630927 การบ้านอริยสัจ (7/2563) [15]

630927 การบ้านอริยสัจ (7/2563)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 21 – 27 กันยายน 2563 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปมีผู้ส่งการบ้านสัปดาห์นี้ทั้งหมด 15 ท่าน

  1. ปิ่น คำเพียงเพชร
  2. มั่นศีลขวัญ. นางสนทยา กันทะมูล
  3. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  4. พรพิทย์ สามสี
  5. สำรวม แก้วแกมจันทร์
  6. จิตรา พรหมโคตร
  7. นางนงลักษณ์ สมศรี
  8. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  9. นาง โยธกา รือเซ็นแบรก์
  10. ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
  11. ศิริพร ไตรยสุทธิ์
  12. นางบัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม
  13. ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์
  14. ชุติวรรณ แสงสำลี
  15. ขวัญจิต เฟื่องฟู

13 thoughts on “630927 การบ้านอริยสัจ (7/2563) [15]”

  1. มั่นศีลขวัญ. นางสนทยา กันทะมูล

    เหตุการณ์
    1. หญ้าขึ้นไว คลุมผักที่ปลูกไว้ ทำให้ผักเน่า ลูกฝนเน่า ไม่โต
    2. ความรู้สึกว่า หญ้าไม่ลดลง เพิ่มขึ้นทุกปี
    3. สางหญ้าคนเดียว ทำไม่ไหวต้องมีเครื่องมือหรือคนอื่นมาช่วย
    4 .มีเวลาเข้าไปในสวนน้อย ไม่สม่ำเสมอ
    5. สวนรกทำให้ลูกไม่กล้าเดินเข้าสวน ไปเก็บผักผลไม้
    6. เพื่อนบ้านมาทักว่า หญ้าเยอะ กลัวเขาไปร้องเรียนที่เทศบาล โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน
    ทุกข์ใจ
    1.อยากให้พืชผักที่ปลูกไว้ เก็บผลผลิตได้เยอะๆ
    2 อยากให้หญ้า น้อยลงไวๆ จนไม่มีหญ้าในสวน
    3 อยากให้ลูกและพ่อบ้านมาช่วยทำสวน
    4.อยากทำสวนตามใจเรา
    5.ทุกข์ใจลูกไม่เดินเข้าสวน
    6.เกรงใจใจเพื่อนบ้าน
    เหตุแห่งทุกข์
    ชอบหรืออยากให้เกิดสิ่งที่ได้ดั่งใจหมาย
    ชังหรือไม่อยากให้เกิดสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจ ขัดใจ
    สภาพดับทุกข์
    @สิ่งที่เราแก้ไขได้ด้วยตัวเราเอง
    *ทำคนเดียวไม่ไหว ก็เอ่ยปากบอกพ่อบ้านช่วยตัดหญ้า เขาจะจัดสรรเวลามาทำให้หรือไม่ก็ต้องวางใจ ไม่ไปกดดัน ให้เป็นไปตามวิบากดี/ร้าย ที่จะจัดสรรมาให้
    * มีเวลาเข้าสวนน้อย ก็จัดสรรเวลาให้ดีที่สุด ไม่ขี้เกียจ ไม่ฝืดฝืนกำลังตัวเองเกินไป ทำเต็มที่ดีที่สุด
    @ สิ่งที่เราแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้
    *หญ้าขึ้นไว ทุกอย่างล้วนเกิดมาแต่เหตุ สิ่งที่เราพบเจอคือสิ่งที่เราทำมา หญ้าขึ้นไวเพราะเราปรุงดินดีเมื่อฝนตก ไม่ได้ตกใส่ผักอย่างเดียว ตกใส่หญ้าด้วยหญ้างามเพราะดินดี
    * หญ้าไม่ลดลง ไว เป็นความใจร้อน หญ้ามีหน้าที่ขึ้นเรามีหน้าที่สางและถอน ทำเต็มที่ดีที่สุด
    * ลูก พ่อบ้าน ไม่เข้าช่วยทำงานในสวน ทุกอย่าง เป็นไปตามธรรม ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูล ยังไม่ถึงเวลาของเขา เราทำในส่วนของเราไป เมื่อถึงเวลาเขาจะมาเอง
    *เพื่อนบ้านมาถาม ทานก็ห่วงใย เรื่องสวนเราติดบ้านท่าน ถ้าสวนเรารกก็ส่งผลถึงบ้านท่านด้วย เราก็มีหน้าที่ทำให้ไม่รก เท่าที่เราทำได้ พยายามทำในส่วนติดรั้วก่อน แล้วก็วางใจ ทำเต็มที่ ได้เท่าไหร่ ได้เท่านั้น
    เส้นทางดับทุกข์
    อาจารย์บอกว่า ล้างชังด้วยชอบ
    เมื่อชังสิ่งใดหาประโยชน์จากสิ่งนั้นให้ได้
    ประโยชน์ของหญ้า
    1.บ่งบอกว่าดินดี รักษาความชุ่มชื้นของดิน
    2.นำมาทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้ดีมาก
    3.ไม่ต้องเสียเงินซื้อหรือขนปุ๋ยจากที่อื่นมา
    4.ทำให้ได้มีที่ฝึกสมรรถนะทางกาย
    5.หญ้าเป็น ผัสสาหาร เป็นเครื่องมือปฏิบัติธรรม
    เมื่อมองหาประโยชน์จากหญ้าได้ยิ่งมาก ยิ่งล้างความไม่ชอบหญ้าได้มาก
    สบายใจขึ้นเมื่อ หญ้าขึ้นไว เข้าสวนทุกครั้งที่จัดสรรเวลาได้ เข้าสวนไปทำ สิ่งที่ควรทำ เช่นจัดการสางหญ้า ทำบารายคัลเจอร์ ลงเม็ดพืชผัก เก็บผลผลิต ถ้าทำไม่ไหวก็เอ่ยปากบอกพ่อบ้าน อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น หลังๆมานี้รู้สึกว่ามีแรงทำงานเยอะขึ้น ด้วยความสบายใจ เพื่อนบ้านไม่มีมาถามแล้ว ลูกก็เริ่มจะเดินมาเข้าสวนบ้างแต่ไม่บ่อย เต็มใจบ้าง ไม่เต็มใจบ้าง ตามจังหวะเวลาของเขา เราก็ล้างใจไปเรื่อยๆตามหน้าที่ของเรา เพียรทำต่อไป ตั้งมั่นทำต่อไป
    เพราะ เส้นทางนี้คือทางเดียวสู่ความพ้นทุกข์
    สาธุ

  2. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    ทุกข์ เพราะอินเตอร์เนทที่บ้านช้า
    สมุทัย ทุกวันพฤหัสบดี ช่วงเย็น(เมืองไทย) บ่ายของเยอรมัน ข้าพเจ้าจะมีเรียน การทำคำคมธรรมะประกอบรูปภาพกับพี่น้อง ซึ่งอยากจะให้อินเทอเนต เร็วๆ เพื่อข้าพเจ้าจะได้ใช้ PC ในการ zoom เรียนแทนการใช้มือถึอ เพราะจะได้เห็นหน้าพี่น้องได้ทุกคนในเวลาเดียวกัน
    นิโรธ เนทจะช้าจะเร็วก็ไม่เป็นปัญหา ใช้มือถึอ ในการ zoom (การเรียน) ก็ได้ ถ้าอยากเห็นหน้าพี่
    น้องก็เลื่อนดูเอา
    มรรค อีกไม่เกิน 1 อาทิตย์ เนทก็จะเร็วขึ้นแล้ว เพราะข้าพเจ้าได้ซื้อความเร็วของเนทให้เร็วมากกว่าเดิม 3 เท่า และให้เพื่อนช่วยเช็ค PC และ กล่องเนท ที่บ้านให้ เพื่อจะได้หาต้นตอได้ว่าปัญหาเกิดจาก เนทช้า เกิดจาก PC หรือเกิดจากกล่องเนท ที่บ้าน จะได้แก้ปัญหาตรงจุด ในไม่ช้าก็คงจะได้เห็นหน้าพี่น้องขณะเรียนพร้อมกันทุกท่านคะ สาธุ

  3. พรพิทย์ สามสี

    ใกล้จะถึงวันไปค่ายพระไตรปีฏกที่ภูผาฟ้านัำได้ลงชื่อไปแล้วขอไปด้วยคนบอกกล่าวพ่อบ้านแล้ว แต่หลายครั้งหลายคราพ่อบ้านก็เอื้อให้อยู่บ้าง แต่คราวนี้เราก็หวั่นใจอีกตามเคยว่าพอถึงวันไปเขาจะโล้งเล่งเราอีกไหมเน๊าะ เพราะการไปค่ายพระไตรคราวก่อนๆเราไปเพียงลำพังเป็นศิลปินเดี่ยว แต่มาคราวนี้เกี่ยวกับ โควืด ต้องไปรถที่ทางศูนย์จัดไว้เท่านั่น เราก็ได้ลงชื่อไปก้บพี่น้องหมู่มิตรดีแล้วด้วย
    เรื่อง # ใจหวั่นๆ
    ทุกข์ # กลัวจะเสียคำพูด
    สมุทัย # ชอบที่จะเดินทางแบบไม่ให้มีอุปสรรคใดๆขัดขวาง
    นิโรธ # อย่ากลัว อย่ากังวล เรามีหน้าที่ทำให้ดีที่สุด เพิ่มศีลให้มากทุกสิ่งทุกอย่างไปตามเหตุตามปัจัยจะเกิดอะไรสิ่งใดใจเราต้องสู้(กิเลส) ใจไร้ทุกข์ไร้กังวลเบิกบานแจ่มใสดีกว่า
    มรรค # คิดแบบยอมรับแบบสำนึกชาติหนึ่งชาติใดเราก็คงเคยขัดขวางการไปปฏิบัติดีของผู้อื่นมา ขอสำนึกผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั่น ตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ
    เท่าที่พึงทำได้ ใจไร้ทุกข์ไร้กังวลอย่างเป็นอมตะธรรม

  4. สำรวม แก้วแกจันทร์

    เรื่อง ไม่ได้กินข้าวพอง
    เรื่องย่อ เนื่องด้วยตัวเองชอบกินข้าวพอง จึงไปตลาดซื้อข้าวพองมา ตอนแรกตั้งใจจะกืนให้สมอยาก แต่คิดได้ว่า กินเพราะร่างกายหิว หรือกินเพราะใจที่อยาก คุยกับกิเลส ต่อรองกับกิเลส บอกเหตุผลกับกิเลส นานถึง 2-3 ชั่วโมง ในที่สุด “ไม่ได้กินข้าวพอง”

    ทุกข์ : อยากกินข้าวพอง มีความทรมาน ทุกข์ใจ
    สมุทัย : ไม่ได้กินข้าวพอง ไม่ได้ดั่งใจ ทรมานที่ไม่ได้กืน จึงทุกข์
    นิโรธ : กินก็ได้ ไม่กินก็ได้ วางได้ สบายใจ ยิ้มได้ ใจโล่ง เบา เบิกบาน ผาสุก
    มรรค : พิจารณาเหตุผลในการกิน “รู้จักประมาณในการบริโภค” กินเอาประโยชน์ กืนเป็นอาหาร กินเป็นยา กืนปรับสมดุล กืนฆ่ากิเลส พิจารณาใคร่ครวญซ้ำๆๆๆๆ ควรไม่ควร ร่างกายต้องการหรือเป็นความต้องการของกิเลส

    “กิเลสแม้น้อย ก็เหม็นมาก” เห็นตัวความอยากเป็นกิเลส มันมีความต้องการที่จะกินข้าวพองให้ได้ มันมีความพยายามออกคำสั่งให้ไปตลาด ไปหาซื้อข้าวพองมาให้ได้ แล้วมันอ้อนวอนว่า มันจะกินให้ได้ๆๆๆ มันอ้างว่า มันอยากกิน ๆๆๆๆ มันไม่ยอม ทำให้เราต้องเสียเวลากับมันตั้ง2-3 ชั่วโมง จนบางครั้งเกือบหมดแรงในการต่อสู้กับมัน “กิเลสแม้น้อยก็เหม็นมาก” จริงๆ ถ้าเราไม่มีศีลพอ อธิศีลศีลไม่เป็น ก็ต้องแพ้มันอยู่เรื่อยไป ครั้งนี้แม้ว่า ต้องเสียเวลาในการต่อสู้กับกิเลสตัว”อยากกืน” แต่ก็มีกำลังใจที่ดี ภูมิใจที่สู้แล้วชนะ โดยไม่ต้องกดข่มอีกแล้ว ในที่สุด กินก็ได้ ไม่กินก็ได้ กินเอาประโยชน์ ไม่ใช่กินเพราะอยาก

  5. จิตรา พรหมโคตร

    เรื่อง:ยึดดี
    เนื้อเรื่อง:กำลังฟังอปริหานิยธรรมอยู่ เสียงเริ่มเบา บางช่วงหายไป ทุกครั้งจะฟังโดยใช้หูฟัง แต่วันนี้หูฟังก็ไม่ได้ยิน ข้าพเจ้ารู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ฟังธรรมของอาจารย์ และเริ่มเพ่งโทษพ่อบ้านเปิดโทรทัศน์เสียงดัง เมื่อได้สติว่ากำลังเพ่งโทษผู้อื่นก็หยุดคิดทันที แล้วขึ้นมาฟังบนชั้น 2 ของบ้าน
    ทุกข์:กลัว วิตกกังวล
    สมุทัย:มีอาการชอบชังเกิดขึ้นในใจ จะชอบใจถ้าได้ฟังธรรม ชังเมื่อไม่ได้ฟังธรรม
    นิโรธ:จะได้ฟังธรรมหรือไม่ได้ฟังธรรม ก็ไม่กลัว ไม่วิตกกังวล ไม่ทุกข์
    มรรค:ตั้งศีลยอมไม่เอาแต่ใจตัวเอง เข้าใจเรื่องกรรมของวิบากดี วิบากร้ายว่า ถ้ากุศลเกิดก็ได้ฟัง ถ้าอกุศลเกิดก็ไม่ได้ฟัง เราทำความดีเต็มที่ของเราได้เท่านี้ เมื่อคิดอย่างนี้ใจก็ผ่อนคลายความยึดดีที่จะพยายามฟังธรรมให้ได้ ผลปรากฏว่าเสียงเริ่มดังขึ้นชัดเจนและได้ร่วมฟังอปริหานิยธรรมจนจบรายการ

  6. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    เรื่อง “ในที่สุด…อดกินข้าวพอง”
    เรื่องย่อ. เนื่องจากที่ตัวเองมีความอยากกินข้าวพองมาก จึงต้องไปตลาดเพื่อจะต้องซื้อข้าวพองมากินให้ได้ แต่เมื่อได้ข้างพองมาแล้ว ก็ชวนกิเลสคุยกัน โดยให้เหตุผลว่า จะกินก็ได้ แต่ต้องพิจารณาถึงโทษ-ประโยชน์ก่อนกิน กินได้แต่พอประมาณ ใช้เวลาคุยกับมันนานประมาณ2 ชั่วโมง ในที่สุด…อดกินข้าวพอง

    ทุกข์ : ทรมานที่อยากกินข้าวพอง แต่ไม่ได้กืน
    สมุทัย : ความอยากเป็นกิเลส ที่ทำให้เกิดทุกข์
    นิโรธ : มีความพอใจ ที่จะกินหรือไม่กินก็ได้
    มรรค : หาวิธีต่อสู้กับความอยากคือ ตัวกิเลสมาร ตัวกามในเรื่องการกิน พืจารณา ซ้ำๆๆ ว่า ทำไม่จึงอยากกิน กินแล้วจะเป็นโทษ หรือกืนเพื่อเอาประโยชน์ การรู้จักประมาณในการกิน

    “กิเลส แม้น้อยก็เหม็นมาก” เมื่อได้ตั้งศีลฝึกพิจารณาถึงโทษ-ประโยชน์ ก่อนที่จะกืนหรือไม่กินได้แต่ละครั้ง กินเอาปนะโยชน์ กินเป็นยา กืนเพื่อปรับสมดุล กินเพื่อฆ่ากิเลส ไม่หลงยึดติดอยู่กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในอาหารชนิดนั้นๆ ก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แพ้กิเลสก็บ่อย ชนะกิเลสก็มี ครั้งนี้ก็เหมือนๆกับทุกครั้งที่ผ่านมา หลายครั้งต้องกดข่ม แต่ครั้งนี้ ดีขึ้นตรงที่ว่า ไม่ต้องกดข่ม ในที่สุด กิเลสมันย่อมอดได้ ไม่ดิ้นแล้ว หลังจากที่ได้ต่อสู้กันนานประมาณ2 ชั่วโมง การต่อสู้กับกิเลสนั้น “แพ้ชนะนั้นไม่สำคัญ” เอาที่พอใจ ใจพอ ไม่ทุกข์-ไม่สุข เฉยๆ ก็เบิกบานได้ ผาสุกแล้ว

  7. นางนงลักษณ์ สมศรี

    ชื่อเรื่อง :น้ำตาหอยทาก
    เนื้อเรื่อง :เป็นคนที่ถ้าจะทำอะไรถ้ามีฉันทะ และ รู้สึกถึงพลังดีดี ก็ที่จะทำด้วยความผาสุก ในวัยเด็ก ทำดีก็เสมอตัวถ้าทำผิดก็จะโดนดุโดนว่า หากนานๆจะมีผู้ใหญ่ ออกโรงปกป้องก็จะรู้สึกซาบซึ้งใจ น้ำตาไหลง่ายๆ หายโกรธที่โดนเข้าใจผิด ก็คิดว่าเวลาที่ผ่านไปนานหลายปีได้ถูกขัดเกลาจาก สังคม ทั้งทางตะวันออกและตะวันตก
    หากวันนี้ ถูกคนว่า หรือเข้าใจผิดเราจะไม่เถียงจะรับฟังด้วยสติ และถึงแม้ ยามรับฟังจะเกิดอาการกระตุกๆบ้าง ร้อนวูบวาบบ้าง แต่พอพี่น้องออกมาแลกเปลี่ยน ด้วยความเห็นใจและเข้าใจการทำงานเบื้องหลังของพวกเรา จึงเกิดน้ำตาซึมขึ้นมา ตอนนั้นรู้แล้วว่าภพเดิมกำลังจะกลับมาด้วยความชักช้าของการวางใจเหมือนทากคลาน เลยเกิดการเล่าสภาวธรรม พร้อมน้ำตาด้วยความประทับใจ ที่หมู่มวลพากันให้กำลังใจ หอยทาก ที่ไม่เท่าทันทุกข์ที่ทับถมมานานจนจะเปื่อยยุ่ยเป็นปุ๋ยในวันนี้
    ทุกข์ :ยังมีความหวั่นไหว ทั้งเรื่องที่เกิดดี และในเรื่องที่เป็นผัสสะ
    สมุทัย: เหตุก็เกิดจาก มีอคติ4 คือความลำเอียงที่ทำให้เสื่อม ที่ล้างไปไม่ถึง เป็นห่วงพี่น้องที่ทำงาน แล้วยังถูกกดดัน มีความพอไม่ใจ ก็มีใจอยากจะโต้ตอบ เพื่อบอกเหตุผล และปกป้องคนที่โดนกระทำ
    นิโรธ :ดับทุกข์นั้นด้วยการมองตามความเป็นจริง ว่าเราไปเปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจให้ได้อย่างใจเราไม่ได้ หลีกเลี่ยงที่จะอวิวาทะกัน ทำหน้าที่ของตนด้วยการลดทุกข์ ไม่เพ่งโทษกันต่อไป เห็นใจกัน ล้างใจในข้อพร่องนั้น ทั้งของเราและพี่น้องท่านนั้นด้วย ไปทำงานอื่นที่ได้พลัง สารภาพความเป็นจริงกับหมู่ที่เรานับถือ และเชื่อมั่นในภูมิธรรม
    มรรค : วิบากดีและร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ส่งผลดีตามมาคือรู้ว่ามีพี่น้องคอยช้อนช่วยกันอยู่ เพื่อ พัฒนา และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหมู่ของพวกเรา เมื่อยอมวางใจที่ว่า เมื่อทำดีที่สุดแล้ว ผลที่จะเกิดขึ้นตามมายอมรับทั้งวิบากดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ด้วย ยอมให้คนอื่นเข้าใจผิดบ้างก็ได้ เมื่อยอมก็ไม่ได้หมายความว่าแพ้ แต่เป็นการยอมเพื่อที่จะไม่สร้างวิบากดีร้ายให้เกิดขึ้นสืบไป และได้ล้างความชิงชังในอดีต ให้ลดน้อยลงไปได้เรื่อยแม้จะยังไม่บรรลุในเรื่องนี้ เวลานี้ แต่ยินดีจะบำเพ็ญทำความดีเพื่อดันวิบากดีร้ายอออกไป และเหนี่ยวสิ่งดีงามที่เป็นกุศลให้เป็นคนดี มีความอดทนอดกลั้นมากยื่งขึ้นค่ะ

  8. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)รหัส 6112008004

    ส่งการบ้าน อริยสัจ4
    เรื่อง ความในใจของการได้รับหมอบหมายให้เป็นสื่อถ่ายทำรายการ(คำคมเพชรจากใจเพชร)*ครั้งแรก
    โดนที่เรายังไม่มีฉันทะ ยังไม่ยินดีที่จะทำ
    เนื่องจากพี่จิตอาสาท่านทาบทามให้ไปเป็นผู้ช่วยถ่ายรูปเบื้องหลังของการถ่ายทำรายการแต่พอเอาเข้าจริงๆพี่ๆจิตอาสาก็เมตตาให้โอกาสเราได้บำเพ็ญเป็นหนึ่งของทีมสื่อเลย(แบบงงๆค่ะ)
    แต่กิเลสมันบอกว่า เรารู้สึกยังไม่ยินดีที่จะทำตรงนี้เลย รู้สึกมันไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ถนัดกลัวทำงานผิดพลาดออกมาได้ไม่ดี แต่ถ้าให้ไปตัดหญ้าทำกสิกรรม มันน่าจะดีกว่าเป็นไปได้มากกว่า
    แต่เราก็มาตรวจใจตัวเองว่าเราติดตรงไหน สรุปว่าเรากลัว ยึดมั่นถือมั่นว่าแล้วงานต้องออกมาดี เมื่อเกิดความกลัวกิเลสมันก็หลอกเราว่าเราทำไม่ได้เราไม่ถนัด
    แต่เมื่อเราวางใจได้ว่างานที่เราจะทำจะถนัดหรือไม่เราก็พร้อมที่จะบำเพ็ญและเรียนรู้ งานมันจะออกมาพร่องก็ได้ไม่พร่องก็ได้แต่ใจเราต้องไม่พร่องไม่ทุกข์
    ยินดีพอใจไร้กังวลกับการบำเพ็ญทุกฐานงานที่เราได้รับด้วยใจที่ผาสุก ตั้งจิตตั้งใจสื่อสารความจริงว่าใครจะได้รับประโยชน์แค่ไหนขอให้เค้าได้รับประโยชน์ที่เราสื่อสารไปและตรวจใจได้เรียนรู้ใจภายนอกภายว่า
    เราติดตัวไหนอยู่แล้วเราก็ได้ล้างกิเลสตัวนั้นได้เก็บเอาประโยชน์ในการที่เราได้ทำงานสื่อได้สื่อสารสิ่งที่่เป็นประโยชน์ให้กับตัวเองและผู้อื่นได้พ้นทุกข์์ไปตามลำดับค่ะ
    จากการทีได้ปฏิบัติงานก็ได้สภาวะธรรมที่ตรงกับ
    คำคมเพชรจากใจเพชร ที่ว่า ..
    *ความสำร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของใจ
    ความสำเร็จของใจคือความสำเร็จของงาน
    คือใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น
    เมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้ว
    งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ใจ
    ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความพร่อง ความ
    พลาด ความทุกข์
    ล้าความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จคือ ความ
    สำเร็จที่แท้จริง
    สาธุค่ะ

  9. นาง โยธกา รือเซ็นแบรก์

    ใจโปร่งไม่โล่ง
    น้องสาวโทรบอกว่าเพื่อนรุ่นน้องอยากคุยกับเราแต่ติดต่อเราไม่ได้และขอเป็นเพื่อนทางเฟรชบุคเราก็ไม่รับ แต่เราไม่เห็น จึงฝากข้อความไปทางเมสเสจ เพื่อนรุ่นน้องตอบกลับมาขอให้พี่แผ่บุญให้ด้วยนะ.รุ่งขึ้นจึงโทรคุยกัน น้องป่วยเป็นมะเร็งลำไส้กระจายไปทั่วแล้ว ร่างกายแย่แล้ว แต่กำลังใจดีเข้มแข็งมากอยากคุยธรรมะกับพี่เราแนะนำก็เรื่องยา9เม็ด โดยเฉพาะยาเม็ดเลิศ คือธรรมรักษาโรคและบททบทวนธรรม และได้ส่ง คริปตอบปัญหาของท่านอาจารย์หมอเขียวให้ฟังด้วยแล้วแต่น้องจะรับได้แค่ใหนก็วางตามวิบากดีร้าย ( ปีที่แล้วเคยแนะนำไปแล้ว) วันนี้น้องส่งข้อความเดิมมาอีกให้เราแผ่บุญให้ด้วย และน้องวีดีโอมาหาแต่น้องไม่สะดวกคุยด้วยแต่คงอยากให้เราเห็นว่าเป็นอย่างไรแต่เห็นสภาพแล้วไม่ดีเลย ตรวจเห็นว่าใจตัวเอง ไม่ไปร่งไม่ไล่ง.
    ทุกข์: เพราะใจโปร่ง ไม่โล่ง
    สมุทัย:ชอบ-ที่จะเห็นสภาพน้องที่สดใสร่าเริง ไม่ชอบที่น้องในสภาพหมดแรงนอนซมเพราะการฉายแสง
    นิโรธ:วางใจ สุขใจ ไม่ชอบ,ไม่ชังแม้นว่าน้องจะอยู่ในสภาพใหนก็ตาม
    มรรค:พิจารณาไตร่ตรองหันกลับมามองใจตัวเราเอง สิ่งที่สำคัญไม่เอาทุกข์ของเขามาเป็นของเราและเล่าแนวทางการปฏิบัติเวลาเราเจ็บป่วยปฏิบัติกาย ใจอย่างไร เราทำเต็มที่แล้ว และช่วยเท่าเราทำได้ คือแนะนำน้องให้ตั้งศีลสู้โรค,เรื่องวิบากกรรมดี-ร้าย ให้ยอมรับกับสิ่งที่น้องเคยทำมาเบียดเบียนเขามาซึ่งน้องก็เข้าใจเรื่องนี้และ น้องก็ต้องชดใช้วิบากกรรมดี-ร้ายนั้นเอง แล้วแต่น้องจะทำได้แค่ใหน .แล้วช่วยน้องด้วยการทำใจของเรา ไม่กลัว,ไม่กังวล,ไม่หวั่นไหวเพื่อเป็นแรงเหนี่ยวนำคือเป็นการแผ่บุญให้น้อง อย่างที่น้องต้องการแล้ว กราบสาธุค่ะ.เจริญธรรมสำนึกดีค่ะ

  10. ศิริพร ไตรยสุทธิ์

    เรื่อง การทำอาหารและการทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์

    ทุกวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว บางทีเราทำอาหาร บางทีเราไปทานอาหารบ้านเขา อาหารหลักที่ทำหรือทานก็ยังมีเนื้อสัตว์ และก็มีอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ด้วย
    สำหรับอาหารที่เราทำ ที่มีเนื้อสัตว์ เราก็จะใช้วิธีการเขี่ยเนื้อสัตว์ออก ไม่ตักเนื้อสัตว์ เน้นทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์
    ถ้าไปทานอาหารบ้านเขา เขาก็จะถามว่า ทำไมไม่ทาน ไม่อร่อยเหรอ เราก็มีความเกรงใจเขา ก็ทานเนื้อสัตว์บ้าง พยายามทานนิดเดียว ถ้าเขาไม่สังเกตุ เราก็จะไม่ทานเลย
    และพยายามพูดว่า จะลด ละ เลิกเนื้อสัตว์ ทุกครั้งที่คุยกัน เขาจะเป็นกังวลและเครียดมาก เพราะเขาเป็นห่วงเรา กลัวขาดสารอาหาร กลัวเราป่วย

    ทุกข์ คือ ความกังวล ความอึดอัดที่จะทานอาหารเนื้อสัตว์ เพื่อให้เขาสบายใจ
    สมุทัย คือ ความคาดหวังให้เขาเข้าใจ ไม่อยากให้เขากังกลเกี่ยวกับการไม่ทานเนื้อสัตว์ของเรา
    นิโรธ คือ เราบอกเขาไปแล้ว เขาจะเข้าใจก็ได้ ไม่เข้าใจก็ได้
    มรรค คือ ตัดสินใจบอกเขาว่า ถ้าเขามาทานอาหารบ้านเรา เราจะไม่ทำอาหารที่มีเนื้อสัตว์ แต่ยังมีไข่ เพื่อเขาจะสามารถได้ และถ้าเราไปบ้านเขา เราจะทานอาหารที่เขาทำตามปกติ เราจะไม่ทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์เลย จะทานเฉพาะอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ที่เขาทำ เช่น สลัดต่างๆ หรือถ้าเขาเป็นกังวลมาก ๆ เราจะทำอาหารไปเอง แต่เรายังสามารถนั่งทานอาหารร่วมกันได้ตามปกติ
    การพิจารณาเพื่อล้างความกังวลที่อยากให้เขาเข้าใจ คือ วางใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเขาจะต้องเข้าใจเรา แต่เราจะปฏิบัติตัวตามปกติ ไม่มีอคติกับเขา ถ้าเขาไม่เข้าใจเรา เราจะไม่ทุกข์ใจ ทำดีที่เราแล้วก็เบิกบานแจ่มใส ดีกว่า

  11. นางบัณฑิตา โฟกท์ แบม มุกแสงธรรม

    เรื่อง กระเทียม
    ทุกข์ : อยากกินกระเทียม
    สมุทัย :ตั้งศีลงดกินกระเทียมและมีเหตุให้เตรียมอาหารสำหรับพ่อบ้านต้องใสกระเทียม เห็นกิเลสตัวชอบในกลิ่นกระเทียมและอยากกินกระเทียม
    นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังในกลิ่นกระเทียม เบิบานใจได้แม้จะไม่ได้กินกระเทียม
    มรรค : สงบใจระลึกถึงศีลที่ตั้งมาปฏิบัติ และ ทำให้ตัดใจในความชอบกลิ่นและความอยากกินกระเทียมหายไปภายในสิบนาที เบิกบานใจได้100%แม้จะไม่ได้กินกระเทียม

  12. ชุติวรรณ แสงสำลี

    เก็บถ้วยชามอาหารเก่า ที่เหลือในตู้กับข้าวมาล้าง
    ทุกข์ มีถ้วยชามอาหารเก่าค้างคืนไว้
    สมุทัย ชอบที่ไม่มีถ้วยชามอาหารเก่าค้างคืน
    ชังที่มีถ้วยชามอาหารเก่าค้างคืน
    นิโรธ ยินดีในความไม่ชอบไม่ชังในถ้วยชามอาหารเก่าที่ค้างคืน
    มรรค เต็มใจรับ เต็มใจทำนำมาล้าง ก็ได้ประโยชน์ อาหารเก่าก็เป็นอินทรีวัตถุปลูกต้นไม้ใหม่หมุนเวียนกันไปเป็นห่วงโซ่ชีวิต
    คิดดี ทำดี กับตนเองและพี่น้องเข้าใจกัน ใจผาสุก
    วิบากดี

  13. ขวัญจิต เฟื่องฟู

    เรื่อง กลัวหาคำคมไม่ได้
    ทุกข์ กลัวหาคำคมไม่ได้
    สมุทัย ข้าพเจ้าได้เข้าไปเรียนโฟโต้ช้อปกับพี่น้อง โดนตัวเองมีหน้าที่หาคำคมเรื่องความดุดัน ก็คิดอยู่คำคมเกี่ยวกับความดุดันเป็นอย่างไงนอ ก็ลงมือหาอ่าน ฟังข้อความที่มันสะดุดใจเเล้วก็คิดว่ามันคมเเล้ว
    เเต่ในใจกิเลสมันบอกว่าคมพอหรือยัง ใช่เเน่เหรอ?
    นิโรธ ไม่ทุกข์ใจเเม้พี่น้องจะเห็นด้วยกับคำคมของเรา ใจเบิกบาน
    มรรค ตั้งสติ เเละทำอริยสัจ4 เมื่อเราทำเต็มที่เเล้วเราก็ต้องพร้อมปล่อยวาง
    นึกถึงคำที่อ.เทศน์ว่า เสนอดี สลายอัตตานี้ผาสุข เย่! ใจก็เบาขึ้น เเล้วพี่น้องจะเห็นดีกับคำคมด้วยหรือไม่ เราก็จะได้ฝึกวางตัวยึดดีถือดี เเละกล้าที่ทำเเละนำเสนอความคิด
    พอนึกถึงตอนนี้ความกลัวมันหายไปค่ะ จะฝึกทำบ่อยๆจนชิน จนเป็นนิส้ยคะ

Comments are closed.