจ ถ้าเขาเชื่อในคำพูดเรา ไม่กล่าวหาเรา ทุกข์ใจถ้าถูกกล่าวหา และเขาไม่เขื่อที่เราพูด
นิโรธ: เพื่อนจะเชื่อหรือไม่เชื่อในคำพูดเราจะกล่าวหาหรือไม่กล่าวหาก็ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ทุกข์ใจ
มรรค: เมื่อใจมันแว้บขึ้นมาไม่สบายใจจึงมาพิจารณาใจว่าเราไม่สบายใจจากการที่เขาถามแบบเดิมถึงสองครั้งทั้งๆที่อธิบายไปแล้ว เมื่อรู้ว่าเราถูกเอาคืนจากการที่เราเคยพูดหยอกล้อคนอื่นมามากทำความเสียหายให้คนอื่นมามากจากการพูดของเรา เราก็เคยที่ไม่เชื่อคนอื่น แล้วก็ยังนึกขึ้นได้ว่ากับน้องคนนี้เราเคยพูดเล่นจนเขาเสียหายมาแล้วเหมือนกันมันก็ถูกแล้วนะทีวิบากมายืมเขาทำให้เราเห็นตัวเรา ต้องขอบคุณเขาที่ทำให้เราเห็นกิเลสตัวนี้. ไม่มีอะไรบังเอิญทุกอย่างยุตติธรรมเสมอ สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่ทำมาใช้(บททบทวนธรรมข้อที่8) ต้องขอโทษ ขออภัยในการกระทำของเราที่ผ่านมา ขอบคุณที่ได้ใช้วิบาก พิจารณาได้แล้วใจโล่ง โปร่ง ไม่ทุกข์แล้ว
เรื่อง คิดผิดคิดถูก
ช่วงวันหยุดเดินทางไปหาคุณแม่ที่อำเภอใกล้เคียง ความตั้งใจอยากทำอาหารให้คุณแม่ทานแต่ต้องเป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เกิดความคิดว่าแม่ต้องเต็มใจทานโดยไม่ปฏิเสธอาหารที่เราทำ
ทุกข์ อยากให้คุณแม่ทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ชอบที่คุณแม่ทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ชังถ้าคุณแม่ทานเนื้อสัตว์
นิโรธ สภาพดับทุกข์เมื่อทำอาหารให้คุณแม่เสร็จแล้วท่านจะทานหรือไม่ทานก็ไม่มีอาการชอบที่ท่านยอมทานและไม่มีอาการชังถ้าท่านไม่ยอมทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัว์มรรค วีธีปฏิบัติพิจารณาบททบทวนธรรมว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกันเราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเราและฐานจิตของผู้อื่น ก่อนจะทำอาหารควรถามคุณแม่ว่าท่านจะรับประทานอาหารแบบไหน เมื่อทราบความต้องการของท่านแล้วเราจึงทำอาหารตามที่ท่านร้องขอถึงแม้ว่าท่านจะทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมในอาหารมื้อนั้นเราก็ทำให้ด้วยใจไม่ชอบไม่ชัง ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ ทำให้ใจเป็นสุข ที่ได้ทำอาหารให้คุณแม่รับประทานโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเกิดดีดั่งใจหมาย
ชื่อเรื่อง ใจร้อนก็ได้รับร้อน
เนื้อเรื่อง ได้บำเพ็ญต้มน้ำร้อนในยามเช้า เห็นว่ามีน้ำในกระติกเหลืออยู่ นึกว่าน้ำคงอุ่นเลยเทดื่ม แต่น้ำยังร้อนมากๆอยู่
เลยถูกน้ำร้อนลวกปาก
ทุกข์:เจ็บลิ้นและเพดานในปาก
สมุทัย:ชอบสภาพดีถ้าได้ประมาณให้พอเหมาะไม่ประมาททำให้ลิ้นและเพดานในปากไม่เจ็บ ชังสภาพไม่ดีเมื่อประมาณไม่พอเหมาะทำให้ประมาทเจ็บที่ลิ้นและเพดานในปาก ถ้าดีเกิดจะสุขใจ ถ้าร้ายเกิดจะทุกข์ใจ
นิโรธ:ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นเพราะประมาณไม่พอเหมาะทำให้ประมาทพลาดพลั้งก็ยินดีรับได้ทุกสถานการณ์ ทั้งสภาพดีก็เป็นสุขใจ เมื่อได้รับสภาพไม่ดีร้ายเกิดก็เป็นสุขใจ
มรรค:เห็นความใจร้อนของตนเองประมาณไม่พอเหมาะ
สำนึกผิดยอมรับผิด เป็นวิบากใหม่ในปัจจุบันที่ต้องรับในทันที่ทุกข์กาย แต่ใจไม่ทุกข์ เข้าใจชัดว่าเราประมาท ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่าเดา เวลาเปลี่ยนทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้หมด โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว รับเต็มๆ สุขเต็มๆ ได้ใช้วิบาก ดีนะที่ไม่เจ็บมาก ได้อมน้ำเปล่าธรรมดาก็ดีขึ้น ลิ้นรับรู้รสได้ปกติ ถ้าเป็นเมื่อก่อนกินน้ำร้อนๆเพราะใจร้อนทีไร จะทำให้ไม่ค่อยรู้รสอาหารหลายวันเชียวกว่าจะหาย แต่ครั้งนี้เราได้มาบำเพ็ญร่วมบารมีร่วมกุศลกับหมู่มิตรดี สหายดี ทำให้เกิดกุศลคุ้มครองได้เร็ว
สรุป :วันต่อมาใช้น้ำปัสสาวะแช่มังคุดทา วันเดียว ลิ้นและเพดานกลับมาเป็นปกติแล้ว
🍀เวลาชีวิต มีน้อยนัก สั้นนัก เอาแน่ไม่ได้
อย่าประมาท
กิเลสตัวเดิม
เนื่องจากอาจารย์หมอเขียวท่านสอนเสมอว่า “จะเคารพใครให้เคารพที่ศีลให้ดูที่ศีล คนเก่งแต่ไม่มีศีลอาจารย์ไม่เสียดายไม่อยากได้ คนไม่เก่งไม่เป็นไร ให้เป็นคนดีมีศีลไว้ก่อน ความเก่งค่อยมาฝึกเอาทีหลังก็ได้” ซึ่งคำสอนนี้รู้สึกตรงใจเรามากและได้ปฏิบัติตามมาเสมอ
ดังนั้นเวลาที่จะเคารพใครศรัทธาใคร จะมีแค่ความเก่งอย่างเดียวจึงไม่พอ เพราะเราก็จะเคารพตรงที่ศีลของท่าน ว่าท่านศีลดีอย่างไร ว่าท่านลดกิเลสเก่งไหม สามารถบอกสอนให้เราลดกิเลสได้ด้วยไหม และเราก็จะรู้สึกเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรมของพี่น้องหมู่มิตรดีที่จะทำให้เราลดกิเลสและพาให้จิตวิญญาณเราเจริญขึ้นได้ ส่งผลให้เวลาเห็นคนที่เขามองข้ามหรือไม่เห็นคุณค่ากับกิจกรรมเหล่านี้ ก็ทำให้บอกตนเองในใจว่า อ้อเขาไม่เห็นคุณค่าในสิ่งนี้เหมือนเราหนอ
ทุกข์ : ไม่แช่มชื่น ที่ได้ยินที่ได้เห็นคนที่มีทีท่าที่แสดงออกว่า ตีทิ้งหรือมองข้ามความสำคัญของกิจกรรมที่พากันลดกิเลสของพี่น้องหมู่มิตรดี และส่งผลให้รู้สึกไม่อยากเคารพเขาในมุมนี้ไปด้วย
สมุทัย : ยึดว่า ว่ากิจกรรมของพี่น้องหมู่มิตรดีนี้เป็นสิ่งดีมีคุณค่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะพาให้เราพ้นทุกข์ได้ ไม่ควรมองข้าม
นิโรธ : การที่มีคนเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่พากันลดกิเลสของหมู่มิตรดีนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ามีคนไม่เห็นคุณค่าไม่ให้ความสำคัญเหมือนเรา เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ ควรจะเบิกบานแจ่มใส่ให้ได้
มรรค : ที่เขาตีทิ้งไม่เห็นคุณค่าไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเหล่านี้ เพราะเขายังไม่เห็นประโยชน์ การที่ใครจะเห็นคุณค่าในสิ่งไหนได้ ก็เพราะว่าเขาเห็นประโยชน์ในสิ่งนั้น ก็เป็นไปตามฐานจิตของแต่ละชีวิต จะให้เหมือนกันหมดเป็นไปไม่ได้ การที่เราเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับสิ่งดีดีแบบนี้ก็ดีแล้ว แต่จิตที่เราไปยึดว่านี่ดีและคนอื่นควรเห็นว่าดีแบบที่เราเห็นนี่ไม่ดี แล้วยังจะไปนึกเพ่งเขาตำหนิเขาในใจแบบนี้นี่มันชั่วแล้ว ต้องรีบกำจัดออก ตั้งจิตใหม่ให้ถูกคือ เคารพในส่วนดีเมตตาอุเบกขาในส่วนด้อยส่วนพร่อง ให้เวลาให้โอกาสแต่ละชีวิตให้ได้เป็นไปตามฐานจิตของแต่และชีวิตค่อยๆพัฒนาไปเป็นลำดับ ๆ อย่าใจแคบ แม้แต่เราเองก็ยังต้องเป็นไปตามลำดับเช่นกัน