631004 การบ้านอริยสัจ (8/2563) [23]

631004 การบ้านอริยสัจ (8/2563)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 28 กันยายน – 4 ตุลาคม 2563 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปมีผู้ส่งการบ้านสัปดาห์นี้ทั้งหมด 23 ท่าน

  1. ชัยภัทร ชุติคามี
  2. สุณิชานันท์ กาชัย
  3. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  4. จงกช สุทธิโอสถ (ป้าย่านาง,บัวสายธรรม)
  5. ปิ่น คำเพียงเพชร – Nang Khan Noon
  6. สมพงษ์ โขงรัมย์
  7. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  8. นวลนภา ยุคันตพรพงษ์
  9. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน
  10. ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
  11. จิราภรณ์ ตันใจเพชร
  12. โยธกา รือเซ็นแบรก์
  13. อรวิภา กริฟฟิธส์
  14. ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  15. นงลักษณ์ สมศรี(ลายใบไม้)
  16. ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
  17. นปภา รัตนวงศา(แก้วมั่นศีล)
  18. จิตรา พรหมโคตร
  19. สำรวม แก้วแกมจันทร์
  20. บัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม รู้แก่นศีล
  21. ชุติวรรณ แสงสำลี
  22. ศิริพร ไตรยสุทธิ์
  23. ขวัญจิต เฟื่องฟู

Tags:

22 thoughts on “631004 การบ้านอริยสัจ (8/2563) [23]”

  1. ชัยภัทร ชุติคามี (๕๙๑๑๐๐๕๐๐๘)

    ๑.) ชื่อเรื่อง หงุดหงิดแต่เช้า
    ๒.) เวลาประมาณตี ๔ ของวันที่ ๒๙/๐๙/๖๓ ข้าพเจ้าตื่นนอนขึ้นมาพร้อมกับความหนักเนื้อตัว และปวดตึงที่คอบ่าไหล่ด้านซ้าย แล้วความหงุดหงิด ไม่พอใจ ก็เกิดขึ้นในใจของข้าพเจ้า
    ๓.) ทุกขอริยสัจ : หงุดหงิด ไม่พอใจ กับอาการหนักเนื้อตัว ไม่สบายตัวเวลาตื่นนอน
    ๔.) ทุกขสมุทัย : อยากได้สภาพเบาเนื้อตัวเวลา และไม่อยากได้สภาพหนักเนื้อตัวเวลาตื่นนอน
    ๕.) ทุกขนิโรธ : ไม่ต้องมีความอยากได้สภาพเบาเนื้อตัว และความไม่อยากได้สภาพหนักเนื้อตัวเวลาตื่นนอน
    ๖.) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา : พิจารณาเห็นว่าความยึดว่าต้องได้สมใจในสภาพเบาเนื้อตัว เป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถสร้างความยินดีในทุกปัจจุบันได้ เราก็ติดอยู่แค่สภาพเดิมๆ ทุกข์ใจเดิมๆ กับความเห็นความเข้าใจว่าถ้าได้สภาพเบาเนื้อตัวสมใจจะสุขใจ พอไม่ได้ก็ทุกข์ใจ วนเวียนไม่จบไม่สิ้น
    ข้าพเจ้าจึงทำความเห็นความเข้าใจใหม่ว่าการยินดีเต็มใจยอมรับในสภาพที่ได้รับในปัจจุบันนั้น เป็นประโยชน์สุขที่สุดในชีวิต ส่วนการไม่ยินดีเต็มใจยอมรับในสภาพที่ได้รับในปัจจุบันนั้น เป็นความทุกข์ เป็นความโง่ที่ทำให้ตนเองทุกข์ซ้ำ ทุกข์ซ้อนลงไปอีก
    ฉะนั้นถ้าเราไม่ต้องมีความชอบหรือความยึดว่าต้องได้สภาพเบาเนื้อตัวเวลาตื่นนอน เราจะได้ความเป็นอิสระจากความติดสภาพเบาเนื้อตัวนั้น และแม้ว่าเราจะหนักเนื้อตัวอยู่ก็ตาม แต่เราจะได้ความเบาที่ใจที่สุดในชีวิต เพราะเราสามารถทำความยินดีเต็มใจพอใจได้กับทุกๆสภาพที่ได้รับในปัจจุบัน
    ผลปรากฏว่าอาการหงุดหงิด ไม่พอใจค่อยๆจางคลายลง ข้าพเจ้าจึงเอาความยินดีมาใช้ในการมาร์ชชิ่ง และฟังการบรรยายธรรมะเพิ่มเข้าไปอีก กายก็เบาขึ้นตามลำดับๆ แต่ที่สำคัญคือใจเราเบาได้แม้ความหนักเนื้อตัวจะยังไม่หมดไปก็ตาม

  2. สุณิชานันท์ กาชัย

    ชื่อเรื่อง : บ๊ายบ่ายกาแฟ

    เนื้อเรื่อง : เลิกกินกาแฟได้มานานแล้ว ตั้งแต่ได้บัตรประชารัฐผู้มีรายได้น้อยที่ทางรัฐบาลแจกให้ ไปรูดบัตรซื้อของแล้วยังมีเงินเหลือเจ้าของร้านก็หยิบกาแฟใส่มาด้วยให้ครบยอดเงินในบัตร เมื่อได้มาแล้วก็กินโดยไม่คิดอะไร พอสิ้นเดือนก็ได้มาอีกก็กิน เวลากินก็กินวันละครึ่งซอง ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทีนี้พอสิ้นเดือนมาจากได้มาเป็นซองก็เลือกซื้อกาแฟเป็นถุงขนาดเล็ก พักหลังมาเป็นครึ่งซองวันละครั้งเช้า ขยับมาเป็นครั้งละครึ่งชองวันละ 2 ครั้งเช้า-บ่าย แล้วก็เพิ่มจากครั้งละครึ่งซองเป็นครั้งละ 1 ซอง วันละ 2 ครั้ง จากการซื้อถุงเล็กก็ขยับมาเป็นถุงขนาดกลาง ทีนี้ก็เริ่มมีสติระลึกได้ว่าถ้าเป็นอย่างนี้ไปต่อไปเราต้องติดกาแฟและเป็นทาสมันอีกแน่ๆเลย เห็นเลยว่ามันโตขึ้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นนิสัยเมื่อไม่ได้กินใจมันยึดว่าไม่กินกาแฟแล้วจะปวดหัว อย่ากระนั้นเลยเรามาตั้งศีลเลิกกินกาแฟดีกว่า ถ้าหมดถุงนี้จะไม่ซื้อกาแฟมากินอีก ตั้งจิตอย่างแน่วแน่เลย เลิกมันซะตั้งแต่ตอนนี้ที่มันยังโตไม่มากเท่าไหร่นะ เลิกซะอย่าไปกินมันเลย และมีอาการไม่สบายทางร่างกายได้อย่างชัดเจนมาคือ มีอาการปวดหัว มาก ปวดทรมานแทบทนไม่ไหวใจก็คิดว่าจะปวดก็ให้มันปวดไป ไม่โปร่ง ไม่โลง หงุดหงิด แต่ก็อดทนและกินน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นไปเรื่อยๆปวดมากินน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น กัวซา กดจุดเท่าที่ทำได้อาการปวดหัวพอทุเลาลงได้บ้าง วันที่ 2 อาการปวดหัวลดลงมากพอควรกินน้ำสมุนไพรเพื่อล้างพิษของกาแฟอดทนต่อการปวดหัว แล้วพอวันที่ 3 อาการปวดหัวหายเป็นปลิดทิ้งเลย โล่ง เบาเนื้อตัวสบายใจมากๆเลยที่ไม่กลับไปซื้อกาแฟมาเสพอีก และก็เลิกกินกาแฟได้ด้วยใจที่เป็นสุข เมื่อเห็นกาแฟใจก็ไม่กระดิกเลย เห็นคนอื่นกินโดยที่ใจเราก็ไม่อยากกินอีกเลย

    ทุกข์ : เห็นอาการทางใจว่าเริ่มกลับมาติกกาแฟอีกครั้งและเกิดความทรมาณทางร่างกายคือปวดหัวที่ไม่ได้กินกาแฟ

    สมุทัย : ซื้อกาแฟมากินโดยไม่ได้ตั้งใจได้มาแล้วก็กิน

    นิโรธ : จิตตั้งมั่นแน่วแน่มั่นคงที่จะเลิกกินกาแฟให้ได้และไม่ไปซื้อกาแฟมาเสพอีกพอทำได้เกิดกาการใจโล่งโปร่งสบายเบาเนื้อตัว อาการปวดหัวหายไปเลย และจิตไม่คิดจะไปเสพกาแฟอีกเลย

    มรรค : การตั้งศีลขึ้นมาว่าจะเลิกกินกาแฟเพราะถ้าไม่เลิกกินเราติดเป็นทาสมันแน่ๆเลย ใจเห็นกิเลสมันเพิ่มขึ้นมันไม่เที่ยงนะ พอตั้งจิตที่จะเลิก กิเลสตัวอยากกินกาแฟก็ลดลงจนหมดและหายไปได้ จนไม่มีความอยากินกาแฟทางใจและอาการทางกายก็โปร่งโล่งสบาย

  3. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    อริยสัจ ๔

    1. เรื่องความอยากทำให้ทุกฝ่ายพอใจนั้นเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

    2. กลางเดือนตุลาคมมีญาติที่จังหวัดชุมพรจะจัดงานแต่งงานให้ลูกชาย ตั้งแต่ทราบข่าวผมก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไป รอดูเหตุการณ์ใกล้ ๆ วันงานก่อน ในขณะที่น้องสาวซึ่งอยู่ที่นนทบุรีได้จองตั๋วเครื่องบินไว้แล้ว และรอถามผมอยู่ว่าจะไปหรือไม่ เพราะถ้าไปจะให้ช่วยไปรับไปส่งที่สนามบินและอาจจะขับรถพาไปเที่ยวในจังหวัดชุมพรด้วย เรื่องนี้ผมยังมีความลังเลตัดสินใจไม่ได้อยู่นาน เพราะโดยส่วนตัวกับแม่บ้านแล้วไม่อยากจะไปงานแต่งงาน ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่ายินดียินร้ายอะไร แต่ด้วยความเป็นญาติตามสมมติโลก อาจจะต้องยอมเสียสละเวลาไปร่วมเพื่อรักษาน้ำใจกันเอาไว้

    พอถึงช่วงปลายเดือนกันยายน ผมได้บอกกับแม่บ้านว่าเราคงต้องเตรียมตัวไปงานนี้ แต่แม่บ้านซึ่งมีความอึดอัดใจในเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ได้เปิดใจบอกผมว่าไม่อยากไป เพราะเวลานี้เธอไม่มีชุดที่จะใส่ไปงานแล้ว เครื่องสำอางต่าง ๆ ที่ผู้หญิงจำเป็นต้องใช้แต่งหน้าเวลาไปงานแบบนี้ก็ไม่มีเหลือแล้ว เครื่องประดับ และรองเท้าก็เหมือนกัน สรุปว่าถ้าต้องแต่งองค์ทรงเครื่องเพื่อไปร่วมงานนี้เธอจะลำบากมาก ยังไม่นับเรื่องความอึดอัดใจเวลาไปอยู่ในงานแบบนี้ที่เธอจะต้องนั่งร่วมโต๊ะกับคนอื่น ๆ อย่างแปลกแยก เพราะไม่สามารถร่วมรับประทานอาหารบนโต๊ะได้เหมือนแขกเหรื่อคนอื่น ๆ ที่มาในงานได้

    ในเมื่อแม่บ้านรวบรวมความกล้าที่จะบอกความจริงในใจเช่นนี้ออกมาแล้ว ผมจึงตัดสินใจว่าจะไม่ไปร่วมงาน แต่ยังมีความลำบากใจอยู่เล็กน้อยที่จะบอกกับพ่อและน้องสาว ฝ่ายพ่อนั้นคงไม่มีอะไรมากเพราะพ่อเป็นคนง่าย ๆ ไม่ค่อยถือสาอะไร แต่น้องสาวนั้นเป็นคนเจ้าอารมณ์อยู่พอสมควร สิ่งที่ผมเป็นห่วงก็คือเธอจะไม่เข้าใจ และถือโทษโกรธเคืองกัน

    ในชีวิตเราบางครั้งก็ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากในการเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เหมือนถูกล็อคให้อยู่ตรงกลางระหว่างคู่ขัดแย้ง ที่การตัดสินใจของเรามีผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจไม่พอใจได้ ในกรณีนี้ ถ้าเลือกที่จะไปงานแต่งงานก็จะสร้างความลำบากใจให้แก่แม่บ้านมาก แต่ถ้าไม่ไปก็จะทำให้น้องสาวผิดหวังและอาจจะไม่พอใจด้วย

    3. ทุกข์ คือความอึดอัดลำบากใจที่ต้องตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไปร่วมงานแต่งงานของญาติดี
    4. สมุทัย คือความยึดมั่นถือมั่นว่าต้องหาทางให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ ต้องไม่ทำให้ใครผิดหวัง ไม่ทำให้ใครไม่พอใจเลยแม้แต่คนเดียว
    5. นิโรธ คือสภาพที่เมื่อได้ตัดสินใจไปอย่างดีที่สุดแล้ว จะมีใครพอใจหรือไม่พอใจ เราก็ยังเบิกบานยินดีอยู่ได้ ไม่ทุกข์แม้จะมีคนไม่พอใจเรา ไม่เข้าใจเรา ยอมรับได้ว่าความเข้าใจผิด ความไม่พอใจเราย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องทุกข์ใจไปกับมัน
    6. มรรค คือการพิจารณาเรื่องวิบากกรรมให้ลึกลงไปถึงความจริงที่ว่า การที่เราต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่บีบคั้นให้ต้องตัดสินใจบนความขัดแย้งอย่างนี้ เป็นเพราะเราเองก็เคยไปบีบคั้นผู้อื่นให้อึดอัดลำบากใจมาก่อน หรือเคยไปเข้าใจผิดคนอื่นมาก่อนทั้งนั้น ดังนั้นเมื่อถึงคราวที่เราต้องพบกับเหตุการณ์แบบนี้ นับเป็นเรื่องดีที่เราจะได้ชดใช้ ยอมที่จะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจหรือเข้าใจผิดเราได้ ยอมรับความไม่พอใจนั้นได้ด้วยความยินดี รับแล้วมันก็จะหมดไป เมื่อเราได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่ปัญญาเราจะคิดได้ ณ เวลานี้ ก็ถือว่าดีเต็มที่แล้ว เราควรจะวางใจได้แล้ว ไม่ต้องมีอะไรคาใจ ไม่ต้องเอาอะไรจากใคร

    นอกจากนี้ เราก็พิจารณาไปด้วยว่าความคาดหวังที่จะทำให้ทุกฝ่ายพอใจนั้นเป็นตัณหาที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ เพราะโลกเต็มไปด้วยความขัดแย้งเป็นธรรมดา จึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำให้ทุกคนทุกฝ่ายพอใจได้ทั้งหมด ถ้าเราปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นแบบนี้ไม่ได้ เราจะต้องทุกข์ไปตลอดชีวิต เพราะชีวิตต้องเจอสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดกาลนาน จึงเห็นได้ว่าความยึดมั่นถือมั่นที่จะทำให้ทุกคนทุกฝ่ายพอใจนั้นเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ต้องพยายามล้างความคิดอย่างนั้นออกไปให้ได้ ต้องไม่มีความอยากแบบนั้นให้ได้ หรือถ้าอยากได้สภาพแบบนั้นอยู่ก็ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องได้ถึงจะสุขใจ ถ้าไม่ได้แล้วจะทุกข์ใจ คือจะต้องล้างความยึดมั่นถือมั่นออกไปเสีย เหลือไว้เพียงความปรารถนาดีเท่านั้น

    สรุปว่า สุดท้ายผมตัดสินใจที่จะไม่ไปงานแต่งงานญาติครั้งนี้ และจะบอกกับน้องสาวว่าไม่สะดวกเพราะติดขัดทั้งเรื่องเวลาและการเตรียมตัวต่าง ๆ ส่วนน้องสาวจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ จะถือสาหรือไม่ถือสา ก็ต้องยอมปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีวิบากร้ายของเราและของเขา

    อดทน รอคอย ให้อภัย ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ

  4. ชัยภัทร ชุติคามี (๕๙๑๑๐๐๕๐๐๘)

    ๑.) ชื่อเรื่อง : ‘นึกแล้วขำ’
    ๒.) เหตุการณ์ : เวลาประมาณ ๑๐ โมงเช้า ของวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ ในระหว่างที่ผมกำลังซ่อมท่อน้ำที่รั่วกับอาเล็กแก่นศีล(พี่จิตอาสา) ขณะที่ผมกำลังเดินหาวาล์วเพื่อปิดน้ำ ก็พลาดไปเหยียบเอาตะปูที่ถูกตอกติดกับไม้ ๒ ตัว ตะปูเสียบปึ๊ก! ทะลุรองเท้าบูทและทะลุเข้าที่ฝ่าเท้าซ้าย
    แวบแรกคือเกิดความรู้สึกแปลกๆว่า “เอ๋! อะไรปักเท้า” พอก้มลงไปดูก็งงๆนิดๆ แต่พอดึงออกมา “โอ้!” ตะปูสองตัว “เอาแล้ว” คำอุทานที่พูดออกมาตอนนั้น แล้วก็เดินไปออกอาเล็กว่า “เอาแล้วครับ(วิบากร้าย) ผมเหยียบตะปูครับ” ตอนนั้นก็เริ่มปวดขึ้นมาเรื่อยๆ อาเล็กบอก “ไหนดูหน่อย” พร้อมกับรีดเลือดออกให้ แล้วบอกว่า “มันต้องรีดเลือกรีดเลือดออกหน่อยให้แผลสะอาด”
    อาเล็กบอกให้นั่งรอ พร้อมกับเคี้ยวใบสาบเสือมาโปะให้ที่แผล แล้วก็เอาถุงเท้าพันห้ามเลือดไว้ จากนั้นท่านก็ไปเอารถมอเตอร์ไซด์มารับ
    พอมาถึงศาลาใหญ่ ก็ให้พี่น้องจิตอาสาฝ่ายงานพยาบาลก็ช่วยกันทำแผลให้ มีการงัดแงะ เช็ดล้างพอสมควร ความรู้สึกของผมตอนนั้นคือ “รู้สึกหวาดเสียว ยิ่งเห็นว่าแผลค่อนข้างลึก(ประมาณ ๑ ซม.) นึกถึงตอนที่เราดึงตะปูออกจากเท้าแล้วก็หวาดเสียวๆ ยิ่งพี่น้องล้างแผลให้ก็ยิ่งหวาดเสียว แล้วก็กังวลนิดๆว่าจะเป็นอะไรมากมั้ยนะ?”
    ทุกขอริยสัจ : รู้สึกหวาดเสียว กังวลใจ ไม่กล้ายอมรับสภาพไม่ดีนั้น
    ทุกขสมุทัย : ไม่อยากได้รับสภาพไม่ดี ชังความเจ็บปวด ชังความลำบาก อยากได้แต่สภาพดีๆ ชอบความสบาย ชอบความลงตัว
    ทุกขนิโรธ : ดีจะเกิดก็ได้ ร้ายจะเกิดก็ได้ สามารถยินดีเต็มใจยอมรับได้
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา : พิจารณาว่า “นี่แหละ! ก็เราไปสงสัยไง ไปรู้สึกเบื่อๆว่าร่างกายแข็งแรงดี ไม่เจ็บไม่ป่วย มีแต่เหตุการณ์ลงตัวๆ เป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่เห็นน่ายินดีอะไรเลย” วิบากเขาก็เลยจัดให้ไง! ชัดเลย ณ ตอนนี้ว่า “อ๋อ! ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย เหตุการณ์ดีๆรอบตัวแม้เล็กแม้น้อยที่เกิดขึ้น มันก็ดีที่สุดแล้วเนอะ ดีกว่าเหยียบตะปูเยอะเลย” ในขณะที่คิดอย่างนี้ได้ก็รู้สึก ‘ปีติ’ ปน ‘ขำ’ ตัวเอง(ยิ้มออก)
    ผลปรากฏว่า สามารถยินดีเต็มใจยอมรับสภาพไม่ดีที่กำลังได้รับอยู่อย่างเบิกบาน(ขำ) ‘สมควรแล้วๆ’ ความรู้สึกในใจที่บอกกับตัวเอง ทำให้ใจเบิกบานขึ้น ความหวาดเสียวลดลง อาการเจ็บปวดลดลง เหตุการณ์(การดูแลแผล)เป็นไปในทิศทางที่ดี มีพี่น้องจิตอาสาเข้ามาให้คำแนะนำดีๆ เราก็ยินดีเต็มใจรับทุกคำแนะนำ และยินดีตอบทุกคำถาม ได้เห็นความห่วงใยเอาใจใส่กันของพี่น้องจิตอาสา ซาบซึ้งจริงๆครับ สาธุ

  5. จงกช สุทธิโอสถ (ป้าย่านาง,บัวสายธรรม)

    อริยสัจ ๔ (ตอนที่๑)
    ทุกข์ : การที่ต้องดำรงชีวิตให้อยู่ได้ด้วยร่างกายที่ไม่มีตัวช่วยในการปรับสมดุลท่ามกลางอากาศร้อนมาก(heat stroke)อย่างไม่เคยเผชิญมาก่อนในชีวิต
    สมุทัย : เวลาอากาศร้อนมากจะไม่ชอบ และถ้าอากาศไม่ร้อนหรือร้อนน้อยลงกว่านั้นหรือมีลมพัดมาบ้างก็จะชอบ ยิ่งมีฝนตกมาบ้างยิ่งชอบ ฝนไม่ตกจะไม่ชอบ
    นิโรธ : เมื่อยอมรับความเป็นจริงของร่างกายที่โดนตัดต่อมไทรอยด์และมดลูกไปเกือบทั้งหมดก่อนหน้านี้หลายปีมาแล้ว ยอมรับการชดใช้วิบากจากการสั่งเผากุ้ง หอย ปู ปลา เมื่อครั้งที่เคยเป็นเจ้าของร้านอาหาร จึงเป็นช่วงที่ต้องรับเวทนาเพื่อก้าวผ่านไปให้ได้สำหรับฤดูร้อนที่ร้อนมากในปีนี้ โดยไม่ไปกังวลหรือหวั่นไหวกับความร้อนนั้น อากาศจะร้อนก็ยังเป็นสุขอยู่ จะมีฝนตกลงมานิดๆก็ปรับตัวและใจให้ยังเป็นสุขอยู่
    มรรค : คิดวิธีปรับสมดุลกายด้วยการเพิ่มอาหารฤทธิ์เย็นให้มากขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายให้ช้าลง และปรับสมดุลใจให้ไม่ทุกข์กับเวทนาที่เกิดจากความร้อน ทำใจให้ผ่อนคลาย ให้สงบ ไม่ร้อนรน
    วิธีแก้ร้อนทางกาย
    ๑.ตื่นเช้าลุกขึ้นมาฝึกลมหายใจให้ร่างกายเย็นลง
    ๒.กดจุดลมปราณแขนขาให้เลือดลมทะลุทะลวง
    ๓.ฝึกโยคะในท่าที่ไม่ต้องใช้พลังเยอะเพื่อถนอมไม่ให้การเผาผลาญร่างกายเกิดขึ้นมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายร้อนไปด้วย
    ๔.ดื่มน้ำ ปสว และ น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หยอดตา หยอดหู หยอดจมูก ลดความร้อนที่สะสมของร่างกายลง
    ๔.อาบน้ำเช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนอีกทางหนึ่ง
    ๕.ทำน้ำผักผลไม้ฤทธิ์เย็นดื่มก่อนอาหาร อาหารที่ทานก็จะใช้ฤทธิ์เย็นค่อนข้างมาก รสจืด หลีกเลี่ยงอาหารปรุง ดื่มน้ำสมุนไพรมากขึ้น ส่วนมากจะทานข้าวกับแกงจืดเกือบทุกมื้อ มะละกอสับโรยเกลือ
    ๖.หลังทานอาหารแล้ว พอกหน้า เอาผ้าชุบน้ำเย็นโพกศรีษะ รออาหารย่อยประมาณ ๒-๓ ชม. เข้าห้องน้ำอาบน้ำพร้อมทำดีทอกซ์
    ๗.ก่อนนอนอาบน้ำอีกครั้ง
    วิธีแก้ร้อนทางใจ
    ๑.สวดมนต์ ฟังบททบทวนธรรม
    ๒.เวลาเจอผัสสะ ให้ใช้ศีลเย็น(เกิดจากเนขขัมธาตุ)แก้ด้วยใจที่มีสมาธิที่นิ่ง สงบเพราะใจที่รีบร้อนจะทำให้อุณหภูมิภายในของร่างกายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
    ผลจากการเดินมรรค : การมีใจที่เย็นนิ่งจากการที่เอาปัญญาที่ใช้ในการแก้ปัญหาทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบเย็นโดยที่ความร้อนภายนอกไม่มีอิทธิพลให้เป็นทุกข์ได้แม้น้อยอีกต่อไปตลอดฤดูร้อนนี้
    อริยสัจ 4 (ตอนที่ 2)
    ทุกข์ : ความหวั่นไหวจากการระบาดของโรค covid 19
    สมุทัย : เมื่อโรค covi d 19 ระบาดและมีความกลัว ความหวั่นไหวไปทั่วโลก ถ้ามีผลต่อประเทศไทยก็จะหวั่นไหวบ้าง ถ้าเป็นประเทศอื่นก็จะทุกข์และห่วงน้อยกว่า
    นิโรธ : จากที่เราได้เรียนรู้วิธีการปรับสมดุลด้วย ยา 9 เม็ด และเราไม่มีความเสี่ยงโดยเราไม่ทานและไปเบียดเบียนสัตว์ซึ่งจะเป็นที่มาของการแพร่กระจายและเป็นปัจจัยที่อาจเกิดการติดโรค การไม่ทานเนื้อสัตว์ในทางกายภาพ จะทำให้ไม่เกิดความร้อนและพิษที่เกิดจากการสะสมของการทาน ไม่ไปทำให้สัตว์ต้องโดนฆ่าเพื่อมาเป็นอาหารของเรา ทำให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนทางด้านจิตวิญญาณ ทำให้เรารู้สึกยินดีที่ไม่ไปทำร้ายสัตว์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม พลังที่มองไม่เห็นจะทำให้เกิดวิบากดีกับชีวิตเรา ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจอ่อนโยน เมตตา ใจเย็น และเป็นแรงเหนี่ยวนำที่ให้คนที่ศรัทธาสามารถทำตามได้ถ้าเราทำตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมให้ปรากฎได้ดีพอ
    มรรค : ผลจากการที่เราได้ปฏิบัติตามวิธีการต่อไปนี้ คือ
    1. ทำร่างกายสมดุลตามแนวทางยา 9 เม็ดของ พวธ.
    2. ไม่เบียดเบียนสัตว์โดยไม่ทานเนื้อสัตว์ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากสัตว์แม้น้อย โดยทานพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช ไร้สารพิษที่มีคุณภาพดีกว่าแทน เป็นอาหารที่ไม่แพง หาได้ง่าย ปลอดภัย
    3. เมื่อทำดีที่สุดแล้ว ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าข่าวการระบาดของ covid จะมาให้ได้ยินผ่านหูทุกวัน ก็ปล่อยวางความหวั่นไหวนั้น เอาเวลามาปลูกพืชไร้สารพิษที่มีประโยชน์เพื่อตัวเราและเพื่อนหมู่กลุ่มได้ทานโดยไม่ขาดตอน

    “เมื่อจิตไม่หวั่นไหว โรคใดๆก็ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ ชีวิตก็เป็นสุข”

    อริยสัจ 4 (ตอนที่ 3)
    ทุกข์ : เสียงดังจากโทรโข่งที่บ้านบัวสวรรค์ที่ดังมากเกินควร
    สมุทัย : เสียงดังที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงธรรมะของอาจารย์ที่มีประโยชน์ และน่าสนใจ(เพราะชอบฟังธรรมะ) ถ้าเราไม่สามารถหรี่ได้ เราก็หาวิธีที่เราสามารถฟังได้ ถ้าเราแก้ไขไม่ได้ เราไม่สามารถฟังต่อไปได้เพราะจะทำให้เราเริ่มหูอื้อ เสียงเข้าไปกระทบถึงส่วนสมองด้วยในบางครั้ง ในกรณีนี้เราไม่สามารถจะทนฟังได้นานกว่าความสามารถที่มนุษย์ปกติจะทำได้อย่างไม่ทุกข์ เราต้องเลือกเอาว่าจะฟังหรือไม่ฟังในคราวนั้นๆได้เท่านั้น
    นิโรธ : จากเสียงที่ดังขนาดนั้น เราไม่สามารถจะแก้ไขได้เพราะการกระจายเสียงจะแพร่ไปทุกทิศทุกทาง หากเราให้ส่วนกลางหรี่เสียงลง จะทำให้การออกสื่อสู่สาธารณะชนมีเสียงค่อยไปด้วย เราจึงมีวิธีเลือกอยู่ 3 ทาง คือ
    1. ทนฟังโดยเดินออกไปไกลจากตัวลำโพงพอประมาณเท่าที่เรารู้สึกเหมาะกับระดับเสียงนั้น
    2. หาอุปกรณ์มาเสริมเช่น ลำโพงเล็กที่สามารถหรี่หรือเพิ่มเสียงได้ในการลดทอนเสียงจากลำโพงเข้าหาอุปกรณ์นั้นๆ
    3. ปิดลำโพง เลิกฟัง
    มรรค : เมื่อมีทางเลือกหรือเราพอแก้ปัญหาได้ เราก็เลือกที่เหมาะกับเรา ณ เวลานั้นโดยไม่ไปทำให้ส่วนกลางเดือดร้อน และเราก็ได้ประโยชน์กับตัวเองในการได้รับฟังธรรมะ หรือไม่ยึดมั่นถือมั่นในการตัดรอบ ไม่ฟังสด อาจเลือกไปฟัง rerun ย้อนหลังได้โดยที่ไม่ทำให้ใจทุกข์

    “ปัญหาทั้งหมดในโลกเกิดจากคนโง่กว่ากิเลส” “ปัญหามีไว้แก้ ไม่ใช่ไว้ให้ดู” บททบทวนธรรมและคำคมจาก อจ หมอเขียว

    อริยสัจ 4 (ตอนที่ 4)
    ทุกข์ : สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของบ้านบัวสวรรค์
    สมุทัย : ความรู้สึกของสภาพแวดล้อม(โดยเฉพาะ พืชผักต่างๆ)จากที่เคยทำไว้ก่อนลงไปพักฟื้นที่บ้านบัวสวรรค์ ซึ่งค่อนข้างรกมาก ก็มาดูใจตัวเองลงไปถึงแก่นของจิตแท้ว่า เสียดายไหม ทุกข์ไหม ถ้าเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมแล้วโปร่งใจ ถ้าไม่เหมือนเดิม รกจนทั่วบริเวณไปหมดแล้วไม่ทุกข์ใจให้ได้ หรือเปล่า
    นิโรธ : ทุกอย่างไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปทุกวินาที อย่าว่าแต่จากไป 2 เดือน แค่ 1 วินาที พืชก็จะงอกขึ้นมากว่าเดิม หรือเหี่ยวแห้งไปตามสภาพที่เป็นจริง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของพืช เราก็จะไม่ทุกข์ อันที่จริง ก่อนที่ป้าจะลงมือปลูกต้นไม้แต่ละต้น ป้าได้ทำการวิตกวิจารณ์ไว้แล้วว่า เขาจะงอกงามก็ได้ จะตาย จะเหี่ยวหรือจะไม่แข็งแรงก็ได้(เพราะป้าเพิ่งจะมาเรียนรู้การเป็นเกษตกรมือใหม่) และจุดประสงค์คือก็จะปลูกให้ดีเท่าที่เราสามารถและปัจจัยอำนวย และปลูกเพื่อให้ส่วนกลางได้ใช้ทำประโยชน์หากได้ผลพอเป็นพอไป ก็เริ่มลงมือทำด้วยใจที่ไม่กังวล เมื่อถึงคราวที่ต้องรับวิบากจากกระดูกแขนหัก ก็ละไปจากบ้านบัวสวรรค์ด้วยการปล่อยวาง ไม่ได้กังวลเป็นเวลา 2 เดือน เอาเวลาที่ผ่านไปนั้นไปเริ่มทำสวนที่ใหม่ให้กับลูกชายด้วย ความรู้สึกเช่นที่ภูผา ทำงานด้วยจิตว่าง ไม่ได้แยกว่าของเราหรือของเขา ใช้จิตเหมือนกัน จึงไม่มีความเสียดาย ไม่ทุกข์
    มรรค : ผลของการไม่ยึดมั่นถือมั่น และเข้าใจความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง ทำให้ไม่รู้สึกทุกข์ ไม่ว่าสถานที่ สิ่งแวดล้อม จะเปลี่ยนไป กลับมาก็เริ่มต้นใหม่ รื้อฟื้นใหม่เหมือนที่ใหม่

    “ยึดเท่าที่โง่ โง่เท่าที่ยึด” บททบทวนธรรมจาก อจ หมอเขียว

  6. สมพงษ์ โขงรัมย์

    ๑.)ชื่อเรื่อง : ชังที่มาอยู่สวน ๔
    ๒.)เหตุการณ์ : จากที่ผมอยู่ภูผาฟ้าน้ำ มีมติหมู่มิตรดี ให้ผมมาปฏิบัติหน้าที่ ที่สวนป่านาบุญ๔ ใจก็คิดว่า จะมาทำกสิกรรมไร้สารพิษตามนโยบายที่ภูผาฟ้าน้ำทำอยู่
    คงจะสนุก และได้นำเอาความรู้มาปรับที่นี่
    ทุกขอริยสัจ : รู้สึกกังวล กลัว ระแวง หวั่นไหว ไม่รู้ว่าจะเจออะไรที่สวน๔
    ทุกขสมุทัย : อยากทำตามนโยบายอาจารย์ อยากให้ระบบที่สวน๔ ใช้ระบบเดียวกับภูผาฟ้าน้ำ ชังที่ระบบที่นี่ไม่เหมือนภูผาฟ้าน้ำ
    ทุกขนิโรธ : ไม่ชอบ ไม่ชัง จะเหมือนภูผาฟ้าน้ำก็ได้ ที่นี่จะเป็นแบบไหนก็ได้ สุขใจให้ได้ เอาประโยชน์ให้ได้
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา : พิจรณาว่า นี่แหละ ทุกสิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา เราเอาประโยชน์จากกาที่เราอยู่กับปัจจุบันนี้ คือสวน๔ เป็นโจทย์ที่เราต้องมาบำเพ็ญ เพื่อล้างกิเลสตัวนี้ คืออัตตาตัวไม่ยอม เราได้เห็นว่า ถ้าเราไม่มาอยู่สวน๔ เราจะไม่รู้ว่าเราล้างตัวไม่ยอม ตัวเอาแต่ใจ เมื่อมีผัสสะ เราก็ยอมมากขึ้น ยอมให้ถึงใจ ยอมจริงๆ แต่ก็ทำใจยากอยู่ มันทุกข์ เพราะมันติดมานาน ไม่ได้ล้างเพราะมันหลบมุม ไม่มีผัสสะมากระแทกกิเลสตัวนี้ครับ ขอขอบคุณ หมู่มิตรดี ที่ผมได้มาบำเพ็ญที่นี่ครับ สาธุครับ

  7. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    เรื่อง กลัวไม่ได้ดั่งใจ (ได้ดั่งใจ)
    ทุกข์ กลัวไม่ได้ดั่งใจ
    สมุทัย ข้าพเจ้าเรียนการทำรูปภาพประกอบสาระธรรม (Ps)กับคุรุ และพี่น้องหมู่กลุ่ม กลุ่มของข้าพเจ้าได้รับหัวข้อจากคุรุและหมู่กลุ่มให้ทำภาพและคำคมไปในทางเรื่องทุกข์ เศร้า ข้าพเจ้าและหมู่กลุ่มได้ช่วยกันทำจนสำเร็จได้มา 4 ภาพ พี่น้องกลุ่มข้าพเจ้ามี 4 ท่าน 3 ท่านเลือกภาพต่างกัน เหลือพี่น้องอีกหนึ่งท่านยังไม่ได้เลือก ข้าพเจ้าลุ้นในใจอยากให้พี่น้องท่านสุดท้ายนี้เลือกภาพเดียวกันกับภาพที่ข้าพเจ้าเลือก เพราะข้าพเจ้าเห็นกิเลสตนเอง และ อัตตาที่เกิดขึ้นว่า อยากให้ภาพที่่ข้าพเจ้าเลือกชนะเพื่อจะได้นำเสนอหมู่กลุ่มใหญ่ในห้องเรียน ปรากฏว่าท่านสุดท้ายก็เลือกภาพเดียวกันกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงเห็นกิเลสตัวที่ 2 คือความได้ดั่งใจ เพิ่มมาอีก
    นิโรธ ภาพที่ข้าพเจ้าชอบที่อยากจะได้รับการลงคะแนนให้ชนะหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร ข้าพเจ้ายินดีพร้อมยอมรับมติหมู่กลุ่มอยู่แล้ว (แต่โชคดีเข้าข้างกิเลสที่ได้ดั่งใจ)ภาพที่ข้าพเจ้าชอบจึงเป็นภาพที่ได้นำเสนอคุรุและหมู่กลุ่ม
    มรรค วางใจไว้ก่อนแล้วว่า หากมติหมู่กลุ่มลงมติอย่างไร ข้าพเจ้าก็ยินดีปฏิบัติตามหมู่กลุ่ม ด้วยใจที่เบิกบาน (แม้จะไม่ได้ดั่งใจ..นิดๆ) ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดี ร้ายของกลุ่มพวกเราคะ สาธุ

  8. นวลนภา ยุคันตพรพงษ์

    การบ้านอริยสัจ 4
    นวลนภา ยุคันตพรพงษ์(จิ๋ว)
    เย็นน้อมพุทธ
    #5913006030
    ทุกข์จากการไม่ได้ไปร่วมค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ 30
    ทุกข์ ที่อยากไปร่วมกับหมู่กลุ่มในค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ 30 จากความยึดติดที่ว่าจะต้องไปร่วมทุกครั้งตั้งแต่การเป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมนอกจากนั้นยังติดกับคำว่าถ้าไปแล้วจะสุขใจได้ไปศึกษาเพิ่มเติมความรู้ทางทำได้ร่วมพลังกับหมู่กลุ่มไม่ได้ไปก็ทุกข์ใจโดยรวมเหตุและปัจจัยที่ต้องอยู่เพราะการเรียนปริญญาเอกที่ยังไม่ปิดภาคเรียนอีกครั้งมีการสอบปลายภาคในวันที่ 7-8 ตค. ที่ตรงกันเลย
    สมุทัย สภาพเป็นทุกข์ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิดแล้วยังตั้งความหวังเมื่อมีเพื่อนชวนขึ้นไปโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการเบียดเบียนเพื่อน จะขโมยกุศลที่ไม่เกิดเป็นของตัวเองโดยคิดว่าถ้าเร่งทำการบ้านให้เสร็จส่งให้จบไปโดยไม่ต้องสอบปลายภาคแล้วค่อยมาสอบทีหลังเป็นการผิดศีลทั้งกายวาจาใจ
    นิโรธ สภาพดับทุกข์เมื่อได้พิจารณาอย่างถ่องแท้มายังไม่ถึงเวลาที่จะไปร่วมค่ายพระไตรปิฎกในครั้งที่ 30 นี้เนื่องจากกุศลยังไม่เกิดจะไม่ขโมยเหตุการณ์ที่ดีที่เราคาดคิดว่าอยากให้เป็นแต่ก็เป็นไปไม่ได้เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าถ้าไปก็จะทำให้เพื่อนลำบากในการนั่งรถจำนวนคนมากเกินไปอีกทั้งยังเป็นการผิดศีลที่จะหนีจากการเรียนที่เรายังติดภารกิจว่าจะต้องสอบปลายภาคที่มจร.คิดถึงหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าบัณฑิตเมื่อตกทุกข์ก็ย่อมหาสุขพบเพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเราก็ติดตามฟังธรรมของอาจารย์ได้ทางสื่อออนไลน์ต่างๆเมื่อได้ธรรมะอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้
    มรรค หนทางดับทุกข์ ดับกิเลสความอยากได้เหตุการณ์ดีๆด้วยการถือศีลเพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงตบะที่ตั้งไว้ช่วงเข้าพรรษาว่าจะไม่โกรธแล้วมีความสุขได้กับทุกสถานการณ์ก็ทำให้ยืนยันว่าถึงแม้ออกพรรษาแล้วเราก็จะยังขอถือศีลข้อนี้อยู่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติธรรมได้ได้ร่วมสานพลังกับหมู่มิตรสหายดีได้เจมส์มีความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใสสุขสบายใจไร้กังวลที่ยังคงอยู่ที่สวนป่านาบุญ 3 เพื่อปฏิบัติภารกิจเปิดร้านค้ากองบุญได้ทำในสิ่งที่คนอื่นหาทำได้ยากที่จะได้พึ่งตนและบอกต่อข้อมูลให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ได้ทุกวัน ได้ทำภารกิจในเรื่องของการเรียนปริญญาเอกให้ครบสมบูรณ์ ได้ล้างความเอาแต่ใจตนเองได้อย่างสมบูรณ์ 100%

  9. อภินันท์ อุ่นดีมะดัน

    1. ชื่อเรื่อง อยากบรรลุธรรมเร็วๆ(ใจร้อน)
    2. ปีนี้เข้าพรรษา ผมได้ตั้งศีลกินมื้อเดียว กินจืด แต่ทำได้แค่เดือนกว่าๆ พอเห็นคนอื่นกินอาหารปรุง เราก็ไปกินตาม จากนั้นก็กลับมากินจืดไม่ได้ และกินมื้อเดียวตกๆหล่นๆครับ
    3. ทุกข์ กังวล ระแวง หวั่นไหว ที่ทำไม่ได้ตามศีลที่ตั้งไว้ ไม่อยากกินอาหารรสจัด กลัวป่วย กลัววิบากเข้า
    4. สมุทัย เราไปยึดว่า เราต้องทำตามที่ตั้งศีลไว้ให้ได้เท่านั้น เราใจร้อน อยากบรรลุธรรม อยากพ้นทุกข์เร็วๆ
    5. นิโรธ – ไม่ชอบไม่ชังกับการกินจืด กินมื้อเดียว ทำเท่าที่ทำได้ ตามฐานตามบารมีของเรา ทำเต็มที่ บรรลุธรรมเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ยึดติด เมื่อถึงเวลาก็จะบรรลุธรรมเอง ตามเหตุปัจจัยที่เราทำ
    6. มรรค ใช้ปัญญาพิจารณาความจริง ไม่ใจร้อน เข้าใจความจริงว่า ฐานจิตของเรา อยู่ระดับไหน ทำเท่าทำได้ พยายามกินจืดไว้ก่อน เท่าที่ทำได้ นำธรรมะที่อาจารย์สอนมาใช้สู้กิเลส ถึงแม้เราจะไม่ชนะทั้งหมด เราก็ชนะอยู่บางส่วน ถึงแม้จะกินมื้อเดียว กินจืดไม่ได้ อย่างน้อย เราก็เลิกเต้าหู้ก้อน และน้ำเต้าหู้ได้ ตลอดเข้าพรรษาได้ เรายังมีโอกาสตั้งศีลเพิ่มได้ ยังมีโอกาสทำความดี ก็พยายามสานพลังกับหมู่มิตรดี ทำความดีเพิ่มเข้าไป ฟังธรรมะเพิ่มเข้าไป ตั้งศีลเพิ่มเข้าไป ความดีจะทำให้เราฉลาดขึ้น มีพลังปัญญา พลังบารมี มีอินทรีย์พละเพิ่ม ตามลำดับๆ ไม่ใจร้อน อยากได้ดีที่ยังไม่ถึงเวลาครับ ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์และหมู่มิตรดีครับ สาธุครับ

  10. จิราภรณ์ ตันใจเพชร

    ชื่อเรื่อง : กินกาแฟก็ผิดศีลเหรอเนี่ย
    เนื้อเรื่อง : จากการที่กินอาหารแบบวีเกนมานานและไม่เคยคิดว่าการกินกาแฟนั้นจะเป็นการผิดศีล ซึ่งเราคิดว่ากาแฟมันเป็นพืชมันไม่น่าจะทำให้ผิดอะไรไม่เบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นเลย แต่จริงๆแล้วเมื่อมาเรียนรู้กับอาจารย์หมอเขียวจึงทำให้รู้ว่าการกินกาแฟนั้นเป็นการผิดอธิศีล ซึ่งเป็นการเบียดเบียนตนเอง ทำร้ายตนเองให้เกิดโรคภัยได้ และใจที่ยึดติดการกินกาแฟมันจะทำให้ทุกข์ทรมานเมื่อไม่ได้เสพกาแฟ พอได้เรียนรู้อย่างนี้แล้วเข้าใจ และสามารถเลิกกินกาแฟได้เลย ตัดออกจากใจได้ทันทีเลย แค่รู้ว่ามันทำให้ผิดอธิศีล จึงเลิกกินกาแฟได้ด้วยใจที่ไม่อาลัยอาวรณ์ในกาแฟอีกเลย
    ทุกข์ : การไม่รู้ว่าการกินกาแฟผิดศีลเบียดเบียนตนเอง
    สมุทัย : การกินกาแฟทุกวันโดยไม่รู้ว่าเราสะสมเหตุแห่งทุกข์
    นิโรธ : ไม่มีอาการอยากกินกาแฟอีกเลยเมื่อรู้ว่ามันผิดอธิศีล และสามารถเลิกได้ด้วยใจที่ไม่ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ในกาแฟอีกเลยจิตมั่นคงไม่หวั่นไหว
    มรรค : มีความเข้าใจไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เป็นโทษเมื่อรู้ว่าการกินกาแฟมันเป็นโทษไม่เป็นประโยชน์ ก็ตัดได้ด้วยใจที่เป็นสุขและเห็นความไม่ยึดมั่นถือมั่นของจิตที่คิดว่ากินกาแฟแล้วดีมีประโยชน์ แต่พอรู้ว่ากินกาแฟเป็นโทษทำให้ผิดอธิศีลเบียดเบียนตนเองก็เลิกกินกาแฟได้ไม่ห่วงหาอาลัยอาวรณืในกาแฟอีก ตัดโช๊ะได้อย่างเด็ดขาดด้วยใจที่เป็นสุข

  11. นาง โยธกา รือเซ็นแบรก์

    เรื่องย่อ
    ฝนตกแรง ตลอดอาทิตย์ จึงไม่ได้ไปสวนเลย เมื่อวานวันหยุด จึงไปสวนจะเก็บมะเขือเทศสีแดง ไปให้น้องสาวแบ่งงปันต่อ อาทิตย์ที่แล้ว3วันมา2ครั้งเก็บได้เต็มถังวันนี้จึงเตรียมถังใบใหญ่ไป คิดว่าต้องได้2ถังแน่ๆ เพราะไม่ได้มาเก็บ เกือบๆอาทิตย์
    พอไปถึงสวน มะเขือเทศแดงสุก แทบจะไม่มีเลย เห็นใจตัวเองเป็นได้ไงมะเขือเทศสีแดงไม่สุก แต่ยังดีที่เหลือมะเขือเทศสีเหลืองสุกไว้ท่านผู้ที่มาเก็บอาจจะไม่ชอบ หรือมองไม่เห็นเพราะอยู่อีกฝั่ง (ปีนี้เคยมีคนมาเก็บช่วยเอาทาน หรือเอาไปขาย 1.ราบราร่า Rhabrara 2.แตงกวา .3.มะเขือเทศ)
    ทุกข์:เพราะตั้งใจมาเก็บมะเขือเทศ แต่ไม่มีมะเขือสุก
    สมุทัย: มีแขกที่ไม่ได้รับเชิญ มาช่วยเก็บผักที่เราปลูกเอาไว้และมันมากเกินความจำเป็น ที่ท่านสมควรจะเอาไป เห็นใจตัวเองไม่ชอบที่มี ผู้ที่ขโมยมาเก็บของในสวน
    ชอบ-ที่ไม่มีคนมาเก็บก่อนเราตั้งจะไปให้น้องสาว
    นิโรธ: สุขใจ เบิกบานใจ ดีเสียอีก มีคนมาช่วยเก็บ ช่วยกินได้แบ่งปัน ผักไร้สารพิษและมีประโยชน์กับคนที่เราไม่รู้จัก
    มรรค: พิจารณาถามใจตัวเองว่าทำไม ถึงมีอาการ ไม่ชอบและ ชัง คนที่มาขโมย เพราะจริงๆแล้วเราชอบที่จะเป็นผู้ให้และการแบ่งปันเป็นนิสัยปรกติของเราอยู่แล้ว แล้วมาปฏิบัติ ตามแนวทางท่านอาจารย์หมอเขียวและพี่น้องหมู่กลุ่ม ,เชื่อชัดเรื่องวิบากดีร้าย , ให้เมตตา แล้วอุเบกขา เพราะทำมาทั้งนั้นแต่ใจของเราก็ยังไม่ลงใจอยู่ดี .ระลึกถึงสัญญาเก่าๆตอนเด็กครอบครัวเรา ยากจน เราเคยชัง ป้าสะใภ้ญาติๆทางฝ่ายแม่มาก พ่อแม่และเราเป็นพี่คนโตทำเราปลูกพืชผักข้าวแทบตายถึง เวลาที่พริก
    ข้าวโพด แตงโมหรือ อะไรๆที่เราแม้แต่ถ่าน ,ข้าวในยุ้งป้าๆลุงๆ ที่ไม่เคยมาช่วยทำลงแรงเลย ก็มามีส่วนเก็บ พริก แตงโม ป้าๆใส่หาบเอาไป ข้าวในยุ้งก็มาตักไปสีเพื่อนบ้านเห็น ก็บอกเพื่อนบ้าน คุณป้าบอกว่าแม่ไม่มีเวลาเก็บ สีข้าว มาช่วยทำแทนแม่ เหมือนเป็นเจ้าของเอง ซึ่งเรารู้,เห็นไม่ใช่ครั้ง สองครั้งหลายปีทีเดียว แม่ไม่เคยกล้าว่าป้าๆแต่บอกพวกเราว่าให้อดทน ความไม่ชอบและชังคนที่มาเอาเปรียบครอบครัวเราฝังใจเรามาตลอด. ตอนนี้เรามาเจออีก อาการ”ชัง”คนที่มาขโมย จึงเกิดกำเริบขึ้นมาอีก.
    จริงๆแล้วเราต้องขอบคุณนะที่ ท่านมาช่วยเราเก็บ ประหยัดเวลาเราด้วย ก็วางใจได้ 80%
    ระลึกถึงบททบทวนธรรม ข้อ4 สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา ครั้งหนึ่งในชีวิตเราก็เคยเป็นขโมยมาเหมือนกัน ตอนสมัยวัยรุ่นทำงานโรงงานอยู่หอ เราอายุน้อยกว่าพี่ ๆน้าๆในห้องพี่ๆน้าๆหลายคนขอให้ช่วยขึ้นต้นมะพร้าว กลางดึก มีคนดูต้นทางเราขึ้นไปถีบมะพร้าวลงมาทั้งทะลายแล้ว เราได้ร่วมหุ้นการขโมยเต็มร้อยเพราะ ถ้าเราไม่ขึ้นไปเอาจะไม่การขโมยเกิดขึ้น ตอนนั้นรู้แต่ว่าการขโมยไม่ดี แต่แรงจูงใจว่านัำมะพร้าวหอม, เนื้อมะพร้าวอร่อยมากแรงยุ จากพี่ๆน้าส่วนหนึ่งๆบอกว่าของๆโรงงานทุกคนกินมีสิทธิ์ได้บวกความห่ามบ้ายุ ของเราด้วยแต่มันเป็นตราบาปและรู้สึกผิดตลอดชีวิตทีเดียว อดีตเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ข้าพเจ้าจะทำปัจจุบันให้ดีที่สุด และก็โชคดีที่เราได้ใช้หนี้ที่เราทำมา. พิจารณาถึงตรงนี้ความทุกข์ที่ไม่ชอบใจก็หายไป100%. ข้าพเจ้าจะพยายามพากเพียรล้างความชอบความชัง เรื่องอื่นๆต่อไป กราบสาธุค่ะ เจริญธรรมสำนึกดีค่ะ

  12. อรวิภา กริฟฟิธส์

    อยากทำแปลงผัก แต่ก็อยากเก็บเมล็ดพันธุ์

    เนื่องจากเวลานี้เป็นช่วงสปริงที่ออสเตรเลียผักต่างๆก็เริ่มออกดอกแล้วเราก็อยากเก็บเมล็ดเอาไว้ทำพันธุ์ ซึ่งต้องรออีกนานกว่าเมล็ดจะแก่ แต่ต้องเตรียมแปลงบำรุงดินเพื่อปลูกผักชนิดอื่น ก็เลยตัดสินใจไม่เก็บเมล็ดพันธุ์ ใจมันเสียดายลังเลอยู่หลายวัน ก็เลยทำใจว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนเราก็ต้องพร้อมรับพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยน อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้ว่าครั้งต่อไปถ้าจะเก็บเอาไว้ทำพันธุ์จะแยกปลูกใส่กระถางไว้ตากหาก เพราะว่าเรามีพื้นที่จำกัด

    ทุกข์ ใจเสียดายเพราะใจยึดว่า ถ้าได้เก็บเมล็ดพันธุ์จะสุขใจ ถ้าไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ทุกข์ใจ

    สมุทัย ต้องลื้อแปลงผักทำให้ไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์

    นิโรธ ทำใจว่าจะได้เก็บเมล็ดพันธุ์ หรือไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ ก็ได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปเพราะต้องการใช้พื้นที่ ใจเราก็ยินดี

    มรรค เห็นตัวใจที่เสียดายแสดงว่ามีความโลภอยากได้ในสิ่งที่เป็นไม่ได้ ณ เวลานั้นการได้เก็บเมล็ดพันธุ์มันดีแต่เมื่อเวลานี้ต้องการใช้พื้นที่ปลูกผักชนิดอื่นซึ่งจะเป็นประโยชน์กว่าก็ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและคราวหน้าถ้าต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์เราจะปลูกแยกไว้ในกระถ่างหาก
    ใจยินดี พร้อมรับพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา เรามีหน้าที่ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุดก่อนที่ทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

  13. ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ
    เรื่อง ยกมือบอกเวลาผิดตอนบำเพ็ญเป็นสื่อถ่ายทำรายการออนไลน์
    ทุกข์. กลัวว่าหมู่มีตรดีต้องเสียเวลาต้องถ่ายซ่อมเพื่อให้ได้เวลาพอดีที่จะออกอากาศ
    สมุทัย. ใจเรายึดมั่นถือมั่นว่าถ้างานที่ถ่ายทำออกมาเป๊ะพอดีไม่พร่องไม่ต้องเสียเวลาเราจะพอใจจะชอบใจถ้าออกมาไม่ได้ตรงกับใจเราต้องการจะชังจะไม่ชอบใจ
    นิโรธ. วางใจวางความยึดมั่นถือมั่นว่างานออกมาตรงเวลาพอดีก็ได้หรือไม่ตรงเวลาก็ได้งานจะออกมาพร่องก็ได้หรือไม่พร่องแต่ใจเราจะไม่พร่องไม่ทุกข์ใจเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว
    ณ.เวลานั้นกาละนั้นวางใจได้ก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค.ล้างความชอบชังความยึดมั่นถือมั่นความชอบชังความกลัวในเมื่อเราได้ทำเต็มที่แล้ว
    งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ใจ
    พิจารณาความยึดมั่นถือมั่นของความที่ใจอยากให้เป็นดั่งใจหมายจะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์ ล้างความยึดถือมั่นใจจะสำเร็จคือความสำเร็จที่แท้จริง

  14. นงลักษณ์ สมศรี(ลายใบไม้)

    เพื่อนถูกทำให้เข้าใจเราผิด
    เมื่อทำงานกับคนหมู่มาก. ก็จะอาจจะเกิดเรื่องแบบนี้ ถ้าถือสาก็ต้องไปตามแก้ไข เลือกที่จะทำงานไป และใช้การกระทำพิสูจน์ เมื่อเห็นเพื่อนทุกข์และต้องการคำตอบก็จะสนทนาธรรมกันจนเกิดความเข้าใจ เมื่อเพื่อนคลายกังวลไปได้ ก็มาพิจารณาเห็นว่า. เวลาจะบำเพ็ญทำความดี ก็ต้องได้ใช้วิบากดีร้ายไปพร้อมๆกันเช่นนี้เอง
    ทุกข์ : ไม่ทันได้ทุกข์ แต่เห็นใจเพื่อนที่ต้องทุกข์ จากการเข้าใจผิด
    สมุทัย : เห็นเหตุของความทุกข์เพราะเพื่อนขาดความมั่นใจ ไม่หนักแน่นมากพอ จนต้องทุกข์เพราะคำพูดที่ไม่ถูกต้องถูกตรง หลายๆครั้งที่ผ่านมา
    นิโรธ : เมื่อรับรู้แล้ววางใจได้ทันที มั่นใจในศีลของตัวเอง ยินดีที่เพื่อนได้ใช้วิบากให้หมดไป และให้อภัยผู้ที่พูดให้เพื่อนมาเข้าใจผิดเรา. ทำให้เราได้เปิดใจคุยกันมากขึ้นลงลึกไปถึงรายละเอียดของเหตุของปัญหาเกิดจากอะไร เมื่อคิดและพูดด้วยใจที่สงบนิ่ง ไม่เดือดเนื้อร้อนใจก็ส่งพลังสนิทานที่ดีต่อกันได้
    มรรค : เพราะยินดีที่ได้ล้างใจ. ไม่โกธร ไม่โทษใคร ไม่กังวล. ทุกเหตุการณ์ ที่ได้รับด้วยตัวเองหรือหมู่มิตรเหนี่ยวนำกันมา เราก็ได้แบ่งทั้งบุญกุศล และวิบากดีร้ายกันไปคนล่ะส่วน เมื่อมีจิตเมตตาต่อกันฉันท์น้องพี่ มีความศรัทธาในคุณความดีของกันและกัน ทำให้เรื่องที่ดูเหมือนจะร้าย(จากการพูดให้คนเข้าใจผิด)กลับกลายเป็นดีได้เสมอ. เพราะเราจะได้โชคดีใช้วิบากไปแล้ว. ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับทำดีแล้วจะต้องได้ดีดังใจหมาย สบายใจจัง

  15. นปภา รัตนวงศา(แก้วมั่นศีล)

    ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ
    สืบเนื่องจากการไม่สบายของพ่อ พ่ออายุ 84 ปีเริ่มไม่สบายหลังจากแม่เสียชีวิต พ่อเริ่มเข้ารพ.ในเดือนแรก มีอาการไม่สบายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง จากการสูบบุหรี่ตอนวัยรุ่นประมาณ 20 ปี และเลิกสูบมาเกือบ 40 ปี แต่ก่อนกินแต่แกงกะทิ กินเนื้อสัตว์ ขนมหวาน นม ทำให้มีเสมหะเยอะมาก ไปรับยาที่ รพ.ทุกเดือนได้รับยากิน ยาพ่นเช้า-เย็น และยาพ่นเมื่อมีอาการ แต่ยังต้องนอน รพ.เกือบทุกเดือน ก่อนขึ้นมาบำเพ็ญที่ภูผาฟ้าน้ำ 1วัน ท่านมีอาการหอบมากขึ้น พ่นยาเองที่บ้านอาการไม่ดีขึ้น
    ทุกข์ ที่พ่อไม่สบายนอน รพ.
    สมุทัย ถ้าพ่อไม่นอน รพ.ก็จะสุขใจ ถ้าไม่นอน รพ.ก็จะสุขใจ
    นิโรธ ท่านจะนอน รพ.หรือไม่นอน รพ.ก็สุขใจให้ได้
    มรรค ที่พ่อไม่สบายอยากให้ท่านดีขึ้น ไม่ได้อยู่ที่พ่อ อยู่ที่เราอยู่ที่เราเพิ่มศีลสูงขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ก็เพิ่มศีลเรื่องการตั้งใจฟังธรรมะอาจารย์จาก ตี3.40 น.เริ่มมาชชี่ง และตั้งใจนั่งฟังธรรม ตั้งใจจดไม่นอนฟังเหมือนแต่ก่อน ตั้งศีลเรื่องกินอาหารมื้อเดียวให้เข็มแข็งขึ้น เข้าใจในเรื่องวิบากกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าถ้าวิบากดีถึงรอบก็ได้มาบำเพ็ญ ถ้าวิบากร้ายออกฤทธิ์ก็วางใจปฎิบัติที่บ้านก็ได้ พ่อก็ลดการรับประทานไก่ลง งดกินนม ทำดีท็อกซ์เพิ่มขึ้น

  16. จิตรา พรหมโคตร

    เรื่อง อยากกินพิชซ่า

    เนื้อเรื่อง ขับรถไปเก็บค่าเคเบิ้ลทีวี ผ่านร้านพิชซ่า รู้สึกอยากกินมาก ด้วยการพิจารณาตลอดเวลาเมื่อเห็นขนมว่าไม่มีประโยชน์และตั้งศีลจะไม่กินขนมที่มีนมไข่ จึงขับรถผ่านไปไม่ยอมซื้อกิน แต่ความอยากกินพิชซ่าก็ยังไม่หาย เมื่อไปเก็บเงินค่าเคเบิ้ลลูกค้าที่ไปขายของตลาดนัด มีขนมที่ชอบหลายอย่างที่รวมพลังกับพิชซ่าสู้กับความอยากไม่ได้ในที่สุดก็ยอม แต่ไม่ได้ซื้อกินขนมไปซื้อมะพร้าวกินแทน

    ทุกข์:กลัว วิตกกังวล
    สมุทัย:มีอาการชอบชังเกิดขึ้นในใจ จะชอบใจถ้าได้กินพิชซ่า ชังเมื่อไม่ได้กินพิชซ่า
    นิโรธ:จะได้กินหรือไม่ได้กิน ก็ไม่กลัว ไม่กังวล ไม่ทุกข์ เพราะยังปฏิบัติลดละเลิกกามด้วยวิปัสสนาน้อยส่วนมากใช้แต่สมถะ
    มรรค: ตั้งศีลไม่กินขนมที่มีนมไข่ ก็สามารถกดข่มไปได้ระยะหนึ่งแต่ก็ยังมีความอยาก แต่แก้ความอยากกินพิชซ่ามาซื้อมะพร้าวกินแทน

    สรุปผลการล้างกิเลสอยากกินพิชซ่า จาก100% ล้างได้50%

  17. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    เรื่อง กังวลว่าลางสาดจะช้ำ
    เรื่องย่อ วางแผนในการเก็บลางสาดไปฝากพี่น้องจอส.ที่ภูผาห้าน้ำในค่ายพตฏ.ครั้งที่30 มีความกังวลว่า ทำอย่างไรให้พี่น้องได้กินลางสาดที่สดๆ ที่ไม่ช้ำุ
    ทุกข์ : ความกังวลเป็นทุดข์
    สมุทัย: เวลาและระยะทาง อาจทำให้ลางสาดช้ำ จึงกังวลมากๆ
    นิโรธ : เมื่อทำดีที่สุดแล้ว วางใจ ยอมรับ จะสดหรือจะช้ำก็ได้
    มรรค : การวางใจโดย ได้หาวิธีการวางแผนในการจัดการให้ดีที่สุด แล้วบอกกับกิเลสว่า ไม่ต้องกังวลแล้ว วางแล้ว เพราะเหตุการณ์ สถานการณ์ ในการเดินทางไกล ไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่เราไม่ประมาทก็พอ ยอมรับได้ทุกสถานการณ์

  18. นางบัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม รู้แก่นศีล

    ชื่อเรื่อง :วางร่างวางขันธุ์
    เนื้อเรื่องโดยย่อ : ข้าพเจ้าได้รับการติดต่อจากพี่น้องท่านหนึ่งที่เจ็บป่วยด้วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนสภาวะธรรมการวางร่างวางขันธุ์
    ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณเดือนกว่าๆได้พูดคุยทางโทรศัพท์จนคุ้นเคยระดับหนึ่งแต่ยังไม่เคยเจอตัวจริง ที่อยูห่างกัน375กิโลเมตร
    ทุกข์ : กังวลหวั่นไหวเล็กๆในการที่จะไปพูดคุยขออนุญาตกับพ่อบ้านในการไปเยี่ยมพี่น้องท่านนี้
    สทุทัย : กลัวว่าจะถูกว้ากล่าวและไม่อนุญาตให้ไป ชังที่จะถูกว่า และไม่อนุญาต ชอบที่ ไม่ถูกว่าและ อรนญาตให้ไป
    นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่จะถูกว่าหรือไม่อนุญาต /ยินดีและวางใจในความคิดเห็นของพ่อบ้าน
    มรรค : ตั้งสติพิจารณาประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านในการที่จะได้ไปบำเพ็ญวางร่างวางขันธุ์ และวางใจได้ว่าไม่ชอบไม่ชังที่รับฟังความคิดเห็นพ่อบ้าน

  19. ชุติวรรณ แสงสำลี

    ชื่อเรื่อง”แว่นตาอริยศีลของดีทำใช้ได้เอง”
    เรื่องย่อ:ใส่แว่นตาไปช่วยพี่น้องบำเพ็ญฐานกสิกรรมต่อระบบน้ำสปิงเกอร์ ใส่ๆถอดๆ ใส่แล้วมันมึนหัว จึงถอดเก็บใส่กระเป๋าเสื้อตอนนั่งลง พอตอนลุกยืนแล้วแว่นหล่นหายตอนไหนก็ไม่รู้ตัว จะหยิบแว่นตามาใส่กลับหาไม่เจอ
    ทุกข์:แว่นสายตาสั้นหล่นหาย
    สมุทัย:เสียดายเล็กๆเพราะเป็นแว่นสายตาสั้นยังใช้ได้ไม่นานไม่คุ้มค่าเงินที่พี่จิตอาสาสละเงินตัดให้ใช้เลย
    นิโรธ:ยอมรับความจริงตามความเป็นจริงใจไม่ทุกข์ของหายไปแล้วเสียหายไแแล้วแต่ใจไม่หาย ใจไม่เสีย ใจยังเต็ม
    มรรค:เดินตรวจสอบหาแว่นตาในพื้นที่แปลงรวมดี 3ครั้งแล้วยังไม่เจอแว่นตา ก็ทำใจว่าหาเจอก็ได้ ไม่เจอก็ได้ วางใจ เราก็ใช้ประโยชน์ใส่แว่นนี้มาได้สักระยะหนึ่งก็ดีแล้ว แว่นนี้หายไปก็ดีแล้วเพราะช่วงหลังเราก็ไม่ค่อยได้ใส่เพราะดูแลตนเองด้วยการปฏิบัติศีลเพิ่มขึ้น ตั้งศีลพากเพียรลด ละ เลิก ล้างกิเลสได้มาตามลำดับแม้ยังไม่หมดแต่ก็เห็นกิเลสตัวอื่นๆชัดขึ้นๆ มีตาดีมากขึ้น
    นี่ไงที่เป็นแว่นอริยศีล ทำให้ตาในเราชัดขึ้น ตานอกที่มองเห็นสิ่งแวดล้อมไม่สำคัญเท่าตาในหรอก แม้ว่าเราไม่ค่อยได้กิน
    ปัสสาวะหรือเอาปัสสาวะหยอดตา แต่ทำไมสายตากับดีขึ้น สายตายาวค่อยๆหายไปมองเห็นระยะใกล้ชัดเจน เหลือแต่สายตาสั้นถึงแม้จะเจอแว่นตาแต่เราก็ไม่อยากใส่แล้ว เพราะใส่แล้วก็รู้สึกเวียนๆมึน สายตาเราปรับเปลี่ยนไปอัตโนมัติ
    ♡♡ ล้างอนิจจังความไม่เที่ยงดีแล้วที่แว่นหายไป แสดงว่าพลังชีวิตเขาไม่ให้ใช้แว่นตาอันนี้แล้ว มันไม่เหมาะกับเรา อย่ายึดว่าทำดีแล้ว ทำกุศลจะไม่มีวิบากร้าย
    ☆ล้างตัวที่เคยยึดมั่นถือมั่นว่าเราจะต้องอาศัยแว่นสายตานี้ตลอดเวลาเป็นที่พึ่ง ที่จริงมันเป็นแค่
    วัตถุเท่านั้นเอง
    ♡♡♡ใช้ปัญญาวิปัสสนา
    โยนิโสมนสิการว่าเราเคยใช้ปัญญาไม่มากพอ มีตัวอวิชชามากมาย มองกิเลสไม่ชัดตีไม่แตกไม่สลาย พิจารณาสั้นไปไม่ลึกซึ้ง มีสภาวะน้อยมีแต่ภาษาเปรียบเหมือนแว่นสายตาสั้น
    แว่นสายตาสั้นที่หายไป
    ก็ทำให้จิตเรามีสภาวะยาวขึ้น เห็นจิตกิเลสชัดขึ้น แยกแยะได้เร็วและกำจัดได้เร็วไม่รอช้า เป็นอนาคตอันยาวไกลที่เป็นมรรคเป็นผล
    อิทธิบาท4
    ▪ยินดีที่เรามีฉันทะ
    ▪วิริยะจะพากเพียรลด ละ เลิก ล้างกิเลสได้ตามลำดับ
    ▪จิตตะทุ่มโถมเอาใจใส่ไม่เนินช้า ขยัน
    ▪วิมังสาตรวจสอบเตวิชโช มีใจผาสุก สดชื่น ชุ่มฉ่ำใจที่ทำได้เกือบทุกวันตามกำลังความสามารถค่ะ
    ใจไร้ทุกข์ แว่นสายตาหายไปก็ดีแล้ว ได้แว่นตาอริยศีลมาแทนคุ้มค่ามากๆ ไม่ต้องเสียเงินไปตัดแว่นใหม่ เป็นแว่นตาตัดกิเลสได้ฟรี ตลอดชีวิต ราคาศูนย์บาท
    ใครๆก็ใช้ได้ค่ะ พึ่งตนเองได้อย่างสบายใจค่ะ ลดการพึ่งแว่นสายตาไม่ต้องใส่ก็สบายใจ ถึงแม้ต้องใส่บางครั้งบาวคราวก็สบายใจค่ะ แท้จริงวิบากร้ายหายไปให้เราได้รับวิบากดีต่างหาก🤓💚😀🍀🍀🍀

  20. แบม มุกแสงธรรม

    ชื่อเรื่อง วางขันธุ์วางร่าง
    เหตุการณ์ : ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ข้าพเจ้าได้รับการติดต่อให้ไปเยี่ยมพี่น้องท่านหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายปฏิเสธการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันและมีความศรัทธาใการดูแลตัวเองแบบแพทย์วิถีธรรมและอยากให้ข้าพเจ้าไปเยี่ยมเพื่อพูดคุยวางขันธุ์วางร่าง ก่อนหน้านี้เราได้ติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์ประมาณเดือนกว่าๆแต่ยังไม่เคยเจอตัวจริง
    ทุกข์ : กังวลหวันไหวเล็กน้อยที่จะขออรุญาตพ่อบ้านในการเดินทางครั้งนี้
    สมุทัย : กลัวว่าพ่อบ้านจะว่ากล่าวและไม่อนุญาต คือชังที่จะถูกว่ากล่าวและไม่อนุญาต ชอบที่จะไม่ถูกว่ากล่าวและอนุญาตให้ไป
    นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังที่พ่อบ้านจะว่ากล่าวหรือไม่ว่า จะอนุญาต หรืไม่อนุญาต รับฟังความเห็นของพ่อบ้านด้วยใจที่ยินดีเบิกบาน
    มรรค : ตั้งสติพิจารณาประโยชน์ตนและประโยชน์การเบียดและไม่เบียดเบียนตนเองเกินไปและวางใจในความคิดเห็นของพ่อบ้านจะว่ากล่าวอนุญาตหรือไม่อนุญาตอย่างไรก็ไม่ชอบไม่ชังได้เข้าใจเรื่องวิบากกรรมเขาและวิบากกรรมเราเมื่อวางใจได้100%ภายในหนึ่งชั่วโมง สรุปคือ มีความกล้าที่จะพูดกับพ่อบ้านเล่าเหตุการณ์และความประสงค์ของเรา ท่านรับฟังด้วยความเห็นใจและเข้าใจและอนุญาตให้ไปดูเส้นทางการเดินทางซื้อตัวและไปส่งและไปรับขึ้นรถทัวร์และเราก็ยังมีพี่น้องไปเป็นเพื่อนหนึ่งคน จึงได้บำเพ็ญการวางขันธุ์วางร่างสำเร็จ ครั้งแรกในชีวิต สาธุ

  21. ศิริพร ไตรยสุทธิ์

    เรื่อง ดินปลูกต้นไม้ไม่พอ
    ดินที่ปลูกต้นไม้ในกระถางในบ้านช่วงฤดูหนาว มี 3 ส่วน 1.ดินที่หมักเอง 2.กากมะพร้าว(ซื้อ) 3.ดินปลูกต้นไม้(ซื้อ) นำทั้งสามส่วนมาผสมกันในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อปลูกต้นเตย ซึ่งได้มาจากเมืองไทย จากบางน้องสาวที่บวงพลี สมุทปราการ ตั้งปี 2017
    ปีนี้ต้นเตยงามมาก มีต้นเล็ก ๆ เกิดใหม่มากกว่า 10 ต้น จึงตั้งใจจะขยายพันธุ์เพื่อแบ่งปัน แต่ปริมาณดินไม่เพียงพอที่จะปลูก

    ทุกข์ คือ อยากปลูกต้นเตยให้ได้เยอะ ตั้งใจไว้ว่า กระถางละ 1 ต้น แต่มีดินไม่พอ
    สมุทัย คือ ดินปลูกต้นไม้หมด แต่ยังเหลือต้นเตยอีกเยอะ
    นิโรธ คือ เอาต้นเตยมาปลูกในกระถางเดียวกันหลายต้น รอดเท่าไหร่ก็คือเท่านั้น
    มรรค คือ ในหนึ่งกระถางมีต้นเตยหลายต้น ก็จะแน่น ๆ นิดนึง บางส่วนเอาไปปลูกกับต้นที่โตเลย ตามช่องว่างในกระถางที่มีเหลืออยู่
    ก็วางใจว่า ทำเต็มที่แล้ว ต่อไปก็ดูแลให้ดี ทั้งการรดน้ำ วางในจุดที่แสงสว่างเพียงพอ ห่อกระถางด้วยผ้ากันความเย็น ไม่ให้ต้นเตยรู้สึกเย็นจนเกินไป คาดหวังงว่าจะรอดทุกต้น สาธุ

  22. ขวัญจิต เฟื่องฟู

    เรื่อง กลัวที่จะพูดสอบอริยสัจ4เป็นภาษาเยอรมัน
    ทุกข์ กลัวที่จะสอบพูดเป็นภาษาเยอรมัน
    สมุทัย พี่น้องเสนอให้เราสอบอริยสัจเป็นภาษายอรมันด้วย เห็นความกลัว กังวลอยู่ในใจเพราะคิดว่าภาษาของเรายังไม่เเตกฉานพอที่จะพูดออกมาให้ตรงกับอริยสัจ4ได้ ทางกายมีอาการหนักๆที่ท้อง เเละใจก็ยังไม่พร้อมที่จะพูดเป็นภาษาเยอรมัน ชอบที่จะไม่ได้พูดเป็นภาษาเยอรมัน กังวลถ้าต้องพูดเป็นภาษาเยอรมัน
    นิโรธ ใจไร้ทุกข์ ไม่ว่าจะได้พูดสอบเป็นภาษาอะไรก็ได้
    มรรค ตั้งสติ นึกถึงคำที่อ.หมอเขียวสอน การเบียดเบียนตัวเราเองด้วยความกลัว กังวล เป็นบาป ผิดศีลข้อ1คิดถึงตรงนี้ใจก็เบาลงครึ่งหนึ่ง
    ลองมาเทียบเเปลไทย เยอรมันดูของการทำอริยสัจ4 ก็ได้เห็นว่าตรงทุกข์เเละนิโรธภาษาไทย เยอรมันมันไม่ตรงกัน ก็เห็นใจมันวางลง เพราะคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่เราจะได้พูดถ้เป็นภาษาเยอรมัน เเละถ้าจะสอบเราจะเเปลจะลองพูด ปรึกษาหารือในหมู่กลุ่มก่อนวาาใช้ได้ไหม เพื่อที่จะภาษาหรือสำนวนออกมาดีกว่านี้ เวลาเผยเเพร่ เเละสื่อสารออกมาให้จะได้ชัดเจน พอพิจารณามาถึงตรงนี้ใจก็เบาสบายหายกังวล 100% เข้าสอบด้วยใจที่เบิกบาน ใจไร้ทุกข์คะ สาธุค่ะ

Comments are closed.