การบ้าน อริยสัจ 4 (1/2564) [33:39]

640103 การบ้าน อริยสัจ 4 (1/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปสัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านทั้งหมด 33 ท่าน 39 เรื่อง

  1. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
  2. นางจิราภรณ์ ทองคู่
  3. นางสาวฐิติมา ใหม่สมเด็จ
  4. นางกานดา ศักดิ์ศรชัย
  5. ภาคภูมิ ยอดปรีดา
  6. โยธกา รือเซ็นแบร์ก
  7. นวลนภา ยุคันตพรพงษ์
  8. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  9. นางพรรณทิวา เกตุกลม
  10. นางบุญแดนสุข ใหม่ซ้อน
  11. สำรวม แก้วแกมจันทร์ (2)
  12. นปภา รัตนวงศา (2)
  13. นางสาวสันทนา ประวงศ์
  14. บัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม
  15. เอมอร ศรีทองฉิม (5)
  16. พรพิทย์ สามสี
  17. นางสาวเสริมศรี ชวานิสากุล
  18. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  19. ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
  20. ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
  21. jariya janpakdee
  22. ปิ่น คำเพียงเพชร
  23. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
  24. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์
  25. อรวิภา กริฟฟิธส์
  26. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน
  27. นฤมล ยังแช่ม
  28. นายรวม เกตุกลม
  29. ประคอง เก็บนาค
  30. เสาวรี หวังประเสริฐ
  31. ขวัญจิต เฟื่องฟู
  32. ศิริพร คำวงษ์ศรี
  33. ศิริพร ไตรยสุทธิ์

Tags:

36 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (1/2564) [33:39]”

  1. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    อริยสัจ 4 the Four Noble Truth
    ชื่อเรื่อง ความกลัวความหวั่นไหว
    เมื่อมีเวลาจะโทรคุยกับแม่บ้างเพื่อรักษาจิตวิญญานท่าน ไม่ให้ท่านรู้สึกว่าถูกเราทอดทิ้งหรือเหงามากเกินไป ถามไถ่แสดงความห่วงใยท่านแล้ว ท่านก็พูดด้วยน้ำเสียงแจ่มใสว่าคนในหมู่บ้านคนนั้นคนนี้ก็ตายแล้วนะ เราก็ถามท่านไปว่าแล้วแม่รู้สึกอย่างไรบ้าง กลัวไหมกลัวตายไหม ท่านก็ตอบเหมือนทุกครั้งว่าไม่กลัวเพราะคนเราเกิดมาก็ต้องตายทุกคน แต่ครั้งนี้สังเกตเห็นว่าแม่มีน้ำเสียงที่ดูหนักแน่น มั่นคงไม่มีความหวั่นไหวเหมือนแต่ก่อน ที่พอพูดถึงเรื่องความตายที่ดูเหมือนจะเกิดอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ท่านจะมีน้ำเสียงเครือๆอยู่ในที จึงรู้สึกว่าท่านมีจิตใจที่มั่นคงขึ้น ทำให้รู้สึกว่า เบาใจ ไม่กระวนกระวายเพราะห่วงใยท่านมากมายเหมือนแต่ก่อน พอวันนี้ได้ลงไปร่วมงานเผาศพของคุณอาจิตอาสาท่านหนึ่ง ตอนนั่งรถกลับ ก็มีความรู้สึกหวั่นไหววูบขึ้นมา จึงถามตัวเองว่า แล้วเรากลัวหรือเปล่า กลัวตายหรือเปล่า มันก็ยังตอบตัวเองไม่ได้ก็ได้แต่คิดว่าไม่รู้สิมันยังไม่ถึงเวลา แล้วถ้าแม่ตายเราจะช็อคไหม คำตอบก็ยังไม่แน่ใจอีกเพราะมันยังไม่ถึงเวลาพอถึงเวลาก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรรู้แต่เพียงว่าจะทำทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นให้มากที่สุดทุกขณะปัจจุบันก็พอ
    ทุกข์ (The Truth of suffering) มันรู้สึกมีความอ้างว้างขึ้นในใจ เป็นความรู้สึกเหมือนกลัวหรือหวั่นไหว
    สมุทัย(The Truth of the cause of suffering) รู้สึกว่าตัวเองยังมีความกลัวความตายซ่อนอยู่ลึกๆ มันยังหวั่นไหวอยู่ใจยังไม่หนักแน่นมั่นคงพอกับเรื่องนี้
    นิโรธ(The Truth of state To End of suffering) ก็ไม่รู้ว่าจะโง่คิดให้ตัวเองทุกข์ใจทำไม มันทำให้เห็นใจที่ไม่อยู่กับปัจจุบันของตัวเอง อาจารย์ก็บอกอยู่แล้วว่า ให้ตั้งใจปฏิบัติศีลให้ดีเพราะเมื่อเราปฏิบัติศีลอย่างจริงจังจนลดกิเลสได้แล้วใจเราจะมั่นคงขึ้นเป็นลำดับ จนหมดความกลัว ความหวั่นไหวกับอะไรแม้แต่ว่าจะต้องตาย
    มรรค(The Truth of the path to end of suffering) ใช้บททบทวนธรรมของอาจารย์ที่ว่าเมื่อเราทำดีที่สามารถทำได้ในทุกวินาทีปัจจุบันให้ดีที่สุดแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกลัวต้องหวั่นไหวอีก เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเมื่อเราทำดีที่สุดแล้วแม้เราตายหรือละจากโลกนี้ไปก็จะมีแต่สิ่งดีๆรออยู่ข้างหน้า ตายก็ไปเกิดใหม่ไปทำดีต่อ อยู่ก็สู้ต่อไปจะทำดีต่อ

  2. นางจิราภรณ์ ทองคู่

    เรื่อง หาเรื่องที่จะทำการบ้านไม่ได้

    เนื้อเรื่อง ใกล้ถึงวันส่งการบ้านอริยสัจสี่ แต่ยังหาเรื่องทุกข์ใจไม่เจอ แต่ละวันก็ไม่มีผัสสะให้ทุกข์ใจ การได้อยู่กับสัตบุรุษ หมู่มิตรดี คนมีศีล ที่ภูผาฟ้าน้ำไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรทุกคนก็ร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกัน หาเรื่องที่จะทำให้ทุกข์ใจไม่มีจึงไม่รู้จะเอาเรื่องอะไรมาเขียนการบ้าน

    ทุกข์ ไม่มีเรื่องให้ทำการบ้าน

    สมุทัย ถ้ามีเรื่องให้ทำการบ้านจะเป็นสุข ถ้าไม่มีเรื่องให้ทำการบ้านทุกข์ใจ

    นิโรธ จะมีเรื่องให้ทำการบ้านหรือไม่มีเรื่องให้ทำการบ้านก็สุขใจ

    มรรค เป็นช่วงที่วิบากดีออกฤทธิ์จึงมีแต่เรื่องดี ๆ เกิดขึ้น เราจึงสุขใจได้ตลอดเวลา

  3. นางสาวฐิติมาใหม่สมเด็จ

    ทุกข์เห็นอาการโกรธ
    สมุทัย อยากไม่โกรธ
    นิโรธ เห็นอาการโกรธก็ไห้รู้ว่าโกรธ ไม่ชอบชัง
    สมุทัย ตั้งศีลไม่โกรธ
    น.ส.ฐิติมา ใหม่สมเด็จ

  4. นางกานดา ศักดิ์ศรชัย

    การบ้านอริยสัจ 4

    เรื่อง มันต้องยอมเมื่อไม่ได้ดั่งใจ (ตอนที่ 2)

    เนื้อเรื่อง วันนี้พ่อบ้านออกไปเล่นกอล์ฟกับน้องชายตอนช่วงเช้า จึงรออยู่ที่บ้าน คาดว่าจะกลับมารับไปกินข้าวกลางวันได้ตามปกติ เมื่อรอจนถึง 13:30 น ไม่มีข่าวคราววี่แววว่าอย่างไร จึงโทรศัพท์ไปถามว่าจะกลับเมื่อใด คำตอบที่ได้รับคือยังเล่นไม่เสร็จต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ประมาณเวลาแล้วก็จะเลยอาหารกลางวันไปมากแล้วถ้าจะรอ จะงดมื้อนี้ดีหรือว่าจะทำกินเองที่บ้านแบบง่ายๆ ได้ตกลงใจว่าทำข้าวต้มกินกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์และเกลือ ผลไม้อีกเล็กน้อยก็พอแก้ขัดได้

    ทุกข์อริยสัจ ไม่พอใจที่พ่อบ้านไม่บอกกล่าวเรื่องเวลากลับ

    สมุทัย ถ้าพ่อบ้านบอกเรื่องเวลาว่าจะกลับเมื่อใดจะเป็นสุข ถ้าไม่บอกจะเป็นทุกข์ เพราะยึดหลักเกณท์ที่ตัวเองชอบถ้าได้ตามชอบจึงจะเป็นสุขถ้าไม่ได้ตามชอบก็จะเป็นทุกข์

    นิโรธ พ่อบ้านจะบอกก่อนหรือไม่บอกก่อนก็เป็นสุขได้ ไม่ต้องอยากรู้ไปทุกอย่างที่ต้องการตามใจชอบก็เป็นสุขได้

    มรรค เมื่อจับอารมณ์ไม่พอใจได้ มองเห็นว่านี่คือกิเลส และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ปัญหาของพ่อบ้านที่ไม่บอกเรา แต่เป็นปัญหาของเราเองที่มีมานาน และยังไม่เคยที่จะยอมรับอย่างจริงใจว่า ตัวเองเป็นต้นเหตุของความทุกข์นี้ มักจะโทษว่าเป็นเพราะเขาไม่พูดไม่บอก ทำไมไม่รู้จักบอก และมักจะนำไปสู่ความไม่พอใจกันทั้งสองฝ่าย 8 ปีกับการติดตามอาจารย์หมอเขียวทำให้เข้าใจได้ว่า การที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา เป็นสิ่งที่เราได้ทำมา เป็นวิบากร้ายของเราที่เหนี่ยวนำให้พ่อบ้านไม่บอกกล่าว โดยคิดว่ารู้อยู่แล้ว(เมื่อมีโอกาสสอบถามเหตุผลที่ไม่ได้บอกเวลากลับ) แต่ในช่วงแรกยังไม่ยอมรับว่าเราเป็นต้นเหตุจึงไปโกรธ ไปไม่ชอบ เพราะตามผัสสะไม่ทัน เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็บอกกับตัวเองว่า ให้ยอมรับว่าเป็นต้นเหตุ เลิกโทษคนอื่นได้แล้ว หายโง่ได้แล้ว บอกกับตัวเองอย่างนี้อยู่ 2-3 ครั้ง ความรู้สึกไม่ชอบใจก็คลายลง ได้พิจารณาให้ยอมรับอีกหลายครั้งซ้ำๆ ซ้อมพูดในใจไว้ก่อนที่จะพบกัน จะพูดคุยด้วยใจที่ไม่โทษว่าพ่อบ้านผิดต่อเรา ที่ไม่แจ้งเวลากับเรา ไม่ต่อว่า ไม่เอ่ยถึงเรื่องนี้
    สาเหตุของการที่ได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นวิบากของเรา ที่เราจะต้องได้รับ การที่พ่อบ้านไม่บอก ก็เป็นเพราะวิบากร้ายของเราไปเหนี่ยวนำให้พ่อบ้านทำเช่นนั้น ทำความเห็นเช่นนี้ พร้อมกับน้อมใจให้ยอมรับความจริง ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้ผิดได้โดยรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย และเป็นสุขได้
    เหตุการณ์ครั้งนี้ชัดเจนเรื่องที่ชอบโทษคนอื่น ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ตัวเองนั่นแหละคือต้นเหตุ จนเกิดทุกข์บ่อยๆ การที่สามารถรับรู้เรื่องราวของกิเลส ที่มาของกิเลส และวิธีล้างกิเลสได้ ก็เพราะได้พบสัตบุรุษได้ฟังสัทธรรม และได้พบกับหมู่มิตรดีนั่นเอง สาธุค่ะ

  5. ภาคภูมิ ยอดปรีดา

    ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ด้วยการดับทุกข์ใจด้วยหลักอริยสัจ 4

    เนื่องจากใกล้จะหมดเขตที่จะสามารถยืนยันตัวตนโครงการคนละครึ่งเฟส 2 ได้ และด้วยเหตุปัจจัยบางอย่างจึงทำให้น้าของผมท่านหนึ่งยังไม่ได้ยืนยันตัวตน

    เมื่อผมลองพิจารณาเหตุปัจจัยต่างๆ จึงแนะนำไปว่าวิธีการยืนยันตัวตนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับน้าน่าจะเป็นการไปยืนยันตัวตนที่ธนาคาร ว่าแล้วผมจึงอาสาพาน้าไปที่ธนาคารด้วยตัวผมเอง

    เมื่อไปถึงธนาคารกดรับบัตรคิวเรียบร้อย ปรากฎว่าต้องรออีกประมาณ 5 คิวถึงจะถึงคิวของน้า นั่งรออยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมง น้าก็บอกผมว่า “กลับบ้านดีกว่าน้าไม่เอาสิทธิแล้ว เพราะสงสัยคงต้องรออีกนานและน้าก็ต้องรีบไปเปิดร้านอาหาร”

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ผมรู้สึกเว้าใจ แหว่งใจ และทุกข์ใจ เพราะคิดว่าทั้งๆ ที่ผมพยายามคิดหาวิธีให้แล้วและก็พยายามช่วยอย่างเต็มที่แล้ว แต่ทำไมน้าจึงไม่ยอมเชื่อและทำตามในสิ่งที่ผมแนะนำ

    ทุกข์ : รู้สึกเว้าใจ แหว่งใจ และทุกข์ใจ จากการที่น้าไม่ยอมเชื่อและทำตามที่ผมแนะนำ

    สมุทัย : ถ้าน้าเชื่อและทำตามที่ผมแนะนำจะสุขใจ แต่ถ้าน้าไม่เชื่อและไม่ทำตามที่ผมแนะนำจะทุกข์ใจ

    นิโรธ : สามารถทำใจให้ไร้ทุกข์ได้ไม่ว่าน้าจะเชื่อหรือไม่เชื่อจะทำตามหรือไม่ทำตามในสิ่งที่ผมได้แนะนำไป

    มรรค : พิจารณาในเรื่อง “วิบากกรรม” ว่า ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแต่ทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของผมล้วนแล้วเกิดมาจากการกระทำของตัวผมเองทั้งนั้น และพิจารณาในเรื่องพรหม 3 หน้า พรหม 4 หน้า และทำใจในใจให้แยบคายว่า ถ้าไม่อยากเป็น “คนดีที่โลกไม่ต้องการ” และไม่อยาก “ตกนรกของคนดี” ต้องไม่ลืมที่จะ “วางดี” ด้วยทุกครั้งหลังจากที่ได้คิดดี พูดดี ทำดี ไปแล้ว

  6. โยธกา รือเซ็นแบร์ก

    ยังห่วง

    ข้าพเจ้าเข้านอนแต่หัวค่ำตื่นมาเกือบ4ทุ่ม พ่อบ้านบอกว่าลูกออกไปหาเพื่อน1คนไม่มีเพื่อนคนอื่นเอารถไปคงไม่ดึกหรอก ข้าพเจ้าพากเพียรตัดความห่วงในตัวลูก ทำมา 2 ปี ประเมินเห็นว่าตัวเองคลายความห่วงในตัวลูกชายลดลงไปมาก ครั้งนี้ก็เห็นว่ายังมีความห่วงอยู่ คือไม่สมควรจะออกไปข้างนอกเจอใครในระยะนี้ และพรุ่งนี้เช้าต้องทำงานแทนพ่อ เดี๋ยวจะตื่นเช้าไม่ได้ เข้าไปนอนใหม่ก็ยังไม่หลับ นอนพิจารณา เห็นใจตัวเอง อยากจะส่ง SMS เตือนลูกอย่ากลับดึกมากนะ หยิบมือถือแล้วจับวางๆทำเช่นนั้นอยู่หลายรอบ คุยกับตัวเองว่าเรากำลังตัดความห่วงลูกอยู่ไม่ใช่หรือ?ลูกโตแล้วคิดเองได้แล้ว จะต้องบอกอะไรอีกเป็นเดือนแล้วลูกไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนเลย ถ้าทำเหมือนก่อนๆอีกก็แสดงว่าที่เราพยายามทำมาไม่ได้ลด ละ ความห่วงลงเลย พอวางใจไม่ส่ง SMS แล้ว อาการทางกายไม่นิ่งที่นอนผลิกซ้ายผลิกขวาก็เริ่มนิ่งลงๆและหลับไป.

    ทุกข์ : (ใจ)กระสับกระส่าย ( กาย)ไม่นิ่ง
    สมุทัย : ห่วง ไม่อยากให้ลูกกลับดึก เพราะจะตื่นเช้าไม่ได้.
    นิโรธ : วางใจ เบิกบานใจ ลูกจะกลับตอนใหนก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค : พิจารณาถ้าเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนคงจะไม่ต้องคิดนานไม่ต้องทบทวนอะไร จะทำตามใจตัวเองโทรฯ หรือไม่ก็เขียนส่งเลย เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ได้เห็นใจตัวเองว่าตัดความห่วงมากอยู่และทำได้เป็นลำดับๆ เมื่อ2ปีก่อนห่วง เกิน100% มาถึงวันนี้ ทำได้ถึง 90% แตกต่างกันมากแต่คงต้องใช้เวลา ความห่วงลูกอยู่ อีก10 % จะขอพากเพียรต่อไป กราบสาธุค่ะ.

  7. นวลนภา ยุคันตพรพงษ์

    ทุกข์จากการตัดต่องานที่จะโพตส์

    เข้าร่วมเรียนการตัดต่อคลิป ดูเหมือนง่ายไม่น่ามีปัญหาอะไร ตามทันทุกขั้นตอน

    ทุกข์ ทำคลิปที่จะโพสต์ทุกวันในตอนเช้ามืดไม่ทันจากการลืมขั้นตอนบางอย่าง

    สมุทัย ใจร้อนทำคลิปตัดต่อเสร็จไม่ทันโพสต์ตอนเช้าทุกข์ใจ

    นิโรธ ตัดต่อคลิปไม่เสร็จ ไม่ได้โพสต์ก็ไม่ทุกข์ใจ สุขใจได้ เพราะความสำเร็จของงานคือความสำเร็จของใจ

    มรรค หาหนทางดับทุกข์ด้วยกฎไตรลักษณืว่าไม่มีอะไรเที่ยง ไม่โพสต์งานสักวันหรือช้าเป็นเวลาสายๆก็ไม่เป็นไร ดีกว่าเร่งส่งไปทั้งที่ยังผิด และผิดก็เป็นบทเรียนจะได้มีคำถามขอความรู้เพิ่มเติมในการเรียนครั้งต่อไป และวางมือเมื่อเบียดเบียนสุขภาพมากเกินไป ไปสวนล้างลำไส้เอาพิษออกดีกว่า

  8. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    ชื่อเรื่อง — ทำยังไงดีของที่ซื้อมามีของเสียปนมาด้วย

    เนื้อเรื่อง — เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ช่วงบ่าย ผมทำงานผลิตถั่วลิสงอบเกลือพร้อมรับประทานเพื่อให้เป็นสินค้าอย่างหนึ่งของร้านค้าที่ผมเพิ่งเปิดขายได้ไม่นาน ระหว่างการทำงานเจอปัญหาว่าถั่วลิสงดิบที่สั่งซื้อมามีเมล็ดถั่วที่เสียหายปะปนมามาก ต้องเสียเวลาเลือกเอาออกก่อนจะนำไปอบ ทำให้ทำงานได้ช้ามาก นอกจากนี้ ถั่วที่อบออกมาแล้วก็ต้องมาเลือกบางส่วนที่แตกหักออกไปอีก รวม ๆ แล้วถั่วหนึ่งกระสอบที่ซื้อมาคงจะเลือกมาอบขายได้ไม่ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เสียหายคงต้องเอาไปทำปุ๋ยเท่านั้น

    ทุกข์ — ไม่พอใจเมื่อเห็นถั่วที่ซื้อมามีส่วนที่เสียหายปะปนมามาก ไม่ยินดีที่ต้องมาเสียเวลานั่งเลือกเมล็ดถั่วที่เสียหายออก ทำให้เสียเวลาในการทำงานมากขึ้น

    สมุทัย — มีตัณหา คืออยากให้ถั่วที่ซื้อมามีคุณภาพดี ไม่มีเมล็ดถั่วที่เสียหาย มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าได้ถั่วคุณภาพดีสมบูรณ์แบบจะสุขใจ ถ้าได้ถั่วไม่ดีปะปนมาจะทุกข์ใจ

    นิโรธ — ถั่วจะมีคุณภาพดีหรือไม่ดีก็ได้ เราจะเสียเวลาเลือกถั่วมากหรือน้อยก็ได้ เราก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค — พิจารณาวิบากกรรมว่า เราได้รับถั่วที่เสียหายมาจำนวนหนึ่งก็เพราะวิบากร้ายของเราส่งมาให้ชดใช้ ในชาติก่อน ๆ เราก็เคยส่งของคุณภาพไม่ดีให้คนอื่นมาก่อน จึงต้องมาชดใช้ในชาตินี้ แต่เราก็พอมีกุศลอยู่บ้าง เพราะถั่วที่ซื้อมาก็ยังใช้ได้เป็นส่วนใหญ่ เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จึงทำใจในใจให้ยินดีพอใจในสิ่งที่เราได้รับ และยอมรับที่จะชดใช้วิบากที่เกิดขึ้น รับแล้วมันก็จะหมดไป ครั้งต่อ ๆ ไปก็คงจะได้ถั่วที่มีคุณภาพดีมากขึ้น

    นอกจากนี้ก็พิจารณาโทษของกิเลส คือความไม่พอใจที่ต้องเสียเวลาเลือกถั่วนาน มองให้เห็นโทษของการคิดโทษผู้ขายที่ส่งถั่วคุณภาพไม่ดีปะปนมา เพราะถ้าเรายิ่งคิดโทษเขา เราก็จะยิ่งทุกข์หนักขึ้น มีแต่ความรุ่มร้อน โกรธเคืองในใจ ต้องเปลี่ยนความคิดแบบกิเลสมาเป็นพุทธะให้ได้ คือมองเห็นว่าเราไปแก้ไขอะไรที่ผู้ขายไม่ได้แล้วสำหรับถั่วกระสอบนี้ เพราะมันได้มาอยู่ที่เราเรียบร้อยแล้ว หน้าที่เราคือพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด แล้วหาวิธีให้ได้ถั่วที่มีคุณภาพดีขึ้นในการซื้อสินค้ารอบถัดไป แก้ปัญหาโดยไม่ต้องไปโทษใคร ไม่สั่งสมความไม่พอใจไว้ที่เรา ทำทุกอย่างที่ทำได้ในปัจจุบันให้ดีที่สุด ด้วยความยินดี พอใจ ไร้กังวลใด ๆ

  9. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง มาจากเหตุ
    ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 หลังกลับจากภูผาฟ้าน้ำร่างกายเกิดเสียสมดุลด้วยอาการหนาวอยู่ในร่างกาย ศีรษะตื้อแต่ไม่มีอาการไข้ ไม่ไอหรือเจ็บคอ นั่งไม่ได้จะมีอาอารคลื่นไส้ ยืนจะวูบๆยิ่งถ้าเดินจะเซซ้ายเซขวาคล้ายจะถลา ท้องก็ปั่นป่วนรับประทานอะไรไม่ได้เลยจะอาเจียน จิบแต่น้ำได้ครั้งละเล็กน้อยต้องนอนหลับตานิ่งๆอยู่ 3 วันจากนั้นหันมาตั้งสติ พร้อมทำใจ วางใจในเมื่อลุกไม่ได้ก็พักด้วยใจที่ไร้ทุกข์แต่ไม่ละเลยที่จะถอนพิษปรับสมดุลร่างกายด้วยยา 9 เม็ดจนดีขึ้นและหายเป็นปกติ จากอาการที่เกิดเป็นเหตุให้เขียนการบ้านส่งไม่ได้จึงรู้สึกไม่สบายใจ

    ทุกข์:ไม่สบายใจ ที่ไม่ได้ส่งการบ้าน

    สมุทัย:ยึดดีในการส่งการบ้านว่า ถ้าได้ส่งการบ้านแล้วจะเป็นสุข แต่ส่งการบ้านไม่ได้จึงไม่สบายใจ

    นิโรธ:จะได้ส่งการบ้านหรือไม่ได้ส่งการบ้านเราก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุข สบายใจตลอดเวลา

    มรรค:ตั้งสติ ไม่ใจร้อนด้วยการทำใจ วางใจไม่ปล่อยใจไปกับอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เพียรปรับสมดุลร่างกายด้วยยา 9 เม็ด พร้อมทั้งเพียรพักให้พอดีกับกำลังตัวเองในขณะนั้นด้วยใจที่ไร้ทุกข์ ไม่เร่งผล ไม่กังวล จะหายช้า หายเร็ว หายเมื่อไรก็ได้ จนอาการจางคลายดีขึ้นตามลำดับในที่สุดก็หายเป็นปกติ

  10. นางบุญแดนสุข ใหม่ซ้อน

    เรื่อง เผางวงตาล
    ได้เก็บงวงตาล(ต้นตะโหนด)เพื่อตากแห้งเอาทำน้ำด่างไว้ทำขนม พอจะไปเอามาใช้แต่ไม่เห็นงวงตาลเสียแล้วเพราะน้องสาวเก็บเผาจนหมด ได้ถามนัองว่าว่าเก็บเผาหรือเปล่าแต่น้องปฏิเสธ จึงหันมาดูใจตัวเองปรับใจตัวเองทันทีว่าโกรธน้องไหมในใจไม่ไดโกรธน้องเพราะเข้าใจเรื่องกรรมว่า สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา เราเคยทำแบบนี้มาจึงยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจไม่โทษใครเพราะทำมามากกว่านี้

    ทุกข์:เสียใจ ที่น้องเผางวงตาล

    สมุทัย:ยึดว่าถ้าน้องไม่เผางวงตาลเราจะเป็นสุข น้องเผางวงตาลเราจึงเสียใจ

    นิโรธ:น้องจะเผางวงตาลหรือไม่เผาเราก็ไม่ทุกข์ใจ ไม่เสียใจ

    มรรค:ทำใจ วางใจ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพร้อมรับเต็มๆหมดเต็มๆ โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้วดัวยการทำดี เรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ

  11. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    เรื่อง “อยากให้เพื่อนทำการบ้าน”

    เนื้อเรื่อง ในหลักสูตรการเรียนของนักศึกษาวิชชาราม ทุกคนต้องทำการบ้านส่งโดยวิธีการเขียนส่งผ่านระบบออนไลน์ เรื่องที่ส่งเป็นการบ้าน คือ ให้เขียนสภาวธรรมเรื่องเกี่ยวกับการตั้งศีลปฏิบัติธรรมแล้วพบเจอกับผัสสะอะไรบ้าง เกิดทุกข์อย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร เกิดผลอย่างไร ให้เขียนถ่ายทอดโดยใช้วิธีของอริยสัจ4 ซึ่งตัวเองได้รับการมอบหมายจากหมู่กลุ่มว่า ให้รับภาระทำหน้าที่แนะนำ ช่วยเหลือเพื่อนๆ ให้ได้ทำการบ้านส่ง ทั้งนี้ได้แนะนำช่วยเหลือเป็นระบบกลุ่มมาแล้ว ผ่านรายบุคคลก็ได้ทำมาแล้ว ทั้งได้เชิญชวนแนะนำผ่านไลน์กลุ่มก็ได้ทำมาแล้วเช่นกัน แม้ว่า วันเวลาผ่านไปนาน 2-3 แล้ว ก็ยังมีเพื่อนอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีการบ้านส่ง มีเพื่อนแค่เพียง 6-8 คน ที่ได้ส่งประจำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ความทุกข์เกิดขึ้น เพราะมีความอยากให้เพื่อนได้ส่งการบ้านกันมากๆ

    ทุกข์ : อยากให้เพื่อนได้ส่งการบ้านกันมากๆ

    สมุทัย : ถ้ามีเพื่อนๆ ได้ทำการบ้านส่งมากๆ จะสุขใจ แต่เพื่อนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ทำการบ้านส่ง จึงเกิดความทุกข์ใจ

    นิโรธ : เพื่อนจะส่งหรือไม่ส่งการบ้าน ก็สุขใจ ไม่เห็นจะต้องทุกข์ใจกับอะไร

    มรรค : หยุดวิธีคิดแบบเดิมๆ ที่เคยยึดติดว่า “ต้องสมบูรณ์แบบ พร่องไม่ได้” เรียกว่า
    “โง่อย่างอัตโนมัติ” โง่เท่าที่ทุกข์ ทุกข์เท่าที่โง่
    ทุกข์ทำไม???
    ทุกข์ให้โง่อยู่อีกทำไมๆๆๆ????? “โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ”
    จึงได้น้อมนำเอาบททบวนธรรมที่อาจารย์มอบให้ไว้ มาใช้มาหลายๆ บท ท่องไปๆ จนเกิดเป็นปัญญา พาพ้นทุกข์ ตามลำดับๆ ไล่มาตั้งแต่บทที่ 1 เรื่องการเข้าใจผิด บทที่ 2 ฐานจิตแตกต่างกัน บทที่ 3 จึงเริ่มนับหนึ่งที่เรา ไล่ไปเรื่อยๆ โดนตรงๆ ตรงเกือบทุกบท จึงได้เปลี่ยนวิธีคิดอย่างมีสติ พิจารณา ใช้ปัญญาใคร่ครวญไตร่ตรอง จึงหายโง่ฉับพลัน ทันทีที่พอวางใจสิ่งที่ยึดได้ ใครจะได้ทำการบ้านส่งหรือไม่ทำการบ้านส่ง ก็ไม่ทุกข์ใจ เกิดความรู้สึกใหม่ที่ โล่งเบา สบาย ได้จริงๆ ใครไม่พบเจอด้วยตัวเองก็จะไม่รู้ ต้องทดลองพิสูจน์ด้วยตัวเองเท่านั้น

    ผัสสะที่มากระทบคือตัวกิเลสเป็นมารร้าย ความชอบ-ไม่ชอบ เป็นกิเลสมาร คือ เหตุแห่งทุกข์ทั้งมวล ฝึกการวางสิ่งที่ยึด บ่อยๆ จะวางใจได้เร็วขึ้น ว่า การไม่ชอบ-ไม่ชัง ได้พลังสุดๆ ได้สุขสุดๆ จริงแท้

  12. นปภา รัตนวงศา

    สร้างเพิ่มกิเลสเพิ่ม
    สืบเนื่องจาก มีที่บริเวณข้างบ้านของน้องชายได้ขายให้ ใช้เป็นคอกสุนัข พ่อบ้านเลยคิดสร้างห้องเพื่อจะไว้เก็บรถและทำห้องไว้เผื่อใช้งานในวันข้างหน้า ใจตัวเองไม่อยากทำอะไรอีก ดูตามสถานการณ์แล้วมันไม่จำเป็น เงียบ อยากให้อยู่เฉยๆ เงินทองไม่จำเป็นก็เก็บไว้ใช้จ่ายในเวลาจำเป็น
    เขาก็อ้างว่า ตอนนี้มีเงินอยู่ถ้าไม่ทำตอนนี้จะทำตอนไหน
    ทุกข์ ไม่อยากให้สร้างห้องเพิ่มเติม
    สมุทัย ถ้าพ่อบ้านไม่สร้างห้องเพิ่มเติมจะสุขใจ แต่ถ้าสร้างห้องเพิ่มเติมจะทุกข์ใจ
    นิโรธ พ่อบ้านจะสร้างห้องหรือไม่สร้างห้องก็สุขใจให้ได้ เรามีหน้าที่แค่ให้ข้อมูลทุกอย่างเดี่ยวมันก็หมดไป สลายไป สร้างมามากคนอื่นเขาก็ขาดแคลน จะเป็นพลังสันนิทานนำความทุกข์มาให้ชั่วกัปชั่วกัลป์
    มรรค ตั้งศีลนับ1ที่เรา เริ่มต้นที่เรา ทำความดีที่เรา นี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตน และช่วยคนให้พ้นทุกข์ ทำที่ตนเองไม่ใช่ที่เขา อย่าทำทุกข์ทับถมตน อย่าแบกชีวิตผู้อื่น ถ้าเขายังมีเงินที่จะสร้างที่จะทำก็ให้เขาทำ อย่าไปวิวาทะ ใจเราไม่ทุกข์ไม่กังวล ซึ่งการได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลง ชิงชัง รังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา เราก็เคยอยากได้โน้นอยากได้นี่มาไม่สิ้นสุดไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ พอเขาทำบ้างก็ชิงชังไม่ถูกใจ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา รับเสีย รับแล้วก็หมดไป ก็จะโชคดีขึ้น อาจารย์สอนอย่าวิวาทกับบุคคลสำคัญ สิ่งที่เขาทำเป็นวิบากของเขา ในเมื่อเราบอกแล้ว เตือนแล้วก็วาง เพราะเราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา ปล่อยให้ทุกข์สอนเอง เพิ่มศีลขึ้น ตั้งศีลช่วยเหลือหมู่กลุ่มทั้งแรงกายและปัญญาที่มีให้เต็มความรู้ความสามารถ ฝึกอ่านใจตลอดเวลาว่าเราทุกข์ไหม อ่านให้ได้ จับให้ทันแล้วสอนใจตัวเอง ก็ไม่ทุกข์ไม่กังวลเขาจะสร้างก็สร้าง แต่ใจเราไม่ทุกข์เป็นพอ

  13. นางสาวสันทนา ประวงศ์

    เรื่อง : กิเลสความโมหะ หลง มั่ว

    เหตุการณ์ : ได้คุยกับน้องสาวในเมสเซนเจอร์ น้องบอกว่า ปีใหม่จะกลับบ้านที่สุโขทัย ป้าเผาข้าวหลามรออยู่แล้ว เราอืม ขับรถระมัดระวังน่ะ อย่าประมาทล่ะ เพิ่มศีลด้วย ไปมีศีลมามีศีลเน้อ ใจนึกถึงบรรยากาศในอดีตอากาศหนาวๆ กับข้าวหลามร้อนๆ ที่เคยนั่งเผาข้าวหลามกับยายกับน้อง ๆ บรรยากาศพาไปเลย ที่ภูผาฟ้าน้ำอากาศหนาวเย็น น่าน น๊าน ๆ ไม่อยู่กับปัจจุบันละ คิดไปหาในสิ่งที่เคยทำเป็นประจำทุกปี สัญญาความจำได้หมายรู้ไว้ จดจำไว้ว่าในช่วงปีใหม่ ที่บ้านจะต้องเผาข้าวหลาม กินข้าวใหม่กัน ญาติพี่น้องกลับมาพร้อมหน้ากัน พูดคุยไถ่ถามสาระทุกข์สุขดิบกันและกัน รู้สึกยังชอบกับบรรยากาศแบบนั้นอยู่

    ทุกข์ : ทุกข์ใจ สติไม่อยู่กับปัจจุบัน ฟุ้งไปกับเรื่่องอดีต ปรุงคิดไปแล้วรู้สึกชอบอยู่

    สมุทัย : กิเลสชอบ-ชัง ตัวชอบ มีโมหะ หลง มั่ว ตัวยึดมั่นถือมั่น อยู่กับ ๑. บรรยากาศ ๒. รสชาติข้าวหลาม ๓. ความผูกพัน ห่วงหา อาลัยอาวรณ์ในญาติพี่น้อง และสติยั้งอ่อนแอไม่ตั้งมั่น

    นิโรธ : สติอยู่กับปัจจุบันหรือไม่อยู่กับปัจจุบันก็ไม่ทุกข์ใจ เพราะได้ประโยชน์ ได้เห็นว่าเรายังมีกิเลสตัวชอบ ในความโมหะ ยังหลง ยังมั่ว แล้วได้เพียรล้างกิเลสตัวนั้น ๆ ได้รู้ข้อพร่องว่าเราควรเพิ่มสติ สติเรายังอ่อน ต้องเพียรฝึกสติให้ตั้งมั่นแข็งแรงขึ้น ไม่ทุกข์ใจได้ เบิกบาน แจ่มใส ไร้กังวล ไร้ทุกข์ได้

    มรรค : พิจารณาอาการติดยึด ความชอบ ความยินดีที่ได้เห็นกิเลสทั้ง ๓ ตัว ในตัวที่เรายังมีมากสุดคือ ความผูกพัน ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ในญาติพี่น้อง รองลงมาชอบบรรยากาศ สุดท้ายรสชาติของข้าวหลาม พิจารณาสู้กิเลส
    ๑. ชอบบรรยากาศ พิจารณาไตรลักษณ์ อาการเกิดดับ ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ของกิเลส ไม่ได้ตั้งอยู่นานเลย เกิดดับ เกิดดับ ไม่เที่ยงไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ เราหลงปันบรรยากาศมาเป็นความสุข ความชอบ หลงยึดสุขในสิ่งที่ไม่มีตัวตน โง่ปันอากาศชอบบรรยากาศ บรรยากาศแบบนั้นที่เกิดขึ้นแล้ว และก็ดับไปแล้ว แต่ใจเรายังไปหลงยึดติดชอบใจอยู่อยากได้อยู่ ก็ทุกข์ ทุกข์กับสิ่งไม่มีตัวตน
    พิจารณาโทษของการมีกิเลส มีแล้วทำให้เราทุกข์ใจ ที่ต้องอยากได้อีก อยากสุขกับบรรยากาศแบบนั้นอีกทั้ง ๆ ที่ไม่มีอีกแล้ว
    พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีกิเลส ไม่ต้องทุกข์ใจ ไม่ต้องอยากได้ กับบรรยากาศ อยู่แบบไหนก็ได้ ไม่มีบรรยากาศแบบนั้นก็ได้ สงบ อิ่มเอิบเบิกบาน แจ่มใสได้
    ๒. รสชาติของข้าวหลาม ตัวนี้เหลือน้อยลงแล้ว เพราะได้เพียรพิจารณารสชาติของข้าวหลาม ที่ไม่เที่ยงของกิเลสที่ยึดติดกับวัตถุดิบ ความหวาน ความเค็ม ความมัน แต่ละคนทำก็รสไม่เหมือนกัน ไม่เที่ยง กิเลสความชอบของเราในแต่ละวันก็ไม่เที่ยง ขึ้นลงแล้วแต่อารมณ์ความอยากของเรา พิจารณาความยากลำบากของการทำข้าวหลาม ที่เราได้เรียบรู้ กว่าจะทำได้ กว่าจะเผาเสร็จ เหนื่อยยากลำบาก เห็นความยุ่งยากในขั้นตอนการทำ และใจที่เราไปหลงติดก็เป็นทาส ไม่เป็นอิสระ
    ๓. ความผูกพัน ห่วงหา อาลัยอาวรณ์ในญาติพี่น้อง พิจารณาเรื่องกรรม กรรมของเขา กรรมของเรา กรรมของโลก ทุกคนมีกรรมเป็นผู้ให้ผลอยู่ จะได้รับสิ่งดี-ร้ายอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรม การกระทำที่เขาทำ เราไปช่วยอะไรไม่ได้ ไปขวางวิบากร้ายไม่ได้ ไปเอาสิ่งดี ๆ ให้เขาก็ไม่ได้ ถ้าเขาไม่เคยทำสิ่งดี ๆจะได้ดีนั้นได้อย่างไร

    พิจารณาเพียรฝึกสติให้ตั้งมั่นอยู่เสมอ มีสติทุการกระทำ ที่เราคิดเราทำ ให้เป็นไปในทางที่จะออกจากกาม จากอัตตา ไม่เพิ่มกามเพิ่มอัตตา สาธุค่ะ

  14. บัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม

    หน้าจอโปรแกรมAdmin Traineeเปลี่ยนไป

    ขณะที่เราฝึกฝนเขียนบทความในหน้าจอ Admin Trainee เราได้ลองกดดูคำต่างๆที่อยู่บนหน้าจอ แล้วอยู่ ๆ หน้าจอปกติก็เปลี่ยนไป เห็นใจรุ่มๆเล็กน้อยเกิดขึ้นมา

    ทุกข์ : ใจร้อนรุ่มๆเล็กน้อย ที่ หน้าจอโปรแกรม Admin Trainee เปลี่ยนไป

    สมุทัย : อยากให้หน้าจอกลับมาเป็นปกติเร็วๆ ชังที่หน้าจอเปลี่ยนไป

    นิโรธ : ใจเย็นลง และ วางใจได้ แม้ว่า หน้าจอ จะกลับมาเป็นปกติช้าหรือเร็วก็ได้

    มรรค : สงบใจและเปลี่ยนอิริยาบถ ไปล้างหน้า ล้างตา และพิจารณาว่า นี่คงจะมาเตือนว่าเรานั่งหน้าจอ แท็บเลท และ อยู่กับมือถือนานเกินไป และยังซุกซน กดคำต่างๆมั่วไปหมด โปรแกรมคอมพิวเตอร์คงจะเตือนให้รู้ตัว และเราควรจะพักสายตาและพักเครื่องก่อน เราจึงสำนึกผิดสารภาพผิด ต่อตัวเองและท่านคุรุ และปิดเครื่องแท็บเลทและมือถือ มาบริหารร่างกายและผ่อนคลาย กายและใจโดยการทำโยคะ กดจุด กัวซา ขณะนั้สังเกตว่า ใจ ที่รุ่มๆค่อยๆลดลง เบาลงและเย็นลงไปถึง90%จึงพิจารณาต่อว่า เราตั้งศีลว่าจะเจริญสติตลอดเวลา เบิกบานใจให้ได้ในทุกสถานการณ์เกี่ยวกับการเรียนฝึกฝนเป็นAdmin Trainee จึงมีเหตุการณ์มาทดสอบ จึงตะโกนใส่หน้ากิเลสว่า โอ๊ย! แค่นี้จิ๊บจ๊อย มาก! ไม่สามารถทำให้ใจเราหวั่นไหวได้นานหรอก พอเราระลึกได้อย่างนี้ ใจก็คลายลง เย็นใจ และวางใจได้100%(ใช้เวลาพิจารณาทั้งหมดประมาณหนึ่งชั่วโมง) ต่อมาเราก็ได้เขียนถามท่านคุรุAdmin ว่าจะแก้ไขอย่างไร และวางใจไปแล้วด้วยว่า จะได้รับคำตอบเมื่อไหร่ ช้าหรือเร็วก็ได้ และจะแก้ไขได้หรือไม่ได้ ก็ได้.
    เราจึงบำเพ็ญทำการบ้านเขียนอริยสัจสี่ส่ง ตรวจดูใจก็ยิ่งเบิกบานและผาสุกขึ้นเรื่อยๆค่ะ สาธุ

  15. นปภา รัตนวงศา

    ตั้งด่านทำไม
    ช่วงนี้เป็นเทศกาลปีใหม่ จึงมีการตั้งด่านตลอดเส้นทาง มีความคิดเรื่องการตั้งด่านตั้งแต่ยังทำงานราชการอยู่ มีความคิดว่าเสียดายเงินงบประมาณของราชการโดยเปล่าประโยชน์ ยิ่งช่วงนี้ช่วงโควิทด้วยด้วย ไม่ควรตั้งและรวมคนอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ออกมาตรวจหรือทำอะไร
    ทุกข์ จะตั้งด่านทำไม ให้เปลืองงบประมาณ
    สมุทัย ถ้าไม่ตั้งด่านจะสุขใจ ถ้าตั้งด่านจะทุกข์ใจ
    นิโรธ จะตั้งด่านหรือไม่ตั้งด่านก็สุขใจให้ได้ ทางราชการคงจะคิดวิเคราะห์มาแล้วละว่า การจัดตั้งด่านแบบนี้มันลดอุบัติเหตุได้จริง ก็ยอมรับตามวิธีของโลก จะทุกข์จะเครียดเรื่องข้างนอกทำไม แก้ปัญหาทุกข์ใจของตนเองเป็นพอ
    มรรค ยอมรับความจริงตามความเป็นจริง ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม เจ้าหน้าที่ที่มาทำงานส่วนใหญ่ก็คงอยากจะพัก อยากนอนอยู่ที่บ้านเช่นกันไม่อยากต้องมาอยู่เวรที่ด่านให้เสียเวลาหรอก ท่านสละความสุขของท่านมาทำงานราชการเพื่อคนไทยทุกคนทั่วประเทศจะได้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ท่านทำดีที่สุดแล้ว ก็สำนึกผิดยอมรับผิดขอโทษ ขออโหสิกรรมที่คิดไม่ดีกับท่าน เราก็เคยทำงานแบบนี้มาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ มิฉะนั้นก็คงไม่เจอเหตุการณ์นี้เป็นแน่

  16. เอมอร ศรีทองฉิม

    เรื่อง ไม่อยากทำการบ้าน

    เนื้อเรื่อง การศึกษาในระดับปัญญาตรี ปัญญาโท และปัญญาเอก ตามหลักสูตรของแพทย์วิถีธรรม ทีมฝ่ายวิชาการมีเงื่อนไขว่า ให้นักศึกษาวิชชาราม ทำการบ้านส่งผ่านระบบออนไลน์ แต่ตัวเองไม่ชอบ ไม่ถนัด ในการใช้โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีต่างๆ เลย ไม่ชอบการใช้เครื่องมือสื่อเทคโนโลยีเลย ถึงอย่างไร ก็ทำใจให้ชอบไม่ได้ ทั้งยังชังอีกด้วย โดยการหลีกเลี่ยงมาเขียนเป็นตัวหนังสือด้วยลายมือแทน จึงมีความยินดี พอใจมาก ที่จะเขียนด้วยลายมือ เหตุผล คือ ต้องการเรียนวิชาดับทุกข์ ไม่จำเป็นว่าจะใช้คอมพิวเตอร์ได้หรือไม่ได้ จึงเห็นว่า จะเขียนหรือจะพิมพ์ นั้นไม่สำคัญ ที่สำคัญคือ ดับทุกข์ได้ ใจไม่ทุกข์

    ทุกข์ ไม่อยากทำการบ้าน

    สมุทัย ถ้าเก่งและคล่องในด้านการใช้การใช้เครื่องมือสื่อเทคโนโลยี จะสุขใจ แต่ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ จึงทุกข์ใจ

    นิโรธ จะได้ส่งการบ้านผ่านระบบออนไลน์หรือไม่ได้ส่งการบ้านก็สุขใจให้ได้ แล้วจะเขียนส่งด้วยลายมือ เพราะเราไม่ทุกข์ และจะส่งเป็นเล่มที่เขียนด้วยลายมือแทน

    มรรค ใชบททบทวนธรรม ที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่ไม่เคยทำมา”
    รับเต็มๆ จะได้หมดเต็มๆ รับแล้ว จะโชคดีชึ้น” จึงตั้งศีล “ยอมรับความจริง” ว่า ทุกชีวิตพัฒนาได้มาจากความไม่รู้ แล้วได้เรียนรู้ ผ่านการฝึกฝน เกิดการเรียนรู้ได้ ตามความถนัด ตามฐานใครฐานมัน แล้วล้างความชอบ-ชัง ได้ทำการบ้านส่งก็ได้ ไม่ได้ทำการบ้านส่งก็วางได้ ไม่ทุกข์ เชื่อเรื่องวิบากกรรม มีจริง ว่า คงเคยไปดูถูกใครมา จึงรับวิบากกรรมนี้ เรื่องอื่นๆ ทำได้ดีเยอะแยะ แต่เรื่อง ไอ ที ทำไม?ๆๆ มันมืดตื้อ! ทำมา! ๆๆๆ แน่ๆ เลย ไปดูถูกใครมา ไม่ให้อภัยมา จึงต้องมารับวิบากตัวนี้ ยอมๆ ยอม ก็ได้ งานจะสำเร็จหรือไม่ นั้นไม่สำคัญ เท่ากับการดับทุกข์ในใจให้ได้ เมื่อเราได้พยายามเต็มที่แล้ว เพราะเราเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ทำตามความจริง ที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรทุกข์ ก็มันทำได้แค่นี้ ด้วยการตรวจใจเรา ล้างทุกข์ที่ใจเรา เป็นพอ อดทน ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ

  17. เอมอร ศรีทองฉิม

    เรื่อง “หิวข้าว แต่ไม่ได้กิน”

    เนื้อเรื่อง ด้วยที่ตัวเองเป็นคนที่ได้ฝึกปฏิบัติในการกินข้าวมื้อเดียว มาตลอด เป็นเวลายาวนาน จนเป็นเรื่องปกติ แต่มีอยู่วันหนึ่ง เมื่อถึงเวลามื้อกินข้าว รู้สึกว่าหิวข้าวมากแล้วด้วย แต่มีวิบากมากั้น คือว่า มีเหตุการณ์ที่ต้องช่วยแก้ปัญหาด่วน คือ กับข้าวที่ทำไว้นั้นเหลือน้อยลง ซึ่งไม่พอสำหรับคนที่ยังไม่ได้กิน ยังมีจำนวนอีกมาก จำเป็นต้องไปทำกับข้าวเพิ่ม ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงที่ตัวเองกำลังรับผิดชอบงานครัวอยู่ จึงทำให้ไม่ได้กินข้าวในมื้อนั้น ในใจเกิดความรู้สึกว่า มีความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว

    ทุกข์ : หิวข้าวมาก แต่ไม่ได้กินข้าว

    สมุทัย : ได้กินข้าว จะสุขใจ แต่ถ้าไม่ได้กินข้าว ก็จะทุกข์ใจ

    นิโรธ : จะได้กินข้าว หรือไม่ได้กินข้าว ก็สุขใจได้

    มรรค : ใช้ปัญญา คิดหาวิธีคิดใหม่ ในการแก้ปัญหา เรื่อง “หิวข้าว แต่ไม่ได้กิน” การเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า ถ้าเมื่อมีวิบากดีเข้า ก็จะได้กินข้าว ตามเวลา แต่ถ้ามีวิบากร้ายเข้ามา ก็จะส่งผลไม่ได้กินข้าวตามเวลา มาคิดเอาประโยชน์ โดยการคิดถูกต้องตามธรรม คิดให้หายทุกข์ ฝึกอดทนกับความหิว “หิวก็ดีนะ” จะทำให้ร่างกายสู้กับความหิว เพราะในความเป็นจริง ความหิวก็ไม่เที่ยง สุดท้ายก็ดับไป “เกิดดับ เป็นธรรรมดา” “ซื่อสัตย์ต่อเวทนา” อ่านให้ชัดว่า “เป็นความคิดของกิเลส” หรือ “เป็นความคิดของพุทธะ” เป็น “เคหะสิตะ” หรือ “เนกขัมมะ” อ่านอาการให้ชัดๆ แล้วก็ประมาณดูว่า “มันฝืดฝืนเกิน” “ทรมานเกิน” “เสียหายเกิน” “แตกร้าวเกิน” ก็ต้องยอมกินข้าว ทำดีที่ควรทำ คือ ดีที่ไม่วิวาทกับร่างกายตัวเอง)
    ผลที่ได้จากการใช้เครื่องตรวจใจ คือ ใช้สติ ปัญญา แก้ปัญหา ใช้ปัญญาตรวจ ความแตกต่าง “ระหว่างกิเลสกับพุทธะ” “คิดผิด คิดใหม่” “พูดผิด พูดใหม่” “ทำผิด ทำใหม่” ยอมรัยความจริงตามเป็นจริง แก้ไขที่ตัวเอง เสมอ “เริ่มนับหนึ่งที่เรา” ขอบคุณเขา แล้วล้างที่ใจเรา
    การล้างด้วยใจ ทำได้ดังนี้
    1. พิจารณาไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา บังคับไม่ได้
    2. วิปลาส 4 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา และอสุภะ ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น
    3. ประโยชน์-โทษ
    4. เชื่อกรรม (เป็นรหัสลับสำคัญที่สุด ในการคลายความยึดมั่น)
    ระลึกถึงพระพุทธเจ้า สมัยพุทธกาล บารมีระดับพระพุทธเจ้า บางคราว ท่านก็ไม่ได้ฉันอาหาร เพราะมีวิบากมากั้น ทำให้บิณฑบาตรไม่ได้ ท่านก็ยอมอดทน ชดใช้กรรมที่เคยพลาดทำมา “ท่านฉันปิติ” เพราะว่า ชีวิตแต่ละชีวิต ทำมา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ “ยอมรับ เต็มใจรับ” “ยินดี พอใจ ไร้กังวล”
    จึงตั้งใจต่อสู้กับความหิว พิจารณาว่า
    – ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นเท็จ เป็นภาระ พาชั่ว
    – ประโยชน์-โทษ ของความหิว กลไกของร่างกายไม่อดทนต่อความหิว ร่างกายจะดึงไขมันเก่าๆ มาใช้เผาผลาญให้เกิดพลังงาน หลอดเลือดจะได้สะอาด ร่างกายจะแข็งแรง กระฉับกระเฉงขึ้น อ่านอาการหลอกหรือจริง เป็นมาร หรือ พุทธะ มาร=เศร้า พุทธะ=ผ่องใส ไม่กลัว (ว่าจะได้ดั่งใจ) ไม่ทุกข์ว่า จะได้กินข้าว หรือไม่ได้กินข้าว ดูตามวิบากดีร้าย ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำดีที่ควรทำ ไม่วิวาท ไม่ได้กินก็ไม่กิน สุข สบายใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ยอมรับความจริงตามความเป็นจริง และแก้ไขตนเองเสมอๆ จะเตือนตน ด้วยตนเอง ทำในใจให้ตื่นรู้ (ชาคริยานุโรค) ทำให้กิเลสจางคลาย ลดลงไปตามลำดับๆ ถามตน มองตน แก้ไข พัฒนาตนไปตามลำดับๆ ดูว่า ณ เวลานั้น ทำอะไร แล้วเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อตัวเองและผู้อื่น ได้มากก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็วาง เป็นสภาพ วาง-ทำ-วาง “ดีเหนือดี คือ ใจไร้ทุกข์” จะจัดสรรให้ทุกอย่าง ดีงาม พอดี เหมาะสมเอง เป็นวิบากดี ดันวิบากร้ายออกได้มากที่สุด
    “แก่นหลักของชีวิต คือ ไม่ทุกข์ใจ”

    1. เอมอร ศรีทองฉิม

      เรื่อง “เครื่องฉาบทาโลกไว้ คือ ตัณหา”

      เนื้อเรื่อง มีเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เป็นผัสสะ ผ่านมากระทบ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เข้ามาในชีวิตประจำวันมากมาย ทำให้เกิด เป็นตัว “ตัณหา” คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น จนเกิดเป็นความยึดของตนเต็มไปหมด ต้องล้างมันออกไป เพราะมัน เป็นแค่เครื่องฉาบทาโลกไว้ เท่านัน มั่นไม่เที่ยง มันทุกข์

      ทุกข์ : อยากได้ บางสิ่งบางอย่าง

      สมุทัย : ได้แล้วก็สมใจ จะสุข แต่ไม่ได้สมใจ ก็จะทุกข์ใจ

      นิโรธ : ยินดีในความไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่เอาอะไร อะไรจะเกิด อะไรจะดับ ก็ไม่ทุกข์ใจ เบิกบาน แจ่มใส ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล

      มรรค : ตั้งศีลว่า “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ที่ไม่ดีของตนเอง แก้ไขพัฒนาตนเอง พัฒนาไปเป็นลำดับๆ ทำด้วยปัญญา ให้เห็นความต่าง ระหว่าง กิเลส-พุทธะ การมีกิเลส ทุกข์อย่างไร การไม่มีกิเลส สุขอย่างไร พิจารณาประโยชน์-โทษ ของการไม่มีกิเลส ยอมที่จะแก้ไขตนเอง คิดแบบกิเลสเกิดเรื่องร้ายต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร คิดตามพุทธะและสาวกแท้ของท่าน เกิดผลดีอย่างไร ตัณหา คือ ตัวมารร้าย คือกิเลสกามชัดๆ เกิดจากความกำหนัดขึ้นในจิตใจ มีอำนาจแห่งความอยาก หลงมัวเมา ไปกับจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา จมดิ่งลงสู่ความเสื่อม จึงต้อง คิดใหม่ ทำใหม่ แก้ไขตนเอง ยอมรับความจริง ตามความเป็นจริง ขอบคุณที่มันผ่านเข้ามา แล้วล้างใจ ใช้สติ ใช้ปัญญา พิจารณาให้เห็น ระหว่างกิเลสกับพุทธะ ให้ชัดขึ้นๆ เพราะ “ตัณหา มันไม่มีตัวตน” จับต้องไม่ได้ มันเป็นเพียงแค่พลังงานของความอยาก ทั่ชั่วมาก และมันเป็นแค่ความคิดที่โง่ๆ ของเราเอง เท่านั้น

      1. เอมอร ศรีทองฉิม

        เรื่อง “แบกชีวิตผู้อื่น”

        เนื้อเรื่อง ตัวเองปฏิบัติธรรมแท้แล้ว เกิดผลดีกับชีวิตมากๆ จึงเกิดกิเลสมาร “กามกิเลส” คือ ตัวความอยากให้ญาติ-เพื่อน-ลูก มาบำเพ็ญธรรมะแท้ เหมือนตัวเองบ้าง จึงรู้สึกเหมือนยังต้องแบกชีวิตผู้อื่นอยู่ ถ้าเขาเหล่านั้นทำได้ตามที่กิเลสที่เราต้องการ เราจะสุขใจ

        ทุุกข์ : อยากให้ญาติ-เพื่อน-ลูก มาบำเพ็ญธรรมะแท้

        สมุทัย : ถ้าเขาได้มาบำเพ็ญจะสุขใจ ถ้าเขาไม่ได้มาบำเพ็ญ จะทุกข์ใจ

        นิโรธ : เขาจะมาบำเพ็ญ หรือไม่มาบำเพ็ญก็สุขใจ เขาจะศีกษาหรือไม่ศึกษาธรรมะแท้ ก็จะสุขใจ

        มรรค : ตั้งศีลว่า “อย่าแบกชีวิตคนอื่น” อย่าทำผิดหน้าที่ อย่าทำเกินหน้าที่ ถ้าเขามีวิบากดี ก็จะได้ทำในสิ่งดี ถ้าวิบากร้ายเขามาขวางกั้น ก็ยังไม่ได้มา เพราะยังไม่ถึงเวลาอันควร เราได้แต่ปรารถณาดี แต่ไม่ยึดมั่น ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามวิบาก ดี-ร้าย ของแต่ละชีวิต เมื่อถึงเวลาอันควร เขาก็เกิดดีที่ควรทำเอง อย่าไปขโมยกุศลที่ยังมาไม่ถึง (ผิดศีลข้อ 2 อธิศีล) ทำใจไร้ทุกข์ แล้วทุกอย่างจะจัดสรรให้พอดีเอง (เป็นวิบากดี จะดันวิบากร้าย) ถ้าเขายังไม่ฟังเรา ให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็น ยอมรับความจริงว่า ทุกชีวิตพัฒนามาจากด้อยสู่ดี อย่าไปอยากได้ดีเกินกว่าที่เป็นจริง ณ เวลานั้นๆ เพราะใครหรือเรา จะได้อาศัยสิ่งใดก็ตาม เกิดจาก”กรรม” การกระทำทุกอย่างของเรา ที่เราทำมา แต่ละคนมีกรรมเป็นของของตน เป็นวิบาก เป็นสมบัติของตน กรรมทายาโท กรรมโยนิ กรรมพันธุ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา ไม่ต้องเป็นห่วงใครในโลกนี้ กลัวเขาไม่พ้นทุกข์ เขาพ้นทุกข์อยู่แล้ว เมื่อเขาเห็นทุกข์จนเกินทน เขาจะมาปฏิบัติธรรมเอง จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์เร็ว เราต้องพ้นทุกข์ก่อน จะได้มีแรงเหนี่ยวนำ (แรงสนิทาน) มีเนกขัมมธาตุ บางเรื่องไม่จำเป็นต้องแบกไว้ มันหนัก หันขัดเกลา เราเป็นห่วงลูก ลูกเป็นบ่วงรัดคอเราไว้ เป็นสังโยชน์ผูกมัดไว้ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่ไม่ยึดมั่น แค่อาศัย ไม่อาลัยอาวรณ์ ทุกอย่างในมหาจักรวาลนี้ มีแต่คลื่นแม่เหล็ก มีแต่ความว่างเปล่า หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด
        คลื่นรวมตัวกัน เป็นสสาร (หมายรวมถึงร่างกายของคนด้วย) แล้วสลายตัว กลายเป็นคลื่น
        สมบัติที่แท้ของมนุษย์ คือ “ความว่างเปล่า” ทุกอย่าง รอเวลา จากเราไปทั้งนั้น
        ดับตัวชัง ซะ! มันไม่มีประโยชน์
        ผิดศีลอยู่ สร้างทุกข์ สุดๆ

  18. พรพิทย์ สามสี

    เมื่อเราได้มีโอกาสเข้าค่ายแพทย์วิถีธรรมแม้แต่ละค่ายเรามาไม่ได้ครบวันแต่เมื่อเราได้ฟังธรรมะจากท่านอาจารย์หมอเขียวฟังซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยๆทำให้เรามั่นใจได้เลยว่าเราพบธรรมะที่ถูกต้องถูกตรงทางนี่ใช่เลยแต่คนคู่(พ่อบ้าน)และญาติที่ใกล้ชิดชอบว่าเราประจำว่าเราเราเดินผิดทางว่าเราดื้อห้ามไม่ฟัง ในละแวกที่เราอาศัยอยู่มีเราเป็นเพียงผู้เดียวที่เดินมาเส้นทางนี้ทางที่ถูกต้องถูกตรง
    ทุกข์ # เกือบสองปีกว่าๆพ่อบ้านและญาติที่ใกล้ชิดชอบกะแนะกะแน่เรื่องมายุ่งกับแพทย์วิถีธรรม
    สมุทัย# ชอบที่ว่าไม่มาว่าเราเราก็ไม่ได้ทำอะไรให้เสียหายเรามาค่ายเป็นครั้งคราว งานทางโลกเราก็ยังทำอยู่ ชังมากไอ้คนพวกนี้และเหนื่อยใจมากรู้แหละหวังดีที่จริงทางใครทางมันแล้วกัน
    นิโรธ # ใครจะคิดยังไงก็ได้คิดเหมือนเราก็ได้ไม่เหมือนเราก็ได้จะเดินเหมือนเราก็ได้ไม่เหมือนเราก็ได้ เราทำมานั่นคือเงาของเรา ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
    มรรค # เราอธิบายให้เขาฟังไม่ได้เคยอธิบายสั้นๆเขาโย้งแย้งว่าของเขาถูก ถ้าจำเป็นต้องพูดบ้างก็พูดให้น้อยที่สุด ทุกวันนี้คนพวกนี้ก็ยังกะแนะกะแน้อยู่ไม่ได้หยุดบางวันเราก็ปวดหัวกับคำพูดของพวกเขา เขาด่าว่าเราด้วยคำพูดที่เจ็บแสบ โชคดีอีกแล้วได้ใช้วิบาก เราไม่มีหน้าที่สอนเขา ให้ทุกข์สอนเขาเอง ไม่ใช่เวลาดีที่จะพูด อดทนรอคอยใจเย็นให้อภัย ทำดีเรื่อยไป เบิกบานแจ่มใสไร้ทุกข์ไร้กังวลอย่างเป็นอมตะธรรม

  19. นางสาวเสริมศรี ชวานิสากุล

    เรื่อง ไม่ล้างกิเลสความอยากก่อนพูดนำทุกข์มาให้ ๑ ม.ค. ๒๕๖๔
    กิเลสร้ายลึกมาก มาแบบแผนซ้อนแผน ได้รับการอนุมัติจากหมู่ว่าจะนำรถตู้ไปถ่ายน้ำมันเครื่อง แต่ก็ยังไม่มีโอกาสนำรถไปถ่ายน้ำมันเครื่องสักที และเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดเราอาจจะไม่ค่อยได้มีโอกาสลงไปจากภูผาแล้ว เพราะอาจารย์ก็ได้สั่งล็อคดาวน์ภูผาแล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อาผู้ชาย ๒ ท่านต้องใช้รถตู้นำตัวผู้ป่วยหนักไปส่งโรงพยาบาล จึงได้แจ้งกับท่านที่จะเป็นผู้ขับรถลงไปว่า หลังจากส่งผู้ป่วยแล้วถ้าผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาล ถ้ามีโอกาสจะให้ช่วยนำรถไปถ่ายน้ำมันเครื่องและตั้งเบรค เพื่อความไม่ประมาทเพราะรู้สึกว่าเบรกจะลึกแล้ว แต่ก็ดูตามเหตุปัจจัยถ้าไม่สะดวกก็รอโอกาสหน้า เหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือการพิจารณาที่เราคิดว่าเหมาะควรแล้วที่เราจะแจ้งกับท่านผู้ขับรถ แต่เมื่อมาเล่าให้หมู่มิตรดีฟัง หมู่ช่วยวิเคราะห์ว่า พิจารณาสถานการณ์แล้วไม่น่าจะเหมาะกับการแจ้งเรื่องการซ่อมบำรุงรถไปพร้อมกับสถานการณ์ที่จะต้องไปส่งผู้ป่วยหนักและสูงอายุ
    ทุกข์ : รู้สึกผิดในผลจากการพูดตามความอยากได้ดังใจของตนเอง
    สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่าพูดกับผู้อื่นแล้วไม่เบียดเบียนผู้อื่นจะสุขใจ ถ้าพูดแล้วเบียดเบียนผู้อื่นจะทุกข์ใจ
    นิโรธ : การพูดของเราจะเบียดเบียนหรือไม่เบียดเบียนผู้อื่นเราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ
    มรรค : ในเบื้องต้น การพูดของเราจะเบียดเบียนหรือไม่เบียดเบียนผู้อื่นเราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ด้วยการพิจารณาเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าที่เราต้องไปพูดแล้วเบียดเบียนจิตวิญญาณท่านนั้น ๆ ถ้าท่านทุกข์นั่นเป็นเพราะวิบากร้ายของท่านยืมปากเราไปพูดให้ท่านต้องได้ชดใช้วิบากร้ายที่ท่านเคยทำมา แต่ถ้าท่านมีสติเท่าทัน ท่านจะระลึกได้ว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา “วิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะจึงจะเกิด” ท่านก็จะเอาประโยชน์ได้ ได้บำเพ็ญบุญในการล้างกิเลส ผลคือใจไร้ทุกข์
    แต่ในส่วนกิเลสของเรา ถ้าเราพากเพียรฝึกฝนในการพูดที่จะเป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนอยู่นั้น แต่เราเผลอสติ ที่เราทำตามความเคยชินที่กิเลสหลอกว่าสิ่งที่เราจะฝากให้เพื่อนช่วยทำเป็นงานของหมู่ ซึ่งก็ได้ขออนุมัติแล้ว และเราก็วางใจแล้วว่าจะได้ทำหรือไม่ได้ทำก็ได้เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็ล้างความยึดมั่นถือมั่นว่าท่านจะต้องทำกิจนั้นให้สำเร็จแล้ว แต่เราขาดการพิจารณาด้านจิตวิญญาณของเพื่อนว่าท่านจะอยู่ในภาวะที่พร้อมหรือไม่ที่จะรับฟังหรือทำสิ่งนั้น ๆ เพราะเมื่อพิจารณาองค์ประกอบ ณ สถานการณ์นั้นท่านอาจจะต้องใช้ความคิดเตรียมการณ์ในเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญเร่งด่วนกว่า
    ดังนั้น ในการจะทำการใดในครั้งต่อไป สิ่งแรกที่เราจะต้องสังวรณ์คือ ปรึกษาหมู่กลุ่มร่วมกันประเมินต่อสถานการณ์หรือบุคคล เพื่อให้ได้มุมมองที่รอบด้าน เพื่อฝึกฝนขัดเกลาตนเองให้ช้าลง ไม่ทำอะไรตามใจตนเองและฝึกเรียนรู้ฟังมุมมองจากเพื่อนในด้านที่เราคิดไม่ถึง โดยเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญที่สุดคือการล้างกิเลสความอยากบอกของตนเองก่อน ไม่ว่ากิเลสจะมาบอกอ้างว่าเราก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อตัวเองเลยนะ เป็นงานของหมู่ แม้ว่ากิเลสจะมาบอกอีกว่าแล้วถ้ารถตู้เกิดอุบัติเหตุจากเบรคไม่ดี มีใครต้องได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิต เธอจะทำใจได้ไหม เธอจะมีโลกธรรมไหมว่าเธอเป็นคนรู้เรื่องเบรกแต่เราไม่นำไปซ่อมจนเกิดอุบัติเหตุ เราก็ต้องพิจารณาเรื่องวิบากกรรมให้ชัดเจนว่าการที่ท่านใดจะได้รับอะไรก็เป็นวิบากกรรมดีร้ายของท่านนั้น ๆ แต่การที่เราล้างกิเลสได้นี่แหละจะเป็นวิบากกรรมดีที่จะแผ่สู่มวลมนุษยชาติเพื่อจะผลักดันวิบากร้ายให้ไกลออกไป หรือเราจะพูดได้เหมาะกับกาลเทศะ พูดได้โดยไม่มีพลังงานของความกดดัน พลังของความจะเอาดีจากผู้อื่น พลังของความกลัว จะเกิดแต่สิ่งที่ดีดี
    เมื่อเราได้ล้างกิเลสในทุกแง่ทุกมุมที่กิเลสจะมาหลอกให้เราทุกข์ แต่เราได้คิดไปจนสุดทุกทางแล้วเราสมารถล้างกกิเลสได้เราก็ไม่ทุกข์ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หรือท่านใดจะมาพูดในแง่มุมไหน เพราะเราได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบทุกด้านแล้วก็ไม่มีประตูให้เราต้องทุกข์ใจแล้ว สาธุ

  20. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)

    ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ
    เรื่อง. โพสเฟสบุ๊กเรื่องพี่ชาย(ลูกของป้า)เสียชีวิต
    เนื่องจากได้รับข่าวว่าพี่ชายลูกพี่ลูกน้อง(ลูกชายป้า)
    เสียชีวิตเลยโพสลงเฟสบุ๊กโดยไม่บอกรายละเอียดว่าไม่ใช่พี่ชายแท้ๆของตัวเองทำให้เพื่อนๆ พี่น้องจิตอาสาเป็นห่วงกัน
    ทุกข์.ทุกข์ใจที่ทำให้พี่น้องต้องเป็นห่วง
    สมุทัย.อยากให้พี่น้องได้สภาพที่ดีไม่มาเป็นกังวลเป็นห่วงเราจึงจะสุขใจถ้าได้ยินว่าพี่น้องเป็นห่วงจึงทุกข์ใจ
    นิโรธ.พี่น้องจะรู้สึกเป็นห่วงหรือรู้สึกอย่างไรก็ไม่ทุกข์ใจให้ได้
    มรรค.พิจารณาเหตุของทุกข์ของกิเลสที่กำลังลวงให้เราทุกข์ใจ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมที่ที่สุดเท่าที่ต้องเป็นใครจะได้รับข้อมูลแบ้วรู้สึกอย่างไรก็เป็นวิบากของเขาของเรา เหุตการ์แก้ไม่ได้แต่ใจเราต้องไม่ไปจมอยู่กับอดีตที่แก้ไม่ได้ และต้องขอบคุณเหตุการณ์หรือคำพูดที่เราได้ยินจะได้รู้ว่าเราส่วนเหลือตรงไหนทำให้ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบากและได้ตั้งศีลเพิ่มศีลประมาณกายวาจาใจประมาณการทำให้มากขึ้น

  21. เอมอร ศรีทองฉิม

    เรื่อง “ช่วย หรือ ถีบส่ง”

    เนื้อเรื่อง เพื่อนกำลังป่วยหนัก ในประมาณ 20 กว่าปี ที่ผ่านมา เพื่อนเขาชอบกินความอร่อยของมาม่าเขาติดมาม่า มากๆๆๆๆ ตอนนี้เขาป่วยหนัก ทุกข์แสนสาหัส เพราะป่วยเป็นอัมพาต นอนติดเตียง นอนรอวันตาย ตัวเองจึงอยากให้เพื่อนเข้าใจธรรมะก่อนตาย จึงไปสอนธรรมะ แต่เขาไม่เชื่อเรื่องกรรม ตัวเองคิดว่าการกระทำของเราเช่นนี้ เป็นการไปช่วยเขา หรือเป็นการถีบส่งให้เขาตายเร็วขึ้น

    ทุกข์ : อยากให้เพื่อนบรรลุธรรม ก่อนตาย

    สมุทัย : ความคิดของกิเลส มันคิดว่า ถ้าเราช่วยเพื่อนให้เข้าใจกรรมแล้วบรรลุธรรม เราจะสุขใจ แต่ถ้าช่วยไม่ได้ ก็จะทุกข์ใจ

    นิโรธ : ช่วยไม่ได้ ก็วาง ด้วยใจที่ไม่ทุกข์ ไร้กังวล

    มรรค : เริ่มนับ 1 ที่เรา รีบตั้งสติ เมื่อสติมา ปัญญาเกิด พิจารณา ใคร่ครวญ ซ้ำๆๆ นำบททบทวนมาใช้ ฐานจิตของแต่ละคนต่างกัน จึงประมาณในการคิด พูด ทำ ทำดีที่สุดแล้ว ช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็วาง ให้เป็นไปตามวิบากกรรมดี-ร้ายของเขาเอง
    คั้งศีลเพิ่ม คือ “ทำหน้าที่ ที่เราทำได้ดีที่สุด” คือ เชื่อเรื่องกรรม มีสัมมาทิฏฐิ ในการเชื่อผลของวิบากกรรม ไม่ทำทุกข์ทับถมตัวเอง เมตตาและอุเบกขา เพราะเขาไม่รู้ความจริง ตามความเป็นจริง ไม่กดดัน ไม่ไปบีบคอเขาให้เขาศรัทธาธรรมะแท้ เราเปิดเผยข้อมูลออกไป เขาจะเอาหรือไม่เอาก็ได้ ให้เป็นไปตามวิบากเขา แต่ใจเราไม่ทุกข์ จึงมีพลังช่วยเขาได้ เขารับไม่ได้ เราก็วางตามธรรม ความตายเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัว เพียงแต่เปลี่ยนร่างไปเอาร่างใหม่ “สิ่งที่น่ากลัวคือ ความกลัวตาย”

  22. ส่งการบ้านอริยสัจ๔3 -1-64
    น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี
    ระหัสน.ศ.6012007003
    เรื่องจำวันผิด
    ตั้งศีลไว้ว่าปลูกพีชให้หลากหลายและลดน้ำตาลตื่นเช้าเร่งตัดยอดมันดายหญ้าเก็บหายทากไปปล่อยไว้ข้ามฝั่งที่ไม่ปลูกุเที่ยงก็ทานข้าวแล้วลุยงานต่อไม่ได้ดูสื่ออะไรใจคิดว่าวันอังคารพี่น้องสวนสองนัดกันทำการบ้านทางทางซูม
    ทุกข์:รู้สึกกังวลว่าจะไม่ทันทำการบ้าน
    สมุทัย:อึดว่าจะได้ทำการบ้านพร้อมพี่น้องได้จะเป็นสุขถ้าเข้าไปไม่ทันจะรู้สึกกังวลใจ
    นิโรธ:ถึงเวลาแล้วจะเข้าห้องซูมทันหรือไม่ทันก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค:วางใจเพราะเราเข้าไปเรียนรู้เพื่อสื่สารการดับทุกข์เช่นกันรู้สึกเหนื่อยพอจะถึงเวลา6โมงเย็นแต่ยอดมันทีตัดไว้ยังไม่ได้ปลูกรอขุดแปลงกิเลสบอกว่าเหนื่อยให้วางมืออาบน้ำเลยคิดว่ากิเลสน่าจะหลอกเราพอเราฝืนไม่ทำตามก็รู้สึกยังมีแรงทำต่อจนปลูกเส็จพออาบน้ำก็นึกขึ้นได้ว่าจำวันผิด
    วิบากแค่เก็บหอยทากไปปล่อยทำให้เราจำวันผิดได้ขนาดไม่ได้ทำร้ายเค้ายังติดวิบากให้เห็นชัดมากสาธุค่ะ

  23. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)

    ทุกข์ ไม่อยากเข้าสอบในงานเพื่อฟ้าดินเราไม่มีความรู้เรี่องภาษาคิดว่าสอบไปก็คงทำไม่ได้
    สมุทัย ถ้าต้องสอบเราจะทุกข์ใจถ้าไม่ต้องสอบ้ราจะสบายใจกว่า
    นิโรธ ไม่วาต้องสอบหรือไม่ต้องสอบเราก็ต้องสุขใจให้ใกล้
    มรรค ให้นึกถึงคนที่เขาอยากสอบแต่ไม่มีโอกาสเห็นข้อดีของการสอบใด้รู้ว่าข้อสอบมันยากอย่างที่เรา
    กลัวมั้ยใด้ล้างกิเลสเรื่องความกลัวความกังวลใด้สรวจสอบว่าควารู้ที่เรียนมาเอามาใช้ใด้แค่ใหนใด้รุ้ว่าตรงใหนที่เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติมทำให้มีแรงผลักดันให้เรามีความตั้งใจเรียนมากจึ้น
    กิเลสมันจะหลอกเราว่าข้อสอบมันยากสอบไปก็ทำไท่ใด้ ให้มองหาข้อดีของการสอบ

  24. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    เรื่อง วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!… (สู้กับกิเลส)

    เนื้อเรื่อง สืบเนื่องมาจากการตั้งศีลในปีที่แล้ว ได้ตั้งศีลไว้ว่า “ไม่กินระหว่างมื้อ” แต่พอนำไปปฏิบัติจริง แพ้กิเลสบ่อยมาก ทำได้แค่ประมาณ 20-30 % ดังนั้น จึงตั้งศีลใหม่ว่า ในปีใหม่ 2564 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม เป็นต้นไป จะตั้งศีล โดยการเพิ่มศีลให้สูงขึ้น เป็นอธิศีล เพื่อต่อสู้กับกิเลสอีกครั้ง ว่า “ไม่กินระหว่างมื้อ” ให้ได้มากขึ้น ตั้งใจว่า จะทำให้ได้มากขึ้น ให้ได้ ประมาณ 70-80 % ด้วยความยินดี พอใจ ค่อยๆ พัฒนาไปตามฐานของตัวเอง จะทำด้วยการไม่กดข่ม จะไม่เบียนเบียนตัวเอง แต่พอลงสนามจริง ในการต่อสู้กับกิเลส กิเลสตัวที่มันอยากจะกินระหว่างมื้อ มันยังมีมาก มันอยากกินนั้น กินนี่ กินโน่น อยู่ไม่หยุด เดินไปเดินมา เห็นอะไร กิเลสมันก็สั่งให้มื้อยื่นออกไปหยิบของกิน ยัดใส่เข้าปากทันที เห็นภาพตัวเองแล้ว น่าเกลียดมาก ทุเรศมาก ยังโง่กว่ากิเลสมาก น่าอายน่ะ อาจารย์สอนกี่ครั้ง ๆ หมู่กลุ่มมิตรดีกี่คนๆ ที่ได้ทำตัวอย่างที่ดีให้เห็น ในเรื่อง “ไม่กินจุบไม่กินจิบ” “กินให้เป็นมื้อ” ตัวเองก็ฝึกฝนปฏิบัติการกินมื้อเดียว มาได้ดี ได้เยอะ มากพอสมควร แล้วทำไม? วันนี้ เรายังไม่มั่นคงในการประมาณในการบริโภค รู้ทุกอย่าง รู้ไปหมด แต่(กิเลส)อดไม่ได้ ความคิดของกิเลสมันไม่มีตัวตน มันจับต้องไม่ได้ แต่มันซ่อนตัวอยู่ในจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ของเรา มันเป็นตัวมารร้าย ที่คอยขวางกั้น ไม่ให้เราบรรลุธรรม วันที่ 1 วันที่ 2 มกราคม ผ่านไป 2 วัน ยังทำไม่ได้เลย ยังแพ้กิเเลส ทั้ง 2 วัน เลย จึงเริ่มรู้สึกท้อ เหนื่อยและเพลีย กับการสู้กับกิเลส เพราะด้วยสาเหตุที่ว่า จิตวิญญาณลึกๆ ที่บริสุทธิ์ของเรายังมีความตั้งใจมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้กับกิเลสตัวนี้ให้ได้ วันนี้ วันที่ 3 มกราคม จึงใช้ความพยายาม โดยการให้กำลังใจตัวเอง ไม่ซ้ำเติมตัวเองว่า “ให้สู้ด้วยปัญญาา” นะ! แล้วจะสู้ได้สำเร็จ ไม่ใช่สู้เรื่อยเปื่อย ทำเป็นเล่นๆ ไม่แบบจริงจัง เหมือนที่ผ่านมา ไม่ได้แล้วนะ! จึงขอตั้งศีลใหม่ ด้วยใจที่เข้มแข็ง มีความฮึกเหิมที่จะสู้อย่างจริงจัง ไม่ดีแต่พูด ไม่พูดพล่อยๆ จึงได้พูดเปล่งเสียงออกมาดังๆ ว่า…
    “วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!…(สู้กับกิเลส)” วันนี้จะสู้กับกิเลสเรื่อง “ไม่กินระหว่างมื้อ” สู้ไม่ถอย!…
    ผลปรากฏว่า พอจิตใจเข้มแข็ง ร่างกายก็มีกำลังขึ้นมาทันที วันนี้จึงสู้กับกิเลสชนะไปแล้ว 1 วัน
    “วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!..

    ทุกข์ : อยากชนะกิเลส เรื่อง ไม่กินระหว่างมื้อ จึงรู้สึกท้อ เหนื่อย เพลียในการสู้กับกิเลส

    สมุทัย : ถ้าตัวเองปฏิบัติการไม่กินระหว่างมื้อได้ คือ เป็นการชนะกิเลสได้ ก็จะพอใจ สุขใจ แต่ถ้าสู้กับกิเลส ครั้งแล้วครั้งเล่า กี่ครั้งๆ ก็ยังแพ้อีก เพราะแพ้กิเลสอีก คือ อดใจไว้ไม่ได้ กลับไปกินระหว่างมื้ออีก ก็จะเป็นการกดข่ม ฝืดฝืน รู้สึกอึดอัด ไม่พอใจตัวเอง เป็นการทับถมตัวเอง จะโทษตัวเอง ก็จะเริ่มท้อ เหนื่อยๆ เพลียๆ ไม่ค่อยเบิกบาน ใจก็จะหดหู่ ไม่โล่ง ไม่สบายใจ ใจก็เป็นทุกข์อีก

    นิโรธ : การต่อสู้กับกิเลส จะแพ้ก็ได้ จะชนะก็ได้ “วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!..ด้วยใจที่เบิกบาน

    มรรค : กลับมาตั้งสติทบทวนตัวเองใหม่ หาสาเหตุที่แท้จริง ว่าทำไม่จึงแพ้กิเลสตัวที่ยังชอบกินระหว่างมื้อ ก็เพราะว่า เริ่มไม่เห็นความสำคัญของการกินมื้อเดียว ประโยชน์ของการกินมื้อเดียว พิจารณาจนเห็นถึงโทษของการกินไม่เป็นเวลา ที่ผ่านมาการประมาณในการบริโภคยังทำผิดๆ ถูกๆ จึงต้องตั้งศีลใหม่..ให้ชัดเจน ในการต่อสู้กับกิเลส! อีกครั้ง! ว่า “วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!.. ดังนั้น วันนี้ พอเรามีความตั้งใจมุ่งมั่นจริงจัง กิเลสมันก็ยอมแบบง่ายดายมากๆ เลย มันไม่กล้าที่จะสั่งให้มือยื่นออกไปหยิบของกินอะไรๆ ส่งเข้าปากอีกเลย แม้ว่า มีของให้เลือกกินหลายอย่าง เช่น กล้วยสุก กล้วยอบ มะละกอสุก มะละกอห่าม ถั่วลิสงต้ม ถั่วเขียวต้ม ทุเรียนน้ำ วันนี้จึงกินมื้อเดียวได้อย่างผาสุก “วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!.. เบิกบาน ผาสุก ไม่ทุกข์ได้จริง

    ถ้าเราใช้ปัญญา ทุกครั้งในการจับกิเลสให้ได้ว่า กิเลสแต่ละตัวมันต้องการอะไรกันแน่ กิเลสก็คือ อนุสัย 7 ที่นอนเนื่องในสันดานเดิมๆ ของเราเอง เป็นมารร้ายที่คอยขัดขวางไม่ให้เราบรรลุธรรม เช่น “ตัวอยากกิน” ก็เป็นมารร้ายตัวหนึ่ง ถ้าเราจับมันได้บ่อย ๆ มันก็จะค่อยๆ อ่อนแอ แล้วจะหมดกำลังลง และจะตายไปในที่สุด แต่ต้องสู้แบบมีปัญญา รู้เท่าทัน รู้เล่ห์เหลี่ยมแต่ละมุมของมัน สู้ต่อไปๆ อย่าท้อ อย่าถอย “วันหน้าไม่รู้!.. แต่วันนี้สู้ไม่ถอย!..

  25. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์

    ชื่อเรื่อง — เดินออกกำลังกายตอนเช้า

    เนื้อเรื่อง — เมื่อเช้าวันปีใหม่ได้ตื่นไปเดินออกกำลังกายกับพ่อบ้านตอนเช้ามืดที่สวนสาธารณะติดทะเล จุดวิ่งในสวนมีสามจุดห่างกัน คือ ริมทะเล วิ่งถนนสายใน และ วิ่งถนนสายนอก ตอนแรกพ่อบ้านก็เดินไปด้วยกันต่อมาพ่อบ้านก็วิ่งออกไป ขณะที่เรายังเดินอยู่ ต่อมาเราก็เดินเร็วขึ้นแต่ก็ยังไม่ได้วิ่งตามไปจนพ่อบ้านวิ่งลับสายตาไป
    เรื่องแบบนี้เคยเกิดมีขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว ที่พ่อบ้านก็วิ่งออกไปแบบนี้ ส่วนเราก็เดินเร็วตามไป แต่สุดท้ายก็หลงกันในสวนสาธารณะ หากันไม่เจอและต่างคนต่างไม่ได้เอามือถือติดตัวไปด้วย ตอนนั้นใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมงกว่าจะหากันเจอ เพราะแต่ละคนก็ไปตามหากันในคนละจุด เวลาที่ตามหากัน มันดูยาวนานและทรมานใจ กลัวกังวลว่าพ่อบ้านไปวิ่งที่ไหน หรือจะออกจากสวนไปรอที่จอดรถซึ่งอยู่อีกจุดหนึ่ง

    ทุกข์ — กลัวว่าถ้าเราหลงหากันไม่เจอในสวนสาธารณะและติดต่อกันไม่ได้อีกครั้งจะทำอย่างไร

    สมุทัย — ชอบที่จะไม่หลง ชังที่ต้องหลงหากันไม่เจอ

    นิโรธ — พ่อบ้านจะวิ่งไปแล้วแล้วหลงกันอีกก็ได้หรือไม่หลงกันอีกก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง สามารถทำใจให้ไร้ทุกข์ได้

    มรรค — ในครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์หลงหากันไม่เจอ เราก็ตั้งสติว่าอย่าตกใจ อย่ากังวล เดินรออยู่กับที่ใกล้ครึ่งทางก่อนทางออก ถึงอย่างไรก็น่าจะเดินมาหากันเจอแถวนั้น หลังจากเดินหากันจนเจอ เราก็โล่งใจ และก็พูดคุยกันตามปกติ ไม่ได้ว่ากล่าวโทษกัน

    สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดในวันปีใหม่ที่พ่อบ้านวิ่งไปก่อนเหมือนเดิม เราก็คิดว่าคงไม่มีเหตุการณ์แบบเดิมแน่ เพราะเรามีบทเรียนกันแล้ว สุดท้ายพ่อบ้านหลังจากวิ่งเสร็จก็เดินย้อนทางที่วิ่งไปกลับมาเรื่อยๆ จนเจอกัน พอเราวางใจลง ไม่กลัวกังวล เหตุการณ์ร้ายๆ ที่พยายามจะแทรกมาในความคิดก็ไม่เกิด

  26. อรวิภา กริฟฟิธส์

    เรื่องกลัวข้อสอบยากสอบไม่ผ่าน
    เนื่องในโอกาสงานเพื่อฟ้าดินของชาวอโศกได้มีการจัดสอบ วบบบ เรารู้สึกอยากร่วมเข้าสอบด้วยแต่อีกใจมีความกลัวว่าข้อสอบจะยากหรือเปล่า เราจะสอบผ่านมั้ย เห็นอาการรู้สึกกลัวก็เลยบอกกับตัวเองว่าจะกลัวอะไร ในหนึ่งปีจะมีครั้งและครั้งนี้ทางบ้านราชได้จัดให้พิเศษให้พี่น้องทางบ้านสอบออนไลน์ด้วยนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทบทวนสิ่งเราได้เรียนมา เป็นการดีจะได้ดูว่าเรามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด สอบผ่านไม่ผ่านไม่ใช่ปัญหา ได้ผ่านการสอบถือว่าก้าวพ้นความกลัวแล้วชนะกิเลสตัวขี้กลัว พอคิดได้อย่างนี้ก็รู้สึกสบายจึงได้สมัครสอบ

    ทุกข์ กลัวข้อสอบยากทำไม้ได้

    สมุทัย อยากทำข้อสอบได้ถ้าทำได้จะสุขใจถ้าไม่ได้จะทุกข์

    นิโรธ ทำข้อสอบได้หรือไม้ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ เราจะเต็มที่เท่าที่เราเข้าใจให้ดีที่สุดแล้วยินดีให้ได้ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร

    มรรค พิจารณาเห็นความจริงตามความเป็นจริงอย่าไปหลงเชื่อตามกิเลสซึ่งมักลวงให้เรากลัว ข้อสอบก็ยังไม่ได้สอบคิดกลัวไปเองและอีกอย่างการได้เข้าสอบเรามีแต่ประโยชน์เป็นการทดสอบความเข้าใจของเราที่ได้ปฏบัติเรียนรู้มา เราทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรจะได้รู้ว่าเราไม่เข้าใจตรงไหนจะได้นำมาแก้ไขได้ อย่างน้อยการได้เข้าเราก็ผ่านความกลัวได้แล้ว ส่วนผลนั้นเราก็จะยินดีเพราะเราตั้งใจทำเต็มที่แล้ว สาธุ

  27. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน

    เรื่อง กิเลสทำงานตลอดเวลา

    เรื่องย่อ วันนี้ผมได้ทำงานกสิกรรมไปด้วยและได้ทำงานตรวจใจไปด้วยเวลาทำงาน พบว่ากิเลสทำงานตลอด มีกิเลสหลายตัว ตัณหา อุปทานหลายตัว ล้างแล้วก็ล้างอีกครับ

    ทุกข์ ไม่แช่มชื่นเวลาทำงาน ไม่เบิกบานเวลาทำงาน

    สมุทัย อยากให้งานเสร็จเร็วๆ อยากให้งานเป็นได้ดั่งใจ อยากให้ทำงานแล้วไม่เหนื่อย อยากให้ค่ำเร็วๆจะได้เลิก

    นิโรธ งานเสร็จหรือไม่เสร็จก็ไม่ทุกข์ งานได้ดั่งใจหรือไม่ได้ดั่งใจก็ไม่ทุกข์ เหนื่อยหรือไม่เหนื่อยก็ไม่ทุกข์ ทำงานหรือเลิกงานก็ไม่ทุกข์

    มรรค พิจารณาหากิเลสทีละตัว ถ้าเรายังทุกข์ หงุดหงิด ใจร้อน ไม่แช่มชื่น ไม่เบิกบานตอนทำงาน แสดงว่าเรายังมีกิเลสอยู่อะไรสักอย่างหรืออาจมีหลายอย่าง เราถึงทำงานด้วยความลำบาก คิดถึงสภาพนิโรธ ความทุกข์ที่เกิดขึ้น คืออุปทาน คือความลวง ที่กิเลสสร้างเงื่อนไขให้เราทุกข์ จริงๆ สิ่งที่เราทำนี้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ณ เวลานี้ เราได้ทำงาน ได้ทำกุศล ได้ใช้วิบาก ได้ลดกิเลสด้วย
    กิเลสสั่งให้ทำงานให้เสร็จเร็วๆ เราก็พิจารณาว่า งานเสร็จแล้วเราจะพ้นทุกข์ไหม? งานเสร็จคือสาระสำคัญไหม? ก็ได้คำตอบว่า งานเสร็จก็ได้ดั่งใจชั่วคราว แล้เราก็ทุกข์อีกอยู่ดี ถ้าเราอยากทำงานให้เสร็จ เราก็ทุกข์ตั้งแต่อยากแล้ว ทุกข์ไปจนทำงานเสร็จแล้ว จากนั้นก็แค่ลดทุกข์ลงชั่วคราว วันต่อไปเราก็ทุกข์อีกอยู่ดี จึงพิจารณาว่า เราจะไม่ทำงานเพื่อหวังให้งานเสร็จ แต่เราจะทำงานเพื่อเป้าหมายหลักคือกำจัดกิเลสความยึดมั่นถือมั่น จากนั้นกิเลสก็คลายลง เราก็ได้พลังในการทำงานเพิ่ม เบิกบานและทำงานได้แบบเบาสบายใจ ไร้กังวลครับ
    กิเลสสั่งให้อยากให้งานที่ทำได้ดั่งใจ เราก็พิจารณาว่า โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ เราจะหาความสมบูรณ์ได้จากไหน? เราสามารถควบคุมอะไรได้จริงๆหรือ? ขนาดใจเราที่เป็น นามธรรม อยู่กับเราตลอด เรายังควบคุมยากเลย แต่ละวันก็เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา สิ่งที่เกิดขึ้น เกิดจากการสังเคราห์ะของกุศลและอกุศลของเรากับโลก ในเมื่อเราตั้งใจทำให้เหตุให้ดี เต็มที่แล้ว ผลจะเป็นอย่างไร สิ่งนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ เราได้ทำงานตั้งใจเต็มที่แล้ว สิ่งนั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้วครับ
    กิเลสสั่งให้ทุกข์ตอนทำงานเหนื่อย เราก็พิจารณาว่า การจะทำกุศล จะต้องฝืน จะต้องเหนื่อย ความเหนื่อย เป็นผัสสะ เป็นเวทนา เป็นของดี เป็นสิ่งที่ทำให้เราเจริญ เราต้องอยู่กับสิ่งนี้ ไปจนกว่าจะปรินิพพาน เราก็นึกถึงครูบาอาจารย์ ที่ท่านต้องเหนื่อยกว่าเราตั้งหลายเท่า แถมต้องหนักหัว เอาภาระช่วยเหลือลูกศิษย์ทุกคนครับ
    กิเลสสั่งให้ทุกข์ อยากให้ค่ำเร็วๆ เราก็พิจารณาว่า เราจะรีบไปไหน? ค่ำแล้วเราจะไปทำอะไร? ไปเสพกิเลสอะไร? เลยไม่เบิกบานตอนทำงาน พิจารณาว่า สิ่งที่เราทำตอนนี้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว พิจารณาเห็นโทษภัยของกิเลส เราอาจจะติดสบาย ทำให้เราต้องมาทุกข์ตอนทำงาน ตอนทำกุศล ตอนทำประโยชน์ กิเลสเป็นต้นเหตุให้เราทุกข์ เราต้องไม่เสพความสบายตอนเลิกงาน ต้องขยันตั้งศีล เพื่อให้เราไม่ต้องทุกข์ตอนทำงาน จะได้บำเพ็ญได้เต็มที่ ไม่เนิ่นช้าครับ
    ผมขอขอบคุณ องค์ประกอบของหมู่มิตรดี ที่ผมได้มีโอกาสบำเพ็ญ ได้ลดกิเลส ได้ปฏิบัติธรรมะแท้ๆ ทางเอกสายเดียว สู่ความพ้นทุกข์ครับ สาธุครับ

  28. นฤมล ยังแช่ม

    โลภ

    งานตัดต่อเป็นงานที่เริ่มหัดทำ ยังไม่คล่องในการใช้เครื่องมือในการตัด่อวีดีโอ วันหยุดพอจะมีเวลาก็ลองศึกษาจากยูทูป ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น พอดีได้รับงานมาหนึ่งชิ้น ได้โอกาสลองวิชาที่ได้มา บางเครื่องมือก็ใช้ได้ดี แต่บางเครื่องมือทำแล้วรู้สึกติดๆขัด ไม่เป็นดั่งใจหมาย ก็เกิดความหงุดหงิดว่าทำไมไม่ได้นะ อันนี้ ทำแล้วแต่ไม่ดี แก้ไขอยู่หลายครั้ง เลนเดอร์งานไปทั้งหมด 6-7 ครั้ง ในการทำงานหนึ่งิชิ้น กว่าจะได้กลับบ้าน หกโมงเย็นคะ

    ทุกข์ หงุดหงิดที่ใช้เครื่องมือในการตัดต่อวีดีโอไม่ได้ดั่งใจ

    สมุทัย ถ้าใช้เครื่องมือได้ดั่งใจจะสุขใจ ถ้าใช้เครื่องมือไม่ได้ดั่งใจจะทุกข์ใจ

    นิโรธ จะใช้เครื่องมือได้ดั่งใจก็สุขใจ หรือจะใช้เครื่องมือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้

    มรรค เห็นสภาพความหงุดหงิดที่เกิดจากการพยามจะใช้เครื่องมือในการตัดต่อวีดีโอ ที่มันไม่เป็นดั่งใจ คือทำแล้วไม่ได้เสียงที่ต้องการ ไม่ได้ภาพอย่างที่ต้องการ แล้วเป็นสภาพทุกข์ นี้เราทุกข์แล้ว พิจารณาว่าถ้าเราทำงานเสร็จสมใจหมาย แต่เราเป็นโรคเดรียด นี้มันถูกแล้วเหรือ มันผิดทาง พิจารณาว่าทำงานก็ต้องฟักไปในตัวจะได้ไม่ต้องเอาตัวไปพัก เราพึ่งจะเรียนรู้ พร่องบ้างก็ได้ จะให้สมบูรณ์ทุกอย่างมันก็เป็นไปไม่ได้ ยินดีพอใจในสิ่งที่ทำได้ แค่นี้ก็ดีมากแล้วนะ

  29. นายรวม เกตุกลม

    เรื่อง ซื้อกาวแต่ไม่ได้กาว

    เรื่องมีอยู่ว่า ได้ไปซื้อกาวและสิ่งของอื่นๆที่ร้านค้าแห่งหนึ่ง บอกคนขายว่าต้องซื้อของอะไรบ้าง คนขายก็จัดของให้ เราก็ได้จ่ายเงินค่าของเป็นที่เรียบร้อย พอกลับมาถึงบ้าน จึงได้เปิดดูของ เพื่อจะนำมาต่อท่อ ปรากฏว่าในถุงไม่มีกาวอยู่เลย ทำให้เกิดอาการโกรธขึ้นมานิดๆและทุกข์ใจ เพราะไม่สามารถต่อท่อเดินสายน้ำได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้หันกลับมาดูใจของเราเอง ปรับจิตใจใหม่ เราเป็นคนผิดที่ไม่ตรวจดูก่อนออกจากร้าน หรือคนขายอาจจะทำพลาดไม่เอากาวให้ เราจะไปโกรธเขาได้อย่างไร เพราะไม่มีใครไม่เคยทำผิดพลาด ทุกคนเคยทำผิดพลาดมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น ชาติใดชาติหนึ่งเราก็เคยทำผิดพลาดมา ทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ได้แต่ยอมรับความจริงชดใช้วิบากกรรม ด้วยความอดทน รอคอย ให้อภัย ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ ด้วยใจที่เป็นสุข

    ทุกข์:โกรธนิดๆและทุกข์ใจ

    สมุทัย:ยึดมั่นถือมั่น ถ้าได้กาวมาก็จะสุขใจ แต่ถ้าไม่ได้กาวมาก็จะทุกข์ใจ เมื่อไม่ได้กาวมาจึงเกิดอาการโกรธนิดๆและทุกข์ใจ

    นิโรธ:จะได้กาวมาหรือไม่ เราก็จะไม่โกรธและสุขใจ

    มรรค:ยินดีเต็มใจ ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนให้อภัยคนขาย เพราะทุกคนเคยทำผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น ชาติใดชาติหนึ่งเราก็เคยทำผิดพลาดมา ถือว่าเราได้ชดใช้วิบากกรรมที่เคยทำพลาดมา โชคดีอีกแล้วร้ายหมดไปอีกแล้ว หยุดชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส อดทน รอคอย ให้อภัย ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ ด้วยใจที่เป็นสุข

  30. ประคอง เก็บนาค

    เรื่อง : ความหวังดี

    เนื้อเรื่อง : ในช่วงเย็น เราต้องเดินทางไปซื้อของใช้ภายในบ้านที่ร้านค้าในตัวอำเภอ โดยพ่อบ้านอาสาขับรถไปส่ง ระหว่างทางพ่อบ้านจะกดโทรศัพท์เพื่อเช็คข้อความทางไลน์ตลอด ซึ่งรบกวนการขับรถ ในใจของเราไม่อยากให้เขาใช้โทรศัพท์ตอนขับรถเพราะอาจเกิดอันตรายได้ และด้วยเวลาที่ต้องเดินทางไปให้ถึงร้านก่อนเวลาที่ร้านจะปิดรับบริการ จึงบอกเขาไปว่าเราต้องไปถึงร้านก่อนเวลา 17.00 น. เขาจึงจอดรถข้างทางเพื่อจัดการตอบข้อความทางไลน์และโทรศัพท์เรื่องงาน เราก็เห็นว่าคงจะเป็นงานด่วนหรือธุระด่วนจริง ๆ และอาจจะใช้เวลานาน จึงบอกเขาว่า กลับไปทำงานก่อนไหม ถ้าไปไม่ทันก็ไม่เป็นไรไม่ต้องรีบ ไปซื้อวันอื่นก็ได้นะ แต่พ่อบ้านกลับตอบมาว่า เธอจะอะไรนักหนาเนี่ย ทำงานแป๊บเดียวเอง อยู่เฉย ๆ ไปเลย…โฮ้ ขนาดนี้เชียวหรือนี่ เห็นตัวเองโดยอัตโนมัติ นิ่งทบทวนตัวเองเงียบ ๆ ต่อไป…

    ทุกข์ : รู้สึกไม่พอใจเมื่อพ่อบ้านพูดไม่ดีโต้ตอบมา

    สมุทัย : ยึดว่าพ่อบ้านควรจะพูดดี ๆ กลับมา ก็เราอุตส่าห์หวังดีนะให้เขากลับไปทำงานก่อนก็ได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องการไปซื้อของเพราะสามารถไปซื้อวันหลัง ๆ ก็ยังได้

    นิโรธ : พ่อบ้านจะพูดดีหรือไม่ดี เราก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาถึงเรื่องกรรม เห็นตัวเองโดยอัตโนมัติ นั่นไง เราเคยทำมา นั่นแหละเรา วางใจยอมรับในสิ่งที่เราได้รับ พิจารณาถึงลักษณะน้ำเสียง คำพูด อาการของพ่อบ้าน ที่เป็นสาเหตุของอาการที่ป็นต้นเหตุให้เรามีอาการไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ..อ้อ ลีลาแบบนี้ทำให้คนเราเกิดความไม่ชอบ ความชัง ..พิจารณาย้อนมาหาตนเองว่า ต่อไปเราควรสังวรระวังการแสดงอาการแบบนั้นออกไปกับคนอื่น ๆ ด้วยเหมือนกัน เหมือนครั้งนี้ไงเราเคยทำแบบนี้กับคนอื่นมา เราก็ได้มารับการกระทำแบบนั้นเช่นกัน …เมื่อพิจารณาถึงตอนนี้ ใจเราก็เบาสบาย โล่งโปร่งขึ้น …กับเหตุการณ์นี้ได้เห็นตัวเองเร็วขึ้นและทุกข์ดับไปได้ไวขึ้นค่ะ

  31. เสาวรี หวังประเสริฐ

    เรื่อง อาหารที่ควรลดละเลิก
    จากการลดละเลิกเนื้อสัตว์มาได้ประมาณ3ปีแบบเขี่ยบ้างหรือถ้ามีเวลาก็จะรับประทานอาหารสูตร1เป็นบางมื้อ
    วันนี้สามีและลูกทำขาหมูพะโล้ เราก็พิจารณาดูตั้งแต่สามีถือขาหมูสดเข้ามาในครัวและเริ่มปรุง
    ทุกข์ สามีและลูกยังชอบทานเนื้อสัตว์
    สมุทัย เหตุแห่งทุกข์อยากให้สามีและลูกเลิกทานเนื้อสัตว์
    นิโรธ สภาพดับทุกข์สามีและลูกจะลดละเลิกทานเนื้อสัตว์หรือไม่เราก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค วีธีดับทุกข์พิจารณาว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกันเราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเราและฐานจิตของผู้อื่นคิดดีพูดดีทำดีไว้ก่อนดีที่สุดและกลับมาพิจารณอาการของกิเลสในตัวเราว่าเราเลิกทานเนื้อสัตว์ได้ด้วยใจที่เป็นสุขหรือยัง สามารถนั่งร่วมโต๊ะอาหารขณะที่สามีและลูกทานเนื้อสัตว์ด้วยใจที่ไม่ชอบไม่ชัง เมื่อลองนั่งดูและพิจารณาดูเนื้อหมูที่ต้มสุกแล้ว กลิ่นเครื่องเทศที่หอมกลุ่นก็ไม่สามารถทำให้ใจเราหวั่นไหว ไม่มีความอยากที่จะทานเนื้อหมูนั้นอีกและไม่รู้สึกชังที่สามีและลูกนั่งทานอย่างอเร็ดอร่อย

  32. ขวัญจิต เฟื่องฟู

    เรื่อง ฝึกใจให้รู้จัก ” รอ ”

    วานพี่สาวให้โอนเงินให้ เเต่ไม่สามารถทำได้เพราะตู้โอนเงินเสีย พี่สาวทำการโอนเงินอย่างอื่น ท่านก็ทำไม่เป็น เห็นใจที่กังวล ทุกข์ ที่พี่โอนเงินไม่ได้

    ทุกข์ : กังวล ไม่สบายใจ อยากให้พี่สาวโอนเงินได้

    สมุทัย : ยึดว่าต้องโอนเงินให้ได้ ชอบที่พี่สาวโอนเงินได้ ไม่ชอบที่พี่สาวโอนเงินไม่ได้

    นิโรธ : ไม่ยึดว่า พี่สาวจะต้องจะโอนเงินได้

    มรรค : พิจารณาว่า เรายึดดี อยากให้พี่สาวโอนเงินเพราะความอยากดีของเรา ทำให้วิบากร้ายเข้า ที่ไม่สามารถโอนเงินได้ เราจะไปยึดทำไม ยึดว่าต้องทำให้ได้ นี่มันคือกิเลสตัวใหญ่ที่เราต้องล้าง
    ท่านอ.หมอเขียว เคยเทศน์” ยิ่งอยากได้ มันจะไม่ได้” เเละนึกถึงบททบทวนธรรมอีกข้อหนึ่งคือ ยึดก็ได้ วางก็ได้ สบายใจจริง เเละได้คุยกับพี่น้องหมู่กลุ่ม เเต่ละท่านก็ให้คำเเนะนำมาที่เเตกต่างกัน มีพี่น้องท่านหนึ่ง เเนะนำว่า เรารู้ว่ายึด ว่าอยาก มันเป็นกิเลส เเล้วเรายังจะไปตามใจกิเลสอยู่อีกหรือ ข้าพเจ้าได้บอกกับพี่น้องคนนนั้น ว่าน้องรู้เเล้วจะทำอย่างไร ใจก็วางทุกข์ตัวนี้ลงได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นจับมือถือหลายครั้งเเล้ว เพื่อจะบอกวิธีให้พี่สาวทำอย่างไรต่อไป พอหักลำกิเลส วางใจได้ ทิ้งมือถือไม่จับเขาอีกเลย
    ในทุกข์คราวนี้ เห็นว่าตัวเองมี ความอยากเเละใจร้อน อยากทำให้ได้เร็ว กิเลสตัวนี้จะพากเพียรล้างต่อไปเรื่อยๆคะ

  33. ศิริพร คำวงษ์ศรี

    ชื่อเรื่อง: กิเลสแว๊นส์

    ช่วงนี้ต้องรับมือกับวิบากเรื่องมีกลุ่มเด็กแว๊นส์หลายสิบคน มารวมกลุ่มทำกิจกรรมสันทนาการแข่งรถบนถนน ส่งเสียงดัง บิดมอเตอร์ไซค์เหมือนอยากให้รู้ว่าแวะมา ถือขวดเหล้ามาดื่มมันส์ จากนั้นก็ขวางปาขวดแก้วลงพื้น เขียนข้อความคล้ายม็อบปลดแอก ทำลายทรัพย์สินรัฐ และงัดรถสองแถวที่จอดข้างทาง เดินหน้าต่อสู้ส่งเรื่องแจ้งตำรวจ สส. และสำนักงานเขต เพราะสร้างความรำคาญให้สมาชิกในครอบครัวของเรา บางท่านถึงขนาดนอนไม่หลับทั้งๆที่มีอาการป่วย ช่วงแรกใจเรานั้น ไม่ได้รู้สึกชังเสียง หรือพฤติกรรม เพราะลึกๆก็สงสาร น้องๆน่าจะมีปัญหา เพราะไม่อยากกลับบ้าน แต่ช่วงหลังๆนี้เริ่มชัง เพราะเราเห็นคนในบ้านทุกข์ใจมาก ถึงขนาดอยากเอามีดไปฟันคอเด็ก

    ทุกข์: เห็นคนในบ้านทุกข์ใจ และเราก็ยังไม่สามารถช่วยอะไรไปมากกว่านี้

    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์): อยากเห็นสมาชิกในบ้านสุขใจ อยากเห็นสังคมมีความสงบ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กันและกัน

    นิโรธ (สภาพดับทุกข์): ไม่ชอบไม่ชัง ยินดี พอใจ ไร้กังวล ยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับวิบากด้วยความเต็มใจ และยอมรับวิบากที่ผู้อื่นก็ต้องรับความทุกข์เช่นกันด้วยความเต็มใจ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรม เราทำทุกอย่างเต็มที่ดีที่สุด

    มรรค (วิธีดับทุกข์): พิจารณาความชั่ว ความเอาแต่ใจ ความดื้อของเราที่เคยทำมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้เราต้องมาพบเจอคนที่เป็นภาพสะท้อนของเรา เราไม่เห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่นมา เหนี่ยวนำให้น้องเด็กแว๊นส์อยากทำชั่วเหมือนกัน รับไปเถอะ รับเต็มๆหมดเต็มๆ ไม่มีอะไรเที่ยงแน่นอน เราหรือใครๆไม่สามารถทุกข์หรือสุขไปได้ตลอดกาล ยึดมั่นถือมั่นให้โง่ไปทำไม ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ วิบากหมดเมื่อไหร่ เมื่อนั้น ปัญหาไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้ มีแต่ใจเราเท่านั้นที่กำหนดได้ ตั้งสติไม่ให้ใจตามกิเลสแว๊นส์ไปทุกข์ได้ เขาสร้างความเดือดร้อน นั้นโง่มาก เรายิ่งโง่กว่า ถ้าจะไปโง่สร้างความเดือดร้อนให้ใจตนเอง ตั้งจิตพยายามพากเพียรพิจารณาโทษของการตามใจตนเอง มันสร้างทุกข์ขนาดนี้ สาธุ

  34. ศิริพร ไตรยสุทธิ์

    เรื่อง ทันเวลาพอดี

    วันที่ 2 มกราคม 2563 มีสอบ ว.บบบ(2563/2564) แต่เรามีธุระที่นัดหมายไว้แล้ว จึงไม่ลงชื่อเข้าสอบ เพราะไม่แน่ใจว่า จะกลับมาบ้านทันเวลาหรือไม่

    ทุกข์ : ใจพะว้าพะวง ไม่นิ่ง กลัวไม่ทันเวลาสอบ
    สมุทัย : อยากกลับบ้านให้ทันเวลาสอบ
    นิโรธ : วางใจว่า ถ้าทันเวลาสอบก็สอบ ถ้าไม่ทันก็ค่อยสอบในปีถัดไป
    มรรค : นัดหนายที่ได้นัดไว้นั้น ได้นัดไว้ก่อนที่จะรู้ว่า จะมีสอบ พอรู้ว่ามีสอบ ก็กังวลใจ คิดอยู่นานว่า จะทำธุระเสร็จทันเวลารึเปล่า คิดแล้วคิดอีกว่าจะยกเลิกนัด แต่ก็ได้รับปากไปแล้วว่าจะช่วยท่าน จึงก็ปลอบใจตัวเองว่า ทันก็สอบไม่ทันก็สอบปีหน้าก็ได้ พอถึงวันนัดหมาย จึงตัดสินใจไปเร็วกว่าเวลาที่นัด เพื่อธุระจะได้เสร็จเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้
    ผลปรากฏว่า พอมาถึงบ้านก็ถึงเวลาสอบแล้ว ก็รีบเข้าzoomทันที และได้ยินเสียงอ.หมอเขียวบอกว่า เลื่อนเวลาสอบออกไป 30 นาที เพื่อให้พี่น้องทางภูผาฯ ไปทำธุระส่วนตัวให้เสร็จก่อน เพราะอาการหนาวเย็น พอได้ยินอย่างนั้น ก็รู้สึกยินดีและเป็นสุข ทำให้เราเข้าสอบได้ทันเวลา พร้อมกับหมู่กลุ่มมิตรดี

Comments are closed.