631011 การบ้านอริยสัจ (9/2563)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 5-11 ตุลาคม 2563 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สรุปสัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านทั้งหมด 33 ท่าน
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
- ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
- สมประสงค์ ไวซค์
- ชลิตา แลงค์
- นงลักษณ์ สุวรรณคีรี
- นางบัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม รู้แก่นศีล
- มันฑณา ชนัวร์ร เตี้ย ศีลประดับ
- เรือนแก้ว สว่างวงษ์
- นางจิราภรณ์ ทองคู่
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- ขวัญจิต เฟื่องฟู
- พลศักดิ์ สุขยิ่ง (เพชรแก่นพุทธ)
- Praphan Pokham
- ศุทธินี จรรยา
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- รักใจ โปวอนุสรณ์
- อภินันท์ อุ่นดีมะดัน
- นาง โยธกา รือเซ็นแบรก์
- นางก้าน ไตรยสุทธิ์
- จิตรา พรหมโคตร
- นงลักษณ์ สมศรี(ลายใบไม้)
- นฤมล ยังแช่ม
- นงยันต์ หาระวงศ์
- น.ส. ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)6112008004
- จุฬิญญา ชายสวัสดิ์
- ธัญมน หมวดเหมน
- ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
- นายรวม เกตุกลม
- นางพรรณทิวา เกตุกลม
- สุนิตา มอนิทเซอร์
- นางกุลนันทน์ กันยะมี
- นางวารุณี เกตุพงศ์สุดา
- ณ้ฐพร คงประเสริฐ



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 319
อริยสัจสี่
เรื่อง หมอบอกอยู่ได้อีกแค่วันเดียว
เรื่องย่อ
กลางเดือนกันยายน มีรุ่นน้องคนหนึ่งโทรมาปรึกษาเรื่องความเจ็บป่วยของสามี ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ตอนที่คุยกันครั้งแรกนั้น เธอบอกว่าตอนนี้สามีอยู่ในห้องไอซียู อาการหนัก หมอบอกว่าจะอยู่ได้อีกวันเดียวเท่านั้น รุ่นน้องคนนี้ติดต่อมาทางเพื่อนของเราก่อน เธอสนใจแนวทางการดูแลสุขภาพของหมอเขียวอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เคยไปเข้าค่ายฯ ตอนที่โทรมานั้นเธอมีอาการร้อนรนพอสมควร ผมรู้สึกได้ถึงความกลัว กังวล หวั่นไหวในใจของเธอ เพราะอาการป่วยของสามีนั้นถือว่าหนักมากแล้ว ไม่น่าจะช่วยให้ฟื้นฟูขึ้นมาได้แล้ว
นอกจากนี้ ผมเองก็ไม่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาในการรักษาโรคเลย ยิ่งเป็นเคสหนัก ๆ แบบนี้ยิ่งนึกไม่ออกเลยว่าควรจะแนะนำอย่างไรดี แต่ก็ได้พยายามพูดคุยด้วย และบอกเล่าประสบการณ์และสิ่งต่าง ๆ ที่ตัวเราได้พบเห็นมาบ้างจากในค่ายสุขภาพ จากการแบ่งปันประสบการณ์ของจิตอาสาท่านอื่น ๆ และเน้นน้ำหนักไปที่การปรับจิตปรับใจให้คลายความวิตกกังวลก่อน
หลังจากพูดคุยกันทางโทรศัพท์ไปครู่หนึ่งแล้ว เธอก็ขอตัวไปดูอาการสามีในห้องไอซียูก่อน ครั้งต่อมาที่เธอโทรมาใหม่นั้น พอดีว่าผมติดประชุมทางออนไลน์อยู่ แม่บ้านจึงช่วยคุยด้วยแทน จึงได้รู้ในภายหลังว่าสามีของเธอได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว มีอาการดีขึ้นเล็กน้อย ทั้ง ๆ ที่ตอนแรกหมอบอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินหนึ่งวัน ตอนนี้ก็กลับมาดูแลกันเองที่บ้าน ถ้ามีปัญหาอะไรก็จะโทรมาปรึกษาใหม่
ทุกข์
รู้สึกกังวลใจในการให้คำปรึกษาในการดูแลผู้ป่วยที่อาการหนักเกินไปแล้ว กลัวว่าจะให้คำแนะนำได้ไม่ดีพอ กลัวว่าจะช่วยเหลืออะไรเขาไม่ได้
สมุทัย
ตัณหาคือความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องให้คำแนะนำที่ดีได้จึงจะสุขใจ ต้องช่วยเหลือเขาได้บ้างจึงจะพอใจ ถ้าแนะนำไม่ดีแล้วจะทุกข์ใจ ถ้าช่วยเหลืออะไรเขาไม่ได้แล้วจะไม่สบายใจ
นิโรธ
ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้ ช่วยเหลือเขาได้ก็สุขใจ ช่วยเหลือเขาไม่ได้ก็สุขใจ เมตตาและอุเบกขา ปล่อยวางให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของเขาได้
มรรค
พิจารณาเรื่องกรรมให้แจ่มแจ้งว่า การที่รุ่นน้องต้องมาเจอเหตุการณ์ที่สามีเจ็บป่วยอย่างร้ายแรงนั้นก็เป็นวิบากกรรมของเขา ส่วนที่เราต้องมารับรู้และให้คำแนะนำแก่เขาในเงื่อนไขที่ยากลำบากอย่างนี้ก็เป็นวิบากกรรมของเรา ใช้บททบทวนธรรมที่ว่า เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่จะพึงทำได้ แล้ววาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของเขา เรื่องที่ช่วยได้ก็ช่วยเต็มที่ เรื่องที่ช่วยไม่ได้ก็วาง ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของเขา
นอกจากนี้ก็ยังต้องกลับเข้ามาพิจารณากิเลสในใจตัวเองด้วยว่า ความคิดที่ว่าต้องช่วยเขาได้จึงจะเป็นสุข ถ้าช่วยไม่ได้แล้วจะเป็นทุกข์ ความคิดแบบนี้เป็นความยึดมั่นถือมั่น เป็นความคิดของกิเลส ไม่ควรปล่อยไว้ให้มันสะสมในจิตเรา เพราะมันจะยิ่งทำให้เราหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้น เราต้องล้างความคิดแบบนี้ออกไปเสียโดยเร็ว หันมาคิดแบบพุทธะให้ได้ว่า ช่วยเขาได้ก็ยินดีพอใจ ช่วยไม่ได้ก็วางได้ ไม่ต้องพัวพัน ไม่ต้องทุกข์ใจ แม้จะช่วยอะไรไม่ได้เลย เราก็ยังมีความปรารถนาดี มีเมตตาและอุเบกขา ก็มีความเบิกบานแจ่มใสได้ตลอดเวลา
เทปูนหน้าฝน
วันนี้ตอนเช้าแดดดี ฟ้าใส มีเมฆบ้าง เลยผสมปูนทำทางเดิน วันนี้จะเท 3 เมตร คิดว่าน่าจะผ่านไปโดยสะดวก …แต่ทำไปได้ครึ่งหนึ่งลมเย็นพัดมา มองไปมีเมฆฝนอยู่ไกล สัญญาณมาแล้ว แต่ก็ตรวจใจไปว่าหวั่นไหวรึไม่ ก็ไม่เท่าไหร่ พอพิจารณาได้สบาย ๆ สุดท้ายทำไป สลับกับฝนตกปรอย ๆ บ้าง หนักบ้าง สุดท้ายงานก็เสร็จ และแดดออก
ทุกข์ : ความหวั่นไหวเล็กน้อยเมื่อมองเมฆฝนและลมเย็นที่กระทบตัว
สมุทัย : ความกลัวงานจะลำบาก ทำงานเปียก ๆ ทุลักทุเล ฝนทำลายงานให้เสียหาย อยากให้มันเสร็จสมบูรณ์แบบสบาย ๆ
นิโรธ : เสร็จก็ได้ – ไม่เสร็จก็ได้ สมบูรณ์ก็ได้ – ขี้เหร่ก็ได้ เสร็จไวก็ได้ – เหนื่อยเพิ่มก็ได้เช่นกัน
มรรค : เมื่อมองเมฆฝนก็ทำใจเลยว่า เรื่องเท่านี้จะมาทำให้เราหวั่นไหว มันไม่เท่าไหร่หรอก แค่ลม แค่ฝน แค่ขู่ ยังไม่ตกจริงเสียหน่อย ว่าแล้วก็ทำต่อไป ต่อมาแม้ฝนจะตกจริง ๆ จนตกหนักขึ้นก็ไม่ได้รู้สึกทุกข์ใจ ก็แก้ปัญหาไปตามลำดับเท่าที่ทำได้ แล้วก็วางใจ ไปตามลำดับ ไม่วนไปตีตัวเองในอดีต(ตอนเริ่มงาน) ไม่ฟุ้งซ่านไปกับอนาคตที่ยังไม่เกิด มันก็สบายแบบนี้นี่เอง
อาการภูมิแพ้
เนื้อเรื่อง : อาการป่วยที่เกิดจากการไปโรยยากำจัดทากที่มากินผักในสวน
แล้วทำให้ อาการภูมิแพ้กำเริบ ป่วยอยู่นาน 4เดือนครึ่ง มีอาการน้ำเหลืองไหลเยิ้ม นิ้วเริ่มงอเหมือนทากตากแดดแห้งตาย ขณะนั้นยังนึกไม่ออกว่าเกิดจากการไป ทำร้ายชีวิตของทาก
ได้รักษาตามหลักของแพทย์วิถีธรรม เวลาไปทำงานก็ใช้กระดาษทิชชู่พันไว้ตรงนิ้วที่น้ำเหลืองไหลเยิ้ม
ออกไปทำงานตลอด 3อาทิตย์
อาการหนักขึ้นหยิบจับอะไรไม่ได้ โดนน้ำก็แสบ ตักข้าวกินเองไม่ได้
เลยตัดสินใจไปหาหมอโรคผิวหนัง ได้ยาแรงมากิน มีผลข้างเคียงจากยาคือทำให้ตาพร่า แต่อาการบวมดีขึ้น
ตัดสินใจหยุดงานยาวจนกว่าจะอาการกลับมาเป็นปกติ
รู้ว่ากำลังใช้วิบาก แต่ร่างกายส่วนอื่นยังปกติดี
ใจตอนแรกก็กังวล จากนั้นก็เริ่มวางใจ นอนฟังธรรมะจากอาจารย์ ที่สะดุดใจว่า”อย่าคิดนะว่าเราจะช่วยร่างกายตัวเองได้ตลอดเวลา”
ทุกข์:เกิดจากความกังวลใจ ที่ไปทำงานไม่ได้
สมุทัย(เหตุแห่งทุกข์) :เป็นเพราะเราไปวางยาเบือทาก จึงได้ใช้วิบากทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ มือบวม น้ำเหลืองไหล
นิโรธ : วางใจ เมื่อผิดพลาดไปแล้ว ก็ไม่กังวลให้ทุกข์ทับถมตน จะได้ไปทำงานก็ได้ ไม่ได้ไปก็ไม่เป็นไร
มรรค : ได้ฟังธรรมะของอาจารย์ที่บอกว่า “เมื่อกายป่วยแต่ใจต้องไม่ป่วย” สำนึกผิด ขออโหสิกรรม ยอมรับวิบากที่ไปวางยาเบือทาก ทำให้เค้าเสียชีวิตอย่างทรมานมากมายหลายชีวิต แต่เรายังรักษาชีวิตตัวเองไว้ได้ ขอบำเพ็ญความดีต่อไป อาการทางกายก็ดีขึ้น ทางใจก็ดีขึ้นตามลำดับ
เรื่อง อยากกินส้มตำ
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 3/10/63
เห็นเพื่อนโฟสรูปส้มตำใน Facebook พร้อมบรรยายถึงความอร่อย พอเราเห็นภาพก็เกิดกิเลสอยากกิน น้ำลายไหล จำรสชาติของสัมตำแบบนี้ได้ ที่เราเคยชอบ แต่ก็บอกตัวเองว่าเราก็เลิกกินมานานแล้วนะถ้าให้กลับไปกินอีกก็คงจะกินไม่ได้เพราะมันคงจะเผ็ดมากๆและทรมานมากๆ แต่ก็ยังรู้สึกอยากกินส้มตำปรับสมดุลแบบของเราอยู่ แล้วเลื่อนผ่านเฟสเพื่อนไป อีกพักใหญ่โทรคุยกับแม่ที่เมืองไทย แม่ก็พูดขึ้นมาอีกว่าเพิ่งกินส้มตำไปเมื่อกี้ พอได้ยินคำว่าส้มตำก็เกิดความอยากกินขึ้นมาอีก เรากำลังจะไปซื้อของพอดี ในใจคิดว่าจะไปซื้อมะละกอมาทำส้มตำด้วย ลองวางแผนการเดินทางดู มันยุ่งยากมากต้องไปหลายที่ พอมานึกดูอีกทีนี่เราโดนกิเลสลากไปแล้วหรือ ต้องดิ้นรนหามาเสพตามมันเหรอ
ทุกข์ : อยากกินส้มตำ
สมุทัย : เกิดความอยากกินส้มตำ ชอบ:ที่จะได้กินส้มตำตามกิเลส ชัง:ที่จะไม่ได้กินส้มตำ
นิโรธ : ได้กินส้มตำก็สุขใจได้ ไม่ได้กินก็สุขใจได้
มรรค :ตั้งสติ ดูความอยากว่ามันระดับเบอร์ไหน มันทรมานมากมั้ยถ้าไม่ได้กิน แล้วพิจารณาถึงความยุ่งยากจะต้องวิ่งไปซื้อมะละกอมาทำส้มตำกิน และนึกถึงความตั้งใจของเราที่จะฝึกฝนการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายกินใช้ของในพื้นที่เป็นหลัก (ในฝรั่งเศส หรือในยุโรป) มะละกอนี่ไม่ใช่ของที่นี่นะ ความอยากก็ยังมีอยู่ ก็นึกถึงโทษของการตามใจกิเลสมันจะทำจิตใจก็ต้องอ่อนแอเรื่อยๆไปอีกนาน ถ้าเราไม่ตามใจกิเลส เราก็จะเข้มแข็งขึ้นอีก เรื่อยๆ คิดได้แล้วก็ไม่ไปซื้อมะละกอแล้วเดินทางกลับบ้าน
พอถึงบ้านก็มาเปิดดู Facebook รูปส้มตำอันเดิมเด้งขึ้นมาให้เห็นอีก แต่ครั้งนี้เห็นความอยากกินมันลดลง แต่กลับรู้สึกมีความสุขมากกว่า สุขที่ชนะกิเลส สุขที่ไม่ได้วิ่งตามกิเลส สุข.กว่า.เสพ. มันสุขอย่างนี้เอง กราบสาธุค่ะ
ทุกข์จากการอยาก
เรื่องย่อ : จากการที่เราได้มารู้จักแพทย์วิถีธรรม รู้สึกชอบและมีความสุขมากที่ได้เข้าร่วมการเข้าค่าย ใจอยากมีเวลาและเข้าร่วมทุกค่ายที่อาจารย์บรรยาย และอยากเป็นผู้บำเพ็ญไปช่วยหมู่กลุ่มตามความสามารที่พอจะทำได้ ไม่อยากทำงานลาภแลกลาภ อยากเป็นอิสระเร็วๆจากครอบครัว
ทุกข์ : ใจร้อนอยากให้ได้ดีมาเร็วๆ
สมุทัย : ตัญหาคือความอยากให้สิ่งที่ดีให้มาถึงเร็วเร็ว ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าได้ดั่งใจที่ตัวเองต้องการแล้วสุขใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งความปราถนา
สมุทัย : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ดีจะมาเร็วหรือช้าเกิดจากวิบากกรรมเรา
มรรค : พิจารณาเรื่องกรรมให้แจ่มแจ้งว่า เราจะได้ดีเท่าที่เราทำมา หากต้องการมากกว่านั้นคือการขโมย(ผิดศึลข้อสอง) คิดแล้วทุกข์เท่ากับเบียดเบียนตัวเอง(ผิดศีลข้อหนึ่ง)
ชื่อเรื่อง:ข้อความการบ้านสัปดาห์ที่แล้วไม่ถูกบันทึกไว้
เนื้อเรื่อง:ขณะเขียนการบ้านส่งในวันอาทิตย์ที่4ต.ค2563 อยู่ๆหน้าจอมือถือก็ดำพิมพ์ต่อไม่ได้และข้อมูลที่เขียนไว้ก็หายเป็นอยู่สองครั้ง ก็ได้ตรวจใจ ไม่หวั่นไหว วางใจได้ เขียนใหม่ครั้งที่สามและส่งไป เวลา23:00น.เวลาประเทศไทยเมื่อเปิดดูเห็นข้อความที่ตัวเองส่งไปแต่สักพัก ข้อความนั้นได้หายไป จึงส่งใหม่ครั้งที่สี่แต่ขึ้นเป็นวันที่5ต.ค 2563เวลา00:00น.ตามเวลาประเทศไทยและสักพักข้อความการบ้านนั้นก็หายไปอีก เห็นใจตัวเองมีอาการขัดๆเคืองๆเล็กน้อยแต่แป๊บเดียวก็วางใจถึงแม้จะไม่มีข้อความการบ้านในบันทึกเหมือนพี่น้องที่ส่งไปก่อน เราทำดีเต็มที่พยายามเต็มที่แล้ว เอาจิตวิญญาณบำเพ็ญเอาจิตวิญญาณเขียนเอาจิตวิญญาณบันทึก ใจที่ขัดๆเคืองๆเล็กน้อยนั้นก็หายไปภายในเสี้ยววินาที
ทุกข์ : ขัดเคืองใจเล็กน้อยที่ข้อความการบ้านที่ส่งไปไม่ถูกบันทึกในระบบ
สมุทัย : อยากให้ข้อความการบ้านบันทึกไว้เหมือนพี่น้องท่านอื่นๆ คือชอบที่ข้ความนั้นจะถูกบันทึก ชังที่ข้อความนั้นไม่ถูกบันทึก
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่ข้อความการบ้านจะถูกบันทึกหรือไม่ถูกบันทึก
มรรค : ตั้งสติสมาธิวางใจว่าเราพยายามเต็มที่แล้ว บำเพ็ญทั้งกายและจิตวิญญญาณและนี้จะบันทึกไว้แต่ถ้าวิบากกรรมเรื่องการบันทึกยังไม่สำเร็จผล ก็วางใจ เอาประโยชน์จากผัสสะนี้คือให้เราได้ฝึกทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ และ ตั้งศีลเพิ่มคือใจไร้ทุกข์ เบิกบานใจได้ แม้ข้อความการบ้านจะถูกบันทึกหรือไม่ถูกบันทึกในระบบ จิตวิญญาณของเราบันทึกไว้แล้ว คนอื่นไม่รู้แต่เรารู้ กราบสาธุธรรมค่ะ
ชื่อเรื่อง : สอบสภาวะธรรม นักศึกษาศึกวิชชาราม
เนื้อเรื่องย่อ : วันศุกร์ที่2 ต.ค2563ข้าพเจ้าได้เห็นข้อความที่พี่น้องหมู่กลุ่มที่คบคุ้นกันส่งรายชื่อเข้าสอบสภาวะธรรมอริยสัจสี่ ออนไลน์ในวันอาทิตย์ที่4ต.ค.เมื่อเห็นข้อความนี้ ได้เห็นใจตัวเองหวั่นไหวและนึกน้อยใจพี่น้องหมู่กลุ่มเล็กน้อยว่าไม่รอถามข้าพเจ้าก่อน แต่ความคิดนี้เกิดขึ้นไม่นานเพราะข้าพเจ้าได้พิจารณาว่าจะคิดอย่างงั้นไม่ถูกจะผิดศีลจึงพิจารณาต่อว่าเราจะได้สอบพร้อมพี่น้องหมู่กลุ่มก็ได้ ไม่สอบก็ได้พี่น้องจะถามก่อนก็ได้ไม่ถามก่อนก็ได้ เพราะเราก็ยุ่งๆกับงานบ้านและที่ทำงานติดตามอ่านไลน์ช้าทำให้พลาดการรับข่าวสารจากพี่น้องหมู่กลุ่ม เมื่อคิดได้อย่างนี้ใจก็แช่มชื่นประมาณ80%และได้โทรคุยกับพี่มุกแสงธรรมแลกเปลี่ยนเล่าสภาวะธรรมให้ฟังและได้เห็นใจตัวเองคลายลงไม่มีอาการน้อยใจพี่น้องเหลืออยู่เบิกบานใจได้100% และให้พี่มุกแสงธรรมลงชื่อในการสอบอริยสัจสี่พร้อมพี่น้องหมู่กลุ่มให้
ทุกข์ : น้อยใจที่พี่น้องหมู่กลุ่มที่คบคุ้นกันส่งรายชื่อเข้าสอบสภาวะธรรมอริยสัจสี่ นักศึกษาวิชชารามไม่รอถามเราก่อน
สมุทัย : ชอบที่พี่น้องหมู่กลุ่มจะรอถามความคิดเห็นเราก่อน ชังที่พี่น้องหมู่กลุ่มไม่รอถาม
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่พี่น้องหมู่กลุ่มจะรอถามหรือไม่รอถามเข้าใจวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเราและวางใจ ว่าจะได้สอบพร้อมพี่น้องหมู่กลุ่มก็ได้ไม่ได้สอบพร้อมเพื่อนก็ได้
มรรค : ตั้งสติสงบใจพิจารณาคิดใหม่เพราะถ้าคิดแบบนี้ผิดศีล เบียดเบียนตัวเอง เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม เราพร่องเราพลาดเองในการตามข่าวสารข้อมูล สิ่งที่เราได้รับคือเราทำมา เจริญอภัยเมตตาต่อตนเองดีกว่าเมื่อพิจารณาอย่างนี้ใจก็แช่มชื่นขึ้น80% และได้โทรหาพี่มุกแสงธรรม ได้แลกเปลี่ยนสภาวะธรรมและได้รู้ว่าพี่น้องได้พูดคุยกันอยู่ว่ารอถามเราก่อนแต่ถ้ามีเหตุต้องส่งรายชื่อก่อนจะให้เราสอบก่อนเพราะพี่น้องรู้อยู่ว่าเราจะไปทำงาน เราได้น้อมจิตขอโทษขออภัยต่อตนเองและพี่น้องหมู่กลุ่ม เห็นใจตัวเองคลายลงไม่มีอาการน้อยใจเหลืออยู่ เบกบานใจได้100% และเราก็ได้ให้พี่มุกแสงธรรมส่งรายชื่อเข้าสอบพร้อมพี่น้องหมู่กลุ่มและได้สลับเวลาทำงานกับเพื่อนร่วมงาน สรุปเราก็ได้สอบพร้อมพี่น้องหมู่กลุ่ม เบิกบานและผาสุก กราบสาธุธรรมค่ะ
เรื่อง : ซื้อผลไม้ ได้ผลไม้เน่า
เนื้อหาโดยย่อ : ไปตลาด เห็นลองกองลูกสวยจึงแวะเข้าไปซื้อ พอเดินเข้าไปใกล้ก็จะเห็นว่าด้านหน้าจะเป็นลองกองเป็นพวงลูกสวย แต่ด้านในเป็นพวงลูกที่ผิวเป็นสีดำ ซ้ำ แม่ค้าก็เปิดถุงแล้วนื่นมาให้เราเลือกลองกองใส่ เราหยิบใส่ได้เพียง 2 พวงแม่ค้าก็รีบหยิบพวงที่ซ้ำ ๆ ดำ ๆ ยัดใส่ถุงให้อีก 3 พวง เราก็บอกไม่เอา เขาก็แล้วก็บอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวเกิน แล้วก็ใช้ความเร็ว บอกว่ามันเกินเยอะนะ แล้วก็หยิบพวงสวยที่เราเลือกออกแล้วส่งถุงผลไม้ให้ เราก็เริ่มไม่พอใจ เพราะรู้สึกว่าแม่ค้าไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็ชำระเงินแล้วเดินออกมา ในใจก็อาฆาตว่าวันหลังจะไม่ซื้อร้านนี้อีกแล้ว นิสัยไม่ดี เพราะวันก่อนซื้อแก้วมังกร ก็เอาลูกที่เน่าใส่มาให้ 1 ลูก ครั้งนั้นเราก็คิดว่า กูทำมาแน่เลย จึงมาเจอะแบบนี้ ก็มีอารมณ์เซ็งนิดหน่อย แล็วก็หาย แต่ครั้งนี้คิดแบบนี้เราก็ยังไม่หายโกรธ ระหว่างขับรถกลับยังรู้สึกขุ่นใจ จึงคิดได้ว่าเรากำลังขาดทุนยิ่งกว่าได้ผลไม้เน่าอีก เพราะเรากำลังทำให้ใจตัวเองทุกข์ จึงเปลี่ยนวิธีคิด คิดว่า แม่ค้าเขาน่าสงสารนะ ถ้าเราไม่ช่วยเอาผลไม้ที่เสียมาเขาก็ต้องทิ้ง เขาอาจจะต้องขาดทุน คนทำมาหากินน่าเห็นใจ เราเหลือผลไม้กินน้อยลงบ้าง ก็ไม่เป็นอะไร กินได้น้อยลงก็เป็นการล้างกิเลสตัวเราเช่นกัน เมื่อคิดได้แบบนี้ใจก็โล่ง เบิกบาน หายโกรธ หายอาฆาต
สรุปอริยสัจ 4
ทุกข์ : ที่ถูกเอาเปรียบ
สมุทัย : ทุกข์เพราะชังการถูกเอาเปรียบ ชอบที่จะไม่ถูกใครเอาเปรียบ
นิโรจน์ : ถูกเอาเปรียบ หรือไม่ถูกเอาเปรียบ ใจก็เป็นสุขได้
มรรค : เราต้องเชื่อชัดในกรรม สิ่งที่เราได้รับคือส่องที่เราทำมา และเราต้องมีเมตตา เห็นใจผู้อื่น อะไรที่เราเสียสละได้ก็ควรทำ
ทุกข์ เพื่อนไม่ทำตามมติหมู่ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ถ้าเพื่อนทำตามมติหมู่เราจะสุขใจ ถ้าเพื่อนไม่ทำตามมติหมู่เราจะทุกข์ใจ นิโรธ (สภาพดับทุกข์) เพื่อนทำตามมติหมู่เราก็สุขใจ เพื่อนไม่ทำตามมติหมู่เราก็สุขใจ มรรค(วิธีดับทุกข์) เชื่อเรื่องกรรม เราทำชั่วมามากหาที่ต้นที่สุดไม่ได้เพียงแค่เพื่อนไม่ทำตามมติหมู่เราจะทุกข์ใจไปทำไมมันจิ๊บๆ ที่เราเจอครั้งนี้ก็เพราะเราเคยทำมา ฉะนั้นเรายอม ไม่ได้เสียหายตรงไหนนี่ รับแล้วก็หมดไปจะได้โชคดีขึ้น จิตก็เบิกบานแจ่มใส ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
ติดตั้งปั้มน้ำ
ที่บ้านได้ซื้อแทงค์น้ำมาหลายเดือนแล้วแต่ยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องปั้มน้ำ อีกไม่กี่เดือนก็เข้าซัมเมอร์จะต้องได้ใช้น้ำมากในการรดผัก พ่อบ้านก็คิดว่าจะทำเองทั้งๆที่ไม่เคยทำ เราก็รู้สึกอนุโมทนา และคอยลุ้นอยู่ หลังจากที่เขาเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งใช้เวลาอยู่หลายวันเพราะซื้อข้อต่ออะไรต่างๆมาผิดก็ต้องขับรถเข้าเมืองไปเปลี่ยนของอีก แล้วพ่อบ้านเขาก็มาพูดกับเราว่า ฉันไม่คิดเลยว่ามันจะยากขนาดนี้ พอพ่อบ้านพูดขึ้นมาอย่างนี้ เรารู้สึกเห็นอาการกลัว กังวล ขึ้นมาเราก็ว่านี่เป็นกิเลส ก็นึกถึงคำพูดของอาจารย์ ขึ้นมาว่าเราต้องกล้าที่จะยอมให้เกิดสิ่งเลวร้ายที่สุดให้ได้ ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือ ความสำเร็จของงาน ใจที่เบิกบานไร้ทุกข์ แล้วในกรณีนี้อย่างมากก็เครื่องปั้มน้ำพัง ก็เลยพูดกับเขาว่าทำไปเถอะ พร้อมพัง ถ้าไม่ทำงานเราก็เรียกช่าง ดูเหมือนว่าเขาจะได้แรงเหนี่ยวนำใจที่ไร้กังวลของเราไป เขาไปทำงานพักใหญ่ก็มาเรียกเราออกไปดูผลงาน
ทุกข์ กลัวติดตั้งปั้มน้ำไม่สำเร็จ เกิดความเสียหาย
สมุทัย อยากให้งานสำเร็จ ไม่มีความเสียหาย
นิโรธ งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ได้ ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ใจไม่ทุกข์
มรรค เมื่อเราทำดีอย่างเต็มที่แล้ว เราต้องพร้อมรับผลกรรมตามความเป็นจริงด้วยใจที่เป็นสุข ความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของาน ใจที่ยินดี เบิกบาน และพ่อบ้านก็ติดตั้งเครื่องปั้มน้ำได้ด้วยใจเป็นสุข แต่เครื่องไม่ตัดน้ำอัตโนมัติ คงหาสาเหตุต่อไป แต่ไม่ทุกข์ใจ
ชื่อเรื่อง เสียดายที่จะตัดต้นไม้
เนื้อเรื่อง ที่บ้านมีพื้นที่น้อยในการทำกสิกรรมไร้สารพิษ จึงเสนอพ่อบ้านว่าจะเปลี่ยนเเปลงสวนหน้าบ้านเล็กน้อยเเละเอากระถางต้นไม้ไปวางไว้บนหลังคาโรงรถได้ไหม ท่านก็บอกขำเเล้วก็บอกว่า…บ้านเรามีพื้นน้อยเเละปลูกเพื่อความสวยงาม ข้าพเจ้าให้เหตุผลไปว่า ปลูกเเล้วมีความสุข ได้กินผัก ผลไม้ไร้สารพิษ พูดชักชวนให้ท่านเห็นคล้อยตาม ซึ่งท่านเองก็ดูเหมือนยังไม่แน่ใจ
หลังจากท่านกลับมาจากทำงาน ท่านก็บอกว่าให้ตัดต้นไม้ออกได้เพื่อที่เธอจะปลูกต้นไม้ตามที่เธอต้องการ
ข้าพเจ้าก็คิดไม่ถึงว่าท่านจะกล้าให้ตัดตันไม้ที่ปลูกมาสิบกว่าปีและยอมให้เราปลูกตามที่เราต้องการ
เห็นกิเลสความลังเล ความเสียดายต้นไม้เกิดขึ้นเเละยังมีคิดว่าเราไปเบียดเบียนจิตวิญณานของพ่อบ้านเกินไปหรือเปล่า?
ทุกข์ เสียดายต้นไม้ที่ต้องตัดทิ้ง ไม่กล้าตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร
สมุทัย ทุกข์เพราะเสียดายที่ต้นไม้ที่ปลูกมาหลายปีเเล้วจะต้องถูกตัดไป ชอบที่พ่อบ้านอนุญาตให้เราทำในสิ่งเราต้องการ
นิโรธ ใจไร้ทุกข์ ยินดีพอใจ ในสิ่งจะเกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้
มรรค คิดทบทวนดูว่าเราไปเบียดเบียนพ่อบ้านเกินไปหรือเปล่า หรือเราอยากเกินที่จะได้ จะเป็น จะมี อ.หมอเขียวท่านสอนว่า ถ้าเราไม่อยากอะไร ก็ไม่ทุกข์อะไร พอคิดได้ตรงนี้ใจก็เบาลง50% เเล้วก็ถามพ่อบ้านว่าใจคุณลงจริงๆหรือที่ให้ตัดต้นไม้เเละกว่าสิ่งเราปลูกจะใหญ่ก็ใช้เวลาหลายปี เราจะมองเห็นโรงรถของเพื่อนบ้านไปอีกนานนะ ท่านก็บอกว่าจริงเเละยอมรับได้ ใจก็วางได้อีก25%เพราะพ่อบ้านวางได้จริง
ทีนี้ก็มาดูใจเราว่ายังมีความเสียดายอยู่ไหม กล้าที่จะสู้งานหนักไหม มาถึงตอนนี้นึกถึงคำที่อ.เคยสอน ถ้าเราไม่กล้าที่จะสละกิเลส(ความเสียดาย)ออก เราจะกล้าทำในสิ่งที่ดีกว่านั้นได้อย่างไร ในเมื่อกิเลสยังกอดไว้เเน่น ทำสิ่งที่ดีกว่านั้นก็จะทำไม่ได้ ความทุกข์ก็หายไป100%
เราตั้งใจจะทำเพอร์มาเคาร์เจ่อร์ ปลูกผักไร้สารพิษ เราก็ต้องมั่นใจในสิ่งที่เราทำ เราก็ต้องไม่เสียดายต้นไม้ สาธุ
ในสภาวะความทุกข์ที่เกิดขึ้นช่วงนี้ก็คือ เป็นทุกข์ทางใจที่หนักกว่าแผ่นดิน ส่วนทุกข์ทางกายเท่ากับฝุ่นปลายเล็บช่วงนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นถึงแม้จะมีโรคร้ายโควิต 19ระบาดก็ตามเพราะเราได้เรียนรู้และปฎิบัติธรรมแพทย์วิถีธรรมมามากกว่าแปดปีจึงเป็นการเตรียมพร้อมอย่างพอเพียง ในฐานะที่เป็นผู้รับใช้และได้รับโอกาสจากพี่น้องพวธต่างประเทศโดยเฉพาะอาจารย์หมอเขียวและDr.นิดหน่อยไว้วางใจให้ดูแลและประสานงานพี่น้องจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทั่วโลก นี่คือความทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะเป็นภาระกิจที่สำคัญสำหรับเรา จึงมีความกังวลซึ่งทำให้มีความทุกข์ เกิดขึ้นหลายอย่างคือความกลัวว่าจะปฎิบัติงานไม่ได้ผล อยากทำดีที่สุด เพราะพี่น้องจอส แต่ละคนมาจากหลายสถานที่ หลายความคิด แม้จะเราไม่ได้พบปะร่วมงานกันแต่สัมผัสได้จากการสนทนาพบกันออนไลน์รวมถึงการจัดค่ายออนไลน์สองครั้งที่ผ่านมา น้ำเสียงผัสสะกระทบกระทั่งเกิดขึ้นตลอดเวลาต่างคนต่างไม่ยอมกันทั้งๆที่ทุกคนก็ปฎิบัติศีลมาไม่น้อยก็มากแต่ยังไม่มั่นคง จึงมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นแต่ก็มีธรรมะจัดสรรลงตัวงานก็สำเร็จเรียบร้อย แต่อาจารย์ก็ให้สัจจะคำคมในค่ายพตฎนี้ว่า “ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของงาน”
เพราะฉนั้นเราต้องวางตัวเป็นกลาง วางใจเป็นอุเบกขาให้คำปรึกษา อธิบายแจ้งข้อมูล บางครั้งเขาไม่เข้าใจในตัวเรา คิดว่าเราโอนเอน เข้าข้างคนนี้คนนั้น ทำให้เราเข้าใจในธรรมะว่า โลกนี้มีพร่องอยู่เป็นนิจอย่างแจ่มแจ้งในครั้งนี้เอง
สมุทัย สาเหตุเเห่งความทุกข์นั้นมาจากต้นเหตุว่ามันเกิดขึ้น มาจากความกลัวความกังวลว่าไม่สามารถจะปฎิบัติตนให้เหมาะสม เพราะจิตใจไหวหวั่นเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง กับถ้อยคำผัสสะและอัตตาที่เรารับฟังมาปรุงแต่งกับ คนนี้คนนั้นโทรมารายงาน แถมมีการกล่าวโทษเพ่งโทษ แต่ละคน เเตก็ให้คำปรึกษาไปใช้ธรรมะ บททบทวนธรรม ให้ไป บางคนไม่เข้าใจ ทั้งๆที่อาจารย์หมอเขียวมีเมตตายกเอาพระไตรปิฎกขึ้นมาสอน บอกว่า ความเข้าใจผิดของเราต่อผู้อื่นมันคือวิบากกรรมเขาวิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดีเรื่อยไป ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ
นิโรธ ก็คือ การวางใจเป็นอุเบกขา พิจารณาวางใจ เอาปัญญามาดับทุกข์ ด้วยการไม่หวั่นไหว เข้าใจว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกันเราต้องเรียนรู้เข้าใจฐานจิตของแต่ละคน ว่าไม่ได้ดั่งใจ ผัสสะของแต่ละตนก็ออกมา เราเองก็ต้องตั้งศีลทำตัวอย่างให้เขาเห็นว่าเราเป็นที่พึ่งให้แก่เขาได้ ไม่วอกแวกต่อเหตุการณ์ใดๆแม้เขาจะเเสดงความแววไวออกมา ทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทำไมอาจารย์หมอเขียวถึงบริหารจัดการองค์กรแพทย์วิถีธรรมในจิตอาสาหมู่มากได้ผล เพราะเราทุกคนต้องมีศีลนั่นเอง ศีลนี่เองคือข้อบังคับจิตใจตนเอง ไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน และป้องกันตัวเราด้วย
ส่วนมรรคนั้นคือ การน้อมนำเอาศีลมาคุ้มครองตนเองและผู้อื่น ตั้งใจจะพิจารณาเขา ด้วยการมีเมตตา อุเบกขาอย่างเป็นธรรม จะไม่ท้อ ด้วยการตั้งศีลให้สูงขึ้น ด้วยธรรมะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสว่า มรรคมีองค์แปด และอาจารย์ย้ำทุกครั้งว่า ผู้ที่ไม่หวั่นไหวและสามารถต่อสู้กับกิเลสได้ต้องมีมรรคแปด
คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตโดยชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบและ ตั้งจิตมั่นโดยชอบ
เรื่อง :- อยากลืม กลับจำ อยากจำ กลับลืม จากเหตุการณ์ฝังอก ฝังใจ เรื่องเก่าๆในอดีตที่
ผ่านมา (คุ้นๆ กับเพลงไพเราะในอดีตขื่อเพลง อยากลืมกลับจำ ของคณะ ฮ๊อท
เป๊ปเปอร์) ในปัจจุบันได้ทำการกระเทาะออกไปได้มากแล้ว และอีกไม่นานคงสกัดออก
ไปจนหมดสิ้นให้ได้
อริยสัจ 4 :-
1-ทุกข์ คือ ทุกข์ใจที่คิดถึงแต่เรื่อง อัตตา กิเลส กาม ตัณหา ราคะ จากเหตุการณ์เก่าๆ
ในอดีตที่ผ่านมา และ ได้ตั้งศีลไว้ว่า ต้องเลิก คิด คำนึง ความฝังใจถึง
เหตุการณ์เก่าๆในอดีตที่ผ่านมาให้ได้
2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ ความอ่อนแอในสภาวะของจิตใจ ความคิด
ที่ยังฝังอก ฝังใจ และ ตัดใจไม่ได้จากความลุ่มหลงมัวเมาในรสชาติของสุข
ลวงทุกข์แท้ของกามรมณ์ ความหมกมุ่นใน กาม กิเลส ตัณหา ราคะ กับผู้ที่
เราเคยมีความสัมพันธ์ร่วมกันในอดีตที่ผ่านมา
3. นิโรธ คือ ได้พยายามที่จะตั้งความหวังไว้ว่าจะต้องตัดใจให้หลุดพ้นจากเรื่อง อัตตา กิเลส
กาม ตัณหา ราคะ เก่าๆที่ผ่านมาในอดีต ไม่คิดถึงให้ได้
4. มรรค 8 คือ ที่เป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ หรือ วิธีการดับทุกข์ใจ ทุกข์ใจที่คิดถึงแต่เรื่อง
อัตตา กิเลส กาม ตัณหา ราคะ จากเหตุการณ์เก่าๆ ทั้งปวงนั้นมีอยู่ 8 ประการ
นั่นเองประกอบด้วย :-
……….1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจที่ถูกตรงนั้นว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นได้ผ่านพ้นกาลเวลา
มานานแล้ว และไม่อาจหวนกลับคืนไปกระทำการใดๆได้ หรือ แก้ไขอะไรได้อีกต่อไป
ตัดใจ วางใจ จากเรื่องต่างๆในอดีต แม้จะมีความลำบาก ยากเย็น แสนสาหัสเพียงไร
ก็ตาม ต้องพยายามต่อไปให้ได้
……….2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกตรงว่า เรื่องต่างๆที่ผ่านพ้นมาแล้วนั้น เป็น
การผ่านพ้นจากเหตุการณ์ในอดีตและไม่อาจที่จะกลับมาสู่ในเวลาปัจจุบันนี้ได้
อย่างเด็ดขาด
……….3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกตรง แม้จะเป็นการพูดหรือปรารภกับตัวของเราเอง
ก็ตาม ก็ต้องพูดคำนึงถึงแต่ในสิ่งที่สมควรจะพูด คำนึงถึงแต่ในเรื่องดีๆ สิ่งที่ดีๆ
ในอดีตที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราเอง ก็ทำให้จิตใจของเรา คำนึงแต่ในด้านที่
ที่ดีๆเท่านั้น อีกทั้งคำนึงคำพูดที่กล่าวกับคนอื่นๆที่เหมาะสม ไม่พลอดพล่ำ ลำพัน
……….4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกตรง ที่ไม่ให้ตัวของเราเองหมกมุ่นแต่สิ่งที่
เป็นอัตตา กาม กิเลส ตัณหา ราคะ ที่เป็นไปไม่ได้ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อเป็นการ
ป้องกันมิให้ตัวของเรากระทำในสิ่งที่ไม่ดีเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมาแล้ว
……….5. สัมมาอาชีวะ คือ การตั้งมั่นดำรงชีพที่ถูกตรงในปัจจุบัน ด้วยการตั้งมั่นกระทำ
แต่การงานที่ดีให้มากๆยิ่งๆขึ้นไป เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อตัวของเราเอง และผู้อื่น
ในสังคม
……….6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรที่ถูกตรง ด้วยการไม่ลดละที่กระทำตัวให้เกิด
ความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนกับตัวเองและสังคม ด้วยความตั้งมั่นอยู่ในศีลที่ถูกตรง
ตลอดไปให้ได้
……….7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกตรง ด้วยการประคับ ประคองความรู้สึก จิตใจ
ให้ใฝ่ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คุณครู อาจารย์ เพื่อมิให้ตัวของเราเอง
คิดออกนอกลู่ นอกทาง หรือ ไม่ให้คิดในสิ่งเป็นไปไม่ได้ อีกต่อไป
……….8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นให้ถูกตรง ที่จะต้องพยายามกระทำตัวให้อยู่ใน
ทางที่ดี ตั้งใจมั่น ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ให้มั่นคง เพื่อประโยชน์สุขของตัว
เองและเพื่อช่วยเหลือคนอื่นๆที่ศรัทธาให้พ้นจากทุกข์ ในโอกาสต่อๆไป
การปรับสภาวธรรม ตั้งมั่นในจิตใจให้ได้ว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา แม้จะนานสัก
เพียงไรก็ตาม เป็นเพียงแค่เหตุการณ์ภายนอก เท่ากับฝุ่นที่ปลายเล็บเท่านั้น
แต่หากตัวของเราทำให้เกิดเป็นความทุกข์ที่ใจ ก็จะกลายเป็นว่า ตัวของเราสร้าง
ความทุกข์ให้เกิดในใจของเราเอง ก็จะกลายเป็นสร้างความทุกข์ให้เกิดทั้งแผ่นดิน
ซึ่งจะทำให้โอกาสในภายหน้าแก้ไขได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก อันเป็นการสุขลวง ทุกข์แท้
ดังนั้นจึงต้องขจัดออกไปจากใจของเราให้ได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โศลกธรรมของท่านอาจารย์ที่ว่า
“สุขจากกิเลส คือ ทุกข์ที่บรรเทาชั่วคราว
เหมือนได้เกาขี้กลาก
บวกวิบากร้ายไม่สิ้นสุด เลิกซะ”
สาธุ ครับผม
การบ้าน อริยสัจ 4
การย้ายบ้านจาก อิลลินอยส์ ไป ฟลอริดา เมื่อเดิอนสิงหาคมที่ผ่านมา เราอยู่ มาตั้งแต่ 1974 พอช่วงนี้ อายุมากขึ้น รู้สึกว่า ทรมานเกินไปในฤดูหนาว การดูแลรักษาบ้าน สนาม ต้นไม้ใบหญ้า ลำบากเกินไป โดยเฉพาะ การตัดหญ้า และโกยหิมะ จึงมาซื้อ townhome แทน
ลูกสาวที่อยู่ San Diego California ไม่เห็นด้วย เขาไม่ชอบฟลอริดา และเห็นว่า Covid 19 ที่นี่มีอยู่มาก
ทุกข์. ขัดแย้งกับลูกสาว ความเห็นไม่ตรงกัน
สมุทัย. ไม่สบายใจเวลาคุยกับเขา กังวลไม่อยากให้เขาเครียดเพราะเรา
นิโรธ… เอาใจเขา มาใส่ใจเรา เขาทำเช่นนี้ เพราะเขารักเรา เห็นว่าเราอายุมาก ทางอาชีพ เขาเป็นแพทย์ พบกับโรคภัย รวมทั้ง Covid 19 อยู่ตลอดเวลา
มรรค… เมื่อความเห็นเราตั้งให้ถูกต้องเป็นสัมมาทิษฐิแล้ว ก็พยายาม ใช้สัมมาวาจา พูดกับเขาดีๆ บอกเขาว่าเราระวังตัว ไม่ได้ออกไปไหนมาก ส่งรูปเราเดินชายหาด ที่สวยงาม และไม่มีผู้คน ให้เขาสบายใจ
ขณะนี้ เขาวางใจได้ดีแล้ว พูดกันคุยกันตามปกติ
ทุกข์ เพราะห่วงเพื่อน
สมุทัย ไม่ชอบที่จะให้เพื่อนบังคับลูกของเขาเพราะลูกเขากำลังเป็นวัยรุ่น เด็กวัยรุ่นควรจะพูดคุยกับเขาด้วยเหตุผลไม่ใช่บังคับโดยใช้สิทธิ์ที่ตนเองเป็นแม่บังคับลูก ชอบที่จะให้เพื่อนเข้าใจลูกและคุยกับลูกของเขาด้วยเหตุผล
นิโรธ ไม่ชอบไม่ชัง หากเพื่อนเขาจะสอนลูกของเขาโดยคุยด้วย เหตุผล หรือ บังคับ ก็ได้
มรรค ตั้งสติพิจารณากับสิ่งที่เกิดกับเพื่อนคืออะไร? พิจารณาไปสักระยะหนึ่งจึงพบว่า สิ่งที่ครอบครัวของเพื่อนกำลังได้รับ ณ เวลานี้ถึอว่าเป็นวิบากกรรมของครอบครัวเพื่อน เพราะไม่มีสิ่งใดที่เขาได้รับโดยไม่ได้ทำมา พอข้าพเจ้าคิดได้แบบนี้ใจก็เบา ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากกรรมให้ออกผล เพราะไม่มีใครสามารถยื่นมือเข้าไปช่วยได้ ถึงเวลาที่วิบากกรรมของครอบครัวนี้หมด แล้วสิงดีๆ ก็คงจะเกิดขึ้น
ขอเป็นกำลังใจขอให้เพื่อนคิดดีได้เร็วๆ นะคะเพื่อน
สาธุ
ยอมแพ้
ทุกข์- ความไม่สบายใจ ไม่พอใจ คับแค้นใจ น้อยใจที่เกิดขึ้น กับ จากผัสสะ ที่เกิดขึ้นจาก แม่สามี เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมา 18 ปีกว่า รุนแรงมากขึ้น ตอนเค้าย้ายมาอยู่ที่บ้าน เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา เพราะมาช่วยดูแลสามีที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เรามีความรู้สึกเหมือน ตัวเป็น third class citizen ไม่รู้สึก สบายใจ เหมือนอยู่บ้านตัวเอง ไม่ชอบ พฤติกรรมหลายๆ อย่างของเค้า
สมุทัย- เรายึดมั่นใน อัตตา ของเรา
นิโรธ- ความทุกข์ ความกดดัน ที่เกิด มากบ้าง น้อยบ้าง ไปตามสถานการณ์ แต่ไม่เคยสลายไป เราเกิดความรู้สึก เหนื่อยล้า เหมือนต่อสู้ กับ “เค้า” อยู่ฝ่ายเดียว โดยไม่มีวันชนะ โดยที่”เค้า” ไม่ได้มารู้เรื่อง หรือ เกี่ยวข้อง อะไรกับ เราเลย ….แล้วอยู่มาวันหนึ่ง… เรามองเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังต่อสู้ มันไม่มี “ตัวตน” เป็นเพียงแค่ “เงา”. แล้วก็เข้าใจว่า แล้วเราจะชนะได้ยังไง ในเมื่อ เราต่อสู้กับสิ่งไม่มีตัวตน
มรรค- หลังจากนั้น … เราเลยได้คำตอบว่า… ยอม..ยอม.. และ ยอม. จิตของเราเบาขึ้นมาทันทีที่เจอคำตอบนี้
จนถึงเวลานี้.. เรายังต้องฝึกฝน ล้างอัตตานี้ ให้มาก ยิ่งขึ้น เป็นเพราะเรายัง ล้างอัตตานร้ไม่หมดโดยสิ้นเชิง มันจึงแวะเวียนมาอีก เป็นครั้งคราว เพราะ ผัสสะ เข้ามากระทบทุกวัน วันนี้ ได้อาวุธดี ที่ชื่อว่า สัปปุริสธรรม 7 มหาประเทศ 4 มาช่วยประมาณ ว่า เราควรยอม แค่ไหน ให้ผลที่ได้ เหมาะควร และเป็นประโยชน์สูงสุด
1. ชื่อเรื่อง ไม่ชอบอากาศหนาว
2. เนื้อเรื่องย่อ ตอนนี้ผมอยู่นครพนม อากาศเริ่มหนาว รู้สึกว่าชีวิตมีความลำบากกว่าปกติครับ
3. ทุกข์ ไม่ชอบหน้าหนาว ทรมานเวลาอาบน้ำเย็น ทุกข์เวลาตื่นตอนเช้า กังวล กลัวจะเป็นหวัด
4. สมุทัย ชอบความสบาย ชอบอากาศกำลังพอดี ชอบอาบน้ำไม่เย็น ชอบตอนที่ร่างกายปกติดี
5. นิโรธ อากาศร้อนอากาศเย็นก็ไม่ทุกข์ เป็นหวัดหรือไม่เป็นหวัดก็ไม่ต้องทุกข์
6. มรรค พยายามดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้ากับหน้าหนาว อาบน้ำเร็วขึ้นหรือหากไม่ทันอากาศหนาวก็ต้มน้ำอาบ เวลาตื่นเช้าก็เตรียมเสื้อกันหนาวไว้ ดูแลสุขภาพให้ดีที่สุด แล้วปล่อยวาง วางใจ อะไรจะเกิดก็ไม่เป็นไร เราทำดีที่สุดแล้วก็เป็นวิบากของเรา ถ้าหากต้องเป็นหวัด เราก็ได้ใช้วิบากร้าย ที่เราเคยทำผิดศีลมา ทำดีให้เต็มที่ หนาวก็ทำได้ ร้อนก็ทำได้ครับ สาธุครับ
อริยสัจ๔ เรื่องย่อ ไม่ชอบเรื่องกับฟ้องร้อง
ซื้อตั๋วเครื่องบินแล้ว แต่มีเรื่องโควิทเข้ามาด้วย และสายการบินไปต่อไม่ได้ พ่อบ้านทวงถามไปทางสายการบินว่าจะอย่างไร รอแล้วรอเล่านานหลายเดือน ทางสายการบินตอบกลับมาให้ ติดต่อไปทางบริษัทขายตั๋ว พ่อบ้านทวงถามขอเงินคืน ก็ไม่มีคำตอบ วันจันทร์ที่ผ่านมามี มีอีเมล์มา พ่อบ้านให้ช่วยอ่านหน่อยซิ ก็อ่านมาจากกรมบังคับคดี เราอ่านก็ไม่เข้าใจทั้งหมดง่วงด้วยจึงเข้านอน พ่อบ้านกับลูกชาย จึงแปลกันเอง แต่ก็หาเอกสารที่ท่านต้องการให้ รุ่งขึ้นถึงเข้าใจว่าพ่อลูก กรอกเอกสารอะไรเห็นใจตัวเองไม่ชอบ เรื่องการฟ้องร้องเพราะมันเสียเวลา.และเราเตรียมทำใจตั้งแต่แรก ที่รู้ว่าสายการบินไปต่อไม่ได้ คงจะไม่ได้เงินคืน แต่คุณพ่อบ้านและลูกชายคิดต่างจากเรา มันเป็นสิทธิ์ของเราได้ไม่ได้ค่อยว่ากันเราก็พยายามยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะเซ้งกิจการร้านค้าต่อจากเจ้าของเก่า ที่เขามีหนี้ทิ้งไว้ คุณจะรับใช้หนื้ต่อมั้ย ท่านบอกว่าไม่เหมือนกัน .
และเรื่องมันก็ไปไกลแล้ว ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป.
ทุกข์:เพราะไม่อยากให้คุณพ่อบ้านทำฟ้องร้อง
สมุทัย: ไม่ชอบการต่อสู้แบบนี้เพราะมันเสียเวลาเสียเงิน เครียด และเสียพลังงาน
นิโรธ:ไม่ชอบ ไม่ชัง จะฟ้องก็ไม่ฟ้องก็ได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ.
มรรค: พิจารณา ถามใจตัวเองว่าทำไม ไม่ชอบความฝังในหัว ขึ้นโรงขึ้นศาลไม่ดี เสียเงิน เสียเวลาและคิดว่าไม่คุ้มยอมเสียดีกว่าและเห็นใจ สายการบินคงไม่ต้องการอยากให้เกิดเรื่องเช่นนี้ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณพ่อบ้านถ้าอะไรที่เป็นสิทธิ์ที่ควรจะได้ ท่านจะไม่ยอม อย่าว่าแต่เงินพันยูโรเลย แม้ 1ยูโร ท่านก็ไม่ยอม และก็เข้าใจคุณพ่อบ้านด้วยท่านมีสิทธิ์ที่สมควรทำ. และเรื่องปรกติธรรมดาของคนที่นี่ . คิดย้อนไปหลายปีก่อน ทำงานโรงงานเกือบๆจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำทาง บริษัทเลิกจ้างพร้อมกับเพื่อนๆร่วมงานหลายสิบคน เหตุผล คือไม่มีงานให้ทำ คุณพ่อบ้านยื่นเรื่องไปสหภาพแรงงาน ๆส่งทนายมาช่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ซึ่งเพื่อนร่วมงานหลายคน ถามว่า เธอบ้าหรือเปล่า เป็นไปไม่ได้ไม่ทางชนะ ทุกคนยอมหมด ซึ่งทางบริษัทก็คิดไม่ถึง เพราะไม่เคยมีใครฟ้องร้องเลย และศาลตัดสินสั่งให้ทางบริษัทจ่ายค่าชดเชยให้. ครั้งนี้คุณพ่อบ้านก็คิดเช่นนั้น ซึ่งเราก็พยายามคุยกับท่านๆก็บอกว่าลองดูไม่เสียอะไร และพิจารณาซ้ำๆ เรามีวิบากดีร้ายร่วมกันเราทำมาแน่ ๆเราเคยส่งเสริมมาแน่ๆ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา โชคดีที่ได้ใช้หนี้ ที่เราทำมา รับแล้วก็หมดไปด้วยใจเบิกบาน.กราบสาธุค่ะ.
ทุกข์ อยากกินข้าวเย็น. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ถ้าได้กินข้าวเย็นจะสุขใจ ถ้าไม่ได้กินข้าวเย็นจะทุกข์ใจ. นิโรธ ได้กินข้าวเย็นหรือไม่ได้กินก็สุขใจ. มรรค ได้ต่อรองกับกิเลสว่าไปหน้าเวทีเพื่อทำกิจกรรมกับเพื่อนก่อน ทำเสร็จค่อยมากิน พอทำกิจกรรมเสร็จก็ไม่หิวจึงไม่ต้องกิน จึงรู้ว่าหิวไม่เที่ยงกิเลสลวงเรา พอเอาชนะกิเลสได้ก็เป็นสุขใจ
เรื่อง:ชอบความเหนียว
เนื้อเรื่อง:ไปซื้อของร้านค้าที่โรงพยาบาล ไปเห็นเห็ดทอด ด้วยความชอบซื้อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาเลย กลับมาห้องพักมากินกับข้าวเปล่าจิ้มด้วยน้ำปรุงน้ำมะขาม ขณะกินก็สังเกตว่าชอบเห็ดทอดหรือน้ำจิ้ม ผลก็คือเราชอบน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมของเปรี้ยวหวานแล้วนำมาเคี้ยวจนเกิดความเหนียวทำให้กินข้าวไม่หยุด ในตอนนั้นยังไม่ได้พิจารณาเพราะหลงอร่อยจนสู้ไม่ได้ เมื่อกินเสร็จความอยากก็หายไป(กิเลสพักยก) อีก1วันต่อมาก็มีอาการเจ็บป่วยเป็นเริมในร่มผ้าและคันหู ซึ่งวันต่อมาก็มีอยากกินเกี๊ยวทอด ข้าพเจ้าก็ทอดกินอีก ผลก็คืออาการเป็นเริมก็ยังไม่หาย หูก็ยังคันเหมือนเดิม และเริ่มมีความรู้สึกทุกข์ขึ้นมาใหม่อีก
ทุกข์:กลัวไม่ได้กินเห็ดทอด
สมุทัย:(เหตุแห่งทุกข์) ไม่ชอบถ้ากินเห็ดทอดแล้วมีอาการเป็นเริ่มและคันหู ชอบถ้ากินเห็ดทอดแล้วไม่เกิดอาการดังกล่าว
นิโรธ:(สภาพดับทุกข์)จะได้กินเห็ดทอดหรือไม่ได้กินเห็ดทอดก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค:(วิธีดับทุกข์)พิจารณาโทษของความชอบชังว่า ถ้าชอบจะมีความกลัวว่าจะไม่ได้มาเมื่อได้มาแล้วกลัวมันจะหมดไปมันเสียพลัง ทำให้เกิดความทุกข์ใจ เป็นบาปเป็นแรงเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นทำตามเป็นวิบากร้ายเกิดสิ่งไม่ดีกับเรา
แก้ไขการบ้านสัปดาห์ที่แล้ว
เพื่อนถูกทำให้เข้าใจเราผิด
เส้นทางของการเดินที่เลือกว่าจะคบคุ้นกับหมูมิตรดีที่มีศีลเพื่อเป็นเกราะคุ้มกันจากโลกธรรม
ครั้นพอเกิดเหตุการณ์ที่มีผัสสะ มาทดสอบความจริงที่ว่าแม้เราจะคาดหวังแบบนั้น แต่ก็ไม่มีหมู่ไหนที่ไม่พร่อง เรายังต้องใช้วิบากดีร้ายยามเจอสถานการณ์ต่างๆเพื่อลดละเลิกกิเลสได้มาล้างที่ใจเราก่อน เช่นในยามที่เราถูกทำให้เข้าใจผิดในหมู่มิตรดี แม้เราจะไม่ได้ทุกข์ตาม แต่ก็ยังเจอกิเลสตัวห่วงใย ตัวเห็นใจ ตัวเป็นห่วง ก็พยามยายามช่วยให้เพื่อนเข้าใจเหตุแห่งทุกข์แล้วล้างใจไปตามลำดับ
ทุกข์ :เห็นใจเพื่อนไม่อยากให้เพื่อนทุกข์
สมุทัย : ไม่อยากให้เพื่อนเกิดความทุกข์ ที่ไปเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวเองทุกข์
นิโรธ : ตั้งจิตว่า ไม่ว่าเพื่อนจะทุกข์ใจหรือไม่ก็ตาม เราก็ยินดีน้อมรับ
มรรค : โทษ ของความทุกข์ใจที่เราไปห่วงใย ไม่อยากให้เขามีความทุกข์ใจเลย เราก็จะมีความทุกข์ใจซ้ำแล้วซำ้เล่าถ้าเรายังมีความห่วงใย ทำให้เรายังผูกพันล้างกิเลสไม่ได้
ประโยชน์ – คือถ้าเราล้างใจของเราได้ เราจะเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ไม่ทุกข์ตามเพื่อน เปลี่ยนความห่วงใย เป็นความปรารถนาดี ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น.
อยากปิดงบการเงินให้เสร็จ
เดือนตุลาคม เป็นเดือนที่ต้องทำงบการเงินส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และอีกหลายๆที่ และที่สำคัญปีงบประมาณ 2564 เป็นการบันทึกบัญชีในรูปแบบใหม่ คือเรายังไม่ได้อบรม ตอนจะทำงานก็ต้องกางตำรา และโทรถามท่านที่อยูุ่ใกล้เคียงกับสำนักงานของเรา งานเก่าก็ยังไม่เรียบร้อย งานใหม่ก็ต้องเรียนรูุ้ แบบงงๆ
ทุกข์ มีความรีบร้อนอยากจะทำงบส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และส่วนที่เกี่ยวข้อง
สมุทัย ถ้าปิดงบเรียบร้อยจะสุขใจ ถ้ายังปิดงบไม่เสร็จก็ทุกข์ใจ
นิโรธ จะปิดงบได้เร็วหรือช้า ก็สุขใจ
มรรค ลงมือทำงานไปที่ละอย่าง จัดลำดับความสำคัญว่าอันไหนควรทำก่อน ทำหลัง ขณะทำก็ทำในใจว่า งานจะเสร็จก็ได้ ไม่เสร็จก็ได้ ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือความสำเร็จของงาน ตอนนี้ยังไม่เสร็จ ถ้าเราทำไปเรื่อยๆมันก็เสร็จไปทุกขณะแล้วนี้ จะทุกข์ไปทำไม ไม่ต้องรองานเสร็จแล้วถึงมีความสุข ก็สุขใจไปทุกขณะที่ทำงานอยุ่ จริงๆ มันก็เสร็จไปทุกขณะ แต่มันยังไม่เสร็จทั้งหมด อย่าโลภ ยินดี พอใจ สิ่งที่ทำได้ไปวันละน้อยๆ ค่อยๆ ทำ ถ้าเรายังอยากให้เสร็จดั่งใจหมายมันก็จะเป็นทุกข์ เป็นความคิดของมาร เป็นความคิดที่เบียดเบียนตนเอง และยังเป็นแรงเหนี่ยวนำให้ผุ้อื่นทำตามอีก เป็นวิบากร้าย มีแต่โทษ มีแต่ทุกข์ เราเปลี่ยนความคิดมาเป็นพุทธดีกว่า มีแต่สุข สบายใจ
เพื่อนชื่อ ก มาเล่าให้ฟังว่าเพื่อนชื่อ ข เขาไม่ค่อยฟังความคิดเห็นของูกสาวเขา มักจะสอนลูกแบบบังคับให้ทำตามใจตนเองไม่ค่อยยอมฟังความคิดเห็นลูก จนลูกสาวกลายเป็นเด็กกร้าวร้าว ไม่เคารพพ่อแม่และผู้ใหญ่ ทำให้ข้าพเจ้าเป็นห่วงลูกสาวของเพื่อน เกรงว่าเขาจะเป็นเด็กที่มีปัญหาซึ่งอาจจะเป็นปัญหาของสังคมในอนาคตข้างหน้า
ทุกข์ เพราะไม่ชอบที่เพื่อนที่เลี้ยงลูกแบบบังคับ
(แก้การบ้านของวันที่ 10.10.2020เรื่องห่วงเพื่อน)
สมุทัย อยากจะให้เพื่อนเข้าใจลูก อยากให้เพื่อนเลี้ยงลูกโดยใช้เหตุผลให้มากกว่านี้ ไม่ชอบที่เพื่อนเลี้ยงลูกแบบไม่ฟังความคิดเห็นของลูก
นิโรธ เพื่อนเขาจะเลี้ยงลูกแบบไหนก็ได้ ข้าพเจ้าก็จะไม่ชอบ ไม่ชัง ถึอว่าเป็นเรื่องของเขา ลูกของเขา
เขาจะสอนหรือเลี้ยงอย่างไรก็ได้
มรรค เมื่อพิจารณาแล้วก็พบว่า เพื่อนเขาจะเลี้ยงลูกอย่างไรก็ได้ข้าพเจ้าก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการเป็นทุกข์ก็คือการเบียดเบียนตัวเองผิดศีลข้อ 1 ลูกก็เป็นลูกของเขา ลูกเขาจะดีหรือร้ายก็แล้วแต่วิบากกรรมของเขา หรือถึงแม้นเขาจะเป็นเด็กที่เป็นปัญหาให้สังคมก็ต้องยอมรับว่านั่นเป็นวิบากรรมของสังคมนั้นๆ เอง
อริยสัจ4
ทุกข์ มีความทุกข์ใจเกี่ยวกับลูกๆ
สมุทัย ความทุกข์มีหลายสาเหตุ
ด้วยกันคือลูกชอบนอนดึก ทาน
อาหารเนื้อสัตว์และชอบปรุง
อาหารรสจัดมีความกลัวว่าลูกจะมี
โรคร้ายเพราะทุกวันนี้รอบตัวเรามี
โรคร้ายเกิดขึ้นกับญาติๆทั้งนั้น
นิโรธ ได้พิจารณาว่าเราทุกข์เพราะเรา
กลัวจึงบอกตัวเองว่าจะกลัวไป
ทำไมอะไรจะเกิดก็ต้องเกิดเรา
ช่วยเหลือแนะนำเท่าที่เราทำได้
ถ้ามันจะเกิดก็คิดว่าเป็นวิบาก
กรรมเขาวิบากกรรมเราถ้าเรา
ทุกข์ใจมากโรคร้ายก็จะกลับมา
อีกซึ่งเป็นการสร้างความทุกข์ให้
ตนและลูกๆ เป็นการเบียดเบียน
เขาและเบียดเบียนเราเอง จะมี
วิบากหนักต้องวางใจให้ได้
มรรค เริ่มช่วยเหลือลูกด้วยการแนะนำ
ให้กินอาหารสุขภาพ ทำอาหาร
สุขภาพให้ทาน สนทนาธรรมและ
สอดแทรกธรรมะในสถานะการณ์
ต่างๆเท่าที่ทำได้ แนะนำให้ลูกๆ
ฝึกฝึนการเดินมรรค ทางเอกสาย
เดียวที่ทำให้พ้นทุกข์ คือ คิดดี
พูดดี ทำดี ในทุกอริยบถให้ได้
มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
หลังจากได้พิจารณาและได้ปฏิบัติปล่อยวางทำให้ความทุกข์ใจน้อยลงไปเรื่อยๆ
ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ4
เรื่อง มาบำเพ็ญที่ภูผาฟ้าน้ำ
ทุกข์. อยากให้พี่สาวได้อยู่ต่อบำเพ็ญตอนหลังค่ายพระไตรปิฎกด้วยกัน
สมุทัย. ถ้าพี่สาวไม่ได้อยู่ต่อก็รู้สึกไม่ได้ดั่งใจไม่ชอบใจ ถ้าพี่สาวได้อยู่บำเพ็ญด้วยกันจะชอบใจจะสุขใจ
นิโรธ. ทำใจวางความยึดมั่นถือมั่นพี่จะได้อยู่ต่อก็สุขใจไม่ได้อยู่ต่อก็สุขใจ
มรรค. ล้างความยึดมั่นถือมั่นความอยากให้เป็นอยากให้ได้ดั่งใจเราล้างความยึดในความสัมพันธ์ความผูกพันธุ์ของความเป็นพี่น้องกัน พิจารณาโทษของความยึดมั่นถือมั่นของความของความอยากที่ทำให้ทุกข์ใจ พิจารณาประโยชน์ของการพรากต้องอยู่ห่างกันทำให้เราเข็มแข็งขึ้นทั้งกายใจ คิดว่าแม้ไม่ได้อยู่บำเพ็ญด้วยกันถ้าเราปฏิบัติตัวทำตามคำสอนของอาจารย์ก็เหมือนได้อยู่ด้วยกัน อยู่ที่ไหนก็บำเพ็ญได้ทุกที่เมื่อใจเรายินดีพอใจไร้กังวลและผาสุก
เมื่อเราทำดีเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่ ไม่มีอะไรคาใจ ไม่เอาอะไร คือสุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส
ที่เหลือก็เพิ่มศีลขึ้นเรื่อยๆเพื่อจะได้ดันวิบากที่ยังปิดกั้นการบำเพ็ญที่ให้ได้อยู่บำเพ็ญด้วยกันในเวลาที่ยาวขึ้นค่ะ
ทุกข์ ถูกห้ามทำเปอร์มาคับเจอร์จากประธานสมาคมสวนงานอดิเรก
เนื้อเรื่องย่อ ดิฉันเช่าสวนเล็กๆขนาด 3 คูณ 3เมตร เพื่อเป็นที่ฝึกทำกสิกรรมไร้สารพิษ ปีนี้ได้ทำการทดลองทำแปลงเปอร์มาคัลเจอร์ ได้เก็บเศษกิ่งไม้ ใบไม้ เตรียมไว้ แล้วขุดหลุม วันแรกทำได้ครึ่งแปลง และวันต่อมาได้เก็บไบไม้ กิ่งไม้ มาไว้ที่สวนเพื่อจะทำอีกส่วนหนึ่ง ประธานสมาคมสวนงานอดิเรกได้มาสั่งห้ามไม่ให้ทำอีก และให้เก็บกิ่งไม้ทั้งหมดออกจากสวน ด้วยเหตุผลว่าไม้กว่าจะเปื่อย จะย่อยใช้เวลานานสิบหรือยี่สิบปี ซึ่งนั้นคือจุดประสงค์ของการทำเปอร์มาคัลเจอร์แต่เขายืนยันว่าไม่ให้ทำ เพราะพื้นที่สวนของสมาคมมีน้อยและเขาต้องการให้สวนเป็นสวนที่สวย สะอาด เป็นระเบียบ
สมุทัย เกิดความไม่พอใจที่ถูกห้าม เกิดไม่พอใจที่ไม่ได้ทำเปอร์มาคัลเจอร์ เกิดความเสียใจไม่ได้ทดลองการทำเปอร์มาคัลเจอร์ เพราะกำลังทำอย่างเบิกบานและมีความสุข
นิโรธ มีสภาพจิตใจที่ยินดีเบิกบานผาสุกแม้จะไม่ได้ทำเปอร์มาคัลเจอร์ที่สวนน้อยนั้น
มรรค ตั้งสัมมาทิฎฐิว่าการถูกห้ามทำเปอร์มาคัลเจอร์ที่สมาคมสวนเป็นการวัดความยึดมั่นถือมั่นในงานของเรา ที่เขามาห้ามก็เท่ากับเขามาเป็นนาตาลีเทพชี้ให้เราเห็นว่าเรายึดมากน้อยแค่ใหน การไม่ได้ทำเปอร์มาคัลเจอร์เต็มพื้นที่เป็นการดีเพราะเราจะได้เปรียบเทียบให้เห็นระหว่างแปลงที่ทำและแปลงที่ไมได้ทำ ให้เรามีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่น
ไม่อยากได้(ชัง)คำตำหนิ ตั้งแต่มีโอกาสได้มาร่วมบำเพ็ญอยู่กับพี่น้องจิตอาสาและท่านอ.หมอเขียวที่ภูผาฟ้าน้ำร่วมแปดเดือนที่ผ่านมา ก็พากเพียรทำงานทั้งงานนอกงานในเต็มที่เต็มกำลังตามความถนัดและฐานจิตของตัวเองด้วยใจที่เบิกบาน ด้วยความยินดีมีฉันทะมาตลอด ซึ่งงานที่ทำส่วนมากคือฐานกสิกรรมเพราะถนัด ก็ตั้งใจทุ่มโถมบำเพ็ญฐานงานทุกวันโดยไม่ได้คิดอะไร คิดและเข้าใจมาตลอดว่าตัวเองไม่หวังและไม่เอาอะไรจากการที่ได้มาบำเพ็ญทำงานฟรีร่วมกับอาจารย์และหมู่มิตรดีที่นี่ด้วยความเต็มใจ คิดว่าตัวเองให้และไม่หวังอะไรตอบแทนจากใครได้แล้ว จนวันหนึ่งหลังจากที่เราปลูก ปลูก และปลูกทุกอย่างให้เยอะที่สุดก่อนจะหมดหน้าฝนตามที่ท่านอาจารย์ดำริ โดยที่เราปลูกแบบไม่ได้เตรียมดินด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุในแปลงก่อนปลูก ตอนหลังอาจารย์จึงออกหลักการทำกสิกรรมไร้สารพิษออกมา 5 ข้อคือ อย่าขี้เกียจ อย่าใจร้อน อย่าโลภ พอประมาณ และแบ่งปัน มันรู้สึกน้อยใจลึกๆความรู้สึกเหมือนถูกอาจารย์ตำหนิยังไงไม่รู้ น้อยใจจนรู้สึกไม่อยากทำต่อ(คนโง่ จะฉลาดคิดให้ตัวเองทุกข์)มันทำให้เห็นถึงความจะเอาดีจากผู้อื่นของเรา คือไม่อยากได้คำตำหนิ เห็นอาการหมาขี้เรื้อน(น้อยใจ)และอิตถีภาวะในตัวเองชัดเลย นึกแล้วละอายใจ ทุกข์ คือรู้สึกน้อยใจ เหมือนถูกตำหนิ สมุทัย คือไม่ชอบ(ชัง)คำตำหนิ(คิดไปเอง) นิโรธ คือใจที่กลับมาแช่มชื่น มีฉ้นทะความยินดีที่จะพากเพียรบำเพ็ญต่อไป มรรค คือใช้ธรรมะที่อาจารย์สอนคือ คิดแล้วทุกข์คือคิดผิดเป็นกิเลส คิดใหม่ให้เป็นคิดแบบพุทธะ และทุกครั้งที่เกิดทุกข์ขึ้นที่ใจแสดงว่าเราทุศีลและยังมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ ตรวจดูทุกแง่ทุกมุมแล้วล้างออกด้วยการเพิ่มศีล คิดให้ถูกตรง
อยากฟังธรรมะให้ครบ
ปกติช่วงค่ายพระไตรปิฎกจะตั้งใจฟังธรรมะจาก อ.หมอเขียวต่อเนื่องแต่ในครั้งนี้มีเหตุที่ทำให้นอนดึก ตื่นฟังไม่ไหว มาฟังย้อนหลังก็ฟังได้ไม่หมด ช่วงกลางวันมีทั้งงานส่วนตัวและมีช่วงการประชุมอีก ทำให้ไม่สามารถตามฟังเนื้อหาได้ครบ
ทุกข์ : อยากฟังธรรมะในค่ายพระไตรปิฎกให้ครบ
สมุทัย : ไปยึดว่าจะต้องได้ฟังธรรมะที่ อ.หมอเขียวได้บรรยายในช่วงค่ายพระไตรปิฎก เป็นธรรมะสดใหม่ควรจะได้ฟังทันที เดี๋ยวจะตกเนื้อหาสาระไป แล้วพอผ่านไปก็อาจจะมีเรื่องอื่นเข้ามาอีก ทำให้ตกหล่นเนื้อหาในค่ายพระไตรปิฎกไป
นิโรธ : การได้ฟังธรรมะเป็นสิ่งดี จะได้ฟังครบก็ได้ ไม่ครบถ้วนก็ได้แต่ใจที่ยึดว่าจะต้องได้ฟังนั้นไม่ดีทำให้ทุกข์
มรรค : พิจารณาประโยชน์ของการฟังธรรมะ เพิ่มฉันทะในการฟังธรรมะ ตั้งเป้าไว้ว่าจะฟังให้ครบนั้นดีแล้ว แต่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นที่จะต้องฟัง ฟังธรรมะแล้วเป็นเหตุทำให้ทุกข์มันผิดทางแล้ว การปฏิบัติธรรมไม่ควรคิดให้ทุกข์ อะไรที่คิดให้ทุกข์แปลว่าผิดทางแล้ว ฟังได้เท่าไรก็เท่านั้น ก็เป็นส่วนที่เราจะได้รับ จะไปโลภเอามามากกว่านี้ไม่ได้ มันเกินจริงที่เราจะได้ ฟ้าเขายังไม่ให้เราได้ฟังก็คือยังไม่ถึงเวลา ได้ฟังเท่าไรก็เท่านั้น เท่าที่ได้ฟังก็มากพอตามความจริงที่เราควรได้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือไม่ว่าจะเกิดอะไรควรจะเบิกบานให้ได้
เรื่อง ลืมส่งของ
เมื่อต้นเดือนตุลาคม63 ได้สั่งซื้อของและได้จ่ายค่าของให้เป็นที่เรียบร้อย พร้อมกับได้พูดกำชับให้ส่งด่วนเลย ซึ่งปกติที่ผ่านมาไม่เกิน3วันก็จะไก้รับของทันที แต่ครั้งนี้เกิน3วันแล้ว ก็ยังไม่ได้รับ ได้โทรถามที่ร้าน ปรากฏว่าลืมส่ง โดยทางร้านได้กล่าวขอโทษ และรับปากว่าจะรีบส่งให้ด่วนเลย
ทุกข์ ไม่พอใจ
สมุทัย ใจร้อนเร่งผล ยึดอยากให้ร้านส่งของให้เร็วๆ ไม่พอใจที่ร้านส่งของให้ไม่ได้ดั่งใจ
นิโรธ ร้านจะส่งของตรงเวลาหรือไม่ เราก็พอใจ
มรรค ไม่เร่งผล อดทน รอคอย ให้อภัย ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา รับแล้วก็หมดไป ร้ายหมดไปก็จะเหลือแต่สิ่งดีๆ เรามีหน้าที่ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุด ที่เหลือปล่อยให้เป็นเรื่องวิบากดีร้ายของเราและโลกต่อไป
เรื่อง แก้ที่เรา
ในการเดินทางกลับจากภูผา พี่น้องร่วมเดินทางด้วยกันหลายท่านมีบางท่านที่ทำตัวไม่เหมาะสม ไม่เรียบร้อย คำพูดหลายๆ คำไม่สมควรพูด ไม่ค่อยฟังใครแม้กระทั่งผู้ใหญ่โดยเฉพาะช่วงที่รถตู้พักเติมน้ำมันจะรีบเร่งจนเกินเหตุ รีบขึ้นลงรถโดยไม่เห็นแก่ท่านอื่นๆจะเอาโน้นเอานี่เกือบตลอดการเดินทาง
ทุกข์:หงุดหงิด
สมุทัย:ยึดมั่นถือมั่นว่าเพื่อนต้องทำตัวเรียบร้อยพูดจาในสิ่งที่เหมาะสมไม่เร่งรีบ
นิโรธ:เพื่อนจะทำตัวดีหรือไม่ดี พูดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ได้ เราจะไม่หงุดหงิด
มรรค:ตั้งสติอยู่กับตัวเองไม่ถือสาเพราะสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ชาติใดชาติหนึ่งเราเป็นอย่างเขานี้แหละแล้วจะหงุดหงิดกับการกระทำของเขาได้อย่างไรต้องเมตตา อุเบกขาเพราะเราแก้ที่เขาไม่ได้จึงต้องมาแก้ที่ใจเราดีที่สุด
น้องสาวเป็นหนี้
รู้ว่าน้องสาวเป็นหนี้มาสองปีแล้ว และวันที่เราได้อยู่กันพร้อมหน้ากับครอบครัว พอดีเจ้าหนี้ก็แวะมาทวงหนี้ น้องสาวก็ไม่ยอมรับหน้ากับเจ้าหนี้ เราก็จึงไปรับหน้าแทนน้องสาวอีกครั้งนึง เราก็เลยได้ถามกับเจ้าหนี้ว่า หนี้อะไรยังไงเขาบอกว่าน้องสาวเป็นหนี้มานานแล้ว แอนก็เลยบอกเจ้าหนี้ว่าเราขอเวลาไปคุยกันน้องสาวก่อนได้มั้ยว่า จะช่วยกันได้เท่าไรอะไรยังไง หลังจากนั้นเจ้าหนี้เขาก็ยอมกลับไปแต่น้องไม่สามารถจะใช้หนี้คืนได้ รอให้น้องสาวแก้ปัญหาเอง เมื่อเจ้าหนี้มาตามทวงเงิน ทำให้แม่เป็นทุกข์ แต่ครั้งนี้เลยถามว่ามีหนี้เท่าไร จะได้ใช้หนี้คืนเขาไปให้หมด
ทุกข์ : กังวลที่น้องสาวไม่ยอมใช้หนี้
สมุทัย : เพราะน้องสาวจะไม่ยอมใช้หนี้เอง ใจเราก็เลยกังวลและกลัวว่าเราต้องมาใช้หนี้แทนน้องสาว เราก็เลยเป็นทุกข์
นิโรธ : (สภาพดับทุกข์ ) สุดท้ายแล้วเราจะใช้หนี้แทนน้องสาวก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ใจเราก็เป็นสุข เพราะเราก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น
มรรค : ตั้งศีลว่าจะไม่โกรธน้อง จากเหตุการณ์นี้ เราก็อธิบายและให้สภาวธรรมกับครอบครัวไป และทุกคนก็รู้สึกดีไม่ทุกข์ ส่วนเราก็สบายใจมากขึ้น.
ทำให้ใจเราคลายความกังวลไปได้ เพราะเราก็เคยเป็นเช่นนั้นมามากกว่านั้น จึงสามารถช่วยให้ทุกคนในครอบครัว รวมถึงเจ้าหนี้สบายใจได้ทุกฝ่าย จะเห็นได้ว่าถ้าเราวางใจไม่โกรธ ปัญหาทุกปัญหาก็จะคลี่คลายไปได้ด้วยดี ถ้าเป็นเมื่อก่อนอาจจะบานปลายไปมากกว่านี้ คงต้องมีเรื่องราวทะเลาะกันมากกว่านี้ค่ะ
ความผิดหวังของลูกสาว
ลูกสาวโตเต็มวัย ที่มีสังคมและวิถีชีวิตในเมืองใหญ่อย่างมิลาน ช่วยเหลือตัวเองในระดับนึง การเป็นนักกีฬารักบี้แบบเล่นเพื่อเล่นแล้วก็พัฒนามาเล่นเพื่อแข่งขัน ก็ถือว่าได้ฝึกความอดทน ความเจ็บปวดทางกายเพื่อวิ่งไปสู่เป้าหมายของเกมกีฬา มีแพ้มีชนะบ้างให้ได้รู้รสชาติของความผิดหวัง
แต่เรื่องทางใจก็ยังหวั่นไหวไปตามสุขทุกข์ที่เกิดขึ้น ฟังลูกเล่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วก็ขอนุญาตสรุป และเหนี่ยวนำจิตใจให้ ระลึกถึงความเป็นจริงที่ว่า แม้เราจะผิดหวังจากความรักที่ไปหวังว่าเพื่อนจะรักเราตอบ แต่ยังมี พ่อแม่ มีเพื่อน มีคนที่เห็นคุณค่าในตัวเราอยู่. เราต้องรักตัวเองหรือเห็นคุณค่าตนเองให้ได้ก่อน ความทุกข์ความเจ็บปวดทางใจ ที่เกิดขึ้นเป็นบททดสอบของชีวิต ถ้าไม่ทุกข์เราจะไม่ได้เรียนรู้ จนแข็งแกร่ง มั่นคงเพื่อไปเจออุปสรรคที่รอเราอยู่ทุกช่วงของชีวิต
ขอบคุณที่เพื่อนที่มาให้บทเรียนทั้งสุขและทุกข์ ลองแก้ที่ใจเราก่อน ว่าเราเสียใจเรื่องอะไร เพื่อนมารักเรา ก็หวังว่าเราจะรักตอบเราก็คิดไม่ต่างกัน วินๆทั้งคู่ เลยถามลูกให้คิดว่า ยังมีความรักที่มีแต่ความปราถนาดีต่อกันโดยไม่ต้องการอะไรตอบแทน ไม่ต้องยึดว่าเขาเป็นของเรา หรือมีความคาดหวังให้กัน ลูกอาจจะเคยเจอ หรือลองทบทวนดูก่อนดีหรือไม่
ทุกข์ : เพราะเห็นลูกผิดหวัง
สมุทัย: เหตุเพราะลูกยังรักตัวเองไม่มากพอ คาดหวังว่าเพื่อนต้องรักตอบ
นิโรธ :เมื่อหาสาเหตุเจอแล้ว ลูกเปิดใจรับฟัง เราทำหน้าที่เพื่อนที่ดีของลูกแล้วก็วาง ลูกจะทุกข์หรือสุขก็ไม่เป็นปัญหา เป็นชีวิตของเขา
มรรค : การมีวิบากร่วมกันมาได้สร้างกรรมร่วมกันมาพอสมควรแล้ว ทำให้เราไม่ยึดไม่ติดกับเรื่องที่ว่าเขาเป็นของเรา ช่วยได้เราก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็ล้างใจ ให้โอกาส ให้เขาได้เจอทุกข์และหาทางออกจากทุกข์ตามฐานของเขา
กราบคารวะท่านอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน
เจริญธรรมสำนึกดีพี่น้องจิตอาสาทุกท่านค่ะ
ดิฉัน นางกุลนันทน์ กันยะมี ชื่อทางธรรม แก้วในทราย
อายุ 66 ปี
เตรียมจิตอาสาสวนป่านาบุญ 8 อ.เด่นชัย จ.แพร่
ระหัสนักศึฃกษา 61 14 008 041ชช
ค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 30 รวมพลจิตอาสา รุ่น ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จงาน ความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของงาน เป็นค่ายพระไตรปิฏกออนไลน์ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 3-10 ตุลาคม 2563
อริยะสัจ 4 ที่จะสอบในวันนี้ ก่อนอื่นขอเล่าเรื่อง ก่อนนะคะ
เนื่องจากในช่วงสถานการณ์โควิด การที่จะเดินทางมาร่วมบำเพ็ญที่ภูผาฟ้าน้ำ ได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับการเดินทางซึ่ง มีทางเลือกให้เดินทางจากบ้านมาที่ภูผาฟ้าน้ำ 3 ทางเลือก คือ
1.มารถสาธารณะก็เสี่ยงต่อการติดโควิด และจะถูกกักตัวอย่างน้อย 14 วัน จึงไม่เลือก
2. ถ้าจะขับรถมาเองคนเดียวโดยไม่มีเพื่อน ก็ง่วงนอนเวลาขับรถ ไม่เลือกวิธีนี้
3. ถ้ามีเพื่อนจิตอาสาที่อยู่ทางเดียวกันขับรถส่วนตัวมาร่วมบำเพ็ญ ก็จะขอติดรถเขามาด้วย จึงเลือกวิธีนี้
– ทุกข์ อยากมาร่วมบำ
เพ็ญกับเพื่อนที่ภูผาฟ้าน้ำช่วงสถานการณ์โควิด
– สมุทัย(เหตุแห่งทุกข์) ถ้าได้มาร่วมบำเพ็ญกับเพื่อนจะสุขใจ ถ้าไม่ได้มาร่วมบำเพ็ญกับเพื่อนจะทุกข์ใจ
– นิโรธ(สภาพดับทุกข์)วางใจ ได้มาร่วมบำเพ็ญกับเพื่อนหรือไม่ได้มาร่วมบำเพ็ญกับเพื่อนก็สุขใจ
มรรค(วิธีดับทุกข์)เชื่อเรื่องวิบากกรรม ถ้าวิบากดีออกฤธิ์ก็ได้มา ถ้าวิบากร้ายออกฤทธิ์ก็ไม่ได้มา
นำบททบทวนธรรมมาพิจารณา ไม่ชอบไม่ชัง ได้พลังสุดๆ ยินดีในความชอบชังเสียพลังสุดๆ ได้ทุกข์สุดๆ และขอตั้งศีลให้สูงขึ้น
ชื่อเรื่อง ยุงรุมกัด
เนื้อเรื่อง ทุกวันที่ไปรดน้ำต้นไม้ในสวน จะถุกยุงกัดเพราะ ในสวนจะมีพื้นที่ไม่สม่ำเสมอเวลารดน้ำต้นไม้ น้ำจะไปขังที่หลุม จนทำให้เป็นที่อยู่ของยุง ยุงกัดทุกวันจนขา แขนลาย ก็ป้องกันการที่ยุงกัดโดยใส่เสื้อแขนยาว ขายาวใส่รองเท้า ยุงก็ยังกัดที่หน้า หู หัว รดน้ำไป ตบยุงไป ทนอยุ่ได้หลายวัน จนทนไม่ได้ ทั้งที่ตัวเองรุ้ว่าจะแก้ไขอย่างไร จะทำให้ยุงลดลงและน้ำไม่ขัง แต่ไม่ทำเพราะ(ตัวกิเลส)ขี้เกียจ มีงานอย่าอื่นให้ต้องทำอีกมากมาย ทนให้ยุงกัดจนทนไม่ได้
ทุกข์ ที่ถูกยุงกัดทั้งแขน ขา หู หัว หน้า ตาลายและคันไปหมด
สมุทัย รุ้ว่าในสวนมีหลุมขังน้ำ จนเป็นที่อยุ่ของยุง จึงทำให้ยุงกัดเวลาไปรดน้ำต้นไม้ แต่ด้วยความที่ขี้เกียจ(กิเลส)จึงทำเป็นไม่สนใจปล่อยให้ยุงกัดไปซะอย่างนั้น ทุกข์จนทนไม่ได้
นิโรธ เมื่อมาพืจารณาตัวขี้เกียจของตนเองจึงได้ดึงสติไปจับตัวขี้เกียจออกมา ว่าเราทุกข์เพราะความขี้เกียจก็ดับความขี้เกียจแล้วลงมือทำพื้นให้เรียบ ทำทางน้ำลงไปที่บ่อบาราย แค่นั้นน้ำที่ขังก็จะไม่ขังแล้ว ยุงก็จะมีน้อยลงหรือไม่มี
มรรค เมื่อทำบารายแล้วทุกข์ก็ดับไป มาพิจารณาถึงประโยชน์ที่ได้ น้ำก็ไม่ขังไม่เป็นแหล่งเพาะยุงแล้ว พื้นดินที่ชุ่มแฉะก็หายไป เวลาไปรดน้ำต้นไม้ ก็ไม่มียุงมารุมกัดทั้งหัวทั้งตัวเหมือนก่อน และต้นไม้ในสวนยังได้ประโยชน์จากน้ำที่ลงไปในหลุมบารายซึมไปตามใต้ดินให้รากต้นไม้ได้อาศัยน้ำไปเลี้ยง ทำให้ต้นไม้งอกงาม ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำลง นอกจากนั้นเวลาฝนตกแรงๆน้ำก็จะไหลลงตามทางไปลงบ่อบารายเป็นแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ต่อไป
เห็นโทษที่ขี้เกียจจนเกิดทุกข์ เห็นประโยชน์เมื่อได้ขจัดความขี้เกียจออกไปจนได้สิ่งดีมีประโยชน์มากมาย
ปัญหาทั้งหมดในโลก เกิดจากคน”โง่”กว่ากิเลส
กสิกรรมไร้สารพิษ
มีพื้นที่ว่างอยู่ต่างจังหวัด แต่เรายังไม่สะดวกที่จะไปพัฒนาพื้นที่ เพื่อทำกสิกรรมไร้สารพิษตามแนวทางที่อาจารย์พาทำ แต่ในใจมีความอึดอัดใจอยากไปเริ่มปลูกกล้วยไว้ก่อนในหน้าฝนนี้
ทุกข์; อยากไปทำกสิกรรมไร้สารพิษแต่ไม่มีเวลา
สมุหทัย;อยากปลูกผักไร้สารพิษไว้รับประทานในครอบครัวและแบ่งปันพี่น้อง เกิดความยึดดีและอยากให้เกิดดี
นิโรธ;การทำกสิกรรมไร้สารพิษเป็นสิ่งที่ดี ถ้าทำได้มันดี แต่ก็ไม่ควรยึดว่าต้องทำ การทำกสิกรรมไร้สารพิษเป็นสิ่งที่ดี ที่ควรทำ แต่ทุกข์ใจที่ไม่ได้ทำนั้นไม่ดี
มรรค;การตั้งใจที่จะทำกสิกรรมไร้สารพิษเป็นเรื่องที่ดี ตั้งจิตยึดไว้แบบนี้ก่อนก็ดีแล้วก็ทำตามเหตุปัจจัยที่ทำได้ก็พอ ยึดไปก่อนแต่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าต้องทำ วางใจเมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อม ในระหว่างนี้เราก็ศึกษาข้อมูลความรู้ไปก่อนฝึกฝนทดลองทำในพื้นๆรอบบ้านไปก่อนเท่าที่ทำได้ แต่พอเรากดดันหรือยึดว่าต้องเป็นหน้าฝนนี้ ก็ทำให้ใจทุกข์อึดอัดที่ไปทำไม่ได้ และความทุกข์นี้ก็อาจส่งผลให้เกิดอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้ได้ไปทำสักที เมื่อพิจารณาแล้วสิ่งสำคัญที่สุดก็คือใจไม่ควรทุกข์ ก็รู้สึกเบาสบายใจ และเกิดปัญญาว่าระหว่างนี้เราก็สามารถฝึกทำปุ๋ยจากเศษอาหารผักผลไม้ในครัวเรือนไปพลาง เพาะต้นกล้า ขยายพันธุ์ไม้ต่างๆเท่าที่ทำได้เช่น เมผัก ผลไม้ที่รับประทานทานในชีวิตประจำวัน หรือย่านาง เป็นต้น เท่านี้ก็ดีมากแล้ว
Comments are closed.