631122 การบ้านอริยสัจ (15/2563)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 16 – 22 พฤศจิกายน 2563 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สรุปมีผู้ส่งการบ้านสัปดาห์นี้ทั้งหมด 34 ท่าน 36 เรื่อง
- นงลักษณ์ สมศรี(ลายใบไม้)
- นางจิราภรณ์ ทองคู่
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- วรางคณา ไตรยสุทธิ์ (พุทธพรฟ้า)
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- นางสาวสันทนา ประวงศ์
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
- ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
- อภินันท์ อุ่นดีมะดัน
- นส.พวงผกา โพธิ์กลาง
- พรพิทย์ สามสี (๒)
- สำรวม แก้วแกมจันทร์
- นวลนภา ยุคันตพรพงษ์
- ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
- ขวัญจิต เฟื่องฟู
- นางบัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม
- จิตรา พรหมโคตร
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- นปภา รัตนวงศา
- ประคอง เก็บนาค
- ปริศนา อิรนพไพบูลย์
- ปิ่น คำเพียงเพชร
- ณ้ฐพร คงประเสริฐ
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
- นางพรรณทิวา เกตุกลม
- จงกช-ป้าย่านาง (๒)
- นางภัคเปมิกา อินหว่าง
- ศรีรวม มั่งมา
- นฤมล ยังแช่ม
- จรรญา ชุมจัด (สร้างกลิ่นศีล)
- นางสาวจารียา จันทร์ภักดี
- นายรวม เกตุกลม
- ศิริพร ไตรยสุทธิ์
- เสาวรี หวังประเสริฐ



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 171
ไส้เดือนที่ถูกขัง
เมื่อ2-3ปีก่อน ได้ขอไส้เดือนจากเพื่อนมาให้เลี้ยง แล้วยังไปขนขี้ม้าจากฟาร์ม มาผสมเป็นอาหารเลี้ยงเขา เพื่อเอาขี้ไส้เดือนมาทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ปกติไส้เดือนในสวนก็มีอยู่ทุกที่ แต่เพราะชอบดูวงจรชีวิตของไส้เดือน ยินดีทุกครั้งที่เห็นการขยายพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้น ปีที่ผ่านมาพอได้ขี้ไส้เดือนแล้ว จึงย้ายมาเลี้ยงบนรถเข็นเก่าๆสองคัน แล้วก็ลืมไม่ได้คิดว่าเราไปกักขังพวกเขาไว้อยู่หลายเดือน ยามมีความอึดอัด ไม่เบิกบาน ไม่ค่อยสบายใจ ที่ผ่านมาเวลาเจอกิเลสแต่ก็จับทุกข์ และหาเหตุแห่งทุกข์ไม่พบ จู่ๆก็นึกถึงไส้เดือนในรถเข็นขึ้นมา จึงได้ปล่อยไปหากินอยู่กับธรรมชาติต่อไป
ทุกข์ : สลดใจ รู้สึกผิด ที่เราไปกักขังเขาไว้
สมุทัย : ไส้เดือนถูกขัง ทั้งๆที่ควรจะมีชีวิตอยู่ในดิน ที่เราเคยหลงไปชอบดูวงจรชีวิตของไส้เดือน หลงไปยินดีกับการขยายพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้นของเขาเพียงเพราะความเห็นแก่ตัวของเราคืออยากได้มูลเขามาทำปุ๋ย จึงเป็นเหตุทำให้เราหลงไปกักขังชีวิตสัตว์อื่น
นิโรธ : สัตว์หรือคนแต่ละชีวิตก็มีกรรมเป็นของของตน จะดีหรือร้ายก็เป็นไปตามกรรมวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิตที่เคยสร้างมา แต่เราไม่ควรไปกักขังชีวิตเขา จึงปล่อยไส้เดือน เพื่อให้อิสระ ด้วยใจที่เบิกบาน โปร่งโล่งสบาย
มรรค : สงบใจพิจารณา ว่าคนเราก็พร่องและพลาดได้ตามกิเลสและวิบากทำให้เกิดความคิดและการกระทำที่โง่ ที่เราไปหลงกักขัง ทำให้เรา ต้องเจอวิบาก เหมือนถูกกักขังเช่นกัน เพราะการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อใช้ขี้ไส้เดือนมาทำปุ๋ยมันไม่คุ้มกัน ได้รับวิบากที่ต้องเป็นทุกข์ที่ผิดศีลข้อ 1 ที่เคยเบียดเบียนตนเองและสัตว์อื่น จึงสำนึกผิด และขออโหสิกรรมต่อคนและสัตว์ที่เราได้เคยเบียดเบียนเขามา ตั้งอธิศีลเพิ่ม ด้วยการพิจารณาอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น
ความผูกพันที่เคยมีต่อครอบครัวก็เป็นกิเลส ต่อสัตว์ที่เคยเลี้ยงก็เป็นบาปทำให้มีวิบากต่อกันไม่จบไม่สิ้น
เมื่อนำไส้เดือนไปปล่อยให้เขามีชีวิตตามธรรมชาติของเขา แล้วมาตรวจใจ ดูอาการสลดหดหู่ รู้สึกผิดก็คลายลง และใช้เวลาพิจารณาเห็นทุกข์ที่เหมือนถูกกักขัง ด้วยกิเลส จากความรู้สึกผิด ค่อยๆเบาบางลงตามลำดับ
เรื่อง กิเลสลวงให้หลงผิด
เนื้อเรื่อง มาบำเพ็ญที่ภูผาฟ้าน้ำ ตอนเช้าได้ไปเก็บถั่วแป๋โดยผู้รับใช้ที่เป็นคนดูแล ได้มอบหมายให้เราเป็นคนเก็บ วันที่1-2 ไม่มีร่องรอยของสัตว์มากิน แต่พอถึงวันที่ 3 มีร่องรอยของสัตว์ซึ่งน่าจะเป็นหนูมากิน ๆไปหลายฝัก กิเลสก็บอกว่า เก็บทั้งฝักแห้งและฝักที่ยังไม่แห้ง ๆ เอาไปให้แม่ครัวต้มให้อาจารย์และที่เหลือจากอาจารย์พวกเราก็จะได้กินอย่างทั่วถึง แต่ไม่ได้ปรึกษาหมู่กลุ่มว่าควรเก็บฝักที่ไม่แก่หรือไม่ ได้ตัดสินใจเอง พอเก็บเสร็จได้เอาถั่วที่ยังไม่แห้งไปให้แม่ครัวต้มให้อาจารย์ แม่ครัวก็ทักว่าทำไมไม่เอาไว้ทำพันธุ์ เราก็บอกไปว่าถั่วเรายังมีมากยังไม่เก็บก็มี และที่เก็บมาแล้วก็มากพอทำพันธุ์
ทุกข์ แม่ครัวทัก
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ถ้าแม่ครัวไม่ทักจะสุขใจ แต่พอแม่ครัวทักก็ทุกข์ใจ
นิโรธ สภาพดับทุกข์ แม่ครัวจะทักหรือไม่ทักก็สุขใจ
มรรค วิธีดับทุกข์ พอถูกแม่ครัวทักก็รู้ว่าทำผิดและทำไปโดยไม่ได้ขอมติหมู่ ก็รีบสำนึกผิดและยอมรับผิด ขอรับโทษเต็มใจรับโทษ หรือขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ ต่ออาจารย์และหมู่กลุ่มให้ถึงจิตในช่วงเวลาที่มีอปริหานิยธรรมของวันนั้น อาจารย์ก็บอกว่าไม่เป็นไรมันได้ทำไปแล้ว กิเลสก็สลายเป็นพุทธะ เทพลังให้เรา จิตเราก็โปร่งโล่งเบาสบาย ความทุกข์ใจก็หายไป
ชื่อเรื่อง
ทุกข์ The Truth of suffering
อึดอัด น้อยใจ ใจไม่แช่มชื่น ใจหมอง สมุทัย The Truth of cause of suffering
โลภอยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ไม่ใช่สมบัติของตน
นิโรธ The Truth of state end of suffering
ใจแช่มชื่นขึ้น ผ่องใส ไม่ขุ่นหมอง
มรรค The truth of the path to end of suffering
พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง ว่าการอยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่สมบัติของตัวเอง เป็นกิเลส เป็นทุกข์ เราต้องรู้จักพอใจและยินดีในสิ่งที่เรามีและใช้เขาให้ได้ประโยชน์สุงสุดในการสร้างสรรค์สิ่งดีมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
สิ่งที่ควรทำ (ภาระกิจที่ควรรับ)
หลังจากสรุปงานสรุปใจและพูดคุยสภาวะกันกับพี่น้องที่ทำงานในทีมวิชชารามด้วยกัน ทำให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นภาระกิจในการทำงานต่อไป แต่งานเหล่านี้เราไม่เคยทำมาก่อน พอคุยกันเสร็จก่อนนอนเราก็ทบทวนอีกครั้งในสิ่งที่จะเกิดขึ้นทำให้รู้สึกมีพลังหนักอึ้งทับเราไว้แม้จะไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจแบบเมื่อก่อน พอจับอาการนี้ได้ก็ทบทวนขึ้นมาได้ว่าตอนนี้เราทำอะไรได้ก็ควรทำให้เต็มที่ตามสิ่งที่ฟ้าเปิดให้ทำ ใจก็โล่งเบาสบายและมีพลังเพิ่มมากขึ้นด้วย
ทุกข์ : หนักใจกับภาระกิจที่ต้องรับ
สมุทัย : ไม่อยากรับภาระกิจนี้ด้วยใจที่เต็มร้อย
นิโรธ : เราจะได้รับภาระกิจนี้หรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ และสบายใจไม่ว่าทำแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม
มรรค : พอจับอาการความรู้สึกว่ามีพลังหนักอึ้งทับเราไว้แม้จะไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจแบบเมื่อก่อนก็ตาม ก็พิจารณาโทษของอาการนี้ทันทีว่า “หากไม่ยินดียอมรับความจริงในสิ่งที่ฟ้าเปิดให้ทำ เราก็กำลังสร้างอกุศลที่เลวร้าย และไม่พ้นทุกข์ทางใจ เราควรยินดียอมรับให้เต็มที่ไปเลยว่าควรรับภาระกิจนี้ พอทำไปแล้วผลจะออกมาอย่างไรก็ได้ เราควรทำให้เต็มที่ เต็มกำลังและเต็มความสามารถที่มี” หลังจากพิจารณาแบบนี้ก็สบายใจ โล่งใจ เบาสบาย มีพลังในการตรวจล้างกิเลสและบำเพ็ญกุศลเพิ่มมากขึ้นด้วย
คุณยายขี้บ่น
วันนี้ที่ทำงานช่วงเวลาอาหารเย็น เราต้องไปรับคุณยายท่านหนึ่งกลับไปที่ห้องพักของท่าน พอเราไปถึงคุณยายก็บ่นเลยว่าทำไมเธอถึงไม่ช่วยเหลือฉันก่อน ทำไมถึงไปช่วยคนอื่นก่อนท่าน ท่านก็บ่นในลักษณะต่อว่าเราไม่ให้ความสำคัญกับท่าน ไม่ทันใจท่าน เราก็เลยตอบท่านไปว่าคุณยายยังทานข้าวไม่เสร็จหนูก็ต้องไปช่วยเหลือคนอื่นก่อน คุณยายขึ้นรถเข็ญเถอะค่ะ หนูจะพาไปส่งที่ห้อง แต่คุณยายท่านนี้ท่านก็ไม่ยอมหยุดบ่น หายใจหอบเหนื่อยปากสั่นหน้าซีดตัวโยน เรามองดูคุณยายรู้สึกทั้งสงสารและชัง(แต่จะออกไปทางชังมากกว่า)อาการเหมือนเด็กเกเรที่เอาแต่ใจไม่ได้ดังใจก็ชักดิ้นชักงอ ตอนเข็ญรถพาคุณยายกลับไปที่ห้องพัก เราก็เห็นอาการชังไม่แช่มชื่นในใจเราอยากให้คุณยายหยุดบ่น
ทุกข์ ชังคุณยายขี้บ่น
สมุทัย อยากให้คุณยายหยุดบ่น
นิโรธ คุณยายจะหยุดบ่นหรือไม่หยุดบ่นเราก็ไม่ทุกข์ใจ ปล่อยให้เป็นวิบากดีร้ายของท่าน เราทำหน้าที่ของเราด้วยความเบิกบานยินดี
มรรค พิจารณาล้างชังที่เกิดขึ้นในใจเรา เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าเราเคยเป็นมาเคยส่งเสริมมา อาการที่คุณยายท่านนี้แสดงออกมาก็คือกิเลสของเราเองเวลาที่ไม่ได้ดังใจก็ทำโง่ ชั่ว ทุกข์ หงุดหงิดรำคาญ คุณยายท่านจะบ่นมันก็เป็นวิบากกรรมของท่าน แต่เราต้องไม่ทำวิบากใหม่ของเราคือไปชังที่ท่านบ่นแล้วมาทำให้ใจไม่แช่มชื่นเป็นการสร้างโง่ ชั่ว ทุกข์ เราโง่ไปเอาทุกข์ของคนอื่นมาหนักกะบาลของเรา เรามีหน้าที่ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดแล้วปล่อยวางให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต พอเราคิดอย่างนี้ก็รู้สึกคลายความชังลง ขอบคุณนะคะคุณยายที่เป็นเหตุให้ได้เห็นกิเลสและล้างกิเลส คิดเสียว่าคุณยายเทศให้ฟังก็แล้วกัน และทำงานไปด้วยใจที่เบิกบานยินดี
เรื่อง : กิเลสมาเนียน ๆ
เหตุการณ์ : นั่งพิมพ์งานวิจัย ๓ บท มีเด็กวิชชารามเข้ามาเล่นอยูในห้องด้วย เด็กเดินไปดูหน้าจอคอมพิวเตอร์พี่น้องชาย ๒ ท่าน และบอกจำนวนหมายเลขหน้าที่แต่ละท่านพิมพ์งานได้ และก็มาดูที่หน้าจอเราแล้วพูดจำนวนหน้าเหมือนกัน ลุง…ได้ ๑๓๕ หน้า พี่…ได้ ๑๑๐ หน้า น้าโอได้ ๗๐ หน้า น้าโอได้น้อยที่สุดเลย ตอบไปไม่เป็นไรน้าโอพอใจเท่าที่ทำได้ พอมาวันที่ ๒ ก็พูดอีก อ้าว ไงเนี้ย มาตรวจดูอาการในจิตเราชัด ๆ เราต้องมาเจอเหตุการณ์นี้ซ้ำ ๆ อ๋อ ถึงบางอ้อเลย จิตเรามีกิเลส ดูดเด็กคนนี้มาพูดความคิดในจิตใจเราออกมา สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา สิ่งนั้นมีในตัวเรา มีเชื้อกิเลสอยู่ในจิตจึงดึงเหตุการณ์นั้นมาให้เราได้เห็น เห็นกิเลสในใจเรานี้เอง เฮ้ยกิเลสแก่นี้ร้ายมากน่ะ มาเนียนจริงๆ
ทุกข์ : พิมพ์งานได้น้อย
สมุทัย : ตัณหาความอยาก อุปาทานความยึดมั่นถือมั่น อยากได้จำนวนหน้างานเยอะ ๆ ยึดว่าได้เยอะจะสุุขใจ ได้น้อยทุกข์ใจ
นิโรธ : พิมพ์งานได้มากได้น้อยก็ไม่ทุกข์ใจ สุขสบายใจ อิ่มเอิบ เบิกบาน แจ่มใส ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวลได้ตลอดเวลา
มรรค : เธอเป็นขี้ขโมย จะเอาดีเกินกว่าที่มี เกินกว่าความจริงที่ทำได้ ขโมยชัด ๆ ไม่รู้จักพอในสิ่งที่ตนเองทำได้ ตนเองมี ไหนบอกว่าเป็นคนใจพอ โกหกชัด ๆ ปิดร้านมา เลิกอยากได้อยากรวยมาแต่ยังมาเอาดี โลภดี น่าสงสารจังเลย ขี้ขโมย ขี้โลถ อยากได้อยู่ชัดๆ อยากได้ดี จะเอาไปทำอะไร ดีหน้าตาเป็นไง เก็บไว้ได้ไหม มีตัวตนไหม เที่ยงไหม ยึดจะเอาสิ่งไม่เที่ยง บ้าแล้ว โง่จริง เท่ากับยึดทุกข์ กอดกองทุกข์ เอาสิ เราไม่เอาด้วย เราพอใจกับสิ่งที่ทำได้ สุขกว่า คือ ทำได้แค่นี้ก็ดีมากแล้ว เราทำเต็มทีแล้ว ยินดีแล้ว
ไม่ทุกข์แล้ว ไม่โง่ทำทุกข์ให้ตนเองแล้ว ไม่โง่ถูกกิเลสหลอกแล้ว ยินดีที่ได้เห็นกิเลสมาแบบเนียน ๆ มามุมนี้ในจิตเรา ตาเราดีขึ้นแล้ว
ถ้ายังยึดอยู่ก็ยังต้องทุกข์อยู่ ยึดน้อยก็ทุกข์น้อย ยึดมากก็ทุกข์มาก
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ผมอยู่ที่สวนป่านาบุญ ๒ กำลังจะถ่ายวีดีโอสำหรับรายการแบ่งปันประสบการณ์ของจิตอาสา นัดเวลากับผู้ร่วมรายการไว้ตอน ๑๑ โมงครึ่ง แต่ผมกินข้าวไม่ค่อยทัน กินเสร็จก็เกือบจะ ๑๑ โมงครึ่งแล้ว ต้องรีบมาเตรียมกล้องและอุปกรณ์การถ่ายทำ ด้วยความรีบเร่งทำให้ผมหาหูฟังไม่เจอ จนเลยเวลานัดไปหลายนาทีแล้ว ผู้ร่วมรายการทุกคนก็ไปนั่งรออยู่ตรงสถานที่ถ่ายทำกันหมดแล้ว ผมยังหาหูฟังง่วนอยู่ ค้นดูในกระเป๋าทุกใบ หาแม้กระทั่งเดินไปหาที่รถด้วย ก็ไม่เจอ สุดท้ายก็เลยบอกแม่บ้าน แม่บ้านจึงได้บอกว่ามีหูฟังอีกอันนึงอยู่ในกระเป๋าสีน้ำตาลที่ใส่ไมโครโฟน ซึ่งก็วางอยู่บนโต๊ะที่ผมพยายามหาอยู่ตั้งนานนั่นแหละ แต่ผมกลับไม่คิดที่จะเปิดดูในกระเป๋าใบนั้นเลย เพราะจำได้ว่าผมเอาหูฟังอันนั้นออกมาจากกระเป๋าแล้ว คือสรุปได้ว่าในตอนนั้น ผมหาดูในทุกที่ทุกซอกทุกมุมยกเว้นที่ที่มีหูฟังอยู่ มันเหมือนถูกแกล้งให้หาไม่เจอเลยจริง ๆ
สุดท้ายแล้วผมก็ได้หูฟังอีกอันหนึ่งจากในกระเป๋าสีน้ำตาลไปใช้ในระหว่างการถ่ายวีดีโอ หลังจากถ่ายเสร็จแล้ว ตอนเก็บของจะกลับบ้านจึงได้พบว่าหูฟังอันแรกที่ผมหาไม่เจอนั้น ก็อยู่ในกระเป๋าคอมพิวเตอร์ที่ผมล้วงดูทุกช่องหมดแล้วนั่นแหละ แต่มันไปอยู่ในถุงผ้าใบเล็กอีกที ซึ่งเป็นที่เดียวที่ผมไม่ได้เปิดดูข้างใน
ทุกข์ — มีความกระวนกระวายใจที่หาหูฟังไม่เจอ และกังวลใจด้วยว่าถ้าไม่ใช้หูฟังเช็คเสียงระหว่างการถ่ายวีดีโอแล้วเกิดมีปัญหาในการบันทึกเสียงจะทำให้งานนั้นใช้ไม่ได้ ตอนที่หาของไม่เจอนั้นมีอาการขุ่น ๆ ในใจด้วยว่าเรากลายเป็นคนขี้หลงขี้ลืมไปแล้วหรือนี่ คิดโทษตัวเองที่จำไม่ได้ว่าเก็บของไว้ที่ไหน
สมุทัย — ความกระวนกระวายใจที่เกิดขึ้นในเวลานั้นมาจากความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องหาหูฟังให้เจออย่างรวดเร็ว เพราะผู้ร่วมรายการมารอกันหมดแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นแบบนี้ทำให้เราใจร้อน และหาของอย่างรีบเร่ง คิดในใจว่าถ้าหาไม่จอต้องแย่แน่ ๆ เลย ต้องหาให้เจอถึงจะสบายใจ
นิโรธ — ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น จะหาหูฟังเจอหรือไม่เจอก็ไม่ทุกข์ใจ ถ้าหาไม่เจอก็ให้รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าตอนนั้นมันหาไม่เจอ ยอมรับสภาพแล้วทำงานต่อไปเท่าที่ทำได้เท่านั้น
มรรค — ตอนที่หาหูฟังอยู่อย่างเร่งรีบนั้น ในใจเราก็คิดไว้แล้วล่ะว่าถ้าหาไม่เจอจริง ๆ ก็จะวางแล้วไปถ่ายโดยไม่ต้องใช้หูฟังก็ได้ แต่อีกใจหนึ่งมันก็ยังยึดอยู่ว่าถ้าหาเจอจะดีกว่า มันต่อสู้กันอยู่ระหว่างปล่อยวางกับหาต่อ ตอนแรกมันก็ยังยึดอยู่ว่าจะพยายามหาก่อน จนเราทำใจยอมรับแล้ว ยอมแพ้แล้วบอกกับแม่บ้านว่าหาไม่เจอ กำลังจะเตรียมถ่ายทำโดยไม่ต้องใช้หูฟังแล้วนั่นแหละ จึงได้ข้อมูลใหม่จากแม่บ้านว่ามีหูฟังอีกอันหนึ่งอยู่ในกระเป๋าสีน้ำตาล ปัญหาจึงคลี่คลายไปได้
เมื่อย้อนกลับไปทบทวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นอีกครั้ง ทำให้เราเข้าใจชัดขึ้นว่านี่มันเป็นวิบากกรรมที่เราต้องยอมรับ วิบากร้ายมาดลใจให้เราหาดูในทุก ๆ ที่ยกเว้นที่ที่มีหูฟังอยู่ ถ้าเราตั้งหลักพิจารณาเรื่องวิบากกรรมเสียตั้งแต่ตอนนั้น ยอมรับว่ามันเป็นวิบากกรรมเสียตั้งแต่ตอนที่เริ่มหาไม่เจอ เราก็ไม่ต้องว้าวุ่นใจอะไร ไม่ต้องทุกข์ใจอะไรเลย
อีกอย่างนึง ความยึดมั่นถือมั่นที่มันยังมีอยู่ในใจเรา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์มันไม่คลี่คลาย คือหาของหาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ แต่พอเราเริ่มปล่อยวางและยอมรับเท่านั้น เหตุการณ์ก็คลี่คลายไปเป็นดีขึ้น คือได้หูฟังอีกอันนึงมาใช้งานแทน จึงเห็นได้ชัดว่าความยึดมั่นถือมั่นแม้เล็กน้อยก็เป็นโทษ ทำให้เราต้องทุกข์ เป็นกิเลสที่ต้องล้างออกให้เกลี้ยง ปล่อยวางให้หมดจดหมดสิ้นจึงจะได้พลังพุทธะที่ผาสุกผ่องใสตลอดเวลา
ร้อนเกิน
ไปร่วมยื่นคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ ในสภาพเย็นเกิน รู้สึกเย็น เลยไปยืนตากแดดบ้าง โบกธงกลางแดดบ้าง เดินเล่นกลางแดดบ้าง ก็ดีขึ้น แล้วกลุ่มใหญ่ก็จะเดินทางไปทำภารกิจต่ออีกที่หนึ่ง แล้วเขาให้เราอาศัยรถเขาไปซึ่งเป็นเหมือนรถสองแถว แต่ด้วยเหตุที่รถติดมาก แม้จุดหมายจะอยู่ไม่ไกล แต่รถไม่ค่อยขยับจึงไม่ถึงเสียที ต้องพบกับอากาศอบในรถ กลิ่นควันรถ การใส่หน้ากากที่ทำให้หายใจไม่สะดวก เริ่มรู้สึกอึดอัด กระหายน้ำ
ทุกข์ : ความไม่อยากทนกับสภาพร้อนอึดอัด
สมุทัย : ความหลงว่าชีวิตจะต้องปรับไปสู่ความสบายได้ตลอด
นิโรธ : ชีวิตจะต้องเจอกับสภาพที่ปรับได้และปรับไม่ได้เป็นธรรมดา แม้ปรับได้แต่ปรับไม่ถูกก็มี หรือปรับไม่ได้แต่ก็ไม่ได้เป็นโทษมากก็มี ดังนั้นจะไปยึดเอาการปรับไม่ปรับมาเป็นสาระสำคัญในชีวิตไม่ได้
มรรค : ปรับใจให้ยอมรับความจริงกับสภาพที่เป็นอยู่ ยินดีในสภาพที่เป็นอยู่ แม้ร่างกายไม่สบาย แต่ถ้าใจยังดี ไม่หลงตาม มันก็ไม่มีปัญหา มันจะรถติดยาวนานก็นานได้เท่าที่มันติด ที่เหลือมันก็ไม่ติดแล้ว ถ้าเรารู้สึกต้องทนมันจะลำบาก ก็เปลี่ยนใจเป็นยอมรับ ยอมรับความร้อน ยอมรับควันพิษ ยอมรับที่นั่งที่ไม่สบายนัก เราก็จะสบายใจ เพราะดีที่สุดคือสบายใจ อันนี้เราทำได้ แต่สบายกายเราทำไม่ได้ เราจะไปโง่ทุกข์ใจกับสิ่งที่เราทำอะไรไม่ได้ไปทำไม เมื่อปรับใจได้ การเดินทางหลังจากนั้นก็เป็นอยู่อย่างผาสุก
ชื่อเรื่อง ตัดหญ้าตากแดด
เนื้อเรื่อง ผมได้รับคำสั่งให้ทำการตัดหญ้า ตอนกลางวัน ช่วงเที่ยง แดดจัด ทำให้ร้อนมาก เหนื่อย เหงื่อออกมาก และเป็นหวัดครับ
ทุกข์ ตากแดดร้อน เครื่องตัดหญ้าหนัก เป็นหวัดเนื่องจากโดนแดดจัด เหนื่อย
สมุทัย ไม่อยากตัดหญ้ากลางแดดร้อน ชอบที่ตัดหญ้าร่มๆ ตอนเช้า แดดยังไม่แรงมาก
นิโรธ ตัดหญ้าตอนไหนก็ได้ ตอนเช้าก็ได้ ตอนเที่ยงก็ได้ ฝนตกก็ได้ ตามเหตุปัจจัยที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและผู้อื่น ณ เวลานั้นๆครับ
มรรค พิจารณาว่าทำไม เราถึงไม่ชอบการตัดหญ้าตากแดด จึงได้ทราบว่า เราไปชอบการตัดหญ้าตอนเช้า ตอนที่แดดอ่อนๆ อากาศเย็นๆ ติดความได้ดั่งใจ ที่ตัดหญ้าแบบสบายๆ การได้ดั่งใจตรงนี้ ทำให้เราไม่ชอบที่จะตัดหญ้าตอนที่แดดแรง ทุกข์ใจที่ไม่ได้ตัดหญ้าตอนแดดไม่แรง ดังนั้นการฝึกปฏิบัติ ผมจึงได้ไปตัดหญ้าในวันต่อไป ในตอนเช้าตอนที่แดดไม่แรง แล้วทำใจไม่ให้ชอบตอนตัดหญ้าร่มๆ แต่นึกถึงประโยชน์ของการตัดหญ้าเฉยๆ จากนั้นก็ฝึกไปตัดหญ้าตรงแดดออก ถึงแม้จะมีตรงที่ร่มให้ตัด ก็ไปตัดที่แดด แล้วจึงได้รู้ว่า ความทุกข์ลดลง เพราะแดดจะออกหรือไม่ออกเราก็ไม่ใช่สาระ สาระเอาตรงประโยชน์ครับ และการตัดหญ้าตากแดด ก็สามารถเอาประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นได้เหงื่อออก ได้ระบายพิษ ได้รับวิตามินอี ได้ลดน้ำหนัก ได้มีผัสสะ ได้อ่านเวทนา ได้ตั้งตนบนความลำบาก แม้จะเป็นหวัดก็ได้ระบายพิษพ่วงออกมาด้วย ได้เพิ่มภูมิคุ้มกัน ได้ใช้วิบากที่เราเคยไปผิดศีลมา (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะชอบการตัดหญ้าตากแตดครับ เพราะมีเหตุปัจจัยที่ต้องตัดหญ้าตากแดด เช่น จำเป็น เร่งด่วน ครับ ถ้าตัดจนแรงตก จะเป็นลมก็ต้องหยุดก่อนครับ) เมื่อพิจารณาแล้ว ทำให้ทุกข์ลดลง ตัดหญ้าตากแดดหรือไม่ตากแดดก็ไม่ทุกข์มากแล้วครับ ผมขอขอบคุณองค์ประกอบของหมู่มิตรดีที่ทำให้มีผัสสะ ได้ปฏิบัติธรรม ได้ลดกิเลสครับ สาธุครับ
นส.พวงผกา โพธิ์กลาง ( พรเพียรพุทธ )
ปลูกสตอเบอร์รี่
วันนี้ตั้งใจจะทำแปลงปลูกสตอเบอรี่ เพื่อจะส่งเป็นการบ้านวิชชาราม จะทำแบบไม่ใจร้อน
ได้ขออนุญาตจากท่านที่ดูแลพื้นที่แล้ว เริ่มยึดแบบไม่รู้ทันกิเลส ทำไปสักพัก ก็มีมาตาลีมาช่วยสลายภพ มีพี่น้องใจดี ท่านมาเสนอจะเป็นคนช่วยถ่ายคลิปให้ อีกท่านหนึ่งก็ ช่วยทำแปลงและช่วยปลูกทำเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ รู้สึกไม่ค่อยชอบใจเลย แต่ก็ทำตามท่านไปเถอะ
ในใจก็ขุ่นอยู่ พอได้แสดงความคิดเห็นออกไป ดูเหมือนสถานการณ์เริ่มเปลี่ยน ทั้ง 3 คนรวมเราด้วย ต่างก็จะทำตามความคิดของตัวเอง เป็นเหตุทำให้ได้เห็นกิเลสตัวใจร้อนของตัวเอง กิเลสตัวจะเอาตามใจตัวเอง ตอนแรกยังไม่ยอมรับนะว่าสิ่งที่เราได้เห็น และได้รับอยู่นั่น คือ เราทำมา ยังพูดกับทั้ง 2 ท่าน แบบประชดประชัน เห็นอาการที่กำลังเป็นอยู่ไม่ใช่ตัวเราของเรา บังคับควบคุมไม่ได้ มันคืออาการของกิเลสที่ไม่ได้ดั่งใจที่ตั้งใว้ ก็ต้องรับวิบากไป ด้วยอาการอึดอัด ไม่โปร่งไม่โล่ง ก็มีคำถามขึ้นว่ารู้สึกอย่างไรในการมาทำแปลงปลูกสตอเบอรี่ ในครั้งนี้ ได้ทีเลยค่ะ พูดในสิ่งที่ตัวเองรู้สึก เสียงที่พูดออกมาไม่เพราะเลย เสียงห้วน ๆเสียง แข็ง ได้ระบายความรู้สึกที่อยู่ในใจ อีกใจหนึ่งก็รุ้สึกละอายเพราะรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังพูดนั้นมันไม่ดี รู้เห็นอาการแต่ควบคุมไม่ได้ สักพักอาการที่เป็นก็สงบลง
ทุกข์ : เพราะไม่ได้ดั่งใจ
สมุทัย: ทำแปลงและปลูกสตอเบอรี่แบบใจร้อน ไม่ชอบใจทุกข์ใจ แต่ถ้าทำแปลงสตอเบอรี่และปลูกสตอเบอร์รี่แบบใจเย็นจะชอบใจ และสุขใจ
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชัง แปลงปลูกสตอเบอรี่จะเป็นอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้ ใจก็ยินดี ใจก็ผาสุกค่ะ
มรรค : ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จงาน ความสำเร็จของใจ คือความสำเร็จของงาน
เชื่อเรื่องวิบากกรรมว่า วิบากดีร้ายสังเคราะห์กันแล้วว่ากาละนี้ ต้องเจอแบบนี้ ต้องทำได้เท่านี้ ถ้าทำได้ดีกว่านี้จะเสียมากกว่าได้ เพราะจะได้ดั่งใจ กิเลสจะโต ต้องทำแบบไม่ยึดมั่นถือมั่น
เจตนาแต่อย่าอยาก อยากมากทุกข์มาก อยากน้อยทุกข์น้อย ไม่อยากไม่ทุกข์เลย
หลายต่อหลายครั้งพ่อบ้านชอบทำขยะให้เราเก็บชอบทิ้งเรี่ยราดประจำทั้งที่ถังขยะที่บ้านก็มี วันก่อนเราเก็บที่เขาทิ้งด้วยใจที่ผาสุข เวลาลูกมาบ้านพ่อบ้านก็จะปอกมะพร้าวน้ำหอมให้ลูกเอากลับไปกินที่บ้านลูกปอกเสร็จเปลือกก็จะทิ้งไว้แบบนั้นที่บ้านเลี้ยงหมาพันธ์ตัวเล็กๆหลายตัวเขาก็วิ่งคาบเศษตะพรตพร้าวให้เผ่นผล่านเราก็ตามเก็บทุกทีพ่อบ้านปอกมะพร้าวทุกๆครั้งก็ทิ้งแบบนี้เราทนดูความไม่เรียบร้อยไม่ได้ก็ตามเก็บ วันนี้ก็บ่นกับตัวเองว่าอะไรกันหนักหนา
ทุกข์ # แก้เรื่องนี้ไม่ได้สักที
สมุทัย # ชอบที่จะให้เขาเก็บให้เรียบร้อยชังมากเป็นแบบนี้บ่อย
นิโรธ # เขาจะทิ้งตรงไหนก็ได้เถ้าเราพอมีเวลาเราก็เก็บให้เรียบร้อยไม่มีเวลาก็ไม่ต้องเก็บ
มรรค # เราไม่มีหน้าที่สอนเขา เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตที่แตกต่างกัน เราทำกับเขาไว้ตั้งมากมายหาที่ต้นที่สุดไม่ได้
วิบากกรรมมรจริง ทำอะไรได้ผลอะไรก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั่งหมด ทำหน้าทีเก็บไปอย่างเบิกบานแจ่มใสไร้ทุกข์ไร้กังวลดีกว่า
เรื่อง ต้องพิมพ์ใหม่!… เบื่อ!!!
เรื่องย่อ
สามทุ่มแล้ว เป็ดลิงก์ทำการบ้านวิชชาราม เริ่มพิมพ์การบ้านความจริงความลวง อย่างตั้งใจ เสร็จแล้วก็กดส่งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ก็คิดว่าส่งได้ แต่พอไปเปิดอ่านหาไม่เจอ การบ้านที่ทำเสร็จแล้วจึงไม่ได้ส่ง ข้อมูลหายหมด ต้องพิมพ์ใหม่
ทุกข์ : เบื่อ หงุดหงิด
สมุทัย : ทำการบ้านเสร็จแล้ว ส่งไม่ได้ ข้อมูลหายหมด รีบ-ใจร้อน ต้องพิมพ์ใหม่ เสียเวลา
นืโรธ : วางใจว่าไม่ป็เนไร พร่องก็ได้ ไม่พร่องก็ได้ส่งได้หรือไม่ได้ ก็สบายใจ
มรรค : ใช้ปัญญา ตั้งสติ พิจารณาไตร่ตรอง-ใคร่ครวญอย่างมีสมาธิ ค่อยๆ คิดทบทวน ใจเย็นๆ หาเหตุผล ทุกเสี้ยววินาทีทุกอย่างไม่เที่ยง เราอาจจะกดพลาดไป กดถูกกดผิด ไม่เป็นไร พิมพ์ใหม่ได้ ไม่โทษตัวเอง ด้วยใจที่เบิกบาน
ทุกข์จากการดื่มน้ำมะพร้าวที่ใส่สารกันบูด
เนื่องจากความอยากทานน้ำมะพร้าว ที่ปกติอยู่ศูนย์จะไม่ซื้อมะพร้าวทาน จนกว่าจะมีผู้นำมะพร้าวมาบำเพ็ญซึ่งถ้ามีมาก็เป็นลูกทีแก่ไม่มีเนื้ออ่อนๆ ที่สำคัญไม่มีแรงปลอกมะพร้าวด้วยตัวเอง ฉนั้นจึงไม่ค่อยได้ดื่มน้ำมะพร้าวหรือทานเนื้อมะพร้าวอ่อน เมี่อผู้เขียนไปเรียน มื้อเที่ยงไดทานข้าวกับเพื่อนๆ แม้จะทำอาหารไปทานตามลำดับ แตก็ยังทานอาหารที่พระนำมาจากบิณฑบาต (ที่มจร. นักเรียนป.เอกทั้ง 2 รุ่นจะทานอาหารร่วมกันทั้งอาจารย์ นักเรียน พระ และฆราวาส) มักจะมีขนม ผลไม้ที่จะทานได้บางชนิด กิเลสโดดเข้าใส่ทันทีทีเห็นน้ำมะพร้าวพร้อมเนื้อมะพร้าวอ่อน 1 ถุง เพื่อนๆพร้อมที่จะยกสื่งที่ผู้เขียนทานได้ เป็นช่วงเวลาเที่ยง ถุงน้ำมะพรัาวไม่ได้แช่เย็นไว้ มีเสียงติงว่าไม่ควรสี่ยงทานเพราะอาจบูด กิเลสไม่ยอมถอย เปิดถุงดมดูไม่มีกลิ่นบูด ก็ได้ดื่มสมใจอยากจนหมดถุงไม่เหลือทั้งเนื้อและน้ำ
ทุกข์ เกิดผื่นขึ้นเต็มทั้งขาและแขน ร้อนผ่าว นอนไม่หลับทั้งคืน
สมุทัย สุขใจเมื่อได้ดื่มน้ำมะพร้าว ทุกข์ใจเมื่อไม่ได้ดื่มน้ำมะพร้าว
นิโรธ สุขใจเมื่อได้ดื่มน้ำมะพร้าว สุขใจเมื่อไม่ได้ดื่มน้ำมะพร้าว
มรรค หาหนทางดับทุกข์เมื่อพิจารณาอาการคันที่เกิดขึ้นมาจากกิเลสความอยาก ทานไปแล้ว ทุกข์มาสอน ไม่รำคาญหงุดหงิด ไม่ตกใจตุ่มผื่นที่ผุดขึ้นมามากมายรวดเร็ว ถือว่าได้ชดใช้กรรม ทำความสบายระบายพิษให้กับตัวเองด้วยการสวนล้างลำไส้ ทานน้ำผงถ่านผสมสกัดย่านาง และลดอาการคันด้วยการทาบริเวณผื่นด้วยน้ำปัสสาวะช่วยให้เย็นสบายหายคันพอนอนหลับได้เป็นช่วงๆจนเช้าอาการไม่สบายหายเป็นปลิดทิ้ง
ระลึกได้ว่าผิดศีลที่แม้อิ่มแล้ว ก็ยังทานเพิ่มอีก ไม่ได้ทานเพื่อยังชีพ แต่ทานเพราะอยากตามใจกิเลสยอมเสี่ยงทั้งที่รู้ว่า น้ำมะพร้างบูดง่าย แต่เมื่อไม่บูดทั้งที่อากาศร้อนและไม่ได้แช่เย็น ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องใส่สารกันบูด ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์ สุขใจได้กับผื่นคันที่เกิดขึ้น หาสุขในทุกข์ได้อย่างสบายใจ และจะได้เป็นบทเรียนที่จะไม่ประมาทในคราวต่อไป
ตัดแต่งต้นไม้
วันหยุดที่ผ่านมามีเวลาจัดการสวนหลังบ้าน ต้นไม้เริ่มใหญ่เกินไป และบังแสงต้นไม้เล็ก ๆ พอจะตัดแต่งกิ่งต้นไม้ แม่ก็บอกว่าอย่าตัดนะปล่อยไว้ให้มันโต ๆ ดีแล้ว เสียดายให้ตัดแค่ส่วนที่ไปใกล้ข้างบ้านพอ อย่าตัดเยอะ ก็ขัดใจเราอยู่พอสมควรก็เลยบอกแม่ว่าก็ตัดให้มันแตกกิ่งใหม่ไง จะได้เป็นพุ่ม ๆ ไม่บังแสงต้นอื่นด้วย ปล่อยไว้มันจะรกมากกว่านะ
ทุกข์ : อยากตัดต้นไม้ไม่ให้รกและบังแสง
สมุทัย : ยึดมั่นว่าตัดต้นไม้แล้วจะดี ทำแล้วดี ได้องค์ประกอบในการทำกสิกรรมดี ๆ
นิโรธ : จะได้ปรับแต่งต้นไม้หรือไม่ก็ได้ ปล่อยไว้ก็ได้ หรือตัดก็ได้ ที่สำคัญคือการไม่วิวาทะ ไม่เอาแต่ใจ เป็นสาระสำคัญ
มรรค : ตอนแรกที่จะตัดต้นไม้มีแต่ความคิดตัวเอง ว่าทำแล้วจะดี ไม่มีความเสียดายต้นไม้ที่กำลังงาม พอแม่ทักก็จะไม่ยอมก็จะพยายามไปอธิบายให้แม่เข้าใจในเหตุผลของตัวเอง พอเริ่มจับความเอาแต่ใจของตัวเองได้ ก็เริ่มหยุด แม่ไม่ให้ตัดก็ไม่ตัด ไปทำอย่างอื่นต่อ วางใจได้ ต้นไม้แม่เขาปลูกมาเขาก็หวงของเขาก็ปล่อยไป ต้นไม้ไม่สำคัญเท่าจิตวิญญาณหรอก พอวางใจได้สักพักแม่ก็เดินมาดูแล้วก็บอกว่าตัดออกก็ได้มันใหญ่ไป จะได้แตกกิ่งใหม่ เรียกเราไปตัด
สรุปพอวางใจได้ ไม่เอาแต่ใจตัวเอง ผลจะเป็นอย่างไรก็พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยน ทำก็ได้ วางก็ได้ สุขใจ ยอมเป็นผู้แพ้ ไม่ทะเลาะ ไม่วิวาทะ
อริยสัจ 4
ชื่อเรื่อง : ไม่อยากฟังที่พี่พูด
เนื้อเรื่อง
ทำการบ้านเเล้วหาทุกข์เเละสมุทัยไม่เจอ ก็เลยโทรหาพี่ให้ช่วยทำหน่อย พี่ก็ถามว่าทำถึงไหน ?ติดตรงไหน?
ก็อ่านให้ท่านฟังจนจบ ท่านก็ถามเเล้วตั้งชื่อว่าอะไร ก็ตอบท่านไป ท่านก็พูดเร็วมากไปถึงมรรค นิโรธ อย่างรวดเร็ว
สร้างก็บอกอย่าเพิ่งไปตรงนั้น สร้างยังหาทุกข์กับสมุทัยไม่เจอเลย อยู่ตรงนี้ก่อน ส่วนนิโรธกับมรรคสร้างหาเจอเเล้วได้เเล้ว เพราะมันจบไปเเล้ว เห็นใจที่หงุดหงิด รำคาญที่พี่พูดยาวไป จับต้นชนปลายไม่ถูก
ทุกข์ : หงุดหงิด รำคาญใจ ที่พี่พูดยาวไป
สมุทัย : ชอบที่จะให้พี่พูดชัด เเล้วเราก็จะจับประเด็นได้ ไม่ชอบ ไม่อยากฟังที่พี่พูดยาวเเล้วเราจับประเด็นไม่ได้
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่พี่จะพูดยาว พูดสั้น ใจเย็นรอคอยฟังได้ด้วยใจเย็น ๆ ใจที่เบิกบาน
มรรค : ตั้งสติ เราเป็นอะไรนี่ ! เห็นตัวหงุดหงิดรำคาญ น้ำเสียงมีเเว๊ด ๆ ขึ้นมาใส่พี่ พี่ก็มีน้ำเสียงขึ้นจมูกคล้าย ๆ เรา
ได้สติขึ้นมา โอ้ ! เราไม่ได้ดั่งใจอีกเเล้ว จับกิเลสได้นึกละอายเเละขอโทษพี่ทันที พอจับได้ใจก็วาง 50 %
ท่าน อ.หมอเขียวท่านเทศน์ไว้ว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เราเองก็ชอบพูดอะไรเรื่อยเปื่อย จับสาระไม่ได้ การที่พี่มาพูดให้ดูก็เป็นกระจกสะท้อนเงาตัวเองให้เห็น ดีซะอีกที่เราจะฝึกปรับปรุงตัวเองด้วย ใจก็ลดเบาลงอีก 25 %
บอกพี่ น้องขอทำการบ้านคนเดียวก่อน เดี๋ยวจะส่งให้พี่ตรวจดู ทำการบ้านเสร็จก็ได้มาลำดับตรวจใจระหว่างเขียนเรื่องนี้ก็ได้ตรวจใจรอบสองไปด้วย เรื่องที่รำคาญที่พูดยาวนั้น มันหายไปจริงไหม ก็พบหายไปจนหมดจริงเเล้ว ต้องขอบพระคุณพี่ที่ได้มาเเสดงให้เห็นตัวเอง ขอบพระคุณพี่มาก
เห็นว่าตัวเองยังมีความชอบ ชัง หงุดหงิด ขี้รำคาญอยู่อีกเยอะ จะพยามล้างเเละฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบันเพื่อให้ทันกิเลสค่ะ
อริยสัจ 4
ชื่อเรื่อง : ไม่อยากฟังที่พี่พูด
เนื้อเรื่อง
ทำการบ้านเเล้วหาทุกข์เเละสมุทัยไม่เจอ ก็เลยโทรหาพี่ให้ช่วยทำหน่อย พี่ก็ถามว่าทำถึงไหน ?ติดตรงไหน?
ก็อ่านให้ท่านฟังจนจบ ท่านก็ถามเเล้วตั้งชื่อว่าอะไร ก็ตอบท่านไป ท่านก็พูดเร็วมากไปถึงมรรค นิโรธ อย่างรวดเร็ว
สร้างก็บอกอย่าเพิ่งไปตรงนั้น สร้างยังหาทุกข์กับสมุทัยไม่เจอเลย อยู่ตรงนี้ก่อน ส่วนนิโรธกับมรรคสร้างหาเจอเเล้วได้เเล้ว เพราะมันจบไปเเล้ว เห็นใจที่หงุดหงิด รำคาญที่พี่พูดยาวไป จับต้นชนปลายไม่ถูก
ทุกข์ : หงุดหงิด รำคาญใจ ที่พี่พูดยาวไป
สมุทัย : ชอบที่จะให้พี่พูดชัด เเล้วเราก็จะจับประเด็นได้ ไม่ชอบ ไม่อยากฟังที่พี่พูดยาวเเล้วเราจับประเด็นไม่ได้
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่พี่จะพูดยาว พูดสั้น ใจเย็นรอคอยฟังได้ด้วยใจเย็น ๆ ใจที่เบิกบาน
มรรค : ตั้งสติ เราเป็นอะไรนี่ ! เห็นตัวหงุดหงิดรำคาญ น้ำเสียงมีเเว๊ด ๆ ขึ้นมาใส่พี่ พี่ก็มีน้ำเสียงขึ้นจมูกคล้าย ๆ เรา
ได้สติขึ้นมา โอ้ ! เราไม่ได้ดั่งใจอีกเเล้ว จับกิเลสได้นึกละอายเเละขอโทษพี่ทันที พอจับได้ใจก็วาง 50 %
ท่าน อ.หมอเขียวท่านเทศน์ไว้ว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เราเองก็ชอบพูดอะไรเรื่อยเปื่อย จับสาระไม่ได้ การที่พี่มาพูดให้ดูก็เป็นกระจกสะท้อนเงาตัวเองให้เห็น ดีซะอีกที่เราจะฝึกปรับปรุงตัวเองด้วย ใจก็ลดเบาลงอีก 25 %
บอกพี่ น้องขอทำการบ้านคนเดียวก่อน เดี๋ยวจะส่งให้พี่ตรวจดู ทำการบ้านเสร็จก็ได้มาลำดับตรวจใจระหว่างเขียนเรื่องนี้ก็ได้ตรวจใจริบสองไปด้วย เรื่องที่รำคาญที่พูดยาวนั้น มันหายไปจรืงไหม ก็พบหายไปจนหมดจริงเเล้ว ต้องขอบพระคุณพี่ที่ได้มาเเสดงให้เห็นตัวเอง ขอบพระคุณพี่มาก
เห็นว่าตัวเองยังมีความชอบ ชัง หงุดหงิด ขี้รำคาญอยู่อีกเยอะ จะพยามล้างเเละฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบันเพื่อให้ทันกิเลสค่ะ
รำคาญเพื่อนนิดๆเพื่อนที่เราเคยคิดว่าเขานิสัยดีระดับหนึ่งแต่พอเรามาพบแพทย์วิถีธรรมกิเลสมันบอกเราว่าเพื่อนคนนี้ชอบพูดเพ้อเจื้อบางครั้งก็พูดไร้สาระ เราว่าเพื่อนก็นิสัยดีใช้ได้อยู่แต่เพื่อนปฎิบัติธรรมแบบคนโลกๆอยู่ยังไม่ก้าวเข้ามาแบบเราก้าว อย่างเช่นเพื่อนยังยึดศาลพระภูมิ เพื่อนไปวัดวันพระแต่เพื่อนชอบเล่าเรื่องความทุกข์ เพื่อนจะพูดกังวลเรื่องเงินทองทั่งที่เพื่อนยังทำงานหาเงินได้อยู่
ทุกข์ # เพื่อนชอบเล่าแต่เรื่องทุกข์ใจและชอบพูดเล่ากังวลเรื่องเงินทองอยู่บ่อยที่เจอหน้ากัน
สมุทัย # ชอบที่จะให้เพื่อนมาปฏิบัติตามแนวทางของเราชังแนะนำเพื่อนเกี่ยวกับแนวทางเพื่อนไม่ใยดี
นิโรธ # เพื่อนจะเชื่อแนวทางที่เราปฏิบัติก็ได้ไม่เชื่อก็ได้ใจไม่กังวล
มรรค # ทุกเรื่องที่เพื่อนพูดเล่าความทุกข์ใจ พูดเพ้อเจ้อไร้สาระนั้นคือเงาของเราเราทำมา เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตที่แตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำ ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อน ดีที่สุด ถัาเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง
อดทนรอคอยใจเย็นข้ามชาติ เบิกบานแจ่มใสไร้ทุกข์ไร้กังวลอย่างเป็นอมตะธรรม
เจริญอาหาร เจริญศีล
เมื่อวานนี้ 18/11/2563 เราได้ตั้งศีลว่า”จะไม่กินอาหารเกินอิ่ม ” วันนี้ 19/11/2563 กินต้มบรอคโครี่และต้มฟักทองอ่อน มียำสาหร่ายทะเลใส่มะเขือเทศเล็กน้อย ขณะที่กินก็ได้ตรวจใจ เห็นว่าเจริญอาหารดีมากชอบในรสชาตนี้และก็เริ่มจะอิ่มพอดีแล้ว เห็นความหวั่นไหวเล็กน้อยเกิดขึ้นคือ อยากจะกินอาหารเกินที่ตัวเองอิ่มพอดี แต่อีกใจหนึ่งก็ฉุกคิดขึ้มาว่าได้ตั้งศีลไว้ว่า”จะไม่กินเกินอิ่ม” ใจหนึ่งจะขอลาศีล กินเกินอิ่มหน่อย ก็ไม่เป็นไรหรอก” อีกใจหนึ่งก็บอกว่า ” เคารพศีลดีกว่า เบากาย เบาใจดีกว่า ” กิน ไม่กิน กิน ไม่กิน …
ทุกข์ : หวั่นไหวเล็กน้อย ที่จะลาศีล เพื่อกินอาหารเกินอิ่ม
สมุทัย : อยากกินอาหารเกินอิ่ม เพราะ ชอบในรสชาตอาหาร
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังในรสอาหาร และเบิกบานใจได้แม้จะไม่ได้กินเกินอิ่ม
มรรค : สงบใจพิจารณาโทษที่จะกินเกินอิ่ม ได้ระลึกถึงว่าตัวเองเคยมีอาการจุกเสียในท้องเมื่อกินอาหารเกินอิ่ม ซึ่งเป็นการทำความไม่สบายให้แก่ตน และผิดศีล จึงได้ระลึกถึงคำสอนของครูบาอาจารย์ “จงทำความสบายให้แก่ตน” “อย่าผิดศีลเพราะเห็นแก่กิน” ” อิ่มแล้วจะกินให้โง่ทำไม” ใจที่หวั่นไหวก็เริ่มคลายลงเรื่อย ๆ พิจารณาประโยชน์ที่จะกินแค่พอดีอิ่มคือ สบายท้อง ไม่เบียดเบียนตัวเอง และ มีเวลาเหลือทำอย่างอื่นอีกด้วย ไม่ต้องเสียเวลานั่งกินต่อ และได้พิจารณากับตัวเองต่อว่า ” เรากินแค่พอดีอิ่มก็พอแล้ว แม้จะรู้สึก เจริญอาหาร ก็ต้องรู้สึก เจริญศีล ด้วยสิ ไม่ใช่เจริญอาหารแล้ว ผิดศีล อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อาหารที่เหลือ ก็เก็บไว้กินมื้อต่อไปได้ มื้อนี้ ก็กินแค่พอดีอิ่ม เบาท้อง เบาใจ เจริญอาหาร เจริญศีลดีกว่า ” พิจารณาอย่างนี้ใจก็คลายลง เบิกบานใจได้ แม้จะไม่ได้กินอาหารเกินอิ่ม 100% ภายใน 3 นาที จึงได้ยกอาหารที่เหลือไปเก็บให้เรียบร้อย และมีเวลาพิ่มขึ้นในการเก็บล้างครัว สาธุค่ะ
แก้ไขคำผิด จุกเสีย = จุกเสียด
เรื่อง:ไม่ชอบพ่อบ้านสูบบุหรี่
เนื้อเรื่อง:เวลาพ่อบ้านสูบบุหรี่จะออกไปสูบหน้าบ้าน แต่ด้วยบริเวณบ้านเป็นทาวน์เฮ้าส์ ไม่โปร่ง ควันจึงย้อนกลับเข้ามาในบ้าน ข้าพเจ้ารู้สึกโกรธ ไม่พอใจ เพราะเป็นโรคภูมิแพ้ ได้กลิ่นควันบุหรี่จะรู้สึกไม่สบาย บ่นพ่อบ้านและเอาพัดลมมาเป่าไล่ควันออกไป บางครั้งเกิดการวิวาทกัน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อกลับมาทบทวนจึงพบความจริงว่า เราผิดศีลข้อ1คือ เบียดเบียนตนเองเพราะความโกรธ อาจารย์บอกว่าคนที่โกรธเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง เมื่อคิดได้ก็สำนึกผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม เต็มใจรับโทษเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ้มแจ้งว่าเคยไปส่งเสริมให้คนสูบบุหรี่มา ตอนนี้ต้องมารับวิบากร้ายมาอยู่กับคนสูบบุหรี่ รับแล้วก็หมดไป เต็มใจรับโทษ รับแล้วก็หมดไปรอวันโชคดี
ทุกข์:โกรธ หรือห่วง หรือรำคาญ กลิ่นเหม็นบุหรี่
สมุทัย:(เหตุแห่งทุกข์)เป็นภูมิแพ้เวลาได้กลิ่นควันบุหรี่โชยมาจะรู้สึกไม่สบาย ชอบที่จะไม่มีกลิ่นบุหรี่ ชังที่มีกลิ่นบุหรี่
นิโรธ:ไม่ชอบ ไม่ชัง แม้จะมีกลิ่นบุหรี่ ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค:(วิธีดับทุกข์)พิจารณาและเชื่อเรื่องกรรมที่เราได้รับว่า เราเคยทำและส่งเสริมมา เราไปโกรธพ่อบ้านแสดงว่าเราไม่ยอมรับความจริง เป็นการสร้างวิบากใหม่ เราผิดศีลเพราะไม่สำนึกผิด ทำให้ผิดศีลเกี่ยวเนื่องกันต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดจนเกิดการสวิวาทกัน เกิดใจที่ไม่เบิกบานเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา รีบสำนึกผิดเต็มใจรับโทษ หยุดการกระทำที่ไม่ชอบพ่อบ้านสูบบุหรี่ มันเป็นเรื่องของพ่อบ้าน อาจารย์บอกว่า”อย่าเอาข้อพร่องของคนอื่นมาเป็นความทุกข์ของเรา” เมื่อพิจารณาดังนี้ ความโกรธพ่อบ้านลดลง 50% คิดว่าเราทำได้แค่นี้ก็ดีมากแล้วก็จะพากเพียรปฏิบัติต่อไป
อริยสัจ 4
เรื่อง ใคร..น้อผิดศีล?
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้โทรศัพท์คุยกับแม่ แม่บอกว่าแม่ไม่ได้ยินเสียงของข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าได้ยินเสียงของแม่ชัดเจนดีมาก ข้าพเจ้าลองวางสายแล้วโทรใหม่ อย่างนี้อยู่ 3 ครั้ง และแล้วแม่กับข้าพเจ้าก็พูดเกือบพร้อมกันว่าเราพอแค่นี้ก็ได้นะ ไม่ได้ยินก็ไม่คุยแล้วล่ะ ข้าพเจ้าก็เลยวางสาย พอตอนเย็นวันเดียวกันข้าพเจ้าก็เลยลองโทรหาแม่อีกครั้ง ปรากฏว่าปกติดี แม่ได้ยินเสียงของข้าพเจ้าชัดเจน ข้าพเจ้าเลยพูดขึ้นมาว่า
” ใครผิดศีลอะไรน้อ ทำไมเมื่อเช้าแม่ถึงไม่ได้ยินพรพูด ” แม่เลยตอบมาว่า ” สงสัยแม่นี่แหละผิดศีล” ข้าพเจ้าเลยถามแม่ว่า แม่ผิดศีลอะไรเหรอ แม่บอกว่า” แม่กินเนื้อสัตว์” ฮ้า ๆ ๆ ข้าพเจ้าก็เลยหัวเราะชอบใจ รู้สึกยินดีกับแม่ และอนุโมทนาบุญกับแม่ที่แม่เริ่มซึมซับ เรียนรู้เรื่องศีล และการผิดศีล และวิบากกรรมของการผิดศีล ซึ่งแต่ก่อนแม่ไม่เคยพูดในลักษณะเช่นนี้
ทุกข์ : หงุดหงิด ที่แม่ไม่ได้ยินเสียงพูดของข้าพเจ้าผ่านโทรศัพท์มือถึอ
สมุทัย : อยากให้แม่ได้ยินเสียงข้าพเจ้าชัดเจน ชังที่แม่ไม่ได้ยินเสียงพูดของข้าพเจ้า ชอบที่แม่จะได้ยินเสียงพูดของข้าพเจ้าชัดเจน
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่แม่จะได้ยินเสียงของข้าพเจ้าชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็ได้ ใจก็วาง เบิกบานได้
มรรค : หลังจากข้าพเจ้าได้พูดขึ้นมาว่า
” ใครผิดศีลอะไรน้อ ทำไมเมื่อเช้าแม่ถึงไม่ได้ยินพรพูด ” แม่เลยตอบมาว่า ” สงสัยแม่นี่แหละผิดศีล” ข้าพเจ้าเลยถามแม่ว่า แม่ผิดศีลอะไรเหรอ แม่บอกว่า” แม่กินเนื้อสัตว์” ได้ยินคำนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกยินดี และอนุโมทนาบุญกับแม่ที่แม่เริ่มซึมซับ เรียนรู้เรื่องศีล และการผิดศีล และวิบากกรรมของการผิดศีล ซึ่งแต่ก่อนแม่ไม่เคยพูดในลักษณะเช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าการทำความดีทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ” ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใคร…ให้ได้” ” ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ” ดั่งท่านอาจารย์ได้สอน เห็นผลจริง ๆ เมื่อวิบากดีของแม่ ของพร และของโลกแสดงผลแล้ว ถึงแม้แม่ยังไม่เลิกกินเนื้อสัตว์ก็ตาม แต่แม่ก็รู้ว่าการกินเนื้อสัตว์ทำให้เกิดวิบากและเป็นการผิดศีล เท่านี้ก็ถึอว่าดีมากแล้ว จากทุกข์ที่รู้สึกหงุดหงิดที่แม่ไม่ได้ยินเสียงพูดของข้าพเจ้าทางโทรศัพท์ ก็หายไป ใจก็กลับมาเป็นปกติได้ภายในไม่กี่นาที่ พอตอนเย็นวันเดียวกันข้าพเจ้าก็เลยลองโทรหาแม่อีกครั้ง ปรากฏว่าปกติดี แม่ได้ยินเสียงของข้าพเจ้าชัดเจนเหมือนเดิมค่ะ สาธุ
วิบากใครวิบากมัน
ตอนนี้ลูกจะรับปริญญาแล้ว ทำงานกับครอบครัวของอา ก็เริ่มมีเพื่อนหญิงที่เข้ามาในชีวิตลูก ส่วนแม่เมื่อมาศึกษาทางแพทย์วิธีธรรมก็รู้สึกกังวลไม่อยากให้เขามีครอบครัว
ทุกข์ กังวลไม่อยากให้ลูกมีครอบครัว
สมุทัย ถ้าลูกมีครอบครัวจะทุกข์ใจ ถ้าลูกไม่มีครอบครัวจะสุขใจ
นิโรธ ลูกจะมีครอบครัวหรือไม่มีครอบครัวก็สุขใจ
มรรค วิบากใครทำมาแบบไหนทุกคนต้องรับ จะหนีวิบากกรรมไม่ได้ ทำดีก็รับวิบากดี ทำไม่ดีก็รับวิบากร้าย ถ้าเขาจะต้องมีคู่ครองก็ให้เขามีคู่ครองไป เขาจะได้รู้ว่ามันสุขหรือมันทุกข์ตามวิบาก ถ้าเขาสุขเขาก็จะอยู่ในวังวนนั้นต่อ แต่ถ้าเมื่อไหร่เขาทุกข์ ทุกข์ ทุกข์จนเกินทนแล้ว เขาก็จะออกมาจากจุดนั้นเอง เขาทุกข์มากเท่าไหร่เขาก็จะออกมาเร็วเท่านั้น เราก็แค่ปฏิบัติศีลที่เรา ตั้งอธิศีลเพิ่มขึ้นๆเป็นตัวอย่างให้เขาดู ท่านอาจารย์กล่าวว่าทุกคนจะมาเอาทางที่พระพุทธเจ้าพาทำอยู่แล้ว ทุกคนจะพ้นทุกข์อยู่แล้วแต่จะชาตินี้หรือชาติไหนไม่ทราบ ฉะนั้นไม่ต้องห่วงใครในโลกใบนี้ ห่วงตัวเองเถอะกิเลสตัวเองก็แบกไม่ไหวแล้ว ยังจะริแบกกิเลสคนอื่นอีก จะโง่ไปถึงไหน ให้นับ 1ที่เรา เริ่มต้นที่เรา ทำความดีที่เรา นี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์
เรื่อง : ทุกข์ในครัว
เนื้อเรื่อง : เหตุเกิดในครัวกลาง ระหว่างที่นั่งหั่นผักกันอยู่นั้น มีพี่ท่านหนึ่งคุยเรื่องราวที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับข่าวของอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นกระแสอยู่ในโซเชียลตอนนี้ โดยข่าวนั้นได้เผยแพร่จากกลุ่มคนที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งก็อาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ พอเราได้ยินก็รู้สึกไม่พอใจ ขัดใจ คิดอยู่ในใจว่าข้อมูลที่ท่านกำลังพูดนั้นเป็นการพูดให้ร้ายคนอื่นอยู่นะ ทั้งที่ตนเองก็พูดเองว่า…เขาว่ามาว่า….โดยคุยกับพี่อีกคนหนึ่งที่นั่งข้าง ๆ กันด้วยท่าทีที่ออกรสออกชาติ ดูท่าว่าจะคุยกันยาวเรื่องนี้ ไปเรื่องนั้น ไปเรื่องโน้นเรื่อยไป
ทุกข์ : รู้สึกขัดใจที่ท่านพูดถึงผู้อื่นในทางที่ไม่ดี
สมุทัย : ยึดว่าเราเป็นนักปฏิบัติธรรมกันนะ เรื่องที่ไม่ดีเกี่ยวกับผู้อื่นซึ่งเราเองก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นเอง และไม่แน่ชัดหรือยังไม่ทราบเลยว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็ไม่น่าจะนำมาพูด ทั้งยังเหนี่ยวนำให้คนที่ตนเองคุยด้วยคล้อยตามเออออไปด้วย
นิโรธ : ท่านจะพูดเรื่องราวของผู้อื่นที่เป็นจริงหรือไม่จริง เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาว่าสิ่งที่เราเห็น เราได้ยินนั้น.. เราก็เคยทำมาแบบนี้แหละ แต่ก่อนที่เราพูดแบบไม่สำรวมวาจา พูดทั้งเรื่องที่เป็นจริงและไม่เป็นจริงแบบนี้..เห็นตัวของเราเองได้ไวขึ้น คิดพิจารณาเห็นใจ สงสารที่ท่านยังพูดแบบนั้นอยู่ ฐานจิตคนเราแตกต่างกัน ความเชื่อ ความเข้าใจก็แตกต่างกันไปด้วย…คิดประมาณอยู่ในใจว่าควรจะบอกเตือนพี่เขาดีไหมน้อ บางเรื่องของคนบางกลุ่มนั้นไม่ควรนำมาพูดในที่สาธารณะ แม้นว่าตอนนี้จะคุยอยู่ในหมู่มิตรดีก็ตาม แต่หากท่านยังทำแบบนี้บ่อยครั้ง บางเวลาอาจจะเผลอไปพูดกับคนหมู่อื่น ซึ่งอาจจะนำเรื่องร้ายหรือเสียหายมายังตัวของท่านเองได้…เมื่อคิดพิจารณาทบทวนดูแล้วว่าพี่ท่านนี้ไม่เคยบอกเราหรือท่านอื่น ๆ ในการยอมรับให้ขัดเกลาท่านได้ และการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ เท่าที่ผ่านมา ท่านก็ยังมีความคิดเป็นของตนเองอีกทั้งบางเรื่องก็ยังไม่ค่อยฟังหมู่กลุ่มอยู่ เลยเลือกที่จะเงียบและไม่พูดอะไรต่อ นั่งหั่นผักต่อไปด้วยใจที่เป็นสุขได้ เริ่มที่เรา วางที่เรา….
เรื่อง : ถังน้อยที่น่ารักจริงหรือ?
เนื้อเรื่อง : เพื่อนขาดถังน้ำเล็ก
ที่จะใช้ส่วนตัว เรามีถังที่ว่างอยู่ จึงได้ตัดสินใจให้เพื่อนยืม แต่ไม่ได้คิดที่จะให้ไปเลย เพราะยังรู้สึกเสียดายอยู่ คิดเผื่อวันข้างหน้าจะได้ใช้ เพราะเป็นขนาดที่เล็กกะทัดรัดและเก๋ (ตามความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่ปั้นขึ้นมา) ทั้งยังไม่มีขายในท้องตลาดทั่วไปเพราะเป็นของแถม
หลังจากให้เพื่อนยืมไปใช้นานพอสมควร(เป็นเวลาเดือนๆ)
อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่เห็นเพื่อนกำลังใช้ถังแช่เท้าอยู่ เกิดความคิดผลุดขึ้นมาว่า”ทำไมเราจึงไม่ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะยกให้เขาไปเลย” แสดงว่าเรายังมีเยื่อใยติดยึดอยู่กับถังใบนี้อยู่
เขียนเป็นอริยสัจ 4 ได้ว่า
ทุกข์ : เรายังไม่ยินดีเต็มใจที่จะให้ถังใบน้อยแก่เพื่อนไป
สมุทัย : ชอบที่จะให้เพื่อนยืม
ชังที่จะให้ไปเลย
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชัง(ยินดี)แม้จะให้เพื่อนยืมหรือให้ไปเลย
มรรค : การที่เราไม่อยากให้ถังเพื่อนไปเลย แต่ให้แค่ยืมก็เพราะเรายังติดยึดในถังนี้อยู่ เห็นความต่างว่าถ้าของที่เรามีเหลือ แต่เราไม่ติดยึดสิ่งนั้นเราก็จะให้ไปได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก(ให้ได้อย่างง่ายๆไม่มีเงื่อนไขใดๆ) เมื่อนึกย้อนหลังพบว่าตั้งแต่เราจำความได้ จนกระทั่งถึงตอนนี้ 50กว่าปีแล้วไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเรามาตลอดยาวนานเลย แล้วเราจะมามัวหลงยึดมันไว้ทำไมกัน ที่ยังยึดอยู่ก็เพราะยังโง่อยู่ที่หลงยึดว่า ถังนั้น “เที่ยง”(นิจจัง) ถ้า
เราครอบครองอยู่รู้สึก “สุข”
(สุขขัง) เพราะไปหลงว่า ถังน้อยที่น่ารักนี้ที่เรากำหนดหมายเอาเองว่า เป็นสิ่งที่น่าได้ น่ามี (สุภะ) ซึ่งเป็นความลวง แท้จริง มันคือเหตุแห่งทุกข์(ความจริง)ที่ไปหลงยึดมันไว้ เป็นภาระต้องดูแลทั้งภายนอกคือตัวถังเองที่จะต้องหาที่เก็บ ภายในก็คือตัวยึด ตัวผูกเอาไว้กลายเป็นความหนักในใจ แทนที่จะปล่อยออกไปให้ใจเบา ว่าง สบายซึ่งเป็นสภาพ
“อนัตตา” เป็นสภาพจิตที่เราต้องการฝึกฝนเพื่อเข้าถึงสภาพนี้
(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
ถ้าเราให้ไปจะเกิดประโยชน์ เช่น ครูบาอาจารย์เคยสอนไว้ว่า
# การให้สิ่งที่รักที่สุดคือการเสียสละที่ยิ่งใหญ่+มีอานิสงส์มาก
# “การทำทานเสมอด้วยการรบ” เพราะเป็นการรบกับกิเลสที่ตะหนี่หวงแหน หลงยึดติดในใจของเรา
# ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือชนะใจตัวเอง
# ลักษณะของการมีเงื่อนไขอยู่
ก็ยังเป็นภาวะ 2 คือ อิตถีภาวะ ยังโลเล รุ่งริ่งอยู่(วิจิกิจฉา) ซึ่งเป็นลักษณะของการเด็ดไม่ขาด ถ้าเด็ดขาดได้จริง ก็จะเป็น
ปุริสภาวะ เป็นภาวะความเป็น 1 ซึ่งนี่คือเป้าหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติธรรมที่ถูกตรง
ทำเทวะ(2)ให้เป็นอเทวะ(1)
เพื่อให้ไปสู่ 0 คือสุญญตาคือนิพพาน อยู่เหนือความยึดมั่น
ถือมั่นในเรื่องนั้นๆ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ได้อีกแล้ว ไม่ว่าเราจะให้ยืมหรือให้ไปเลยเป็นการทำให้ตัวเองเบาภาระยิ่งขึ้น
ในคำสอนของพุทธเจ้ามีว่า เมื่อมีโอกาสทำดีให้รีบทำเพราะถ้าไม่รีบทำ “ใจจะยินดีในความชั่ว”
และจากคำสอนของพ่อครูที่ว่า
# “เด็ดขาดให้จริงแล้วจะเห็นความพ้นทุกข์ที่เด่นชัด”
# “ผู้ที่เอาจริงเท่านั้นจึงจะเข้าถึงความจริงได้”
และจากบททบทวนธรรม…
ข้อที่46 : ควาสุขของชีวิตอยู่ที่ความพอ สุขอยู่ที่พอ พออยู่ที่ใจ พอเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น
ไม่พอเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น
ข้อที่57 : ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ คือความสำเร็จที่แท้จริง
และเมื่อพิจารณา”เรื่องกรรม”ว่า ตราบใดที่เรายังติดอยู่แค่วัตถุภายนอก ซึ่งเรื่องนี้เราติดแค่เรื่องรูปของถัง+ ความแข็งแรง เราจะไม่สามารถเข้าถึงการหลุดพ้นจากทุกข์ที่มากกว่านี้ได้เช่น เรื่องการติดยึดในกามคุณ 5 ของอาหาร&เรื่องอื่นๆคือรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส แต่ถ้าเราสามารถหลุดออกจากสิ่งนี้ได้ก็จะเป็นทั้งกำลังจิต&ปัญญาช่วยเสริมให้เราสามารถหลุดออกจากกิเลสเรื่องอาหาร และอื่นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น
# การปฏิบัติธรรมเป้าหมายก็เพื่อฝึกตนให้เป็นคน ” วรรณะ9 ” = การมักน้อย ใจพอ ขัดเกลา+
ไม่สะสม แต่ถ้าเรายังเป็นคนมักมาก(มหัปปิจฉะ)+ไม่รู้จักพอ(อสันตุฏฐิ)ก็ยังเป็นลักษณะคน “อวรรณ6” คือคนที่ให้โทษแก่สังคม แล้วเราควรจะเลือกที่จะเป็นคนเช่นไรหละ?
เมื่อปฏิบัติเป็นคนวรรณะ9ซึ่งเป็น
รูปธรรมก็จะส่งผลเป็นลักษณะของสังคมทีมีสาราณียธรรม6ที่เป็นนามธรรมมาเป็นพุทธพจน์7ก็จะเจริญยิ่งๆขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงอนุศาสนียปาฏิหาริย์ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งส่งผลให้สังคมนั้นๆมีลักษณะเป็นประโยชน์แก่ชนหมู่มาก
(พหุชนหิตายะ) ชนหมู่มากอยู่เป็นสุข(พหุชนสุขายะ) เป็นไปเพื่อการเกื้อกูลโลก(โลกานุกัมปายะ)
เมื่อได้พิจารณามาถึงตอนนี้ใจที่ยึดถังนั้นก็คลายลงได้แล้วยินดี เต็มใจที่จะให้ไปโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน(ทานนั้นจึงจะเกิดผลจริง = อัตถิ ทินนัง=สัมมา่ทิฏฐิ10ข้อที่1)
ชอบคนจริงใจไม่เสแสร้ง ตรงไปตรงมา
ปกตินิสัยส่วนตัวคือเป็นคนจริงใจไม่เสแสร้ง มีอะไรก็ว่าไปตามจริงและไม่ชอบทำอะไรเพื่อเอาหน้าด้วย แล้วเราก็ชอบคบคนที่จริงใจไม่เสแสร้งและไม่ชอบทำอะไรเอาหน้าด้วยเช่นกัน คือไม่ชอบคนโกหกเสแสร้ง ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง ซึ่งเราก็ไม่เคยนึกเลยว่า การที่เราชอบสิ่งนี้ จะส่งผลให้เราไปชังสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราชอบได้ด้วย
ก็เคยแต่ได้ฟังอาจารย์หมอเขียวท่านพูดเสมอว่า เมื่อเราชอบสิ่งหนึ่ง จะทำให้เราชังสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่เราชอบด้วย ซึ่งตอนนั้นฟังไปก็ปล่อยผ่าน ไม่ได้คิดอะไร จนเมื่อมาเจอเหตุการณ์เจอคนที่มีลักษณะพูดจาหรือทำสิ่งต่างๆเพื่อเอาหน้า คือเราจะเห็นเขามักมีพฤติกรรมประมาณว่าพยายามพูด present ตัวเองให้คนรับรู้ว่า เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่ดีที่ยิ่งใหญ่อยู่นะ อะไรประมาณนี้เสมอ เหตุการณ์ในครั้งนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้เราได้เห็นกิเลสของตัวเอง คือตัวชังคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ ซึ่งก็มันเป็นพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราชอบนั่นเอง …
ทุกข์ : รู้สึกหยี๊ส่ายหน้าเบาๆ เมื่อเห็นคนที่มีพฤติกรรมหรือพูดจาเชิงพรีเซ้นตัวเอง เพื่อเอาโลกธรรมเพื่อให้คนอื่นชื่นชมหรือเห็นความสำคัญ
สมุทัย : ชังคนที่มีพฤติกรรมทำดีเอาหน้าเอาโลกธรรมพูดจาเชิงให้ตัวเองดูดีดูเป็นคนสำคัญ ซึ่งดูไม่จริงใจ เพราะเราชอบคนจริงใจ ที่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อเอาหน้า
นิโรธ : ใครจะมีพฤติกรรม มักพูดจาเอาหน้าเอาโลกธรรมหรือไม่เราก็ไม่ควรทุกข์ใจหรือไปชังเขา
มรรค : เหตุที่เราไปชังคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ก็เพราะว่าตรงข้ามกับสิ่งที่เราชอบคือคนมีพฤติกรรมพูดจาตรงๆจริงใจไม่เสแสร้งไม่ทำอะไรเพื่อเอาหน้า และเราก็ลืมพิจารณาถึงความจริงตามความเป็นจริงของโลกว่า ในโลกนี้มันก็ต้องมีคนที่หลากหลายฐานจิต ที่ไม่เท่ากันอยู่แล้ว เป็นเรื่องธรรมดาของโลกที่จะมีคนลักษณะนี้อยู่
เขาก็อยู่ตามฐานจิตของเขา คนเราก็ต้องพัฒนาจากพร่องจากชั่วแล้วค่อยๆดีขึ้นไปเป็นลำดับตามที่อาจารย์สอนนั่นแหละ เขาทำดีเขาจริงใจก็เป็นบุญเป็นกุศล เป็นดีของเขา ถ้าเขาจะทำดีเอาหน้าเอาโลกธรรม ไม่จริงใจ ก็เป็นอกุศลของเขา ไม่เกี่ยวกับเรา
แต่ที่เราไปชังเขานี่มันเป็นกิเลสเป็นบาปเป็นชั่วของเรา ที่จะสั่งสมก่อเป็นวิบากบาปใหม่ของเรา
อาจารย์สอนเสมอว่าคนเราล้วนเคยพร่องเคยชั่วมาก่อน ทั้งนั้น เราเองก็เช่นกัน เราก็เคยเป็นเช่นนั้นมา เราเองก็เคยพร่องเคยชั่วมาเหมือนกัน แม้วันนี้เราจะไม่ทำไม่เป็นแล้วก็ดีแล้ว แต่เราก็ไม่ควรไปชังคนที่ยังเป็นแบบนี้อยู่ เราควรเข้าใจและเมตตาอุเบกเขา ปรารถนาดีต่อเขาให้เขาคิดดีคิดถูกได้เร็วๆ แล้วเราก็วางใจได้แล้ว ส่วนเขาจะคิดได้เมื่อไหร่ก็เป็นเรื่องของเขา
สรุป เมื่อได้ พิจารณาดังนี้ อาการชังก็ลดลงเกือบหมด แต่รู้สึกยังำม่เกลี้ยงเสียทีเดียว คงต้องอาศัยพิจารณาซ้ำๆเห็นทุกข์ตัวนี้ซ้ำๆ ทบทวนไปเรื่อยๆวันใดวันหนึ่งก็คงจะหมดไป แต่ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นไม่เร่งรีบว่าจะให้หมดเร็ว หมดเร็วก็ดี หมดช้าก็ไม่เป็นไร ก็พากเพียรไป…
ชื่อเรื่อง: ตัดแต่งต้นไม้
เนื้อเรื่อง: บริเวณหน้าบ้านเรามีต้นไม้ดอกหอมขนาดกลางที่เราตั้งใจปลูกไว้กว่า 10ปี แล้ว เมื่อสมัยยังไม่รู้จัก พวธ.เพียงเพื่อต้องการร่มเงา และ ได้กลิ่นหอมจากดอกไม้ยามหน้าฝนที่เขาออกดอก พอมารู้จัก พวธ. ก็ปลูกย่านางที่โคนต้นให้เขาเลื้อยอาศัย ฝนนี้เค้าเติบโตสูงใหญ่เต็มที่กันทั้งคู่ ไม้ดอกออกดอกเต็มต้น ขาวโพลนทั้งต้นจนหลายคนที่ผ่านไปผ่านมา เวลาเรามากวาดใบไม้เอ่ยชมให้ได้ยินอยู่บ่อย ๆ แต่หน้าฝนที่ผ่านมา มีช่วงหนึ่งที่เขาตกติด ๆ กันหลายวัน ทำให้หน้าบ้านเปียกแฉะ ไม่มีจังหวะกวาดใบไม้ทุกวันเหมือนเช่นเคย เพราะต้องออกไปนอกบ้านด้วย บางวันกลับมืดค่ำแล้ว ทำให้เกิดเรื่องขึ้น ตอนพ่อบ้านไปกวาดใบไม้ ข้างบ้านติดกันไม่เคยบ่นว่าอะไร แต่บ้านถัดไป กับมาต่อว่าว่าใบไม้หล่นเยอะมากแบบนี้ต้องมากวาดเช้าเย็นเลยเพราะมันปลิวไปทั่ว
ทุกข์: ได้ยินเรื่องที่พ่อบ้านมาเล่าให้ฟัง ทำให้เกิดความกังวลใจขึ้น จากเหตุที่ต้นไม้เริ่มผลัดใบแตกใบใหม่รับฝน เราไปกวาดวันละหนน่าจะไม่พอ บางวันฝนตกตลอด กวาดไม่ได้ก็มีบ้าง เป็นเหตุให้เพื่อนบ้านต้องทุกข์ใจและมาต่อว่าพ่อบ้านว่าให้กวาดใบไม้เช้าเย็น
สมุหทัย: ยึดมั่นว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ไม่ควรมีเรื่องขัดใจกัน ควรเป็นมิตรต่อกัน พึ่งพาอาศัยกันและกันได้ เมื่อท่านมาบอกกล่าว เราควรปรับปรุงตัวเราให้เขาไม่มาต่อว่าเราได้ หลงยึดมั่นว่าจะไม่ให้เพื่อนบ้านมาต่อว่าเราได้เราจะสุขใจ ถ้าเขามาต่อว่าเราจะทุกข์ใจ ดันเผลอขาดสติเอาใจเราไปแขวนไว้กับเขาซะนี่เรา ไม่ชอบในความพร่องความพลาดที่เกิดขึ้นไปแล้ว ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เขามาต่อว่าพ่อบ้านเราได้
นิโรธ: เพื่อนบ้านจะต่อว่าหรือไม่ต่อว่าเราก็สุขใจได้ ปรับแก้ไขที่เราไปเท่าที่เราสามารถทำได้ พยายามไม่ให้ต้นไม้เราไปเบียดเบียนท่าน ส่วนที่ท่านมีทุกข์ เราสามารถช่วยอะไรได้เราก็ช่วย ทำเต็มที่ แล้ววาง กลับรู้สึกขอบคุณ และยอมรับผิดที่ท่านมาช่วยชี้ขุมทรัพย์ที่เรามีจุดพร่อง จุดพลาดให้เราได้พัฒนาตนเอง ส่วนเพื่อนบ้านท่านอาจจะทุกข์หรือไม่ทุกข์ใจก็ได้ หากเป็นความทุกข์ใจของท่านก็เป็นหน้าที่ที่ท่านต้องล้างใจของท่านเอง
มรรค: ส่วนของเรามีหน้าที่ล้างใจก่อนเลย และแก้ไขจุดพร่อง ทำความดีไม่มีถือสาไปเรื่อย ๆ ที่เรารู้สึกกังวลใจที่เราบกพร่อง เป็นเหตุทำให้เบียดเบียนผู้อื่น จนเพื่อนบ้านทุกข์ใจมาต่อว่าพ่อบ้านเรา ทั้ง ๆ ที่เขา
ก็ไม่ได้มาต่อว่าเราโดยตรง ซึ่งเราก็รู้สึกไปเองว่าเหมือนมาต่อว่าเรา แสดงว่าเราก็เคยมีส่วนทำให้ผู้อื่นทุกข์ใจแบบนี้มาก่อน เราได้เห็นสภาพใจที่ชังความพร่อง ความพลาด ชอบที่จะสมบูรณ์แบบไปซะทุกเรื่อง ทั้ง ๆ ที่ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนพร่องอยู่เป็นนิจ เราเองยังทำตามใจเราได้ไม่หมดทุกเรื่องเลย จะชังทำไมให้โง่ ดีซะอีกที่ท่านมาบอกกล่าวชี้จุดพร่องจุดพลาดกันได้ ต้องขอบคุณท่านที่เมตตาเอาภาระ มาบอกกล่าวให้เราได้ปรับปรุง แก้ไขเท่าที่เราสามารถทำได้ เมื่อล้างใจได้ ก็เข้าใจความจริงตามความเป็นจริงชัดขึ้น ใจก็สบาย คลายกังวล และหาเวลา กับพ่อบ้าน ช่วยกันตัดแต่งกิ่งต้นไม้ ให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและไม่เบียดเบียนกันและกัน หมั่นกวาดใบไม้บ่อย ๆ หากมีเวลาก็กวาดเผื่อชาวบ้านด้วย เท่าที่ทำได้ เป็นการออกกำลังกายไปในตัว และมีโอกาสได้พบปะพูดคุยส่งรอยยิ้มกับเพื่อนบ้านมากขึ้น ช่วยสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี และมีบรรยากาศของความเป็นมิตรไมตรี ถ้อยทีถ้อยอาศัย อรุ่มอร่วยกันและกันมากยิ่งขึ้น แบ่งบันอาหารการกิน พืชผัก ข้าวของเกินจำเป็น ให้กันและกัน อย่างผาสุกใจ
ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ
เรื่อง. เนื่องจากวันนี้ ได้ไปช่วยตัดหญ้าที่ชุมชนเบิกบาน ณ.ภูผาฟ้าน้ำ ตอนแรกก็ช่วยตัดหญ้า เพื่อไปทำปุ๋ยพืชสด แต่พอตัดเสร็จแล้วป้าจิตอาสาท่านก็บอกว่า ให้ไปช่วยตัดหญ้าตรงทางเดินให้หน่อย แต่พอไปจะตัดตรงทางเดินเครื่องตัดหญ้าก็สตาร์ทไม่ติด
ทุกข์. ทุกข์เพราะใจเราอยากตัดหญ้าให้เสร็จภายในวันนี้
สมุทัย. ถ้าได้ตัดหญ้าให้เสร็จภายในวันนี้ จะได้ดั่งใจจะสุขใจ ถ้าไม่เสร็จวันนี้ทุกข์ใจไม่ได้ดั่งใจ
นิโรธ. วางใจไม่กังวลเครื่องตัดหญ้าจะสตาร์ทไม่ติดหรือติด จะตัดเสร็จหรือไม่เสร็จ ภายในวันนี้เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค. พิจารณาความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นของใจเรา พิจารณาถึงประโยชน์และโทษของความอยาก และวางใจว่า ณ.กาละนี้เราจะได้ทำอะไรหรือไม่ได้ทำอะไรก็ให้มันเป็นไปตามกาละที่เหมาะสม ทำใจว่างานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จแต่ใจเราจะไม่ทุกข์เพราะความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของงาน คือความสำเร็จที่แท้จริง แต่เมื่อเราวางใจได้ก็มีอาผู้เข้าค่ายท่านหนึ่งมาช่วยสตาร์ทจนเครื่องติดอีกครั้งและก็ได้ตัดจนเสร็จค่ะ
เรื่อง ถูกใจจัง
เหตุเกิดจากลองกดดูเฟสบุ๊ค(ธรรมดาไม่ค่อยดูเฟสบุ๊ค)พอกดมีภาพโฆษณาผ้าถุงขึ้นมาทันทีเห็นปุ๊บรู้สึกโดนใจ สีถูกใจ ปรุงต่อว่า ถ้าใส่น่าจะสบาย แบบก็ดีด้วย น่าจะเหมาะกับเรานะ แถมราคาก็ไม่แพง ยิ่งถ้าเป็นคู่ยิ่งถูกเลยคิดเผื่อเพื่อนด้วยจะส่งให้เพื่อนดูและเขาน่าจะชอบเหมือนเราจะได้แบ่งกันคนละผืนแต่กดแชร์ไม่เป็นจึงไม่ถึงเพื่อน ตัวเองยังรู้สึกอาลัยอาวรณ์อยู่ในช่วงนั้น
ทุกข์:อาลัยอาวรณ์
สมุทัย:หลงในความสวยงามของผ้าถุง ถ้าได้มาสวมใส่จะเป็นสุข ไม่ได้มารู้สึกอาลัยอาวรณ์
นิโรธ:จะได้ผ้าถุงหรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ ไม่อาลัยอาวรณ์
มรรค:ถามใจตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆครั้ง ที่อาลัยอาวรณ์แค่เห็นแล้วถูกใจ สีและรูแแบบแค่นั้นหรือ ที่จริงผ้าถุงมีไว้เพื่อป้องกันความร้อนความเย็นเท่านั้นมิใช่หรือ ไม่จำเป็นต้องสวย แบบดีหรือถูกใจก็ได้นี่และที่สำคัญไปกว่านั้นคือผ้าถุงของตัวเองยังมีพอใช้อยู่ ถ้าได้มาอีกจะเกินความจำเป็นในชีวิตไปและเราจะเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นทำตามเราได้อีกยังกระทบด้านอื่นๆอีกมากมาย ในที่สุดตัดใจไม่อาลัยอาวรณ์ผ้าถุงนั้นได้เพราะใช้บททบทวนธรรมที่ว่า”เสพกิเลส มีโทษ คือ ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด จะเสพไปทำไมให้ทุกข์”ในการพิจารณา
การบ้านอริยสัจ (ตอนที่ 14/2563) โดย นางจงกช-ป้าย่านาง (รหัส นศ 5911001010)
เรื่อง : อาการบ้านหมุน
เนื้อเรื่อง : เช้าวันหนึ่งขณะตื่นนอน ตอนลุกขึ้นจากเตียงเหมือนทุกวัน ได้รับรู้ถึงอาการผิดปกติที่ศรีษะ มีอาการของบ้านหมุน
ผัสสะ : เมื่อรับรู้ความรู้สึกเช่นนั้น ก็เกิดอาการกลัวว่าเราเป็นอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนี้
ทุกข์ : ความกลัวจากอาการบ้านหมุน
สมุทัย : รับรู้ถึงความผิดปกติของอาการวิงเวียนที่ศรีษะ
นิโรธ : ไม่ชอบอาการที่เกิดขึ้น รู้ว่าการผิดปกติของร่างกายผู้สูงอายุเป็นสิ่งไม่เที่ยง อาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ร่างกายไม่สมดุล เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เรารับรู้อย่างมีสติ ไม่กลัว ปล่อยให้เขาเป็น เดี๋ยวเดียวอาการจะเข้าสู่ปกติเอง
มรรค : เมื่อมีอาการเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ก็ใช้วิธีล้มตัวลงลงนอนใหม่ ปิดตาลง หายใจลึกๆ ช้าๆ ดูอาการที่เหมือนเราเคยหมุนรอบตัวเองตอนเด็กๆ หมุนหลายๆรอบ พอหยุดหมุน ก็จะเกิดอาการเซ ซึ่งเราจะต้องหาอะไรเกาะหรือนั่งลง ครั้งนี้ก็เช่นกัน ได้เห็นอาการที่อยากจะอาเจียรขึ้นมานิดๆ พอมีสติ หายใจลึกๆ อาการก็คลายไป พักในอิริยาบทนั้นอยู่ราวๆ 10 นาที ลืมตาขึ้น ค่อยๆพยุงตัวขึ้นช้าๆบนที่นอน ขณะนั้นก็ยังรับรู้ถึงอาการบ้านหมุนอยู่ แต่เบาลงจากครั้งแรก นั่งพักอีกประมาณ 5 นาที ค่อยๆพยุงตัวเกาะโต๊ะข้างเตียงแล้วยืนสักพัก เมื่อดีขึ้นจึงเดินลงบันไดโดยเกาะผนังบ้านเพื่อความไม่ประมาท ก็ยังรู้สึกอาการที่ตาพร่านิดๆ อาการหมุนศรีษะอยู่บ้าง นั่งกดจุดลมปราณที่แขนทั้ง 2 ข้าง ทบทวนพฤติกรรมการทานอาหารที่ผ่านมา ก็ได้เห็นอาหารพิษร้อนบางอย่างที่เราเอาเข้าในปริมาณมากเกินไป ร่างกายไม่สมดุล ประกอบกับการโหมงานเกษตรมากไปหน่อย ก็ต้องพึงระวังในคราวต่อไป
ผลที่ได้รับรู้จากอาการครั้งนี้ : ความประมาทจากพฤติกรรมการกินที่ไม่สมดุล สังขารที่ไม่เที่ยง เมื่อวิบากมา ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
การบ้านอริยสัจ (ตอนที่ 15/2563) โดย นางจงกช-ป้าย่านาง (รหัส นศ 5911001010)
เรื่อง : ความขี้เกียจเป็นกิเลส
เนื้อเรื่อง : วันนี้ตื่นสายหน่อย รู้สึกขี้เกียจ ไม่อยากกำหนดใจว่าจะต้องทำอะไรบ้างเหมือนทุกครั้ง เห็นความไม่สดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจ
ผัสสะ : เมื่ออาการขี้เกียจโผล่ขึ้นมาให้เห็น ก็รู้ว่าเป็นกิเลสที่มันซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
ทุกข์ : ขี้เกียจในการคิดจะประกอบกิจในวันนี้
สมุทัย : กิเลสที่มักจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้เสมอๆ ถ้าเราขาดสติ
นิโรธ : เห็นความชอบในการที่อยากนอนสบายๆบ้าง ไม่ต้องไปสรรหากิจกรรมให้ตัวเอง เห็นความไม่ชอบที่จะต้องไปทำอะไร อยากขึ้เกียจบ้าง
มรรค : เมื่อได้เห็นอาการขึ้เกียจเกิดขึ้นในเช้านี้ ก็จับอาการได้ ทิ้งช่วงเวลาให้ผ่านไปโดยนอนดูเฉยๆ ได้เห็นแม้การหายใจก็ยังขี้เกียจซึ่งปกติตอนเช้าตื่นนอน ก็จะยิ้มในใจให้ตัวเองอย่างสดชื่นที่ได้มีโอกาสตื่นมาดูโลกอีกวันหนึ่ง จะหายใจเข้าออกยาวๆทุกวัน แต่วันนี้ความขี้เกียจนำล่องมาก่อน มองหาความเบิกบาน ความสดขื่นไม่เจอ พอนอนต่อ ปล่อยให้เจ้าความขี้เกียจครอบงำร่างกายและจิตใจไปได้ประมาณ 10 นาที จู่ๆก็เกิดสัมมาทิฐิเข้ามาแทนที่ ความคิดแล่นเข้ามาว่า เอ้ะ แล้วนี่เราจะมานอนแช่อยู่ทำอะไร เวลาที่เข็มกระดิกไปแต่ละวินาที เราปล่อยแช่ให้มันผ่านหน้าเราไปเฉยๆโดยเปล่าประโยชน์อย่างนั้นหรือ แล้วมันดีไหมละ พอแค่คิดได้เท่านี้ ไอ้เจ้าความขี้เกียจก็หายไปอย่างรวดเร็วภายในพริบตา ลุกขึ้นทำท่าโยคะ บิดเนื้อตัว ความสดขื่นก็กลับคืนมา
ผลที่ได้รับรู้จากอาการขี้เกียจครั้งนี้ : เราไม่ได้ใช้เวลาที่เขาให้เรามาอย่างคุ้มค่าเลยถ้ามัวปล่อยให้กิเลสตัวนี้ครอบงำ มีแต่เสียกับเสีย
เรื่องกล้วยหาย
สวนของเราอยู่ไกลจากบ้านประมาณ๑กิโลเมตรกว่าๆ หลายๆวันถึงจะได้ขึ้นไปดูสวนสักครั้งหนึ่ง เมื่อไม่กี่วันมานี้พ่อบ้านได้ขึ้นไปหวังจะตัดกล้วย ที่ไหนได้”กล้วยหาย”พ่อบ้านมาล่าวว่า มีคนมาลักขโมยตัดกล้วยเรา เขาตัดไปเยอะมากน่าจะสักกะบะบิคอั๊ป และยังตัต้นทิ้งเกะกะขวางทางเข้าออกในสวน และยังตัดต้นกล้วยลงทับต้นพืชที่ปลูกไว้
ทกข์ :เคืองใจ ข้องใจ
สมุทัย :เรายึดดี ถือดี ว่า คงไม่มีใครกล้ามาตัดกล้วยในสวนของเรามากขนาดนี้ เพราะเราและพ่อบ้าน ทำดี มีศีล ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มามาก พลังความดีคงคุ้มครองเราได้
นิโรธ :เราเคยทำชั่วมา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ความชั่วที่เราเคยทำมาแต่อดีตชาตินี้ หรือชาติก่อนๆเขามาออกฤทธิ์ ไปดลใจให้มีคนมาลักขโมยตัดกล้วยของเรา เราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น
เขาจะมาขโมยหรือไม่ เราก็ไม่เคือง ไม่ข้องใจอีกต่อไป
มรรค :สิ่งที่เราได้รับคือ สิ่งที่เราทำมา เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น ได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น เราก็วางใจได้ แล้วเราจะไปเคืองใจ ข้องใจเขาทำไม ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ
จะเล่าอดีต3สัปดาห์ก่อนเราทะเลาะกับพี่สาวซึ่งความคิดเห็นต่างกันคือเขาเป็นพวกแนวเสื้อแดง อดีต เคยตืเตียนว่าในหลวงร.9 แลเขาก็ได้รับวิบากทำร้านอาหารก็ล้มเหลวขาดทุนแถมหนี้สินล้นพ้นตัวเดือดร้อนญาติพี่น้อง แต่เขาก็ไม่สำนึกถ้าเราพูดก็ทะเลาะกันมาหลายครั้งเตือนเรื่องวิบากกรรมเขาไม่เชื่อ มาครั้งนี้เขาว่าเรางมงายเชื่ออโศกว่ารัฐบาล เราได้ยินก็หูร้อน โกรธด่าตอบกลับไปหลายคำว่าไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ เราช่วยด้านการเงินเขาก็เยอะ แะพูดคำไม่ดี ทั้งที่รู้ว่าโกรธแต่ไม่สามารถยับยั้งอารมณและคำพูดไม่ดีได้ เดินหนีกลับบ้าน แต่ใจเราก็สำนึกผิดเรื่องผิดศีลข้อ4
ทุกข์ ผิดศีลข้อ4
สมุทัย ยังมีกิเลสเรื่องโกรธเมื่อไม่มีเหตุการณ์อะไรมันก็ถูกกดทับไว้ พอมีผัสสะที่ไม่คาดฝันมันโพร่งหลุดเลย
นิโรธ เราก็คิดทบทวนว่าเราเคยทำมาตัองยอมรับ จะได้หมดไป ใจที่ขุ่นเคืองก็ควรจะให้อภัยเขาซึ่งเป็นพี่ และเขาก็มีข้อด้อยที่ต้องเมตตา ใจให้อภัยแต่ก็มีอัตตาที่ยึด ไม่อยากพูดกับเขา
มรรค จึงนึกถึงเพลงอภัย และคิดว่าเกิดมาเพื่ออะไร เพื่อทำความดี และลดกิเลสไม่ใช่หรือ พยายามทำใจ ให้แล้งวคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้ ไปวัดลานนาอโศกพระอ.1ก็เทศว่าเราทำมากี่ชาติแล้ว ถ้าชาตินี้ไม่ทำจะไ
ปทำเมื่อไร จิตเราก็คลายและลดตัวตนไปทักพูดคุยกับเขาก่อน ใจเราก็คลาย และจะพยายามไม่ผิดศีลอีกจะสำรวมระวังจิตของตนให้ดีคะ่ เราไต่ลำดับของการลดกิเลสยากเหลือเกิน แต่จะพยายามไปเรื่อยๆค่ะ
งานตัดต่อ
วันหยุดของเรา 19-22 พ.ย.มาศาลีอโศก ได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งดายหญ้า ล้างอ้อย หีบอ้อย ไปเยี่ยมอาจิ๋มที่โรงพยาบาลอุทัยธานี และที่สำคัญวันอาทิตย์ ทำโปรแกรมตัดต่อวีดีโอและภาพ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ไม่เคยทำมาก่อน ได้น้องก้อยลูกแม่เนียรในช่วยสอน แต่น้องก้อยก็ต้องรีบกลับชลบุรีเพราะว่าทำงานวันจันทร์เหมือนกัน แต่งานที่ต้องส่งข่าวบอกเล่าชาวอโศกส่งไปที่อุบล ยังไม่เสร็จอาติ๋วท่านขอให้อยู่ต่อใจหนึ่งก็อยากจะกลับบ้านนะ อีกใจก็อยากจะช่วยงาน ทำไงดี ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง สุดท้ายก็เลือกงาน อยู่ต่ออีกหนึ่งคืน กลับบ้านวันจันทร์เช้า ในใจเป็นห่วงแม่ ถ้าไม่มีแม่ก็จะไม่ค่อยเป็นกังวลเรื่องกลับบ้านเท่าไรคะ
ทุกข์ ทุกข์ใจอยากกลับบ้าน
สมุทัย ถ้าได้กลับบ้านจะสุขใจ ถ้าไม่ได้กลับบ้านจะทุกข์ใจ
นิโรธ จะกลับบ้านก็สุขใจ ไม่กลับบ้านก็สุขใจได้
มรรค พิจารณาว่าการที่เราอยู่ช่วยทำงานก็เป็นกุศล ก็เป็นสิ่งที่ดีนี้แล้วทำไมไม่ทำ ต้องเพิ่มฉันทะความพอใจที่ได้ช่วยทำงาน ความพยายามก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นแรงเหนี่ยวนำที่ดี เป็นวิบากดีต่อตนเองและผู้อื่น ลดความยึดมั่น ห่วงใยของแม่ลง ถ้าเรามีความยึดมั่นถือมั่นเท่าไร ก็จะเพิ่มที่แม่ด้วย เราต้องฝึกละตัดความยึดมั่นถือมั่น ก็จะช่วยแม่ด้วย ใจไร้ทุกข์ดีกว่า
งานยังไม่เสร็จ
วันที่ 19-22 พ.ย. เป็นวันหยุดมีโอกาสได้มาศาลีอโศก ได้ทำกิจกรรมหลายอย่างทั้งดายหญ้า ล้างอ้อย หีบอ้อย เพื่อทำน้ำอ้อย ช่วงวันอาทิตย์ได้มีโอกาสทำข่าวบอกเล่าอโศก เเป็นงานตัดต่อข่าวซึ่งไม่เคยทำมาก่อน น้องก้อยลูกสาวแม่เนียรในได้สอนให้ทำแบบง่ายๆ และท่านสมณะใต้ดาวได้ช่วยสอนเพิ่ม ทำได้สองข่าว เหลืออีกสองข่าวยังไม่เสร็จ อาติ๋วท่านขอให้อยู่ต่อ ก็ลังเลใจ ใจหนึ่งก็อยากกลับบ้าน อีกใจก็อยากจะช่วยงานต่อ แต่สุดท้ายก็เลือกงานคะ
ทุกข์ ทกข์ใจที่ไม่ได้กลับบ้าน
สมุทัย ถ้าได้กลับบ้านจะสุขใจ ถ้าไม่ได้กลับบ้านจะทุกข์ใจ
นิโรธ จะกลับบ้านก็สุขใจ ไม่ได้กลับบ้านก็สุขใจได้
มรรค พิจารณาว่าการที่เราได้มีโอกาสได้ทำงานให้หมู่เป็นสิ่งที่ดี ที่ควรทำ เป็นแรงเหนี่ยวนำที่ดี เป็นวิบากดี แล้วที่ศาลีก็มีแต่ผู้สูงอายุ คนทำสื่อก็น้อยมีแค่สองคน อาติ๋วกับอายอดท่านก็เสียสละทำงานหลายอย่าง ถ้าได้ช่วยแบ่งเบาภาระท่านบ้างเป็นสิ่งทีดีที่ไม่ใช่จะหาได้ง่าย ๆ ผ่านแล้วผ่านเลยนะ ช่วยในที่ที่เขาขาดแคลน เป็นประโยชน์มาก
ทุกข์ ไม่อยากรับเงินจากย่ารู้สึกไม่อยากใด้
สมุทัย ถ้าต้องรับเงินจากย่าแล้วจะไม่สบายใจถ้าไม่ต้องร้บจะสบายใจกว่า
นิโรธ ไม่ว่าจะต้องรับหรือไม่รับเราก็ต้องรับเราก็ต้องยินดีให้ใด้
มรรค เข้าใจว่าสิ่งที่เราใดัรับคือกุศลที่เราทำมาถ้าจะต้องรับก็นำเงินส่วนนั้นไปทำกุศลทำสิงที่เป็นประโยชน์คนที่ให้มาก็จะใด้กุผศลด้วย
เรื่อง ทำเต็มที่
ได้รับมอบหมายให้ทำเอกสารและคัดกรองสุขภาพประจำปีของผู้สูงอายุอย่างละเอียดให้ รพ.สต.อย่างเร่งด่วน มีผู้ที่ต้องคัดกรองสิบกว่าคนแต่ละคนต้องหลายขั้นตอน แต่ทำงานคนเดียวเกรงว่างานจะเสร็จไม่ทันกำหนดจึงรู้สึกกังวลใจ
ทุกข์:กังวลใจ
สมุทัย:ยึดว่าทำงานเสร็จทันกำหนดจะสุขใจ ถ้าทำไม่เสร็จทันกำหนดจะกังวลใจ เป็นทุกข์
นิโรธ:ไม่ว่างานจะเสร็จทันกำหนดหรือไม่ ใจก็ไม่ทุกข์ ไม่กังวล
มรรค:เพียรทำการคัดกรองอย่างเต็มที่ตามกำลังเท่าทีตัวเองพึงทำได้ตามเหตุปัจจัย มีข้อพร่องบ้างก็วางใจเพราะ ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือความสำเร็จของงาน ใจไร้ทุกข์ เบิกบาน ไร้กังวล
เรื่อง ทำผิดเสียเอง
ได้มีการนัดประชุมกรรมการกองทุนฯ และออมทรัพย์ในหมู่บ้าน เพื่อสรุปการทำงาน ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา ซึ่งในวาระหนึ่งของการประชุม ได้พูดถึงปัญหาของการผิดนัด ไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งในบรรดาลูกหนี้ที่ผิดนัด มีกรรมการรวมอยู่ด้วย ทำให้เกิดอาการไม่พอใจ ไม่สบายใจ
ทุกข์ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ
สมุทัย ยึดดี ยึดมั่นถือมั่นว่า ผู้มาเป็นกรรมการ ต้องรักษากฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นผู้นำที่ดี สมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิก แต่เมื่อกรรมการทำผิดกฎระเบียบเสียเอง ทำให้เกิดอาการไม่พอใจ ไม่สบายใจ
นิโรธ เขาจะทำถูกหรือผิดกฎระเบียบ เราก็จะพอใจ สบายใจ
มรรค วางความยึดดี ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ชาติใดชาติหนึ่งเราก็เคยทำมา เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครี่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่ถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา โชดดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว จะทุกข์ใจไปทำไม ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจ “เบิกบาน แจ่มใส ดีกว่า”
ชื่อเรื่อง ลืมวันเกิดอาจารย์ที่เคยสอนภาษาเยอรมัน
ก่อนวันเกิดท่าน ได้เตือนตัวเอง ว่า พรุ่งนี้วันเกิดGiselaนะ พรุ่งนี้ต้องโทรไปอวยพรท่าน
พอถึงวัน ลืมซะงั้น จำไม่ได้เลย
ผ่านวันเกิดท่านมาแล้ว 1 วันค่อยนึกออก บอกตัวเองว่า ยังไม่แก่เลย ขี้ลืมซะแล้ว
ทุกข์ คือ รู้สึกผิดที่ลืมวันเกิด
สมุทัย คือ ลืมวันเกิดGisela อาจารย์ที่เคยสอนภาษาเยอรมัน
นิโรธ คือ การอวยพรวันเกิด อาจจะช้าบ้างก็ไม่เป็นไร เรายังสามารถโทรศัพท์หาท่านได้แม้จะผ่านมาแล้วก็ตาม
มรรค คือ โทรศัพท์หาGiselaเมื่อมีเวลาทันที ได้ขอโทษ ยอมรับผิดที่ลืม และได้อวยพรวันเกิดท่าน แม้จะช้าไปบ้างท่านก็ไม่ได้ถือสาเรา ท่านก็มีกังวลเล็กน้อย ว่าท่านทำอะไรให้เราไม่พอใจรึเปล่า เราถึงไม่โทรศัพท์ไปหาในวันเกิดท่าน ได้พูดคุยปรับความเข้าและนัดเจอกันในวันถัดมา ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี
เรื่องท่องบททบทวนธรรมไม่ได้ ปกติจะเขียนบททบทวนธรรมแล้วท่องจนจำได้ต่อมาภายหลังท่องในส่วนที่เขียนไว้ตั้งแต่บทที่1-12ท่องผิดๆถูกๆไม่ต่อเนื่องขณะท่องจะมีความคิดเรื่องต่างๆเข้ามาแทรก ทุกข์ : ท่องจำบททบทวนธรรมไม่ได้ สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์บททบทวนธรรมเคยท่องและจำได้กลับท่องผิดๆถูกๆจึงกลัวว่าจะจำไม่ได้ตลอดไป นิโรธ : สภาพดับทุกข์ ท่องบททบทวนธรรมด้วยใจไร้กังวลท่องผิดก็ท่องใหม่อย่างรู้เพียรรู้พักให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงและไม่กังวลใจว่าจะท่องจำไม่ได้ มรรค: พิจารณาว่าการที่เราท่องผิดเกิดจากความพร่องก็แก้ไขด้วยใจที่ไร้กังวลท่องผิดก็ได้ท่องถูกก็ได้วางใจที่จะท่องด้วยความสุขใจพิจารณาและนำบททบทวนธรรมไปใช้ด้วยใจที่เป็นสุขและเข้าใจว่าเมื่อพบเรื่องร้ายในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับไปไม่มีอะไรเป็นของใครจะทุกข์ใจไปทำไมไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจเบิกบานแจ่มใสดีกว่า
Comments are closed.