เผยแพร่ วารสารวิชาการ วิชชาราม ฉบับที่ 2

วารสารวิชาการ วิชชาราม ฉบับที่ 2  ได้เริ่มเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 สามารถติดตามไปอ่านรายละเอียดและดาวน์โหลด pdf ได้ ที่หน้า วารสารวิชาการ วิชชาราม ฉบับที่ 2

ข้อมูลเบื้องต้น

วารสารวิชาการ วิชาราม ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒
ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๑
ขนาดไฟด์ 7.4 mb
จำนวน 99 หน้า
วางจำหน่าย : ร้านค้าในเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม

DL : [vijjaram.org] u.620211

เนื้อหาที่น่าสนใจ อธิศีลกับการรับประทานอาหารปรับสมดุลตามหลักการแพทย์วิถีธรรม, การรับประทานเนื้อสัตว์กับโรคมะเร็ง, การล้างความโกรธหรือความชิงชังรังเกียจในบุคคลอื่นของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม, อาหารเป็นยา อาหารเป็นหนึ่งในโลก ฯลฯ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

1 thought on “เผยแพร่ วารสารวิชาการ วิชชาราม ฉบับที่ 2”

  1. ปริศนา อิรนพไพบูลย์

    เรื่อง : ไม่สบายใจที่เพื่อนไม่ชวน

    เนื้อเรื่อง : วันหนึ่งขณะที่เรานั่ง
    รับประทานอาหารพร้อมกับหมู่กลุ่มในวง
    ประชุมอปริหานิยธรรม เรานั่งอยู่ระหว่างเพื่อน ก.และ ข.สักพักหนึ่ง ก. ก็แบ่งอาหารชนิดที่1มาให้ ข.ต่อมาก็ยื่นอาหารชนิดที่ 2 มาให้ ข. อีกขณะนั้นเองเราก็สังเกตุเห็นจิตของตัวเองเริ่มหวั่นไหว อ่านอารมณ์ตอนนั้นรู้สึกน้อยใจ
    ที่ ก. ไม่ได้เอ่ยชวนเราเลย เวลาผ่านไปไม่นานเราก็ได้สติว่า นี่เขาคือเราในอดีตที่เราเคยทำแบบนี้มาไงหละ ตอนนี้เรากำลังได้รับผลไงหละ เขาช่วยให้เราหมดวิบากร้ายนี้ไป เรายอมรับเท่าไหร่ก็หมดไปเท่านั้นและยิ่งเขาส่งต่อให้ค.และง.อีก ก็ยิ่งเป็นการย้ำให้เราเห็นชัดๆโต้งๆว่าเราทำมา และเมื่อเรายอมรับในวิบากนั้นแล้ว ทำให้อุปกิเลสที่จะเกิดตามมาถูกบล็อก (หากเราไม่ยอมรับวิบากร้ายนั้น จิตอันธพาลของเราก็จะแแตกตัวต่อไปเกิดเป็นกิเลสตัวที่ให้ทานใครแล้วหวังสิ่งตอบแทน(สาเปกโข) เรียกว่า ” ทวงบุญคุณ “ซึ่งเป็นการให้แบบมิจฉาทิฏฐิ เป็นการให้แล้วไม่มีผลช่วยให้พ้นทุกข์ได้ เพราะให้ไปแล้วยังยืดว่าเป็นของๆเราอยู่
    ซึ่งการให้แบบหวังผล พอไม่ได้ตามที่หวังก็จะเกิดจิตที่ผูกโกรธว่า”วันข้างหน้าถ้ามีของอะไร เราจะไม่ให้เขาบ้างหล่ะ – ทีเราบ้าง(เอาคืน)

    จะเห็นว่าถ้าเราไม่ได้ดับไฟตั้งแต่ต้นลมคือไม่ได้เอาความเข้าใจที่ถูกตรงเรื่องกรรม+วิบากมาดับไฟที่กำลังเผาไหม้ใจเราอยู่ ไฟที่สุมอยู่ในใจก็จะลุกลามเกิดจิตเที่เลวร้าย(ลามก)ปรุงแต่งเป็นภพตามมาเป็นขบวนซึ่งเกิดเป็น
    ” ปฏิจจสมุปบาท “สายก่อทุกข์ให้กับตนเอง+ผู้อื่น(เบียดเบียนตน – เบียดเบียนท่าน)ซึ่งเป็นการผิดศีลข้อที่1 ข้อที่2 คืออยากได้ในสิ่งที่เขาไม่ได้ให้(จิตขโมย)
    แล้วมารวมลงเป็นผิดศีลข้อที่5คือ
    อภิชฌา (โลภอยากได้เกินสิ่งที่เป็นไปได้จริง) พยาบาท (ชิงชัง รังเกียจ)
    มิจฉาทิฏฐิ (หลงเพราะไม่เข้าใจว่าว่าวิบากของกรรมดี กรรมชั่วมีอยู่) เมื่อได้พิจารณามาถึงตรงนี้จิตก็คลายจากความหลงยึดมั่นถือมั่นลง

    ในมุมกลับกันแทนที่เราจะโกรธ ขุ่นเคือง ก.กลับรู้สึกขอบคุณ ก.ที่ช่วยให้เราได้ลดวิบากร้ายลงไปได้ แล้วช่วยเปิดโอกาสให้วิบากดีเกิดได้ง่ายยิ่งขึ้น จิตตอนนี้หมดทุกข์ในเรื่องนี้แล้ว

    และเมื่อเราได้มาระลึกทบทวนอีกครั้งในอาหารที่หยิบยื่นให้กันนั้น แท้จริงเราก็มีอยู่แล้ว นั่นคือตัวเองก็มีมากพอแล้ว ถ้าเป็นกรณีที่ตัวเองขาดแคลนอาหารเหล่านั้นก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นกิเลสตัวนี้ของเราที่โผล่สลอนออกมาให้เห็นจึงไม่ใช่เรื่องของความโลภ “ด้านกาม “แต่แท้จริงมันคือ “ด้านอัตตา ” เป็นเรื่องของศักดิ์ศรีต่างหาก

    จะเห็นว่าเรื่องนิดเดียวแต่ถ้ายังมีเชื้อของกิเลสอยู่ก็จะทำให้กิเลสแตกตัวไปได้อีกมากมาย ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ” ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลสู่ธรรมทั้งหลาย ” และ “กิเลสแม้น้อยก็เหม็นมาก ” ซึ่งผลที่ตามมาก็คือต้องได้รับวิบากร้ายทั้งหนัก มาก+ยาวนานเป็นเงาตามตัว

    เขียนเป็นอริยสัจ4ได้ดังนี้…

    ทุกข์ : น้อยใจ(ไม่สบายใจ)ที่เพื่อน ไม่
    ชวนเรา

    สมุทัย : ชอบ (สุข) ถ้าเขาชวน
    ชัง (ทุกข์) ถ้าเขาไม่ชวน

    นิโรธ : เขาจะชวนหรือไม่ เราก็ไม่
    ทุกข์ (เป็นสุข)

    มรรค : เมื่อได้พิจารณาเรื่องกรรม
    อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนแล้ว สำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม
    ขอตั้งศีลว่าจะพยายาม “ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้ ”
    เห็นโทษจาก”ความอยากได้ “ว่ามัน
    ไม่เที่ยง (อนิจจัง) + เป็นทุกข์ (ทุกขัง)
    เห็นประโยชน์ว่ามันไม่มีตัวตนจริง(อนัตตา) เห็นว่าความอยากหมดไปเราก็เป็นสุข
    เห็นจิตตนพ้นจาก ” วิปลาส 4 “นี้ได้ผลคือใจพ้นทุกข์ได้แล้ว100% เพราะได้เห็นความโง่ ของใจที่หลงไปยึดมั่นถือมั่นอย่างผิดๆนั่นเอง (/)